นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย แถลงข่าวการยกเลิกมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2551 ดังนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศใช้มาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้นมาตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2549 เพื่อชะลอเงินทุนนำเข้าระยะสั้น และลดการเก็งกำไรค่าเงินในทิศทางเดียว ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ค่าเงินบาทมีความผันผวน จนอาจนำไปสู่ปัญหาเสถียรภาพเศรษฐกิจในวงกว้างได้ โดยเฉพาะในช่วงที่อุปสงค์ในประเทศอ่อนแรง ขณะที่การส่งออกขยายตัวดีและเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
มาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้นได้ชะลอแรงกดดันจากการเก็งกำไรค่าเงิน และมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ช่วยให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพและเคลื่อนไหวสอดคล้องกับค่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ธปท. ตระหนักว่า มาตรการดังกล่าวมีผลต่อต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจที่จำเป็นต้องระดมเงินทุนจากต่างประเทศ จึงได้มีการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการมาเป็นลำดับ และได้สื่อสารมาโดยตลอดถึงความตั้งใจที่จะใช้มาตรการนี้เป็นการชั่วคราว และจะยกเลิกเมื่อสถานการณ์เหมาะสม
ธปท. ได้พิจารณาปัจจัยด้านต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรอบคอบแล้ว และเห็นว่าขณะนี้สถานะการณ์เหมาะสมที่จะยกเลิกการใช้มาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้นได้ เนื่องจาก
- ข้อมูลเศรษฐกิจของไตรมาสที่ 4 ปี 2550 และเดือนมกราคม 2551 ชี้ให้เห็นว่า อุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน และการส่งออกที่ผ่านมาขยายตัวในเกณฑ์สูง ประกอบกับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของรัฐบาลจะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคเอกชนและสนับสนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศอย่างต่อเนื่อง
- ปริมาณเงินตราต่างประเทศเข้า-ออกมีความสมดุลมากขึ้น จากการเกินดุลการค้าเริ่มชะลอตัวลงในเดือนมกราคม 2551 ประกอบกับปริมาณเงินลงทุนของไทยในต่างประเทศได้ปรับสูงขึ้นตามการผ่อนคลายข้อจำกัดด้านการลงทุนในต่างประเทศ รวมทั้งการอนุญาตให้บุคคลในประเทศ ฝากเงินตราต่างประเทศที่ธนาคารพาณิชย์ได้เพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2551
- ภาคการผลิตและการส่งออกได้ปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงค่าเงินได้ดีขึ้นจากการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มขึ้นมาก รวมทั้งได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การจัดการ และการกระจายตลาด
- ธปท. มีเครื่องมือมากขึ้นในการดูแลสภาพคล่องและค่าเงิน ภายใต้ พรบ. ธปท. ฉบับใหม่ นอกจากนี้ แผนของกระทรวงการคลังในการปรับปรุงโครงสร้างและบริหารหนี้สาธารณะ รวมถึงการใช้ประโยชน์จาก พรบ. หนี้สาธารณะที่จะมีผลบังคับใช้ในเร็วๆ นี้ จะช่วยเพิ่มความสมดุลของเงินทุนเคลื่อนย้าย
- ในระยะหลังนี้ มีการคาดการณ์กันอย่างกว้างขวางว่าจะมีการยกเลิกมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น ผู้เกี่ยวข้องต่างๆในตลาด ก็ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามการคาดการณ์ดังกล่าว จนทำให้ประสิทธิผลของมาตรการลดลงตามลำดับ
เพื่อให้มีมาตรการรองรับการบริหารจัดการการไหลเข้า-ออกของเงินทุนหลังจากการยกเลิกมาตรการฯ รวมทั้งมีมาตรการติดตามข้อมูลและป้องกันการเก็งกำไรค่าเงิน ธปท. จึงเห็นควรออกมาตรการเสริม ดังนี้
1) สนับสนุนการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มวงเงินให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( กลต.) เป็น 30 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพื่อจัดสรรให้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทจัดการกองทุน รวมทั้ง บุคคลธรรมดา (ลงทุนผ่านกองทุนส่วนบุคคล หรือผ่านบริษัทหลักทรัพย์) ในการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ
2) ปรับปรุงมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทที่สำคัญ คือ
2.1) ปรับหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินบาทของสถาบันการเงินในประเทศจากผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ โดยลดวงเงินที่สถาบันการเงินในประเทศสามารถกู้ยืมเงินบาทจากผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ โดยไม่มีธุรกรรมรองรับ (underlying) ทุกอายุสัญญาโดยมียอดคงค้างแต่ละสถาบันการเงินไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อกลุ่มผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ เพื่อจำกัดช่อง ทางการเก็งกำไร
2.2) ปรับหลักเกณฑ์การจำกัดการปล่อยสภาพคล่องเงินบาทของสถาบันการเงินในประเทศให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ โดยให้สถาบันการเงินในประเทศปล่อยสภาพคล่องเงินบาทแก่ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศที่ไม่มีธุรกรรมรองรับ (underlying) โดยมียอดคงค้างแต่ละธนาคารไม่เกิน 300 ล้านบาทต่อกลุ่มผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ เพื่อเพิ่มความต้องการซื้อเงินตราต่างประเทศ
3) ปรับปรุงโครงสร้างบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ โดยแยกประเภทบัญชีเงินบาทออกเป็นบัญชีเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่น (Non-resident Baht Account for Securities: NRBS) และบัญชีเพื่อวัตถุประสงค์อื่น (Non-resident Baht Account: NRBA) เพื่อประโยชน์ในการติดตามการไหลเข้าออกของเงินทุน ทั้งนี้ เงินบาทในแต่ละประเภทบัญชีสามารถโอนระหว่างบัญชีประเภทเดียวกันได้ แต่ไม่ให้โอนข้ามประเภทบัญชี
นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนการปรับตัว และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) ธปท. จึงจัดให้มีโครงการสนับสนุนเป็นการชั่วคราว ดังนี้
1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของผู้ประกอบการรายย่อยระยะเวลา 3 ปี โดยการให้สินเชื่อดอกเบี้ยผ่อนปรน ผ่านสถาบันการเงินในวงเงินรวม 40,000 ล้านบาท
2) โครงการรับซื้อต่อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าที่ผู้ประกอบการรายย่อยขายผ่านสถาบันการเงิน เป็นเวลา 6 เดือน
ธปท. เชื่อมั่นว่า มาตรการต่างๆ ข้างต้นภายใต้การดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบจัดการ (Managed Float) ที่ใช้ในปัจจุบัน สามารถดูแลค่าเงินบาทให้เคลื่อนไหวสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจและไม่ผันผวนจนเกินไป
สำหรับประกาศเกี่ยวกับการยกเลิกมาตรการการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ และหนังสือเวียนมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทสามารถเรียกดูได้จาก www.bot.or.th ภายใต้ เรื่องเด่น และสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลข 02-283-6000
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศใช้มาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้นมาตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2549 เพื่อชะลอเงินทุนนำเข้าระยะสั้น และลดการเก็งกำไรค่าเงินในทิศทางเดียว ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ค่าเงินบาทมีความผันผวน จนอาจนำไปสู่ปัญหาเสถียรภาพเศรษฐกิจในวงกว้างได้ โดยเฉพาะในช่วงที่อุปสงค์ในประเทศอ่อนแรง ขณะที่การส่งออกขยายตัวดีและเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
มาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้นได้ชะลอแรงกดดันจากการเก็งกำไรค่าเงิน และมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ช่วยให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพและเคลื่อนไหวสอดคล้องกับค่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ธปท. ตระหนักว่า มาตรการดังกล่าวมีผลต่อต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจที่จำเป็นต้องระดมเงินทุนจากต่างประเทศ จึงได้มีการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการมาเป็นลำดับ และได้สื่อสารมาโดยตลอดถึงความตั้งใจที่จะใช้มาตรการนี้เป็นการชั่วคราว และจะยกเลิกเมื่อสถานการณ์เหมาะสม
ธปท. ได้พิจารณาปัจจัยด้านต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรอบคอบแล้ว และเห็นว่าขณะนี้สถานะการณ์เหมาะสมที่จะยกเลิกการใช้มาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้นได้ เนื่องจาก
- ข้อมูลเศรษฐกิจของไตรมาสที่ 4 ปี 2550 และเดือนมกราคม 2551 ชี้ให้เห็นว่า อุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน และการส่งออกที่ผ่านมาขยายตัวในเกณฑ์สูง ประกอบกับแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของรัฐบาลจะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคเอกชนและสนับสนุนการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศอย่างต่อเนื่อง
- ปริมาณเงินตราต่างประเทศเข้า-ออกมีความสมดุลมากขึ้น จากการเกินดุลการค้าเริ่มชะลอตัวลงในเดือนมกราคม 2551 ประกอบกับปริมาณเงินลงทุนของไทยในต่างประเทศได้ปรับสูงขึ้นตามการผ่อนคลายข้อจำกัดด้านการลงทุนในต่างประเทศ รวมทั้งการอนุญาตให้บุคคลในประเทศ ฝากเงินตราต่างประเทศที่ธนาคารพาณิชย์ได้เพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2551
- ภาคการผลิตและการส่งออกได้ปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงค่าเงินได้ดีขึ้นจากการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มขึ้นมาก รวมทั้งได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การจัดการ และการกระจายตลาด
- ธปท. มีเครื่องมือมากขึ้นในการดูแลสภาพคล่องและค่าเงิน ภายใต้ พรบ. ธปท. ฉบับใหม่ นอกจากนี้ แผนของกระทรวงการคลังในการปรับปรุงโครงสร้างและบริหารหนี้สาธารณะ รวมถึงการใช้ประโยชน์จาก พรบ. หนี้สาธารณะที่จะมีผลบังคับใช้ในเร็วๆ นี้ จะช่วยเพิ่มความสมดุลของเงินทุนเคลื่อนย้าย
- ในระยะหลังนี้ มีการคาดการณ์กันอย่างกว้างขวางว่าจะมีการยกเลิกมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น ผู้เกี่ยวข้องต่างๆในตลาด ก็ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามการคาดการณ์ดังกล่าว จนทำให้ประสิทธิผลของมาตรการลดลงตามลำดับ
เพื่อให้มีมาตรการรองรับการบริหารจัดการการไหลเข้า-ออกของเงินทุนหลังจากการยกเลิกมาตรการฯ รวมทั้งมีมาตรการติดตามข้อมูลและป้องกันการเก็งกำไรค่าเงิน ธปท. จึงเห็นควรออกมาตรการเสริม ดังนี้
1) สนับสนุนการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มวงเงินให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( กลต.) เป็น 30 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพื่อจัดสรรให้แก่ บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทจัดการกองทุน รวมทั้ง บุคคลธรรมดา (ลงทุนผ่านกองทุนส่วนบุคคล หรือผ่านบริษัทหลักทรัพย์) ในการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ
2) ปรับปรุงมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทที่สำคัญ คือ
2.1) ปรับหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินบาทของสถาบันการเงินในประเทศจากผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ โดยลดวงเงินที่สถาบันการเงินในประเทศสามารถกู้ยืมเงินบาทจากผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ โดยไม่มีธุรกรรมรองรับ (underlying) ทุกอายุสัญญาโดยมียอดคงค้างแต่ละสถาบันการเงินไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อกลุ่มผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ เพื่อจำกัดช่อง ทางการเก็งกำไร
2.2) ปรับหลักเกณฑ์การจำกัดการปล่อยสภาพคล่องเงินบาทของสถาบันการเงินในประเทศให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ โดยให้สถาบันการเงินในประเทศปล่อยสภาพคล่องเงินบาทแก่ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศที่ไม่มีธุรกรรมรองรับ (underlying) โดยมียอดคงค้างแต่ละธนาคารไม่เกิน 300 ล้านบาทต่อกลุ่มผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ เพื่อเพิ่มความต้องการซื้อเงินตราต่างประเทศ
3) ปรับปรุงโครงสร้างบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ โดยแยกประเภทบัญชีเงินบาทออกเป็นบัญชีเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่น (Non-resident Baht Account for Securities: NRBS) และบัญชีเพื่อวัตถุประสงค์อื่น (Non-resident Baht Account: NRBA) เพื่อประโยชน์ในการติดตามการไหลเข้าออกของเงินทุน ทั้งนี้ เงินบาทในแต่ละประเภทบัญชีสามารถโอนระหว่างบัญชีประเภทเดียวกันได้ แต่ไม่ให้โอนข้ามประเภทบัญชี
นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนการปรับตัว และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) ธปท. จึงจัดให้มีโครงการสนับสนุนเป็นการชั่วคราว ดังนี้
1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของผู้ประกอบการรายย่อยระยะเวลา 3 ปี โดยการให้สินเชื่อดอกเบี้ยผ่อนปรน ผ่านสถาบันการเงินในวงเงินรวม 40,000 ล้านบาท
2) โครงการรับซื้อต่อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าที่ผู้ประกอบการรายย่อยขายผ่านสถาบันการเงิน เป็นเวลา 6 เดือน
ธปท. เชื่อมั่นว่า มาตรการต่างๆ ข้างต้นภายใต้การดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบจัดการ (Managed Float) ที่ใช้ในปัจจุบัน สามารถดูแลค่าเงินบาทให้เคลื่อนไหวสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจและไม่ผันผวนจนเกินไป
สำหรับประกาศเกี่ยวกับการยกเลิกมาตรการการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ และหนังสือเวียนมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทสามารถเรียกดูได้จาก www.bot.or.th ภายใต้ เรื่องเด่น และสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลข 02-283-6000
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--