ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือเดือนมกราคม 2551 โดยรวมชะลอลงจากเดือนก่อน โดยด้านอุปทาน รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นตามผลผลิตพืชหลัก ขณะที่การผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวได้ดีแต่ชะลอจากเดือนก่อน ส่วนภาคบริการอยู่ในเกณฑ์ดี ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนแต่ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงจัดงานพืชสวนโลก การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน อย่างไรก็ดี การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐเร่งตัวขึ้นมากโดยเฉพาะการเบิกจ่ายงบลงทุน ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อน ส่วนเงินฝากและสินเชื่อขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร รายได้ของเกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ชะลอลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เนื่องจากอ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง และกระเทียมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ร้อยละ 5.0 และร้อยละ 13.9 ตามลำดับ ตามการขยายพื้นที่เพาะปลูกเนื่องจากราคาปีก่อนอยู่ในเกณฑ์ดีจูงใจเกษตรกรให้เพิ่มการผลิต ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วลิสง ลดลงร้อยละ 4.2 และร้อยละ 0.7 ตามลำดับ เป็นผลจากเกษตรกรส่วนหนึ่งปรับเปลี่ยนไปปลูกมันสำปะหลังและอ้อยโรงงาน ด้านราคาพืชสำคัญลดลงร้อยละ 2.1 จากราคาอ้อยโรงงานลดลงร้อยละ 14.2 ตามราคาอ้อยขั้นต้นที่ปรับลดลงจากปีก่อน ข้าวเปลือกเหนียวนาปีราคาลดลงร้อยละ 17.9 เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้นมากประกอบกับคุณภาพด้อยลง ราคาหอมหัวใหญ่และกระเทียมแห้ง ลดลงร้อยละ 66.7 และร้อยละ 54.6 ตามลำดับ จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ดี ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 ตามอุปสงค์เพื่อการส่งออก ราคา มันสำปะหลังสดและ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 102.4 และร้อยละ 14.2 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการใช้ทั้งในและต่างประเทศ
2. ภาคอุตสาหกรรม1/ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมภาคเหนือขยายตัวในเกณฑ์ดีจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 7.2 แต่ชะลอตัวจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 12.2 โดยการผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ตามการผลิตที่เพิ่มขึ้นของไดโอดและส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่การผลิตมอเตอร์และส่วนประกอบฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ยังคงลดลง ด้านอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรขยายตัวตามการส่งออกผลไม้/ผักสดแช่แข็งและอบแห้ง และข้าวโพดหวานกระป๋องที่เพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมเซรามิกและสิ่งทอขยายตัวดีต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดยุโรป ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องดื่มลดลง เนื่องจากประสบปัญหาการแข่งขัน
3. ภาคบริการ อยู่ในเกณฑ์ดีแต่ลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนซึ่งเป็นช่วงของการจัดงานพืชสวนโลก อีกทั้งได้รับผลกระทบจากนักท่องเที่ยวชาวไทยระมัดระวังการใช้จ่าย อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่มีกำลังซื้อสูงยังคงเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการผนวกโปรแกรมท่องเที่ยวภาคเหนือและภาคใต้ เช่น ภูเก็ตและสมุย ให้อยู่ในโปรแกรมเดียวกันของกลุ่มโรงแรมระดับบนในภาคเหนือ เครื่องชี้กิจกรรมภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคาร รวมถึงจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน อัตราการเข้าพักของโรงแรม ปรับตัวลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.4 ร้อยละ 9.4 และร้อยละ 3.9 ตามลำดับ แต่ราคาห้องพักของโรงแรมปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวจากเดือนก่อน แต่ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงจัดงานพืชสวนโลก โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.4 อย่างไรก็ตาม ภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดค้าส่งค้าปลีกยังขยายตัวเล็กน้อยคือร้อยละ 0.8 ตามการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ สำหรับปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์ทั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 ตามการระมัดระวังการใช้จ่ายของประชาชนเป็นสำคัญ ส่วนรถจักรยานยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.8 ปรับตัวดีขึ้นเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 21.3 เดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดของผู้ประกอบการ
5. การลงทุนภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นสะท้อนจากกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ ยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดลงแต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลขยายตัวร้อยละ 14.9 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นในประเภทที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ และธุรกิจบริการ โดยเฉพาะในเมืองหลักได้แก่ เชียงราย นครสวรรค์ และลำพูน ส่วนมูลค่าการซื้อขายที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และลำปาง สำหรับมูลค่าเงินลงทุนของกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมีทั้งสิ้น 571.7 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 78.1
6. การเบิกจ่ายเงินงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือ มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้นจำนวน 18,871.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนกว่าเท่าตัว เทียบกับที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 4.7 เดือนก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากการ เร่งเบิกจ่ายงบลงทุนของงบประมาณปีปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ตามการเบิกจ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะเงินอุดหนุนทั่วไปและอุดหนุนเฉพาะกิจที่เพิ่มขึ้นกว่า 6 เท่าตัวและ 13 เท่าตัว และการเบิกจ่ายที่ดินและสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว
7. การค้าต่างประเทศ การค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือมีมูลค่า 338.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 การส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เป็น 210.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 เดือนก่อน เป็นผลจากการส่งออกสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.7 ตามการส่งออกยางแผ่นรมควันที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ประกอบกับมูลค่าส่งออกที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ส่งผลให้การส่งออกผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 35.9 เป็น 71.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกไปพม่าและลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.4 และร้อยละ 20.3 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกไปจีนตอนใต้ลดลงร้อยละ 25.7 ด้านการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 34.3 สินค้าสำคัญที่ลดลง อาทิ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบฮาร์ดิสต์ไดร์
การนำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.3 เหลือ 128.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าสินค้าทุนลดลงร้อยละ 19.6 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 29.2 เดือนก่อน ตามการนำเข้าชิ้นส่วนเครื่องจักรไฟฟ้าของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน การนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางขยายตัวร้อยละ 6.5 เป็นผลจากการนำเข้าวัตถุดิบประเภทแก้ว และอัญมณีที่ขยายตัว ส่วนการนำเข้าผ่าน ด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เป็น 10.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าจากลาวและจีนตอนใต้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.9 และ ร้อยละ 50.0 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจากพม่าลดลงร้อยละ 32.3
ดุลการค้า ในเดือนมกราคม 2551 เกินดุล 81.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 68.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ลดลงจากเดือนก่อนที่เกินดุล 111.3 ล้านดอลลาร์ สรอ.
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เร่งตัวขึ้นจากที่เพิ่มร้อยละ 3.5เดือนก่อน จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดพลังงาน รวมทั้งราคาสินค้าหมวดยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงขึ้นจากการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตเป็นสำคัญ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานทรงตัวเท่ากับระยะเดียวกันปีก่อนที่ ร้อยละ 0.9 เร่งตัวขึ้นจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เดือนก่อน
9. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนธันวาคม 2550 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.72 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.65 ล้านคน คิดเป็นอัตราการมีงานทำร้อยละ 99.0 สูงกว่าร้อยละ 98.5 ระยะเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวของแรงงานภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เนื่องจากเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวพืชหลักซึ่งมีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ส่วนแรงงานนอกภาคเกษตรลดลงร้อยละ 2.6 ตามการลดลงของแรงงานในสาขาค้าส่ง-ปลีก ร้อยละ 11.9 การก่อสร้างร้อยละ 2.9 และการผลิตร้อยละ 2.9 อย่างไรก็ตาม สาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 2.9 เนื่องจากมีความต้องการแรงงานของกิจการโรงแรมที่เพิ่มขึ้น ทางด้านผู้ว่างงานมีจำนวน 0.05 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 ต่ำกว่าร้อยละ 1.0 เดือนก่อนและร้อยละ 1.2 ระยะเดียวกันปีก่อน
สำหรับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 ในเดือนมกราคม 2550 มีจำนวน 0.60 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.1 แต่ลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อยร้อยละ 0.3
10. การเงิน ยอดคงค้างเงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2550
มียอดคงค้างทั้งสิ้น 339,895 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.4 สูงกว่าที่ขยายตัวร้อยละ 2.5 เดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเงินฝากพักชั่วคราวของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู อย่างไรก็ตาม มีการถอนเงินฝากของส่วนราชการและถอนเงินฝากเพื่อลงทุนในกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า และด้านเงินให้สินเชื่อ มียอดคงค้าง 290,454 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.8 เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 เดือนก่อน สินเชื่อเพิ่มขึ้นตามความต้องการของธุรกิจค้าพืชไร่ที่จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์และกำแพงเพชร ขณะที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายเป็นสินเชื่อธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ ส่วนสินเชื่อเพิ่มขึ้นที่จังหวัดพิจิตร ลำปาง น่านและตากจากความต้องการใช้สินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู สำหรับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 85.5 สูงขึ้นจากร้อยละ 83.5 ระยะเดียวกันปีก่อน
ข้อมูลเพิ่มเติม : คุณสุวีวรรณ เลิศวิภาภัทร ทร. 0-5393-1164 e-mail: suweewal@bot.or.th
1/ ธปท. สำนักงานภาคเหนือ ได้เริ่มเผยแพร่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมภาคเหนือตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 เป็นต้นไป
เพื่อให้สะท้อนการผลิตอุตสาหกรรมในภาคเหนือได้ดีขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร รายได้ของเกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ชะลอลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เนื่องจากอ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง และกระเทียมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ร้อยละ 5.0 และร้อยละ 13.9 ตามลำดับ ตามการขยายพื้นที่เพาะปลูกเนื่องจากราคาปีก่อนอยู่ในเกณฑ์ดีจูงใจเกษตรกรให้เพิ่มการผลิต ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วลิสง ลดลงร้อยละ 4.2 และร้อยละ 0.7 ตามลำดับ เป็นผลจากเกษตรกรส่วนหนึ่งปรับเปลี่ยนไปปลูกมันสำปะหลังและอ้อยโรงงาน ด้านราคาพืชสำคัญลดลงร้อยละ 2.1 จากราคาอ้อยโรงงานลดลงร้อยละ 14.2 ตามราคาอ้อยขั้นต้นที่ปรับลดลงจากปีก่อน ข้าวเปลือกเหนียวนาปีราคาลดลงร้อยละ 17.9 เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้นมากประกอบกับคุณภาพด้อยลง ราคาหอมหัวใหญ่และกระเทียมแห้ง ลดลงร้อยละ 66.7 และร้อยละ 54.6 ตามลำดับ จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ดี ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 ตามอุปสงค์เพื่อการส่งออก ราคา มันสำปะหลังสดและ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 102.4 และร้อยละ 14.2 ตามลำดับ เนื่องจากมีความต้องการใช้ทั้งในและต่างประเทศ
2. ภาคอุตสาหกรรม1/ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมภาคเหนือขยายตัวในเกณฑ์ดีจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 7.2 แต่ชะลอตัวจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 12.2 โดยการผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ตามการผลิตที่เพิ่มขึ้นของไดโอดและส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่การผลิตมอเตอร์และส่วนประกอบฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ยังคงลดลง ด้านอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรขยายตัวตามการส่งออกผลไม้/ผักสดแช่แข็งและอบแห้ง และข้าวโพดหวานกระป๋องที่เพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมเซรามิกและสิ่งทอขยายตัวดีต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดยุโรป ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องดื่มลดลง เนื่องจากประสบปัญหาการแข่งขัน
3. ภาคบริการ อยู่ในเกณฑ์ดีแต่ลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนซึ่งเป็นช่วงของการจัดงานพืชสวนโลก อีกทั้งได้รับผลกระทบจากนักท่องเที่ยวชาวไทยระมัดระวังการใช้จ่าย อย่างไรก็ดี นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่มีกำลังซื้อสูงยังคงเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการผนวกโปรแกรมท่องเที่ยวภาคเหนือและภาคใต้ เช่น ภูเก็ตและสมุย ให้อยู่ในโปรแกรมเดียวกันของกลุ่มโรงแรมระดับบนในภาคเหนือ เครื่องชี้กิจกรรมภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคาร รวมถึงจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน อัตราการเข้าพักของโรงแรม ปรับตัวลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.4 ร้อยละ 9.4 และร้อยละ 3.9 ตามลำดับ แต่ราคาห้องพักของโรงแรมปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวจากเดือนก่อน แต่ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงจัดงานพืชสวนโลก โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.4 อย่างไรก็ตาม ภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดค้าส่งค้าปลีกยังขยายตัวเล็กน้อยคือร้อยละ 0.8 ตามการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ สำหรับปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์ทั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 ตามการระมัดระวังการใช้จ่ายของประชาชนเป็นสำคัญ ส่วนรถจักรยานยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.8 ปรับตัวดีขึ้นเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 21.3 เดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดของผู้ประกอบการ
5. การลงทุนภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นสะท้อนจากกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ ยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดลงแต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลขยายตัวร้อยละ 14.9 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นในประเภทที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ และธุรกิจบริการ โดยเฉพาะในเมืองหลักได้แก่ เชียงราย นครสวรรค์ และลำพูน ส่วนมูลค่าการซื้อขายที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และลำปาง สำหรับมูลค่าเงินลงทุนของกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมีทั้งสิ้น 571.7 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 78.1
6. การเบิกจ่ายเงินงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือ มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้นจำนวน 18,871.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนกว่าเท่าตัว เทียบกับที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 4.7 เดือนก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากการ เร่งเบิกจ่ายงบลงทุนของงบประมาณปีปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ตามการเบิกจ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะเงินอุดหนุนทั่วไปและอุดหนุนเฉพาะกิจที่เพิ่มขึ้นกว่า 6 เท่าตัวและ 13 เท่าตัว และการเบิกจ่ายที่ดินและสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว
7. การค้าต่างประเทศ การค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือมีมูลค่า 338.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 การส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เป็น 210.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 เดือนก่อน เป็นผลจากการส่งออกสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.7 ตามการส่งออกยางแผ่นรมควันที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ประกอบกับมูลค่าส่งออกที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ส่งผลให้การส่งออกผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 35.9 เป็น 71.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกไปพม่าและลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.4 และร้อยละ 20.3 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกไปจีนตอนใต้ลดลงร้อยละ 25.7 ด้านการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 34.3 สินค้าสำคัญที่ลดลง อาทิ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบฮาร์ดิสต์ไดร์
การนำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.3 เหลือ 128.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าสินค้าทุนลดลงร้อยละ 19.6 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 29.2 เดือนก่อน ตามการนำเข้าชิ้นส่วนเครื่องจักรไฟฟ้าของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน การนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางขยายตัวร้อยละ 6.5 เป็นผลจากการนำเข้าวัตถุดิบประเภทแก้ว และอัญมณีที่ขยายตัว ส่วนการนำเข้าผ่าน ด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เป็น 10.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าจากลาวและจีนตอนใต้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.9 และ ร้อยละ 50.0 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจากพม่าลดลงร้อยละ 32.3
ดุลการค้า ในเดือนมกราคม 2551 เกินดุล 81.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 68.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ลดลงจากเดือนก่อนที่เกินดุล 111.3 ล้านดอลลาร์ สรอ.
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เร่งตัวขึ้นจากที่เพิ่มร้อยละ 3.5เดือนก่อน จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดพลังงาน รวมทั้งราคาสินค้าหมวดยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงขึ้นจากการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตเป็นสำคัญ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานทรงตัวเท่ากับระยะเดียวกันปีก่อนที่ ร้อยละ 0.9 เร่งตัวขึ้นจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เดือนก่อน
9. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนธันวาคม 2550 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.72 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.65 ล้านคน คิดเป็นอัตราการมีงานทำร้อยละ 99.0 สูงกว่าร้อยละ 98.5 ระยะเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวของแรงงานภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เนื่องจากเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวพืชหลักซึ่งมีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ส่วนแรงงานนอกภาคเกษตรลดลงร้อยละ 2.6 ตามการลดลงของแรงงานในสาขาค้าส่ง-ปลีก ร้อยละ 11.9 การก่อสร้างร้อยละ 2.9 และการผลิตร้อยละ 2.9 อย่างไรก็ตาม สาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 2.9 เนื่องจากมีความต้องการแรงงานของกิจการโรงแรมที่เพิ่มขึ้น ทางด้านผู้ว่างงานมีจำนวน 0.05 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 ต่ำกว่าร้อยละ 1.0 เดือนก่อนและร้อยละ 1.2 ระยะเดียวกันปีก่อน
สำหรับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 ในเดือนมกราคม 2550 มีจำนวน 0.60 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.1 แต่ลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อยร้อยละ 0.3
10. การเงิน ยอดคงค้างเงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2550
มียอดคงค้างทั้งสิ้น 339,895 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.4 สูงกว่าที่ขยายตัวร้อยละ 2.5 เดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเงินฝากพักชั่วคราวของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู อย่างไรก็ตาม มีการถอนเงินฝากของส่วนราชการและถอนเงินฝากเพื่อลงทุนในกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า และด้านเงินให้สินเชื่อ มียอดคงค้าง 290,454 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.8 เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 เดือนก่อน สินเชื่อเพิ่มขึ้นตามความต้องการของธุรกิจค้าพืชไร่ที่จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์และกำแพงเพชร ขณะที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายเป็นสินเชื่อธุรกิจจำหน่ายรถยนต์ ส่วนสินเชื่อเพิ่มขึ้นที่จังหวัดพิจิตร ลำปาง น่านและตากจากความต้องการใช้สินเชื่อของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู สำหรับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 85.5 สูงขึ้นจากร้อยละ 83.5 ระยะเดียวกันปีก่อน
ข้อมูลเพิ่มเติม : คุณสุวีวรรณ เลิศวิภาภัทร ทร. 0-5393-1164 e-mail: suweewal@bot.or.th
1/ ธปท. สำนักงานภาคเหนือ ได้เริ่มเผยแพร่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมภาคเหนือตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 เป็นต้นไป
เพื่อให้สะท้อนการผลิตอุตสาหกรรมในภาคเหนือได้ดีขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--