ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. กองทุนฟื้นฟูฯ คาดว่าจะได้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินภายในสิ้นเดือน มี.ค.นี้ นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผอส.ฝ่ายบริหารกองทุน ธปท.
ในฐานะ ผจก.กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กล่าวว่า ขณะนี้มีที่ปรึกษาทางการเงินสนใจเข้าร่วมคัดเลือกแล้ว 3 ราย โดย
ทั้งหมดยื่นซองร่วมคัดเลือกมาตั้งแต่วันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือก คาดว่าจะได้ที่ปรึกษาทางการเงิน
ภายในสิ้นเดือน มี.ค.นี้ โดยขณะนี้อยู่ในช่วงการจัดอันดับและเปิดซอง หากคุณสมบัติหรือรายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ ของรายใดน่าพอใจ กองทุน
ฟื้นฟูฯ ก็จะตัดสินใจเลือกเพียง 1 ราย และแจ้งกลับไปยังผู้ที่ได้รับการคัดเลือกต่อไป ทั้งนี้ ที่ปรึกษามีหน้าที่ให้คำแนะนำในการขายหุ้นที่กองทุนฟื้นฟูฯ
ถือใน ธ.ไทยธนาคารร้อยละ 42.13 ก่อน และต่อไปจะทยอยขายหุ้นที่ถือในส่วนของ ธ.นครหลวงไทยร้อยละ 48 และ ธ.กรุงไทยร้อยละ 57 ต่อ
ไป ส่วนจะให้นักลงทุนรายใดนั้น กองทุนฟื้นฟูฯ จะพิจารณาจากเกณฑ์ 3 ข้อ คือ 1) ได้ราคาดี 2) คนที่ซื้อหุ้นไปมีความเข้มแข็ง และ 3) ซื้อไป
แล้วไม่มาขายให้กองทุนฟื้นฟูฯ อีก (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, แนวหน้า)
2. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.พ. ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 นางเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย
ม.หอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.พ.51 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 72.6 เพิ่มขึ้น
จาก 71.2 ในเดือน ม.ค. ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำเท่ากับ 72.7 เพิ่มขึ้นจาก 71.6 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับ
รายได้ในอนาคตเท่ากับ 93.2 เพิ่มขึ้นจาก 91.4 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือน ก.พ. เท่ากับ 79.5 เพิ่มขึ้นจาก 78.1 ซึ่งเป็นการ
เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 เพราะรัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลเชิงบวกต่อผู้บริโภคและนักลงทุน ด้านนายธนวรรธน์ พลวิชัย
ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทุกรายการปรับตัวดีขึ้น แต่ยังต่ำกว่าระดับ 100 ชี้ให้เห็น
ว่าความเชื่อมั่นยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ แต่มีสัญญาณที่ดีและกำลังจะดีขึ้น โดยเฉพาะความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจในอนาคตปรับตัวดีขึ้นเพราะประชาชน
เชื่อว่ารัฐบาลจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะบั่นทอนความเชื่อมั่นลงคือค่าครองชีพที่สูงขึ้น ราคา
น้ำมันที่ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ผลกระทบจากปัญหาซับไพร์มของ สรอ. และค่าเงินบาทที่ยังผันผวน แต่ถ้ารัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตามที่ประกาศไว้
เศรษฐกิจดีขึ้นจริง ความเชื่อมั่นจะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 2 ของปีนี้ (ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
3. รัฐบาลมั่นใจมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม. และ รมว.คลัง
เปิดเผยว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 ที่ ก.คลังเสนอเข้า ครม. ภายในเดือน มี.ค.นี้ ขณะนี้คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังแก้กฎหมายเพื่อ
เตรียมส่งขึ้นทูลเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 2 สัปดาห์ ซึ่งมั่นใจว่าจะช่วยใน
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะมาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ที่จะเป็นการให้กำลังใจผู้ประกอบการและผู้
บริโภค และหากภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวจะทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศเดินหน้าได้ดียิ่งขึ้น (เดลินิวส์)
4. ธ.พาณิชย์เตือนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตให้ระวังไวรัสเจาะระบบข้อมูลทางการเงิน นายพงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข ผจก.สายบริหารการ
ป้องกันการทุจริต ธ.ไทยพาณิชย์ กล่าวเตือนประชาชนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตให้ระวังไวรัสโทรจันที่สามารถแฝงตัวตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วไป โดยไวรัส
ชนิดนี้มีหน้าที่เจาะระบบรักษาความปลอดภัยทำให้ข้อมูลรั่วไหลได้ ที่น่าห่วงคือข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อ รหัสผ่าน และเลขที่บัญชี ที่คนร้ายอาจนำไปทำ
ธุรกิจทางการเงินได้ ทั้งนี้ คดีทุจริตผ่านอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นกับหลายธนาคารโดยมีชาวต่างชาติร่วมขบวนการด้วยนั้น ยังไม่สามารถ
ระบุวิธีการได้แน่ชัดว่าคนร้ายได้ชื่อและรหัสผ่านเข้าทำธุรกรรมของเจ้าของบัญชีด้วยวิธีการใด ซึ่งกำลังวิตกว่าคนร้ายใช้ไวรัสโทรจันหรือไม่ หรืออาจ
จะใช้วิธีทำเว็บปลอม (ฟิชชิง) เพราะจากการตรวจสอบต้นทางที่อยู่ของการทำการโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งเกิดขึ้นในหลายประเทศ ทั้ง
รัสเซีย เนเธอร์แลนด์ และสโลวาเกีย (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 มี.ค.51 ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า
รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 13 มี.ค.51 ก.แรงงาน เปิดเผยว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 มี.ค.51
มีจำนวน 353,000 คน ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า แต่ต่ำกว่าเล็กน้อยจากการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า จะมีจำนวน
355,000 คน สวนทางกับยอดการขอรับสวัสดิการว่างงานหลังจากที่เคยขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกแล้ว ซึ่งเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงที่
สรอ.ประสบภัยธรรมชาติจากพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนาในเดือน ก.ย.48 เป็นจำนวน 2.835 ล้านคน จากจำนวน 2.828 ล้านคนในสัปดาห์ก่อนหน้า
(รอยเตอร์)
2. มูลค่าการนำเข้าของ สรอ.ในเดือน ก.พ.51 ขยายตัวต่ำกว่าความคาดหมาย ขณะที่มูลค่าการส่งออกยังคงเพิ่มขึ้น รายงานจาก
วอชิงตันเมื่อ 13 มี.ค.51 ก.แรงงาน สรอ.เปิดเผยมูลค่าการนำเข้าของ สรอ.ในเดือน ก.พ.51 ว่าขยายตัวร้อยละ 0.2 ชะลอลงจากเดือนก่อน
หน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 และต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.8 สาเหตุหลักจากราคานำเข้าปิโตรเลียม
ลดลงร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ในรอบ 3 เดือน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเมื่อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 ทั้งนี้ นัก
วิเคราะห์มีความเห็นว่า แม้มูลค่าการนำเข้าจะขยายตัวในระดับต่ำ ซึ่งน่าจะเป็นทิศทางที่ดี แต่การที่ส่วนประกอบหลัก คือ มูลค่าการนำเข้าสินค้าทั่ว
ไปที่ไม่รวมยานยนต์ กลับขยายตัวที่ระดับร้อยละ 0.3 บ่งชี้ว่า ในระยะ 12-18 เดือนข้างหน้า อาจเป็นปัจจัยเพิ่มแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
ได้ สำหรับมูลค่าการส่งออกในเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เทียบต่อเดือน สาเหตุหลักจากราคาสินค้าประเภทอาหารขยายตัวร้อยละ 4.5
ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีมูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 6.8 (รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน ก.พ. จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.3 รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่
13 มี.ค.51 ธ.กลางอังกฤษ เปิดเผยผลสำรวจภาวะเงินเฟ้อในเดือน ก.พ.51 คาดว่าจะเร่งตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.3 ซึ่งจะเป็นระดับสูงสุดนับ
ตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำแบบสำรวจเมื่อเดือน พ.ย.2542 เนื่องจากราคาอาหารและต้นทุนพลังงานเพิ่มสูงขึ้นมากจากราคาน้ำมันที่ปัจจุบันซื้อขายกันอยู่ที่
ระดับ 110 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ขณะที่ผู้บริหารระดับสูงของ ธ.กลางอังกฤษมีความวิตกกังวลว่าการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นไป
อยู่ในระดับสูงอาจจะทำให้มีความต้องการปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงาน เพื่อให้สามารถรองรับกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากลำบากสำหรับ
ธ.กลางอังกฤษที่พยายามลดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แต่ในอีกด้านหนึ่งดูเหมือนว่าปัจจัยเสี่ยงจาก
อัตราเงินเฟ้อกำลังเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ผลสำรวจยังชี้ว่าประชาชนทั่วไปคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันจะพุ่งขึ้นไปถึงระดับร้อยละ 3.9 (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนชะลอตัวเนื่องจากสภาพภูมิอากาศและนโยบายที่เข้มงวดของรัฐ รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 13
มี.ค. 51 สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า ในเดือน ม.ค. และ ก.พ. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนชะลอตัวมากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ เนื่อง
จากได้รับผลกระทบจากพายุหิมะและนโยบายการลงทุนที่เข้มงวดของทางการจีน ทั้งนี้ผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ม.ค. และ ก.พ. ขยายตัวจาก
ระยะเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.4 ชะลอตัวลงจากที่เติบโตร้อยละ 17.4 ในเดือน ธ.ค. 50 และอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 49 และ
น้อยกว่าผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์ที่คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 ขณะเดียวกันเงินหยวนใน
ช่วง 2 — 3 เดือนที่ผ่านมาได้แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับเศรษฐกิจโลกชะลอตัวส่งผลกระทบต่ออุปสงค์จากต่างประเทศในสินค้าที่ส่งออกจาก
จีน ทั้งนี้ ธ.กลางจีนปล่อยให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นถึง 7.0950 หยวนต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 48 ที่จีนยกเลิกการผูกค่า
เงินหยวนไว้กับเงินดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 14 มี.ค. 51 13 มี.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.486 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.3001/31.6310 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25313 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 814.31/18.06 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,700/14,800 14,600/14,700 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 98.85 98.08 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 34.09*/29.94 34.09*/29.94 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 13 มี.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. กองทุนฟื้นฟูฯ คาดว่าจะได้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินภายในสิ้นเดือน มี.ค.นี้ นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผอส.ฝ่ายบริหารกองทุน ธปท.
ในฐานะ ผจก.กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กล่าวว่า ขณะนี้มีที่ปรึกษาทางการเงินสนใจเข้าร่วมคัดเลือกแล้ว 3 ราย โดย
ทั้งหมดยื่นซองร่วมคัดเลือกมาตั้งแต่วันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือก คาดว่าจะได้ที่ปรึกษาทางการเงิน
ภายในสิ้นเดือน มี.ค.นี้ โดยขณะนี้อยู่ในช่วงการจัดอันดับและเปิดซอง หากคุณสมบัติหรือรายละเอียดเงื่อนไขต่าง ๆ ของรายใดน่าพอใจ กองทุน
ฟื้นฟูฯ ก็จะตัดสินใจเลือกเพียง 1 ราย และแจ้งกลับไปยังผู้ที่ได้รับการคัดเลือกต่อไป ทั้งนี้ ที่ปรึกษามีหน้าที่ให้คำแนะนำในการขายหุ้นที่กองทุนฟื้นฟูฯ
ถือใน ธ.ไทยธนาคารร้อยละ 42.13 ก่อน และต่อไปจะทยอยขายหุ้นที่ถือในส่วนของ ธ.นครหลวงไทยร้อยละ 48 และ ธ.กรุงไทยร้อยละ 57 ต่อ
ไป ส่วนจะให้นักลงทุนรายใดนั้น กองทุนฟื้นฟูฯ จะพิจารณาจากเกณฑ์ 3 ข้อ คือ 1) ได้ราคาดี 2) คนที่ซื้อหุ้นไปมีความเข้มแข็ง และ 3) ซื้อไป
แล้วไม่มาขายให้กองทุนฟื้นฟูฯ อีก (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, แนวหน้า)
2. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.พ. ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 นางเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย
ม.หอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.พ.51 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 72.6 เพิ่มขึ้น
จาก 71.2 ในเดือน ม.ค. ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำเท่ากับ 72.7 เพิ่มขึ้นจาก 71.6 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับ
รายได้ในอนาคตเท่ากับ 93.2 เพิ่มขึ้นจาก 91.4 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือน ก.พ. เท่ากับ 79.5 เพิ่มขึ้นจาก 78.1 ซึ่งเป็นการ
เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 เพราะรัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลเชิงบวกต่อผู้บริโภคและนักลงทุน ด้านนายธนวรรธน์ พลวิชัย
ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทุกรายการปรับตัวดีขึ้น แต่ยังต่ำกว่าระดับ 100 ชี้ให้เห็น
ว่าความเชื่อมั่นยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ แต่มีสัญญาณที่ดีและกำลังจะดีขึ้น โดยเฉพาะความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจในอนาคตปรับตัวดีขึ้นเพราะประชาชน
เชื่อว่ารัฐบาลจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะบั่นทอนความเชื่อมั่นลงคือค่าครองชีพที่สูงขึ้น ราคา
น้ำมันที่ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ผลกระทบจากปัญหาซับไพร์มของ สรอ. และค่าเงินบาทที่ยังผันผวน แต่ถ้ารัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตามที่ประกาศไว้
เศรษฐกิจดีขึ้นจริง ความเชื่อมั่นจะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 2 ของปีนี้ (ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
3. รัฐบาลมั่นใจมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม. และ รมว.คลัง
เปิดเผยว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 ที่ ก.คลังเสนอเข้า ครม. ภายในเดือน มี.ค.นี้ ขณะนี้คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังแก้กฎหมายเพื่อ
เตรียมส่งขึ้นทูลเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 2 สัปดาห์ ซึ่งมั่นใจว่าจะช่วยใน
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะมาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ที่จะเป็นการให้กำลังใจผู้ประกอบการและผู้
บริโภค และหากภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวจะทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศเดินหน้าได้ดียิ่งขึ้น (เดลินิวส์)
4. ธ.พาณิชย์เตือนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตให้ระวังไวรัสเจาะระบบข้อมูลทางการเงิน นายพงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข ผจก.สายบริหารการ
ป้องกันการทุจริต ธ.ไทยพาณิชย์ กล่าวเตือนประชาชนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตให้ระวังไวรัสโทรจันที่สามารถแฝงตัวตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วไป โดยไวรัส
ชนิดนี้มีหน้าที่เจาะระบบรักษาความปลอดภัยทำให้ข้อมูลรั่วไหลได้ ที่น่าห่วงคือข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อ รหัสผ่าน และเลขที่บัญชี ที่คนร้ายอาจนำไปทำ
ธุรกิจทางการเงินได้ ทั้งนี้ คดีทุจริตผ่านอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นกับหลายธนาคารโดยมีชาวต่างชาติร่วมขบวนการด้วยนั้น ยังไม่สามารถ
ระบุวิธีการได้แน่ชัดว่าคนร้ายได้ชื่อและรหัสผ่านเข้าทำธุรกรรมของเจ้าของบัญชีด้วยวิธีการใด ซึ่งกำลังวิตกว่าคนร้ายใช้ไวรัสโทรจันหรือไม่ หรืออาจ
จะใช้วิธีทำเว็บปลอม (ฟิชชิง) เพราะจากการตรวจสอบต้นทางที่อยู่ของการทำการโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งเกิดขึ้นในหลายประเทศ ทั้ง
รัสเซีย เนเธอร์แลนด์ และสโลวาเกีย (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 มี.ค.51 ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า
รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 13 มี.ค.51 ก.แรงงาน เปิดเผยว่า ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 มี.ค.51
มีจำนวน 353,000 คน ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า แต่ต่ำกว่าเล็กน้อยจากการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า จะมีจำนวน
355,000 คน สวนทางกับยอดการขอรับสวัสดิการว่างงานหลังจากที่เคยขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกแล้ว ซึ่งเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงที่
สรอ.ประสบภัยธรรมชาติจากพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนาในเดือน ก.ย.48 เป็นจำนวน 2.835 ล้านคน จากจำนวน 2.828 ล้านคนในสัปดาห์ก่อนหน้า
(รอยเตอร์)
2. มูลค่าการนำเข้าของ สรอ.ในเดือน ก.พ.51 ขยายตัวต่ำกว่าความคาดหมาย ขณะที่มูลค่าการส่งออกยังคงเพิ่มขึ้น รายงานจาก
วอชิงตันเมื่อ 13 มี.ค.51 ก.แรงงาน สรอ.เปิดเผยมูลค่าการนำเข้าของ สรอ.ในเดือน ก.พ.51 ว่าขยายตัวร้อยละ 0.2 ชะลอลงจากเดือนก่อน
หน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 และต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.8 สาเหตุหลักจากราคานำเข้าปิโตรเลียม
ลดลงร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ในรอบ 3 เดือน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเมื่อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 ทั้งนี้ นัก
วิเคราะห์มีความเห็นว่า แม้มูลค่าการนำเข้าจะขยายตัวในระดับต่ำ ซึ่งน่าจะเป็นทิศทางที่ดี แต่การที่ส่วนประกอบหลัก คือ มูลค่าการนำเข้าสินค้าทั่ว
ไปที่ไม่รวมยานยนต์ กลับขยายตัวที่ระดับร้อยละ 0.3 บ่งชี้ว่า ในระยะ 12-18 เดือนข้างหน้า อาจเป็นปัจจัยเพิ่มแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
ได้ สำหรับมูลค่าการส่งออกในเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 เทียบต่อเดือน สาเหตุหลักจากราคาสินค้าประเภทอาหารขยายตัวร้อยละ 4.5
ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีมูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 6.8 (รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน ก.พ. จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.3 รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่
13 มี.ค.51 ธ.กลางอังกฤษ เปิดเผยผลสำรวจภาวะเงินเฟ้อในเดือน ก.พ.51 คาดว่าจะเร่งตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.3 ซึ่งจะเป็นระดับสูงสุดนับ
ตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำแบบสำรวจเมื่อเดือน พ.ย.2542 เนื่องจากราคาอาหารและต้นทุนพลังงานเพิ่มสูงขึ้นมากจากราคาน้ำมันที่ปัจจุบันซื้อขายกันอยู่ที่
ระดับ 110 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ขณะที่ผู้บริหารระดับสูงของ ธ.กลางอังกฤษมีความวิตกกังวลว่าการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นไป
อยู่ในระดับสูงอาจจะทำให้มีความต้องการปรับเพิ่มค่าจ้างแรงงาน เพื่อให้สามารถรองรับกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากลำบากสำหรับ
ธ.กลางอังกฤษที่พยายามลดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แต่ในอีกด้านหนึ่งดูเหมือนว่าปัจจัยเสี่ยงจาก
อัตราเงินเฟ้อกำลังเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ผลสำรวจยังชี้ว่าประชาชนทั่วไปคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันจะพุ่งขึ้นไปถึงระดับร้อยละ 3.9 (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนชะลอตัวเนื่องจากสภาพภูมิอากาศและนโยบายที่เข้มงวดของรัฐ รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 13
มี.ค. 51 สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า ในเดือน ม.ค. และ ก.พ. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนชะลอตัวมากกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ เนื่อง
จากได้รับผลกระทบจากพายุหิมะและนโยบายการลงทุนที่เข้มงวดของทางการจีน ทั้งนี้ผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน ม.ค. และ ก.พ. ขยายตัวจาก
ระยะเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.4 ชะลอตัวลงจากที่เติบโตร้อยละ 17.4 ในเดือน ธ.ค. 50 และอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 49 และ
น้อยกว่าผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์ที่คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 ขณะเดียวกันเงินหยวนใน
ช่วง 2 — 3 เดือนที่ผ่านมาได้แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับเศรษฐกิจโลกชะลอตัวส่งผลกระทบต่ออุปสงค์จากต่างประเทศในสินค้าที่ส่งออกจาก
จีน ทั้งนี้ ธ.กลางจีนปล่อยให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นถึง 7.0950 หยวนต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ. สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 48 ที่จีนยกเลิกการผูกค่า
เงินหยวนไว้กับเงินดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 14 มี.ค. 51 13 มี.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.486 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.3001/31.6310 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25313 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 814.31/18.06 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,700/14,800 14,600/14,700 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 98.85 98.08 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 34.09*/29.94 34.09*/29.94 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 13 มี.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--