ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. อัตราดอกเบี้ยของไทยขณะนี้ต่ำสุดเมื่อเทียบกับภูมิภาค นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวในงานสัมมนา
หอการค้าไทย-ญี่ปุ่น ว่า ในระยะเวลาอันใกล้นี้การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอลงและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจะเป็นความเสี่ยงที่สำคัญของโลก
และไม่มีใครแน่ใจได้ว่าการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลง ขณะที่ความเชื่อมโยงของโลกทำให้เชื่อได้ว่าระบบ
การเงินของไทยในอนาคตจะมีความผันผวนมากขึ้น ทั้งนี้ เชื่อว่าภายใต้การขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศที่ดีขึ้นและปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ
จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ร้อยละ 4.5 — 6.0 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ในเป้าหมายที่ร้อยละ 0 — 3.5 ใน 8 ไตรมาสข้างหน้า
โดยในการประชุม กนง. วันที่ 9 เม.ย.นี้ จะพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งความท้าทายน่าจะมาจากแรงกดดันจากการ
เพิ่มขึ้นของระดับราคา และแนวนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพและช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้
เต็มศักยภาพ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในขณะนี้ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคและเอื้อต่อการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ
(โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, ไทยรัฐ)
2. JCR ยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ไทยมีเสถียรภาพ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผอ.สนง.บริหารหนี้สาธารณะ แถลงข่าว
ผลการวิเคราะห์เครดิตไทยของ Japan Credit Rating Agency Ltd. (JCR) โดย JCR ยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาว
สกุลเงินต่างประเทศที่ระดับ A- และตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาทที่ระดับ A+ โดยมีแนวโน้มระดับเครดิตที่มีเสถียรภาพ พร้อมทั้งยืนยัน
ระดับเครดิตพันธบัตรสกุลเงินต่างประเทศสำหรับพันธบัตรสกุลเงินเยนของรัฐบาลไทย รุ่นที่ 20 ออกเมื่อเดือน ธ.ค.44 ครบกำหนด
เดือน ธ.ค.51 ที่ระดับ A- (ผู้จัดการรายวัน)
3. คาดว่าจะมีการใช้จ่ายเงินช่วงสงกรานต์ปีนี้ประมาณ 9.6 หมื่นล้านบาท นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ
และธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ว่าจะมีเงินสะพัดประมาณ 96,182 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.52 จากเดิมที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ขณะที่ปี 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.94 มูลค่า 92,022 ล้านบาท โดยจะมีการดึงเงิน
ออมมาใช้สูงถึงร้อยละ 34.4 และเห็นว่าเงินที่ใช้เพิ่มขึ้นมาจากราคาสินค้าแพงขึ้นไม่ใช่เป็นการซื้อในปริมาณเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ จากการ
สำรวจยังพบว่าช่วงสงกรานต์ปีนี้คนไทยหันไปเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.9 สูงกว่าปีก่อนที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 14.3
อันเป็นผลจากเงินบาทแข็งค่าขึ้น ค่าใช้จ่ายการเที่ยวต่างประเทศกับในประเทศใกล้เคียงกัน การจูงใจจากโปรแกรมเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น
และประชาชนเริ่มมั่นใจต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและรายได้ในอนาคต (มติชน, ผู้จัดการรายวัน, แนวหน้า, กรุงเทพธุรกิจ)
4. ธุรกิจเอสเอ็มอีมีความเสี่ยงสูงมีปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผอ.วิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
ประเทศไทย กล่าวว่า จากการศึกษาวิจัยเฉพาะกรณีผลกระทบของกฎหมายและระเบียบที่มีผลต่อขีดความสามารถของเอสเอ็มอีพบว่า การเข้า
ถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินของรัฐ เช่น ธ.เพื่อพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฯ (ธพว.) หรือบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรม
ขนาดย่อม (บสย.) นั้น ธพว. มีต้นทุนทางการเงินสูงกว่าธนาคารทั่วไปเพราะมีขนาดเล็ก ไม่สามารถระดมเงินฝากได้ ขณะที่ลูกค้าส่วนใหญ่
มีความเสี่ยงสูง สำหรับ บสย. มีปัญหาลูกหนี้ที่มีฐานะการเงินอ่อนแอทำให้โครงการค้ำประกันมีไม่มาก รัฐจึงควรส่งเสริมแหล่งทุนอื่นที่ไม่ใช่
ธนาคาร เช่น บริษัทแฟคเตอริ่ง และอาจพิจารณาแนวทางส่งเสริมแหล่งทุนผ่าน ธ.พาณิชย์ เพราะเป็นมืออาชีพ มีสาขาและพนักงานจำนวนมาก
รวมถึงใกล้ชิดกับผู้ประกอบการมากกว่า โดยรัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้บางส่วน ส่วนมาตรการส่งเสริมการลงทุนเอสเอ็มอีถือว่าไม่มีประสิทธิผล
เมื่อพิจารณาจากเอสเอ็มอีที่ขอส่งเสริม โดยเห็นว่าบีโอไอควรขยายประเภทกิจการที่ใช้เงินลงทุนน้อย เพื่อให้สามารถขอรับสิทธิส่งเสริม
ได้มากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยใน สรอ.ลดลงในเดือน มี.ค.51 มาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 22 ปี รายงาน
จากวอชิงตัน เมื่อ 8 เม.ย.51 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยใน สรอ.จากผลสำรวจโดย National Federation
of Independent Business หรือ NFIB ลดลง 3.3 จุดมาอยู่ที่ระดับ 89.6 ในเดือน มี.ค.51 ต่ำสุดนับตั้งแต่มีการจัดทำดัชนีดังกล่าว
ในปี 29 โดยร้อยละ 3 ของผู้ประกอบการมีแผนที่จะจ้างงานใหม่ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ลดลง 8 จุดจากเดือน ก.พ.51 และอยู่ในระดับ
ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.46 และผลสำรวจยังชี้ว่ามีผู้ประกอบการจำนวนมากขึ้นที่คาดว่าการปล่อยสินเชื่อในตลาดการเงินจะยังคงเข้มงวด
แม้ว่า ธ.กลาง สรอ.ได้อัดฉีดเงินจำนวนมากเข้าสู่ระบบการเงินแล้วก็ตาม นอกจากนี้ ผลสำรวจยังชี้ว่าผู้ประกอบการร้อยละ 29 มีแผนที่
จะขึ้นราคาสินค้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากผลสำรวจในเดือนก่อน และร้อยละ 12 ของผู้ประกอบการชี้ว่าภาวะเงินเฟ้อเป็นปัญหาสำคัญที่สุด
ในขณะนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากเดือนก่อนและเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจจีนเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสแรกปี 51 รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 8 เม.ย.51 The National
Bureau of Statistics เปิดเผยผลการสำรวจ The business confidence index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ
ภาคธุรกิจจีนต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและนโยบายเศรษฐกิจในระดับมหภาค ที่ทำการสำรวจจากความคิดเห็นของผู้ประกอบการธุรกิจ
จำนวน 19,500 ราย พบว่า ในช่วงไตรมาสแรกปี 51 ดัชนีความเชื่อมั่น เพิ่มขึ้นที่ระดับ 140.6 จากระดับ 139.6 ในไตรมาสก่อนหน้า
ซึ่งร้อยละ 56 ของกลุ่มตัวอย่างจากการสำรวจมีมุมมองในแง่ที่ดีเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจ และร้อยละ 61.1 คาดหวังว่าธุรกิจ
จะดำเนินต่อไปได้อย่างดี โดยธุรกิจการก่อสร้าง การขนส่ง โทรคมนาคม และบันเทิง มีความเชื่อมั่นทางธุรกิจสูงกว่าไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการค้าปลีก มีความเชื่อมั่นลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม สะท้อนว่า ผู้ประกอบการ
ภาคธุรกิจจีนมีความเชื่อมั่นและความคาดหวังในเชิงบวกต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันและแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะต่อไป แม้ว่าจะยังคง
มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อและการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดก็ตาม (รอยเตอร์)
3. ดัชนีภาคบริการของญี่ปุ่นในเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นที่ระดับ 36.9 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 51 ทางการญี่ปุ่น
เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีภาคบริการของญี่ปุ่นในเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นที่ระดับ 36.9 จากระดับ 33.6 ในเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็น
เดือนที่ 2 สำหรับดัชนีชี้วัดแนวโน้มในอนาคตที่ส่งสัญญานระดับความเชื่อมั่นภาวะเศรษฐกิจในอนาคตในเดือน มี.ค. อยู่ที่ 38.2 ลดลงจาก
ระดับ 39.5 ในเดือน ก.พ. (รอยเตอร์)
4. คาดว่าคำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.จะลดลงขณะที่ราคาค้าส่งเพิ่มขึ้น รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 9 เม.ย.51
ผลการสำรวจโดยรอยเตอร์ชี้ว่า ในเดือน ก.พ. คำสั่งซื้อเครื่องจักรที่เป็นเครื่องชี้วัดการใช้จ่ายลงทุนของธุรกิจคาดว่าจะลดลงหลังจากที่เพิ่มขึ้น
มากที่สุดในรอบ 7 ปีในเดือน ม.ค.ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์หลายคนให้ความเห็นว่าคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นคำสั่งซื้อรถไฟซึ่งจะไม่มีคำสั่งซื้อ
เช่นนี้อีกในเดือนต่อไป ขณะที่ราคาขายส่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบ 25 ปี เนื่องจากการสูงขึ้นของราคา
พลังงานและอาหาร (รอยเตอร์)
5. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษลดลงในเดือน มี.ค.51 มาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ
9 เม.ย.51 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษจากผลสำรวจโดย Nationwide Building Society ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 77
ในเดือน มี.ค.51 จากระดับ 78 ในเดือน ก.พ.51 ต่ำสุดนับตั้งแต่มีการจัดทำดัชนีดังกล่าวในเดือน พ.ค.47 จากผลกระทบของความวุ่นวาย
ในตลาดการเงินและการชะลอตัวของตลาดบ้าน นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจากราคาอาหารและน้ำมันยังส่งผลให้รายได้ของผู้บริโภค
ส่วนที่เหลือสำหรับใช้จ่ายลดลง แม้ว่า ธ.กลางอังกฤษได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาเหลือร้อยละ 5.25 ต่อปีเมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมาก็ตามทั้งนี้
เป็นที่คาดกันว่า ธ.กลางอังกฤษจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เหลือร้อยละ 5.0 ต่อปีในการประชุมในวันที่ 10 เม.ย.51
นี้เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจจากผลกระทบของวิกฤติสินเชื่อในตลาดการเงิน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 เม.ย. 51 8 เม.ย. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.769 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.5479/31.8748 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25000 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 826.85/19.24 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,750/13,850 13,850/13,950 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 100.95 99.25 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 35.09*/30.74** 34.59/30.74** 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 9 เม.ย.51
**ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 1 เม.ย. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. อัตราดอกเบี้ยของไทยขณะนี้ต่ำสุดเมื่อเทียบกับภูมิภาค นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวในงานสัมมนา
หอการค้าไทย-ญี่ปุ่น ว่า ในระยะเวลาอันใกล้นี้การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอลงและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจะเป็นความเสี่ยงที่สำคัญของโลก
และไม่มีใครแน่ใจได้ว่าการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลง ขณะที่ความเชื่อมโยงของโลกทำให้เชื่อได้ว่าระบบ
การเงินของไทยในอนาคตจะมีความผันผวนมากขึ้น ทั้งนี้ เชื่อว่าภายใต้การขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศที่ดีขึ้นและปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ
จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ร้อยละ 4.5 — 6.0 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ในเป้าหมายที่ร้อยละ 0 — 3.5 ใน 8 ไตรมาสข้างหน้า
โดยในการประชุม กนง. วันที่ 9 เม.ย.นี้ จะพิจารณาตัวเลขเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งความท้าทายน่าจะมาจากแรงกดดันจากการ
เพิ่มขึ้นของระดับราคา และแนวนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายทำให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพและช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้
เต็มศักยภาพ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในขณะนี้ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคและเอื้อต่อการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ
(โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, ไทยรัฐ)
2. JCR ยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ไทยมีเสถียรภาพ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผอ.สนง.บริหารหนี้สาธารณะ แถลงข่าว
ผลการวิเคราะห์เครดิตไทยของ Japan Credit Rating Agency Ltd. (JCR) โดย JCR ยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาว
สกุลเงินต่างประเทศที่ระดับ A- และตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาทที่ระดับ A+ โดยมีแนวโน้มระดับเครดิตที่มีเสถียรภาพ พร้อมทั้งยืนยัน
ระดับเครดิตพันธบัตรสกุลเงินต่างประเทศสำหรับพันธบัตรสกุลเงินเยนของรัฐบาลไทย รุ่นที่ 20 ออกเมื่อเดือน ธ.ค.44 ครบกำหนด
เดือน ธ.ค.51 ที่ระดับ A- (ผู้จัดการรายวัน)
3. คาดว่าจะมีการใช้จ่ายเงินช่วงสงกรานต์ปีนี้ประมาณ 9.6 หมื่นล้านบาท นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ
และธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ว่าจะมีเงินสะพัดประมาณ 96,182 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.52 จากเดิมที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ขณะที่ปี 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.94 มูลค่า 92,022 ล้านบาท โดยจะมีการดึงเงิน
ออมมาใช้สูงถึงร้อยละ 34.4 และเห็นว่าเงินที่ใช้เพิ่มขึ้นมาจากราคาสินค้าแพงขึ้นไม่ใช่เป็นการซื้อในปริมาณเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ จากการ
สำรวจยังพบว่าช่วงสงกรานต์ปีนี้คนไทยหันไปเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.9 สูงกว่าปีก่อนที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 14.3
อันเป็นผลจากเงินบาทแข็งค่าขึ้น ค่าใช้จ่ายการเที่ยวต่างประเทศกับในประเทศใกล้เคียงกัน การจูงใจจากโปรแกรมเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น
และประชาชนเริ่มมั่นใจต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและรายได้ในอนาคต (มติชน, ผู้จัดการรายวัน, แนวหน้า, กรุงเทพธุรกิจ)
4. ธุรกิจเอสเอ็มอีมีความเสี่ยงสูงมีปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผอ.วิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
ประเทศไทย กล่าวว่า จากการศึกษาวิจัยเฉพาะกรณีผลกระทบของกฎหมายและระเบียบที่มีผลต่อขีดความสามารถของเอสเอ็มอีพบว่า การเข้า
ถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินของรัฐ เช่น ธ.เพื่อพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฯ (ธพว.) หรือบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรม
ขนาดย่อม (บสย.) นั้น ธพว. มีต้นทุนทางการเงินสูงกว่าธนาคารทั่วไปเพราะมีขนาดเล็ก ไม่สามารถระดมเงินฝากได้ ขณะที่ลูกค้าส่วนใหญ่
มีความเสี่ยงสูง สำหรับ บสย. มีปัญหาลูกหนี้ที่มีฐานะการเงินอ่อนแอทำให้โครงการค้ำประกันมีไม่มาก รัฐจึงควรส่งเสริมแหล่งทุนอื่นที่ไม่ใช่
ธนาคาร เช่น บริษัทแฟคเตอริ่ง และอาจพิจารณาแนวทางส่งเสริมแหล่งทุนผ่าน ธ.พาณิชย์ เพราะเป็นมืออาชีพ มีสาขาและพนักงานจำนวนมาก
รวมถึงใกล้ชิดกับผู้ประกอบการมากกว่า โดยรัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้บางส่วน ส่วนมาตรการส่งเสริมการลงทุนเอสเอ็มอีถือว่าไม่มีประสิทธิผล
เมื่อพิจารณาจากเอสเอ็มอีที่ขอส่งเสริม โดยเห็นว่าบีโอไอควรขยายประเภทกิจการที่ใช้เงินลงทุนน้อย เพื่อให้สามารถขอรับสิทธิส่งเสริม
ได้มากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยใน สรอ.ลดลงในเดือน มี.ค.51 มาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 22 ปี รายงาน
จากวอชิงตัน เมื่อ 8 เม.ย.51 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยใน สรอ.จากผลสำรวจโดย National Federation
of Independent Business หรือ NFIB ลดลง 3.3 จุดมาอยู่ที่ระดับ 89.6 ในเดือน มี.ค.51 ต่ำสุดนับตั้งแต่มีการจัดทำดัชนีดังกล่าว
ในปี 29 โดยร้อยละ 3 ของผู้ประกอบการมีแผนที่จะจ้างงานใหม่ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ลดลง 8 จุดจากเดือน ก.พ.51 และอยู่ในระดับ
ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.46 และผลสำรวจยังชี้ว่ามีผู้ประกอบการจำนวนมากขึ้นที่คาดว่าการปล่อยสินเชื่อในตลาดการเงินจะยังคงเข้มงวด
แม้ว่า ธ.กลาง สรอ.ได้อัดฉีดเงินจำนวนมากเข้าสู่ระบบการเงินแล้วก็ตาม นอกจากนี้ ผลสำรวจยังชี้ว่าผู้ประกอบการร้อยละ 29 มีแผนที่
จะขึ้นราคาสินค้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากผลสำรวจในเดือนก่อน และร้อยละ 12 ของผู้ประกอบการชี้ว่าภาวะเงินเฟ้อเป็นปัญหาสำคัญที่สุด
ในขณะนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากเดือนก่อนและเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจจีนเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสแรกปี 51 รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 8 เม.ย.51 The National
Bureau of Statistics เปิดเผยผลการสำรวจ The business confidence index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ
ภาคธุรกิจจีนต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและนโยบายเศรษฐกิจในระดับมหภาค ที่ทำการสำรวจจากความคิดเห็นของผู้ประกอบการธุรกิจ
จำนวน 19,500 ราย พบว่า ในช่วงไตรมาสแรกปี 51 ดัชนีความเชื่อมั่น เพิ่มขึ้นที่ระดับ 140.6 จากระดับ 139.6 ในไตรมาสก่อนหน้า
ซึ่งร้อยละ 56 ของกลุ่มตัวอย่างจากการสำรวจมีมุมมองในแง่ที่ดีเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจ และร้อยละ 61.1 คาดหวังว่าธุรกิจ
จะดำเนินต่อไปได้อย่างดี โดยธุรกิจการก่อสร้าง การขนส่ง โทรคมนาคม และบันเทิง มีความเชื่อมั่นทางธุรกิจสูงกว่าไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการค้าปลีก มีความเชื่อมั่นลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวม สะท้อนว่า ผู้ประกอบการ
ภาคธุรกิจจีนมีความเชื่อมั่นและความคาดหวังในเชิงบวกต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันและแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะต่อไป แม้ว่าจะยังคง
มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อและการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดก็ตาม (รอยเตอร์)
3. ดัชนีภาคบริการของญี่ปุ่นในเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นที่ระดับ 36.9 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 51 ทางการญี่ปุ่น
เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีภาคบริการของญี่ปุ่นในเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นที่ระดับ 36.9 จากระดับ 33.6 ในเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็น
เดือนที่ 2 สำหรับดัชนีชี้วัดแนวโน้มในอนาคตที่ส่งสัญญานระดับความเชื่อมั่นภาวะเศรษฐกิจในอนาคตในเดือน มี.ค. อยู่ที่ 38.2 ลดลงจาก
ระดับ 39.5 ในเดือน ก.พ. (รอยเตอร์)
4. คาดว่าคำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.จะลดลงขณะที่ราคาค้าส่งเพิ่มขึ้น รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 9 เม.ย.51
ผลการสำรวจโดยรอยเตอร์ชี้ว่า ในเดือน ก.พ. คำสั่งซื้อเครื่องจักรที่เป็นเครื่องชี้วัดการใช้จ่ายลงทุนของธุรกิจคาดว่าจะลดลงหลังจากที่เพิ่มขึ้น
มากที่สุดในรอบ 7 ปีในเดือน ม.ค.ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์หลายคนให้ความเห็นว่าคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นคำสั่งซื้อรถไฟซึ่งจะไม่มีคำสั่งซื้อ
เช่นนี้อีกในเดือนต่อไป ขณะที่ราคาขายส่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบ 25 ปี เนื่องจากการสูงขึ้นของราคา
พลังงานและอาหาร (รอยเตอร์)
5. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษลดลงในเดือน มี.ค.51 มาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี รายงานจากลอนดอน เมื่อ
9 เม.ย.51 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอังกฤษจากผลสำรวจโดย Nationwide Building Society ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 77
ในเดือน มี.ค.51 จากระดับ 78 ในเดือน ก.พ.51 ต่ำสุดนับตั้งแต่มีการจัดทำดัชนีดังกล่าวในเดือน พ.ค.47 จากผลกระทบของความวุ่นวาย
ในตลาดการเงินและการชะลอตัวของตลาดบ้าน นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจากราคาอาหารและน้ำมันยังส่งผลให้รายได้ของผู้บริโภค
ส่วนที่เหลือสำหรับใช้จ่ายลดลง แม้ว่า ธ.กลางอังกฤษได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาเหลือร้อยละ 5.25 ต่อปีเมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมาก็ตามทั้งนี้
เป็นที่คาดกันว่า ธ.กลางอังกฤษจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เหลือร้อยละ 5.0 ต่อปีในการประชุมในวันที่ 10 เม.ย.51
นี้เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจจากผลกระทบของวิกฤติสินเชื่อในตลาดการเงิน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 เม.ย. 51 8 เม.ย. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.769 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.5479/31.8748 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25000 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 826.85/19.24 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,750/13,850 13,850/13,950 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 100.95 99.25 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 35.09*/30.74** 34.59/30.74** 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 9 เม.ย.51
**ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 1 เม.ย. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--