ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เชื่อว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับลดลงหากราคาน้ำมันอยู่ในสมมติฐานที่คาด นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ.ที่ ก.พาณิชย์ประกาศว่า เพิ่มขึ้นที่ระดับ 5.4% สูงสุดในรอบ 20 เดือน
เป็นไปตามที่ ธปท.คาดการณ์ไว้ เนื่องจากราคาน้ำมันและอาหารปรับตัวสูงขึ้น แต่เชื่อว่าในระยะต่อไปเงินเฟ้อจะปรับลดลง หากราคาน้ำมัน
อยู่ในสมมติฐานที่คาดไว้ ด้านนางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท. เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ
นโยบายการเงินครั้งก่อน มีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสินเชื่อด้านอสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพของสหรัฐฯ และเงินเฟ้อทั่วไปที่สูงขึ้น แต่ก็มีแนวโน้ม
ลดลง และเชื่อว่ายังอยู่ในเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ เงินเฟ้อทั่วไป 2.8-4% และเงินเฟ้อพื้นฐาน 1.3-2.3% ส่วนการที่ ก.คลังกำหนดเป้าหมาย
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 6% นั้น มองว่าหากภาครัฐสามารถเร่งรัดกระตุ้นการเบิกจ่าย งปม. ก็มีโอกาสที่จะเป็นไปได้ (ข่าวสด)
2. ผลการสำรวจพบว่าภาคตลาดทุนเห็นด้วยกับการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ของ ธปท. นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการ
สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เปิดเผยว่า สมาคมฯ ได้สำรวจความคิดเห็นจากนักวิเคราะห์เกี่ยวกับการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% สำหรับ
เงินทุนระยะสั้นของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า ส่วนใหญ่ 80% เห็นด้วยกับการยกเลิกมาตรการ เพราะจะส่งผลบวกต่อการลงทุน
ในตลาดหลักทรัพย์ โดยเห็นว่าจะส่งผลบวกโดยตรงต่อหุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะบริษัทที่ออกกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ รองลงมาเป็น
กลุ่มบริษัทที่มีหนี้ต่างประเทศที่อาจทยอยชำระคืนหนี้ได้ จากที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่กลุ่มที่ได้รับผลลบโดยตรงคือ กลุ่มส่งออกและพลังงานปิโตรเคมี
และอิเล็กทรอนิกส์ เพราะมีรายได้เป็นเงินดอลลาร์ นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ 62% คาดว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเฉลี่ยใน 4 สัปดาห์ข้างหน้า
จะแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 30.80 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. มีเพียง 10% ที่ประเมินว่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 31.90 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
(มติชน)
3. กำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์งวดสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.50 ลดลง 10% ดีขึ้นจากปีก่อน นางภัทรียา เบญจพลชัย
กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เอ็มเอไอ จำนวน 526 บริษัท หรือ 97% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด 541 บริษัท ได้รายงานงบการเงินงวดสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.50 พบว่า
มีกำไรรวม 422,154 ล้านบาท ลดลง 48,378 ล้านบาท หรือลดลง 10% ดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 49 ที่กำไรสุทธิลดลง 12%
สาเหตุหลักมาจากการที่สถาบันการเงินมีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ใหม่ของ ธปท. เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการ
บัญชีระหว่างประเทศ (IAS39) ประกอบกับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี รวมถึงกำไร
จากการปรับโครงสร้างหนี้ลดลงจากเดิม (มติชน, ข่าวสด)
4. รัฐบาลมีแนวคิดคงภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 7% เช่นเดิมต่อไป นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม.และ รมว.คลัง เปิดเผยเกี่ยวกับ
มาตรการคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ 7% ซึ่งจะหมดอายุตามมติ ครม.เดิมในวันที่ 30 ก.ย.51 นี้ ว่า รัฐบาลจะยังคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้
ที่ 7% เช่นเดิม อย่างน้อยเป็นระยะเวลา 2 ปี จึงจะพิจารณาอีกครั้งว่าจะปรับขึ้นเป็น 10% หรือไม่ และเหตุผลที่ไม่ได้เสนอเรื่องการคงภาษี
มูลค่าเพิ่มในการประชุม ครม.เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เนื่องจากเห็นว่ามีระยะเวลาเหลืออีกหลายเดือน จึงยังไม่เร่งด่วนดำเนินการ นอกจากนี้
ภายในเดือน มี.ค.นี้ รัฐบาลจะออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง โดยจะเน้นการสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนมากขึ้นในช่วงที่ฐานรายจ่าย
ในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมาตรการชุดที่สองนี้ผู้ที่ได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่จะเป็นรากหญ้า เกษตรกร ซึ่งต่างกับมาตรการ
ชุดแรกที่ผู้ได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายปลีกในเดือน ม.ค.51 ของ Euro zone ลดลงเมื่อเทียบต่อปี 3 เดือนติดต่อกันรายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ
5 มี.ค.51 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานยอดค้าปลีกของ 15 ประเทศใน Euro zone เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ต่อเดือน
เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเทียบต่อเดือน หลังจากลดลง 3 เดือนติดต่อกัน แต่เมื่อเทียบต่อปีแล้ว ยอดค้าปลีกลดลงร้อยละ 0.1 ลดลงเป็นเดือนที่
3 ติดต่อกัน สอดคล้องกับผลสำรวจก่อนหน้านี้ที่ชี้ว่าความต้องการภาคครัวเรือนในไตรมาสสุดท้ายปี 50 หดตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
ทั้งนี้ เป็นผลจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจากราคาอาหารและราคาน้ำมันทำให้ผู้บริโภคมีรายได้เหลือใช้จ่ายน้อยลง นอกจากนี้ ความไม่แน่นอน
เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวมและฐานะการเงินส่วนบุคคลก็มีส่วนทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายลง แม้ว่าอัตราการว่างงานได้ลดลงมาอยู่
ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์และอัตราเงินเดือนและค่าจ้างมีแนวโน้มสูงขึ้นจากการเจรจาขอขึ้นค่าจ้างก็ตาม นักวิเคราะห์คาดว่าเศรษฐกิจ
ที่ชะลอตัวลงอาจช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อและเปิดทางให้ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไปได้
(รอยเตอร์)
2. คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในขณะนี้ รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อ
วันที่ 5 มี.ค.51 ผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ของ ธ.กลางอังกฤษ จะคงอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 5.25 ในการประชุมวันพฤหัสบดีนี้ ก่อนที่จะปรับลดลงอีกครั้งในช่วงกลางปีนี้ เพื่อลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
จากความผันผวนในตลาดการเงินโลก รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่กำลังเพิ่มขึ้น ขณะที่ MPC กล่าวว่าจะต้องสร้าง
ความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวกับความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อในระยะสั้น (รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือน ก.พ.51 รายงานจากลอนดอน เมื่อ
5 มี.ค.51 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษลดลง 3 จุดในเดือน ก.พ.51 มาอยู่ที่ระดับ 78 ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มีการ
จัดทำดัชนีดังกล่าวเมื่อ 4 ปีก่อน แม้ว่า ธ.กลางอังกฤษได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงแล้วเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาก็ตาม โดยสัดส่วนของผู้ที่เห็นว่า
ภาวะเศรษฐกิจไม่ดีเพิ่มขึ้นจาก 1 ใน 4 เป็น 1 ใน 3 เช่นเดียวกับดัชนีชี้วัดการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ลดลง 4 จุดมาอยู่ที่ระดับ 64
ในเดือนเดียวกัน โดยมีผู้ที่เห็นว่าขณะนี้เป็นเวลาที่เหมาะแก่การใช้จ่ายเพียงร้อยละ 11 (รอยเตอร์)
4. ภาคบริการของอังกฤษในเดือน ก.พ. เติบโตสูงสุดในรอบ 5 เดือน รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อ
วันที่ 5 มี.ค.51 Chartered Institute of Purchasing and Supply/NTC เปิดเผยว่า ดัชนีภาคอุตสาหกรรมบริการที่คิดค่าแตกต่าง
ระหว่างตัวแปรที่น้อยสุดกับมากสุดจากธุรกิจสายการบินและธนาคารในเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 อยู่ที่ระดับ 54.0 จาก 52.5 ใน
เดือน ม.ค. และเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.50 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีดังกล่าวจะตกลงอยู่ที่ระดับ 52.1 ทั้งนี้ ค่าดัชนี
ที่อ่านได้สูงเกินระดับ 50 แสดงให้เห็นว่ามีการขยายตัว ซึ่งการที่กิจกรรมทางธุรกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นแสดงว่าเศรษฐกิจโดยรวมยังมีสมดุลอยู่
โดยภาคบริการของอังกฤษที่มีสัดส่วน 3 ใน 4 ของเศรษฐกิจอังกฤษมีการเติบโตทุกเดือนในรอบเกือบ 5 ปี แม้ว่าอัตราการเติบโตจะชะลอตัว
อย่างรุนแรงในช่วงใกล้สิ้นปี 50 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 มี.ค. 51 5 มี.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.570 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.3716/31.7116 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.26125 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 824.98/18.35 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,600/14,700 14,350/14,450 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 93.07 94.89 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.59*/29.94* 33.59*/29.94* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 28 ก.พ. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เชื่อว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับลดลงหากราคาน้ำมันอยู่ในสมมติฐานที่คาด นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ.ที่ ก.พาณิชย์ประกาศว่า เพิ่มขึ้นที่ระดับ 5.4% สูงสุดในรอบ 20 เดือน
เป็นไปตามที่ ธปท.คาดการณ์ไว้ เนื่องจากราคาน้ำมันและอาหารปรับตัวสูงขึ้น แต่เชื่อว่าในระยะต่อไปเงินเฟ้อจะปรับลดลง หากราคาน้ำมัน
อยู่ในสมมติฐานที่คาดไว้ ด้านนางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท. เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ
นโยบายการเงินครั้งก่อน มีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสินเชื่อด้านอสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพของสหรัฐฯ และเงินเฟ้อทั่วไปที่สูงขึ้น แต่ก็มีแนวโน้ม
ลดลง และเชื่อว่ายังอยู่ในเป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ เงินเฟ้อทั่วไป 2.8-4% และเงินเฟ้อพื้นฐาน 1.3-2.3% ส่วนการที่ ก.คลังกำหนดเป้าหมาย
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 6% นั้น มองว่าหากภาครัฐสามารถเร่งรัดกระตุ้นการเบิกจ่าย งปม. ก็มีโอกาสที่จะเป็นไปได้ (ข่าวสด)
2. ผลการสำรวจพบว่าภาคตลาดทุนเห็นด้วยกับการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ของ ธปท. นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการ
สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เปิดเผยว่า สมาคมฯ ได้สำรวจความคิดเห็นจากนักวิเคราะห์เกี่ยวกับการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% สำหรับ
เงินทุนระยะสั้นของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า ส่วนใหญ่ 80% เห็นด้วยกับการยกเลิกมาตรการ เพราะจะส่งผลบวกต่อการลงทุน
ในตลาดหลักทรัพย์ โดยเห็นว่าจะส่งผลบวกโดยตรงต่อหุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะบริษัทที่ออกกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ รองลงมาเป็น
กลุ่มบริษัทที่มีหนี้ต่างประเทศที่อาจทยอยชำระคืนหนี้ได้ จากที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่กลุ่มที่ได้รับผลลบโดยตรงคือ กลุ่มส่งออกและพลังงานปิโตรเคมี
และอิเล็กทรอนิกส์ เพราะมีรายได้เป็นเงินดอลลาร์ นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ 62% คาดว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเฉลี่ยใน 4 สัปดาห์ข้างหน้า
จะแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 30.80 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. มีเพียง 10% ที่ประเมินว่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 31.90 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
(มติชน)
3. กำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์งวดสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.50 ลดลง 10% ดีขึ้นจากปีก่อน นางภัทรียา เบญจพลชัย
กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เอ็มเอไอ จำนวน 526 บริษัท หรือ 97% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด 541 บริษัท ได้รายงานงบการเงินงวดสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.50 พบว่า
มีกำไรรวม 422,154 ล้านบาท ลดลง 48,378 ล้านบาท หรือลดลง 10% ดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 49 ที่กำไรสุทธิลดลง 12%
สาเหตุหลักมาจากการที่สถาบันการเงินมีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ใหม่ของ ธปท. เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการ
บัญชีระหว่างประเทศ (IAS39) ประกอบกับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี รวมถึงกำไร
จากการปรับโครงสร้างหนี้ลดลงจากเดิม (มติชน, ข่าวสด)
4. รัฐบาลมีแนวคิดคงภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 7% เช่นเดิมต่อไป นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม.และ รมว.คลัง เปิดเผยเกี่ยวกับ
มาตรการคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ที่ 7% ซึ่งจะหมดอายุตามมติ ครม.เดิมในวันที่ 30 ก.ย.51 นี้ ว่า รัฐบาลจะยังคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้
ที่ 7% เช่นเดิม อย่างน้อยเป็นระยะเวลา 2 ปี จึงจะพิจารณาอีกครั้งว่าจะปรับขึ้นเป็น 10% หรือไม่ และเหตุผลที่ไม่ได้เสนอเรื่องการคงภาษี
มูลค่าเพิ่มในการประชุม ครม.เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เนื่องจากเห็นว่ามีระยะเวลาเหลืออีกหลายเดือน จึงยังไม่เร่งด่วนดำเนินการ นอกจากนี้
ภายในเดือน มี.ค.นี้ รัฐบาลจะออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง โดยจะเน้นการสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนมากขึ้นในช่วงที่ฐานรายจ่าย
ในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมาตรการชุดที่สองนี้ผู้ที่ได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่จะเป็นรากหญ้า เกษตรกร ซึ่งต่างกับมาตรการ
ชุดแรกที่ผู้ได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขายปลีกในเดือน ม.ค.51 ของ Euro zone ลดลงเมื่อเทียบต่อปี 3 เดือนติดต่อกันรายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ
5 มี.ค.51 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานยอดค้าปลีกของ 15 ประเทศใน Euro zone เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ต่อเดือน
เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเทียบต่อเดือน หลังจากลดลง 3 เดือนติดต่อกัน แต่เมื่อเทียบต่อปีแล้ว ยอดค้าปลีกลดลงร้อยละ 0.1 ลดลงเป็นเดือนที่
3 ติดต่อกัน สอดคล้องกับผลสำรวจก่อนหน้านี้ที่ชี้ว่าความต้องการภาคครัวเรือนในไตรมาสสุดท้ายปี 50 หดตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
ทั้งนี้ เป็นผลจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจากราคาอาหารและราคาน้ำมันทำให้ผู้บริโภคมีรายได้เหลือใช้จ่ายน้อยลง นอกจากนี้ ความไม่แน่นอน
เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวมและฐานะการเงินส่วนบุคคลก็มีส่วนทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายลง แม้ว่าอัตราการว่างงานได้ลดลงมาอยู่
ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์และอัตราเงินเดือนและค่าจ้างมีแนวโน้มสูงขึ้นจากการเจรจาขอขึ้นค่าจ้างก็ตาม นักวิเคราะห์คาดว่าเศรษฐกิจ
ที่ชะลอตัวลงอาจช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อและเปิดทางให้ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไปได้
(รอยเตอร์)
2. คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในขณะนี้ รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อ
วันที่ 5 มี.ค.51 ผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ของ ธ.กลางอังกฤษ จะคงอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 5.25 ในการประชุมวันพฤหัสบดีนี้ ก่อนที่จะปรับลดลงอีกครั้งในช่วงกลางปีนี้ เพื่อลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
จากความผันผวนในตลาดการเงินโลก รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่กำลังเพิ่มขึ้น ขณะที่ MPC กล่าวว่าจะต้องสร้าง
ความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวกับความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อในระยะสั้น (รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือน ก.พ.51 รายงานจากลอนดอน เมื่อ
5 มี.ค.51 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษลดลง 3 จุดในเดือน ก.พ.51 มาอยู่ที่ระดับ 78 ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มีการ
จัดทำดัชนีดังกล่าวเมื่อ 4 ปีก่อน แม้ว่า ธ.กลางอังกฤษได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงแล้วเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาก็ตาม โดยสัดส่วนของผู้ที่เห็นว่า
ภาวะเศรษฐกิจไม่ดีเพิ่มขึ้นจาก 1 ใน 4 เป็น 1 ใน 3 เช่นเดียวกับดัชนีชี้วัดการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ลดลง 4 จุดมาอยู่ที่ระดับ 64
ในเดือนเดียวกัน โดยมีผู้ที่เห็นว่าขณะนี้เป็นเวลาที่เหมาะแก่การใช้จ่ายเพียงร้อยละ 11 (รอยเตอร์)
4. ภาคบริการของอังกฤษในเดือน ก.พ. เติบโตสูงสุดในรอบ 5 เดือน รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อ
วันที่ 5 มี.ค.51 Chartered Institute of Purchasing and Supply/NTC เปิดเผยว่า ดัชนีภาคอุตสาหกรรมบริการที่คิดค่าแตกต่าง
ระหว่างตัวแปรที่น้อยสุดกับมากสุดจากธุรกิจสายการบินและธนาคารในเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 อยู่ที่ระดับ 54.0 จาก 52.5 ใน
เดือน ม.ค. และเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.50 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าดัชนีดังกล่าวจะตกลงอยู่ที่ระดับ 52.1 ทั้งนี้ ค่าดัชนี
ที่อ่านได้สูงเกินระดับ 50 แสดงให้เห็นว่ามีการขยายตัว ซึ่งการที่กิจกรรมทางธุรกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นแสดงว่าเศรษฐกิจโดยรวมยังมีสมดุลอยู่
โดยภาคบริการของอังกฤษที่มีสัดส่วน 3 ใน 4 ของเศรษฐกิจอังกฤษมีการเติบโตทุกเดือนในรอบเกือบ 5 ปี แม้ว่าอัตราการเติบโตจะชะลอตัว
อย่างรุนแรงในช่วงใกล้สิ้นปี 50 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 มี.ค. 51 5 มี.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.570 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.3716/31.7116 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.26125 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 824.98/18.35 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,600/14,700 14,350/14,450 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 93.07 94.89 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.59*/29.94* 33.59*/29.94* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 28 ก.พ. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--