ภาวะเศรษฐกิจในเดือนมีนาคม 2551 โดยรวมยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง แรงส่งที่สำคัญมาจากอุปสงค์ในประเทศ ทั้งจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ส่วนการส่งออกแม้จะชะลอลงบ้างแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี การท่องเที่ยวยังคงขยายตัวดีต่อเนื่อง แต่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและเกษตรชะลอตัวลง โดยในภาคเกษตรเป็นผลของการเลื่อนการเก็บเกี่ยว จึงทำให้รายได้เกษตรกรชะลอตัวลงบ้าง แม้ราคาพืชผลหลักจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ในไตรมาสแรกปี 2551 เศรษฐกิจไทยโดยรวมขยายตัวได้ดีต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน อุปสงค์ในประเทศมีบทบาท ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลให้การนำเข้าเร่งตัวขึ้น ขณะที่การส่งออกยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ในด้านอุปทาน ทั้งผลผลิตและราคาพืชผลขยายตัวดี ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว ที่ขยายตัวในเกณฑ์สูง
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลต่อเนื่องและเงินสำรองระหว่างประเทศ อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี แรงกดดันต่อเงินเฟ้อมีมากขึ้นจากราคาพลังงานและอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนมีนาคมและไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีดังนี้
1. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 10.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนตามการผลิต ในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี ในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า และหมวดยานยนต์ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีตามความต้องการทั้งในและต่างประเทศ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 78.1 แต่เมื่อปรับฤดูกาลแล้วลดลง ซึ่งสอดคล้องกับการขยายตัวของผลผลิตที่ชะลอลง
ในไตรมาสแรกของปี 2551 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.9 สูงขึ้นจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย ตามการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกเป็นหลัก ขณะเดียวกันหมวดที่ผลิตเพื่อขายในประเทศเป็นหลักปรับตัวดีขึ้นมากจาก ไตรมาสก่อน โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 76.3
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 6.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยมูลค่าสินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้า ณ ราคาคงที่ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวสูง เช่นเดียวกับดัชนีหมวดยานยนต์ (Car index) ซึ่งเป็นผลจากการออกรถยนต์ รุ่นใหม่และการส่งเสริมการขายในงานมอเตอร์โชว์เป็นสำคัญ ขณะที่รถจักรยานยนต์ขยายตัวสูงจากรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น กอปรกับฐานต่ำในปีก่อน สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (ประมาณการ) ขยายตัวร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยเครื่องชี้ในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี นอกจากนี้ ยังเป็นผลของฐานที่ต่ำในปีก่อน
ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 7.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน จากเครื่องชี้ทุกตัวที่ขยายตัวในอัตราที่เร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะดัชนีหมวดยานยนต์ ซึ่งยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวสูงมากจากการเลื่อน การซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เพื่อรับประโยชน์จากนโยบายภาษีสำหรับรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือก (E20) ที่มีผลตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (ประมาณการ) ขยายตัวร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ตามเครื่องชี้หมวดเครื่องจักร และอุปกรณ์ โดยเฉพาะมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ ซึ่งขยายตัวดีเป็นสำคัญ
3. ภาคการคลัง รัฐบาลจัดเก็บรายได้ได้ 125.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.0 ชะลอลงตามรายได้ ที่มิใช่ภาษีที่หดตัวลงมาก เนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งไม่สามารถนำส่งรายได้ตามแผนที่กำหนดไว้ ส่วนรายได้ภาษียังคงเพิ่มขึ้น ในทุกฐานภาษี โดยภาษีจากฐานรายได้เพิ่มขึ้นทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ส่วนภาษีที่เก็บจากฐานการบริโภคขยายตัวตามภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นสำคัญ ขณะที่ภาษีธุรกิจเฉพาะหดตัวทั้งจากภาษีธุรกรรมสถาบันการเงินและการชะลอธุรกรรม การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อรอการประกาศใช้มาตรการลดหย่อนภาษี ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2551 ดุลเงินสด รัฐบาลขาดดุล 48.6 พันล้านบาท เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนลดลง 12.7 พันล้านบาท อยู่ที่ 54.4 พันล้านบาท
ในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลจัดเก็บรายได้ 381.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.6 ดุลเงินสดขาดดุล 108.1 พันล้านบาท โดยมีการกู้ยืมสุทธิ 93.4 พันล้านบาท และใช้เงินคงคลังเพื่อชดเชยการขาดดุล 14.6 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 เป็น 54.4 พันล้านบาท ลดลงจาก 69.1 พันล้านบาทเมื่อสิ้นไตรมาสแรก
4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้า เกินดุล 342 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมูลค่าการนำเข้าและการส่งออกขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน การส่งออกมีมูลค่า 14,648 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 15.1 จากราคาส่งออกที่ยังขยายตัวดีในทุกหมวดโดยเฉพาะหมวดเกษตร ขณะที่ปริมาณส่งออกชะลอลงจากการส่งออกสินค้าประมงที่หดตัว และสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงชะลอลงตามการส่งออกสินค้าแผงวงจรรวม ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานในการผลิตสูงเร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนตามการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ สำหรับการนำเข้า มีมูลค่า 14,306 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 31.2 ตามการขยายตัวของราคาโดยเฉพาะหมวดเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ส่วนปริมาณยังเพิ่มขึ้นทุกหมวดตามอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวและการขยายตัวของการส่งออก เมื่อรวมกับดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่เกินดุล 579 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 920 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงิน เกินดุล 8,611 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 110 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ จำนวน 21.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ดุลการค้าขาดดุล 109 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าที่เร่งขึ้น ขณะที่การส่งออกชะลอลงเล็กน้อย โดยการนำเข้ามีมูลค่า 41,494 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.5 ตามการนำเข้าที่เร่งขึ้นในทุกหมวด สำหรับการส่งออกมีมูลค่า 41,385 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 21.1 ตามการส่งออกสินค้าเกษตรที่ดีทั้งราคาและปริมาณ รวมทั้งการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานในการผลิตสูงเร่งขึ้นมากจากการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ รวมถึงสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูงที่ยังคงขยายตัวดีต่อเนื่อง เมื่อรวมกับดุลบริการ รายได้และเงินโอน ที่เกินดุล 3,177 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าช่วงเดียวกัน ปีก่อนที่เกินดุล 1,371 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการเพิ่มขึ้นของดุลการท่องเที่ยวและรายรับผลประโยชน์จากการลงทุนของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของเงินสำรองระหว่างประเทศ ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 3,068 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลการชำระเงิน เกินดุล 18,483 ล้านดอลลาร์ สรอ.
5. อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ร้อยละ 5.3 ลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดอาหารสดและหมวดพลังงานเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดที่ไม่ใช่อาหารสดและพลังงานปรับสูงขึ้นตามราคาอาหารบริโภคในและนอกบ้าน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตสูงขึ้นร้อยละ 11.1 ลดลงจากเดือนก่อน เล็กน้อย จากการปรับลดลงของราคาในหมวดผลผลิตเกษตรกรรมเป็นสำคัญ
สำหรับไตรมาสแรกปี 2551 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 5.0 และ 1.5 ตามลำดับ เร่งขึ้นจาก ไตรมาสก่อน ที่อยู่ที่ร้อยละ 2.9 และ 1.1 ตามลำดับ
6. ภาวะการเงิน เงินฝากของสถาบันรับฝากเงิน1/ (Depository Corporations) ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน และหากนับรวมการออกตราสารหนี้ประเภทตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) เข้าไปในเงินฝากแล้ว เงินฝากของสถาบันการเงินจะขยายตัว ร้อยละ 8.2 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สำหรับสินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวร้อยละ 5.9 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนเช่นกัน ตามการฟื้นตัวของสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจ
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2551 ขยายตัวร้อยละ 12.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (Broad Money) ขยายตัวร้อยละ 2.3 อย่างไรก็ดี ปริมาณเงินดังกล่าวยังไม่ได้นับรวมการออกตั๋วแลกเงินโดยธนาคารพาณิชย์ซึ่งมีลักษณะคล้ายการรับฝากเงิน ส่งผลให้ปริมาณเงินตามความหมายกว้างขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าปกติ
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี ทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ในตลาดเงินไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.21 และ 3.22 ต่อปี ในเดือนมีนาคมและในช่วงวันที่ 1-23 เมษายน ตามลำดับ และปรับลดลงเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550
7. อัตราแลกเปลี่ยนและดัชนีค่าเงินบาท ในเดือนมีนาคม 2551 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 31.46 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนกุมภาพันธ์ที่ 32.60 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ทั้งจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ สรอ. ในภาวะที่สัญญาณความอ่อนแอของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรากฏชัดเจนขึ้นและธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed funds ลงอีกเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจดังกล่าว และจากการยกเลิกมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้นโดย ธปท. เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งทำให้ค่าเงินบาท แข็งค่าขึ้นเทียบกับหลายสกุลเงิน ไม่เฉพาะดอลลาร์ สรอ. ดังสะท้อนจากดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ที่ปรับสูงขึ้นจากระดับ 78.94 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 79.97 ในเดือนนี้
เมื่อพิจารณาทั้งไตรมาสแรกของปี 2551 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 32.42 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 4.7 จากไตรมาสก่อน ที่เฉลี่ยอยู่ที่ 33.94 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ปรับแข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.1 ซึ่งน้อยกว่าการแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากในช่วงดังกล่าวค่าเงินดอลลาร์ สรอ. โน้มอ่อนลงเทียบกับหลายสกุลเงินไม่เฉพาะแต่เงินบาท
ในช่วงวันที่ 1-23 เมษายน 2551 ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนมาเฉลี่ยอยู่ที่ 31.56 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนึ่งเพราะผู้นำเข้าซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. มากขึ้น ประกอบกับความเชื่อมั่นในค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวดีขึ้นบ้าง
ข้อมูลเพิ่มเติม: พรรณพิลาส เรืองวิสุทธิ์ โทร. 0-2283-5648, 0-2283-5639 e-mail: punpilay@bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ในไตรมาสแรกปี 2551 เศรษฐกิจไทยโดยรวมขยายตัวได้ดีต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน อุปสงค์ในประเทศมีบทบาท ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลให้การนำเข้าเร่งตัวขึ้น ขณะที่การส่งออกยังคงขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี ในด้านอุปทาน ทั้งผลผลิตและราคาพืชผลขยายตัวดี ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว ที่ขยายตัวในเกณฑ์สูง
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลต่อเนื่องและเงินสำรองระหว่างประเทศ อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี แรงกดดันต่อเงินเฟ้อมีมากขึ้นจากราคาพลังงานและอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนมีนาคมและไตรมาสที่ 1 ปี 2551 มีดังนี้
1. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 10.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนตามการผลิต ในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี ในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า และหมวดยานยนต์ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีตามความต้องการทั้งในและต่างประเทศ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 78.1 แต่เมื่อปรับฤดูกาลแล้วลดลง ซึ่งสอดคล้องกับการขยายตัวของผลผลิตที่ชะลอลง
ในไตรมาสแรกของปี 2551 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.9 สูงขึ้นจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย ตามการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกเป็นหลัก ขณะเดียวกันหมวดที่ผลิตเพื่อขายในประเทศเป็นหลักปรับตัวดีขึ้นมากจาก ไตรมาสก่อน โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 76.3
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 6.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยมูลค่าสินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้า ณ ราคาคงที่ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวสูง เช่นเดียวกับดัชนีหมวดยานยนต์ (Car index) ซึ่งเป็นผลจากการออกรถยนต์ รุ่นใหม่และการส่งเสริมการขายในงานมอเตอร์โชว์เป็นสำคัญ ขณะที่รถจักรยานยนต์ขยายตัวสูงจากรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น กอปรกับฐานต่ำในปีก่อน สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (ประมาณการ) ขยายตัวร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยเครื่องชี้ในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี นอกจากนี้ ยังเป็นผลของฐานที่ต่ำในปีก่อน
ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 7.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน จากเครื่องชี้ทุกตัวที่ขยายตัวในอัตราที่เร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะดัชนีหมวดยานยนต์ ซึ่งยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวสูงมากจากการเลื่อน การซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เพื่อรับประโยชน์จากนโยบายภาษีสำหรับรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือก (E20) ที่มีผลตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (ประมาณการ) ขยายตัวร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ตามเครื่องชี้หมวดเครื่องจักร และอุปกรณ์ โดยเฉพาะมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ ซึ่งขยายตัวดีเป็นสำคัญ
3. ภาคการคลัง รัฐบาลจัดเก็บรายได้ได้ 125.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.0 ชะลอลงตามรายได้ ที่มิใช่ภาษีที่หดตัวลงมาก เนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งไม่สามารถนำส่งรายได้ตามแผนที่กำหนดไว้ ส่วนรายได้ภาษียังคงเพิ่มขึ้น ในทุกฐานภาษี โดยภาษีจากฐานรายได้เพิ่มขึ้นทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ส่วนภาษีที่เก็บจากฐานการบริโภคขยายตัวตามภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นสำคัญ ขณะที่ภาษีธุรกิจเฉพาะหดตัวทั้งจากภาษีธุรกรรมสถาบันการเงินและการชะลอธุรกรรม การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อรอการประกาศใช้มาตรการลดหย่อนภาษี ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2551 ดุลเงินสด รัฐบาลขาดดุล 48.6 พันล้านบาท เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนลดลง 12.7 พันล้านบาท อยู่ที่ 54.4 พันล้านบาท
ในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2551 รัฐบาลจัดเก็บรายได้ 381.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.6 ดุลเงินสดขาดดุล 108.1 พันล้านบาท โดยมีการกู้ยืมสุทธิ 93.4 พันล้านบาท และใช้เงินคงคลังเพื่อชดเชยการขาดดุล 14.6 พันล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 เป็น 54.4 พันล้านบาท ลดลงจาก 69.1 พันล้านบาทเมื่อสิ้นไตรมาสแรก
4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้า เกินดุล 342 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมูลค่าการนำเข้าและการส่งออกขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน การส่งออกมีมูลค่า 14,648 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 15.1 จากราคาส่งออกที่ยังขยายตัวดีในทุกหมวดโดยเฉพาะหมวดเกษตร ขณะที่ปริมาณส่งออกชะลอลงจากการส่งออกสินค้าประมงที่หดตัว และสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงชะลอลงตามการส่งออกสินค้าแผงวงจรรวม ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานในการผลิตสูงเร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนตามการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ สำหรับการนำเข้า มีมูลค่า 14,306 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 31.2 ตามการขยายตัวของราคาโดยเฉพาะหมวดเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ส่วนปริมาณยังเพิ่มขึ้นทุกหมวดตามอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวและการขยายตัวของการส่งออก เมื่อรวมกับดุลบริการ รายได้ และเงินโอนที่เกินดุล 579 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 920 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงิน เกินดุล 8,611 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 110 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ จำนวน 21.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ดุลการค้าขาดดุล 109 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าที่เร่งขึ้น ขณะที่การส่งออกชะลอลงเล็กน้อย โดยการนำเข้ามีมูลค่า 41,494 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.5 ตามการนำเข้าที่เร่งขึ้นในทุกหมวด สำหรับการส่งออกมีมูลค่า 41,385 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 21.1 ตามการส่งออกสินค้าเกษตรที่ดีทั้งราคาและปริมาณ รวมทั้งการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานในการผลิตสูงเร่งขึ้นมากจากการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ รวมถึงสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูงที่ยังคงขยายตัวดีต่อเนื่อง เมื่อรวมกับดุลบริการ รายได้และเงินโอน ที่เกินดุล 3,177 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าช่วงเดียวกัน ปีก่อนที่เกินดุล 1,371 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการเพิ่มขึ้นของดุลการท่องเที่ยวและรายรับผลประโยชน์จากการลงทุนของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของเงินสำรองระหว่างประเทศ ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัด เกินดุล 3,068 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลการชำระเงิน เกินดุล 18,483 ล้านดอลลาร์ สรอ.
5. อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ร้อยละ 5.3 ลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดอาหารสดและหมวดพลังงานเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดที่ไม่ใช่อาหารสดและพลังงานปรับสูงขึ้นตามราคาอาหารบริโภคในและนอกบ้าน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตสูงขึ้นร้อยละ 11.1 ลดลงจากเดือนก่อน เล็กน้อย จากการปรับลดลงของราคาในหมวดผลผลิตเกษตรกรรมเป็นสำคัญ
สำหรับไตรมาสแรกปี 2551 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 5.0 และ 1.5 ตามลำดับ เร่งขึ้นจาก ไตรมาสก่อน ที่อยู่ที่ร้อยละ 2.9 และ 1.1 ตามลำดับ
6. ภาวะการเงิน เงินฝากของสถาบันรับฝากเงิน1/ (Depository Corporations) ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน และหากนับรวมการออกตราสารหนี้ประเภทตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) เข้าไปในเงินฝากแล้ว เงินฝากของสถาบันการเงินจะขยายตัว ร้อยละ 8.2 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สำหรับสินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวร้อยละ 5.9 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนเช่นกัน ตามการฟื้นตัวของสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจ
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2551 ขยายตัวร้อยละ 12.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (Broad Money) ขยายตัวร้อยละ 2.3 อย่างไรก็ดี ปริมาณเงินดังกล่าวยังไม่ได้นับรวมการออกตั๋วแลกเงินโดยธนาคารพาณิชย์ซึ่งมีลักษณะคล้ายการรับฝากเงิน ส่งผลให้ปริมาณเงินตามความหมายกว้างขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าปกติ
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี ทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ในตลาดเงินไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.21 และ 3.22 ต่อปี ในเดือนมีนาคมและในช่วงวันที่ 1-23 เมษายน ตามลำดับ และปรับลดลงเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550
7. อัตราแลกเปลี่ยนและดัชนีค่าเงินบาท ในเดือนมีนาคม 2551 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 31.46 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนกุมภาพันธ์ที่ 32.60 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ทั้งจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ สรอ. ในภาวะที่สัญญาณความอ่อนแอของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปรากฏชัดเจนขึ้นและธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed funds ลงอีกเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจดังกล่าว และจากการยกเลิกมาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้นโดย ธปท. เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งทำให้ค่าเงินบาท แข็งค่าขึ้นเทียบกับหลายสกุลเงิน ไม่เฉพาะดอลลาร์ สรอ. ดังสะท้อนจากดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ที่ปรับสูงขึ้นจากระดับ 78.94 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 79.97 ในเดือนนี้
เมื่อพิจารณาทั้งไตรมาสแรกของปี 2551 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 32.42 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 4.7 จากไตรมาสก่อน ที่เฉลี่ยอยู่ที่ 33.94 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ปรับแข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.1 ซึ่งน้อยกว่าการแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากในช่วงดังกล่าวค่าเงินดอลลาร์ สรอ. โน้มอ่อนลงเทียบกับหลายสกุลเงินไม่เฉพาะแต่เงินบาท
ในช่วงวันที่ 1-23 เมษายน 2551 ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนมาเฉลี่ยอยู่ที่ 31.56 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนึ่งเพราะผู้นำเข้าซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. มากขึ้น ประกอบกับความเชื่อมั่นในค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวดีขึ้นบ้าง
ข้อมูลเพิ่มเติม: พรรณพิลาส เรืองวิสุทธิ์ โทร. 0-2283-5648, 0-2283-5639 e-mail: punpilay@bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--