ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ขอความร่วมมือ ธพ.ให้ละเว้นการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศในลักษณะการเก็งกำไรค่าเงินบาท นางสุชาดา กิระกุล
ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ได้ส่งหนังสือเวียนถึงธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 3 มี.ค.51 ขอความร่วมมือ
ให้ละเว้นการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศในลักษณะเก็งกำไรค่าเงินบาท หลังจาก ธปท.ประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ของเงินทุน
นำเข้าระยะสั้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยมีผลในวันนี้ (4 มี.ค.) นอกจากนี้ ธปท.ได้เชิญผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ชี้แจงรายละเอียดและข้อปฏิบัติ
ภายหลังการประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% เมื่อวันที่ 3 มี.ค.ที่ผ่านมา (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
2. พ.ร.บ.ธปท.ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 4 มี.ค.นี้ จะช่วยให้ ธปท.สามารถบริหารจัดการค่าเงินบาทและสภาพคล่องได้ดีขึ้น
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า วันที่ 4 มี.ค.นี้ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย และ
พ.ร.บ.หนี้สาธารณะของ ก.คลัง จะมีผลบังคับใช้ หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทำให้การดูแลค่าเงินบาทและสภาพคล่องของระบบ
การเงินทำได้ดีขึ้น โดย ธปท.จะสามารถรับฝากเงินจาก ธพ. โดยให้ดอกเบี้ยได้ ซึ่งจะเป็นการดูดซับสภาพคล่องของ ธปท.โดยไม่ต้องออก
พธบ. หรือไปรบกวนอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงิน ในขณะที่เงินที่ ธปท.ดูดซับเข้ามาจากเงินฝาก พธบ. และการแทรกแซงค่าเงินบาท สามารถ
นำไปลงทุนได้หลากหลายขึ้น ส่วนแผนการก่อหนี้สาธารณะจะช่วยในการดูแลจังหวะการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างชาติ (โลกวันนี้, ข่าวสด)
3. อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้น 0.7% เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้น 5.4% เทียบต่อปี นางไพเราะ สุดสว่าง รองปลัด
ก.พาณิชย์ เปิดเผยถึง ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปประจำเดือน ก.พ.51 ว่า เพิ่มขึ้น 0.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากดัชนีหมวดอาหาร
และเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 2% ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 5.4% สูงสุดในรอบ 20 เดือนนับจากเดือน
มิ.ย.49 เป็นผลดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 7.9% และดัชนีหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารเพิ่มขึ้น 4% โดยคาดว่าในเดือน มี.ค. เงินเฟ้อ
จะปรับลดลง เนื่องจากผ่านเทศกาลตรุษจีนมาแล้ว รวมทั้งราคาสินค้าหลายรายการมีแนโน้มปรับลดลง ทั้งนี้ แม้ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะปรับสูงขึ้น
แต่การยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% จะช่วยลดภาระความร้อนแรงของเงินเฟ้อได้ เพราะจะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นส่งผลให้ราคาน้ำมันนำ
เข้ามีราคาไม่สูงมาก ซึ่งจะช่วยชะลอไม่ให้ราคาสินค้าสูงขึ้นเร็ว ดังนั้น จึงยังไม่มีการปรับเป้าหมายเงินเฟ้อ โดยจะขอดูตัวเลขในช่วง
6 เดือนแรกก่อน โดยยังยืนยันเป้าหมายเดิมที่ 3.5% ส่วนอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 51 มีอัตราสูงขึ้น 4.8% (ข่าวสด,
โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์)
4. รัฐบาลเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นด้วยการสร้างความเชื่อมั่นด้านการลงทุน นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม.และ รมว.คลัง
เปิดเผยว่า รัฐบาลจะเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นด้วยการสร้างความเชื่อมั่นให้มีการลงทุนภายใน 6 เดือน จากการที่รัฐบาลประกาศเริ่มลงทุน
โครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจ็กต์) มูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท เป็นการส่งสัญญาณเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคเอกชนขยาย
การลงทุนตาม โดยจะเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักลงทุน รวมทั้งเร่งขยายการลงทุนของภาครัฐ เพื่อให้ภาคเอกชนมีการลงทุน
เพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลมั่นใจว่าหากสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาได้จะเป็นสัญญาณที่ดีในการฟื้นเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน ก็พร้อมจะออก
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษีควบคู่กันไป (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. จีนยังคงเป็นอันดับหนึ่งในเป้าหมายการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 51 ผลการ
สำรวจโดย OCO Global ในรายงานประจำปีชี้ว่าเมื่อปีที่แล้วเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั่วโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1อยู่ที่ระดับ
946.8 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. นำโดยจีนที่ยังคงครองความเป็นอันดับหนึ่งทั้งโครงการลงทุน จำนวนเงินลงทุน และตำแหน่งงาน โดยมี
โครงการลงทุนโดยตรงในจีน 1,171 โครงการ เป็นเงินลงทุน 90.4 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบเป็นตัวเงินกลับลดลง
จาก 116 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ในปีก่อนหน้า ขณะที่มีการจ้างงาน 366,111 ตำแหน่งงาน ทั้งนี้จีนครองอันดับสูงสุดที่ดึงดูดการลงทุนโดยตรง
จากต่างประเทศ รองลงมาเป็น สรอ. ที่มี 783 โครงการ อินเดีย อังกฤษ และฝรั่งเศสมีโครงการลงทุน 676 622 และ 556 โครงการ
ตามลำดับ ขณะที่จัดอันดับตามเงินลงทุน อินเดีย และ สรอ. เป็นอันดับที่ 2 และ 3 ที่มีเงินลงทุน 52.5 และ 46.8 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.
ตามลำดับ ส่วนการจ้างงานนั้น อินเดีย และเวียตนามเป็นอันดับที่ 2 และ 3 ที่มีการจ้างงาน 246,361 และ 188,679 ตำแหน่งงานตามลำดับ
(รอยเตอร์)
2. ในการเจรจาการค้าโลกเพื่อลดช่องว่างของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อสัปดาห์ที่แล้วประสบความล้มเหลว รายงานจากเจนีวา
เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 51 ในการเจรจาการค้าโลกเกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมไม่ประสบความสำเร็จในทุกประเด็นการเจรจาและหมดเวลาก่อน
ที่จะมีความคืบหน้า อย่างไรก็ตามจะมีการเจรจากันในรอบใหม่ ทั้งนี้นาย Don Stephenson เอกอัครราชทูตของแคนาดา ซึ่งเป็นประธาน
ในการเจรจาต่อรองสินค้าอุตสาหกรรมในองค์การการค้าโลกกล่าวกับสมาชิกองค์การการค้าโลก 151 ประเทศว่ายังไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง
มีการเจรจากันอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ยังมีความเห็นจากเอกอัครราชทูต Crawford Falconer ของประเทศนิวซีแลนด์ว่า การเจรจาทางการค้า
ในสินค้าเกษตรกรรมก็ยังไม่ไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควรจะเป็นเช่นเดียวกัน (รอยเตอร์)
3. คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค.51 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ต่อเดือนรายงานจากโซล เมื่อ 29 ก.พ.51
ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค.51 ซึ่งรวมผลผลิตโรงงาน
เหมืองแร่และการผลิตกระแสไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ต่อเดือน เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากลดลง 2 เดือนติดต่อกัน โดยลดลงร้อยละ 0.5
และ 0.4 ต่อเดือนในเดือน ธ.ค.และ พ.ย.50 ตามลำดับ ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์จากยอดขายในเดือน ม.ค.51 ของห้างดิสเคาน์สโตร์
และห้างสรรพสินค้าซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 และ 6.9 ต่อปีตามลำดับ และจากยอดส่งออกที่ยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และคาดว่าผลผลิต
อุตสาหกรรมเทียบต่อปีจะขยายตัวร้อยละ 11.3 ในเดือน ม.ค.51 หลังจากขยายตัวร้อยละ 12.8 ต่อปีในเดือน ธ.ค.50 (รอยเตอร์)
4. คาดว่าผลผลิตโรงงานทั่วโลกในเดือน ก.พ.51 จะลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 5 ปี รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 3 มี.ค.51 ดัชนีชี้วัดผลผลิตโรงงานทั่วโลกจากผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารด้านจัดซื้อของภาคธุรกิจใน สรอ. ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส
อังกฤษ จีนและรัสเซียหรือที่เรียกว่า Global Manufacturing PMI ซึ่งจัดทำโดย JP Morgan ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 51.1 ในเดือน ก.พ.51
จากระดับ 52.3 ในเดือน ม.ค.51 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.46 แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า 50 ซึ่งแสดงถึงการขยายตัว โดย PMI ของ
สรอ.อยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ซึ่งแสดงถึงการหดตัวเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ในขณะที่ PMI ของ Euro zone ก็ลดลงเช่นเดียวกันโดยเฉพาะ
ในสเปน เช่นเดียวกับญี่ปุ่นและจีนที่รายงานว่าผลผลิตลดลงจากเดือน ม.ค.51 โดยดัชนีในส่วนที่ชี้วัดคำสั่งซื้อใหม่ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 51.4
จากระดับ 52.4 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.46 โดยมีเพียงจีนและอินเดียเพียงสองประเทศที่รายงานคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับเฉลี่ยทั่วโลก
ทั้งนี้นักวิเคราะห์คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมทั่วโลกจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 4 มี.ค. 51 3 มี.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.548 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.3298/31.7003 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.26250 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 842.92/29.67 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,650/14,750 14,450/14,550 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 94.98 94.70 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 33.59*/29.94* 33.59*/29.94* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 28 ก.พ. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ขอความร่วมมือ ธพ.ให้ละเว้นการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศในลักษณะการเก็งกำไรค่าเงินบาท นางสุชาดา กิระกุล
ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ได้ส่งหนังสือเวียนถึงธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 3 มี.ค.51 ขอความร่วมมือ
ให้ละเว้นการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศในลักษณะเก็งกำไรค่าเงินบาท หลังจาก ธปท.ประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ของเงินทุน
นำเข้าระยะสั้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยมีผลในวันนี้ (4 มี.ค.) นอกจากนี้ ธปท.ได้เชิญผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ชี้แจงรายละเอียดและข้อปฏิบัติ
ภายหลังการประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% เมื่อวันที่ 3 มี.ค.ที่ผ่านมา (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
2. พ.ร.บ.ธปท.ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 4 มี.ค.นี้ จะช่วยให้ ธปท.สามารถบริหารจัดการค่าเงินบาทและสภาพคล่องได้ดีขึ้น
นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า วันที่ 4 มี.ค.นี้ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย และ
พ.ร.บ.หนี้สาธารณะของ ก.คลัง จะมีผลบังคับใช้ หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทำให้การดูแลค่าเงินบาทและสภาพคล่องของระบบ
การเงินทำได้ดีขึ้น โดย ธปท.จะสามารถรับฝากเงินจาก ธพ. โดยให้ดอกเบี้ยได้ ซึ่งจะเป็นการดูดซับสภาพคล่องของ ธปท.โดยไม่ต้องออก
พธบ. หรือไปรบกวนอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงิน ในขณะที่เงินที่ ธปท.ดูดซับเข้ามาจากเงินฝาก พธบ. และการแทรกแซงค่าเงินบาท สามารถ
นำไปลงทุนได้หลากหลายขึ้น ส่วนแผนการก่อหนี้สาธารณะจะช่วยในการดูแลจังหวะการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างชาติ (โลกวันนี้, ข่าวสด)
3. อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้น 0.7% เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้น 5.4% เทียบต่อปี นางไพเราะ สุดสว่าง รองปลัด
ก.พาณิชย์ เปิดเผยถึง ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปประจำเดือน ก.พ.51 ว่า เพิ่มขึ้น 0.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากดัชนีหมวดอาหาร
และเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 2% ขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 5.4% สูงสุดในรอบ 20 เดือนนับจากเดือน
มิ.ย.49 เป็นผลดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 7.9% และดัชนีหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารเพิ่มขึ้น 4% โดยคาดว่าในเดือน มี.ค. เงินเฟ้อ
จะปรับลดลง เนื่องจากผ่านเทศกาลตรุษจีนมาแล้ว รวมทั้งราคาสินค้าหลายรายการมีแนโน้มปรับลดลง ทั้งนี้ แม้ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะปรับสูงขึ้น
แต่การยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% จะช่วยลดภาระความร้อนแรงของเงินเฟ้อได้ เพราะจะทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นส่งผลให้ราคาน้ำมันนำ
เข้ามีราคาไม่สูงมาก ซึ่งจะช่วยชะลอไม่ให้ราคาสินค้าสูงขึ้นเร็ว ดังนั้น จึงยังไม่มีการปรับเป้าหมายเงินเฟ้อ โดยจะขอดูตัวเลขในช่วง
6 เดือนแรกก่อน โดยยังยืนยันเป้าหมายเดิมที่ 3.5% ส่วนอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 51 มีอัตราสูงขึ้น 4.8% (ข่าวสด,
โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์)
4. รัฐบาลเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นด้วยการสร้างความเชื่อมั่นด้านการลงทุน นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม.และ รมว.คลัง
เปิดเผยว่า รัฐบาลจะเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นด้วยการสร้างความเชื่อมั่นให้มีการลงทุนภายใน 6 เดือน จากการที่รัฐบาลประกาศเริ่มลงทุน
โครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจ็กต์) มูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท เป็นการส่งสัญญาณเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคเอกชนขยาย
การลงทุนตาม โดยจะเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักลงทุน รวมทั้งเร่งขยายการลงทุนของภาครัฐ เพื่อให้ภาคเอกชนมีการลงทุน
เพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลมั่นใจว่าหากสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาได้จะเป็นสัญญาณที่ดีในการฟื้นเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน ก็พร้อมจะออก
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษีควบคู่กันไป (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. จีนยังคงเป็นอันดับหนึ่งในเป้าหมายการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 51 ผลการ
สำรวจโดย OCO Global ในรายงานประจำปีชี้ว่าเมื่อปีที่แล้วเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั่วโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1อยู่ที่ระดับ
946.8 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. นำโดยจีนที่ยังคงครองความเป็นอันดับหนึ่งทั้งโครงการลงทุน จำนวนเงินลงทุน และตำแหน่งงาน โดยมี
โครงการลงทุนโดยตรงในจีน 1,171 โครงการ เป็นเงินลงทุน 90.4 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบเป็นตัวเงินกลับลดลง
จาก 116 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ในปีก่อนหน้า ขณะที่มีการจ้างงาน 366,111 ตำแหน่งงาน ทั้งนี้จีนครองอันดับสูงสุดที่ดึงดูดการลงทุนโดยตรง
จากต่างประเทศ รองลงมาเป็น สรอ. ที่มี 783 โครงการ อินเดีย อังกฤษ และฝรั่งเศสมีโครงการลงทุน 676 622 และ 556 โครงการ
ตามลำดับ ขณะที่จัดอันดับตามเงินลงทุน อินเดีย และ สรอ. เป็นอันดับที่ 2 และ 3 ที่มีเงินลงทุน 52.5 และ 46.8 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.
ตามลำดับ ส่วนการจ้างงานนั้น อินเดีย และเวียตนามเป็นอันดับที่ 2 และ 3 ที่มีการจ้างงาน 246,361 และ 188,679 ตำแหน่งงานตามลำดับ
(รอยเตอร์)
2. ในการเจรจาการค้าโลกเพื่อลดช่องว่างของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อสัปดาห์ที่แล้วประสบความล้มเหลว รายงานจากเจนีวา
เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 51 ในการเจรจาการค้าโลกเกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมไม่ประสบความสำเร็จในทุกประเด็นการเจรจาและหมดเวลาก่อน
ที่จะมีความคืบหน้า อย่างไรก็ตามจะมีการเจรจากันในรอบใหม่ ทั้งนี้นาย Don Stephenson เอกอัครราชทูตของแคนาดา ซึ่งเป็นประธาน
ในการเจรจาต่อรองสินค้าอุตสาหกรรมในองค์การการค้าโลกกล่าวกับสมาชิกองค์การการค้าโลก 151 ประเทศว่ายังไม่มีความจำเป็นที่จะต้อง
มีการเจรจากันอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ยังมีความเห็นจากเอกอัครราชทูต Crawford Falconer ของประเทศนิวซีแลนด์ว่า การเจรจาทางการค้า
ในสินค้าเกษตรกรรมก็ยังไม่ไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควรจะเป็นเช่นเดียวกัน (รอยเตอร์)
3. คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค.51 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ต่อเดือนรายงานจากโซล เมื่อ 29 ก.พ.51
ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค.51 ซึ่งรวมผลผลิตโรงงาน
เหมืองแร่และการผลิตกระแสไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ต่อเดือน เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากลดลง 2 เดือนติดต่อกัน โดยลดลงร้อยละ 0.5
และ 0.4 ต่อเดือนในเดือน ธ.ค.และ พ.ย.50 ตามลำดับ ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์จากยอดขายในเดือน ม.ค.51 ของห้างดิสเคาน์สโตร์
และห้างสรรพสินค้าซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 และ 6.9 ต่อปีตามลำดับ และจากยอดส่งออกที่ยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และคาดว่าผลผลิต
อุตสาหกรรมเทียบต่อปีจะขยายตัวร้อยละ 11.3 ในเดือน ม.ค.51 หลังจากขยายตัวร้อยละ 12.8 ต่อปีในเดือน ธ.ค.50 (รอยเตอร์)
4. คาดว่าผลผลิตโรงงานทั่วโลกในเดือน ก.พ.51 จะลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 5 ปี รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 3 มี.ค.51 ดัชนีชี้วัดผลผลิตโรงงานทั่วโลกจากผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารด้านจัดซื้อของภาคธุรกิจใน สรอ. ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส
อังกฤษ จีนและรัสเซียหรือที่เรียกว่า Global Manufacturing PMI ซึ่งจัดทำโดย JP Morgan ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 51.1 ในเดือน ก.พ.51
จากระดับ 52.3 ในเดือน ม.ค.51 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.46 แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า 50 ซึ่งแสดงถึงการขยายตัว โดย PMI ของ
สรอ.อยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ซึ่งแสดงถึงการหดตัวเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ในขณะที่ PMI ของ Euro zone ก็ลดลงเช่นเดียวกันโดยเฉพาะ
ในสเปน เช่นเดียวกับญี่ปุ่นและจีนที่รายงานว่าผลผลิตลดลงจากเดือน ม.ค.51 โดยดัชนีในส่วนที่ชี้วัดคำสั่งซื้อใหม่ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 51.4
จากระดับ 52.4 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.46 โดยมีเพียงจีนและอินเดียเพียงสองประเทศที่รายงานคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับเฉลี่ยทั่วโลก
ทั้งนี้นักวิเคราะห์คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมทั่วโลกจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 4 มี.ค. 51 3 มี.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.548 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.3298/31.7003 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.26250 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 842.92/29.67 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,650/14,750 14,450/14,550 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 94.98 94.70 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 33.59*/29.94* 33.59*/29.94* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 28 ก.พ. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--