ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. เศรษฐกิจไทยขณะนี้ไม่มีสัญญาณจะเกิดฟองสบู่ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวถึงการประชุมผู้ว่าการธนาคารกลาง
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กรุงจาการ์ตา เมื่อวันที่ 20 — 22 มี.ค.ที่ผ่านมา ว่า ปัญหาเศรษฐกิจใน สรอ. เป็นประเด็นหลักของที่
ประชุมในการหารือครั้งนี้ ซึ่งผู้ว่าการ ธ.กลางจาก 16 ประเทศ มองไปในทิศทางเดียวกันว่าถึงแม้ปัญหาใน สรอ. จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
ของประเทศกำลังพัฒนาที่เกิดขึ้นใหม่ แต่ประเทศในกลุ่มนี้มีเศรษฐกิจค่อนข้างแข็งแกร่ง รวมทั้งสถาบันการเงินมีความมั่นคง ทำให้สามารถรองรับ
ปัญหาการชะลอตัวของภาคส่งออกได้ ซึ่ง ธ.กลางจากทุกประเทศมั่นใจว่าสามารถดูแลผลกระทบได้ ขณะที่การดำเนินนโยบายการเงินจะต้อง
ระมัดระวังไม่ให้ผ่อนปรนเกินไปจนเกิดภาวะฟองสบู่ ธ.กลางอาจจะต้องมีมาตรการอื่นออกมาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฟองสบู่ในบางภาค เช่น ตลาดหุ้น
และตลาดอสังหาริมทรัพย์ สำหรับไทยได้ดำเนินนโยบายมาถูกทางแล้ว โดย ธปท. มีระบบติดตามข้อมูลเงินทุนเคลื่อนย้ายทุกสิ้นวัน และกำหนด
ให้เคลื่อนย้ายเงินทุนจากบัญชีบางประเภทไปยังบางประเภทอยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้ไทยไม่มีสัญญาณจะเกิดฟองสบู่จากส่วนไหน ไม่มีอะไรต้องกังวลและ
คงไม่ต้องออกมาตรการใดเพิ่มเติม ส่วนความกังวลที่จะมีเงินทุนไหลโยกย้ายจาก สรอ. เข้าไทยจำนวนมากนั้น ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการ
นำเสนอตัวเลขที่น่าสนใจว่าสภาพคล่องของโลกเคยถึงจุดสูงสุดเมื่อกลางปี 50 จำนวน 7 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. แต่เมื่อเดือน ม.ค.51
สภาพคล่องโลกมี 2 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงไปจำนวนมาก ทำให้ธนาคารในประเทศที่พัฒนาแล้วปล่อยกู้ยากขึ้นหรือคิดอัตราดอกเบี้ยสูง
ทำให้การกู้เงินเพื่อนำออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ไม่สามารถทำได้มากเหมือนที่ผ่านมา จึงไม่ต้องห่วงว่าจะมีเงินไหลทะลักเข้ามาในภูมิภาคนี้
และประเทศไทยอีก (มติชน, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. อนุญาตให้ ธ.พาณิชย์ทำธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลิสซิ่ง นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า ธปท.
ได้ออกประกาศอนุญาตให้ ธ.พาณิชย์ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลิสซิ่ง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค.51 เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทาง
ให้ประชาชนสามารถนำทรัพย์สินที่มีอยู่มาเป็นหลักประกันเพื่อการหาเงินทุนในระบบได้ โดยมีภาระดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อส่วนบุคคล โดยขยาย
ขอบเขตให้ ธ.พาณิชย์ประกอบธุรกิจให้เช่าในลักษณะที่เป็นการขายและเช่ากลับคืนกับบุคคลธรรมได้โดยไม่จำกัดประเภททรัพย์สิน จากเดิมที่
อนุญาตให้ทำธุรกรรมดังกล่าวได้เฉพาะกับนิติบุคคลและไม่รวมถึงทรัพย์สินประเภทรถยนต์ส่วนบุคคลตามที่ ธปท. กำหนด สำหรับการคำนวณ
ผลตอบแทนและค่าใช้จ่าย หาก ธ.พาณิชย์ใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ต่อปีให้เปิดเผยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย
ณ สำนักงาน รวมทั้งเผยแพร่บนเว็บไซต์ของธนาคารเพื่อเป็นข้อมูลแก่ลูกค้าในการตัดสินใจทำธุรกรรม และให้ระบุไว้ในสัญญาหรือเอกสาร
แนบท้ายสัญญา ทั้งนี้ ธ.พาณิชย์ต้องให้ความสำคัญกับการลดความเสี่ยงต่อการเสียหายของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลิสซิ่ง และควรจัด
ให้มีการประกันภัยทรัพย์สินดังกล่าว โดยในการทำประกันภัย ธ.พาณิชย์ต้องคำนึงถึงประเภททรัพย์สิน ยอดเงินลงทุนในทรัพย์สิน โอกาสในการ
เกิดความเสียหายของทรัพย์สิน และค่าซ่อมแซมกรณีทรัพย์สินได้รับความเสียหาย เป็นต้น (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
3. สศค. คาดว่าเศรษฐกิจปีนี้จะเติบโตร้อยละ 5 - 6 นางพรรณี สถาวโรดม ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า
เศรษฐกิจไทยปีนี้ปรับตัวดีขึ้น คาดว่าจีดีพีจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.6 จากช่วงคาดการณ์ร้อยละ 5 — 6 ต่อปี ซึ่งเป็นการปรับประมาณการดีขึ้น
จากเดิมที่ประเมินว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 5 จากช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.5 — 5.5 ส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5
จากร้อยละ 3.5 ในปี 50 ทั้งนี้ การที่เศรษฐกิจขยายตัวสมดุลมากขึ้นมาจากความต้องการบริโภคในประเทศหรืออุปสงค์มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจาก
การใช้จ่ายภาคเอกชนที่ฟื้นตัว ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4 จากฐานปีก่อนที่ร้อยละ 1.4 รวมถึงการใช้จ่ายภาครัฐที่เร่งตัวขึ้นตามนโยบายรัฐบาล
ในการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงที่อุปสงค์ภายนอกประเทศมีแนวโน้มลดลงจากความเสี่ยงของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สำหรับ
เศรษฐกิจการคลังเดือน พ.ย.51 ยังขยายตัวได้ต่อเนื่องจากการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ในระดับสูง ส่วนการส่งออก
เดือน ก.พ. ขยายตัวร้อยละ 16.4 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 33.3 ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 33.1 ตามการ
ฟื้นตัวของการใช้จ่ายในประเทศด้วยมูลค่ารวม 1.37 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
4. ก.คลังเตรียมประกาศมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม. และ รมว.คลัง กล่าวปาฐกถา
พิเศษเรื่อง นโยบายของภาครัฐกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อความเจริญเติบโตแบบยั่งยืนของเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยปี 2551 โดย
เชื่อว่าหากมาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมีผลบังคับใช้จะทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปีนี้คึกคักขึ้นได้อย่างทันตา ไม่ใช่เพียงแค่ฟื้นกลับมา
เท่านั้น แต่ทั้งบรรยากาศการซื้อขายที่อยู่อาศัยและการโอนจะดีขึ้นอย่างแน่นอน โดยประเมินว่าจะทำให้เศรษฐกิจปีนี้ขยายตัวได้อีกร้อยละ
0.2 — 0.3 จากที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 5.5 นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าจะทำให้สัดส่วนของภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รวมถึงภาคก่อสร้างที่มีบทบาท
ต่อการขยายตัวของจีดีพีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.5 — 6.7 ของจีดีพี ทั้งนี้ จากข้อมูลในปี 50 ภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคก่อสร้างรวมกันมีบทบาท
ต่อการขยายตัวของจีดีพีร้อยละ 6.2 หรือ 264,035 ล้านบาท ซึ่งในกรณีนี้เฉพาะภาคเดียวเท่านั้น หากพิจารณาถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ
ที่จะได้รับประโยชน์ไปด้วย เช่น ธุรกิจเหล็ก เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง จะมีบทบาทสูงถึงกว่าร้อยละ 20 ของจีดีพี
(โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเยอรมนีในเดือน มี.ค.51 เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อ 26 มี.ค.51 ดัชนีชี้วัดบรรยากาศทางธุรกิจจากผลสำรวจความเห็นของธุรกิจประมาณ 7,000 แห่งในเยอรมนีโดยสถาบันวิจัย Ifo เพิ่มขึ้น
มาอยู่ที่ระดับ 104.8 ในเดือน มี.ค.จากระดับ 104.1 ในเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ผิดจากที่คาดไว้ว่าจะลดลงมาอยู่ที่
ระดับ 103.4 ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจเยอรมนียังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่งนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา แม้ว่าค่าเงินยูโรสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์เมื่อ
เทียบกับดอลลาร์ สรอ.และเศรษฐกิจ สรอ.เริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยก็ตาม ส่งผลให้แนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้าค่อนข้างสดใส
โดยเฉพาะธุรกิจในภาคการผลิตที่มองแนวโน้มการส่งออกในทางบวก และมีแผนที่จะจ้างงานเพิ่ม แต่อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางคนคาดว่า
ค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงจะเริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเยอรมนีในช่วงครึ่งปีหลัง (รอยเตอร์)
2. กรรมาธิการสหภาพยุโรปวิตกว่าเงินยูโรที่แข็งค่าจะกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจยุโรป รายงานจากบรัสเซล เมื่อ
วันที่ 26 มี.ค. 51 คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้ย้ำเรื่องการแข็งค่าของเงินยูโรว่าจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในยูโรโซน
อย่างไรก็ตามยังคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ร้อยละ 1.8 ในปีนี้ ทั้งนี้คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปให้ความเห็นไว้ในรายงานเศรษฐกิจ
รายไตรมาสของ 15 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรว่า มีความไม่แน่นอนว่าปัญหาความยุ่งยากในตลาดการเงินที่เกิดขึ้นจากผลกระทบวิกฤติ
อสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพของ สรอ. จะสิ้นสุดลงเมื่อใด และมีความเสียหายเป็นจำนวนเท่าใดซึ่งสถาบันการเงินอาจได้รับผลกระทบมากที่สุด
ซึ่งปัญหาวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ของ สรอ. ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้ลงทุน ต้นทุนสินเชื่อ และการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งตาม
ความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่าเศรษฐกิจยูโรโซนในปีนี้จะชะลอตัวลงเนื่องจากเศรษฐกิจ สรอ. ได้เข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว
อย่างไรก็ตามคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปเห็นว่าในกรณีของสหภาพยุโรปนั้นผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจสรอ. จะขึ้นกับอัตราแลกเปลี่ยน
เงินสกุลยูโรที่แข็งค่าขึ้นด้วยซึ่งเป็นประเด็นที่สร้างความวิตกแก่สหภาพยุโรปในขณะนี้ ทั้งนี้ที่ผ่านมาเงินยูโรแข็งขึ้นค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง(รอยเตอร์)
3. ธ.กลางอังกฤษชี้ค่าเงินปอนด์มีแนวโน้มลดลงอีก รายงานจากลอนดอน เมื่อ 26 มี.ค.51 ธ.กลางอังกฤษชี้ว่าค่าเงินปอนด์
กำลังปรับตัวลดลงมาอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันของอังกฤษ หลังจากแข็งค่าขึ้นอย่างไม่ทราบสาเหตุในช่วงปี 49 ทั้งนี้
ค่าเงินปอนด์ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบกว่า 10 ปีเมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินเยน โดยลดลงประมาณร้อยละ 10 ในช่วงปีที่ผ่านมา
เมื่อนักลงทุนในตลาดการเงินเปลี่ยนไปถือครองเงินของประเทศที่มียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและขายทิ้งเงินของประเทศที่มียอดขาดดุลบัญชี
เดินสะพัดมากอย่างอังกฤษและ สรอ. โดยเมื่อปีที่ผ่านมา อังกฤษขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 20 พันล้านปอนด์ในช่วงไตรมาส
ที่ 3 หรือคิดเป็นร้อยละ 5.7 ของผลผลิตรวมในประเทศ แต่อย่างไรก็ดี ธ.กลางอังกฤษไม่ได้แสดงความกังวลต่อการลดลงของค่าเงินปอนด์
ดังกล่าวซึ่งส่งผลดีต่อการส่งออกและการลงทุนของภาคธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศในช่วงที่การบริโภคในประเทศชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.51 ลดลงร้อยละ 2.3 เทียบต่อเดือน ขณะที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบต่อปี
รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 26 มี.ค.51 Economic Development Board เปิดเผยว่า ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.51 ลดลง
ร้อยละ 2.3 สวนทางกับเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 และเหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าผลผลิตฯ จะลดลงเพียง
ร้อยละ 1.5 ก่อให้เกิดความกังวลเพิ่มขึ้นในกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ว่า ภาคการผลิตของสิงคโปร์จะขยายตัวชะลอลงในปีนี้ สาเหตุจากความ
ต้องการของ สรอ. ซึ่งเป็นตลาดหลักของสิงคโปร์ ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยอันเป็นผลจากภาวะซบเซาของตลาดบ้าน สรอ.
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบต่อปี ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1
โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งของผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรรมการขนส่ง อนึ่ง ผลผลิตโรงงานของ
สิงคโปร์มีการปรับตัวทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ตามความผันผวนของผลผลิตอุตสาหกรรมยา ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 5
ของผลผลิตโดยรวม (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 มี.ค. 51 26 มี.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.420 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.2012/31.5371 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25000 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 817.57/15.47 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,150/14,250 14,000/14,100 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 95.46 94.19 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 34.09*/30.24** 34.09*/30.24** 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับลดลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 22 มี.ค. 51
**ปรับเพิ่มลิตรละ 30 สตางค์เมื่อ 18 มี.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. เศรษฐกิจไทยขณะนี้ไม่มีสัญญาณจะเกิดฟองสบู่ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวถึงการประชุมผู้ว่าการธนาคารกลาง
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กรุงจาการ์ตา เมื่อวันที่ 20 — 22 มี.ค.ที่ผ่านมา ว่า ปัญหาเศรษฐกิจใน สรอ. เป็นประเด็นหลักของที่
ประชุมในการหารือครั้งนี้ ซึ่งผู้ว่าการ ธ.กลางจาก 16 ประเทศ มองไปในทิศทางเดียวกันว่าถึงแม้ปัญหาใน สรอ. จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
ของประเทศกำลังพัฒนาที่เกิดขึ้นใหม่ แต่ประเทศในกลุ่มนี้มีเศรษฐกิจค่อนข้างแข็งแกร่ง รวมทั้งสถาบันการเงินมีความมั่นคง ทำให้สามารถรองรับ
ปัญหาการชะลอตัวของภาคส่งออกได้ ซึ่ง ธ.กลางจากทุกประเทศมั่นใจว่าสามารถดูแลผลกระทบได้ ขณะที่การดำเนินนโยบายการเงินจะต้อง
ระมัดระวังไม่ให้ผ่อนปรนเกินไปจนเกิดภาวะฟองสบู่ ธ.กลางอาจจะต้องมีมาตรการอื่นออกมาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฟองสบู่ในบางภาค เช่น ตลาดหุ้น
และตลาดอสังหาริมทรัพย์ สำหรับไทยได้ดำเนินนโยบายมาถูกทางแล้ว โดย ธปท. มีระบบติดตามข้อมูลเงินทุนเคลื่อนย้ายทุกสิ้นวัน และกำหนด
ให้เคลื่อนย้ายเงินทุนจากบัญชีบางประเภทไปยังบางประเภทอยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้ไทยไม่มีสัญญาณจะเกิดฟองสบู่จากส่วนไหน ไม่มีอะไรต้องกังวลและ
คงไม่ต้องออกมาตรการใดเพิ่มเติม ส่วนความกังวลที่จะมีเงินทุนไหลโยกย้ายจาก สรอ. เข้าไทยจำนวนมากนั้น ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการ
นำเสนอตัวเลขที่น่าสนใจว่าสภาพคล่องของโลกเคยถึงจุดสูงสุดเมื่อกลางปี 50 จำนวน 7 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. แต่เมื่อเดือน ม.ค.51
สภาพคล่องโลกมี 2 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงไปจำนวนมาก ทำให้ธนาคารในประเทศที่พัฒนาแล้วปล่อยกู้ยากขึ้นหรือคิดอัตราดอกเบี้ยสูง
ทำให้การกู้เงินเพื่อนำออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ไม่สามารถทำได้มากเหมือนที่ผ่านมา จึงไม่ต้องห่วงว่าจะมีเงินไหลทะลักเข้ามาในภูมิภาคนี้
และประเทศไทยอีก (มติชน, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. อนุญาตให้ ธ.พาณิชย์ทำธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลิสซิ่ง นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า ธปท.
ได้ออกประกาศอนุญาตให้ ธ.พาณิชย์ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลิสซิ่ง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค.51 เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทาง
ให้ประชาชนสามารถนำทรัพย์สินที่มีอยู่มาเป็นหลักประกันเพื่อการหาเงินทุนในระบบได้ โดยมีภาระดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อส่วนบุคคล โดยขยาย
ขอบเขตให้ ธ.พาณิชย์ประกอบธุรกิจให้เช่าในลักษณะที่เป็นการขายและเช่ากลับคืนกับบุคคลธรรมได้โดยไม่จำกัดประเภททรัพย์สิน จากเดิมที่
อนุญาตให้ทำธุรกรรมดังกล่าวได้เฉพาะกับนิติบุคคลและไม่รวมถึงทรัพย์สินประเภทรถยนต์ส่วนบุคคลตามที่ ธปท. กำหนด สำหรับการคำนวณ
ผลตอบแทนและค่าใช้จ่าย หาก ธ.พาณิชย์ใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ต่อปีให้เปิดเผยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี โดยให้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย
ณ สำนักงาน รวมทั้งเผยแพร่บนเว็บไซต์ของธนาคารเพื่อเป็นข้อมูลแก่ลูกค้าในการตัดสินใจทำธุรกรรม และให้ระบุไว้ในสัญญาหรือเอกสาร
แนบท้ายสัญญา ทั้งนี้ ธ.พาณิชย์ต้องให้ความสำคัญกับการลดความเสี่ยงต่อการเสียหายของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลิสซิ่ง และควรจัด
ให้มีการประกันภัยทรัพย์สินดังกล่าว โดยในการทำประกันภัย ธ.พาณิชย์ต้องคำนึงถึงประเภททรัพย์สิน ยอดเงินลงทุนในทรัพย์สิน โอกาสในการ
เกิดความเสียหายของทรัพย์สิน และค่าซ่อมแซมกรณีทรัพย์สินได้รับความเสียหาย เป็นต้น (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
3. สศค. คาดว่าเศรษฐกิจปีนี้จะเติบโตร้อยละ 5 - 6 นางพรรณี สถาวโรดม ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า
เศรษฐกิจไทยปีนี้ปรับตัวดีขึ้น คาดว่าจีดีพีจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.6 จากช่วงคาดการณ์ร้อยละ 5 — 6 ต่อปี ซึ่งเป็นการปรับประมาณการดีขึ้น
จากเดิมที่ประเมินว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 5 จากช่วงคาดการณ์ร้อยละ 4.5 — 5.5 ส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5
จากร้อยละ 3.5 ในปี 50 ทั้งนี้ การที่เศรษฐกิจขยายตัวสมดุลมากขึ้นมาจากความต้องการบริโภคในประเทศหรืออุปสงค์มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจาก
การใช้จ่ายภาคเอกชนที่ฟื้นตัว ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4 จากฐานปีก่อนที่ร้อยละ 1.4 รวมถึงการใช้จ่ายภาครัฐที่เร่งตัวขึ้นตามนโยบายรัฐบาล
ในการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงที่อุปสงค์ภายนอกประเทศมีแนวโน้มลดลงจากความเสี่ยงของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สำหรับ
เศรษฐกิจการคลังเดือน พ.ย.51 ยังขยายตัวได้ต่อเนื่องจากการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ในระดับสูง ส่วนการส่งออก
เดือน ก.พ. ขยายตัวร้อยละ 16.4 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 33.3 ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 33.1 ตามการ
ฟื้นตัวของการใช้จ่ายในประเทศด้วยมูลค่ารวม 1.37 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
4. ก.คลังเตรียมประกาศมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม. และ รมว.คลัง กล่าวปาฐกถา
พิเศษเรื่อง นโยบายของภาครัฐกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพื่อความเจริญเติบโตแบบยั่งยืนของเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยปี 2551 โดย
เชื่อว่าหากมาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมีผลบังคับใช้จะทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ปีนี้คึกคักขึ้นได้อย่างทันตา ไม่ใช่เพียงแค่ฟื้นกลับมา
เท่านั้น แต่ทั้งบรรยากาศการซื้อขายที่อยู่อาศัยและการโอนจะดีขึ้นอย่างแน่นอน โดยประเมินว่าจะทำให้เศรษฐกิจปีนี้ขยายตัวได้อีกร้อยละ
0.2 — 0.3 จากที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 5.5 นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าจะทำให้สัดส่วนของภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รวมถึงภาคก่อสร้างที่มีบทบาท
ต่อการขยายตัวของจีดีพีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.5 — 6.7 ของจีดีพี ทั้งนี้ จากข้อมูลในปี 50 ภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคก่อสร้างรวมกันมีบทบาท
ต่อการขยายตัวของจีดีพีร้อยละ 6.2 หรือ 264,035 ล้านบาท ซึ่งในกรณีนี้เฉพาะภาคเดียวเท่านั้น หากพิจารณาถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ
ที่จะได้รับประโยชน์ไปด้วย เช่น ธุรกิจเหล็ก เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง จะมีบทบาทสูงถึงกว่าร้อยละ 20 ของจีดีพี
(โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในเยอรมนีในเดือน มี.ค.51 เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อ 26 มี.ค.51 ดัชนีชี้วัดบรรยากาศทางธุรกิจจากผลสำรวจความเห็นของธุรกิจประมาณ 7,000 แห่งในเยอรมนีโดยสถาบันวิจัย Ifo เพิ่มขึ้น
มาอยู่ที่ระดับ 104.8 ในเดือน มี.ค.จากระดับ 104.1 ในเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ผิดจากที่คาดไว้ว่าจะลดลงมาอยู่ที่
ระดับ 103.4 ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจเยอรมนียังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่งนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา แม้ว่าค่าเงินยูโรสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์เมื่อ
เทียบกับดอลลาร์ สรอ.และเศรษฐกิจ สรอ.เริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยก็ตาม ส่งผลให้แนวโน้มเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้าค่อนข้างสดใส
โดยเฉพาะธุรกิจในภาคการผลิตที่มองแนวโน้มการส่งออกในทางบวก และมีแผนที่จะจ้างงานเพิ่ม แต่อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางคนคาดว่า
ค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงจะเริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเยอรมนีในช่วงครึ่งปีหลัง (รอยเตอร์)
2. กรรมาธิการสหภาพยุโรปวิตกว่าเงินยูโรที่แข็งค่าจะกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจยุโรป รายงานจากบรัสเซล เมื่อ
วันที่ 26 มี.ค. 51 คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้ย้ำเรื่องการแข็งค่าของเงินยูโรว่าจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในยูโรโซน
อย่างไรก็ตามยังคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ร้อยละ 1.8 ในปีนี้ ทั้งนี้คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปให้ความเห็นไว้ในรายงานเศรษฐกิจ
รายไตรมาสของ 15 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรว่า มีความไม่แน่นอนว่าปัญหาความยุ่งยากในตลาดการเงินที่เกิดขึ้นจากผลกระทบวิกฤติ
อสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพของ สรอ. จะสิ้นสุดลงเมื่อใด และมีความเสียหายเป็นจำนวนเท่าใดซึ่งสถาบันการเงินอาจได้รับผลกระทบมากที่สุด
ซึ่งปัญหาวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ของ สรอ. ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้ลงทุน ต้นทุนสินเชื่อ และการขยายตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งตาม
ความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่าเศรษฐกิจยูโรโซนในปีนี้จะชะลอตัวลงเนื่องจากเศรษฐกิจ สรอ. ได้เข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว
อย่างไรก็ตามคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปเห็นว่าในกรณีของสหภาพยุโรปนั้นผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจสรอ. จะขึ้นกับอัตราแลกเปลี่ยน
เงินสกุลยูโรที่แข็งค่าขึ้นด้วยซึ่งเป็นประเด็นที่สร้างความวิตกแก่สหภาพยุโรปในขณะนี้ ทั้งนี้ที่ผ่านมาเงินยูโรแข็งขึ้นค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง(รอยเตอร์)
3. ธ.กลางอังกฤษชี้ค่าเงินปอนด์มีแนวโน้มลดลงอีก รายงานจากลอนดอน เมื่อ 26 มี.ค.51 ธ.กลางอังกฤษชี้ว่าค่าเงินปอนด์
กำลังปรับตัวลดลงมาอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันของอังกฤษ หลังจากแข็งค่าขึ้นอย่างไม่ทราบสาเหตุในช่วงปี 49 ทั้งนี้
ค่าเงินปอนด์ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบกว่า 10 ปีเมื่อเทียบกับเงินยูโรและเงินเยน โดยลดลงประมาณร้อยละ 10 ในช่วงปีที่ผ่านมา
เมื่อนักลงทุนในตลาดการเงินเปลี่ยนไปถือครองเงินของประเทศที่มียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและขายทิ้งเงินของประเทศที่มียอดขาดดุลบัญชี
เดินสะพัดมากอย่างอังกฤษและ สรอ. โดยเมื่อปีที่ผ่านมา อังกฤษขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 20 พันล้านปอนด์ในช่วงไตรมาส
ที่ 3 หรือคิดเป็นร้อยละ 5.7 ของผลผลิตรวมในประเทศ แต่อย่างไรก็ดี ธ.กลางอังกฤษไม่ได้แสดงความกังวลต่อการลดลงของค่าเงินปอนด์
ดังกล่าวซึ่งส่งผลดีต่อการส่งออกและการลงทุนของภาคธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศในช่วงที่การบริโภคในประเทศชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.51 ลดลงร้อยละ 2.3 เทียบต่อเดือน ขณะที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบต่อปี
รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 26 มี.ค.51 Economic Development Board เปิดเผยว่า ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.51 ลดลง
ร้อยละ 2.3 สวนทางกับเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 และเหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าผลผลิตฯ จะลดลงเพียง
ร้อยละ 1.5 ก่อให้เกิดความกังวลเพิ่มขึ้นในกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ว่า ภาคการผลิตของสิงคโปร์จะขยายตัวชะลอลงในปีนี้ สาเหตุจากความ
ต้องการของ สรอ. ซึ่งเป็นตลาดหลักของสิงคโปร์ ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยอันเป็นผลจากภาวะซบเซาของตลาดบ้าน สรอ.
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบต่อปี ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1
โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งของผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรรมการขนส่ง อนึ่ง ผลผลิตโรงงานของ
สิงคโปร์มีการปรับตัวทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ตามความผันผวนของผลผลิตอุตสาหกรรมยา ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 1 ใน 5
ของผลผลิตโดยรวม (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 มี.ค. 51 26 มี.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.420 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.2012/31.5371 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25000 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 817.57/15.47 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,150/14,250 14,000/14,100 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 95.46 94.19 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 34.09*/30.24** 34.09*/30.24** 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับลดลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 22 มี.ค. 51
**ปรับเพิ่มลิตรละ 30 สตางค์เมื่อ 18 มี.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--