ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงตามเฟด นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย
ถึงกรณีที่ ธ.กลางสหรัฐ (เฟด) จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกในการประชุมวันที่ 29-30 เม.ย.นี้ว่า ทิศทางดอกเบี้ยต้อง
ดูสภาพเศรษฐกิจเป็นหลัก ซึ่งขณะนี้เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ดีที่ 5% และอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง จึงมีความจำเป็นต้องดูแลต่อไป
เช่นเดียวกับราคาน้ำมันที่สูง ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงที่ ธปท.จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ส่วนประเด็นผลกระทบจากการที่เฟดปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยต่อการไหลเข้าของเงินทุนนั้น เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบ เนื่องจากการปัจจัยในการพิจารณานำเงินเข้าลงทุน นักลงทุนส่วนใหญ่
จะดูจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงมากกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งขณะนี้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของไทยต่ำมาก จนไม่ดึงดูดให้นักลงทุนนำเงิน
เข้ามา นอกจากนี้ นักลงทุนจะพิจารณาอัตราเงินเฟ้อประกอบด้วย เพราะหลังจากที่สหรัฐเกิดปัญหาวิกฤตซับไพร์มทำให้ทั่วโลกระมัดระวัง
สภาพคล่องมากขึ้น (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ปัญหาซับไพร์มของสหรัฐเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินของไทยในระยะต่อไป ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)
ระบุในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อเดือน เม.ย.51 ว่า ความเสี่ยงจากปัจจัยต่างประเทศที่เป็นผลจากปัญหาซับไพร์มของสหรัฐ ทำให้เกิดความ
ผันผวนในตลาดการเงิน และการปรับขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะมีผลต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินของไทยมากขึ้น
ในระยะต่อไป โดยความเสี่ยงที่มีผลต่อภาคธุรกิจในระยะต่อไป จะมาจากการที่ราคาน้ำมัน ราคาวัตถุดิบและค่าขนส่งมีแนวโน้มเร่งตัวมากขึ้น
ขณะที่ผู้ผลิตปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการได้จำกัดจากกำลังซื้อภายในประเทศที่ยังไม่ปรับตัวดีขึ้นมากนัก ประกอบกับทางการมีนโนบายควบคุม
การปรับขึ้นราคาสินค้าที่เข้มงวด นอกจากนี้ ในส่วนของธุรกิจที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการชะลอตัวของ
เศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้น ซึ่งแม้ฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจไทยยังมีความเข้มแข็งพอที่จะรองรับความเสี่ยงจากปัจจัยต่างๆ ได้ แต่ก็ถือว่า
ความไม่แน่นอนยังมีอยู่สูง ทำให้ควรติดตามความเสี่ยงต่างๆ อย่างใกล้ชิด (กรุงเทพธุรกิจ)
3. สศค.ประเมินอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกปี 51 ที่ใกล้เคียง 6% นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกปี 51 ว่า จะขยายตัวได้ใกล้เคียงระดับ 6% และ
จะขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 5.6-6% ในปี 51 โดยขณะนี้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้สมดุลมากขึ้น ซึ่งได้รับแรงขับเคลื่อนสำคัญ
จากการบริโภคภายในประเทศ เนื่องจากรายได้ประชาชนเพิ่มขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรที่สูงขึ้น ส่งผลให้การบริโภคปรับตัวสูงขึ้น สะท้อนจาก
ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งที่ขยายตัวสูงถึง 39% ในไตรมาสแรก เพิ่มจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวถึง 22.4% เช่นเดียวกับยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์
ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกที่ 2.1% หลังจากที่หดตัวมาตลอดในช่วงปี 50 สำหรับประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศ
ที่ได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงไตรมาสแรกปี 51 ซึ่งเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นที่ระดับ 5% จากระดับ 2.9% ในไตรมาสก่อนหน้า
สูงกว่าเป้าหมายที่ สศค.ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั้งปี 51 ไว้ที่ 4.5% เนื่องจากราคาน้ำมัน และราคาสินค้าในหมวดอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น
(โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
4. สศอ.ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวภาคอุตสาหกรรมปี 51 นางอรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการ
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวภาคอุตสาหกรรมปี 51 เป็น 6.6-7.0%
จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโต 5.3% โดยเห็นว่าแนวโน้มของเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งจะช่วยฟื้นความเชื่อมั่นจาก
ผู้บริโภคและนักลงทุนได้ (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
คาดว่าเศรษฐกิจ สรอ. ในไตรมาสที่ 1 จะอ่อนตัวลงมากที่สุดในรอบกว่า 5 ปี รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 51
ผลการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดว่าในไตรมาสแรกปีนี้เศรษฐกิจ สรอ. จะอ่อนตัวลงอย่างมากโดยจะขยายตัวน้อยที่สุดในรอบมากกว่า 5 ปี
นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 45 เนื่องจากผู้บริโภคควบคุมการใช้จ่าย และการจ้างงานลดลง ประกอบกับความวิตกว่าเศรษฐกิจจะก้าวเข้าสู่
ภาวะหดตัวในปีนี้ ทั้งนี้คาดว่า GDP ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศของ สรอ. จะชะลอตัวลงเหลือเพียงร้อยละ 0.2
ในปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว และลดลงจากร้อยละ 0.6 เมื่อไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตามตัวเลขสินค้าคงคลังที่เปิดเผยเมื่อ
เร็วๆนี้บ่งชี้ว่ามีการสะสมสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นจึงอาจเป็นไปได้ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตเนื่องจากมีการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น แต่หากไม่อาจจำหน่าย
ได้ก็มีความเป็นไปได้ว่าเศรษฐกิจจะกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยในไตรมาสต่อไปตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ที่เคยคาดไว้ก่อนหน้า
นั้นว่าเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะหดตัวในปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจเติบโตน้อยมากประกอบกับความยุ่งยากที่เกิดกับตลาดสินเชื่อที่เป็นมาอย่าง
ต่อเนื่องรวมทั้งตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ตกต่ำส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สรอ. ทำให้มีความเสี่ยงดังกล่าว (รอยเตอร์)
รอยเตอร์คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.51 จะลดลงเมื่อเทียบต่อเดือนมากที่สุดในรอบ 6 เดือน รายงาน
จากโซล เมื่อ 28 เม.ย.51 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ซึ่งประกอบด้วย
ผลผลิตโรงงาน การทำเหมืองและการผลิตกระแสไฟฟ้าจะลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือน มี.ค.51 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน หลังจากลดลง
ร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.พ. ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ลดลงร้อยละ 1.0 ในเดือน ก.ย.50 โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการลดลงของผลผลิต
ชิปคอมพิวเตอร์ซึ่งได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงทำให้ความต้องการจากต่างประเทศลดลง ในขณะที่วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น
นอกจากนี้ การจ้างงานในประเทศที่ชะลอตัวลงยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและความต้องการในประเทศซึ่งจากผลสำรวจ
โดยภาครัฐชี้ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเกาหลีใต้ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือนในเดือน มี.ค. เช่นเดียวกับความเชื่อมั่น
ของภาคธุรกิจที่ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 19 เดือนในเดือน เม.ย. ในขณะที่การจ้างงานใหม่ในเดือน มี.ค.ขยายตัวในอัตราต่ำสุด
ในรอบกว่า 3 ปี ทั้งนี้ เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7 ในไตรมาสแรกที่ผ่านมา ต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปี (รอยเตอร์)
รอยเตอร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน เม.ย.51 ของเกาหลีใต้จะอยู่ที่ร้อยละ 3.9 ต่อปีเท่ากับเดือนก่อน รายงานจากโซล
เมื่อ 28 เม.ย.51 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในเกาหลีใต้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ต่อปี
ในเดือน เม.ย.51 สูงสุดในรอบ 3 ปี เท่ากับเดือน มี.ค.และ ม.ค. โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ.อยู่ที่ร้อยละ 3.6 ต่อปี นับเป็น
เดือนที่ 5 ติดต่อกันที่อัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปีอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ ธ.กลางเกาหลีใต้กำหนดไว้ระหว่างร้อยละ 2.5
และ 3.5 ต่อปีสำหรับช่วงปี 50 - 52 ทั้งนี้ เป็นผลจากราคาสินค้าและราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ธ.กลางเกาหลีใต้
คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังปีนี้เมื่อความต้องการวัตถุดิบในตลาดโลกชะลอตัวลงตามการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก
โดย ธ.กลางเกาหลีใต้ประมาณการณ์ไว้เมื่อปลายปีที่แล้วว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะอยู่ในระดับเฉลี่ยที่ร้อยละ 3.3 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.5
ในปีก่อน (รอยเตอร์)
คาดว่าการส่งออกของเกาหลีใต้ในไตรมาส 2 ปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 16 รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 28 เม.ย.51 ธ.เพื่อการ
ส่งออกและนำเข้าของเกาหลีใต้ แถลงว่า การส่งออกของเกาหลีใต้ในช่วงเดือน เม.ย. — มิ.ย.51 ยังมีการขยายตัวค่อนข้างดี โดยอาจจะ
ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 16 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 17.5 ในไตรมาสแรก แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจ สรอ. ชะลอตัว
เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังพัฒนาหลายประเทศยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง รวมถึงการที่ในระยะนี้เงินวอนอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับ
เงินดอลลาร์ สรอ. ทำให้คาดว่าจะเป็นแรงสนับสนุนให้อัตราการเติบโตของการส่งออกเทียบต่อปีอยู่ที่ระดับประมาณร้อยละ 10 เนื่องจาก
เงินวอนที่อ่อนค่าลงจะทำให้ราคาสินค้าของเกาหลีใต้สามารถแข่งขันได้และทำกำไรได้มากขึ้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 เม.ย. 51 28 เม.ย. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.727 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.5028/31.8430 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25000 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 836.42/15.11 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,400/13,500 13,400/13,500 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 110.11 106.15 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) ) 36.09*/32.94** 36.09*/32.94** 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 23 เม.ย.51
**ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 24 เม.ย.51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงตามเฟด นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย
ถึงกรณีที่ ธ.กลางสหรัฐ (เฟด) จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกในการประชุมวันที่ 29-30 เม.ย.นี้ว่า ทิศทางดอกเบี้ยต้อง
ดูสภาพเศรษฐกิจเป็นหลัก ซึ่งขณะนี้เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ดีที่ 5% และอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง จึงมีความจำเป็นต้องดูแลต่อไป
เช่นเดียวกับราคาน้ำมันที่สูง ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงที่ ธปท.จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ส่วนประเด็นผลกระทบจากการที่เฟดปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยต่อการไหลเข้าของเงินทุนนั้น เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบ เนื่องจากการปัจจัยในการพิจารณานำเงินเข้าลงทุน นักลงทุนส่วนใหญ่
จะดูจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงมากกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งขณะนี้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของไทยต่ำมาก จนไม่ดึงดูดให้นักลงทุนนำเงิน
เข้ามา นอกจากนี้ นักลงทุนจะพิจารณาอัตราเงินเฟ้อประกอบด้วย เพราะหลังจากที่สหรัฐเกิดปัญหาวิกฤตซับไพร์มทำให้ทั่วโลกระมัดระวัง
สภาพคล่องมากขึ้น (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ปัญหาซับไพร์มของสหรัฐเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินของไทยในระยะต่อไป ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)
ระบุในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อเดือน เม.ย.51 ว่า ความเสี่ยงจากปัจจัยต่างประเทศที่เป็นผลจากปัญหาซับไพร์มของสหรัฐ ทำให้เกิดความ
ผันผวนในตลาดการเงิน และการปรับขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะมีผลต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินของไทยมากขึ้น
ในระยะต่อไป โดยความเสี่ยงที่มีผลต่อภาคธุรกิจในระยะต่อไป จะมาจากการที่ราคาน้ำมัน ราคาวัตถุดิบและค่าขนส่งมีแนวโน้มเร่งตัวมากขึ้น
ขณะที่ผู้ผลิตปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการได้จำกัดจากกำลังซื้อภายในประเทศที่ยังไม่ปรับตัวดีขึ้นมากนัก ประกอบกับทางการมีนโนบายควบคุม
การปรับขึ้นราคาสินค้าที่เข้มงวด นอกจากนี้ ในส่วนของธุรกิจที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการชะลอตัวของ
เศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้น ซึ่งแม้ฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจไทยยังมีความเข้มแข็งพอที่จะรองรับความเสี่ยงจากปัจจัยต่างๆ ได้ แต่ก็ถือว่า
ความไม่แน่นอนยังมีอยู่สูง ทำให้ควรติดตามความเสี่ยงต่างๆ อย่างใกล้ชิด (กรุงเทพธุรกิจ)
3. สศค.ประเมินอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกปี 51 ที่ใกล้เคียง 6% นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาสแรกปี 51 ว่า จะขยายตัวได้ใกล้เคียงระดับ 6% และ
จะขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 5.6-6% ในปี 51 โดยขณะนี้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้สมดุลมากขึ้น ซึ่งได้รับแรงขับเคลื่อนสำคัญ
จากการบริโภคภายในประเทศ เนื่องจากรายได้ประชาชนเพิ่มขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรที่สูงขึ้น ส่งผลให้การบริโภคปรับตัวสูงขึ้น สะท้อนจาก
ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งที่ขยายตัวสูงถึง 39% ในไตรมาสแรก เพิ่มจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวถึง 22.4% เช่นเดียวกับยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์
ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกที่ 2.1% หลังจากที่หดตัวมาตลอดในช่วงปี 50 สำหรับประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ เสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศ
ที่ได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงไตรมาสแรกปี 51 ซึ่งเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นที่ระดับ 5% จากระดับ 2.9% ในไตรมาสก่อนหน้า
สูงกว่าเป้าหมายที่ สศค.ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั้งปี 51 ไว้ที่ 4.5% เนื่องจากราคาน้ำมัน และราคาสินค้าในหมวดอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น
(โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
4. สศอ.ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวภาคอุตสาหกรรมปี 51 นางอรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการ
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวภาคอุตสาหกรรมปี 51 เป็น 6.6-7.0%
จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโต 5.3% โดยเห็นว่าแนวโน้มของเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น หลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งจะช่วยฟื้นความเชื่อมั่นจาก
ผู้บริโภคและนักลงทุนได้ (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
คาดว่าเศรษฐกิจ สรอ. ในไตรมาสที่ 1 จะอ่อนตัวลงมากที่สุดในรอบกว่า 5 ปี รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 51
ผลการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดว่าในไตรมาสแรกปีนี้เศรษฐกิจ สรอ. จะอ่อนตัวลงอย่างมากโดยจะขยายตัวน้อยที่สุดในรอบมากกว่า 5 ปี
นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 45 เนื่องจากผู้บริโภคควบคุมการใช้จ่าย และการจ้างงานลดลง ประกอบกับความวิตกว่าเศรษฐกิจจะก้าวเข้าสู่
ภาวะหดตัวในปีนี้ ทั้งนี้คาดว่า GDP ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศของ สรอ. จะชะลอตัวลงเหลือเพียงร้อยละ 0.2
ในปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว และลดลงจากร้อยละ 0.6 เมื่อไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตามตัวเลขสินค้าคงคลังที่เปิดเผยเมื่อ
เร็วๆนี้บ่งชี้ว่ามีการสะสมสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นจึงอาจเป็นไปได้ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตเนื่องจากมีการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น แต่หากไม่อาจจำหน่าย
ได้ก็มีความเป็นไปได้ว่าเศรษฐกิจจะกลับเข้าสู่ภาวะถดถอยในไตรมาสต่อไปตามการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ที่เคยคาดไว้ก่อนหน้า
นั้นว่าเศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะหดตัวในปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจเติบโตน้อยมากประกอบกับความยุ่งยากที่เกิดกับตลาดสินเชื่อที่เป็นมาอย่าง
ต่อเนื่องรวมทั้งตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ตกต่ำส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สรอ. ทำให้มีความเสี่ยงดังกล่าว (รอยเตอร์)
รอยเตอร์คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.51 จะลดลงเมื่อเทียบต่อเดือนมากที่สุดในรอบ 6 เดือน รายงาน
จากโซล เมื่อ 28 เม.ย.51 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ซึ่งประกอบด้วย
ผลผลิตโรงงาน การทำเหมืองและการผลิตกระแสไฟฟ้าจะลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือน มี.ค.51 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน หลังจากลดลง
ร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.พ. ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ลดลงร้อยละ 1.0 ในเดือน ก.ย.50 โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการลดลงของผลผลิต
ชิปคอมพิวเตอร์ซึ่งได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงทำให้ความต้องการจากต่างประเทศลดลง ในขณะที่วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น
นอกจากนี้ การจ้างงานในประเทศที่ชะลอตัวลงยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและความต้องการในประเทศซึ่งจากผลสำรวจ
โดยภาครัฐชี้ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเกาหลีใต้ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 11 เดือนในเดือน มี.ค. เช่นเดียวกับความเชื่อมั่น
ของภาคธุรกิจที่ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 19 เดือนในเดือน เม.ย. ในขณะที่การจ้างงานใหม่ในเดือน มี.ค.ขยายตัวในอัตราต่ำสุด
ในรอบกว่า 3 ปี ทั้งนี้ เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7 ในไตรมาสแรกที่ผ่านมา ต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปี (รอยเตอร์)
รอยเตอร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน เม.ย.51 ของเกาหลีใต้จะอยู่ที่ร้อยละ 3.9 ต่อปีเท่ากับเดือนก่อน รายงานจากโซล
เมื่อ 28 เม.ย.51 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในเกาหลีใต้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ต่อปี
ในเดือน เม.ย.51 สูงสุดในรอบ 3 ปี เท่ากับเดือน มี.ค.และ ม.ค. โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ.อยู่ที่ร้อยละ 3.6 ต่อปี นับเป็น
เดือนที่ 5 ติดต่อกันที่อัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปีอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ ธ.กลางเกาหลีใต้กำหนดไว้ระหว่างร้อยละ 2.5
และ 3.5 ต่อปีสำหรับช่วงปี 50 - 52 ทั้งนี้ เป็นผลจากราคาสินค้าและราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ธ.กลางเกาหลีใต้
คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังปีนี้เมื่อความต้องการวัตถุดิบในตลาดโลกชะลอตัวลงตามการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก
โดย ธ.กลางเกาหลีใต้ประมาณการณ์ไว้เมื่อปลายปีที่แล้วว่าอัตราเงินเฟ้อในปีนี้จะอยู่ในระดับเฉลี่ยที่ร้อยละ 3.3 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.5
ในปีก่อน (รอยเตอร์)
คาดว่าการส่งออกของเกาหลีใต้ในไตรมาส 2 ปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 16 รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 28 เม.ย.51 ธ.เพื่อการ
ส่งออกและนำเข้าของเกาหลีใต้ แถลงว่า การส่งออกของเกาหลีใต้ในช่วงเดือน เม.ย. — มิ.ย.51 ยังมีการขยายตัวค่อนข้างดี โดยอาจจะ
ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 16 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 17.5 ในไตรมาสแรก แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจ สรอ. ชะลอตัว
เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังพัฒนาหลายประเทศยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง รวมถึงการที่ในระยะนี้เงินวอนอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับ
เงินดอลลาร์ สรอ. ทำให้คาดว่าจะเป็นแรงสนับสนุนให้อัตราการเติบโตของการส่งออกเทียบต่อปีอยู่ที่ระดับประมาณร้อยละ 10 เนื่องจาก
เงินวอนที่อ่อนค่าลงจะทำให้ราคาสินค้าของเกาหลีใต้สามารถแข่งขันได้และทำกำไรได้มากขึ้น (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 เม.ย. 51 28 เม.ย. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.727 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.5028/31.8430 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25000 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 836.42/15.11 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,400/13,500 13,400/13,500 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 110.11 106.15 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) ) 36.09*/32.94** 36.09*/32.94** 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 23 เม.ย.51
**ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 24 เม.ย.51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--