ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.พอใจการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทหลังยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า หลังจากที่ ธปท.ประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ของเงินทุนระยะสั้นจากต่างประเทศตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค.ที่ผ่านมา การ
เคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเป็นที่น่าพอใจ โดยเงินบาทเริ่มอ่อนค่าลงประมาณ 10 สตางค์ เป็นผลจากที่ตลาดซึมซับข่าวการยกเลิกมาตรการนี้
ไปบ้างแล้ว รวมทั้งผู้ส่งออกและนำเข้าเองก็มีความเชื่อมั่นว่า ธปท.จะดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพได้ จึงมีแรงซื้อขายเงินดอลลาร์ สรอ.
ที่สมดุลมากขึ้น ส่วนประเด็นที่มีการสั่งห้าม ธพ.เก็งกำไรค่าเงินบาทนั้น ธพ.ให้ความร่วมมือดี โดยเท่าที่ดูข้อมูลส่วนใหญ่การทำธุรกรรมของ ธพ.
เป็นการรองรับคำสั่งซื้อขายของลูกค้าตามปกติ นอกจากนี้ การลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งเป็นอีกตลาดหนึ่งที่ ธปท.จับตาดู เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา
มีเม็ดเงินไหลเข้ามาในการลงทุนนี้ไม่มากนักจากมาตรการ ทำให้ต่อไปอาจมีความเป็นไปได้ที่จะมีเงินไหลเข้ามาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเงินทุน
ที่ไหลเข้ามาจากผลของเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งในขณะนี้ตลาดตราสารหนี้มีมูลค่าซื้อขายแต่ละวันสูงถึง 6,700 ล.บาท โดยเป็นเงินไหลเข้า
จากต่างประเทศ 3-4% ของวงเงินทั้งหมด ส่วนเรื่องการพิจารณาอัตราดอกเบี้ย โดยเฉพาะในขณะนี้ที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไทยกับ สรอ.
ห่างกัน 0.25% นั้น เป็นหน้าที่หลักของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งต้องพิจารณาจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงทั้ง อัตราเงินเฟ้อ
และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ กรณีมีกระแสข่าวว่าหาก ธปท.ไม่สามารถดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพได้ อาจจะมีการเสนอ
ปลดผู้ว่าการ ธปท. นั้น ไม่หนักใจและไม่ท้อ พร้อมทั้งยืนยันว่า การยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% เป็นการตัดสินใจของ ธปท. โดยไม่มีแรง
กดดันทางการเมืองใดๆ (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
2. ดัชนีเอสเอ็มอีในเดือน ม.ค.51 ปรับตัวลดลงสาเหตุจากผู้ประกอบการกำไรลดลง ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ (ดัชนีเอสเอ็มอี) ประจำเดือน
ม.ค.51 พบว่า ดัชนีฯ ปรับตัวลดลงทั้งค่าปัจจุบันและคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า โดยค่าดัชนีปัจจุบันลดลงอยู่ที่ 45.2 จากระดับ 47.9 ปรับตัว
ลงทุกภาคธุรกิจ ทั้งภาคการค้าส่ง ภาคการค้าปลีก และภาคบริการ ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อธุรกิจตนเองปรับตัวลดลงเช่นเดียวกันอยู่ที่ 45.8
จากระดับ 50.9 ทั้งนี้ การที่ดัชนีความเชื่อมั่นเดือน ม.ค.ปรับตัวลดลง มีผลมาจากยอดจำหน่ายและกำไรของผู้ประกอบการลดลง โดยเฉพาะ
ในส่วนของสถานีบริการน้ำมัน ค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภค และบริการการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด
, ผู้จัดการรายวัน)
3. ราคาทองคำโลกทำสถิติสูงสุดส่งผลให้ราคาทองคำในประเทศเพิ่มขึ้นตาม นายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผยว่า ราคาทองคำแท่ง
ในตลาดโลกทำสถิติสูงสุด 986 ดอลลาร์ สรอ./ออนซ์ ส่งผลให้ราคาทองคำแท่งในประเทศเพิ่มขึ้นที่ระดับราคาบาทละ 14,750 บาท และ
ราคาขายทองคำรูปพรรณภายในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นบาทละ 15,150 บาท เนื่องจากตลาดโลกมีความต้องการทองคำจำนวนมากขึ้น ทำให้นักลงทุน
หันมาเก็งกำไรทองแทน ในภาวะที่ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเงินดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลง สำหรับผลกระทบจากการ
ปรับขึ้นของราคาทองคำ ส่งผลให้ร้านขายทองมียอดขายลดลงถึง 50% และไม่พบว่าประชาชนนำทองออกมาขายเก็งกำไรมากนัก
(โลกวันนี้, ข่าวสด)
4. คาดว่าราคาน้ำมันในประเทศในปี 51 นี้จะไม่ปรับลดลง รายงานข่าวจากวงการน้ำมัน เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันขณะนี้สูงมาก
โดยเฉพาะน้ำมันในแถบสหรัฐฯ โดยน้ำมันดิบในตลาดซื้อขายล่วงหน้าไนแม็กเมื่อวันที่ 3 มี.ค. มีการเคลื่อนไหวถึง 103.95 ดอลลาร์สรอ./บาร์เรล
และปิดตลาดที่ 102.45 ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล ซึ่งราคาน้ำมันในขณะนี้ทำสถิติสูงสุด (นิวไฮ) ไปแล้วทุกตลาด ส่วนหนึ่งเกิดจากการเก็งกำไร
โดยคงต้องติดตามผลการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ในวันที่ 5 มี.ค. นี้ ทั้งนี้ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน้ำมัน
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เชื่อว่าในช่วงปีนี้ราคาน้ำมันคงลดลงยาก และคงไม่ลดลงต่ำกว่า 25 บาท/ลิตรอีกแล้ว อย่างไรก็ตาม
ปตท.พยายามที่จะดูแลระดับราคาดีเซลไม่ให้สูงจนกระทบต่อผู้บริโภค (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าภาคบริการของ สรอ. ในเดือน ก.พ. จะหดตัวลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 รายงานจากนิวยอร์ก
เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 51 ผลการสำรวจโดยรอยเตอร์ชี้ว่า ในเดือน ก.พ. ภาคบริการของ สรอ. ซึ่งเป็นภาคที่สำคัญที่มีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 80
ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สรอ. จะหดตัวลงอยู่ที่ระดับ 47.0 สูงกว่าระดับ 44.6 ในเดือน ม.ค. ซึ่งเป็นระดับที่ทำสถิติต่ำที่สุด และยังอยู่ใน
ระดับต่ำกว่า 50 ซึ่งแสดงถึงภาวะหดตัว ทั้งนี้นับเป็นการชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 รวมทั้งสนับสนุนความเห็นของบรรดา
นักวิเคราะห์หลายคนที่กล่าวว่าเศรษฐกิจ สรอ. ได้เข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่บ่งชี้ถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ
สรอ. หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์)
2. จีดีพีของเขตเศรษฐกิจยุโรปในไตรมาส 4 ชะลอตัวลง รายงานจากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 4 มี.ค.51
สนง.สถิติแห่งชาติของสหภาพยุโรป ยืนยันจีดีพีของ 13 ประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโรในไตรมาส 4 ปี 50 ว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4
เทียบต่อไตรมาส สอดคล้องกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และลดลงจากร้อยละ 0.7 ในไตรมาส 3 โดยมีสาเหตุหลักจากการชะลอตัวในการใช้จ่าย
ของภาครัฐและการบริโภคในครัวเรือน รวมทั้งผลกระทบด้านลบจากสินค้าคงคลังอันเป็นผลมาจากการที่บริษัทต่าง ๆ ลดการสต็อกสินค้าเนื่องจาก
คาดว่าความต้องการบริโภคจะลดลง ขณะที่จีดีพีเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ลดลงเล็กน้อยจากที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 2.3
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอัตราการเติบโตของจีดีพีจะชะลอตัว แต่อัตราเงินเฟ้อด้านราคาของผู้ผลิตสินค้าในเดือน ม.ค. กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8
เทียบต่อเดือน ขณะที่เดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ส่วนอัตราเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ทั้งนี้ ธ.กลางสหภาพยุโรปต้องการควบคุม
อัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 2 ในระยะกลาง แต่ราคาอาหารและต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้น
สูงกว่าเป้าหมายมาตั้งแต่เดือน ก.ย.50 ซึ่งแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปจะเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดที่ระดับร้อยละ 3.2 ในเดือน ม.ค.
และ ก.พ. แต่ ธ.กลางสหภาพยุโรปก็ไม่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ เนื่องจากคาดว่าการชะลอตัวของ
เศรษฐกิจจะช่วยลดแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดการณ์ว่า ธ.กลางสหภาพยุโรป
จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็วเพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจเหมือนกับที่ ธ.กลาง สรอ. ได้ทำไปแล้ว (รอยเตอร์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของอังกฤษในเดือน ก.พ. ลดลง รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 5 มี.ค.51
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทั่วประเทศของอังกฤษในเดือน ก.พ. ลดลง 3 จุด ไปอยู่ที่ 78 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่การเปรียบเทียบสถิติเริ่มใช้
เมื่อ 4 ปีก่อน เนื่องจากความกังวลว่าเศรษฐกิจของอังกฤษจะชะลอตัวรุนแรง แม้ว่า ธ.กลางอังกฤษจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเมื่อ
เดือน ม.ค.ที่ผ่านมา โดยสัดส่วนของประชาชนที่คิดว่าเศรษฐกิจไม่ดีเพิ่มขึ้นจาก 1 ใน 4 เป็น 1 ใน 3 แต่ความรู้สึกของประชาชนเกี่ยวกับ
ตลาดแรงงานยังคงเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่ดัชนีการใช้จ่ายลดลง 4 จุด ไปอยู่ที่ 64 ซึ่งมีเพียงร้อยละ 11 ของผู้บริโภคที่เชื่อว่าปัจจุบัน
เป็นช่วงเวลาดีที่จะซื้อสินค้าเพื่อการบริโภค (รอยเตอร์)
4. ภาคการก่อสร้างของอังกฤษชะลอตัวลงในเดือน ก.พ. รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 51 ผลการสำรวจ
Purchasing and supply โดย Chartered Institute ชี้ว่าในเดือน ก.พ. ดัชนีการขยายตัวภาคการก่อสร้างของอังกฤษอยู่ที่ระดับ 52.4
(ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ชะลอตัวลงจากระดับ 53.9 ในเดือน ม.ค. และอ่อนตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 49 เนื่องจากได้รับผลกระทบ
จากการชะลอตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย โดยในส่วนของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยนั้นหดตัวลงในอัตราที่รวดเร็วที่สุดในรอบ
22 เดือน ตรงข้ามกับประเภทวิศวกรรมโยธาที่กลับฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ขณะที่ภาคก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์ฟื้นตัวอย่างปานกลาง ทั้งนี้ดัชนีคำสั่งซื้อ
ใหม่ลดลงอยู่ที่ระดับ 52.1 ซึ่งเป็นอัตราที่อ่อนตัวมากที่สุดในรอบ 75 เดือน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของราคาสินค้าเพื่อการผลิตเร่งตัวขึ้นอยู่ในระดับ
73.0 สูงที่สุดในรอบ 19 เดือน เนื่องจากราคาน้ำมันและโลหะสูงขึ้น ซึ่งบรรดาผู้จัดการจัดซื้อต่างรายงานว่า แรงกดดันด้านเงินเฟ้อของราคา
สินค้าเพื่อการผลิตและปริมาณความต้องการซื้อสินค้าใหม่เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อภาคการก่อสร้าง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5 มี.ค. 51 4 มี.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.608 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.3994/31.7358 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.26125 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 831.41/19.79 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,350/14,450 14,650/14,750 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 94.89 94.98 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.59*/29.94* 33.59*/29.94* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 28 ก.พ. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.พอใจการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทหลังยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า หลังจากที่ ธปท.ประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ของเงินทุนระยะสั้นจากต่างประเทศตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค.ที่ผ่านมา การ
เคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเป็นที่น่าพอใจ โดยเงินบาทเริ่มอ่อนค่าลงประมาณ 10 สตางค์ เป็นผลจากที่ตลาดซึมซับข่าวการยกเลิกมาตรการนี้
ไปบ้างแล้ว รวมทั้งผู้ส่งออกและนำเข้าเองก็มีความเชื่อมั่นว่า ธปท.จะดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพได้ จึงมีแรงซื้อขายเงินดอลลาร์ สรอ.
ที่สมดุลมากขึ้น ส่วนประเด็นที่มีการสั่งห้าม ธพ.เก็งกำไรค่าเงินบาทนั้น ธพ.ให้ความร่วมมือดี โดยเท่าที่ดูข้อมูลส่วนใหญ่การทำธุรกรรมของ ธพ.
เป็นการรองรับคำสั่งซื้อขายของลูกค้าตามปกติ นอกจากนี้ การลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งเป็นอีกตลาดหนึ่งที่ ธปท.จับตาดู เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา
มีเม็ดเงินไหลเข้ามาในการลงทุนนี้ไม่มากนักจากมาตรการ ทำให้ต่อไปอาจมีความเป็นไปได้ที่จะมีเงินไหลเข้ามาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเงินทุน
ที่ไหลเข้ามาจากผลของเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งในขณะนี้ตลาดตราสารหนี้มีมูลค่าซื้อขายแต่ละวันสูงถึง 6,700 ล.บาท โดยเป็นเงินไหลเข้า
จากต่างประเทศ 3-4% ของวงเงินทั้งหมด ส่วนเรื่องการพิจารณาอัตราดอกเบี้ย โดยเฉพาะในขณะนี้ที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไทยกับ สรอ.
ห่างกัน 0.25% นั้น เป็นหน้าที่หลักของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งต้องพิจารณาจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงทั้ง อัตราเงินเฟ้อ
และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ กรณีมีกระแสข่าวว่าหาก ธปท.ไม่สามารถดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพได้ อาจจะมีการเสนอ
ปลดผู้ว่าการ ธปท. นั้น ไม่หนักใจและไม่ท้อ พร้อมทั้งยืนยันว่า การยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% เป็นการตัดสินใจของ ธปท. โดยไม่มีแรง
กดดันทางการเมืองใดๆ (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
2. ดัชนีเอสเอ็มอีในเดือน ม.ค.51 ปรับตัวลดลงสาเหตุจากผู้ประกอบการกำไรลดลง ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ (ดัชนีเอสเอ็มอี) ประจำเดือน
ม.ค.51 พบว่า ดัชนีฯ ปรับตัวลดลงทั้งค่าปัจจุบันและคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า โดยค่าดัชนีปัจจุบันลดลงอยู่ที่ 45.2 จากระดับ 47.9 ปรับตัว
ลงทุกภาคธุรกิจ ทั้งภาคการค้าส่ง ภาคการค้าปลีก และภาคบริการ ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อธุรกิจตนเองปรับตัวลดลงเช่นเดียวกันอยู่ที่ 45.8
จากระดับ 50.9 ทั้งนี้ การที่ดัชนีความเชื่อมั่นเดือน ม.ค.ปรับตัวลดลง มีผลมาจากยอดจำหน่ายและกำไรของผู้ประกอบการลดลง โดยเฉพาะ
ในส่วนของสถานีบริการน้ำมัน ค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภค และบริการการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด
, ผู้จัดการรายวัน)
3. ราคาทองคำโลกทำสถิติสูงสุดส่งผลให้ราคาทองคำในประเทศเพิ่มขึ้นตาม นายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผยว่า ราคาทองคำแท่ง
ในตลาดโลกทำสถิติสูงสุด 986 ดอลลาร์ สรอ./ออนซ์ ส่งผลให้ราคาทองคำแท่งในประเทศเพิ่มขึ้นที่ระดับราคาบาทละ 14,750 บาท และ
ราคาขายทองคำรูปพรรณภายในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นบาทละ 15,150 บาท เนื่องจากตลาดโลกมีความต้องการทองคำจำนวนมากขึ้น ทำให้นักลงทุน
หันมาเก็งกำไรทองแทน ในภาวะที่ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเงินดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลง สำหรับผลกระทบจากการ
ปรับขึ้นของราคาทองคำ ส่งผลให้ร้านขายทองมียอดขายลดลงถึง 50% และไม่พบว่าประชาชนนำทองออกมาขายเก็งกำไรมากนัก
(โลกวันนี้, ข่าวสด)
4. คาดว่าราคาน้ำมันในประเทศในปี 51 นี้จะไม่ปรับลดลง รายงานข่าวจากวงการน้ำมัน เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันขณะนี้สูงมาก
โดยเฉพาะน้ำมันในแถบสหรัฐฯ โดยน้ำมันดิบในตลาดซื้อขายล่วงหน้าไนแม็กเมื่อวันที่ 3 มี.ค. มีการเคลื่อนไหวถึง 103.95 ดอลลาร์สรอ./บาร์เรล
และปิดตลาดที่ 102.45 ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล ซึ่งราคาน้ำมันในขณะนี้ทำสถิติสูงสุด (นิวไฮ) ไปแล้วทุกตลาด ส่วนหนึ่งเกิดจากการเก็งกำไร
โดยคงต้องติดตามผลการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ในวันที่ 5 มี.ค. นี้ ทั้งนี้ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน้ำมัน
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เชื่อว่าในช่วงปีนี้ราคาน้ำมันคงลดลงยาก และคงไม่ลดลงต่ำกว่า 25 บาท/ลิตรอีกแล้ว อย่างไรก็ตาม
ปตท.พยายามที่จะดูแลระดับราคาดีเซลไม่ให้สูงจนกระทบต่อผู้บริโภค (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าภาคบริการของ สรอ. ในเดือน ก.พ. จะหดตัวลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 รายงานจากนิวยอร์ก
เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 51 ผลการสำรวจโดยรอยเตอร์ชี้ว่า ในเดือน ก.พ. ภาคบริการของ สรอ. ซึ่งเป็นภาคที่สำคัญที่มีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 80
ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สรอ. จะหดตัวลงอยู่ที่ระดับ 47.0 สูงกว่าระดับ 44.6 ในเดือน ม.ค. ซึ่งเป็นระดับที่ทำสถิติต่ำที่สุด และยังอยู่ใน
ระดับต่ำกว่า 50 ซึ่งแสดงถึงภาวะหดตัว ทั้งนี้นับเป็นการชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 รวมทั้งสนับสนุนความเห็นของบรรดา
นักวิเคราะห์หลายคนที่กล่าวว่าเศรษฐกิจ สรอ. ได้เข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่บ่งชี้ถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ
สรอ. หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์)
2. จีดีพีของเขตเศรษฐกิจยุโรปในไตรมาส 4 ชะลอตัวลง รายงานจากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 4 มี.ค.51
สนง.สถิติแห่งชาติของสหภาพยุโรป ยืนยันจีดีพีของ 13 ประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโรในไตรมาส 4 ปี 50 ว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4
เทียบต่อไตรมาส สอดคล้องกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และลดลงจากร้อยละ 0.7 ในไตรมาส 3 โดยมีสาเหตุหลักจากการชะลอตัวในการใช้จ่าย
ของภาครัฐและการบริโภคในครัวเรือน รวมทั้งผลกระทบด้านลบจากสินค้าคงคลังอันเป็นผลมาจากการที่บริษัทต่าง ๆ ลดการสต็อกสินค้าเนื่องจาก
คาดว่าความต้องการบริโภคจะลดลง ขณะที่จีดีพีเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ลดลงเล็กน้อยจากที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 2.3
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอัตราการเติบโตของจีดีพีจะชะลอตัว แต่อัตราเงินเฟ้อด้านราคาของผู้ผลิตสินค้าในเดือน ม.ค. กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8
เทียบต่อเดือน ขณะที่เดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ส่วนอัตราเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ทั้งนี้ ธ.กลางสหภาพยุโรปต้องการควบคุม
อัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 2 ในระยะกลาง แต่ราคาอาหารและต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้น
สูงกว่าเป้าหมายมาตั้งแต่เดือน ก.ย.50 ซึ่งแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปจะเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดที่ระดับร้อยละ 3.2 ในเดือน ม.ค.
และ ก.พ. แต่ ธ.กลางสหภาพยุโรปก็ไม่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตามที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ เนื่องจากคาดว่าการชะลอตัวของ
เศรษฐกิจจะช่วยลดแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดการณ์ว่า ธ.กลางสหภาพยุโรป
จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็วเพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจเหมือนกับที่ ธ.กลาง สรอ. ได้ทำไปแล้ว (รอยเตอร์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของอังกฤษในเดือน ก.พ. ลดลง รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 5 มี.ค.51
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทั่วประเทศของอังกฤษในเดือน ก.พ. ลดลง 3 จุด ไปอยู่ที่ 78 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่การเปรียบเทียบสถิติเริ่มใช้
เมื่อ 4 ปีก่อน เนื่องจากความกังวลว่าเศรษฐกิจของอังกฤษจะชะลอตัวรุนแรง แม้ว่า ธ.กลางอังกฤษจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเมื่อ
เดือน ม.ค.ที่ผ่านมา โดยสัดส่วนของประชาชนที่คิดว่าเศรษฐกิจไม่ดีเพิ่มขึ้นจาก 1 ใน 4 เป็น 1 ใน 3 แต่ความรู้สึกของประชาชนเกี่ยวกับ
ตลาดแรงงานยังคงเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่ดัชนีการใช้จ่ายลดลง 4 จุด ไปอยู่ที่ 64 ซึ่งมีเพียงร้อยละ 11 ของผู้บริโภคที่เชื่อว่าปัจจุบัน
เป็นช่วงเวลาดีที่จะซื้อสินค้าเพื่อการบริโภค (รอยเตอร์)
4. ภาคการก่อสร้างของอังกฤษชะลอตัวลงในเดือน ก.พ. รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 51 ผลการสำรวจ
Purchasing and supply โดย Chartered Institute ชี้ว่าในเดือน ก.พ. ดัชนีการขยายตัวภาคการก่อสร้างของอังกฤษอยู่ที่ระดับ 52.4
(ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ชะลอตัวลงจากระดับ 53.9 ในเดือน ม.ค. และอ่อนตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 49 เนื่องจากได้รับผลกระทบ
จากการชะลอตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย โดยในส่วนของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยนั้นหดตัวลงในอัตราที่รวดเร็วที่สุดในรอบ
22 เดือน ตรงข้ามกับประเภทวิศวกรรมโยธาที่กลับฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ขณะที่ภาคก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์ฟื้นตัวอย่างปานกลาง ทั้งนี้ดัชนีคำสั่งซื้อ
ใหม่ลดลงอยู่ที่ระดับ 52.1 ซึ่งเป็นอัตราที่อ่อนตัวมากที่สุดในรอบ 75 เดือน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของราคาสินค้าเพื่อการผลิตเร่งตัวขึ้นอยู่ในระดับ
73.0 สูงที่สุดในรอบ 19 เดือน เนื่องจากราคาน้ำมันและโลหะสูงขึ้น ซึ่งบรรดาผู้จัดการจัดซื้อต่างรายงานว่า แรงกดดันด้านเงินเฟ้อของราคา
สินค้าเพื่อการผลิตและปริมาณความต้องการซื้อสินค้าใหม่เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อภาคการก่อสร้าง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5 มี.ค. 51 4 มี.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.608 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.3994/31.7358 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.26125 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 831.41/19.79 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,350/14,450 14,650/14,750 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 94.89 94.98 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.59*/29.94* 33.59*/29.94* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 28 ก.พ. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--