ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ก.พ.51 ปรับตัวดีขึ้น รายงานเศรษฐกิจและการเงินฉบับล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) รายงานภาวะอสังหาริมทรัพย์ล่าสุดในเดือน ก.พ.51 ว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวดีขึ้น โดยความต้องการยังขยายตัว เห็นได้
จากจำนวนรายการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ยังขยายตัวได้ดี ทั้งนี้ จำนวนรายการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั่วประเทศในเดือน ก.พ.
มีจำนวน 68,522 รายการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.4% ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวเพียง 1.4% สอดคล้องกับ
มูลค่าการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเดือนเดียวกันที่มีจำนวน 48,037 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 19.9% และปรับตัวดี
ขึ้นต่อเนื่องจากเดือน ม.ค.ที่มูลค่าการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีจำนวน 45,176 ล.บาท ขยายตัวจากปีก่อน 16.8% สำหรับด้านราคา
อสังหาริมทรัพย์ในระยะต่อไป ธปท.ระบุว่าน่าจะปรับตัวสูงขึ้นจากต้นทุนของผู้ประกอบการที่ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้น
มาตั้งแต่ปลายปี 2550 สอดคล้องกับรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อเดือน เม.ย.ของ ธปท.ที่ระบุว่า ราคาอสังหาริมทรัพย์ในระยะต่อไปจะมีราคา
สูงขึ้นจากปัจจัยต้นทุนมากกว่าจากความต้องการอุปสงค์เพิ่มขึ้น ทำให้โอกาสที่จะเกิดฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทยยังมีน้อย(กรุงเทพธุรกิจ)
2. เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิในเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้นอย่างมากจากเดือนก่อนหน้า ผลจากการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30%
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิในเดือน ก.พ.51 มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิ 160,221 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค.ที่มีเงินไหลเข้าสุทธิ 15,224 ล.บาท
เนื่องจากในวันที่ 29 ก.พ.ที่ผ่านมา มีข่าว ธปท.ยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ทำให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ
ตราสารทุนมีเงินไหลเข้า 188,133 ล.บาท เพิ่มขึ้นจำนวน 121,877 ล.บาทในเดือน ม.ค. ในส่วนของตราสารหนี้มีเงินไหลเข้า
52,336 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค.ที่ติดลบ 28,324 ล.บาท ส่วนเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศอยู่ที่ 18,735 ล.บาท เพิ่มขึ้น
จาก 10,143 ล.บาทในเดือนก่อนหน้า กรณีการที่ ธ.กลาง สรอ.ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% ทำให้ดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ที่ 2%
เชื่อว่าไม่ทำให้เงินทุนไหลเข้าประเทศไทย เพื่อหากำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ยระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ที่ห่างกัน 1.25% เนื่องจากดอกเบี้ย
ที่แท้จริงของไทยขณะนี้ติดลบอยู่ (ข่าวสด, มติชน)
3. หนี้ต่างประเทศเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้น 146 ล.ดอลลาร์ สรอ. ผู้สื่อข่าวรายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า
หนี้ต่างประเทศล่าสุด ณ สิ้นเดือน ก.พ.51 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 63,935 ล.ดอลลาร์ สรอ. เทียบกับเดือน ม.ค.51 ที่มีจำนวน 63,789 ล.
ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 146 ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยมีการก่อหนี้เพิ่มขึ้นของภาครัฐและภาคธนาคาร ขณะที่ภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารมีการชำระ
คืนหนี้ สำหรับสัดส่วนหนี้ต่างประเทศ แบ่งเป็นหนี้ระยะสั้น 37% หนี้ระยะยาว 63% ของยอดหนี้ต่างประเทศทั้งหมด (โลกวันนี้)
4. อัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย.51 เพิ่มขึ้น 6.2% เทียบต่อปี และเพิ่มขึ้น 1.8% เทียบต่อเดือน นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ
ปลัด ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (อัตราเงินเฟ้อ) เดือน เม.ย.51 มีค่าเท่ากับ 123.6 สูงขึ้น 6.2% เมื่อเทียบกับ
เดือนเดียวกันของปีก่อน นัยเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 23 เดือน ตั้งแต่เดือน พ.ค.49 โดยมีสาเหตุหลักจากการปรับขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
ในตลาดโลก ส่งผลให้ค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าทุกชนิดสูงขึ้น ได้แก่ หมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 9.8% และหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่
อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 3.9% สำหรับอัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย.51 เมื่อเทียบกับเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา สูงขึ้น 1.8% สาเหตุจากราคา
น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นปัจจัยสำคัญส่งผลให้ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 3.4% และสินค้าหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 0.8%
ทั้งนี้ จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นที่เหนือระดับ 100 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล และการแข็งค่าของเงินบาท ส่งผลให้ ก.พาณิชย์จำเป็นต้องปรับ
เพิ่มเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อปี 51 เป็น 5-5.5% จากเดิมที่ประมาณการไว้ที่ 3-3.5% (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์)
5. ดัชนีเอสเอ็มอีในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 51 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า นางจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริม
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ดัชนีเอสเอ็มอีในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 51 (ม.ค.-มี.ค.) อยู่ที่ระดับ 44.1 ลดลง
จากระดับ 45.0 ในช่วงไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 38.7 จากระดับ 34.5 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่น
คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้ามีค่าดัชนีปรับตัวลดลงอยู่ที่ 46.4 จากระดับ 47.4 ซึ่งปรับตัวลดลงเกือบทุกประเภทกิจการ ทั้งนี้ ค่าดัชนีฯ ทุกตัว
ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำก่า 50 สะท้อนว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจในระดับที่ไม่ดีนัก เพราะนอกเหนือจากเศรษฐกิจ
ของประเทศที่ชะลอตัวแล้ว เอสเอ็มอียังมีความกังวลทั้งในเรื่องต้นทุนการประกอบการที่เพิ่มสูงขึ้น ราคาน้ำมัน ค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น รวมทั้ง
อำนาจซื้อของประชาชนที่ลดลง (ข่าวสด, ไทยโพสต์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การใช้จ่ายส่วนบุคคลของ สรอ. เดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 1 พ.ค.51
ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า การใช้จ่ายส่วนบุคคลของ สรอ. เดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน ก.พ.
และสูงกว่าผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ของสำนักข่าวรอยเตอร์ที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 0.2 แม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัว ด้านดัชนีชี้
วัดอัตราเงินเฟ้อก็เพิ่มสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อย ขณะที่รายได้ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ลดลงจากร้อยละ 0.5 ในเดือน ก.พ. และ
ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 0.4 เล็กน้อย ส่วนดัชนีราคาค่าใช้จ่ายในการบริโภคส่วนบุคคลโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากร้อยละ 0.1
ในเดือน ก.พ. (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อของ Euro zone ในเดือน เม.ย.51 ชะลอตัวลงในขณะที่ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุด
ในรอบกว่า 2 ปีรายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 30 เม.ย.51 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานประมาณการอัตราเงินเฟ้อ
ของ Euro zone ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ต่อปีในเดือน เม.ย.51 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.6 ต่อปีซึ่งสูงสุด
เป็นประวัติการณ์ในเดือนก่อน และต่ำกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ต่อปี โดยเป็นผลจากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงในเยอรมนี อิตาลี
สเปนและสโลเวเนีย แต่อย่างไรก็ดี จากราคาน้ำมันและราคาอาหารที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้ ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะไม่
ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 3.0 ต่อปีก่อนเดือน พ.ย.ปีนี้ ในขณะเดียวกันก็มีรายงานผลสำรวจความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจใน Euro zone
ซึ่งดัชนีลดลงมาอยู่ที่ระดับ 97.1 ในเดือน เม.ย.51 จุดจากระดับ 99.6 จุดในเดือน มี.ค.ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.48 และต่ำกว่าที่คาดไว้ว่า
จะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 99 จุด การชะลอตัวลงของอัตราเงินเฟ้อและความเชื่อมั่นของภาคุรกิจดังกล่าว ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลางยุโรป
หรือ ECB อาจลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า (รอยเตอร์)
3. คาดว่าเศรษฐกิจของอังกฤษปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 1.8 รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 2 พ.ค.51 สถาบันวิจัยทาง
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของอังกฤษ คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของอังกฤษในปีนี้จะชะลอตัวลงอย่างรุนแรงโดยจะเติบโตเพียงร้อยละ 1.8
เทียบกับร้อยละ 3.0 ในปี 50 เนื่องจากประชาชนประหยัดการใช้จ่าย โดยการใช้จ่ายของผู้บริโภคจะลดลงจากร้อยละ 3.1
ในปี 50 เหลือเพียงร้อยละ 1.2 ในปีนี้ ซึ่งจะเป็นอัตราการเติบโตต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2535 ที่อังกฤษฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะที่
ทางการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 2 ส่วนนักเศรษฐศาสตร์อิสระหลายคนคาดว่าเศรษฐกิจปีนี้จะเติบโตร้อยละ 1.7
และ IMF คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 1.6 (รอยเตอร์)
4. ยอดส่งออกและอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือน เม.ย.51 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบกว่า 3 ปี รายงานจากโซล
เมื่อ 1 พ.ค.51 ยอดส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน เม.ย.51 เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.0 ต่อปี สูงสุดนับตั้งแต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.8 ต่อปีในเดือน
ส.ค.47 และสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 ต่อปี ผลจากความต้องการสินค้าของเกาหลีใต้จากตลาดเปิดใหม่เช่นประเทศ
ในตะวันออกกลางและอเมริกาใต้สูงขึ้นร้อยละ 43.9 และร้อยละ 28.5 ตามลำดับ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือนเดียวกัน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ต่อปี สูงสุดนับตั้งแต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ต่อปีในเดือน ส.ค.47 อยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของ ธ.กลาง
เกาหลีใต้ที่กำหนดไว้ระหว่างร้อยละ 2.5 — 3.5 ต่อปีเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน สร้างความลำบากใจให้ ธ.กลางเกาหลีใต้ที่ได้แรงกดดัน
จากรัฐบาลให้ลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ต้องการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับ
ที่เหมาะสม แต่อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้อาจลดอัตราดอกเบี้ยหนึ่งถึงสองครั้งภายในปีนี้เมื่ออัตราเงินเฟ้อชะลอตัว
ลงในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งนี้ รัฐบาลตั้งเป้าหมายให้เศรษฐกิจในปีนี้ขยายตัวร้อยละ 6.0 ในขณะที่ผลสำรวจรอยเตอร์ครั้งล่าสุดเมื่อเดือน มี.ค.
ที่ผ่านมาคาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปีนี้จะขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบ 3 ปีที่ร้อยละ 4.8 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2 พ.ค. 51 30 เม.ย. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.742 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.5233/31.8733 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25250 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 832.45/15.84 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,800/12,900 13,200/13,300 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 105.55 108.91 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 36.59*/33.44* 36.59*/33.44* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 30 เม.ย. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ก.พ.51 ปรับตัวดีขึ้น รายงานเศรษฐกิจและการเงินฉบับล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) รายงานภาวะอสังหาริมทรัพย์ล่าสุดในเดือน ก.พ.51 ว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวดีขึ้น โดยความต้องการยังขยายตัว เห็นได้
จากจำนวนรายการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ยังขยายตัวได้ดี ทั้งนี้ จำนวนรายการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั่วประเทศในเดือน ก.พ.
มีจำนวน 68,522 รายการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.4% ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวเพียง 1.4% สอดคล้องกับ
มูลค่าการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเดือนเดียวกันที่มีจำนวน 48,037 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 19.9% และปรับตัวดี
ขึ้นต่อเนื่องจากเดือน ม.ค.ที่มูลค่าการซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีจำนวน 45,176 ล.บาท ขยายตัวจากปีก่อน 16.8% สำหรับด้านราคา
อสังหาริมทรัพย์ในระยะต่อไป ธปท.ระบุว่าน่าจะปรับตัวสูงขึ้นจากต้นทุนของผู้ประกอบการที่ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้น
มาตั้งแต่ปลายปี 2550 สอดคล้องกับรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อเดือน เม.ย.ของ ธปท.ที่ระบุว่า ราคาอสังหาริมทรัพย์ในระยะต่อไปจะมีราคา
สูงขึ้นจากปัจจัยต้นทุนมากกว่าจากความต้องการอุปสงค์เพิ่มขึ้น ทำให้โอกาสที่จะเกิดฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของไทยยังมีน้อย(กรุงเทพธุรกิจ)
2. เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิในเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้นอย่างมากจากเดือนก่อนหน้า ผลจากการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30%
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิในเดือน ก.พ.51 มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิ 160,221 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค.ที่มีเงินไหลเข้าสุทธิ 15,224 ล.บาท
เนื่องจากในวันที่ 29 ก.พ.ที่ผ่านมา มีข่าว ธปท.ยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ทำให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ
ตราสารทุนมีเงินไหลเข้า 188,133 ล.บาท เพิ่มขึ้นจำนวน 121,877 ล.บาทในเดือน ม.ค. ในส่วนของตราสารหนี้มีเงินไหลเข้า
52,336 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค.ที่ติดลบ 28,324 ล.บาท ส่วนเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศอยู่ที่ 18,735 ล.บาท เพิ่มขึ้น
จาก 10,143 ล.บาทในเดือนก่อนหน้า กรณีการที่ ธ.กลาง สรอ.ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% ทำให้ดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ที่ 2%
เชื่อว่าไม่ทำให้เงินทุนไหลเข้าประเทศไทย เพื่อหากำไรจากส่วนต่างดอกเบี้ยระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ที่ห่างกัน 1.25% เนื่องจากดอกเบี้ย
ที่แท้จริงของไทยขณะนี้ติดลบอยู่ (ข่าวสด, มติชน)
3. หนี้ต่างประเทศเดือน ก.พ.51 เพิ่มขึ้น 146 ล.ดอลลาร์ สรอ. ผู้สื่อข่าวรายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า
หนี้ต่างประเทศล่าสุด ณ สิ้นเดือน ก.พ.51 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 63,935 ล.ดอลลาร์ สรอ. เทียบกับเดือน ม.ค.51 ที่มีจำนวน 63,789 ล.
ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น 146 ล.ดอลลาร์ สรอ. โดยมีการก่อหนี้เพิ่มขึ้นของภาครัฐและภาคธนาคาร ขณะที่ภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารมีการชำระ
คืนหนี้ สำหรับสัดส่วนหนี้ต่างประเทศ แบ่งเป็นหนี้ระยะสั้น 37% หนี้ระยะยาว 63% ของยอดหนี้ต่างประเทศทั้งหมด (โลกวันนี้)
4. อัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย.51 เพิ่มขึ้น 6.2% เทียบต่อปี และเพิ่มขึ้น 1.8% เทียบต่อเดือน นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ
ปลัด ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (อัตราเงินเฟ้อ) เดือน เม.ย.51 มีค่าเท่ากับ 123.6 สูงขึ้น 6.2% เมื่อเทียบกับ
เดือนเดียวกันของปีก่อน นัยเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 23 เดือน ตั้งแต่เดือน พ.ค.49 โดยมีสาเหตุหลักจากการปรับขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
ในตลาดโลก ส่งผลให้ค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าทุกชนิดสูงขึ้น ได้แก่ หมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 9.8% และหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่
อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 3.9% สำหรับอัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย.51 เมื่อเทียบกับเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา สูงขึ้น 1.8% สาเหตุจากราคา
น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นปัจจัยสำคัญส่งผลให้ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 3.4% และสินค้าหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 0.8%
ทั้งนี้ จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นที่เหนือระดับ 100 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล และการแข็งค่าของเงินบาท ส่งผลให้ ก.พาณิชย์จำเป็นต้องปรับ
เพิ่มเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อปี 51 เป็น 5-5.5% จากเดิมที่ประมาณการไว้ที่ 3-3.5% (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์)
5. ดัชนีเอสเอ็มอีในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 51 ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า นางจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริม
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ดัชนีเอสเอ็มอีในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 51 (ม.ค.-มี.ค.) อยู่ที่ระดับ 44.1 ลดลง
จากระดับ 45.0 ในช่วงไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 38.7 จากระดับ 34.5 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่น
คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้ามีค่าดัชนีปรับตัวลดลงอยู่ที่ 46.4 จากระดับ 47.4 ซึ่งปรับตัวลดลงเกือบทุกประเภทกิจการ ทั้งนี้ ค่าดัชนีฯ ทุกตัว
ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำก่า 50 สะท้อนว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจในระดับที่ไม่ดีนัก เพราะนอกเหนือจากเศรษฐกิจ
ของประเทศที่ชะลอตัวแล้ว เอสเอ็มอียังมีความกังวลทั้งในเรื่องต้นทุนการประกอบการที่เพิ่มสูงขึ้น ราคาน้ำมัน ค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น รวมทั้ง
อำนาจซื้อของประชาชนที่ลดลง (ข่าวสด, ไทยโพสต์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การใช้จ่ายส่วนบุคคลของ สรอ. เดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 1 พ.ค.51
ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า การใช้จ่ายส่วนบุคคลของ สรอ. เดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน ก.พ.
และสูงกว่าผลสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ของสำนักข่าวรอยเตอร์ที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 0.2 แม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัว ด้านดัชนีชี้
วัดอัตราเงินเฟ้อก็เพิ่มสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อย ขณะที่รายได้ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ลดลงจากร้อยละ 0.5 ในเดือน ก.พ. และ
ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 0.4 เล็กน้อย ส่วนดัชนีราคาค่าใช้จ่ายในการบริโภคส่วนบุคคลโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากร้อยละ 0.1
ในเดือน ก.พ. (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อของ Euro zone ในเดือน เม.ย.51 ชะลอตัวลงในขณะที่ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจลดลงมาอยู่ในระดับต่ำสุด
ในรอบกว่า 2 ปีรายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 30 เม.ย.51 Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานประมาณการอัตราเงินเฟ้อ
ของ Euro zone ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ต่อปีในเดือน เม.ย.51 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.6 ต่อปีซึ่งสูงสุด
เป็นประวัติการณ์ในเดือนก่อน และต่ำกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ต่อปี โดยเป็นผลจากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงในเยอรมนี อิตาลี
สเปนและสโลเวเนีย แต่อย่างไรก็ดี จากราคาน้ำมันและราคาอาหารที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้ ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะไม่
ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 3.0 ต่อปีก่อนเดือน พ.ย.ปีนี้ ในขณะเดียวกันก็มีรายงานผลสำรวจความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจใน Euro zone
ซึ่งดัชนีลดลงมาอยู่ที่ระดับ 97.1 ในเดือน เม.ย.51 จุดจากระดับ 99.6 จุดในเดือน มี.ค.ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.48 และต่ำกว่าที่คาดไว้ว่า
จะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 99 จุด การชะลอตัวลงของอัตราเงินเฟ้อและความเชื่อมั่นของภาคุรกิจดังกล่าว ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลางยุโรป
หรือ ECB อาจลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า (รอยเตอร์)
3. คาดว่าเศรษฐกิจของอังกฤษปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 1.8 รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 2 พ.ค.51 สถาบันวิจัยทาง
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของอังกฤษ คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของอังกฤษในปีนี้จะชะลอตัวลงอย่างรุนแรงโดยจะเติบโตเพียงร้อยละ 1.8
เทียบกับร้อยละ 3.0 ในปี 50 เนื่องจากประชาชนประหยัดการใช้จ่าย โดยการใช้จ่ายของผู้บริโภคจะลดลงจากร้อยละ 3.1
ในปี 50 เหลือเพียงร้อยละ 1.2 ในปีนี้ ซึ่งจะเป็นอัตราการเติบโตต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2535 ที่อังกฤษฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะที่
ทางการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวประมาณร้อยละ 2 ส่วนนักเศรษฐศาสตร์อิสระหลายคนคาดว่าเศรษฐกิจปีนี้จะเติบโตร้อยละ 1.7
และ IMF คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 1.6 (รอยเตอร์)
4. ยอดส่งออกและอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือน เม.ย.51 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบกว่า 3 ปี รายงานจากโซล
เมื่อ 1 พ.ค.51 ยอดส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน เม.ย.51 เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.0 ต่อปี สูงสุดนับตั้งแต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.8 ต่อปีในเดือน
ส.ค.47 และสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 ต่อปี ผลจากความต้องการสินค้าของเกาหลีใต้จากตลาดเปิดใหม่เช่นประเทศ
ในตะวันออกกลางและอเมริกาใต้สูงขึ้นร้อยละ 43.9 และร้อยละ 28.5 ตามลำดับ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือนเดียวกัน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ต่อปี สูงสุดนับตั้งแต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ต่อปีในเดือน ส.ค.47 อยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของ ธ.กลาง
เกาหลีใต้ที่กำหนดไว้ระหว่างร้อยละ 2.5 — 3.5 ต่อปีเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน สร้างความลำบากใจให้ ธ.กลางเกาหลีใต้ที่ได้แรงกดดัน
จากรัฐบาลให้ลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ต้องการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับ
ที่เหมาะสม แต่อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์คาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้อาจลดอัตราดอกเบี้ยหนึ่งถึงสองครั้งภายในปีนี้เมื่ออัตราเงินเฟ้อชะลอตัว
ลงในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งนี้ รัฐบาลตั้งเป้าหมายให้เศรษฐกิจในปีนี้ขยายตัวร้อยละ 6.0 ในขณะที่ผลสำรวจรอยเตอร์ครั้งล่าสุดเมื่อเดือน มี.ค.
ที่ผ่านมาคาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปีนี้จะขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบ 3 ปีที่ร้อยละ 4.8 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2 พ.ค. 51 30 เม.ย. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.742 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.5233/31.8733 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25250 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 832.45/15.84 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 12,800/12,900 13,200/13,300 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 105.55 108.91 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 36.59*/33.44* 36.59*/33.44* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 30 เม.ย. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--