ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ค่าเงินบาทและเงินทุนไหลเข้าหลังยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ยังอยู่ในระดับปกติ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม.
และ รมว.คลัง กล่าวว่า ได้รับรายงานจากผู้ว่าการ ธปท. ว่า ภายหลังการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ครบ 1 เดือน สถานการณ์
อัตราแลกเปลี่ยนยังอยู่ในระดับปกติ ค่าเงินบาทไม่มีการแกว่งตัวมาก การเคลื่อนไหวเป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาคไม่แตกต่างจากสกุลเงินอื่น
ขณะที่ภาวะเงินทุนไหลเข้า-ออกยังอยู่ในระดับปกติเช่นกัน และจากที่ได้หารือกับนักลงทุนต่างชาติพบว่าส่วนใหญ่มีความมั่นใจว่าไทยพร้อมเปิดรับ
เงินทุนต่างประเทศ เพื่อตอบรับการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็งต่อไป จึงยังไม่มีความจำเป็นต้องออกมาตรการอะไรเพิ่มเติมเพื่อดูแล
สถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากมาตรการที่ประกาศหลังการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 สามารถดูแลได้ดี นอกจากนี้ ค่าเงินบาท
ที่แข็งหรืออ่อนค่าลงจะต้องเทียบกับทุกสกุล ถ้าเทียบค่าบาทกับสกุลอื่นก็เปลี่ยนแปลงไม่มาก แต่ถ้าเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ก็ยังแข็งค่า ซึ่ง
สอดคล้องกับทุกประเทศในภูมิภาค (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ก.คลังออกพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ 1.2 หมื่นล้านบาท อายุ 2 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 3.6 น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม.
และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังจะออกพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษปีงบประมาณ พ.ศ.2551 อายุพันธบัตร 2 ปี วงเงินรวม 1.2 หมื่นล้านบาท
กำหนดจำหน่ายวันที่ 2 — 11 เม.ย.51 โดยใน 3 วันทำการแรก จำหน่ายให้เฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป และ 4 วันทำการต่อมาจำหน่าย
ให้ผู้มีสิทธิซื้อทั่วไปรวมทั้งผู้สูงอายุ วงเงินซื้อขั้นต่ำ 1 หมื่นบาทต่อราย และไม่จำกัดวงเงินซื้อขั้นสูง จองซื้อได้ที่ ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงศรีอยุธยา
ส่วนอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.6 ต่อปี โดยใช้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล อายุ 2 ปี เป็นฐานในการกำหนด บวกด้วยส่วนต่างไม่เกินร้อยละ 15
ของอัตราผลตอบแทน เพื่อเป็นการให้ผลตอบแทนที่จูงใจสำหรับผู้สูงอายุ หากมีผลการตอบรับที่ดีก็จะมีการออกพันธบัตรออมทรัพย์ในลักษณะดังกล่าวเ
พิ่มขึ้นอีก โดยอาจจะมีการกระจายให้กับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสอื่น ๆ เช่น คนพิการ เป็นต้น (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
3. หอการค้าไทยคงเป้าจีดีพีปีนี้ไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 4.5 — 5.5 นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
ม.หอการค้าไทย เปิดเผยว่า ยังคงเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ระดับเดิมคือ ร้อยละ 4.5 — 5.5 ตามที่ สศช. คาดการณ์ไว้ โดยจะ
มีการทบทวนอีกครั้งหากมีปัจจัยที่เข้ามากระทบความเชื่อมั่นมากกว่าเดิม ส่วนแนวโน้มธุรกิจไทยปีนี้แม้จะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัว
สูงขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่า ปัญหาความไม่มั่นคงทางการเมือง และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ แต่ยังมีกลุ่มธุรกิจที่เติบโตได้ดีคือกลุ่มเศรษฐกิจใหม่
เช่น ธุรกิจบริการด้านสุขภาพ ธุรกิจโทรคมนาคม คอมพิวเตอร์ และธุรกิจที่รัฐบาลสนับสนุน อาทิ การท่องเที่ยว ยานยนต์ แฟชั่น ซอฟต์แวร์
คอมพิวเตอร์ และอุตสาหกรรมอาหาร ขณะที่ธุรกิจที่คาดว่าจะมีผลประกอบการไม่ดีนักในปีนี้คือ ธุรกิจที่ไม่ใช้เทคโนโลยี เช่น ธุรกิจที่รับจ้าง
ผลิตเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถกำหนดราคาได้เอง โดยเฉพาะสิ่งทอ เครื่องหนัง และการค้าแบบดั้งเดิม (โชห่วย) (บ้านเมือง)
4. สศช. เตรียมจัดทำแผนปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมไทย นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช. อยู่ระหว่างจัดทำแผนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อรองรับ
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคต ทั้งการวางแผนการใช้พลังงานที่ต้องหันมาพึ่งพาพลังงานทดแทนให้มากขึ้น การดูแลผู้สูงอายุ โดยการนำความรู้
ความสามารถของผู้ที่เกษียณราชการไปแล้วมาใช้ประโยชน์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงการดูแลสุขภาพมากกว่ารักษา เพราะเป็นภาระต่อ
งบประมาณมาก ที่สำคัญต้องเร่งดูแลความมั่นคงทางอาหารและเกษตรให้สมดุล เพราะคนไทยังบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก จึงจำเป็นต้องหา
แนวทางให้สินค้าเกษตรของไทยมีความมั่นคงมากที่สุด ขณะที่ปัจจุบันสังคมไทยกำลังมีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น จึงต้องเร่งดูแลโดยเฉพาะเรื่อง
การรักษาพยาบาล ซึ่งได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลผู้สูงอายุให้ละเอียดที่สุดเพื่อนำมาวางแผนบริหารจัดการให้มี
ประสิทธิภาพ เพราะในปี 2552 งบประมาณด้านค่าใช้จ่ายดำเนินงานมีอัตราเพิ่มสูงถึงร้อยละ 60 — 65 ส่วนงบลงทุนอยู่ที่ 4 แสนล้านบาท
จึงต้องวางแผนปรับโครงสร้างให้สร้างมูลค่าเพิ่มจากผู้สูงอายุให้มากที่สุดด้วย ทั้งนี้ ตั้งเป้าหมายว่าในอนาคตโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทย
ต้องลดการพึ่งพาภาคการผลิตลงให้เหลือเพียงร้อยละ 30 จากปัจจุบันที่รายได้ของประเทศมาจากภาคการผลิตถึงร้อยละ 40 — 45 และหันไป
เพิ่มรายได้จากภาคบริการเป็นร้อยละ 60 และรักษาระดับการเติบโตของภาคเกษตรให้อยู่รอดให้ได้ที่ระดับร้อยละ 10 — 15 (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. กำไรของธุรกิจ สรอ. ในไตรมาสที่ 4/50 ลดลง รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 51 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า
ในไตรมาสที่ 4/50 ธุรกิจมีกำไรลดลงร้อยละ 3.3 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจ สรอ. ชะลอตัวลงในช่วงเวลาดังกล่าวโดยเติบโตเพียงร้อยละ 0.6
ลดลงอย่างมากจากที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 เมื่อไตรมาสที่ 3/50 ส่วนตลอดทั้งปี 50 เศรษฐกิจเติบโตเพียงร้อยละ 2.2 ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 45
ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่ามีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจ สรอ. จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีนี้ อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการ
ว่างงานครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่แล้วลดลงประมาณ 9,000 คนและจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่องก็ได้ลดลงเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ตัวเลข
การว่างงานได้กระตุ้นให้ตลาดหุ้นดีขึ้นก่อนที่จะมีข่าวรายได้ของบริษัท Oracle ลดลงส่งผลให้ผู้ลงทุนเพิ่มความวิตกเรื่องการใช้จ่ายของธุรกิจ
และทำให้ราคาหุ้นตกลง ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนจาก Wall Street คาดว่ากำไรของธุรกิจจะลดลงเพียงร้อยละ 0.1 แม้ว่าวิกฤติอสังหาริมทรัพย์
ด้อยคุณภาพจะกระทบต่อเศรษฐกิจ สรอ. ก็ตาม ขณะที่ ก.พาณิชย์เปิดเผยว่า กำไรของธุรกิจสถาบันการเงิน และธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน
ได้ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบปี โดยธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินต้นทุนแรงงานสูงขึ้นแต่ส่วนหนึ่งได้รับการชดเชยจากราคาที่สูงขึ้นด้วย ทั้งนี้ตลอด
ทั้งปีที่แล้วธุรกิจมีกำไรเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.6 เทียบกับที่มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 เมื่อปีก่อนหน้า (รอยเตอร์)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.51 ขยายตัวร้อยละ 1.0 ขณะที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 3.9
และการใช้จ่ายโดยรวมของครัวเรือนลดลงร้อยละ 2.9 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 28 มี.ค.51 ทางการญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค
พื้นฐานของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เทียบต่อปี สูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าดัชนีฯ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9
นับเป็นการขยายตัวในอัตราสูงสุดตั้งแต่เดือน มี.ค.41 ซึ่งดัชนีขยายตัวร้อยละ 1.8 ขณะที่อัตราการว่างงาน (หลังปรับฤดูกาล) ในเดือน ก.พ.
เพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 3.9 สูงกว่าเดือนก่อนหน้าที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ซึ่งเป็นการขยายตัวในระดับเดียวกับการคาดการณ์ของ
นักเศรษฐศาสตร์ โดยอัตราส่วนของตำแหน่งงานว่างต่อจำนวนแรงงานอยู่ที่ระดับ 0.97 (หมายถึงมีความต้องการแรงงาน 100 อัตรา ขณะที่
มีตำแหน่งงานว่าง 97 อัตรา) ใกล้เคียงกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าอัตราส่วนจะอยู่ที่ระดับ 0.98 นอกจากนี้ ทางการ
ญี่ปุ่นได้เปิดเผยตัวเลขการใช้จ่ายโดยรวมของครัวเรือนญี่ปุ่นในเดือนเดียวกันว่า ลดลงร้อยละ 2.9 เทียบต่อปี ซึ่งเป็นการลดลงในอัตราเดียว
กับเดือนก่อนหน้า แต่เหนือความคาดหมายของตลาดซึ่งคาดว่าการใช้จ่ายฯ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 โดยมูลค่าการใช้จ่ายเฉลี่ยของครัวเรือนอยู่
ที่ 275,827 เยน (2,768 ดอลลาร์ สรอ.)(รอยเตอร์)
3. ในเดือน มี.ค.51 ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 15 ปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ
28 มี.ค.51 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษจากผลสำรวจโดยสถาบันวิจัย GfK NOP ลดลงมาอยู่ที่ระดับ -19 ในเดือน มี.ค.51
จากระดับ -17 ในเดือนก่อน โดยอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 15 ปีนับตั้งแต่เดือน ก.พ.36 จากความกังวลของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ
ในประเทศและของ สรอ.ซึ่งมีโอกาสที่จะเผชิญกับภาวะถดถอย (รอยเตอร์)
4. ในเดือน ก.พ.51 เกาหลีใต้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงจากเดือนก่อน รายงานจากโซล เมื่อ 28 มี.ค.51 ธ.กลางเกาหลีใต้
รายงานยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของเกาหลีใต้ซึ่งเศรษฐกิจมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของเอเชียมีจำนวน 1.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ใน
เดือนก.พ.51 ลดลงจากจำนวน 2.19 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ม.ค.51 ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.40 โดยยอดขาดดุลที่เกิดขึ้นมา
จากการขาดดุลบริการซึ่งมีจำนวนถึง 1.79 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นจากจำนวน 1.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ม.ค.51 ในขณะที่
ดุลการค้ามียอดเกินดุลจำนวน 744 ล้านดอลลาร์ สรอ.หลังจากขาดดุลการค้าจำนวน 147 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ม.ค.51 โดย ก.คลัง
เกาหลีใต้คาดว่ายอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของเกาหลีใต้ในปีนี้จะมีจำนวนถึง 7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.มีจำนวนสูงสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงิน
ในเอเชียในปี 40 ผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในขณะนี้ โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เกาหลีใต้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไปแล้วจำนวน
3.69 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เทียบกับจำนวน 1.28 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 มี.ค. 51 27 มี.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.397 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.1757/31.5117 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25000 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 822.96/16.40 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,050/14,150 14,150/14,250 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 99.30 95.46 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 34.09*/30.24** 34.09*/30.24** 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับลดลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 22 มี.ค. 51
**ปรับเพิ่มลิตรละ 30 สตางค์เมื่อ 18 มี.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ค่าเงินบาทและเงินทุนไหลเข้าหลังยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ยังอยู่ในระดับปกติ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม.
และ รมว.คลัง กล่าวว่า ได้รับรายงานจากผู้ว่าการ ธปท. ว่า ภายหลังการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ครบ 1 เดือน สถานการณ์
อัตราแลกเปลี่ยนยังอยู่ในระดับปกติ ค่าเงินบาทไม่มีการแกว่งตัวมาก การเคลื่อนไหวเป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาคไม่แตกต่างจากสกุลเงินอื่น
ขณะที่ภาวะเงินทุนไหลเข้า-ออกยังอยู่ในระดับปกติเช่นกัน และจากที่ได้หารือกับนักลงทุนต่างชาติพบว่าส่วนใหญ่มีความมั่นใจว่าไทยพร้อมเปิดรับ
เงินทุนต่างประเทศ เพื่อตอบรับการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็งต่อไป จึงยังไม่มีความจำเป็นต้องออกมาตรการอะไรเพิ่มเติมเพื่อดูแล
สถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากมาตรการที่ประกาศหลังการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 สามารถดูแลได้ดี นอกจากนี้ ค่าเงินบาท
ที่แข็งหรืออ่อนค่าลงจะต้องเทียบกับทุกสกุล ถ้าเทียบค่าบาทกับสกุลอื่นก็เปลี่ยนแปลงไม่มาก แต่ถ้าเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ก็ยังแข็งค่า ซึ่ง
สอดคล้องกับทุกประเทศในภูมิภาค (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ก.คลังออกพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ 1.2 หมื่นล้านบาท อายุ 2 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 3.6 น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม.
และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังจะออกพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษปีงบประมาณ พ.ศ.2551 อายุพันธบัตร 2 ปี วงเงินรวม 1.2 หมื่นล้านบาท
กำหนดจำหน่ายวันที่ 2 — 11 เม.ย.51 โดยใน 3 วันทำการแรก จำหน่ายให้เฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป และ 4 วันทำการต่อมาจำหน่าย
ให้ผู้มีสิทธิซื้อทั่วไปรวมทั้งผู้สูงอายุ วงเงินซื้อขั้นต่ำ 1 หมื่นบาทต่อราย และไม่จำกัดวงเงินซื้อขั้นสูง จองซื้อได้ที่ ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงศรีอยุธยา
ส่วนอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.6 ต่อปี โดยใช้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล อายุ 2 ปี เป็นฐานในการกำหนด บวกด้วยส่วนต่างไม่เกินร้อยละ 15
ของอัตราผลตอบแทน เพื่อเป็นการให้ผลตอบแทนที่จูงใจสำหรับผู้สูงอายุ หากมีผลการตอบรับที่ดีก็จะมีการออกพันธบัตรออมทรัพย์ในลักษณะดังกล่าวเ
พิ่มขึ้นอีก โดยอาจจะมีการกระจายให้กับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสอื่น ๆ เช่น คนพิการ เป็นต้น (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
3. หอการค้าไทยคงเป้าจีดีพีปีนี้ไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 4.5 — 5.5 นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
ม.หอการค้าไทย เปิดเผยว่า ยังคงเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ระดับเดิมคือ ร้อยละ 4.5 — 5.5 ตามที่ สศช. คาดการณ์ไว้ โดยจะ
มีการทบทวนอีกครั้งหากมีปัจจัยที่เข้ามากระทบความเชื่อมั่นมากกว่าเดิม ส่วนแนวโน้มธุรกิจไทยปีนี้แม้จะได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัว
สูงขึ้น อัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่า ปัญหาความไม่มั่นคงทางการเมือง และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ แต่ยังมีกลุ่มธุรกิจที่เติบโตได้ดีคือกลุ่มเศรษฐกิจใหม่
เช่น ธุรกิจบริการด้านสุขภาพ ธุรกิจโทรคมนาคม คอมพิวเตอร์ และธุรกิจที่รัฐบาลสนับสนุน อาทิ การท่องเที่ยว ยานยนต์ แฟชั่น ซอฟต์แวร์
คอมพิวเตอร์ และอุตสาหกรรมอาหาร ขณะที่ธุรกิจที่คาดว่าจะมีผลประกอบการไม่ดีนักในปีนี้คือ ธุรกิจที่ไม่ใช้เทคโนโลยี เช่น ธุรกิจที่รับจ้าง
ผลิตเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถกำหนดราคาได้เอง โดยเฉพาะสิ่งทอ เครื่องหนัง และการค้าแบบดั้งเดิม (โชห่วย) (บ้านเมือง)
4. สศช. เตรียมจัดทำแผนปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมไทย นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช. อยู่ระหว่างจัดทำแผนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อรองรับ
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคต ทั้งการวางแผนการใช้พลังงานที่ต้องหันมาพึ่งพาพลังงานทดแทนให้มากขึ้น การดูแลผู้สูงอายุ โดยการนำความรู้
ความสามารถของผู้ที่เกษียณราชการไปแล้วมาใช้ประโยชน์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงการดูแลสุขภาพมากกว่ารักษา เพราะเป็นภาระต่อ
งบประมาณมาก ที่สำคัญต้องเร่งดูแลความมั่นคงทางอาหารและเกษตรให้สมดุล เพราะคนไทยังบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก จึงจำเป็นต้องหา
แนวทางให้สินค้าเกษตรของไทยมีความมั่นคงมากที่สุด ขณะที่ปัจจุบันสังคมไทยกำลังมีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น จึงต้องเร่งดูแลโดยเฉพาะเรื่อง
การรักษาพยาบาล ซึ่งได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลผู้สูงอายุให้ละเอียดที่สุดเพื่อนำมาวางแผนบริหารจัดการให้มี
ประสิทธิภาพ เพราะในปี 2552 งบประมาณด้านค่าใช้จ่ายดำเนินงานมีอัตราเพิ่มสูงถึงร้อยละ 60 — 65 ส่วนงบลงทุนอยู่ที่ 4 แสนล้านบาท
จึงต้องวางแผนปรับโครงสร้างให้สร้างมูลค่าเพิ่มจากผู้สูงอายุให้มากที่สุดด้วย ทั้งนี้ ตั้งเป้าหมายว่าในอนาคตโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทย
ต้องลดการพึ่งพาภาคการผลิตลงให้เหลือเพียงร้อยละ 30 จากปัจจุบันที่รายได้ของประเทศมาจากภาคการผลิตถึงร้อยละ 40 — 45 และหันไป
เพิ่มรายได้จากภาคบริการเป็นร้อยละ 60 และรักษาระดับการเติบโตของภาคเกษตรให้อยู่รอดให้ได้ที่ระดับร้อยละ 10 — 15 (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. กำไรของธุรกิจ สรอ. ในไตรมาสที่ 4/50 ลดลง รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 51 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า
ในไตรมาสที่ 4/50 ธุรกิจมีกำไรลดลงร้อยละ 3.3 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจ สรอ. ชะลอตัวลงในช่วงเวลาดังกล่าวโดยเติบโตเพียงร้อยละ 0.6
ลดลงอย่างมากจากที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 เมื่อไตรมาสที่ 3/50 ส่วนตลอดทั้งปี 50 เศรษฐกิจเติบโตเพียงร้อยละ 2.2 ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 45
ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่ามีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจ สรอ. จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีนี้ อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการ
ว่างงานครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่แล้วลดลงประมาณ 9,000 คนและจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่องก็ได้ลดลงเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ตัวเลข
การว่างงานได้กระตุ้นให้ตลาดหุ้นดีขึ้นก่อนที่จะมีข่าวรายได้ของบริษัท Oracle ลดลงส่งผลให้ผู้ลงทุนเพิ่มความวิตกเรื่องการใช้จ่ายของธุรกิจ
และทำให้ราคาหุ้นตกลง ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนจาก Wall Street คาดว่ากำไรของธุรกิจจะลดลงเพียงร้อยละ 0.1 แม้ว่าวิกฤติอสังหาริมทรัพย์
ด้อยคุณภาพจะกระทบต่อเศรษฐกิจ สรอ. ก็ตาม ขณะที่ ก.พาณิชย์เปิดเผยว่า กำไรของธุรกิจสถาบันการเงิน และธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน
ได้ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบปี โดยธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินต้นทุนแรงงานสูงขึ้นแต่ส่วนหนึ่งได้รับการชดเชยจากราคาที่สูงขึ้นด้วย ทั้งนี้ตลอด
ทั้งปีที่แล้วธุรกิจมีกำไรเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.6 เทียบกับที่มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 เมื่อปีก่อนหน้า (รอยเตอร์)
2. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.51 ขยายตัวร้อยละ 1.0 ขณะที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 3.9
และการใช้จ่ายโดยรวมของครัวเรือนลดลงร้อยละ 2.9 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 28 มี.ค.51 ทางการญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค
พื้นฐานของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เทียบต่อปี สูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าดัชนีฯ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9
นับเป็นการขยายตัวในอัตราสูงสุดตั้งแต่เดือน มี.ค.41 ซึ่งดัชนีขยายตัวร้อยละ 1.8 ขณะที่อัตราการว่างงาน (หลังปรับฤดูกาล) ในเดือน ก.พ.
เพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 3.9 สูงกว่าเดือนก่อนหน้าที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ซึ่งเป็นการขยายตัวในระดับเดียวกับการคาดการณ์ของ
นักเศรษฐศาสตร์ โดยอัตราส่วนของตำแหน่งงานว่างต่อจำนวนแรงงานอยู่ที่ระดับ 0.97 (หมายถึงมีความต้องการแรงงาน 100 อัตรา ขณะที่
มีตำแหน่งงานว่าง 97 อัตรา) ใกล้เคียงกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าอัตราส่วนจะอยู่ที่ระดับ 0.98 นอกจากนี้ ทางการ
ญี่ปุ่นได้เปิดเผยตัวเลขการใช้จ่ายโดยรวมของครัวเรือนญี่ปุ่นในเดือนเดียวกันว่า ลดลงร้อยละ 2.9 เทียบต่อปี ซึ่งเป็นการลดลงในอัตราเดียว
กับเดือนก่อนหน้า แต่เหนือความคาดหมายของตลาดซึ่งคาดว่าการใช้จ่ายฯ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 โดยมูลค่าการใช้จ่ายเฉลี่ยของครัวเรือนอยู่
ที่ 275,827 เยน (2,768 ดอลลาร์ สรอ.)(รอยเตอร์)
3. ในเดือน มี.ค.51 ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 15 ปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ
28 มี.ค.51 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษจากผลสำรวจโดยสถาบันวิจัย GfK NOP ลดลงมาอยู่ที่ระดับ -19 ในเดือน มี.ค.51
จากระดับ -17 ในเดือนก่อน โดยอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 15 ปีนับตั้งแต่เดือน ก.พ.36 จากความกังวลของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ
ในประเทศและของ สรอ.ซึ่งมีโอกาสที่จะเผชิญกับภาวะถดถอย (รอยเตอร์)
4. ในเดือน ก.พ.51 เกาหลีใต้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงจากเดือนก่อน รายงานจากโซล เมื่อ 28 มี.ค.51 ธ.กลางเกาหลีใต้
รายงานยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของเกาหลีใต้ซึ่งเศรษฐกิจมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของเอเชียมีจำนวน 1.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ใน
เดือนก.พ.51 ลดลงจากจำนวน 2.19 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ม.ค.51 ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.40 โดยยอดขาดดุลที่เกิดขึ้นมา
จากการขาดดุลบริการซึ่งมีจำนวนถึง 1.79 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นจากจำนวน 1.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ม.ค.51 ในขณะที่
ดุลการค้ามียอดเกินดุลจำนวน 744 ล้านดอลลาร์ สรอ.หลังจากขาดดุลการค้าจำนวน 147 ล้านดอลลาร์ สรอ.ในเดือน ม.ค.51 โดย ก.คลัง
เกาหลีใต้คาดว่ายอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของเกาหลีใต้ในปีนี้จะมีจำนวนถึง 7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.มีจำนวนสูงสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงิน
ในเอเชียในปี 40 ผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในขณะนี้ โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เกาหลีใต้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดไปแล้วจำนวน
3.69 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เทียบกับจำนวน 1.28 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 มี.ค. 51 27 มี.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.397 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.1757/31.5117 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25000 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 822.96/16.40 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,050/14,150 14,150/14,250 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 99.30 95.46 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 34.09*/30.24** 34.09*/30.24** 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับลดลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 22 มี.ค. 51
**ปรับเพิ่มลิตรละ 30 สตางค์เมื่อ 18 มี.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--