ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ผลประกอบการธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 1 ปี 51 เพิ่มขึ้น 31.4% อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ผลประกอบการธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 1/51 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยกำไรจากการ
ดำเนินงานอยู่ที่ 4.8 หมื่น ล.บาท เพิ่มขึ้น 31.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อน กำไรสุทธิอยู่ที่ 26,000 ล.บาท เพิ่มขึ้น 28% จากช่วงเดียวกัน
ปีก่อน และหนี้สงสัยจะสูญ (เอ็นพีแอล) ที่กันสำรองตามมาตรฐานบัญชีสากล IAS39 ลดลงมากจากปีก่อน สำหรับการปล่อยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นใน
ไตรมาส 1/51 มาอยู่ที่ 7.3% ถือว่าเร่งตัวขึ้นจากไตรมาส 4/50 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งจากสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อภาคธุรกิจ ขณะที่ยอดคงค้าง
เอ็นพีแอลไตรมาส 1/51 อยู่ที่ 11,800 ล.บาท สูงกว่าไตรมาส 4/50 โดยเป็นการเพิ่มจากเอ็นพีแอลรายใหม่ และเอ็นพีแอลเดิมที่กลับเข้ามา
ในระบบอีกครั้งตามภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สินเชื่อเพื่อการอุปโภค-บริโภคมีการแข่งขันสูง มีการ
ขยายตัวมากในแง่ของการใช้จ่าย และอาจเป็นความเสี่ยงที่เป็นแรงกดดันเอ็นพีแอลให้ปรับตัวขึ้น จึงอยากให้ ธพ.รักษามาตรฐานการปล่อย
สินเชื่อต่อไป เพื่อช่วยให้เอ็นพีแอลเร่งตัวน้อยลง (ข่าวสด, โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท.สำนักงานภาคใต้รายงานภาวะเศรษฐกิจเดือน ก.พ.51 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ รายงานเศรษฐกิจ
ภาคใต้ประจำเดือน ก.พ.51 ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ทั้งด้านอุปทานและอุปสงค์ โดยด้านอุปทานผลผลิตพืชผลเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 8.0 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตปาล์มน้ำมันและยางพาราเป็นสำคัญ เป็นไปทิศทางเดียวกับการท่องเที่ยวที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน
ปีก่อนร้อยละ 16.9 เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวฝั่งอันดามันและเทศกาลตรุษจีน ขณะที่ด้านการประมงอยู่ในภาวะซบเซา เนื่องจาก
ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นและบางพื้นที่มีลมมรสุม เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรมซึ่งชะลอตัว โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 14.3
ตามอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกที่การผลิตลดลงตามวัตถุดิบและการส่งออก ด้านอุปสงค์การอุปโภคภาคเอกชนขยายตัวด้วยดัชนีที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4
สูงกว่าอัตราเพิ่มร้อยละ 1.4 ในเดือนก่อน เนื่องจากดัชนีทุกหมวดเพิ่มขึ้น ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนโดยภาพรวมลดลง การเบิกจ่าย งปม.
กลางลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 45.5 ในส่วนของอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 5.6 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 3.9 ในเดือนก่อน อันเป็น
ผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 เนื่องจากราคาอาหารสูงขึ้นเกือบทุกประเภท สำหรับภาคการเงิน
ณ สิ้นเดือน ก.พ.51 มียอดเงินฝากเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 ขณะที่สินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 จากปีก่อน (ผู้จัดการรายวัน)
3. ยอดนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยช่วง 3 เดือนแรกปี 51 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 38% รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ยอดนำเข้า
สินค้าฟุ่มเฟือยช่วง 3 เดือนแรกของปี 51 (ม.ค.-มี.ค.) ว่า มีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 42,898.3 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวเพิ่มขึ้น 38%
ของสัดส่วนการนำเข้าทั้งหมดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีมูลค่าการนำเข้ารวม 31,086 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว 3.74%
ทั้งนี้ สินค้าที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุดคือ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนมูลค่า 858.7 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว 31.39% ส่วนสินค้าที่น่าจับตามอง
เป็นพิเศษคือ เครื่องประดับอัญมณี ซึ่งมีอัตราการนำเข้าขยายตัวสูงสุดในบรรดาสินค้าฟุ่มเฟือยที่นำเข้าทั้งหมด 20 รายการ โดยมีอัตราการ
ขยายตัวถึง 288.52% (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน สรอ.ในช่วงเดือน เม.ย.51 ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 26 ปี รายงานจากนิวยอร์ค
เมื่อ 25 เม.ย.51 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน สรอ.จากผลสำรวจโดยรอยเตอร์ร่วมกับ ม.มิชิแกนลดลงในเดือน เม.ย.51 มาอยู่
ที่ระดับ 62.6 จากระดับ 69.5 ในเดือน มี.ค.51 ลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 63.2 โดยอยู่ในระดับต่ำสุด
ในรอบ 26 ปีนับตั้งแต่อยู่ที่ระดับ 62.0 ในเดือน มี.ค.25 ผลจากความกังวลของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจากราคาอาหารและ
น้ำมัน ในขณะที่รายได้ส่วนบุคคลลดลงและมีข่าวแพร่สะพัดทั่วไปว่าราคาบ้านกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อ
ในช่วง 1 ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.8 จากร้อยละ 4.3 ในเดือน มี.ค.51 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.33 ในขณะที่ดัชนีชี้วัดความ
คาดหวังเกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคลลดลงมาอยู่ที่ระดับ 100 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.36 จากระดับ 112 ในเดือน มี.ค.51 และดัชนีชี้วัด
ฐานะการเงินในปัจจุบันลดลงมาอยู่ที่ระดับ 86 จากระดับ 93 ในเดือนก่อน ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.24 โดย 9 ใน 10 คนของผู้ถูกสำรวจ
เชื่อว่าเศรษฐกิจได้เข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว (รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจของอังกฤษในไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 3 ปี จากปัญหาด้านสินเชื่อ รายงานจากลอนดอน เมื่อ
วันที่ 25 เม.ย.51 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของอังกฤษในไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 ลดลง
จากร้อยละ 0.6 ในไตรมาสก่อนหน้า และเทียบกับที่เติบโตสูงสุดร้อยละ 0.9 เมื่อสิ้นปี 49 นับเป็นอัตราการเติบโตต่ำสุดในรอบ 3 ปี
เนื่องจากปัญหาความผันผวนด้านสินเชื่อ ทั้งนี้ ข้อมูลหลายอย่างแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของอังกฤษในปัจจุบันมีแนวโน้มเติบโตต่ำกว่าศักยภาพ
ที่ควรจะเป็น ทำให้ ธ.กลางอังกฤษต้องเร่งรีบตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารระดับสูงของ ธ.กลางอังกฤษ
ได้ชี้ว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจบางส่วนเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อควบคุมแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อ ขณะที่ตัวเลขหลายอย่างมีผลกระทบเพียง
เล็กน้อยต่อการคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงแบบค่อยเป็นค่อยไปในอนาคต สำหรับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเทียบต่อปี
ในไตรมาสแรกปีนี้ลดลงเล็กน้อยเหลือร้อยละ 2.5 จากร้อยละ 2.8 ในไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน และต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อยที่
ร้อยละ 2.6 (รอยเตอร์)
3. ภาวะเงินเฟ้อของจีนยากที่จะควบคุม รายงานจาก Shanghai เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 51 นาย Peng Zhilong เจ้าหน้าที่
ระดับสูงของสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า จีนประสบความยากลำบากที่จะจำกัดภาวะเงินเฟ้อไม่ให้เกินกว่าร้อยละ 4.8 (เทียบต่อปี)
เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในไตรมาสแรกปีนี้พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดที่ร้อยละ 8.0 ทำให้เป็นการยากที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้ลดต่ำลงตามเป้าหมาย
ทั้งนี้มี 5 ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการจำกัดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งได้แก่อุปสงค์ส่วนเกินจำนวนมากจากการที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้เงิน
ลงทุนจำนวนมากไหลเข้าสู่จีนเพื่อการค้าการลงทุนและการเก็งกำไร การเพิ่มขึ้นของค่าจ้าง การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของทางการจีน
ซึ่งส่งผลให้กิจการมีต้นทุนเพิ่มขึ้น และการสูงขึ้นของราคาทรัพย์สิน นอกจากนั้นนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่เข้มงวดของทางการ และการชะลอตัว
ของเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในปีนี้อย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ อย่างไรก็ตามมีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจีน
จะเผชิญกับภาวะชะงักงัน นับตั้งแต่ที่ทางการจีนต้องการรักษาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพที่ร้อยละ 9.0 ในปีนี้ และอัตรา
เงินเฟ้อยังคงอยู่ในเป้าหมายการควบคุม (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน มี.ค.51 ลดลงร้อยละ 0.6 ต่อเดือนดีกว่าที่คาดไว้ รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ
25 เม.ย.51 ผลผลิตโรงงานซึ่งมีสัดส่วนถึงประมาณ 1 ใน 4 ของผลผลิตรวมในประเทศของสิงคโปร์ลดลงร้อยละ 0.6 ในเดือน มี.ค.51
เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 เมื่อเทียบต่อปี ดีกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.1 ต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจาก
ผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของผลผลิตโรงงานทั้งหมดลดลงถึงร้อยละ 15.6 ต่อเดือนและร้อยละ 4.1 ต่อปี
จากผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงส่งผลให้ยอดส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หดตัวร้อยละ 1.6 ต่อเดือน โดยหากเทียบต่อปีลดลง
ร้อยละ 8.5 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกัน ในขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรมยาขยายตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว ซึ่งหากไม่รวมผลผลิต
อุตสาหกรรมยาแล้ว ผลผลิตโรงงานในเดือน มี.ค.51 จะหดตัวร้อยละ 3.5 ถึง 4.0 ต่อเดือน ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ผลผลิต
โรงงานของสิงคโปร์เปลี่ยนแปลงไปมาระหว่างการขยายตัวและหดตัวอันเป็นผลจากความผันผวนของผลผลิตอุตสาหกรรมยาซึ่งมีสัดส่วนประมาณ
1 ใน 5 ของผลผลิตโรงงานทั้งหมด (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 เม.ย. 51 25 เม.ย. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.655 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.4302/31.7597 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25000 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 832.19/18.57 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,400/13,500 13,350/13,450 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 106.15 108.87 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) ) 36.09*/32.94** 36.09*/32.94** 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 23 เม.ย.51
**ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 24 เม.ย.51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ผลประกอบการธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 1 ปี 51 เพิ่มขึ้น 31.4% อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ผลประกอบการธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 1/51 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ โดยกำไรจากการ
ดำเนินงานอยู่ที่ 4.8 หมื่น ล.บาท เพิ่มขึ้น 31.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อน กำไรสุทธิอยู่ที่ 26,000 ล.บาท เพิ่มขึ้น 28% จากช่วงเดียวกัน
ปีก่อน และหนี้สงสัยจะสูญ (เอ็นพีแอล) ที่กันสำรองตามมาตรฐานบัญชีสากล IAS39 ลดลงมากจากปีก่อน สำหรับการปล่อยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นใน
ไตรมาส 1/51 มาอยู่ที่ 7.3% ถือว่าเร่งตัวขึ้นจากไตรมาส 4/50 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งจากสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อภาคธุรกิจ ขณะที่ยอดคงค้าง
เอ็นพีแอลไตรมาส 1/51 อยู่ที่ 11,800 ล.บาท สูงกว่าไตรมาส 4/50 โดยเป็นการเพิ่มจากเอ็นพีแอลรายใหม่ และเอ็นพีแอลเดิมที่กลับเข้ามา
ในระบบอีกครั้งตามภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สินเชื่อเพื่อการอุปโภค-บริโภคมีการแข่งขันสูง มีการ
ขยายตัวมากในแง่ของการใช้จ่าย และอาจเป็นความเสี่ยงที่เป็นแรงกดดันเอ็นพีแอลให้ปรับตัวขึ้น จึงอยากให้ ธพ.รักษามาตรฐานการปล่อย
สินเชื่อต่อไป เพื่อช่วยให้เอ็นพีแอลเร่งตัวน้อยลง (ข่าวสด, โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท.สำนักงานภาคใต้รายงานภาวะเศรษฐกิจเดือน ก.พ.51 ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ รายงานเศรษฐกิจ
ภาคใต้ประจำเดือน ก.พ.51 ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ทั้งด้านอุปทานและอุปสงค์ โดยด้านอุปทานผลผลิตพืชผลเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 8.0 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตปาล์มน้ำมันและยางพาราเป็นสำคัญ เป็นไปทิศทางเดียวกับการท่องเที่ยวที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน
ปีก่อนร้อยละ 16.9 เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวฝั่งอันดามันและเทศกาลตรุษจีน ขณะที่ด้านการประมงอยู่ในภาวะซบเซา เนื่องจาก
ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นและบางพื้นที่มีลมมรสุม เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรมซึ่งชะลอตัว โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 14.3
ตามอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกที่การผลิตลดลงตามวัตถุดิบและการส่งออก ด้านอุปสงค์การอุปโภคภาคเอกชนขยายตัวด้วยดัชนีที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4
สูงกว่าอัตราเพิ่มร้อยละ 1.4 ในเดือนก่อน เนื่องจากดัชนีทุกหมวดเพิ่มขึ้น ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนโดยภาพรวมลดลง การเบิกจ่าย งปม.
กลางลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 45.5 ในส่วนของอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 5.6 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 3.9 ในเดือนก่อน อันเป็น
ผลจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 เนื่องจากราคาอาหารสูงขึ้นเกือบทุกประเภท สำหรับภาคการเงิน
ณ สิ้นเดือน ก.พ.51 มียอดเงินฝากเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 ขณะที่สินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 จากปีก่อน (ผู้จัดการรายวัน)
3. ยอดนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยช่วง 3 เดือนแรกปี 51 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 38% รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ยอดนำเข้า
สินค้าฟุ่มเฟือยช่วง 3 เดือนแรกของปี 51 (ม.ค.-มี.ค.) ว่า มีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 42,898.3 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวเพิ่มขึ้น 38%
ของสัดส่วนการนำเข้าทั้งหมดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีมูลค่าการนำเข้ารวม 31,086 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว 3.74%
ทั้งนี้ สินค้าที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุดคือ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนมูลค่า 858.7 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขยายตัว 31.39% ส่วนสินค้าที่น่าจับตามอง
เป็นพิเศษคือ เครื่องประดับอัญมณี ซึ่งมีอัตราการนำเข้าขยายตัวสูงสุดในบรรดาสินค้าฟุ่มเฟือยที่นำเข้าทั้งหมด 20 รายการ โดยมีอัตราการ
ขยายตัวถึง 288.52% (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน สรอ.ในช่วงเดือน เม.ย.51 ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 26 ปี รายงานจากนิวยอร์ค
เมื่อ 25 เม.ย.51 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน สรอ.จากผลสำรวจโดยรอยเตอร์ร่วมกับ ม.มิชิแกนลดลงในเดือน เม.ย.51 มาอยู่
ที่ระดับ 62.6 จากระดับ 69.5 ในเดือน มี.ค.51 ลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 63.2 โดยอยู่ในระดับต่ำสุด
ในรอบ 26 ปีนับตั้งแต่อยู่ที่ระดับ 62.0 ในเดือน มี.ค.25 ผลจากความกังวลของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจากราคาอาหารและ
น้ำมัน ในขณะที่รายได้ส่วนบุคคลลดลงและมีข่าวแพร่สะพัดทั่วไปว่าราคาบ้านกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อ
ในช่วง 1 ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.8 จากร้อยละ 4.3 ในเดือน มี.ค.51 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.33 ในขณะที่ดัชนีชี้วัดความ
คาดหวังเกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคลลดลงมาอยู่ที่ระดับ 100 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.36 จากระดับ 112 ในเดือน มี.ค.51 และดัชนีชี้วัด
ฐานะการเงินในปัจจุบันลดลงมาอยู่ที่ระดับ 86 จากระดับ 93 ในเดือนก่อน ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.24 โดย 9 ใน 10 คนของผู้ถูกสำรวจ
เชื่อว่าเศรษฐกิจได้เข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว (รอยเตอร์)
2. เศรษฐกิจของอังกฤษในไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 3 ปี จากปัญหาด้านสินเชื่อ รายงานจากลอนดอน เมื่อ
วันที่ 25 เม.ย.51 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของอังกฤษในไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 ลดลง
จากร้อยละ 0.6 ในไตรมาสก่อนหน้า และเทียบกับที่เติบโตสูงสุดร้อยละ 0.9 เมื่อสิ้นปี 49 นับเป็นอัตราการเติบโตต่ำสุดในรอบ 3 ปี
เนื่องจากปัญหาความผันผวนด้านสินเชื่อ ทั้งนี้ ข้อมูลหลายอย่างแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของอังกฤษในปัจจุบันมีแนวโน้มเติบโตต่ำกว่าศักยภาพ
ที่ควรจะเป็น ทำให้ ธ.กลางอังกฤษต้องเร่งรีบตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารระดับสูงของ ธ.กลางอังกฤษ
ได้ชี้ว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจบางส่วนเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อควบคุมแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อ ขณะที่ตัวเลขหลายอย่างมีผลกระทบเพียง
เล็กน้อยต่อการคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงแบบค่อยเป็นค่อยไปในอนาคต สำหรับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเทียบต่อปี
ในไตรมาสแรกปีนี้ลดลงเล็กน้อยเหลือร้อยละ 2.5 จากร้อยละ 2.8 ในไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน และต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อยที่
ร้อยละ 2.6 (รอยเตอร์)
3. ภาวะเงินเฟ้อของจีนยากที่จะควบคุม รายงานจาก Shanghai เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 51 นาย Peng Zhilong เจ้าหน้าที่
ระดับสูงของสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า จีนประสบความยากลำบากที่จะจำกัดภาวะเงินเฟ้อไม่ให้เกินกว่าร้อยละ 4.8 (เทียบต่อปี)
เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในไตรมาสแรกปีนี้พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดที่ร้อยละ 8.0 ทำให้เป็นการยากที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้ลดต่ำลงตามเป้าหมาย
ทั้งนี้มี 5 ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการจำกัดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งได้แก่อุปสงค์ส่วนเกินจำนวนมากจากการที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้เงิน
ลงทุนจำนวนมากไหลเข้าสู่จีนเพื่อการค้าการลงทุนและการเก็งกำไร การเพิ่มขึ้นของค่าจ้าง การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของทางการจีน
ซึ่งส่งผลให้กิจการมีต้นทุนเพิ่มขึ้น และการสูงขึ้นของราคาทรัพย์สิน นอกจากนั้นนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่เข้มงวดของทางการ และการชะลอตัว
ของเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในปีนี้อย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ อย่างไรก็ตามมีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจีน
จะเผชิญกับภาวะชะงักงัน นับตั้งแต่ที่ทางการจีนต้องการรักษาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพที่ร้อยละ 9.0 ในปีนี้ และอัตรา
เงินเฟ้อยังคงอยู่ในเป้าหมายการควบคุม (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์ในเดือน มี.ค.51 ลดลงร้อยละ 0.6 ต่อเดือนดีกว่าที่คาดไว้ รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ
25 เม.ย.51 ผลผลิตโรงงานซึ่งมีสัดส่วนถึงประมาณ 1 ใน 4 ของผลผลิตรวมในประเทศของสิงคโปร์ลดลงร้อยละ 0.6 ในเดือน มี.ค.51
เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 เมื่อเทียบต่อปี ดีกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7.1 ต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจาก
ผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของผลผลิตโรงงานทั้งหมดลดลงถึงร้อยละ 15.6 ต่อเดือนและร้อยละ 4.1 ต่อปี
จากผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงส่งผลให้ยอดส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หดตัวร้อยละ 1.6 ต่อเดือน โดยหากเทียบต่อปีลดลง
ร้อยละ 8.5 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกัน ในขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรมยาขยายตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว ซึ่งหากไม่รวมผลผลิต
อุตสาหกรรมยาแล้ว ผลผลิตโรงงานในเดือน มี.ค.51 จะหดตัวร้อยละ 3.5 ถึง 4.0 ต่อเดือน ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ผลผลิต
โรงงานของสิงคโปร์เปลี่ยนแปลงไปมาระหว่างการขยายตัวและหดตัวอันเป็นผลจากความผันผวนของผลผลิตอุตสาหกรรมยาซึ่งมีสัดส่วนประมาณ
1 ใน 5 ของผลผลิตโรงงานทั้งหมด (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 28 เม.ย. 51 25 เม.ย. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.655 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.4302/31.7597 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25000 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 832.19/18.57 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,400/13,500 13,350/13,450 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 106.15 108.87 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) ) 36.09*/32.94** 36.09*/32.94** 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 23 เม.ย.51
**ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 24 เม.ย.51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--