ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ยืนยันไทยสามารถใช้นโยบายดอกเบี้ยในการดูแลปัญหาเงินเฟ้อได้ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า แม้ ธ.กลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก แต่ไม่จำเป็นที่ ธ.กลางประเทศอื่นๆ ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยตาม
เนื่องจากปัจจัยภายในของแต่ละประเทศแตกต่างกัน ในส่วนของประเทศไทยขณะนี้ มีความเสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อมากกว่าความเสี่ยงด้าน
การขยายตัวของเศรษฐกิจ เนื่องจากราคาน้ำมันและราคาพืชผลการเกษตรที่เร่งตัวขึ้นอย่างมาก ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจยังมีแรงขับเคลื่อน
ได้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปีที่ผ่านมา อีกทั้งรัฐบาลมีมาตรการการคลังออกมาช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ
จึงทำให้ ธปท.สามารถใช้นโยบายดอกเบี้ยในการดูแลปัญหาเงินเฟ้อได้ ทั้งนี้ การดำเนินนโยบายของ ธปท.จะต้องทำให้ประชาชนมั่นใจว่า
ทางการจะสามารถดูแลอัตราเงินเฟ้อให้ลดลงได้ในระยะปานกลาง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาสินค้า ซึ่งหากประชาชน
คาดว่าเงินเฟ้อในอนาคตจะเร่งตัวขึ้นจะทำให้เกิดการเร่งใช้จ่ายมากขึ้นจนสร้างแรงกดดันให้ราคาสินค้าแพงขึ้นและกลายเป็นปัญหาเงินเฟ้อ
ที่รุนแรง จนมีผลกระทบไปถึงการบริโภค การลงทุน และการส่งออกในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในขณะนี้ยังไม่มีปัญหาเกี่ยวกับ
การคาดการณ์เงินเฟ้อของประชาชน สะท้อนได้จากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังอยู่ในระดับต่ำ อนึ่ง ธปท.คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจในปี 51 จะ
ขยายตัว 4.8-6% และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะขยายตัว 1.5-2.5% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปขยายตัว 4-5% (กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
2. ก. พาณิชย์ปรับประมาณการเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อปี 51 เป็น 5-5.5% นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัด ก.พาณิชย์
เปิดเผยว่า ก.พาณิชย์จะปรับประมาณการเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อปี 2551 จากเดิม 3-3.5% เป็น 5-5.5% เนื่องจากปัจจัยที่มีผลกระทบ
ต่อเงินเฟ้อได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบดูไบที่จากเดิมประเมินไว้ว่าเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ 85 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล
แต่ขณะนี้ราคาเฉลี่ยเกินกว่า 100 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ประกอบกับมีแรงกดดันจากภาวะราคาสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นตามราคาตลาดโลก
โดยการปรับครั้งนี้เป็นการปรับตามสถานการณ์และไม่รุนแรงมาก (ไทยโพสต์, มติชน)
3. ผลการสำรวจพบว่าแรงงานไทยเกินกว่าครึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงผลสำรวจประเด็นสภาพปัจจุบันของแรงงานไทย กรณีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท พบว่า แรงงาน 55.6%
ระบุว่าอัตราการปรับค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมควรมากกว่า 20 บาท แต่น้อยที่สุดไม่ควรต่ำกว่า 6-10 บาท และหากรัฐปรับอัตราขั้นต่ำ 9 บาท
ส่วนใหญ่ 67.3% ยอมรับได้ ขณะที่ 22.1% ยอมรับได้ปานกลาง และเพียง 10.6% ยอมรับได้น้อย และส่วนใหญ่ 55.3% ต้องการให้ปรับขึ้น
ตั้งแต่เดือน พ.ค.51 ตามด้วยเดือน มิ.ย.และ ก.ค.51 สำหรับผลสำรวจด้านรายได้ของแรงงานพบว่า แรงงานส่วนใหญ่ 59% เคยมีปัญหา
รายได้ไม่พอกับรายจ่าย เพราะราคาสินค้า อัตราดอกเบี้ย และราคาน้ำมันสูงขึ้น จึงแก้ปัญหาโดยกู้ยืมเงิน 72% นำเงินออมมาใช้ 17%
ขอความช่วยเหลือจากญาติ 11% อีก 41% ระบุว่า ไม่เคยมีปัญหารายได้ เพราะมีรายได้เพิ่มและใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น นอกจากนี้ แรงงาน
ส่วนใหญ่ 60% มีหนี้ และเป็นหนี้ 1-2 เท่าของรายได้ (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
4. ครม.มีมติอนุมัติวงเงินประเดิมการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากจำนวน 406 ล้านบาท นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม.
และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 29 เม.ย.51 มีมติอนุมัติวงเงินประเดิมในการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากจำนวน
406 ล้านบาท บาท แบ่งเป็นวงเงินที่ใช้ในการเตรียมการจำนวน 156 ล้านบาท และวงเงินเพื่อใช้เป็นทุนประเดิมในการบริหารจัดการ
249 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.2551 ที่กำหนดให้รัฐบาลจัดสรรทุนของสถาบันประกันเงินฝากไม่เกิน
1,000 ล.บาท นอกจากนี้ ครม.เห็นชอบให้เช่าพื้นที่ภายในอาคารอีสท์วอเตอร์เป็นสำนักงานตามที่ ก.คลังเสนอ จากเดิมที่เสนอใช้พื้นที่
อาคาร ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) ซึ่งติดปัญหาเรื่องความพร้อมในการเข้าใช้พื้นที่ ทั้งนี้ สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะ
เป็นหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่คุ้มครองเงินฝากของประชาชนแทนกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีชี้วัดผลผลิตอุตสาหกรรม PMI ของญี่ปุ่นลดลงในเดือน เม.ย.51 มาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปีรายงานจากโตเกียว
เมื่อ 30 เม.ย.51 ดัชนีชี้วัดผลผลิตอุตสาหกรรมจากผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารด้านจัดซื้อของผู้ผลิตในญี่ปุ่นมากกว่า 350 รายหรือ PMI
ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 48.6 ในเดือน เม.ย.51 จากระดับ 49.5 ในเดือนก่อน ต่ำสุดนับตั้งแต่อยู่ที่ระดับ 48.1 ในเดือน ก.พ.46 และโดย
ที่ดัชนีดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 จึงชี้ว่าผลผลิตอุตสาหกรรมกำลังหดตัว ทั้งนี้ จากผลกระทบของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงทำให้ความต้องการ
ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศลดลง โดยยอดส่งออกสินค้าไปยังตลาด สรอ.ลดลงถึงร้อยละ 11.0 ต่อปีในเดือน มี.ค.51 ลดลงมากสุด
นับตั้งแต่เดือน พ.ย.46 สอดคล้องกับดัชนีชี้วัดคำสั่งซื้อใหม่ซึ่งรวมคำสั่งซื้อสินค้าทั้งจากในและต่างประเทศที่ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.7 ต่ำสุด
นับตั้งแต่ต้นปี 45 และดัชนีชี้วัดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันมาอยู่ที่ระดับ 45.2 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.44
(รอยเตอร์)
2. ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ผลิตในเกาหลีใต้สำหรับเดือนพ.ค.51 เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน รายงานจากโซล
เมื่อ 30 เม.ย.51 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ผลิตในเกาหลีใต้สำหรับเดือน พ.ค.51 จากผลสำรวจโดย ธ.กลางเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่
ระดับ 87 จากระดับ 83 ในเดือน เม.ย.และระดับ 86 ในเดือน มี.ค.และ ก.พ. สูงสุดนับตั้งแต่อยู่ที่ระดับ 90 ในเดือน ม.ค. เมื่อ
ราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นช่วยลดแรงกดดันที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบ แต่อย่างไรก็ดี ดัชนีดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 ซึ่งชี้ให้
เห็นว่าผู้ผลิตที่คาดว่าสถานการณ์ธุรกิจของตนจะเลวลงมีมากกว่าผู้ที่คาดว่าจะดีขึ้น (รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ยังคงอยู่ในระดับสูงแต่คาดว่าจะชะลอลงในช่วงครึ่งปีหลัง รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 29
เม.ย.51 ธ.กลางสิงคโปร์เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์จะชะลอลงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 4.0 ในช่วงครึ่งหลังปีนี้หลังจากที่สูงขึ้นถึง
ร้อยละ 6.7 ในเดือน มี.ค. (ตัวเลขเทียบต่อปี) ทำสถิติสูงที่สุดในรอบ 26 ปี อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์เตือนว่าการคาดการณ์อาจจะ
มองแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจไปในทิศทางที่ดี ทั้งนี้คณะกรรมาธิการนโยบายการเงิน ธ.กลางสิงคโปร์กล่าวว่าเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ในปีนี้ ยังคงยืนยันระดับเดิมที่ร้อยละ 4 — 6 และอยู่บนพื้นฐานที่เศรษฐกิจ สรอ. อยู่ในช่วงชะลอตัว แต่เตือนว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์อาจได้รับ
ผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ส่วนอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงเนื่องจากปัจจัยทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ แม้ว่า
จะลดลงบ้างในช่วงครึ่งปีหลังก็ตาม อย่างไรก็ตามความเสี่ยงจากราคาน้ำมันและราคาอาหารที่สูงขึ้น แรงกดดันด้านค่าจ้างและค่าเช่าสะท้อน
ถึงข้อจำกัดของปัจจัยภายในประเทศที่ยังคงมีอยู่ ขณะที่เมื่อเดือนที่แล้ว ธ.กลางได้ดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวเพื่อจัดการกับภาวะเงินเฟ้อ
ที่สูงขึ้นโดยการปล่อยให้เงินดอลลาร์ สิงคโปร์แข็งค่าขึ้นซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินนโยบายของธ.กลาง ซึ่งทางการคาดว่าอัตรา
เงินเฟ้อในปีนี้จะอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 4.5 -5.5 แต่นักเศรษฐศาสตร์จาก HSBC กล่าวว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างจะแน่นอนว่าอัตราเงินเฟ้อ
จะสูงขึ้นถึงร้อยละ 6.0 (รอยเตอร์)
4. มาเลเซียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 3.50 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 29 เม.ย.51 ธ.กลาง
มาเลเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 3.50 ตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ และเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ติดต่อกัน
เป็นครั้งที่ 16 โดยให้ความเห็นว่าภายหลังจากการพิจารณาปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่อาจส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมีแนวโน้ม
ลดต่ำลง ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างต่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ทำให้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ เนื่องจากมีสัญญาณหลายอย่างที่แสดงให้เห็นว่า
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกกำลังชะลอตัว ซึ่งจะทำให้แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้ออ่อนตัวลง ด้านผู้ว่าการ ธ.กลางมาเลเซีย กล่าวว่า
อัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันยังคงทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ดี กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังแข็งแกร่ง มีการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้
และการให้สินเชื่อของระบบ ธ.พาณิชย์ยังดำเนินไปได้ดี ส่วนเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อปีนี้ในขณะนี้ยังคงอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 2.5 และ 3.0
ด้านนักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่า ธ.กลางมาเลเซียจะปล่อยให้เงินริงกิตแข็งค่าขึ้นเพื่อลดแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อมากกว่าจะปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 30 เม.ย. 51 29 เม.ย. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.662 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.4580/31.7939 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25125 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 833.63/17.30 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,200/13,300 13,400/13,500 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 108.91 110.11 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 36.59*/33.44* 36.09/32.94 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 30 เม.ย. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ยืนยันไทยสามารถใช้นโยบายดอกเบี้ยในการดูแลปัญหาเงินเฟ้อได้ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า แม้ ธ.กลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก แต่ไม่จำเป็นที่ ธ.กลางประเทศอื่นๆ ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยตาม
เนื่องจากปัจจัยภายในของแต่ละประเทศแตกต่างกัน ในส่วนของประเทศไทยขณะนี้ มีความเสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อมากกว่าความเสี่ยงด้าน
การขยายตัวของเศรษฐกิจ เนื่องจากราคาน้ำมันและราคาพืชผลการเกษตรที่เร่งตัวขึ้นอย่างมาก ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจยังมีแรงขับเคลื่อน
ได้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปีที่ผ่านมา อีกทั้งรัฐบาลมีมาตรการการคลังออกมาช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ
จึงทำให้ ธปท.สามารถใช้นโยบายดอกเบี้ยในการดูแลปัญหาเงินเฟ้อได้ ทั้งนี้ การดำเนินนโยบายของ ธปท.จะต้องทำให้ประชาชนมั่นใจว่า
ทางการจะสามารถดูแลอัตราเงินเฟ้อให้ลดลงได้ในระยะปานกลาง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาสินค้า ซึ่งหากประชาชน
คาดว่าเงินเฟ้อในอนาคตจะเร่งตัวขึ้นจะทำให้เกิดการเร่งใช้จ่ายมากขึ้นจนสร้างแรงกดดันให้ราคาสินค้าแพงขึ้นและกลายเป็นปัญหาเงินเฟ้อ
ที่รุนแรง จนมีผลกระทบไปถึงการบริโภค การลงทุน และการส่งออกในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในขณะนี้ยังไม่มีปัญหาเกี่ยวกับ
การคาดการณ์เงินเฟ้อของประชาชน สะท้อนได้จากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังอยู่ในระดับต่ำ อนึ่ง ธปท.คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจในปี 51 จะ
ขยายตัว 4.8-6% และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะขยายตัว 1.5-2.5% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปขยายตัว 4-5% (กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
2. ก. พาณิชย์ปรับประมาณการเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อปี 51 เป็น 5-5.5% นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัด ก.พาณิชย์
เปิดเผยว่า ก.พาณิชย์จะปรับประมาณการเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อปี 2551 จากเดิม 3-3.5% เป็น 5-5.5% เนื่องจากปัจจัยที่มีผลกระทบ
ต่อเงินเฟ้อได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบดูไบที่จากเดิมประเมินไว้ว่าเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ 85 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล
แต่ขณะนี้ราคาเฉลี่ยเกินกว่า 100 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล ประกอบกับมีแรงกดดันจากภาวะราคาสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นตามราคาตลาดโลก
โดยการปรับครั้งนี้เป็นการปรับตามสถานการณ์และไม่รุนแรงมาก (ไทยโพสต์, มติชน)
3. ผลการสำรวจพบว่าแรงงานไทยเกินกว่าครึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงผลสำรวจประเด็นสภาพปัจจุบันของแรงงานไทย กรณีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท พบว่า แรงงาน 55.6%
ระบุว่าอัตราการปรับค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมควรมากกว่า 20 บาท แต่น้อยที่สุดไม่ควรต่ำกว่า 6-10 บาท และหากรัฐปรับอัตราขั้นต่ำ 9 บาท
ส่วนใหญ่ 67.3% ยอมรับได้ ขณะที่ 22.1% ยอมรับได้ปานกลาง และเพียง 10.6% ยอมรับได้น้อย และส่วนใหญ่ 55.3% ต้องการให้ปรับขึ้น
ตั้งแต่เดือน พ.ค.51 ตามด้วยเดือน มิ.ย.และ ก.ค.51 สำหรับผลสำรวจด้านรายได้ของแรงงานพบว่า แรงงานส่วนใหญ่ 59% เคยมีปัญหา
รายได้ไม่พอกับรายจ่าย เพราะราคาสินค้า อัตราดอกเบี้ย และราคาน้ำมันสูงขึ้น จึงแก้ปัญหาโดยกู้ยืมเงิน 72% นำเงินออมมาใช้ 17%
ขอความช่วยเหลือจากญาติ 11% อีก 41% ระบุว่า ไม่เคยมีปัญหารายได้ เพราะมีรายได้เพิ่มและใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น นอกจากนี้ แรงงาน
ส่วนใหญ่ 60% มีหนี้ และเป็นหนี้ 1-2 เท่าของรายได้ (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
4. ครม.มีมติอนุมัติวงเงินประเดิมการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากจำนวน 406 ล้านบาท นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รอง นรม.
และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 29 เม.ย.51 มีมติอนุมัติวงเงินประเดิมในการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากจำนวน
406 ล้านบาท บาท แบ่งเป็นวงเงินที่ใช้ในการเตรียมการจำนวน 156 ล้านบาท และวงเงินเพื่อใช้เป็นทุนประเดิมในการบริหารจัดการ
249 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.2551 ที่กำหนดให้รัฐบาลจัดสรรทุนของสถาบันประกันเงินฝากไม่เกิน
1,000 ล.บาท นอกจากนี้ ครม.เห็นชอบให้เช่าพื้นที่ภายในอาคารอีสท์วอเตอร์เป็นสำนักงานตามที่ ก.คลังเสนอ จากเดิมที่เสนอใช้พื้นที่
อาคาร ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) ซึ่งติดปัญหาเรื่องความพร้อมในการเข้าใช้พื้นที่ ทั้งนี้ สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะ
เป็นหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่คุ้มครองเงินฝากของประชาชนแทนกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีชี้วัดผลผลิตอุตสาหกรรม PMI ของญี่ปุ่นลดลงในเดือน เม.ย.51 มาอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปีรายงานจากโตเกียว
เมื่อ 30 เม.ย.51 ดัชนีชี้วัดผลผลิตอุตสาหกรรมจากผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารด้านจัดซื้อของผู้ผลิตในญี่ปุ่นมากกว่า 350 รายหรือ PMI
ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 48.6 ในเดือน เม.ย.51 จากระดับ 49.5 ในเดือนก่อน ต่ำสุดนับตั้งแต่อยู่ที่ระดับ 48.1 ในเดือน ก.พ.46 และโดย
ที่ดัชนีดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 จึงชี้ว่าผลผลิตอุตสาหกรรมกำลังหดตัว ทั้งนี้ จากผลกระทบของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงทำให้ความต้องการ
ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศลดลง โดยยอดส่งออกสินค้าไปยังตลาด สรอ.ลดลงถึงร้อยละ 11.0 ต่อปีในเดือน มี.ค.51 ลดลงมากสุด
นับตั้งแต่เดือน พ.ย.46 สอดคล้องกับดัชนีชี้วัดคำสั่งซื้อใหม่ซึ่งรวมคำสั่งซื้อสินค้าทั้งจากในและต่างประเทศที่ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.7 ต่ำสุด
นับตั้งแต่ต้นปี 45 และดัชนีชี้วัดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันมาอยู่ที่ระดับ 45.2 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.44
(รอยเตอร์)
2. ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ผลิตในเกาหลีใต้สำหรับเดือนพ.ค.51 เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน รายงานจากโซล
เมื่อ 30 เม.ย.51 ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ผลิตในเกาหลีใต้สำหรับเดือน พ.ค.51 จากผลสำรวจโดย ธ.กลางเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่
ระดับ 87 จากระดับ 83 ในเดือน เม.ย.และระดับ 86 ในเดือน มี.ค.และ ก.พ. สูงสุดนับตั้งแต่อยู่ที่ระดับ 90 ในเดือน ม.ค. เมื่อ
ราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นช่วยลดแรงกดดันที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบ แต่อย่างไรก็ดี ดัชนีดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 ซึ่งชี้ให้
เห็นว่าผู้ผลิตที่คาดว่าสถานการณ์ธุรกิจของตนจะเลวลงมีมากกว่าผู้ที่คาดว่าจะดีขึ้น (รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ยังคงอยู่ในระดับสูงแต่คาดว่าจะชะลอลงในช่วงครึ่งปีหลัง รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 29
เม.ย.51 ธ.กลางสิงคโปร์เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์จะชะลอลงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 4.0 ในช่วงครึ่งหลังปีนี้หลังจากที่สูงขึ้นถึง
ร้อยละ 6.7 ในเดือน มี.ค. (ตัวเลขเทียบต่อปี) ทำสถิติสูงที่สุดในรอบ 26 ปี อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์เตือนว่าการคาดการณ์อาจจะ
มองแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจไปในทิศทางที่ดี ทั้งนี้คณะกรรมาธิการนโยบายการเงิน ธ.กลางสิงคโปร์กล่าวว่าเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ในปีนี้ ยังคงยืนยันระดับเดิมที่ร้อยละ 4 — 6 และอยู่บนพื้นฐานที่เศรษฐกิจ สรอ. อยู่ในช่วงชะลอตัว แต่เตือนว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์อาจได้รับ
ผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ส่วนอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงเนื่องจากปัจจัยทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ แม้ว่า
จะลดลงบ้างในช่วงครึ่งปีหลังก็ตาม อย่างไรก็ตามความเสี่ยงจากราคาน้ำมันและราคาอาหารที่สูงขึ้น แรงกดดันด้านค่าจ้างและค่าเช่าสะท้อน
ถึงข้อจำกัดของปัจจัยภายในประเทศที่ยังคงมีอยู่ ขณะที่เมื่อเดือนที่แล้ว ธ.กลางได้ดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวเพื่อจัดการกับภาวะเงินเฟ้อ
ที่สูงขึ้นโดยการปล่อยให้เงินดอลลาร์ สิงคโปร์แข็งค่าขึ้นซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินนโยบายของธ.กลาง ซึ่งทางการคาดว่าอัตรา
เงินเฟ้อในปีนี้จะอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 4.5 -5.5 แต่นักเศรษฐศาสตร์จาก HSBC กล่าวว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างจะแน่นอนว่าอัตราเงินเฟ้อ
จะสูงขึ้นถึงร้อยละ 6.0 (รอยเตอร์)
4. มาเลเซียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 3.50 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 29 เม.ย.51 ธ.กลาง
มาเลเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 3.50 ตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ และเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ติดต่อกัน
เป็นครั้งที่ 16 โดยให้ความเห็นว่าภายหลังจากการพิจารณาปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่อาจส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมีแนวโน้ม
ลดต่ำลง ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างต่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ทำให้ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ เนื่องจากมีสัญญาณหลายอย่างที่แสดงให้เห็นว่า
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกกำลังชะลอตัว ซึ่งจะทำให้แรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้ออ่อนตัวลง ด้านผู้ว่าการ ธ.กลางมาเลเซีย กล่าวว่า
อัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันยังคงทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ดี กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังแข็งแกร่ง มีการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้
และการให้สินเชื่อของระบบ ธ.พาณิชย์ยังดำเนินไปได้ดี ส่วนเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อปีนี้ในขณะนี้ยังคงอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 2.5 และ 3.0
ด้านนักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่า ธ.กลางมาเลเซียจะปล่อยให้เงินริงกิตแข็งค่าขึ้นเพื่อลดแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อมากกว่าจะปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 30 เม.ย. 51 29 เม.ย. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.662 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.4580/31.7939 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25125 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 833.63/17.30 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,200/13,300 13,400/13,500 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 108.91 110.11 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 36.59*/33.44* 36.09/32.94 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 30 เม.ย. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--