ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. เร่งดำเนินการลดเอ็นพีแอลให้เหลือร้อยละ 2 นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท.
กล่าวถึงแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2 (มาสเตอร์แพลน) ว่า ในหลักการที่ 1 ของมาสเตอร์แพลน 2 คือ การลดต้นทุนให้กับระบบ
สถาบันการเงิน ซึ่ง ธปท. ได้พิจารณาแล้วว่าการลดต้นทุนนอกจากจะดำเนินการลดกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจแล้ว
สิ่งสำคัญจะต้องลดเอ็นพีแอลให้เหลือระดับใกล้เคียงกับสากลที่มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 2 ของสินเชื่อรวม เพราะถึงแม้ปัจจุบันระบบสถาบัน
การเงินไทยจะสามารถลดเอ็นพีแอลเหลือร้อยละ 7.8 จากช่วงวิกฤตสถาบันการเงินที่เคยสูงถึงร้อยละ 40 แต่ระดับดังกล่าวยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์
ที่สูงมาก และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อันดับความน่าเชื่อถือของ ธ.พาณิชย์ที่ประเมินโดยมูดี้ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส อยู่ที่ระดับ D เท่านั้น ขณะที่
มาเลเซียอยู่ที่ระดับ C และสวิตเซอร์แลนด์อยู่ที่ระดับ B ได้ส่งผลให้ ธ.พาณิชย์ไทยมีต้นทุนทางการเงินที่สูง อีกทั้งยังเป็นภาระให้ต้องใช้เงิน
จำนวนมากกันสำรองหนี้เสียจนทำให้ระบบเศรษฐกิจเสียโอกาสที่จะนำเงินไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ปัจจุบัน ธ.พาณิชย์
มีเอ็นพีแอลและสินทรัพย์รอการขายถึง 601,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.7 ของสินเชื่อรวม ดังนั้น จึงต้องเร่งลดเอ็นพีแอลลง
โดยเฉพาะเอ็นพีแอลที่ค้างมาตั้งแต่ 10 ปีก่อน โดยจะเริ่มดำเนินการทันทีกลางปีนี้หลังจากที่จัดทำแผนมาสเตอร์แพลนเสร็จเรียบร้อย โดย
แผนดังกล่าวมีระยะเวลาตั้งแต่ปี 2551 — 2556 ซึ่งการลดเอ็นพีแอลให้เหลือร้อยละ 2 จะเห็นภายในช่วงเวลาดังกล่าว สำหรับวิธีการลด
เอ็นพีแอลในเบื้องต้นประเมินไว้ 3 แนวทาง ที่ต้องทำควบคู่กันคือ 1) สร้างกลไกตลาดให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในการรับซื้อเอ็นพีแอลจาก
สถาบันการเงินเพิ่มขึ้น ซึ่งมีบริษัทเอกชนในต่างประเทศจำนวนมากที่มีความชำนาญเรื่องการขายเอ็นพีแอล หากสามารถจูงใจให้เอกชนเข้ามา
เป็นผู้เล่นในระบบเพิ่มเติมจากปัจจุบันที่ ธ.พาณิชย์ดำเนินการเองหรือมีบริษัทบริหารสินทรัพย์ต่าง ๆ ดำเนินการ น่าจะช่วยให้การลดเอ็นพีแอล
เกิดขึ้นได้มากกว่าเดิม 2) สร้างแรงจูงใจให้ลูกหนี้เข้ามาประนอมหนี้กับธนาคารมากขึ้น โดย ธปท. จะสนับสนุนให้มีการจัดทำข้อมูลลูกหนี้
และ 3) ปรับปรุงกระบวนการทางศาลให้เร็วขึ้น เพราะที่ผ่านมาใช้เวลาค่อนข้างนาน โดยอาจใช้แนวทางจัดตั้งศาลพิเศษขึ้น อย่างไรก็ดี
ในส่วนนี้ยังไม่ได้พูดคุยกันในรายละเอียด ซึ่งจะต้องหารือกันต่อไป (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ยอดกดเงินสดและใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเดือน ม.ค.51 ขยายตัวเพิ่มขึ้น ธปท. รายงานข้อมูลการให้บริการบัตรเครดิตงวด
สิ้นเดือน ม.ค.51 พบว่า ทั้งระบบมีบัตรเครดิต 10.79 ล้านบัตร เพิ่มขึ้น 9.95 แสนบัตร เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และยอดการ
ใช้จ่ายผ่านบัตรด้วยการเบิกเงินสดล่วงหน้ามีจำนวน 1.98 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.22 พันล้านบาท หรือร้อยละ 6.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน แบ่งเป็นการเบิกเงินสดผ่านบัตรเครดิตของ ธ.พาณิชย์ 1.52 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.17 พันล้านบาท หรือร้อยละ 8.39 เบิกเงิน
ผ่านบัตรเครดิตของสาขาธนาคารต่างประเทศ 1.09 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 144 ล้านบาท ส่วนยอดกดเงินสดผ่านธุรกิจเงินกู้ที่ไม่ใช่ ธ.พาณิชย์
มีจำนวน 3.59 พันล้านบาท ลดลง 101 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.74 สำหรับยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรในประเทศมีจำนวน 6.06 หมื่นล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.34 พันล้านบาท และใช้จ่ายในต่างประเทศ 2.68 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 515 ล้านบาท ส่งผลให้มีปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตร
รวม 8.32 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.07 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.24 ขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้างของบัตรเครดิตทั้งระบบมีจำนวน
1.75 แสนล้านบาท ด้านยอดสินเชื่อบุคคลล่าสุดมียอดสินเชื่อคงค้าง 2.04 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.33 หมื่นล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ทั้งนี้ ภาวะการขยายตัวของธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับทิศทางการขยายสินเชื่อสู่ภาคครัวเรือนมากขึ้น
เนื่องจากปล่อยกู้ภาคธุรกิจไม่ค่อยได้เพราะเศรษฐกิจชะลอตัว (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. งบประมาณปี 2552 ยังเป็นแบบขาดดุล แต่จะไม่เกินร้อยละ 2.5 ของจีดีพี น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม. และ รมว.คลัง
กล่าวว่า ในวันศุกร์ที่ 14 มี.ค.นี้ ก.คลังจะหารือร่วมกับ 3 หน่วยงาน คือ สำนักงบประมาณ ธปท. และ สนง.คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ เกี่ยวกับการตัดทอนงบประมาณในปี 2552 เนื่องจากขณะนี้ฐานรายได้กับรายจ่ายของแต่ละกระทรวงรวมกันแล้วยังมีจำนวนสูงอยู่มาก
ดังนั้น จะมีการสรุปในเบื้องต้นถึงยุทธศาสตร์การทำงบประมาณว่าจะให้ความสำคัญเรื่องใดก่อน ทั้งนี้ ในเบื้องต้นกรอบงบประมาณปี 2552 ยัง
เป็นแบบขาดดุลอยู่ แต่จะดูแลไม่ให้เกินร้อยละ 2.5 ของจีดีพี ขณะที่การเติบโตของเศรษฐกิจจะอยู่ที่ร้อยละ 5.5 — 6.0 หรือมีมูลค่าประมาณ
8.5 ล้านล้านบาท ซึ่งที่ประชุม ครม. ได้เห็นชอบให้ส่วนราชการต่าง ๆ ไปปรับปรุงงบประมาณรายจ่ายปี 2552 ใหม่ทั้งหมด เพื่อพิจารณาว่า
จะสามารถโยกงบประมาณจากโครงการใดมาเป็นงบของโครงการเร่งด่วนที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้าง (ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ, บ้านเมือง)
4. ตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้โบรกเกอร์จ่ายค่าตอบแทนแก่บริษัทที่ช่วยแนะนำลูกค้าใหม่ได้ รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์ฯ
เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ได้ส่งหนังสือเวียนไปยังโบรกเกอร์ทุกแห่งเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนให้กับบริษัทที่หาลูกค้ามา
ซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ เพื่อส่งเสริมให้มีการขยายฐานผู้ลงทุนในตลาดทุนเพิ่มขึ้น โดยอนุญาตให้จ่ายค่าตอบแทนแก่บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต
และ บลจ. ที่ช่วยแนะนำลูกค้าใหม่ได้ โดยมีหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการส่งรายงานในลักษณะเดียวกันกับหลักเกณฑ์เงื่อนไขของ ธ.พาณิชย์
และบริษัทเงินทุน นอกจากนี้ ในส่วนของลูกค้าที่ไม่มีรายการซื้อขายติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่า 1 ปีขึ้น หากสมาชิกอนุญาตให้เจ้าหน้าที่
การตลาดรายอื่นเข้าดูแลหรือติดต่อลูกค้าดังกล่าวให้กลับมาซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทได้ สมาชิกสามารถแบ่งค่าตอบแทนให้กับเจ้าหน้าที่การตลาด
ที่ติดต่อลูกค้าและเจ้าหน้าที่การตลาดที่ดูแลให้บริการลูกค้าได้เป็นระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ลูกค้ากลับมาซื้อขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ค่าตอบแทน
ดังกล่าวรวมแล้วจะต้องไม่เกินอัตราค่าตอบแทนสูงสุดที่สมาชิกจ่ายให้เจ้าหน้าที่การตลาดได้ตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยหลักเกณฑ์
ดังกล่าวให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มี.ค.51 เป็นต้นไป (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ในเดือน ม.ค. สรอ. ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเพียงเล็กน้อย รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 51
ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน ม.ค. สรอ.ขาดดุลการค้า 58.2 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. หรือขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าน้อยกว่า
ร้อยละ 1.0 เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงถึงบาร์เรลละ 84 ดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้ว่าเศรษฐกิจ สรอ.
จะชะลอตัว และอุปสงค์สำหรับสินค้าต่างประเทศหลายรายการลดลงก็ตาม ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเนื่องจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. ช่วยให้การ
ส่งออกเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดถึง 148.2 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่นาย Peter Kretzmer นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก Bank of America
เห็นว่า การขาดดุลการค้าในเดือน ม.ค. ยังคงต่ำกว่ายอดขาดดุลการค้าเฉลี่ยในไตรมาสที่ 4 ซึ่งมีส่วนช่วยชดเชยอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัวลง
ทั้งนี้การส่งออกได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจ สรอ. ขยายเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในไตรมาสนี้ แม้ว่า
สรอ.จะยังคงประสบปัญหาวิกฤติในตลาดบ้าน และตลาดสินเชื่อก็ตาม (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อในจีนยังมีแนวโน้มสูงขึ้นหลังจากในเดือน ก.พ.51 อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 12 ปี รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ
11 มี.ค.51 หัวหน้านักสถิติของ สนง.สถิติแห่งชาติของจีนคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้ของจีนยังมีแนวโน้มสูงขึ้นแม้ว่าสภาพอากาศได้ดีขึ้นแล้วก็ตาม
โดยสภาพอากาศที่หนาวเย็นผิดปรกติได้ส่งผลให้ราคาพืชผักผลไม้ในจีนในเดือน ก.พ.51 ที่ผ่านมาสูงขึ้นถึงร้อยละ 46 เมื่อเทียบกับช่วงเวลา
เดียวกันของปีก่อนซึ่งทำให้ราคาอาหารโดยรวมสูงขึ้นถึงร้อยละ 23.3 ต่อปีและส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ.51 พุ่งสูงขึ้นถึง
ร้อยละ 8.7 ต่อปี สูงสุดในรอบ 12 ปีนับตั้งแต่เดือน พ.ค.39 แต่อย่างไรก็ดี คาดว่าอัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มสูงขึ้นอีกตามราคาผลผลิต
ทางการเกษตร น้ำมันพืชและน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่สูงขึ้นในขณะนี้ นอกจากนี้ยังคาดว่าอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกใน
ขณะนี้จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในจีนสูงขึ้นตามไปด้วย (รอยเตอร์)
3. ไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้วเศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 0.9 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 51 ทางการญี่ปุ่นเปิดเผยว่า
เศรษฐกิจในไตรมาส 4 ปี 50 เติบโตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 50 ร้อยละ 0.9 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) สอดคล้องกับที่ทางการคาดการณ์
ก่อนหน้านั้น แต่มากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4/50 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.6 ขณะที่
เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหน้าเศรษฐกิจเติบโตร้อยละ 3.5 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) น้อยกว่าตัวเลขที่ประมาณการเบื้องต้นว่าจะขยายตัว
ร้อยละ 3.7 ส่วนประมาณการที่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนได้ประมาณไว้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้วเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า
จะเติบโตเพียงร้อยละ 2.3 (รอยเตอร์)
4. ในเดือน มี.ค.51 ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเยอรมนีฟื้นตัวดีขึ้นผิดจากที่คาดไว้ รายงานจากเมนเฮล์ม เมื่อ 11 มี.ค.51
ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเยอรมนีจากผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบัน 285 คนโดยสถาบันวิจัย ZEW ฟื้นตัว
ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ - 32.0 ในเดือน มี.ค.51 จากระดับ — 39.5 ในเดือนก่อน และดีกว่าที่ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์
คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ —40.0 สอดคล้องกับตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ม.ค.51 ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.8 ต่อเดือน ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจ
เยอรมนีขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีตั้งแต่ต้นปีแม้ว่าเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงและค่าเงินยูโรสูงขึ้นก็ตาม โดยนักลงทุนส่วนใหญ่มองแนวโน้มเศรษฐกิจ สรอ.
ในทางที่ดีขึ้นและคาดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในตลาดการเงินทั่วโลกในขณะนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเยอรมนี โดย DIW ซึ่งเป็นสถาบันวิจัย
เศรษฐกิจที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของเยอรมนีคาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะขยายตัวร้อยละ 0.5 ในไตรมาสแรกปีนี้ ดีกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้
รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 1.7 หลังจากขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อปีในปีก่อน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 มี.ค. 51 11 มี.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.571 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.3458/31.6820 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25438 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 819.83/20.85 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,500/14,600 14,550/14,650 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 96.79 95.32 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.59*/29.94* 33.59*/29.94* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 28 ก.พ. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. เร่งดำเนินการลดเอ็นพีแอลให้เหลือร้อยละ 2 นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท.
กล่าวถึงแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2 (มาสเตอร์แพลน) ว่า ในหลักการที่ 1 ของมาสเตอร์แพลน 2 คือ การลดต้นทุนให้กับระบบ
สถาบันการเงิน ซึ่ง ธปท. ได้พิจารณาแล้วว่าการลดต้นทุนนอกจากจะดำเนินการลดกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจแล้ว
สิ่งสำคัญจะต้องลดเอ็นพีแอลให้เหลือระดับใกล้เคียงกับสากลที่มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 2 ของสินเชื่อรวม เพราะถึงแม้ปัจจุบันระบบสถาบัน
การเงินไทยจะสามารถลดเอ็นพีแอลเหลือร้อยละ 7.8 จากช่วงวิกฤตสถาบันการเงินที่เคยสูงถึงร้อยละ 40 แต่ระดับดังกล่าวยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์
ที่สูงมาก และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อันดับความน่าเชื่อถือของ ธ.พาณิชย์ที่ประเมินโดยมูดี้ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส อยู่ที่ระดับ D เท่านั้น ขณะที่
มาเลเซียอยู่ที่ระดับ C และสวิตเซอร์แลนด์อยู่ที่ระดับ B ได้ส่งผลให้ ธ.พาณิชย์ไทยมีต้นทุนทางการเงินที่สูง อีกทั้งยังเป็นภาระให้ต้องใช้เงิน
จำนวนมากกันสำรองหนี้เสียจนทำให้ระบบเศรษฐกิจเสียโอกาสที่จะนำเงินไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ปัจจุบัน ธ.พาณิชย์
มีเอ็นพีแอลและสินทรัพย์รอการขายถึง 601,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.7 ของสินเชื่อรวม ดังนั้น จึงต้องเร่งลดเอ็นพีแอลลง
โดยเฉพาะเอ็นพีแอลที่ค้างมาตั้งแต่ 10 ปีก่อน โดยจะเริ่มดำเนินการทันทีกลางปีนี้หลังจากที่จัดทำแผนมาสเตอร์แพลนเสร็จเรียบร้อย โดย
แผนดังกล่าวมีระยะเวลาตั้งแต่ปี 2551 — 2556 ซึ่งการลดเอ็นพีแอลให้เหลือร้อยละ 2 จะเห็นภายในช่วงเวลาดังกล่าว สำหรับวิธีการลด
เอ็นพีแอลในเบื้องต้นประเมินไว้ 3 แนวทาง ที่ต้องทำควบคู่กันคือ 1) สร้างกลไกตลาดให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในการรับซื้อเอ็นพีแอลจาก
สถาบันการเงินเพิ่มขึ้น ซึ่งมีบริษัทเอกชนในต่างประเทศจำนวนมากที่มีความชำนาญเรื่องการขายเอ็นพีแอล หากสามารถจูงใจให้เอกชนเข้ามา
เป็นผู้เล่นในระบบเพิ่มเติมจากปัจจุบันที่ ธ.พาณิชย์ดำเนินการเองหรือมีบริษัทบริหารสินทรัพย์ต่าง ๆ ดำเนินการ น่าจะช่วยให้การลดเอ็นพีแอล
เกิดขึ้นได้มากกว่าเดิม 2) สร้างแรงจูงใจให้ลูกหนี้เข้ามาประนอมหนี้กับธนาคารมากขึ้น โดย ธปท. จะสนับสนุนให้มีการจัดทำข้อมูลลูกหนี้
และ 3) ปรับปรุงกระบวนการทางศาลให้เร็วขึ้น เพราะที่ผ่านมาใช้เวลาค่อนข้างนาน โดยอาจใช้แนวทางจัดตั้งศาลพิเศษขึ้น อย่างไรก็ดี
ในส่วนนี้ยังไม่ได้พูดคุยกันในรายละเอียด ซึ่งจะต้องหารือกันต่อไป (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ยอดกดเงินสดและใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเดือน ม.ค.51 ขยายตัวเพิ่มขึ้น ธปท. รายงานข้อมูลการให้บริการบัตรเครดิตงวด
สิ้นเดือน ม.ค.51 พบว่า ทั้งระบบมีบัตรเครดิต 10.79 ล้านบัตร เพิ่มขึ้น 9.95 แสนบัตร เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และยอดการ
ใช้จ่ายผ่านบัตรด้วยการเบิกเงินสดล่วงหน้ามีจำนวน 1.98 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.22 พันล้านบาท หรือร้อยละ 6.53 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน แบ่งเป็นการเบิกเงินสดผ่านบัตรเครดิตของ ธ.พาณิชย์ 1.52 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.17 พันล้านบาท หรือร้อยละ 8.39 เบิกเงิน
ผ่านบัตรเครดิตของสาขาธนาคารต่างประเทศ 1.09 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 144 ล้านบาท ส่วนยอดกดเงินสดผ่านธุรกิจเงินกู้ที่ไม่ใช่ ธ.พาณิชย์
มีจำนวน 3.59 พันล้านบาท ลดลง 101 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.74 สำหรับยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรในประเทศมีจำนวน 6.06 หมื่นล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.34 พันล้านบาท และใช้จ่ายในต่างประเทศ 2.68 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 515 ล้านบาท ส่งผลให้มีปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตร
รวม 8.32 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.07 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.24 ขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้างของบัตรเครดิตทั้งระบบมีจำนวน
1.75 แสนล้านบาท ด้านยอดสินเชื่อบุคคลล่าสุดมียอดสินเชื่อคงค้าง 2.04 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.33 หมื่นล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ทั้งนี้ ภาวะการขยายตัวของธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับทิศทางการขยายสินเชื่อสู่ภาคครัวเรือนมากขึ้น
เนื่องจากปล่อยกู้ภาคธุรกิจไม่ค่อยได้เพราะเศรษฐกิจชะลอตัว (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. งบประมาณปี 2552 ยังเป็นแบบขาดดุล แต่จะไม่เกินร้อยละ 2.5 ของจีดีพี น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม. และ รมว.คลัง
กล่าวว่า ในวันศุกร์ที่ 14 มี.ค.นี้ ก.คลังจะหารือร่วมกับ 3 หน่วยงาน คือ สำนักงบประมาณ ธปท. และ สนง.คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ เกี่ยวกับการตัดทอนงบประมาณในปี 2552 เนื่องจากขณะนี้ฐานรายได้กับรายจ่ายของแต่ละกระทรวงรวมกันแล้วยังมีจำนวนสูงอยู่มาก
ดังนั้น จะมีการสรุปในเบื้องต้นถึงยุทธศาสตร์การทำงบประมาณว่าจะให้ความสำคัญเรื่องใดก่อน ทั้งนี้ ในเบื้องต้นกรอบงบประมาณปี 2552 ยัง
เป็นแบบขาดดุลอยู่ แต่จะดูแลไม่ให้เกินร้อยละ 2.5 ของจีดีพี ขณะที่การเติบโตของเศรษฐกิจจะอยู่ที่ร้อยละ 5.5 — 6.0 หรือมีมูลค่าประมาณ
8.5 ล้านล้านบาท ซึ่งที่ประชุม ครม. ได้เห็นชอบให้ส่วนราชการต่าง ๆ ไปปรับปรุงงบประมาณรายจ่ายปี 2552 ใหม่ทั้งหมด เพื่อพิจารณาว่า
จะสามารถโยกงบประมาณจากโครงการใดมาเป็นงบของโครงการเร่งด่วนที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้าง (ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ, บ้านเมือง)
4. ตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้โบรกเกอร์จ่ายค่าตอบแทนแก่บริษัทที่ช่วยแนะนำลูกค้าใหม่ได้ รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์ฯ
เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ได้ส่งหนังสือเวียนไปยังโบรกเกอร์ทุกแห่งเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนให้กับบริษัทที่หาลูกค้ามา
ซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ เพื่อส่งเสริมให้มีการขยายฐานผู้ลงทุนในตลาดทุนเพิ่มขึ้น โดยอนุญาตให้จ่ายค่าตอบแทนแก่บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต
และ บลจ. ที่ช่วยแนะนำลูกค้าใหม่ได้ โดยมีหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการส่งรายงานในลักษณะเดียวกันกับหลักเกณฑ์เงื่อนไขของ ธ.พาณิชย์
และบริษัทเงินทุน นอกจากนี้ ในส่วนของลูกค้าที่ไม่มีรายการซื้อขายติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่า 1 ปีขึ้น หากสมาชิกอนุญาตให้เจ้าหน้าที่
การตลาดรายอื่นเข้าดูแลหรือติดต่อลูกค้าดังกล่าวให้กลับมาซื้อขายหลักทรัพย์กับบริษัทได้ สมาชิกสามารถแบ่งค่าตอบแทนให้กับเจ้าหน้าที่การตลาด
ที่ติดต่อลูกค้าและเจ้าหน้าที่การตลาดที่ดูแลให้บริการลูกค้าได้เป็นระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ลูกค้ากลับมาซื้อขายหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ค่าตอบแทน
ดังกล่าวรวมแล้วจะต้องไม่เกินอัตราค่าตอบแทนสูงสุดที่สมาชิกจ่ายให้เจ้าหน้าที่การตลาดได้ตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยหลักเกณฑ์
ดังกล่าวให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มี.ค.51 เป็นต้นไป (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ในเดือน ม.ค. สรอ. ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเพียงเล็กน้อย รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 51
ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน ม.ค. สรอ.ขาดดุลการค้า 58.2 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. หรือขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าน้อยกว่า
ร้อยละ 1.0 เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงถึงบาร์เรลละ 84 ดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแม้ว่าเศรษฐกิจ สรอ.
จะชะลอตัว และอุปสงค์สำหรับสินค้าต่างประเทศหลายรายการลดลงก็ตาม ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเนื่องจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. ช่วยให้การ
ส่งออกเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดถึง 148.2 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่นาย Peter Kretzmer นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก Bank of America
เห็นว่า การขาดดุลการค้าในเดือน ม.ค. ยังคงต่ำกว่ายอดขาดดุลการค้าเฉลี่ยในไตรมาสที่ 4 ซึ่งมีส่วนช่วยชดเชยอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัวลง
ทั้งนี้การส่งออกได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจ สรอ. ขยายเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในไตรมาสนี้ แม้ว่า
สรอ.จะยังคงประสบปัญหาวิกฤติในตลาดบ้าน และตลาดสินเชื่อก็ตาม (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อในจีนยังมีแนวโน้มสูงขึ้นหลังจากในเดือน ก.พ.51 อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 12 ปี รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ
11 มี.ค.51 หัวหน้านักสถิติของ สนง.สถิติแห่งชาติของจีนคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้ของจีนยังมีแนวโน้มสูงขึ้นแม้ว่าสภาพอากาศได้ดีขึ้นแล้วก็ตาม
โดยสภาพอากาศที่หนาวเย็นผิดปรกติได้ส่งผลให้ราคาพืชผักผลไม้ในจีนในเดือน ก.พ.51 ที่ผ่านมาสูงขึ้นถึงร้อยละ 46 เมื่อเทียบกับช่วงเวลา
เดียวกันของปีก่อนซึ่งทำให้ราคาอาหารโดยรวมสูงขึ้นถึงร้อยละ 23.3 ต่อปีและส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ.51 พุ่งสูงขึ้นถึง
ร้อยละ 8.7 ต่อปี สูงสุดในรอบ 12 ปีนับตั้งแต่เดือน พ.ค.39 แต่อย่างไรก็ดี คาดว่าอัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มสูงขึ้นอีกตามราคาผลผลิต
ทางการเกษตร น้ำมันพืชและน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่สูงขึ้นในขณะนี้ นอกจากนี้ยังคาดว่าอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกใน
ขณะนี้จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในจีนสูงขึ้นตามไปด้วย (รอยเตอร์)
3. ไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้วเศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 0.9 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 51 ทางการญี่ปุ่นเปิดเผยว่า
เศรษฐกิจในไตรมาส 4 ปี 50 เติบโตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 50 ร้อยละ 0.9 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) สอดคล้องกับที่ทางการคาดการณ์
ก่อนหน้านั้น แต่มากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4/50 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.6 ขณะที่
เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหน้าเศรษฐกิจเติบโตร้อยละ 3.5 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) น้อยกว่าตัวเลขที่ประมาณการเบื้องต้นว่าจะขยายตัว
ร้อยละ 3.7 ส่วนประมาณการที่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนได้ประมาณไว้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายปีที่แล้วเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า
จะเติบโตเพียงร้อยละ 2.3 (รอยเตอร์)
4. ในเดือน มี.ค.51 ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเยอรมนีฟื้นตัวดีขึ้นผิดจากที่คาดไว้ รายงานจากเมนเฮล์ม เมื่อ 11 มี.ค.51
ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเยอรมนีจากผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบัน 285 คนโดยสถาบันวิจัย ZEW ฟื้นตัว
ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ - 32.0 ในเดือน มี.ค.51 จากระดับ — 39.5 ในเดือนก่อน และดีกว่าที่ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์
คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ —40.0 สอดคล้องกับตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ม.ค.51 ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.8 ต่อเดือน ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจ
เยอรมนีขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีตั้งแต่ต้นปีแม้ว่าเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงและค่าเงินยูโรสูงขึ้นก็ตาม โดยนักลงทุนส่วนใหญ่มองแนวโน้มเศรษฐกิจ สรอ.
ในทางที่ดีขึ้นและคาดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในตลาดการเงินทั่วโลกในขณะนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเยอรมนี โดย DIW ซึ่งเป็นสถาบันวิจัย
เศรษฐกิจที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของเยอรมนีคาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีจะขยายตัวร้อยละ 0.5 ในไตรมาสแรกปีนี้ ดีกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้
รัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 1.7 หลังจากขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อปีในปีก่อน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12 มี.ค. 51 11 มี.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.571 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.3458/31.6820 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25438 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 819.83/20.85 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,500/14,600 14,550/14,650 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 96.79 95.32 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 33.59*/29.94* 33.59*/29.94* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 28 ก.พ. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--