ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน ก.พ.51 ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส
ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน ก.พ.51 ยังแสดงให้เห็นการขยายตัว
ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของอุปทานที่ดีขึ้นเห็นได้จากดัชนีผลผลิตด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 14.7% จากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยประเด็น
ที่น่าสนใจคือ การขยายตัวของการผลิตเพื่อการค้าในประเทศเพิ่มขึ้น 17.3% จากการผลิตรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์ E20 ขณะที่การใช้จ่ายของ
ภาครัฐยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ขยายตัว ทั้งนี้ หากพิจารณาจากอุปสงค์ในประเทศ ดัชนีอุปโภคบริโภคเอกชนขยายตัว 6% แสดงให้
เห็นกำลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น จากปริมาณการบริโภคที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับรายได้ของเกษตรกรที่เพิ่มขึ้น 29.2% ดีขึ้นมากหลังจากลดลง
ในไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมา จากราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น 14.6% ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจชี้ให้เห็นความมั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจ
ที่ลดลง ทั้งในเดือน ก.พ.และในอีก 3 เดือนข้างหน้า โดยนักธุรกิจมีความเป็นห่วงเรื่องต้นทุนสินค้าที่เพิ่มสูงมาก ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน
ในเดือน ก.พ.ขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.6% จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่หากเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นเพียง 0.3% สอดคล้องกับการขยายตัวของ
สินเชื่อที่ขยายตัวสูงถึง 5.3% จากการขยายตัวเพิ่มของสินเชื่อภาคธุรกิจของประเทศที่เพิ่มขึ้น 2.3% หลังจากติดลบมาตลอดในช่วงก่อนหน้า
สำหรับภาคการส่งออกเดือน ก.พ.มีมูลค่ารวม 12,894 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว 16.2% จากระยะเดียวกันของปีก่อน ขณะที่สินค้านำเข้า
ขยายตัวมีมูลค่าสูงถึง 13,514 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 32.5% ส่วนหนึ่งมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล
620 ล.ดอลลาร์ สรอ. เป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน แต่ดุลบริการที่เกินดุล 1,400 ล.ดอลลาร์ สรอ. จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น 14.6%
ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล 620 ล.ดอลลาร์ สรอ. ในส่วนของปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยคือ การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันที่ส่งผล
ต่อต้นทุนราคาสินค้า รวมทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐและการค้าโลก แต่เชื่อว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ ก.คลังออกมาจะช่วยให้
เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ในระดับที่ดีต่อเนื่อง (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด)
2. ก.คลังเตรียมเสนอครม.พิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง กล่าวว่า ในวันนี้
(1 เม.ย.) ก.คลังเตรียมเสนอ ครม.พิจารณาแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อให้ผู้มีรายได้น้อย ด้วยการช่วยเหลือผ่านกลไกของภาครัฐ
ได้แก่ ธ.ออมสิน ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารประชาชนแบบขั้นบันไดสำหรับการกู้ตั้งแต่ 1-3 ปี ลดอัตราดอกเบี้ย 0.75% เหลือ 0.5%
ต่อเดือน รวมทั้ง การปล่อยกู้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของ ธ.ออมสิน นอกจากนี้ ก.คลังเตรียมออก พธบ. 10,000 ล.บาท เพื่อสนับสนุนการปล่อยกู้
ให้ ธ.อาคารสงเคราะห์ ให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถซื้อบ้านเป็นของตัวเอง เบื้องต้นกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 7 ปี 4% คงที่ 10 ปี 4.5%
รวมถึงแนวทางการพักหนี้เกษตรกรของ ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อลดภาระให้เกษตรกรในช่วงค่าครองชีพสูง สำหรับมาตรการ
ภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีการขยายช่วงเงินได้สุทธิจากเดิม 100,000 บาทแรกเสียภาษี 0% เพิ่มเป็น 1.5 แสนบาทแรกเสียภาษี 0% ซึ่งมี
ผลบังคับใช้แล้วนั้น ขณะนี้ กรมสรรพากรได้ประสานไปยังหน่วยงาน บริษัท ห้างร้านที่เคยหักภาษี ณ ที่จ่ายลูกจ้าง จะต้องปรับระบบการหักภาษี
ตั้งแต่เดือน เม.ย.นี้ (ข่าวสด, มติชน, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์)
3. ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและอุตสาหกรรมน้ำมันคาดว่าราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวขึ้นถึงระดับ 120 ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรลใน
1-2 สัปดาห์นี้ นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและอุตสาหกรรมน้ำมัน เปิดเผยในงานเสวนา “จะอยู่อย่างไรในภาวะวิกฤตน้ำมัน”
จัดโดยบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ว่า ราคาน้ำมันตลาดโลกที่ผันผวนในขณะนี้มีการคาดการณ์ว่าในช่วง 1-2 สัปดาห์ ราคาน้ำมันดิบจะ
สูงถึง 120 ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล จากขณะนี้อยู่ที่ 105 ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล เนื่องจากการเก็งกำไรจากปัญหาสภาพอากาศ และความ
ไม่มั่นใจในตะวันออกกลาง โดยมีแนวโน้มว่าช่วง 1-2 ปีข้างหน้าน้ำมันดิบคงปรับตัวสูงถึง 150 ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล ทั้งนี้ ภาวะราคาน้ำมัน
ที่สูงขึ้น ทำให้มีการแทรกแซงราคาน้ำมันในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ค่าการตลาดน้ำมันอยู่ในระดับที่ต่ำ ซึ่งทำให้ปั๊มอิสระในไทยต้องปิดตัวลง
ไม่น้อยกว่า 2,000-3,000 แห่ง รวมทั้งผู้ค้าขนาดกลางต้องขายกิจการ ด้านนายชัยวัฒน์ ชูฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท.แจ้งปรับขึ้นราคาน้ำมันทุกชนิด 50 สตางค์/ลิตร มีผลวันที่ 1 เม.ย. ส่งผลให้ราคาน้ำมันของ
ปตท.เท่ากับปั๊มน้ำมันอื่นที่ปรับขึ้นราคาไปเมื่อวันที่ 29 มี.ค. (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
เยอรมนีต้องการให้งบประมาณของ EU เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากปี 57 รายงานจากบรัสเซล เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 51
นาย Thomas Mirow รมช. คลังเยอรมนีเตือนประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปว่า เยอรมนีวางแผนที่จะควบคุมการขยายตัวของงบประมาณ
จากปี 57 เพื่อที่จะเปิดทางให้สามารถลดการให้การอุดหนุนสินค้าทางการเกษตรลง ซึ่งงบประมาณการใช้จ่ายในอนาคตไม่ยินยอมให้ขยายตัว
อย่างรวดเร็วเท่ากับปี 50 — 56 แม้ว่าในปัจจุบันงบประมาณสูงสุดจะที่เพิ่มได้จะอยู่ที่ร้อยละ 1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติก็ตาม แต่จะ
ส่งผลให้การใช้จ่ายในระยะ 7 ปีข้างหน้าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 40 ดังนั้นงบประมาณที่เพิ่มขึ้นชนเพดานที่ร้อยละ 1.0 ดูเหมือนว่าจะสูงเกินไป
ดังนั้นการใช้จ่ายของประเทศใน EU จึงต้องอยู่ในกรอบของงบประมาณ ซึ่งงบให้การอุดหนุนภาคการเกษตรซึ่งเป็นส่วนสำคัญคิดเป็นเกือบ
ร้อยละ 40 ของงบประมาณการใช้จ่ายของรัฐ จึงต้องรวมอยู่ในงบประมาณการใช้จ่ายของรัฐด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ความเห็นดังกล่าวของ
Thomas Mirow รมช. คลังเยอรมนีได้สร้างความตึงเครียดแก่ฝรั่งเศสที่ให้ความสำคัญกับนโยบายอุดหนุนภาคเกษตรกรรมของ EU (รอยเตอร์)
ในไตรมาสแรกปีนี้ความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่ในญี่ปุ่นลดลงจากไตรมาสก่อน รายงานจากโตเกียว เมื่อ 1 เม.ย.51 ดัชนีชี้วัด
ความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่ในญี่ปุ่นจากผลสำรวจรายไตรมาสโดย ธ.กลางญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับ +11 ในไตรมาสแรกปีนี้ซึ่งสิ้นสุดเดือน มี.ค.51
ลดลงจากผลสำรวจในไตรมาสก่อนเมื่อเดือน ธ.ค.50 ซึ่งอยู่ที่ระดับ +19 และต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ +13 นับเป็นการลดลงของ
ดัชนีดังกล่าว 2 ไตรมาสติดต่อกัน และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปีนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.46 ซึ่งอยู่ที่ระดับ +7 โดยคาดว่าดัชนีจะลดลงอีก
มาอยู่ที่ระดับ +7 ในไตรมาสหน้า นอกจากนี้ ผลสำรวจยังชี้ว่าผู้ผลิตส่วนใหญ่คาดว่าการใช้จ่ายลงทุนของตนจะลดลงร้อยละ 1.6 ในปีการเงิน
หน้าซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.51 ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะอยู่ในระดับคงที่เท่ากับปีก่อน (รอยเตอร์)
ยอดส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.51 เพิ่มสูงขึ้นกว่าที่คาดไว้ รายงานจากโซล เมื่อ 1เม.ย.51 ยอดส่งออกของเกาหลีใต้
ในเดือนมี.ค.51 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 ต่อปี สูงกว่าที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 ต่อปี และสูงกว่ายอดส่งออกใน
เดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 18.8 ต่อปี ในขณะที่ยอดนำเข้าในเดือนเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 ต่อปี ต่ำกว่าร้อยละ 26.5 ต่อปีที่คาดไว้และ
ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งขยายตัวร้อยละ 27.6 ต่อปี ทั้งนี้ จากตัวเลขเบื้องต้นยอดส่งออกในเดือน มี.ค.51 ของเกาหลีใต้มีมูลค่า
36.20 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในขณะที่ยอดนำเข้ามีมูลค่า 36.87 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้ในเดือน มี.ค.51 เกาหลีใต้ขาดดุลการค้า
668 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือน ก.พ.51 ซึ่งขาดดุลถึง 1.25 พันล้านดอลลาร์ สรอ.นับเป็นการขาดดุลการค้า 4 เดือนติดต่อกัน
โดยจีนและ สรอ.เป็นตลาดส่งออกใหญ่สุดของเกาหลีใต้มีมูลค่ารวมถึง 2 ใน 5 ของยอดส่งออกทั้งหมด โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์มีสัดส่วน
ถึงร้อยละ 45 ของยอด ส่งออกทั้งหมดของเกาหลีใต้ (รอยเตอร์)
คาดว่าการส่งออกของเกาหลีใต้เดือน มี.ค. จะชะลอตัว รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 1 เม.ย.51 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผย
ผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า อัตราการเติบโตภาคการส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค. อาจจะชะลอตัวจากเดือน ก.พ.
เนื่องจากเศรษฐกิจของ สรอ. ชะลอตัวและความผันผวนด้านสินเชื่อทั่วโลกทำให้ความต้องการสินค้าจากเกาหลีใต้ลดลง ขณะที่การนำเข้าคาดว่า
จะเพิ่มขึ้นมากกว่าการส่งออก เนื่องจากราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นและเงินวอนอ่อนค่าลง ซึ่งจะส่งผลให้เกาหลีใต้ขาดดุลการค้าติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4
โดยค่าเฉลี่ยกลางจากผลการสำรวจครั้งนี้คาดว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 จากปีก่อน และการนำเข้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.5 ทั้งนี้
ในเดือน ก.พ. ตัวเลขการส่งออกที่ปรับข้อมูลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 จากปีก่อน ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 ทำให้มียอดขาดดุลการค้า
1.25 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่เดือน ม.ค. ขาดดุลการค้า 3.79 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับช่วง 20 วันแรกของเดือน มี.ค.
เกาหลีใต้มียอดขาดดุลการค้ารวม 4.95 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากราคาน้ำมันและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าปรับเพิ่มสูงขึ้น ทำให้การ
นำเข้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.3 จากปีก่อน ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีแรงกดดันต่อค่าเงินวอนในอนาคต แต่การอ่อนตัวของค่าเงินวอนก็อาจจะส่งผลดี
ต่อการส่งออกที่ทำให้สินค้ามีราคาถูกลงสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นและทำกำไรได้มากขึ้น นอกจากนี้ คาดว่าภาคการส่งออกของเกาหลีใต้จะมี
คำสั่งซื้อมากขึ้นจากตลาดเกิดใหม่ เช่น จีนและประเทศในตะวันออกกลาง โดยกรมศุลกากรของเกาหลีใต้รายงานตัวเลขการส่งออกเดือน ก.พ.
ว่า การส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 และประเทศในตะวันออกกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.2 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 1 เม.ย. 51 31 มี.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.508 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.2977/31.6229 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25000 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 817.03/12.34 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,750/13,850 13,900/14,000 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 99.16 99.16 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 34.59*/30.74* 34.09/30.24 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 1 เม.ย. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน ก.พ.51 ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส
ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน ก.พ.51 ยังแสดงให้เห็นการขยายตัว
ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของอุปทานที่ดีขึ้นเห็นได้จากดัชนีผลผลิตด้านอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 14.7% จากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยประเด็น
ที่น่าสนใจคือ การขยายตัวของการผลิตเพื่อการค้าในประเทศเพิ่มขึ้น 17.3% จากการผลิตรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์ E20 ขณะที่การใช้จ่ายของ
ภาครัฐยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ขยายตัว ทั้งนี้ หากพิจารณาจากอุปสงค์ในประเทศ ดัชนีอุปโภคบริโภคเอกชนขยายตัว 6% แสดงให้
เห็นกำลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น จากปริมาณการบริโภคที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับรายได้ของเกษตรกรที่เพิ่มขึ้น 29.2% ดีขึ้นมากหลังจากลดลง
ในไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมา จากราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น 14.6% ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจชี้ให้เห็นความมั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจ
ที่ลดลง ทั้งในเดือน ก.พ.และในอีก 3 เดือนข้างหน้า โดยนักธุรกิจมีความเป็นห่วงเรื่องต้นทุนสินค้าที่เพิ่มสูงมาก ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน
ในเดือน ก.พ.ขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.6% จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่หากเทียบกับเดือนก่อนหน้าเพิ่มขึ้นเพียง 0.3% สอดคล้องกับการขยายตัวของ
สินเชื่อที่ขยายตัวสูงถึง 5.3% จากการขยายตัวเพิ่มของสินเชื่อภาคธุรกิจของประเทศที่เพิ่มขึ้น 2.3% หลังจากติดลบมาตลอดในช่วงก่อนหน้า
สำหรับภาคการส่งออกเดือน ก.พ.มีมูลค่ารวม 12,894 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว 16.2% จากระยะเดียวกันของปีก่อน ขณะที่สินค้านำเข้า
ขยายตัวมีมูลค่าสูงถึง 13,514 ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 32.5% ส่วนหนึ่งมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล
620 ล.ดอลลาร์ สรอ. เป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน แต่ดุลบริการที่เกินดุล 1,400 ล.ดอลลาร์ สรอ. จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น 14.6%
ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล 620 ล.ดอลลาร์ สรอ. ในส่วนของปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยคือ การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันที่ส่งผล
ต่อต้นทุนราคาสินค้า รวมทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐและการค้าโลก แต่เชื่อว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ ก.คลังออกมาจะช่วยให้
เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ในระดับที่ดีต่อเนื่อง (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด)
2. ก.คลังเตรียมเสนอครม.พิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง กล่าวว่า ในวันนี้
(1 เม.ย.) ก.คลังเตรียมเสนอ ครม.พิจารณาแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มกำลังซื้อให้ผู้มีรายได้น้อย ด้วยการช่วยเหลือผ่านกลไกของภาครัฐ
ได้แก่ ธ.ออมสิน ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารประชาชนแบบขั้นบันไดสำหรับการกู้ตั้งแต่ 1-3 ปี ลดอัตราดอกเบี้ย 0.75% เหลือ 0.5%
ต่อเดือน รวมทั้ง การปล่อยกู้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของ ธ.ออมสิน นอกจากนี้ ก.คลังเตรียมออก พธบ. 10,000 ล.บาท เพื่อสนับสนุนการปล่อยกู้
ให้ ธ.อาคารสงเคราะห์ ให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถซื้อบ้านเป็นของตัวเอง เบื้องต้นกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 7 ปี 4% คงที่ 10 ปี 4.5%
รวมถึงแนวทางการพักหนี้เกษตรกรของ ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อลดภาระให้เกษตรกรในช่วงค่าครองชีพสูง สำหรับมาตรการ
ภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีการขยายช่วงเงินได้สุทธิจากเดิม 100,000 บาทแรกเสียภาษี 0% เพิ่มเป็น 1.5 แสนบาทแรกเสียภาษี 0% ซึ่งมี
ผลบังคับใช้แล้วนั้น ขณะนี้ กรมสรรพากรได้ประสานไปยังหน่วยงาน บริษัท ห้างร้านที่เคยหักภาษี ณ ที่จ่ายลูกจ้าง จะต้องปรับระบบการหักภาษี
ตั้งแต่เดือน เม.ย.นี้ (ข่าวสด, มติชน, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์)
3. ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและอุตสาหกรรมน้ำมันคาดว่าราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวขึ้นถึงระดับ 120 ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรลใน
1-2 สัปดาห์นี้ นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและอุตสาหกรรมน้ำมัน เปิดเผยในงานเสวนา “จะอยู่อย่างไรในภาวะวิกฤตน้ำมัน”
จัดโดยบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ว่า ราคาน้ำมันตลาดโลกที่ผันผวนในขณะนี้มีการคาดการณ์ว่าในช่วง 1-2 สัปดาห์ ราคาน้ำมันดิบจะ
สูงถึง 120 ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล จากขณะนี้อยู่ที่ 105 ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล เนื่องจากการเก็งกำไรจากปัญหาสภาพอากาศ และความ
ไม่มั่นใจในตะวันออกกลาง โดยมีแนวโน้มว่าช่วง 1-2 ปีข้างหน้าน้ำมันดิบคงปรับตัวสูงถึง 150 ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล ทั้งนี้ ภาวะราคาน้ำมัน
ที่สูงขึ้น ทำให้มีการแทรกแซงราคาน้ำมันในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ค่าการตลาดน้ำมันอยู่ในระดับที่ต่ำ ซึ่งทำให้ปั๊มอิสระในไทยต้องปิดตัวลง
ไม่น้อยกว่า 2,000-3,000 แห่ง รวมทั้งผู้ค้าขนาดกลางต้องขายกิจการ ด้านนายชัยวัฒน์ ชูฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท.แจ้งปรับขึ้นราคาน้ำมันทุกชนิด 50 สตางค์/ลิตร มีผลวันที่ 1 เม.ย. ส่งผลให้ราคาน้ำมันของ
ปตท.เท่ากับปั๊มน้ำมันอื่นที่ปรับขึ้นราคาไปเมื่อวันที่ 29 มี.ค. (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
เยอรมนีต้องการให้งบประมาณของ EU เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากปี 57 รายงานจากบรัสเซล เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 51
นาย Thomas Mirow รมช. คลังเยอรมนีเตือนประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปว่า เยอรมนีวางแผนที่จะควบคุมการขยายตัวของงบประมาณ
จากปี 57 เพื่อที่จะเปิดทางให้สามารถลดการให้การอุดหนุนสินค้าทางการเกษตรลง ซึ่งงบประมาณการใช้จ่ายในอนาคตไม่ยินยอมให้ขยายตัว
อย่างรวดเร็วเท่ากับปี 50 — 56 แม้ว่าในปัจจุบันงบประมาณสูงสุดจะที่เพิ่มได้จะอยู่ที่ร้อยละ 1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติก็ตาม แต่จะ
ส่งผลให้การใช้จ่ายในระยะ 7 ปีข้างหน้าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 40 ดังนั้นงบประมาณที่เพิ่มขึ้นชนเพดานที่ร้อยละ 1.0 ดูเหมือนว่าจะสูงเกินไป
ดังนั้นการใช้จ่ายของประเทศใน EU จึงต้องอยู่ในกรอบของงบประมาณ ซึ่งงบให้การอุดหนุนภาคการเกษตรซึ่งเป็นส่วนสำคัญคิดเป็นเกือบ
ร้อยละ 40 ของงบประมาณการใช้จ่ายของรัฐ จึงต้องรวมอยู่ในงบประมาณการใช้จ่ายของรัฐด้วยเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ความเห็นดังกล่าวของ
Thomas Mirow รมช. คลังเยอรมนีได้สร้างความตึงเครียดแก่ฝรั่งเศสที่ให้ความสำคัญกับนโยบายอุดหนุนภาคเกษตรกรรมของ EU (รอยเตอร์)
ในไตรมาสแรกปีนี้ความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่ในญี่ปุ่นลดลงจากไตรมาสก่อน รายงานจากโตเกียว เมื่อ 1 เม.ย.51 ดัชนีชี้วัด
ความเชื่อมั่นของผู้ผลิตรายใหญ่ในญี่ปุ่นจากผลสำรวจรายไตรมาสโดย ธ.กลางญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับ +11 ในไตรมาสแรกปีนี้ซึ่งสิ้นสุดเดือน มี.ค.51
ลดลงจากผลสำรวจในไตรมาสก่อนเมื่อเดือน ธ.ค.50 ซึ่งอยู่ที่ระดับ +19 และต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ +13 นับเป็นการลดลงของ
ดัชนีดังกล่าว 2 ไตรมาสติดต่อกัน และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 ปีนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.46 ซึ่งอยู่ที่ระดับ +7 โดยคาดว่าดัชนีจะลดลงอีก
มาอยู่ที่ระดับ +7 ในไตรมาสหน้า นอกจากนี้ ผลสำรวจยังชี้ว่าผู้ผลิตส่วนใหญ่คาดว่าการใช้จ่ายลงทุนของตนจะลดลงร้อยละ 1.6 ในปีการเงิน
หน้าซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.51 ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะอยู่ในระดับคงที่เท่ากับปีก่อน (รอยเตอร์)
ยอดส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.51 เพิ่มสูงขึ้นกว่าที่คาดไว้ รายงานจากโซล เมื่อ 1เม.ย.51 ยอดส่งออกของเกาหลีใต้
ในเดือนมี.ค.51 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 ต่อปี สูงกว่าที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 ต่อปี และสูงกว่ายอดส่งออกใน
เดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 18.8 ต่อปี ในขณะที่ยอดนำเข้าในเดือนเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 ต่อปี ต่ำกว่าร้อยละ 26.5 ต่อปีที่คาดไว้และ
ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งขยายตัวร้อยละ 27.6 ต่อปี ทั้งนี้ จากตัวเลขเบื้องต้นยอดส่งออกในเดือน มี.ค.51 ของเกาหลีใต้มีมูลค่า
36.20 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในขณะที่ยอดนำเข้ามีมูลค่า 36.87 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่งผลให้ในเดือน มี.ค.51 เกาหลีใต้ขาดดุลการค้า
668 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือน ก.พ.51 ซึ่งขาดดุลถึง 1.25 พันล้านดอลลาร์ สรอ.นับเป็นการขาดดุลการค้า 4 เดือนติดต่อกัน
โดยจีนและ สรอ.เป็นตลาดส่งออกใหญ่สุดของเกาหลีใต้มีมูลค่ารวมถึง 2 ใน 5 ของยอดส่งออกทั้งหมด โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์มีสัดส่วน
ถึงร้อยละ 45 ของยอด ส่งออกทั้งหมดของเกาหลีใต้ (รอยเตอร์)
คาดว่าการส่งออกของเกาหลีใต้เดือน มี.ค. จะชะลอตัว รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 1 เม.ย.51 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผย
ผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์คาดว่า อัตราการเติบโตภาคการส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค. อาจจะชะลอตัวจากเดือน ก.พ.
เนื่องจากเศรษฐกิจของ สรอ. ชะลอตัวและความผันผวนด้านสินเชื่อทั่วโลกทำให้ความต้องการสินค้าจากเกาหลีใต้ลดลง ขณะที่การนำเข้าคาดว่า
จะเพิ่มขึ้นมากกว่าการส่งออก เนื่องจากราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นและเงินวอนอ่อนค่าลง ซึ่งจะส่งผลให้เกาหลีใต้ขาดดุลการค้าติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4
โดยค่าเฉลี่ยกลางจากผลการสำรวจครั้งนี้คาดว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 จากปีก่อน และการนำเข้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.5 ทั้งนี้
ในเดือน ก.พ. ตัวเลขการส่งออกที่ปรับข้อมูลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 จากปีก่อน ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 ทำให้มียอดขาดดุลการค้า
1.25 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่เดือน ม.ค. ขาดดุลการค้า 3.79 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สำหรับช่วง 20 วันแรกของเดือน มี.ค.
เกาหลีใต้มียอดขาดดุลการค้ารวม 4.95 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากราคาน้ำมันและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าปรับเพิ่มสูงขึ้น ทำให้การ
นำเข้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.3 จากปีก่อน ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีแรงกดดันต่อค่าเงินวอนในอนาคต แต่การอ่อนตัวของค่าเงินวอนก็อาจจะส่งผลดี
ต่อการส่งออกที่ทำให้สินค้ามีราคาถูกลงสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นและทำกำไรได้มากขึ้น นอกจากนี้ คาดว่าภาคการส่งออกของเกาหลีใต้จะมี
คำสั่งซื้อมากขึ้นจากตลาดเกิดใหม่ เช่น จีนและประเทศในตะวันออกกลาง โดยกรมศุลกากรของเกาหลีใต้รายงานตัวเลขการส่งออกเดือน ก.พ.
ว่า การส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 และประเทศในตะวันออกกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.2 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 1 เม.ย. 51 31 มี.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.508 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.2977/31.6229 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25000 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 817.03/12.34 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,750/13,850 13,900/14,000 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 99.16 99.16 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 34.59*/30.74* 34.09/30.24 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 1 เม.ย. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--