ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ยอดสินเชื่อบุคคลคงค้างเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้น 8.15% จากปีก่อน ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานยอดสินเชื่อบุคคลคงค้างเดือน
ก.พ.51 ว่ามีจำนวน 204,640 ล.บาท เพิ่มขึ้น 15,418 ล.บาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีสินเชื่อคงค้างจำนวน 189,222 ล.บาท
หรือคิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้น 8.15% โดยเพิ่มขึ้นมากในส่วนของสินเชื่อของ ธพ.ไทยที่มีจำนวน 89,788 ล.บาท หรือเพิ่มขึ้น 16.19% จากปีก่อน
ส่วนยอดสินเชื่อของธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) เดือน ก.พ.มีจำนวน 92,460 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4.09% ขณะที่ยอด
สินเชื่อส่วนบุคคลของสาขา ธพ.ต่างประเทศหดตัวลง 3.14% โดยมีจำนวน 22,392 ล.บาท ทั้งนี้ ยอดสินเชื่อคงค้างที่เพิ่มขึ้นในเดือน ก.พ.
สอดคล้องกับจำนวนบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้น โดยมีจำนวนบัญชีรวม 10,814,572 รายการ เพิ่มขึ้น 7.40% โดยจำนวนบัญชีสินเชื่อส่วน
บุคคลที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด เป็นบัญชีที่ออกโดย ธพ.ไทยที่เพิ่มขึ้นถึง 12.96% (กรุงเทพธุรกิจ)
2. ยอดการให้บริการบัตรเครดิตในเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้น 8.89% จากปีก่อน ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานว่า ยอดการ
ให้บริการบัตรเครดิตล่าสุดในเดือน ก.พ.51 มีทั้งสิ้น 11.98 ล้านใบ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.89% ทั้งนี้ หากพิจารณาปริมาณการ
ใช้จ่ายผ่านบัตรทั้งระบบพบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 73,800 ล.บาท เพิ่มขึ้น 14.5% แบ่งเป็นการใช้จ่ายในประเทศ 53,400 ล.บาท เพิ่มขึ้น
16.77% และการใช้จ่ายในต่างประเทศ 2,350 ล.บาท เพิ่มขึ้น 25.57% ส่วนยอดการเบิกเงินสดล่วงหน้ามีจำนวน 18,000 ล.บาท เพิ่มขึ้น
7.15% และหากพิจารณาจากการใช้บริการกดเงินสดผ่านบัตรเครดิตพบว่า มีการกดเงินสดผ่านบัตรของ ธพ.ที่จดทะเบียนในประเทศมากที่สุด
13,600 ล.บาท รองลงมาเป็นการกดเงินสดผ่านบัตรนอนแบงก์ 3,410 ล.บาท และกดเงินสดผ่านบัตรของสาขาธนาคารต่างประเทศ
985 ล.บาท อย่างไรก็ตาม ภาวะการใช้จ่ายบัตรเครดิต รวมทั้งปริมาณการกดเงินสด ที่เพิ่มขึ้นยังไม่อยู่ในระดับที่น่ากังวล เพราะการขยายตัว
ต่ำมากเมื่อเทียบกับช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งการขยายตัวที่ชะลอลงน่าจะมีผลมาจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ราคาสินค้าแพงขึ้น ส่งผลให้
ประชาชนผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น (โลกวันนี้, มติชน)
3. ธปท.ให้สถาบันการเงินทุกแห่งจัดทำแผนรองรับการดำเนินธุรกอจอย่างต่อเนื่องกรณีการระบาดของโรคติดต่อร้ายแรง ผู้สื่อข่าว
รายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกหนังสือเวียนถึง ธพ.และสถาบันการเงินทุกแห่งในหัวข้อเรื่อง การจัดทำแผนรองรับการ
ดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง สำหรับกรณีการระบาดของโรคติดต่อร้ายแรง โดยสั่งการให้สถาบันการเงินทุกแห่งเตรียมแผนรองรับการดำเนินธุรกิจ
ของ ธพ.ล่วงหน้าหากเกิดโรคระบาดร้ายแรง ซึ่งอาจจะกระทบต่อธุรกิจ โดยแผนดังกล่าว สถาบันการเงินจะต้องติดตามสถานการณ์ของ
โรคระบาดต่างๆ อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา รวมทั้งต้องศึกษาความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจจะเกิดกับการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงิน
ทั้งในส่วนของให้บริการธุรกรรมทางการเงิน และสวัสดิภาพสุขภาพอนามัยของพนักงาน นอกจากนี้ ในแผนจะต้องระบุถึงการประเมินผลกระทบ
ทางการเงินและการเตรียมการรองรับในกรณีที่อาจจะมีลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ การขาดสภาพคล่อง และการต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ
ภาคธุรกิจที่อาจจะได้รัผลกระทบมากกว่าภาคอื่น เช่น ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรมการให้บริการ และภาคการท่องเที่ยว เป็นต้น ทั้งนี้
แผนการเตรียมความพร้อมในการดำเนินธุรกิจต่อเนื่องนี้ให้ ธพ.ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเดือน มี.ค.2552 (โลกวันนี้)
4. คาดว่ากองทุนรวมจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 51 หลังการประกาศใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝาก นายวนา พูลผล
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ไทย) จำกัด กล่าวถึงภาพรวมอุตสาหกรรมกองทุนรวมในไตรมาส 1 ปี 51 ว่า
มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของระบบกองทุนรวมมีอยู่ประมาณ 1.576 ล้านล้านบาท ลดลงจากต้นปี 51 ที่มีอยู่ประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท หรือปรับตัว
ลดลงประมาณ 2.15% เนื่องจากการที่ ธพ.หันมาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งมีลักษณะสวนทางตลาดที่ทิศทางอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วง
ปรับตัวลดลง จึงทำให้มีเม็ดเงินบางส่วนเคลื่อนย้ายไปฝากไว้กับ ธพ. ส่วนที่เหลือบางส่วนมีการลงทุนใน พธบ.รัฐบาลที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวของอุตสาหกรรมกองทุนรวม จะเป็นเพียงแค่ช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น และจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาส 3
หลังจากการประกาศใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝากอย่างเป็นทางการในเดือน ส.ค.51 ซึ่งจะทำให้มีนักลงทุนหันมาลงทุนผ่านกองทุนรวมเพิ่มขึ้น
และส่งผลให้ภาพรวมอุตสาหกรรมกองทุนรวมตั้งแต่เดือน ส.ค.เป็นต้นไป มีการขยายตัวไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะกองทุนรวมที่เน้นลงทุนใน
พธบ.รัฐบาล (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผลสำรวจรอยเตอร์ในเดือน เม.ย.51 ชี้ว่าความเชื่อมั่นของผู้ผลิตในญี่ปุ่นลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี รายงาน
จากโตเกียว เมื่อ 17 เม.ย.51 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นจากผลสำรวจความเห็นของผู้ผลิตในญี่ปุ่นเกี่ยวกับแนวโน้มสถานการณ์ธุรกิจของตนโดย
รอยเตอร์ในระหว่างวันที่ 27 มี.ค.ถึง 14 เม.ย.51 หรือที่เรียกว่า Reuters Tankan ลดลงมาอยู่ที่ระดับ +1 จากระดับ +8 ในเดือนก่อน
ลดลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันนับตั้งแต่เดือน พ.ย.50 โดยอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปีนับตั้งแต่เดือน ก.ค.46 ซึ่งดัชนีอยู่ที่ระดับ -5 ทั้งนี้
เป็นผลจากค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ที่อ่อนตัวลง ในขณะที่ต้นทุนด้านพลังงานและวัตถุดิบสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ดีดัชนีดังกล่าวยังอยู่ในระดับสูงกว่า 0
ซึ่งแสดงว่ามีผู้ที่มองแนวโน้มธุรกิจในทางที่ดีขึ้นมากกว่าผู้ที่มองแนวโน้มในทางที่เลวลง(รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 10.6 ในไตรมาสแรกปีนี้ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนแต่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง
รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 16 เม.ย.51 สนง.สถิติแห่งชาติของจีนรายงานเศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 10.6 ในไตรมาสแรกปีนี้ ลดลงเล็กน้อย
จากไตรมาสสุดท้ายปี 50 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 11.2 และสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 10.0 โดยนักวิเคราะห์คาดว่าเศรษฐกิจจีน
จะได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นผิดปรกติและการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก นอกเหนือจากมาตรการของ ธ.กลางจีนในการ
ชะลอการปล่อยสินเชื่อของ ธ.พาณิชย์ โดยทันทีที่มีการรายงานว่าเศรษฐกิจจีนขยายตัวดีกว่าที่คาดไว้ดังกล่าว ธ.กลางจีนได้ประกาศเพิ่ม
อัตราเงินสำรองเงินฝากอีกร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 16 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย.51 เป็นต้นไป นับเป็นการปรับเพิ่มครั้งที่ 16
นับตั้งแต่กลางปี 49 ในขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อของจีนยังคงที่อยู่ในระดับสูงถึงร้อยละ 8.3 ต่อปีในเดือน มี.ค.51 ลดลงเล็กน้อยจาก
ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 12 ปีที่ร้อยละ 8.7 ต่อปีในเดือน ก.พ.51 โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาอาหารซึ่งเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 21 ต่อปี
ในไตรมาสแรกปีนี้ โดยหากไม่รวมราคาอาหารแล้ว อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 1.2 ต่อปี แต่อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มสูงขึ้น
โดยในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ราคาผู้ผลิตได้ถีบตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 8.0 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.6 ต่อปีในเดือน ก.พ.(รอยเตอร์)
3. จีนสั่ง ธ.พาณิชย์เพิ่มเงินทุนสำรองต่อสัดส่วนการให้สินเชื่ออีกร้อยละ 0.5 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 16 เม.ย.51
ธนาคารกลางของจีนเปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ ธ.พาณิชย์เพิ่มเงินทุนสำรองต่อสัดส่วนการให้สินเชื่ออีกร้อยละ 0.5 หลังจากที่สั่งให้เพิ่มครั้งสุดท้าย
เมื่อวันที่ 18 มี.ค.51 นับเป็นการสั่งเพิ่มครั้งที่ 16 ตั้งแต่กลางปี 49 เป็นต้นมา โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย.นี้ ซึ่งจะทำให้สัดส่วน
เงินทุนสำรองต่อการให้สินเชื่อของธนาคารขนาดใหญ่หลายแห่งเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 16.0 ทั้งนี้ ธนาคารกลางจีนกล่าวว่าการสั่งการดังกล่าว
มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความเข้มงวดในการจัดการกับสภาพคล่องของจีนและเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีการนำเงินจากการให้สินเชื่อไปใช้อย่างมีเหตุผล
นอกจากนี้ ธนาคารกลางจีนยังได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว 8 ครั้ง นับตั้งแต่เริ่มต้นใช้นโยบายเข้มงวดทางการเงินในเดือน เม.ย.49
(รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้ยืนยันเป้าหมายจีดีพีปีนี้ที่ร้อยละ 6 รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 16 เม.ย.51 รัฐบาลเกาหลีใต้ยืนยันเป้าหมาย
การเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ที่ร้อยละ 6 แม้ว่าจะเป็นการยากลำบากที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมบางอย่างส่งสัญญาณ
ไม่ดีนัก เช่น อัตราการจ้างงานเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 จากปีก่อนอยู่ที่ 184,000 อัตรา นับเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นต่ำสุดใน
รอบกว่า 3 ปี เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 210,000 อัตรา ในเดือน ก.พ. ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจ
ในประเทศชะลอตัวลงอย่างรุนแรง ทำให้คาดการณ์ได้ว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพื่อกระตุ้นอัตราการ
เติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยคาดว่าจะปรับลดลงร้อยละ 0.25 ในเดือน มิ.ย. และอีก 3 ครั้ง ๆ ละร้อยละ 0.25 ในช่วงครึ่งหลัง
ของปีนี้ แต่จากตัวเลขการจ้างงานดังกล่าวข้างต้นทำให้มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการปรับลดลงครั้งแรกในเดือน พ.ค.นี้ ทั้งนี้ ธ.กลาง
เกาหลีใต้มีกำหนดประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 8 พ.ค.นี้ ขณะที่ รมว.คลังของเกาหลีใต้กล่าวว่าเป้าหมายการเติบโต
ทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ 6 ดูเหมือนเป็นจะเป็นเรื่องยากที่ประสบผลสำเร็จ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 เม.ย. 51 16 เม.ย. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.564 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.3678/31.7017 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25000 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 833.38/21.33 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,000/14,100 13,750/13,850 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 104.43 103.25 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 35.09*/31.24** 35.09*/31.24** 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 9 เม.ย.51
**ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 11 เม.ย. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ยอดสินเชื่อบุคคลคงค้างเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้น 8.15% จากปีก่อน ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานยอดสินเชื่อบุคคลคงค้างเดือน
ก.พ.51 ว่ามีจำนวน 204,640 ล.บาท เพิ่มขึ้น 15,418 ล.บาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีสินเชื่อคงค้างจำนวน 189,222 ล.บาท
หรือคิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้น 8.15% โดยเพิ่มขึ้นมากในส่วนของสินเชื่อของ ธพ.ไทยที่มีจำนวน 89,788 ล.บาท หรือเพิ่มขึ้น 16.19% จากปีก่อน
ส่วนยอดสินเชื่อของธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) เดือน ก.พ.มีจำนวน 92,460 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 4.09% ขณะที่ยอด
สินเชื่อส่วนบุคคลของสาขา ธพ.ต่างประเทศหดตัวลง 3.14% โดยมีจำนวน 22,392 ล.บาท ทั้งนี้ ยอดสินเชื่อคงค้างที่เพิ่มขึ้นในเดือน ก.พ.
สอดคล้องกับจำนวนบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้น โดยมีจำนวนบัญชีรวม 10,814,572 รายการ เพิ่มขึ้น 7.40% โดยจำนวนบัญชีสินเชื่อส่วน
บุคคลที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด เป็นบัญชีที่ออกโดย ธพ.ไทยที่เพิ่มขึ้นถึง 12.96% (กรุงเทพธุรกิจ)
2. ยอดการให้บริการบัตรเครดิตในเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้น 8.89% จากปีก่อน ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานว่า ยอดการ
ให้บริการบัตรเครดิตล่าสุดในเดือน ก.พ.51 มีทั้งสิ้น 11.98 ล้านใบ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.89% ทั้งนี้ หากพิจารณาปริมาณการ
ใช้จ่ายผ่านบัตรทั้งระบบพบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 73,800 ล.บาท เพิ่มขึ้น 14.5% แบ่งเป็นการใช้จ่ายในประเทศ 53,400 ล.บาท เพิ่มขึ้น
16.77% และการใช้จ่ายในต่างประเทศ 2,350 ล.บาท เพิ่มขึ้น 25.57% ส่วนยอดการเบิกเงินสดล่วงหน้ามีจำนวน 18,000 ล.บาท เพิ่มขึ้น
7.15% และหากพิจารณาจากการใช้บริการกดเงินสดผ่านบัตรเครดิตพบว่า มีการกดเงินสดผ่านบัตรของ ธพ.ที่จดทะเบียนในประเทศมากที่สุด
13,600 ล.บาท รองลงมาเป็นการกดเงินสดผ่านบัตรนอนแบงก์ 3,410 ล.บาท และกดเงินสดผ่านบัตรของสาขาธนาคารต่างประเทศ
985 ล.บาท อย่างไรก็ตาม ภาวะการใช้จ่ายบัตรเครดิต รวมทั้งปริมาณการกดเงินสด ที่เพิ่มขึ้นยังไม่อยู่ในระดับที่น่ากังวล เพราะการขยายตัว
ต่ำมากเมื่อเทียบกับช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งการขยายตัวที่ชะลอลงน่าจะมีผลมาจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ราคาสินค้าแพงขึ้น ส่งผลให้
ประชาชนผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น (โลกวันนี้, มติชน)
3. ธปท.ให้สถาบันการเงินทุกแห่งจัดทำแผนรองรับการดำเนินธุรกอจอย่างต่อเนื่องกรณีการระบาดของโรคติดต่อร้ายแรง ผู้สื่อข่าว
รายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกหนังสือเวียนถึง ธพ.และสถาบันการเงินทุกแห่งในหัวข้อเรื่อง การจัดทำแผนรองรับการ
ดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง สำหรับกรณีการระบาดของโรคติดต่อร้ายแรง โดยสั่งการให้สถาบันการเงินทุกแห่งเตรียมแผนรองรับการดำเนินธุรกิจ
ของ ธพ.ล่วงหน้าหากเกิดโรคระบาดร้ายแรง ซึ่งอาจจะกระทบต่อธุรกิจ โดยแผนดังกล่าว สถาบันการเงินจะต้องติดตามสถานการณ์ของ
โรคระบาดต่างๆ อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา รวมทั้งต้องศึกษาความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจจะเกิดกับการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงิน
ทั้งในส่วนของให้บริการธุรกรรมทางการเงิน และสวัสดิภาพสุขภาพอนามัยของพนักงาน นอกจากนี้ ในแผนจะต้องระบุถึงการประเมินผลกระทบ
ทางการเงินและการเตรียมการรองรับในกรณีที่อาจจะมีลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ การขาดสภาพคล่อง และการต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ
ภาคธุรกิจที่อาจจะได้รัผลกระทบมากกว่าภาคอื่น เช่น ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรมการให้บริการ และภาคการท่องเที่ยว เป็นต้น ทั้งนี้
แผนการเตรียมความพร้อมในการดำเนินธุรกิจต่อเนื่องนี้ให้ ธพ.ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเดือน มี.ค.2552 (โลกวันนี้)
4. คาดว่ากองทุนรวมจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 51 หลังการประกาศใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝาก นายวนา พูลผล
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ไทย) จำกัด กล่าวถึงภาพรวมอุตสาหกรรมกองทุนรวมในไตรมาส 1 ปี 51 ว่า
มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของระบบกองทุนรวมมีอยู่ประมาณ 1.576 ล้านล้านบาท ลดลงจากต้นปี 51 ที่มีอยู่ประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท หรือปรับตัว
ลดลงประมาณ 2.15% เนื่องจากการที่ ธพ.หันมาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งมีลักษณะสวนทางตลาดที่ทิศทางอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วง
ปรับตัวลดลง จึงทำให้มีเม็ดเงินบางส่วนเคลื่อนย้ายไปฝากไว้กับ ธพ. ส่วนที่เหลือบางส่วนมีการลงทุนใน พธบ.รัฐบาลที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม การชะลอตัวของอุตสาหกรรมกองทุนรวม จะเป็นเพียงแค่ช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น และจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงไตรมาส 3
หลังจากการประกาศใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝากอย่างเป็นทางการในเดือน ส.ค.51 ซึ่งจะทำให้มีนักลงทุนหันมาลงทุนผ่านกองทุนรวมเพิ่มขึ้น
และส่งผลให้ภาพรวมอุตสาหกรรมกองทุนรวมตั้งแต่เดือน ส.ค.เป็นต้นไป มีการขยายตัวไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะกองทุนรวมที่เน้นลงทุนใน
พธบ.รัฐบาล (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผลสำรวจรอยเตอร์ในเดือน เม.ย.51 ชี้ว่าความเชื่อมั่นของผู้ผลิตในญี่ปุ่นลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี รายงาน
จากโตเกียว เมื่อ 17 เม.ย.51 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นจากผลสำรวจความเห็นของผู้ผลิตในญี่ปุ่นเกี่ยวกับแนวโน้มสถานการณ์ธุรกิจของตนโดย
รอยเตอร์ในระหว่างวันที่ 27 มี.ค.ถึง 14 เม.ย.51 หรือที่เรียกว่า Reuters Tankan ลดลงมาอยู่ที่ระดับ +1 จากระดับ +8 ในเดือนก่อน
ลดลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันนับตั้งแต่เดือน พ.ย.50 โดยอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปีนับตั้งแต่เดือน ก.ค.46 ซึ่งดัชนีอยู่ที่ระดับ -5 ทั้งนี้
เป็นผลจากค่าเงินดอลลาร์ สรอ.ที่อ่อนตัวลง ในขณะที่ต้นทุนด้านพลังงานและวัตถุดิบสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ดีดัชนีดังกล่าวยังอยู่ในระดับสูงกว่า 0
ซึ่งแสดงว่ามีผู้ที่มองแนวโน้มธุรกิจในทางที่ดีขึ้นมากกว่าผู้ที่มองแนวโน้มในทางที่เลวลง(รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 10.6 ในไตรมาสแรกปีนี้ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนแต่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง
รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 16 เม.ย.51 สนง.สถิติแห่งชาติของจีนรายงานเศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 10.6 ในไตรมาสแรกปีนี้ ลดลงเล็กน้อย
จากไตรมาสสุดท้ายปี 50 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 11.2 และสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 10.0 โดยนักวิเคราะห์คาดว่าเศรษฐกิจจีน
จะได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นผิดปรกติและการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก นอกเหนือจากมาตรการของ ธ.กลางจีนในการ
ชะลอการปล่อยสินเชื่อของ ธ.พาณิชย์ โดยทันทีที่มีการรายงานว่าเศรษฐกิจจีนขยายตัวดีกว่าที่คาดไว้ดังกล่าว ธ.กลางจีนได้ประกาศเพิ่ม
อัตราเงินสำรองเงินฝากอีกร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 16 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย.51 เป็นต้นไป นับเป็นการปรับเพิ่มครั้งที่ 16
นับตั้งแต่กลางปี 49 ในขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อของจีนยังคงที่อยู่ในระดับสูงถึงร้อยละ 8.3 ต่อปีในเดือน มี.ค.51 ลดลงเล็กน้อยจาก
ระดับสูงสุดในรอบเกือบ 12 ปีที่ร้อยละ 8.7 ต่อปีในเดือน ก.พ.51 โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากราคาอาหารซึ่งเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 21 ต่อปี
ในไตรมาสแรกปีนี้ โดยหากไม่รวมราคาอาหารแล้ว อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 1.2 ต่อปี แต่อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มสูงขึ้น
โดยในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ราคาผู้ผลิตได้ถีบตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 8.0 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.6 ต่อปีในเดือน ก.พ.(รอยเตอร์)
3. จีนสั่ง ธ.พาณิชย์เพิ่มเงินทุนสำรองต่อสัดส่วนการให้สินเชื่ออีกร้อยละ 0.5 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 16 เม.ย.51
ธนาคารกลางของจีนเปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ ธ.พาณิชย์เพิ่มเงินทุนสำรองต่อสัดส่วนการให้สินเชื่ออีกร้อยละ 0.5 หลังจากที่สั่งให้เพิ่มครั้งสุดท้าย
เมื่อวันที่ 18 มี.ค.51 นับเป็นการสั่งเพิ่มครั้งที่ 16 ตั้งแต่กลางปี 49 เป็นต้นมา โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย.นี้ ซึ่งจะทำให้สัดส่วน
เงินทุนสำรองต่อการให้สินเชื่อของธนาคารขนาดใหญ่หลายแห่งเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 16.0 ทั้งนี้ ธนาคารกลางจีนกล่าวว่าการสั่งการดังกล่าว
มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความเข้มงวดในการจัดการกับสภาพคล่องของจีนและเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีการนำเงินจากการให้สินเชื่อไปใช้อย่างมีเหตุผล
นอกจากนี้ ธนาคารกลางจีนยังได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว 8 ครั้ง นับตั้งแต่เริ่มต้นใช้นโยบายเข้มงวดทางการเงินในเดือน เม.ย.49
(รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้ยืนยันเป้าหมายจีดีพีปีนี้ที่ร้อยละ 6 รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 16 เม.ย.51 รัฐบาลเกาหลีใต้ยืนยันเป้าหมาย
การเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ที่ร้อยละ 6 แม้ว่าจะเป็นการยากลำบากที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมบางอย่างส่งสัญญาณ
ไม่ดีนัก เช่น อัตราการจ้างงานเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 จากปีก่อนอยู่ที่ 184,000 อัตรา นับเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นต่ำสุดใน
รอบกว่า 3 ปี เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 210,000 อัตรา ในเดือน ก.พ. ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจ
ในประเทศชะลอตัวลงอย่างรุนแรง ทำให้คาดการณ์ได้ว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพื่อกระตุ้นอัตราการ
เติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยคาดว่าจะปรับลดลงร้อยละ 0.25 ในเดือน มิ.ย. และอีก 3 ครั้ง ๆ ละร้อยละ 0.25 ในช่วงครึ่งหลัง
ของปีนี้ แต่จากตัวเลขการจ้างงานดังกล่าวข้างต้นทำให้มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการปรับลดลงครั้งแรกในเดือน พ.ค.นี้ ทั้งนี้ ธ.กลาง
เกาหลีใต้มีกำหนดประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 8 พ.ค.นี้ ขณะที่ รมว.คลังของเกาหลีใต้กล่าวว่าเป้าหมายการเติบโต
ทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ 6 ดูเหมือนเป็นจะเป็นเรื่องยากที่ประสบผลสำเร็จ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 เม.ย. 51 16 เม.ย. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.564 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.3678/31.7017 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25000 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 833.38/21.33 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 14,000/14,100 13,750/13,850 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 104.43 103.25 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 35.09*/31.24** 35.09*/31.24** 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 9 เม.ย.51
**ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 11 เม.ย. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--