นางสาวดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินได้เผยแพร่รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับเดือนมกราคม 2551 ในวันที่ 25 มกราคม 2551 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งตัวขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 และ 2 โดยเป็นผลจากการลงทุนและการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ ภาครัฐ มีการเร่งใช้จ่ายและการส่งออกยังคงขยายตัวได้ดี ทำให้ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2550 เศรษฐกิจไทยขยายตัวจาก ระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5
ข้อมูลเครื่องชี้ล่าสุดในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนสะท้อนการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของการลงทุนและ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญคือความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภคที่เริ่มปรับสูงขึ้นจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ แรงกระตุ้นจากภาครัฐยังดีอยู่และการส่งออกขยายตัวได้ดีเกินคาด อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังมีความเปราะบางจากความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันที่แพงขึ้น รวมทั้งความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาลใหม่อันจะส่งผลถึงความต่อเนื่องของนโยบายของภาครัฐ
สำหรับเสถียรภาพโดยรวมของเศรษฐกิจ แรงกดดันด้านราคาเริ่มสูงขึ้นในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 หลังจากที่อยู่ในระดับต่ำมาตลอดช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี สาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เร่งตัวสูงขึ้นมากและ ทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับสูงขึ้นและส่งผ่านไปยังค่าโดยสารสาธารณะ นอกจากนี้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มิใช่เชื้อเพลิงเร่งตัวขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้นและทำให้มีการทยอยปรับขึ้นราคาสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงส่วนที่ทางการมีมาตรการควบคุมดูแล ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับสูงขึ้นในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.9 และ 1.1 ตามลำดับ
ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 ก่อนที่จะเริ่มฟื้นตัวในไตรมาสที่ 3 มิได้มีผลกระทบต่อ ฐานะการเงินของระบบธนาคารพาณิชย์ ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญ ในส่วนของระบบธนาคารพาณิชย์ แม้ว่าสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่เงินกองทุนยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล และความสามารถในการทำกำไรในภาพรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี ด้านภาคธุรกิจ ความสามารถในการทำกำไรปรับสูงขึ้น และสำหรับภาคครัวเรือน สัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ยังอยู่ในระดับต่ำในภาพรวม อย่างไรก็ดี ครัวเรือนกลุ่มที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางมีอัตราการผิดนัดชำระหนี้ที่สูงขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า และเป็นประเด็นที่จำเป็นต้องติดตามต่อไปอีกระยะหนึ่งเพื่อให้มั่นใจว่าไม่เกิดปัญหาต่อเนื่อง
เสถียรภาพต่างประเทศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ดุลการค้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 และ 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ยังคงเกินดุลสูง ขณะที่ดุลบริการปรับตัวดีขึ้นและล่าสุดกลับมาเกินดุล ในภาพรวมทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลสูงต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา
การคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ เมื่อเทียบกับข้อสมมติประกอบการคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนก่อนหน้า
1. ราคาน้ำมันดูไบในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 สูงกว่าที่ประเมินไว้ค่อนข้างมาก ทำให้ข้อสมมติราคาน้ำมันดูไบปรับสูงขึ้นมาเฉลี่ยอยู่ที่ 85.5 และ 86.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในปี 2551 และ 2552 ตามลำดับ และส่งผลให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับสูงขึ้นเช่นกัน
2. ข้อสมมติราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับสูงขึ้นตามราคาข้าวและยางพารา ขณะที่ข้อสมมติราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มิใช่เชื้อเพลิงในตลาดโลกปรับสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบทดแทนด้านการเกษตรเพื่อการผลิตพลังงานชีวภาพ และสินค้าในหมวดโลหะพื้นฐาน
3. อัตราดอกเบี้ย Fed Funds มีแนวโน้มปรับต่ำลงในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 จากปัญหา Subprime ในสหรัฐฯ เป็นสำคัญ จากนั้นให้ทรงตัวอยู่ ณ ระดับร้อยละ 3.50 ต่อปี ตลอดช่วงประมาณการ
4. ข้อสมมติการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าในปี 2550 สูงกว่าที่ประเมินไว้ครั้งก่อนจากข้อมูลจริงล่าสุด อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มชะลอลงมากกว่าเดิมในปี 2551 จากปัญหา Subprime ในสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังประเทศอื่นๆ ก่อนที่จะปรับตัวดีขึ้นในปี 2552
5. ค่าเงินในภูมิภาคมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นมากกว่าข้อสมมติเดิมจากแนวโน้มค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนลง เป็นสำคัญ
6. ข้อสมมติรายจ่ายเพื่อการอุปโภคของภาครัฐในปีงบประมาณ 2551 และ 2552 สูงขึ้นกว่าเดิมจากการปรับ ข้อสมมติเกี่ยวกับโครงสร้างงบประมาณใหม่ และการปรับลดสัดส่วนของเงินอุดหนุนและเงินโอนที่จัดสรรให้กองทุนต่างๆ เป็นสำคัญ ซึ่งทำให้รายจ่ายประจำของรัฐบาลสูงขึ้น ส่วนการลงทุนโดยรวมของภาครัฐปรับลดลง โดยเป็นผลจากการปรับเพิ่มข้อสมมติในส่วนของเงินโอนไปยังรัฐบาลท้องถิ่นและกองทุนอื่นๆ ซึ่งใช้ข้อสมมติอัตราเบิกจ่ายต่ำกว่าส่วนของรัฐบาลกลาง ทำให้รายจ่ายเพื่อการลงทุนของภาครัฐต่ำลงในภาพรวม
สำหรับความเสี่ยงต่างๆ ที่มีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไปนั้น ที่อาจทำให้เศรษฐกิจขยายตัว ต่ำกว่ากรณีฐาน ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อาจปรับสูงขึ้นจากอุปทานน้ำมันที่มีความไม่แน่นอนเพราะได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลายประการ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่อาจปรับลดลงอีกหากเสถียรภาพทาง การเมืองกลับแย่ลงกว่าแนวโน้มปัจจุบัน เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่อาจขยายตัวต่ำกว่าที่คาดจากปัญหา Subprime ในสหรัฐฯ ที่รุนแรงกว่าที่คาด และค่าเงินบาทที่อาจแข็งค่าขึ้นรวดเร็วกว่าในกรณีฐาน ขณะที่ความเสี่ยงที่อาจทำให้เศรษฐกิจขยายตัวสูงกว่ากรณีฐาน ได้แก่ แรงกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่อาจมากกว่าคาด ทั้งนี้ คณกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2550 จะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.8 สำหรับปี 2551 และ 2552 คณะกรรมการฯ คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 4.5-6 โดยโอกาสที่จะเกิดขึ้นมีประมาณร้อยละ 93.4 และ 80.8 ตามลำดับ
ส่วนความเสี่ยงต่างๆ ต่ออัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปนั้น ที่อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงกว่ากรณีฐาน คือราคาน้ำมัน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มิใช่เชื้อเพลิงอื่นๆ รวมทั้งราคาพืชผลเกษตรที่อาจสูงกว่าคาด การส่งผ่านต้นทุนที่อาจรุนแรงกว่าที่ประเมินไว้ในกรณีฐาน การพิจารณาปรับเพดานภาษีสรรพสามิตในส่วนของบุหรี่และสุรา รวมทั้งความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม อย่างไรก็ดี อุปสงค์ในประเทศที่อาจฟื้นตัวช้ากว่าคาด และค่าเงินบาทที่โน้มแข็งขึ้น อาจจะทำให้อัตราเงินเฟ้อต่ำกว่ากรณีฐานได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่ามีโอกาสร้อยละ 92.3 ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 2.8-4 ในปี 2551 สูงกว่าช่วงประมาณการเดิม และมีโอกาสร้อยละ 89.1 ที่จะเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.8-3.3 ในปี 2552 สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน คณะกรรมการฯ คาดว่ามีโอกาสร้อยละ 94.3 ที่จะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.3-2.3 ในปี 2551 สูงกว่าช่วงประมาณการเดิมเล็กน้อย และมีโอกาสร้อยละ 81.4 ที่จะเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5-2.5 ในปี 2552
การดำเนินนโยบายการเงินในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
การตัดสินนโยบายของคณะกรรมการฯ มีประเด็นสำคัญในการพิจารณา ดังนี้
1. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2550 คณะกรรมการฯ เห็นว่าอุปสงค์ในประเทศเริ่มฟื้นตัวและการส่งออกยังขยายตัวได้ดี สำหรับอัตราเงินเฟ้อเริ่มเร่งตัวขึ้นตามราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก นอกจากนี้ การส่งผ่านของต้นทุนไปยังราคาสินค้าและบริการอื่นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น โดยในภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีแรงส่งที่ดีขึ้น แต่ความเสี่ยงต่อการเติบโตยังมีอยู่โดยเฉพาะจากเศรษฐกิจโลก สำหรับความเสี่ยงด้านราคามีมากขึ้นกว่าการประชุมครั้งก่อน อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานน่าจะยังอยู่ภายในช่วงเป้าหมายตลอด 8 ไตรมาสข้างหน้า คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี
2. ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2551 คณะกรรมการฯ เห็นว่าอุปสงค์ในประเทศมีสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง ในขณะที่การส่งออกยังขยายตัวได้ดี สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มที่จะเร่งตัวขึ้นต่อไปอีกระยะหนึ่งจากราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะปรับสูงขึ้นตามอุปสงค์ในประเทศที่กำลังฟื้นตัวและการส่งผ่านต้นทุน แต่น่าจะยังอยู่ภายในช่วงเป้าหมายตลอด 8 ไตรมาสข้างหน้า ทั้งนี้ ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีแรงส่งที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับการประชุมครั้งก่อนจากอุปสงค์ภายในประเทศ แต่ความไม่แน่นอนของความเสี่ยงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อมีมากขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป คณะกรรมการฯ จึงยังให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี
ข้อมูลเพิ่มเติม : วรารัตน์ เขมังกรณ์ โทร. 0 2356 7876 E-mail: vararatk@bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งตัวขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 และ 2 โดยเป็นผลจากการลงทุนและการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ ภาครัฐ มีการเร่งใช้จ่ายและการส่งออกยังคงขยายตัวได้ดี ทำให้ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2550 เศรษฐกิจไทยขยายตัวจาก ระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5
ข้อมูลเครื่องชี้ล่าสุดในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนสะท้อนการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของการลงทุนและ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญคือความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภคที่เริ่มปรับสูงขึ้นจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ แรงกระตุ้นจากภาครัฐยังดีอยู่และการส่งออกขยายตัวได้ดีเกินคาด อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังมีความเปราะบางจากความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันที่แพงขึ้น รวมทั้งความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาลใหม่อันจะส่งผลถึงความต่อเนื่องของนโยบายของภาครัฐ
สำหรับเสถียรภาพโดยรวมของเศรษฐกิจ แรงกดดันด้านราคาเริ่มสูงขึ้นในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 หลังจากที่อยู่ในระดับต่ำมาตลอดช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี สาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เร่งตัวสูงขึ้นมากและ ทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับสูงขึ้นและส่งผ่านไปยังค่าโดยสารสาธารณะ นอกจากนี้ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มิใช่เชื้อเพลิงเร่งตัวขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้นและทำให้มีการทยอยปรับขึ้นราคาสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงส่วนที่ทางการมีมาตรการควบคุมดูแล ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับสูงขึ้นในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 มาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.9 และ 1.1 ตามลำดับ
ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 ก่อนที่จะเริ่มฟื้นตัวในไตรมาสที่ 3 มิได้มีผลกระทบต่อ ฐานะการเงินของระบบธนาคารพาณิชย์ ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญ ในส่วนของระบบธนาคารพาณิชย์ แม้ว่าสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่เงินกองทุนยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล และความสามารถในการทำกำไรในภาพรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี ด้านภาคธุรกิจ ความสามารถในการทำกำไรปรับสูงขึ้น และสำหรับภาคครัวเรือน สัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ยังอยู่ในระดับต่ำในภาพรวม อย่างไรก็ดี ครัวเรือนกลุ่มที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางมีอัตราการผิดนัดชำระหนี้ที่สูงขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า และเป็นประเด็นที่จำเป็นต้องติดตามต่อไปอีกระยะหนึ่งเพื่อให้มั่นใจว่าไม่เกิดปัญหาต่อเนื่อง
เสถียรภาพต่างประเทศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ดุลการค้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 และ 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 4 ยังคงเกินดุลสูง ขณะที่ดุลบริการปรับตัวดีขึ้นและล่าสุดกลับมาเกินดุล ในภาพรวมทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลสูงต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา
การคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ เมื่อเทียบกับข้อสมมติประกอบการคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนก่อนหน้า
1. ราคาน้ำมันดูไบในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 สูงกว่าที่ประเมินไว้ค่อนข้างมาก ทำให้ข้อสมมติราคาน้ำมันดูไบปรับสูงขึ้นมาเฉลี่ยอยู่ที่ 85.5 และ 86.0 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในปี 2551 และ 2552 ตามลำดับ และส่งผลให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับสูงขึ้นเช่นกัน
2. ข้อสมมติราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับสูงขึ้นตามราคาข้าวและยางพารา ขณะที่ข้อสมมติราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มิใช่เชื้อเพลิงในตลาดโลกปรับสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบทดแทนด้านการเกษตรเพื่อการผลิตพลังงานชีวภาพ และสินค้าในหมวดโลหะพื้นฐาน
3. อัตราดอกเบี้ย Fed Funds มีแนวโน้มปรับต่ำลงในไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 จากปัญหา Subprime ในสหรัฐฯ เป็นสำคัญ จากนั้นให้ทรงตัวอยู่ ณ ระดับร้อยละ 3.50 ต่อปี ตลอดช่วงประมาณการ
4. ข้อสมมติการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าในปี 2550 สูงกว่าที่ประเมินไว้ครั้งก่อนจากข้อมูลจริงล่าสุด อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มชะลอลงมากกว่าเดิมในปี 2551 จากปัญหา Subprime ในสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังประเทศอื่นๆ ก่อนที่จะปรับตัวดีขึ้นในปี 2552
5. ค่าเงินในภูมิภาคมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นมากกว่าข้อสมมติเดิมจากแนวโน้มค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่อ่อนลง เป็นสำคัญ
6. ข้อสมมติรายจ่ายเพื่อการอุปโภคของภาครัฐในปีงบประมาณ 2551 และ 2552 สูงขึ้นกว่าเดิมจากการปรับ ข้อสมมติเกี่ยวกับโครงสร้างงบประมาณใหม่ และการปรับลดสัดส่วนของเงินอุดหนุนและเงินโอนที่จัดสรรให้กองทุนต่างๆ เป็นสำคัญ ซึ่งทำให้รายจ่ายประจำของรัฐบาลสูงขึ้น ส่วนการลงทุนโดยรวมของภาครัฐปรับลดลง โดยเป็นผลจากการปรับเพิ่มข้อสมมติในส่วนของเงินโอนไปยังรัฐบาลท้องถิ่นและกองทุนอื่นๆ ซึ่งใช้ข้อสมมติอัตราเบิกจ่ายต่ำกว่าส่วนของรัฐบาลกลาง ทำให้รายจ่ายเพื่อการลงทุนของภาครัฐต่ำลงในภาพรวม
สำหรับความเสี่ยงต่างๆ ที่มีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไปนั้น ที่อาจทำให้เศรษฐกิจขยายตัว ต่ำกว่ากรณีฐาน ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อาจปรับสูงขึ้นจากอุปทานน้ำมันที่มีความไม่แน่นอนเพราะได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลายประการ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่อาจปรับลดลงอีกหากเสถียรภาพทาง การเมืองกลับแย่ลงกว่าแนวโน้มปัจจุบัน เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่อาจขยายตัวต่ำกว่าที่คาดจากปัญหา Subprime ในสหรัฐฯ ที่รุนแรงกว่าที่คาด และค่าเงินบาทที่อาจแข็งค่าขึ้นรวดเร็วกว่าในกรณีฐาน ขณะที่ความเสี่ยงที่อาจทำให้เศรษฐกิจขยายตัวสูงกว่ากรณีฐาน ได้แก่ แรงกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่อาจมากกว่าคาด ทั้งนี้ คณกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2550 จะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.8 สำหรับปี 2551 และ 2552 คณะกรรมการฯ คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 4.5-6 โดยโอกาสที่จะเกิดขึ้นมีประมาณร้อยละ 93.4 และ 80.8 ตามลำดับ
ส่วนความเสี่ยงต่างๆ ต่ออัตราเงินเฟ้อในระยะต่อไปนั้น ที่อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงกว่ากรณีฐาน คือราคาน้ำมัน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มิใช่เชื้อเพลิงอื่นๆ รวมทั้งราคาพืชผลเกษตรที่อาจสูงกว่าคาด การส่งผ่านต้นทุนที่อาจรุนแรงกว่าที่ประเมินไว้ในกรณีฐาน การพิจารณาปรับเพดานภาษีสรรพสามิตในส่วนของบุหรี่และสุรา รวมทั้งความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม อย่างไรก็ดี อุปสงค์ในประเทศที่อาจฟื้นตัวช้ากว่าคาด และค่าเงินบาทที่โน้มแข็งขึ้น อาจจะทำให้อัตราเงินเฟ้อต่ำกว่ากรณีฐานได้ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่ามีโอกาสร้อยละ 92.3 ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 2.8-4 ในปี 2551 สูงกว่าช่วงประมาณการเดิม และมีโอกาสร้อยละ 89.1 ที่จะเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.8-3.3 ในปี 2552 สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน คณะกรรมการฯ คาดว่ามีโอกาสร้อยละ 94.3 ที่จะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.3-2.3 ในปี 2551 สูงกว่าช่วงประมาณการเดิมเล็กน้อย และมีโอกาสร้อยละ 81.4 ที่จะเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5-2.5 ในปี 2552
การดำเนินนโยบายการเงินในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
การตัดสินนโยบายของคณะกรรมการฯ มีประเด็นสำคัญในการพิจารณา ดังนี้
1. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2550 คณะกรรมการฯ เห็นว่าอุปสงค์ในประเทศเริ่มฟื้นตัวและการส่งออกยังขยายตัวได้ดี สำหรับอัตราเงินเฟ้อเริ่มเร่งตัวขึ้นตามราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก นอกจากนี้ การส่งผ่านของต้นทุนไปยังราคาสินค้าและบริการอื่นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น โดยในภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีแรงส่งที่ดีขึ้น แต่ความเสี่ยงต่อการเติบโตยังมีอยู่โดยเฉพาะจากเศรษฐกิจโลก สำหรับความเสี่ยงด้านราคามีมากขึ้นกว่าการประชุมครั้งก่อน อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานน่าจะยังอยู่ภายในช่วงเป้าหมายตลอด 8 ไตรมาสข้างหน้า คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี
2. ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2551 คณะกรรมการฯ เห็นว่าอุปสงค์ในประเทศมีสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง ในขณะที่การส่งออกยังขยายตัวได้ดี สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มที่จะเร่งตัวขึ้นต่อไปอีกระยะหนึ่งจากราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะปรับสูงขึ้นตามอุปสงค์ในประเทศที่กำลังฟื้นตัวและการส่งผ่านต้นทุน แต่น่าจะยังอยู่ภายในช่วงเป้าหมายตลอด 8 ไตรมาสข้างหน้า ทั้งนี้ ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีแรงส่งที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับการประชุมครั้งก่อนจากอุปสงค์ภายในประเทศ แต่ความไม่แน่นอนของความเสี่ยงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อมีมากขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป คณะกรรมการฯ จึงยังให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี
ข้อมูลเพิ่มเติม : วรารัตน์ เขมังกรณ์ โทร. 0 2356 7876 E-mail: vararatk@bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--