ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ระบุสภาพคล่องในระบบขณะนี้เหมาะสมและเอื้อต่อการลงทุน นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) กล่าวในงานสัมมนา “โรดแมพฟื้นเศรษฐกิจชาติ” ในหัวข้อเรื่อง “ยาแรงกระตุ้นเศรษฐกิจ : ทิศทางเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยปี 51”
ว่า จากการพิจารณาสถานการณ์การปล่อยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 4 ที่ผ่านมา เห็นว่าสภาพคล่องในระบบ รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้
เหมาะสมและเอื้อต่อการลงทุนของภาคเอกชนแล้ว แต่นักลงทุนต่างประเทศอาจจะยังรอดูการฟื้นตัวในประเทศของไทยว่า เหมาะสมต่อการเข้า
มาลงทุนในระยะยาวหรือไม่ หลังจากประเด็นทางการเมืองและแนวทางในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของ ก.คลังมีความชัดเจนแล้วใน
ระดับหนึ่ง สำหรับการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. ยังคงเน้นให้เกิดเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจเป็นหลัก กำลังซื้อของประชาชนจะ
ไม่ลดลง และส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่ความท้าทายของ ธปท.และ ธ.กลางทั่วโลกในขณะนี้คือ อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ขณะที่
มีความเสี่ยงมากที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะถดถอย ซึ่งส่งผลต่อเนื่องถึงการส่งออกและการขยายตัวของประเทศ โดยปัจจัยลบจากต่างประเทศ
เป็นปัจจัยรุนแรงที่สุดในปีนี้ ในด้านอัตราดอกเบี้ย ต้องพิจารณาปัจจัยทั้งภายในและต่างประเทศ นับตั้งแต่การขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศ
แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ ผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลก รวมทั้งการอ่อนค่าลงของดอลลาร์ สรอ. และการ
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลาง (เฟด) (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท.กำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศ ผู้สื่อข่าวรายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ว่า นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. ได้ส่งหนังสือเวียนถึง ธพ.ทุกแห่ง เรื่องวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศ
โดยกำหนดให้ผู้ลงทุนประเภทสถาบันที่ได้รับการอนุญาตให้ลงทุนในต่างประเทศจาก ธปท. (ผู้ลงทุนสถาบัน) ที่จะซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตรา
ต่างประเทศเพื่อลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศและหลักทรัพย์ไทยในต่างประเทศ ต้องแจงเอกสารแสดงตัวให้กับ ธพ.หรือสถาบันการเงิน
ต่างประเทศที่ให้รับแลกเปลี่ยน และเมื่อตรวจสอบเอกสารหลักฐานแล้ว ให้ ธพ.ขยายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือถอนเงินจาก
บัญชีเพื่อชำระค่าซื้อหลักทรัพย์ต่างประเทศตามวงเงินที่ได้รับอนุญาต แต่ไม่เกิน 50 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเทียบเท่าต่อราย หรือไม่เกินวงเงิน
ที่ได้รับอนุญาตจาก ธปท. (โลกวันนี้)
3. ธปท.ยืนยันภาคอสังหาริมทรัพย์ไม่สะท้อนปัญหา นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า แม้ในระยะนี้จะมีโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นจำนวนมาก แต่ ธปท.ยังไม่เห็นสัญญาณที่สะท้อนถึงการก่อสร้างที่มากเกินกว่า
ความต้องการของตลาด (โอเวอร์ซัพพลาย) ตลอดจนการปล่อยสินเชื่อของ ธพ.ที่ให้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังอยู่ในระดับปกติ ขณะเดียวกัน
ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสินเชื่อที่อยู่อาศัยก็ไม่ได้สะท้อนให้เห็นปัญหาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการ นโยบาย
การเงิน (กนง.) มีการติดตามสถานการณ์เกี่ยวกับภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ รายงานเศรษฐกิจและการเงิน ธปท. สรุปถึง
ภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ณ สิ้นปี 50 ว่า ภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมูลค่าและจำนวนรายการ
ซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเดือน ธ.ค.เพิ่มขึ้น 16.8% และ 9.8% และอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นทำให้ยอดคงค้างสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของ
ธพ.ปรับตัวสูงขึ้น โดยสินเชื่อที่ให้กับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ขยายตัว 8.8% และสินเชื่อที่ให้กับประชาชนรายย่อยเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยขยายตัว
12.6% นอกจากนี้ การที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีสัญญาณที่ดี สะท้อนให้เห็นว่า อุปทานของตลาดอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้น ขณะที่
อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ น่าจะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวต่อเนื่องในระยะต่อไป (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. CBI ปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 52 ลงที่ร้อยละ 1.7 จากภาวะความวุ่นวายของตลาดสินเชื่อโลก
รายงานจากลอนดอน เมื่อ 25 มี.ค.51 The Confederation of British Industry (CBI) เปิดเผยว่า จากภาวะความวุ่นวายของ
ตลาดสินเชื่อโลก ประกอบกับราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น และความต้องการที่ชะลอตัวลง ทำให้ต้องปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจลงอีก
ร้อยละ 0.2 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ในปีนี้ เทียบกับที่รัฐบาลประมาณการก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวระหว่างร้อยละ 1.75-2.25 สำหรับปี 52 คาดว่า
จะลดลงอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ซึ่งต่ำกว่าที่ ก.คลังอังกฤษคาดการณ์ล่าสุดอย่างมีนัยสำคัญว่าจะอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 2.25-2.75 นอกจากนี้ CBI
ยังคาดการณ์ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาส 3 ปีนี้ จะทะยานเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 3.2 (ภายหลังการทบทวนแล้ว) หลังจากที่สัปดาห์ก่อนรายงานว่า
ดัชนีราคาผู้บริโภคของอังกฤษในเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 9 เดือนที่ร้อยละ 2.5 ซึ่งอยู่ในระดับเหนือกว่าเป้าหมายที่ ธ.อังกฤษกำหนด
ไว้ให้อยู่ที่ร้อยละ 2 ทั้งนี้ ธ.กลางอังกฤษกำลังเผชิญกับภาวะการสร้างความสมดุลภายใต้ความกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ต้อง
พยายามกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจภายใต้เศรษฐกิจชะลอตัวในปัจจุบัน เหนือกว่านั้น ปัญหาสภาพคล่องของสินเชื่อ ส่งผลให้ ธ.กลาง สรอ.
และ ธ.กลางสหภาพยุโรป ตัดสินใจเพิ่มเม็ดเงินหลายร้อยพันล้านดอลลาร์ สรอ.สู่ตลาดสินเชื่อ อย่างไรก็ตาม CBI กล่าวว่า ไม่ว่า ธ.กลาง
จะใส่เม็ดเงินจำนวนเท่าใดลงสู่ระบบสินเชื่อ จะไม่สามารถทำให้ ธ.พาณิชย์เต็มใจที่จะปล่อยสินเชื่อมากขึ้น (รอยเตอร์)
2. รอยเตอร์เปิดเผยการคาดการณ์ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจหลักของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.51 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 25 มี.ค.51
รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของบรรดานักเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับดัชนีชี้เศรษฐกิจที่สำคัญของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.51 ซึ่งบรรดา
นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ดุลการค้าของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.จะมีจำนวน 1.1464 ล้านเยน (11.52 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1
เทียบต่อปี โดยคาดว่าการส่งออกและการนำเข้าจะขยายตัวร้อยละ 7.5 และ 5.9 ตามลำดับ ส่วนตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ก.พ.
ซึ่งรวมราคาน้ำมัน แต่ไม่รวมราคาอาหารสดที่มีความผันผวน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.9 เทียบต่อปี เป็นการขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่เดือน
มี.ค.41 ที่ดัชนีขยายตัวร้อยละ 1.8 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในเดือน มี.ค.51 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 สาเหตุหลักจากปัจจัย
ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น สำหรับตัวเลขอัตราการว่างงานในเดือน ก.พ. คาดว่าจะทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงโดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.8 เช่นเดียวกับ
อัตราส่วนการจ้างงานต่อจำนวนแรงงานซึ่งทรงตัวเช่นกันที่ระดับ 0.98 นอกจากนี้ ตัวเลขการใช้จ่ายของครัวเรือนญี่ปุ่นในเดือน ก.พ. คาดว่า
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 สอดคล้องกับตัวเลขยอดขายปลีกในเดือน ก.พ. ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.3 เทียบต่อปี ซึ่งยอดขายปลีกที่เพิ่มขึ้น
ดังกล่าว เป็นไปในทิศทางที่ดีต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายเดือนติดต่อกัน เนื่องจากการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มสูงขึ้น แม้ราคา
น้ำมันจะเพิ่มขึ้นในระดับสูงก็ตาม (รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ. ชะลอลงจากเดือนที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 25 ปีเมื่อเดือน ม.ค. รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 51 สำนักงานสถิติแห่งชาติของสิงคโปร์เปิดเผยว่า ในเดือน ก.พ. อัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วอยู่ที่
ร้อยละ 6.5 ชะลอลงจากร้อยละ 6.6 ในเดือน ม.ค. ที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 25 ปี หรือเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 0.2 เนื่องจากราคา
อาหารสูงขึ้น รวมทั้งการขนส่ง และการสื่อสาร อย่างไรก็ตามทางการสิงคโปร์ยังไม่ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อสำหรับตลอดทั้งปีนี้ที่คาดว่าจะ
อยู่ที่ร้อยละ 4.5 — 5.5 เนื่องจากคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง แต่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ.ที่สูงขึ้น
ร้อยละ 6.5 เนื่องจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในช่วงวันหยุดเทศกาลตรุษจีนส่งผลให้ราคาอาหารและเครื่องนุ่งห่มสูงขึ้น ขณะที่ ธ.กลางต่างๆทั่วโลก
ต่างก็ต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมัน และต้นทุนสินค้า (รอยเตอร์)
4. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 1 ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 4 รายงานจากกรุงโซล เกาหลีใต้ เมื่อ
วันที่ 25 มี.ค. 51 ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภค 2,500 ครัวเรือนของ ธ.กลางเกาหลีใต้ในระหว่างวันที่ 3 — 14 มี.ค. ชี้ว่า
ในไตรมาสแรกปีนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงอยู่ที่ระดับ 105 จากระดับ 106 ในไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้ว ชะลอลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน
เป็นไตรมาสที่ 2 หลังจากที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ระดับ 112 เมื่อไตรมาสที่ 3 ปี 49 ทั้งนี้ระดับความเชื่อมั่นที่สูงกว่า 100 หมายความว่า
ผู้บริโภคส่วนใหญ่คาดว่าภาวะเศรษฐกิจในระยะ 6 เดือนข้างหน้าจะดีขึ้น ซึ่งดัชนีความเชื่อมั่นดังกล่าวประกอบด้วยดัชนีย่อยๆ ที่สำรวจจาก
ความเห็นของชาวเกาหลีใต้เกี่ยวกับมาตรฐานการครองชีพ รายได้ แผนการใช้จ่าย รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจ และแนวโน้มในอนาคต ซึ่ง
ธ.กลางเกาหลีใต้กล่าวว่า ดัชนีดังกล่าวผู้บริโภคต่างมีความเห็นที่ไม่ดีนักเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ และการใช้จ่ายครัวเรือน ท่ามกลางความ
วิตกว่าวิกฤติสินเชื่อของ สรอ. ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกจะเลวลงอีก และจะส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวตามไปด้วย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 มี.ค. 51 24 มี.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.427 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.1617/31.4937 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25000 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 807.28/8.70 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,900/14,000 13,700/13,800 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 93.98 92.69 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 34.09*/30.24** 34.09*/30.24** 32.89/29.34 ปตท.
**ปรับเพิ่มลิตรละ 30 สตางค์เมื่อ 18 มี.ค. 51
*ปรับลดลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 22 มี.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ระบุสภาพคล่องในระบบขณะนี้เหมาะสมและเอื้อต่อการลงทุน นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) กล่าวในงานสัมมนา “โรดแมพฟื้นเศรษฐกิจชาติ” ในหัวข้อเรื่อง “ยาแรงกระตุ้นเศรษฐกิจ : ทิศทางเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยปี 51”
ว่า จากการพิจารณาสถานการณ์การปล่อยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 4 ที่ผ่านมา เห็นว่าสภาพคล่องในระบบ รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้
เหมาะสมและเอื้อต่อการลงทุนของภาคเอกชนแล้ว แต่นักลงทุนต่างประเทศอาจจะยังรอดูการฟื้นตัวในประเทศของไทยว่า เหมาะสมต่อการเข้า
มาลงทุนในระยะยาวหรือไม่ หลังจากประเด็นทางการเมืองและแนวทางในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของ ก.คลังมีความชัดเจนแล้วใน
ระดับหนึ่ง สำหรับการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. ยังคงเน้นให้เกิดเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจเป็นหลัก กำลังซื้อของประชาชนจะ
ไม่ลดลง และส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่ความท้าทายของ ธปท.และ ธ.กลางทั่วโลกในขณะนี้คือ อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ขณะที่
มีความเสี่ยงมากที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะถดถอย ซึ่งส่งผลต่อเนื่องถึงการส่งออกและการขยายตัวของประเทศ โดยปัจจัยลบจากต่างประเทศ
เป็นปัจจัยรุนแรงที่สุดในปีนี้ ในด้านอัตราดอกเบี้ย ต้องพิจารณาปัจจัยทั้งภายในและต่างประเทศ นับตั้งแต่การขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศ
แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ ผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลก รวมทั้งการอ่อนค่าลงของดอลลาร์ สรอ. และการ
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลาง (เฟด) (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท.กำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศ ผู้สื่อข่าวรายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ว่า นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. ได้ส่งหนังสือเวียนถึง ธพ.ทุกแห่ง เรื่องวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ในต่างประเทศ
โดยกำหนดให้ผู้ลงทุนประเภทสถาบันที่ได้รับการอนุญาตให้ลงทุนในต่างประเทศจาก ธปท. (ผู้ลงทุนสถาบัน) ที่จะซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตรา
ต่างประเทศเพื่อลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศและหลักทรัพย์ไทยในต่างประเทศ ต้องแจงเอกสารแสดงตัวให้กับ ธพ.หรือสถาบันการเงิน
ต่างประเทศที่ให้รับแลกเปลี่ยน และเมื่อตรวจสอบเอกสารหลักฐานแล้ว ให้ ธพ.ขยายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือถอนเงินจาก
บัญชีเพื่อชำระค่าซื้อหลักทรัพย์ต่างประเทศตามวงเงินที่ได้รับอนุญาต แต่ไม่เกิน 50 ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเทียบเท่าต่อราย หรือไม่เกินวงเงิน
ที่ได้รับอนุญาตจาก ธปท. (โลกวันนี้)
3. ธปท.ยืนยันภาคอสังหาริมทรัพย์ไม่สะท้อนปัญหา นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า แม้ในระยะนี้จะมีโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นจำนวนมาก แต่ ธปท.ยังไม่เห็นสัญญาณที่สะท้อนถึงการก่อสร้างที่มากเกินกว่า
ความต้องการของตลาด (โอเวอร์ซัพพลาย) ตลอดจนการปล่อยสินเชื่อของ ธพ.ที่ให้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังอยู่ในระดับปกติ ขณะเดียวกัน
ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของสินเชื่อที่อยู่อาศัยก็ไม่ได้สะท้อนให้เห็นปัญหาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการ นโยบาย
การเงิน (กนง.) มีการติดตามสถานการณ์เกี่ยวกับภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ รายงานเศรษฐกิจและการเงิน ธปท. สรุปถึง
ภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ณ สิ้นปี 50 ว่า ภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมูลค่าและจำนวนรายการ
ซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเดือน ธ.ค.เพิ่มขึ้น 16.8% และ 9.8% และอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นทำให้ยอดคงค้างสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของ
ธพ.ปรับตัวสูงขึ้น โดยสินเชื่อที่ให้กับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ขยายตัว 8.8% และสินเชื่อที่ให้กับประชาชนรายย่อยเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยขยายตัว
12.6% นอกจากนี้ การที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีสัญญาณที่ดี สะท้อนให้เห็นว่า อุปทานของตลาดอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้น ขณะที่
อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ น่าจะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวต่อเนื่องในระยะต่อไป (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. CBI ปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 52 ลงที่ร้อยละ 1.7 จากภาวะความวุ่นวายของตลาดสินเชื่อโลก
รายงานจากลอนดอน เมื่อ 25 มี.ค.51 The Confederation of British Industry (CBI) เปิดเผยว่า จากภาวะความวุ่นวายของ
ตลาดสินเชื่อโลก ประกอบกับราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น และความต้องการที่ชะลอตัวลง ทำให้ต้องปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจลงอีก
ร้อยละ 0.2 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ในปีนี้ เทียบกับที่รัฐบาลประมาณการก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวระหว่างร้อยละ 1.75-2.25 สำหรับปี 52 คาดว่า
จะลดลงอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ซึ่งต่ำกว่าที่ ก.คลังอังกฤษคาดการณ์ล่าสุดอย่างมีนัยสำคัญว่าจะอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 2.25-2.75 นอกจากนี้ CBI
ยังคาดการณ์ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาส 3 ปีนี้ จะทะยานเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 3.2 (ภายหลังการทบทวนแล้ว) หลังจากที่สัปดาห์ก่อนรายงานว่า
ดัชนีราคาผู้บริโภคของอังกฤษในเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 9 เดือนที่ร้อยละ 2.5 ซึ่งอยู่ในระดับเหนือกว่าเป้าหมายที่ ธ.อังกฤษกำหนด
ไว้ให้อยู่ที่ร้อยละ 2 ทั้งนี้ ธ.กลางอังกฤษกำลังเผชิญกับภาวะการสร้างความสมดุลภายใต้ความกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ต้อง
พยายามกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจภายใต้เศรษฐกิจชะลอตัวในปัจจุบัน เหนือกว่านั้น ปัญหาสภาพคล่องของสินเชื่อ ส่งผลให้ ธ.กลาง สรอ.
และ ธ.กลางสหภาพยุโรป ตัดสินใจเพิ่มเม็ดเงินหลายร้อยพันล้านดอลลาร์ สรอ.สู่ตลาดสินเชื่อ อย่างไรก็ตาม CBI กล่าวว่า ไม่ว่า ธ.กลาง
จะใส่เม็ดเงินจำนวนเท่าใดลงสู่ระบบสินเชื่อ จะไม่สามารถทำให้ ธ.พาณิชย์เต็มใจที่จะปล่อยสินเชื่อมากขึ้น (รอยเตอร์)
2. รอยเตอร์เปิดเผยการคาดการณ์ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจหลักของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.51 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 25 มี.ค.51
รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของบรรดานักเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับดัชนีชี้เศรษฐกิจที่สำคัญของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.51 ซึ่งบรรดา
นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ดุลการค้าของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.จะมีจำนวน 1.1464 ล้านเยน (11.52 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1
เทียบต่อปี โดยคาดว่าการส่งออกและการนำเข้าจะขยายตัวร้อยละ 7.5 และ 5.9 ตามลำดับ ส่วนตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ก.พ.
ซึ่งรวมราคาน้ำมัน แต่ไม่รวมราคาอาหารสดที่มีความผันผวน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.9 เทียบต่อปี เป็นการขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่เดือน
มี.ค.41 ที่ดัชนีขยายตัวร้อยละ 1.8 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในเดือน มี.ค.51 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 สาเหตุหลักจากปัจจัย
ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น สำหรับตัวเลขอัตราการว่างงานในเดือน ก.พ. คาดว่าจะทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงโดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.8 เช่นเดียวกับ
อัตราส่วนการจ้างงานต่อจำนวนแรงงานซึ่งทรงตัวเช่นกันที่ระดับ 0.98 นอกจากนี้ ตัวเลขการใช้จ่ายของครัวเรือนญี่ปุ่นในเดือน ก.พ. คาดว่า
จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 สอดคล้องกับตัวเลขยอดขายปลีกในเดือน ก.พ. ที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.3 เทียบต่อปี ซึ่งยอดขายปลีกที่เพิ่มขึ้น
ดังกล่าว เป็นไปในทิศทางที่ดีต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายเดือนติดต่อกัน เนื่องจากการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มสูงขึ้น แม้ราคา
น้ำมันจะเพิ่มขึ้นในระดับสูงก็ตาม (รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ. ชะลอลงจากเดือนที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 25 ปีเมื่อเดือน ม.ค. รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 51 สำนักงานสถิติแห่งชาติของสิงคโปร์เปิดเผยว่า ในเดือน ก.พ. อัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วอยู่ที่
ร้อยละ 6.5 ชะลอลงจากร้อยละ 6.6 ในเดือน ม.ค. ที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 25 ปี หรือเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 0.2 เนื่องจากราคา
อาหารสูงขึ้น รวมทั้งการขนส่ง และการสื่อสาร อย่างไรก็ตามทางการสิงคโปร์ยังไม่ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อสำหรับตลอดทั้งปีนี้ที่คาดว่าจะ
อยู่ที่ร้อยละ 4.5 — 5.5 เนื่องจากคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลง แต่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ.ที่สูงขึ้น
ร้อยละ 6.5 เนื่องจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งในช่วงวันหยุดเทศกาลตรุษจีนส่งผลให้ราคาอาหารและเครื่องนุ่งห่มสูงขึ้น ขณะที่ ธ.กลางต่างๆทั่วโลก
ต่างก็ต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมัน และต้นทุนสินค้า (รอยเตอร์)
4. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 1 ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 4 รายงานจากกรุงโซล เกาหลีใต้ เมื่อ
วันที่ 25 มี.ค. 51 ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภค 2,500 ครัวเรือนของ ธ.กลางเกาหลีใต้ในระหว่างวันที่ 3 — 14 มี.ค. ชี้ว่า
ในไตรมาสแรกปีนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงอยู่ที่ระดับ 105 จากระดับ 106 ในไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้ว ชะลอลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน
เป็นไตรมาสที่ 2 หลังจากที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ระดับ 112 เมื่อไตรมาสที่ 3 ปี 49 ทั้งนี้ระดับความเชื่อมั่นที่สูงกว่า 100 หมายความว่า
ผู้บริโภคส่วนใหญ่คาดว่าภาวะเศรษฐกิจในระยะ 6 เดือนข้างหน้าจะดีขึ้น ซึ่งดัชนีความเชื่อมั่นดังกล่าวประกอบด้วยดัชนีย่อยๆ ที่สำรวจจาก
ความเห็นของชาวเกาหลีใต้เกี่ยวกับมาตรฐานการครองชีพ รายได้ แผนการใช้จ่าย รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจ และแนวโน้มในอนาคต ซึ่ง
ธ.กลางเกาหลีใต้กล่าวว่า ดัชนีดังกล่าวผู้บริโภคต่างมีความเห็นที่ไม่ดีนักเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ และการใช้จ่ายครัวเรือน ท่ามกลางความ
วิตกว่าวิกฤติสินเชื่อของ สรอ. ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลกจะเลวลงอีก และจะส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวตามไปด้วย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 25 มี.ค. 51 24 มี.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.427 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.1617/31.4937 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25000 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 807.28/8.70 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,900/14,000 13,700/13,800 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 93.98 92.69 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 34.09*/30.24** 34.09*/30.24** 32.89/29.34 ปตท.
**ปรับเพิ่มลิตรละ 30 สตางค์เมื่อ 18 มี.ค. 51
*ปรับลดลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 22 มี.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--