ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ก.คลังติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐ ขณะที่ ธปท.ยังคงแนวทางไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
รอง นรม.และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐ ทั้งกรณี ธ.กลางสหรัฐ ตัดสินใจลด
อัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% เหลือเพียง 3.25% จากเดิม 3.50% เมื่อวันที่ 16 มี.ค. และกรณี บริษัทแบร์ สเติร์นส์ ซึ่งเป็นวาณิชธนกิจ
ขนาดใหญ่อันดับ 5 ของสหรัฐ มีสถานะเงินสดที่ไม่ดี และเฟดได้ให้ความช่วยเหลือเป็นการฉุกเฉินไปแล้ว แต่ยังคงก่อให้เกิดความกังวลใน
กลุ่มนักลงทุน ว่าเศรษฐกิจสหรัฐ อาจอยู่ในภาวะถดถอยเป็นเวลายาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในส่วนของนโยบายอัตราดอกเบี้ยของไทย ขึ้นอยู่กับ
การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ด้านนางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.จะไม่มีการประชุม กนง.ก่อนวาระปกติในวันที่ 9 เม.ย. ส่วนปัจจัยหลักที่จะนำมาพิจารณานโยบาย
อัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งหน้า ยังคงเป็นเรื่องราคาน้ำมันและเศรษฐกิจสหรัฐ นอกจากนี้ นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ธปท.
กล่าวว่า ความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ และอัตราดอกเบี้ยของไทย ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 3.25% ไม่ได้เป็นสาเหตุประการเดียวที่ทำให้
เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุน แต่มีปัจจัยความกังวลในด้านความเสี่ยงอื่นๆ ประกอบด้วย (ข่าวสด, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
2. ปตท.และบางจากประกาศปรับขึ้นราคาดีเซล 50 ส.ต./ลิตร นายชัยวัฒน์ ชูฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจน้ำมัน
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท.ประกาศปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซล 50 ส.ต./ลิตร เพื่อให้เท่ากับผู้ค้ารายอื่น มีผลตั้งแต่เวลา
05.00 น. วันที่ 18 มี.ค. ส่งผลให้ราคาน้ำมันในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลของ ปตท.อยู่ที่ 30.94 บาท/ลิตร เช่นเดียวกับบริษัทบางจาก
ซึ่งเปิดเผยว่า บางจากได้ปรับราคาดีเซลขึ้น 50 ส.ต./ลิตร เช่นกัน ทำให้ราคาขายเท่ากับ ปตท. ขณะที่เชลล์ แจ้งปรับขึ้นราคาดีเซลอีก
50 ส.ต./ลิตร มีผลวันที่ 18 มี.ค. ส่งผลให้ราคาดีเซลแพงกว่า ปตท. และบางจาก 50 ส.ต./ลิตร โดยอยู่ที่ 31.44 บาท/ลิตร (ข่าวสด,
ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. รัฐบาลขาดดุลเงินสดในช่วง 5 เดือนแรกปี งปม. 51 ตามเป้าหมาย นายสมชัย สัจจพงษ์ โฆษก ก.คลัง เปิดเผยถึงฐานะ
การคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือน ก.พ.ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลเกินดุลเงินสด 1,079 ล.บาท ซึ่งเป็นการเกินดุลเงินสดเดือนแรก
ของปี งปม. ทั้งนี้ รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 106,310 ล.บาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีก่อน 17,242 ล.บาท หรือ 19.4% จากการจัดเก็บ
ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ภาษีเบียร์ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีสุรา ที่สูงกว่าปีก่อน ขณะที่มีการเบิกจ่ายเงิน งปม. 118,658 ล.บาท ต่ำกว่า
เดือนเดียวกันปีก่อน 40.8% ส่งผลให้ดุลเงิน งปม.ขาดดุล 12,348 ล.บาท แต่เมื่อรวมกับดุลนอก งปม.ซึ่งเกินดุล 13,427 ล.บาท จึงทำให้
เกินดุลเงินสด อย่างไรก็ดี ในช่วง 5 เดือนแรกของปี งปม.51 รัฐบาลขาดดุลเงินสด 149,188 ล.บาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 10.6%
โดยเป็นการขาดดุล งปม. 133,280 ล.บาท และการขาดดุลนอก งปม. 15,908 ล.บาท เป็นไปตามเป้าหมายการดำเนินนโยบายการคลัง
แบบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโต 5% (ข่าวสด, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
- การจ้างงานของเขตเศรษฐกิจยุโรปในไตรมาส 4 ปี 50 เติบโตลดลงเหลือร้อยละ 0.2 รายงานจากกรุงบรัสเซลส์
ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 17 มี.ค.51 สนง.สถิติแห่งชาติของสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า อัตราการจ้างงานของ 13 ประเทศสมาชิกที่ใช้
เงินสกุลยูโรในไตรมาส 4 ปี 50 เติบโตลดลงเหลือเพียงร้อยละ 0.2 เทียบกับไตรมาส 3 และ 2 ที่เติบโตร้อยละ 0.3 และร้อยละ 0.5
และเทียบต่อปีเติบโตร้อยละ 1.8 และ 1.7 ตามลำดับ ส่วนตลอดปี 50 ตัวเลขคนที่มีงานทำมีจำนวนทั้งสิ้น 2.446 ล้านคน ทำให้ยอดรวม
เพิ่มขึ้นเป็น 144.3 ล้านคน ขณะที่ตัวเลขการจ้างงานในประเทศสมาชิกทั้งหมด 27 ประเทศของสหภาพยุโรปในปี 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6
หรือ 3.5 ล้านคน ทำให้ยอดรวมเพิ่มขึ้นเป็น 224.2 ล้านคน ทั้งนี้ อัตราการจ้างที่ชะลอตัวลงในไตรมาส 4 ปี 50 เกิดขึ้นในขณะที่อัตรา
การเติบโตทางเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปชะลอตัว เนื่องจากความผันผวนของตลาดเงินทั่วโลกส่งผลให้ต้นทุนการให้สินเชื่อเพิ่มขึ้น และ
ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในการทำธุรกิจ ขณะที่ตัวเลขการจ้างงานเป็นดัชนีชี้วัดความต้องการบริโภคภายในครัวเรือน และชี้ว่ามีความเป็นไปได้ที่
จะเกิดแรงกดดันจากอัตราค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดแรงงานตึงตัว ด้าน ธ.กลางสหภาพยุโรปได้ย้ำเตือนว่า อัตราการเพิ่มขึ้น
ของค่าจ้างแรงงานไม่ควรจะมากกว่าผลผลิตที่ได้รับ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดสภาพเงินเฟ้อที่รุนแรงยิ่งขึ้นจากค่าจ้างแรงงานในช่วงเวลาที่ราคา
น้ำมันกำลังเพิ่มสูงขึ้น (รอยเตอร์)
- ในอีก 5 — 10 ปีข้างหน้าจีนต้องการนำเข้าน้ำมันและแก๊สจากอาฟริกาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 35 เป็นร้อยละ 40 รายงานจาก
Cape Town เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 51 นาย Zhiming Zhao ประธานสมาคมอุตสาหกรรมการปิโตรเลียมและปิโตรเคมิคัลของจีนเปิดเผยว่า
ในอีก 5 — 10 ปีข้างหน้าจีนต้องการนำเข้าน้ำมันและแก๊สจากประเทศอาฟริกาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40 จากที่นำเข้าร้อยละ 35 ในปัจจุบัน ทั้งนี้
เมื่อปี 48 จีนนำเข้าน้ำมันจากอาฟริกามากกว่า 30 ล้านตันหรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของปริมาณนำเข้าน้ำมันสุทธิ ซึ่งทางการจีนมีสัมพันธ์ในระดับ
ที่ดีมากกับอาฟริกา และในอนาคตจีนต้องการที่จะหาแหล่งในการลงทุนเพิ่มขึ้นในความร่วมมือระหว่างจีนและอาฟริกาเพื่อหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจจีน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในเหมืองแร่ ถ่านหิน และแก๊ส แม้ว่าจะถูกต่อต้านแต่จีนก็ยังคงเดินหน้าในความสัมพันธ์ดังกล่าวนับตั้งแต่ปี 47
ที่ปธน. Hu Jintao ประกาศที่จะสานสัมพันธ์กับอาฟริกา ซึ่งปัจจุบันจีนได้ลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊สที่อาฟริกาไปแล้ว 30 พันล. ดอลลาร์
สรอ. และจะเริ่มลงทุนในอียิปต์ด้วยโดยที่จะเป็นการร่วมทุนกับรมว.น้ำมันของอิยิปต์เพื่อการผลิตน้ำมัน อย่างไรก็ตามการปิโตรเลียมแห่งชาติ
ของจีนได้ลงทุนในต่างประเทศเป็นครั้งแรกในโครงการสำรวจแหล่งน้ำลึกนอกชายฝั่งทะเลของ Guinea และมีความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและ
ยาวนานกับ Sudan ซึ่งบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ของจีน 3 แห่งได้แก่ CNPC Sinopec และ CNOOC ต่างก็ปฏิบัติการในไนจีเรีย ซึ่งเป็นผู้ผลิต
น้ำมันรายใหญ่ที่สุดของอาฟริกา (รอยเตอร์)
- ยอดส่งออกของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.51 ลดลงน้อยกว่าที่คาดไว้ รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 17 มี.ค.51 ยอดส่งออกสินค้า
ที่ไม่ใช่น้ำมันซึ่งมีสัดส่วนถึง 3 ใน 4 ของผลผลิตรวมในประเทศของสิงคโปร์ลดลงหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 0.4 ต่อเดือนใน
เดือน ก.พ.51 ลดลงน้อยกว่าที่คาดไว้ว่าจะลดลงถึงร้อยละ 4.0 ต่อเดือน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ต่อเดือนในเดือน ม.ค.51 โดยยอด
ส่งออกไปยัง สรอ.ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์ลดลงร้อยละ 5.2 ต่อปี ลดลงเมื่อเทียบต่อปีเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ทั้งนี้ หากเทียบต่อปีแล้ว
ยอดส่งออกในเดือน ก.พ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 มีมูลค่ารวม 12.9 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ต่อปีในเดือน ม.ค.51
จากการขยายตัวของยอดส่งออกยาและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.6 และ 10.5 ต่อปีตามลำดับ (รอยเตอร์)
- ยอดขายบ้านในสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.51 ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 17 มี.ค.51
รัฐบาลสิงคโปร์รายงานยอดขายบ้านในสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.51 มีจำนวน 170 ยูนิต น้อยกว่า 1 ใน 10 ของยอดขายในเดือน ส.ค.50
โดยในเดือน ม.ค.51 ยอดขายบ้านมีจำนวน 316 ยูนิต นักวิเคราะห์จึงคาดว่ายอดขายบ้านรวมในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้จะมีจำนวนระหว่าง
700-800 ยูนิต ต่ำสุดในรอบ 5 ปี นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรค SARS ในไตรมาสแรกปี 46 ซึ่งยอดขายบ้านมีจำนวนเพียง 427 ยูนิต
ทั้งนี้ ราคาบ้านในสิงคโปร์มีราคาสูงขึ้นถึงร้อยละ 31 ในปีที่ผ่านมาจนระดับราคาพุ่งขึ้นไปอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี โดยมีราคาใกล้เคียงกับ
ช่วงกลางปี 39 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดวิกฤติการเงินในเอเชียในปี 40 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 18 มี.ค. 51 17 มี.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.404 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.1973/31.5238 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25250 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 806.74/12.52 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,800/14,900 15,100/15,200 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 99.22 100.02 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท)
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 15 มี.ค. 51
**ปรับเพิ่มลิตรละ 30 สตางค์เมื่อ 18 มี.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ก.คลังติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐ ขณะที่ ธปท.ยังคงแนวทางไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
รอง นรม.และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐ ทั้งกรณี ธ.กลางสหรัฐ ตัดสินใจลด
อัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% เหลือเพียง 3.25% จากเดิม 3.50% เมื่อวันที่ 16 มี.ค. และกรณี บริษัทแบร์ สเติร์นส์ ซึ่งเป็นวาณิชธนกิจ
ขนาดใหญ่อันดับ 5 ของสหรัฐ มีสถานะเงินสดที่ไม่ดี และเฟดได้ให้ความช่วยเหลือเป็นการฉุกเฉินไปแล้ว แต่ยังคงก่อให้เกิดความกังวลใน
กลุ่มนักลงทุน ว่าเศรษฐกิจสหรัฐ อาจอยู่ในภาวะถดถอยเป็นเวลายาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในส่วนของนโยบายอัตราดอกเบี้ยของไทย ขึ้นอยู่กับ
การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ด้านนางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.จะไม่มีการประชุม กนง.ก่อนวาระปกติในวันที่ 9 เม.ย. ส่วนปัจจัยหลักที่จะนำมาพิจารณานโยบาย
อัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งหน้า ยังคงเป็นเรื่องราคาน้ำมันและเศรษฐกิจสหรัฐ นอกจากนี้ นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ ธปท.
กล่าวว่า ความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ และอัตราดอกเบี้ยของไทย ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 3.25% ไม่ได้เป็นสาเหตุประการเดียวที่ทำให้
เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุน แต่มีปัจจัยความกังวลในด้านความเสี่ยงอื่นๆ ประกอบด้วย (ข่าวสด, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
2. ปตท.และบางจากประกาศปรับขึ้นราคาดีเซล 50 ส.ต./ลิตร นายชัยวัฒน์ ชูฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจน้ำมัน
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท.ประกาศปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซล 50 ส.ต./ลิตร เพื่อให้เท่ากับผู้ค้ารายอื่น มีผลตั้งแต่เวลา
05.00 น. วันที่ 18 มี.ค. ส่งผลให้ราคาน้ำมันในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลของ ปตท.อยู่ที่ 30.94 บาท/ลิตร เช่นเดียวกับบริษัทบางจาก
ซึ่งเปิดเผยว่า บางจากได้ปรับราคาดีเซลขึ้น 50 ส.ต./ลิตร เช่นกัน ทำให้ราคาขายเท่ากับ ปตท. ขณะที่เชลล์ แจ้งปรับขึ้นราคาดีเซลอีก
50 ส.ต./ลิตร มีผลวันที่ 18 มี.ค. ส่งผลให้ราคาดีเซลแพงกว่า ปตท. และบางจาก 50 ส.ต./ลิตร โดยอยู่ที่ 31.44 บาท/ลิตร (ข่าวสด,
ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. รัฐบาลขาดดุลเงินสดในช่วง 5 เดือนแรกปี งปม. 51 ตามเป้าหมาย นายสมชัย สัจจพงษ์ โฆษก ก.คลัง เปิดเผยถึงฐานะ
การคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือน ก.พ.ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลเกินดุลเงินสด 1,079 ล.บาท ซึ่งเป็นการเกินดุลเงินสดเดือนแรก
ของปี งปม. ทั้งนี้ รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 106,310 ล.บาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีก่อน 17,242 ล.บาท หรือ 19.4% จากการจัดเก็บ
ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ภาษีเบียร์ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีสุรา ที่สูงกว่าปีก่อน ขณะที่มีการเบิกจ่ายเงิน งปม. 118,658 ล.บาท ต่ำกว่า
เดือนเดียวกันปีก่อน 40.8% ส่งผลให้ดุลเงิน งปม.ขาดดุล 12,348 ล.บาท แต่เมื่อรวมกับดุลนอก งปม.ซึ่งเกินดุล 13,427 ล.บาท จึงทำให้
เกินดุลเงินสด อย่างไรก็ดี ในช่วง 5 เดือนแรกของปี งปม.51 รัฐบาลขาดดุลเงินสด 149,188 ล.บาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 10.6%
โดยเป็นการขาดดุล งปม. 133,280 ล.บาท และการขาดดุลนอก งปม. 15,908 ล.บาท เป็นไปตามเป้าหมายการดำเนินนโยบายการคลัง
แบบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโต 5% (ข่าวสด, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
- การจ้างงานของเขตเศรษฐกิจยุโรปในไตรมาส 4 ปี 50 เติบโตลดลงเหลือร้อยละ 0.2 รายงานจากกรุงบรัสเซลส์
ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 17 มี.ค.51 สนง.สถิติแห่งชาติของสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า อัตราการจ้างงานของ 13 ประเทศสมาชิกที่ใช้
เงินสกุลยูโรในไตรมาส 4 ปี 50 เติบโตลดลงเหลือเพียงร้อยละ 0.2 เทียบกับไตรมาส 3 และ 2 ที่เติบโตร้อยละ 0.3 และร้อยละ 0.5
และเทียบต่อปีเติบโตร้อยละ 1.8 และ 1.7 ตามลำดับ ส่วนตลอดปี 50 ตัวเลขคนที่มีงานทำมีจำนวนทั้งสิ้น 2.446 ล้านคน ทำให้ยอดรวม
เพิ่มขึ้นเป็น 144.3 ล้านคน ขณะที่ตัวเลขการจ้างงานในประเทศสมาชิกทั้งหมด 27 ประเทศของสหภาพยุโรปในปี 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6
หรือ 3.5 ล้านคน ทำให้ยอดรวมเพิ่มขึ้นเป็น 224.2 ล้านคน ทั้งนี้ อัตราการจ้างที่ชะลอตัวลงในไตรมาส 4 ปี 50 เกิดขึ้นในขณะที่อัตรา
การเติบโตทางเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปชะลอตัว เนื่องจากความผันผวนของตลาดเงินทั่วโลกส่งผลให้ต้นทุนการให้สินเชื่อเพิ่มขึ้น และ
ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในการทำธุรกิจ ขณะที่ตัวเลขการจ้างงานเป็นดัชนีชี้วัดความต้องการบริโภคภายในครัวเรือน และชี้ว่ามีความเป็นไปได้ที่
จะเกิดแรงกดดันจากอัตราค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดแรงงานตึงตัว ด้าน ธ.กลางสหภาพยุโรปได้ย้ำเตือนว่า อัตราการเพิ่มขึ้น
ของค่าจ้างแรงงานไม่ควรจะมากกว่าผลผลิตที่ได้รับ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดสภาพเงินเฟ้อที่รุนแรงยิ่งขึ้นจากค่าจ้างแรงงานในช่วงเวลาที่ราคา
น้ำมันกำลังเพิ่มสูงขึ้น (รอยเตอร์)
- ในอีก 5 — 10 ปีข้างหน้าจีนต้องการนำเข้าน้ำมันและแก๊สจากอาฟริกาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 35 เป็นร้อยละ 40 รายงานจาก
Cape Town เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 51 นาย Zhiming Zhao ประธานสมาคมอุตสาหกรรมการปิโตรเลียมและปิโตรเคมิคัลของจีนเปิดเผยว่า
ในอีก 5 — 10 ปีข้างหน้าจีนต้องการนำเข้าน้ำมันและแก๊สจากประเทศอาฟริกาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40 จากที่นำเข้าร้อยละ 35 ในปัจจุบัน ทั้งนี้
เมื่อปี 48 จีนนำเข้าน้ำมันจากอาฟริกามากกว่า 30 ล้านตันหรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของปริมาณนำเข้าน้ำมันสุทธิ ซึ่งทางการจีนมีสัมพันธ์ในระดับ
ที่ดีมากกับอาฟริกา และในอนาคตจีนต้องการที่จะหาแหล่งในการลงทุนเพิ่มขึ้นในความร่วมมือระหว่างจีนและอาฟริกาเพื่อหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจจีน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในเหมืองแร่ ถ่านหิน และแก๊ส แม้ว่าจะถูกต่อต้านแต่จีนก็ยังคงเดินหน้าในความสัมพันธ์ดังกล่าวนับตั้งแต่ปี 47
ที่ปธน. Hu Jintao ประกาศที่จะสานสัมพันธ์กับอาฟริกา ซึ่งปัจจุบันจีนได้ลงทุนในอุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊สที่อาฟริกาไปแล้ว 30 พันล. ดอลลาร์
สรอ. และจะเริ่มลงทุนในอียิปต์ด้วยโดยที่จะเป็นการร่วมทุนกับรมว.น้ำมันของอิยิปต์เพื่อการผลิตน้ำมัน อย่างไรก็ตามการปิโตรเลียมแห่งชาติ
ของจีนได้ลงทุนในต่างประเทศเป็นครั้งแรกในโครงการสำรวจแหล่งน้ำลึกนอกชายฝั่งทะเลของ Guinea และมีความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและ
ยาวนานกับ Sudan ซึ่งบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ของจีน 3 แห่งได้แก่ CNPC Sinopec และ CNOOC ต่างก็ปฏิบัติการในไนจีเรีย ซึ่งเป็นผู้ผลิต
น้ำมันรายใหญ่ที่สุดของอาฟริกา (รอยเตอร์)
- ยอดส่งออกของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.51 ลดลงน้อยกว่าที่คาดไว้ รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 17 มี.ค.51 ยอดส่งออกสินค้า
ที่ไม่ใช่น้ำมันซึ่งมีสัดส่วนถึง 3 ใน 4 ของผลผลิตรวมในประเทศของสิงคโปร์ลดลงหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 0.4 ต่อเดือนใน
เดือน ก.พ.51 ลดลงน้อยกว่าที่คาดไว้ว่าจะลดลงถึงร้อยละ 4.0 ต่อเดือน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ต่อเดือนในเดือน ม.ค.51 โดยยอด
ส่งออกไปยัง สรอ.ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์ลดลงร้อยละ 5.2 ต่อปี ลดลงเมื่อเทียบต่อปีเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ทั้งนี้ หากเทียบต่อปีแล้ว
ยอดส่งออกในเดือน ก.พ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 มีมูลค่ารวม 12.9 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ต่อปีในเดือน ม.ค.51
จากการขยายตัวของยอดส่งออกยาและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.6 และ 10.5 ต่อปีตามลำดับ (รอยเตอร์)
- ยอดขายบ้านในสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.51 ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 17 มี.ค.51
รัฐบาลสิงคโปร์รายงานยอดขายบ้านในสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.51 มีจำนวน 170 ยูนิต น้อยกว่า 1 ใน 10 ของยอดขายในเดือน ส.ค.50
โดยในเดือน ม.ค.51 ยอดขายบ้านมีจำนวน 316 ยูนิต นักวิเคราะห์จึงคาดว่ายอดขายบ้านรวมในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้จะมีจำนวนระหว่าง
700-800 ยูนิต ต่ำสุดในรอบ 5 ปี นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรค SARS ในไตรมาสแรกปี 46 ซึ่งยอดขายบ้านมีจำนวนเพียง 427 ยูนิต
ทั้งนี้ ราคาบ้านในสิงคโปร์มีราคาสูงขึ้นถึงร้อยละ 31 ในปีที่ผ่านมาจนระดับราคาพุ่งขึ้นไปอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี โดยมีราคาใกล้เคียงกับ
ช่วงกลางปี 39 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดวิกฤติการเงินในเอเชียในปี 40 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 18 มี.ค. 51 17 มี.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.404 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.1973/31.5238 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25250 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 806.74/12.52 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,800/14,900 15,100/15,200 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 99.22 100.02 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท)
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 15 มี.ค. 51
**ปรับเพิ่มลิตรละ 30 สตางค์เมื่อ 18 มี.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--