ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. เตรียมแจ้งให้สถาบันการเงินจัดทำแผนรองรับกฎหมายคุ้มครองเงินฝาก ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการสาย
เสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวถึงกรณีที่ ครม. อนุมัติเงินทุนประเดิมในการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก 406 ล้านบาท ว่า สถาบัน
คุ้มครองเงินฝากจะต้องเตรียมความพร้อม 3 ด้าน อย่างแรกคือการทำแผนคุ้มครองเงินฝากของประชาชน สองคือการประสานงานเพื่อเตรียม
ความพร้อมในการจัดตั้งร่วมกับ ธปท. และสุดท้ายจะต้องวางหลักเกณฑ์การจ่ายคืนเงินให้กับประชาชนในกรณีที่สถาบันการเงินมีปัญหา ด้าน
นายพงศ์อดุล กฤษณะราช ผอส.ฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ภายในเดือน พ.ค.นี้ ธปท.
จะส่งหนังสือแจ้งไปยังสถาบันการเงินให้จัดทำแผนรองรับ พรบ.คุ้มครองเงินฝากที่จะมีผลบังคับใช้เป็นทางการในเดือน ส.ค.นี้ เนื่องจาก
ตั้งแต่ปี 52 เป็นต้นไปผู้ฝากเงินจะไม่ได้รับการคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวนเหมือนที่ผ่านมา โดยจะแจ้งให้เป็นกรอบกว้าง ๆ ในการจัดทำแผน
เพื่อให้สถาบันการเงินมีแนวทางที่เป็นไปตามกฎหมาย แทนที่จะระบุชัดเจนว่าสถาบันการเงินต้องทำอะไรบ้าง สถาบันการเงินจึงต้องประเมิน
ว่าผู้ฝากที่มีเงินฝากต่ำกว่าและสูงกว่า 1 ล้านบาท มีกี่ราย ซึ่งหลังจากวันที่ 11 ส.ค.52 สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะให้ความคุ้มครองเงิน
ฝากเพียง 100 ล้านบาท และจะทยอยลดวงเงินคุ้มครองจนเหลือ 1 ล้านบาท ดังนั้น สถาบันการเงินต้องมีแผนรองรับลูกค้าที่อาจจะถอนเงิน
เพื่อบริหารความเสี่ยงของแต่ละบุคคล โดยการประเมินพฤติกรรมของลูกค้าแต่ละราย (กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์)
2. ธปท. กำลังพิจารณากรณี ธ.กรุงไทยขอใช้ บ.บัตเครดิตกรุงไทยเป็นตัวแทนรับชำระเงิน นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่า
การสายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ได้รับหนังสือขออนุญาตจัดตั้งตัวแทนรับชำระเงินจาก ธ.กรุงไทย ซึ่งจะขออนุญาตใช้สำนักงาน
สาขาของ บ.บัตรเครดิตกรุงไทยที่มีอยู่กว่า 30 แห่ง เป็นตัวแทนรับชำระเงินค่าบริการต่าง ๆ เช่น บัตรเครดิต หรือค่าอุปโภคบริโภค เป็นต้น
เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าธนาคารเหมือนกับที่ ธปท. อนุญาตให้ บ.ไปรษณีย์ไทยทำไปก่อนหน้านี้ โดยขณะนี้ยังอยู่ระหว่างขั้นตอนการ
พิจารณา คงไม่มีปัญหา น่าจะอนุญาตได้หากเป็นแค่ตัวแทนรับชำระเงิน แต่ถ้าจะขออนุญาตเป็นสาขาของธนาคารถึงขั้นรับฝากเงิน ถอนเงิน
เปิดบัญชี หรือทำธุรกรรมของธนาคาร คงต้องพิจารณารายละเอียดอีกมาก ซึ่งกำลังขอรายละเอียดจากธนาคารเพื่อพิจารณาเพิ่มเติม จึงบอก
ไม่ได้ว่าถ้าขออนุญาตลักษณะหลังนี้จะให้ได้หรือไม่ ทั้งนี้ การขอเปิดสาขาธนาคาร ธปท. เปิดให้ขอได้ตลอด แต่ยอมรับว่าการยื่นขอใช้บริษัทลูก
ไม่เคยมีมาก่อน ที่ผ่านมาส่วนใหญ่มีแต่บริษัทลูกใช้บริษัทแม่เป็นหน้าต่างในการขายประกัน (ไทยรัฐ)
3. ธปท. กำลังจับตาดูเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. กล่าวว่า ธปท.
กำลังจับตาดูเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด แต่จะรอดูก่อนที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จากการที่ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปหรือ CPI เดือน เม.ย. พุ่งแตะ
ระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี ที่ร้อยละ 6.2 ซึ่งสาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันและอาหารที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินมีกำหนดประชุม
ในวันที่ 21 พ.ค.นี้ (แนวหน้า)
4. ลูกค้าใหม่บัตรเครดิตมีพฤติกรรมการชำระหนี้เต็มจำนวนมากขึ้น นายธวัชชัย ธิติศักดิ์สกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส
บ.บัตรกรุงไทย เปิดเผยว่า จากสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ดีขึ้นในขณะนี้ทำให้พฤติกรรมของผู้ถือบัตรเครดิตมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดย
เฉพาะลูกค้าใหม่ที่ถือบัตรเครดิตที่มีรายได้ตั้งแต่ 35,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป ส่วนใหญ่จะมีการชำระเต็มจำนวนมากขึ้น มีความรอบคอบและมี
การประหยัดมากขึ้น โดยจากฐานลูกค้าของบริษัทที่มีอยู่ประมาณ 1.5 ล้านบัตร มีลูกค้าชำระเต็มจำนวนสูงถึงร้อยละ 70 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 65
(ไทยรัฐ, โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ประเทศอาเซียนร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนข้าว รายงานจาก Nusa Dua เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 51 ในการประชุม
ASEAN context ที่บาหลีเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียนได้อภิปรายประเด็นสำคัญเรื่องปัญหาราคาข้าวที่ในปีนี้ที่เพิ่มขึ้นเกือบ
3 เท่าโดยที่ Chicago Board of Trade ราคาข้าวได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 80 และได้ตกลงร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการขาดแคลนข้าว ทั้งนี้
นาย Muhyiddin Yassin รมว.การค้าของมาเลเซียกล่าวว่าราคาข้าวที่สูงขึ้นอย่างมากสร้างความวิตกให้แก่กลุ่มประเทศในเขตอาเซียน
เนื่องจากส่วนใหญ่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ทั้งนี้การประชุมดังกล่าวบรรดาประเทศต่างๆได้ตกลงที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยได้จัดตั้ง
สำรองข้าวของอาเซียนขึ้น (ASEAN emergency rice reserve) ซึ่งจะมีข้าวประมาณ 87,000 ตันเพื่อไว้ใช้ยามฉุกเฉิน อย่างไรก็ตาม
รมว.การค้าไทยเห็นว่าไม่น่าจะมีปัญหาด้านอุปทานเนื่องจากผลผลิตข้าวฤดูกาลใหม่จะออกสู่ตลาดในไม่ช้านี้ราวเดือน ก.ค. นอกจากนั้นในการ
ประชุมยังได้อภิปรายเกี่ยวกับการเจรจาทางการค้าโลกที่ล่าช้ามาอย่างยาวนานด้วย รวมทั้งการค้าเสรีของอาเซียนที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ
รวม 1 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ที่จะรวมเป็นFree trade zone ในราวปี 58 (รอยเตอร์)
2. ก.พาณิชย์คาดว่าการส่งออกของจีนในปี 51 จะขยายตัวชะลอลงร้อยละ 10 รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 5 พ.ค.51 ก.พาณิชย์
เปิดเผยประมาณการการส่งออกในปี 51 ของจีน โดยคาดว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 10 ลดลงอย่างมากจากการขยายตัวร้อยละ 25.7
ในปี 50 สาเหตุหลักจากการชะลอตัวอย่างมากของความต้องการจากต่างประเทศ โดยการส่งออกที่ขยายตัวชะลอลงดังกล่าวจะส่งผลให้จีน
เกินดุลการค้าลดลงเหลือ 200 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากที่เกินดุลการค้าจำนวน 262.2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม
การที่ยอดเกินดุลการค้าในช่วงไตรมาสแรกของปีมีจำนวน 41.4 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงไม่มากจากจำนวน 46.5 ในช่วงไตรมาส
ก่อนหน้า ช่วยบรรเทาความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของยอดเกินดุลการค้าของจีนลงได้ (รอยเตอร์)
3. ทุนสำรองทางการระหว่างประเทศของเกาหลีใต้ในเดือน เม.ย.51 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน รายงานจากโซลเมื่อ
6 พ.ค.51 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ทุนสำรองทางการระหว่างประเทศของเกาหลีใต้ในเดือน เม.ย.51 มีจำนวน 264.3 พันล.ดอลลาร์
สรอ. ลดลง 3.8 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.จากเดือนก่อนหน้าที่มีจำนวน 260.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. และเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ
3 เดือนนับตั้งแต่เดือน ม.ค.51 เป็นต้นมา ทั้งนี้ การที่ทุนสำรองฯ ในเดือน เม.ย. ลดลงดังกล่าว มีสาเหตุหลักเนื่องจากการไถ่ถอน พธบ.
ระยะยาวที่ครบกำหนด โดยทุนสำรองฯ ของเกาหลีใต้มีการลงทุนในหลักทรัพย์เป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 87.5 ขณะที่ลงทุนในเงินฝากธนาคาร
เพียงร้อยละ 12.3 (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์หดตัวในเดือน เม.ย.51 เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 5 พ.ค.51
ดัชนีชี้วัดผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์จากผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารด้านจัดซื้อของผู้ผลิตมากกว่า 150 แห่งในสิงคโปร์โดยสถาบันเพื่อ
การบริหารด้านจัดซื้อและวัตถุดิบของสิงคโปร์ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 49.3 ในเดือน เม.ย.51 จากระดับ 49.4 ในเดือน มี.ค.51 อยู่ในระดับ
ต่ำกว่า 50 ซึ่งแสดงถึงการหดตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน สะท้อนให้เห็นถึงการลดลงของคำสั่งซื้อ การผลิตและการจ้างงานเช่นที่เกิดกับ
ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียจากผลกระทบของเศรษฐกิจ สรอ.ที่กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย ทั้งนี้ ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์มีสัดส่วน
ประมาณ 1 ใน 4 ของผลผลิตรวมประเทศซึ่งในปี 49 ที่ผ่านมามีมูลค่ารวม 179 พันล้านดอลลาร์ สรอ.(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 พ.ค. 51 2 พ.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.709 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.4968/31.8402 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25250 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 843.15/18.79 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,100/13,200 12,800/12,900 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 109.69 105.55 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 36.59*/33.44* 36.59*/33.44* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 30 เม.ย. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. เตรียมแจ้งให้สถาบันการเงินจัดทำแผนรองรับกฎหมายคุ้มครองเงินฝาก ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการสาย
เสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวถึงกรณีที่ ครม. อนุมัติเงินทุนประเดิมในการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก 406 ล้านบาท ว่า สถาบัน
คุ้มครองเงินฝากจะต้องเตรียมความพร้อม 3 ด้าน อย่างแรกคือการทำแผนคุ้มครองเงินฝากของประชาชน สองคือการประสานงานเพื่อเตรียม
ความพร้อมในการจัดตั้งร่วมกับ ธปท. และสุดท้ายจะต้องวางหลักเกณฑ์การจ่ายคืนเงินให้กับประชาชนในกรณีที่สถาบันการเงินมีปัญหา ด้าน
นายพงศ์อดุล กฤษณะราช ผอส.ฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า ภายในเดือน พ.ค.นี้ ธปท.
จะส่งหนังสือแจ้งไปยังสถาบันการเงินให้จัดทำแผนรองรับ พรบ.คุ้มครองเงินฝากที่จะมีผลบังคับใช้เป็นทางการในเดือน ส.ค.นี้ เนื่องจาก
ตั้งแต่ปี 52 เป็นต้นไปผู้ฝากเงินจะไม่ได้รับการคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวนเหมือนที่ผ่านมา โดยจะแจ้งให้เป็นกรอบกว้าง ๆ ในการจัดทำแผน
เพื่อให้สถาบันการเงินมีแนวทางที่เป็นไปตามกฎหมาย แทนที่จะระบุชัดเจนว่าสถาบันการเงินต้องทำอะไรบ้าง สถาบันการเงินจึงต้องประเมิน
ว่าผู้ฝากที่มีเงินฝากต่ำกว่าและสูงกว่า 1 ล้านบาท มีกี่ราย ซึ่งหลังจากวันที่ 11 ส.ค.52 สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะให้ความคุ้มครองเงิน
ฝากเพียง 100 ล้านบาท และจะทยอยลดวงเงินคุ้มครองจนเหลือ 1 ล้านบาท ดังนั้น สถาบันการเงินต้องมีแผนรองรับลูกค้าที่อาจจะถอนเงิน
เพื่อบริหารความเสี่ยงของแต่ละบุคคล โดยการประเมินพฤติกรรมของลูกค้าแต่ละราย (กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์)
2. ธปท. กำลังพิจารณากรณี ธ.กรุงไทยขอใช้ บ.บัตเครดิตกรุงไทยเป็นตัวแทนรับชำระเงิน นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผู้ช่วยผู้ว่า
การสายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ได้รับหนังสือขออนุญาตจัดตั้งตัวแทนรับชำระเงินจาก ธ.กรุงไทย ซึ่งจะขออนุญาตใช้สำนักงาน
สาขาของ บ.บัตรเครดิตกรุงไทยที่มีอยู่กว่า 30 แห่ง เป็นตัวแทนรับชำระเงินค่าบริการต่าง ๆ เช่น บัตรเครดิต หรือค่าอุปโภคบริโภค เป็นต้น
เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าธนาคารเหมือนกับที่ ธปท. อนุญาตให้ บ.ไปรษณีย์ไทยทำไปก่อนหน้านี้ โดยขณะนี้ยังอยู่ระหว่างขั้นตอนการ
พิจารณา คงไม่มีปัญหา น่าจะอนุญาตได้หากเป็นแค่ตัวแทนรับชำระเงิน แต่ถ้าจะขออนุญาตเป็นสาขาของธนาคารถึงขั้นรับฝากเงิน ถอนเงิน
เปิดบัญชี หรือทำธุรกรรมของธนาคาร คงต้องพิจารณารายละเอียดอีกมาก ซึ่งกำลังขอรายละเอียดจากธนาคารเพื่อพิจารณาเพิ่มเติม จึงบอก
ไม่ได้ว่าถ้าขออนุญาตลักษณะหลังนี้จะให้ได้หรือไม่ ทั้งนี้ การขอเปิดสาขาธนาคาร ธปท. เปิดให้ขอได้ตลอด แต่ยอมรับว่าการยื่นขอใช้บริษัทลูก
ไม่เคยมีมาก่อน ที่ผ่านมาส่วนใหญ่มีแต่บริษัทลูกใช้บริษัทแม่เป็นหน้าต่างในการขายประกัน (ไทยรัฐ)
3. ธปท. กำลังจับตาดูเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. กล่าวว่า ธปท.
กำลังจับตาดูเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด แต่จะรอดูก่อนที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จากการที่ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปหรือ CPI เดือน เม.ย. พุ่งแตะ
ระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี ที่ร้อยละ 6.2 ซึ่งสาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันและอาหารที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินมีกำหนดประชุม
ในวันที่ 21 พ.ค.นี้ (แนวหน้า)
4. ลูกค้าใหม่บัตรเครดิตมีพฤติกรรมการชำระหนี้เต็มจำนวนมากขึ้น นายธวัชชัย ธิติศักดิ์สกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส
บ.บัตรกรุงไทย เปิดเผยว่า จากสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ดีขึ้นในขณะนี้ทำให้พฤติกรรมของผู้ถือบัตรเครดิตมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดย
เฉพาะลูกค้าใหม่ที่ถือบัตรเครดิตที่มีรายได้ตั้งแต่ 35,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป ส่วนใหญ่จะมีการชำระเต็มจำนวนมากขึ้น มีความรอบคอบและมี
การประหยัดมากขึ้น โดยจากฐานลูกค้าของบริษัทที่มีอยู่ประมาณ 1.5 ล้านบัตร มีลูกค้าชำระเต็มจำนวนสูงถึงร้อยละ 70 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 65
(ไทยรัฐ, โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ประเทศอาเซียนร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนข้าว รายงานจาก Nusa Dua เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 51 ในการประชุม
ASEAN context ที่บาหลีเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียนได้อภิปรายประเด็นสำคัญเรื่องปัญหาราคาข้าวที่ในปีนี้ที่เพิ่มขึ้นเกือบ
3 เท่าโดยที่ Chicago Board of Trade ราคาข้าวได้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 80 และได้ตกลงร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการขาดแคลนข้าว ทั้งนี้
นาย Muhyiddin Yassin รมว.การค้าของมาเลเซียกล่าวว่าราคาข้าวที่สูงขึ้นอย่างมากสร้างความวิตกให้แก่กลุ่มประเทศในเขตอาเซียน
เนื่องจากส่วนใหญ่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ทั้งนี้การประชุมดังกล่าวบรรดาประเทศต่างๆได้ตกลงที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยได้จัดตั้ง
สำรองข้าวของอาเซียนขึ้น (ASEAN emergency rice reserve) ซึ่งจะมีข้าวประมาณ 87,000 ตันเพื่อไว้ใช้ยามฉุกเฉิน อย่างไรก็ตาม
รมว.การค้าไทยเห็นว่าไม่น่าจะมีปัญหาด้านอุปทานเนื่องจากผลผลิตข้าวฤดูกาลใหม่จะออกสู่ตลาดในไม่ช้านี้ราวเดือน ก.ค. นอกจากนั้นในการ
ประชุมยังได้อภิปรายเกี่ยวกับการเจรจาทางการค้าโลกที่ล่าช้ามาอย่างยาวนานด้วย รวมทั้งการค้าเสรีของอาเซียนที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ
รวม 1 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ที่จะรวมเป็นFree trade zone ในราวปี 58 (รอยเตอร์)
2. ก.พาณิชย์คาดว่าการส่งออกของจีนในปี 51 จะขยายตัวชะลอลงร้อยละ 10 รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 5 พ.ค.51 ก.พาณิชย์
เปิดเผยประมาณการการส่งออกในปี 51 ของจีน โดยคาดว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 10 ลดลงอย่างมากจากการขยายตัวร้อยละ 25.7
ในปี 50 สาเหตุหลักจากการชะลอตัวอย่างมากของความต้องการจากต่างประเทศ โดยการส่งออกที่ขยายตัวชะลอลงดังกล่าวจะส่งผลให้จีน
เกินดุลการค้าลดลงเหลือ 200 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากที่เกินดุลการค้าจำนวน 262.2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม
การที่ยอดเกินดุลการค้าในช่วงไตรมาสแรกของปีมีจำนวน 41.4 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงไม่มากจากจำนวน 46.5 ในช่วงไตรมาส
ก่อนหน้า ช่วยบรรเทาความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของยอดเกินดุลการค้าของจีนลงได้ (รอยเตอร์)
3. ทุนสำรองทางการระหว่างประเทศของเกาหลีใต้ในเดือน เม.ย.51 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน รายงานจากโซลเมื่อ
6 พ.ค.51 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ทุนสำรองทางการระหว่างประเทศของเกาหลีใต้ในเดือน เม.ย.51 มีจำนวน 264.3 พันล.ดอลลาร์
สรอ. ลดลง 3.8 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.จากเดือนก่อนหน้าที่มีจำนวน 260.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. และเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ
3 เดือนนับตั้งแต่เดือน ม.ค.51 เป็นต้นมา ทั้งนี้ การที่ทุนสำรองฯ ในเดือน เม.ย. ลดลงดังกล่าว มีสาเหตุหลักเนื่องจากการไถ่ถอน พธบ.
ระยะยาวที่ครบกำหนด โดยทุนสำรองฯ ของเกาหลีใต้มีการลงทุนในหลักทรัพย์เป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 87.5 ขณะที่ลงทุนในเงินฝากธนาคาร
เพียงร้อยละ 12.3 (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์หดตัวในเดือน เม.ย.51 เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 5 พ.ค.51
ดัชนีชี้วัดผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์จากผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารด้านจัดซื้อของผู้ผลิตมากกว่า 150 แห่งในสิงคโปร์โดยสถาบันเพื่อ
การบริหารด้านจัดซื้อและวัตถุดิบของสิงคโปร์ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 49.3 ในเดือน เม.ย.51 จากระดับ 49.4 ในเดือน มี.ค.51 อยู่ในระดับ
ต่ำกว่า 50 ซึ่งแสดงถึงการหดตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน สะท้อนให้เห็นถึงการลดลงของคำสั่งซื้อ การผลิตและการจ้างงานเช่นที่เกิดกับ
ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียจากผลกระทบของเศรษฐกิจ สรอ.ที่กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย ทั้งนี้ ผลผลิตโรงงานของสิงคโปร์มีสัดส่วน
ประมาณ 1 ใน 4 ของผลผลิตรวมประเทศซึ่งในปี 49 ที่ผ่านมามีมูลค่ารวม 179 พันล้านดอลลาร์ สรอ.(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 พ.ค. 51 2 พ.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.709 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.4968/31.8402 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25250 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 843.15/18.79 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,100/13,200 12,800/12,900 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 109.69 105.55 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 36.59*/33.44* 36.59*/33.44* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 30 เม.ย. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--