ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือในเดือนมีนาคม 2551 ขยายตัวดีจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรเร่งตัวจากราคาพืชสำคัญที่สูงขึ้นมาก ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ภาคบริการขยายตัวดีกว่าปีก่อนเนื่องจากไม่ประสบกับปัญหาหมอกควัน ทางด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมยังทรงตัวแต่เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวโดยเฉพาะในสินค้าคงทน สำหรับการเบิกจ่าย เงินงบประมาณของภาครัฐลดลงเล็กน้อยเนื่องจากมีการเบิกจ่ายงบลงทุนตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ ส่วนการส่งออกชะลอตัวลงแต่การนำเข้าลดลงเล็กน้อย ดัชนีราคาผู้บริโภคเร่งตัวตามราคาอาหารและน้ำมัน ทางด้านเงินฝากและเงินให้สินเชื่อขยายตัว
ไตรมาสแรกปี 2551 เศรษฐกิจภาคเหนือยังขยายตัว ด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรเร่งตัวขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาพืชหลักเป็นสำคัญ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากการผลิตที่ขยายตัวในทุกหมวดยกเว้นเครื่องดื่ม ภาคบริการขยายตัวจากการจัดกิจกรรมและประชาสัมพันธ์ของภาครัฐและเอกชน ทางด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคชะลอตัวลง แต่มีสัญญาณฟื้นตัวในเครื่องชี้สำคัญ อาทิ ยอดจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ส่วนการลงทุนเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างและค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่ดินเพิ่มขึ้น การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐลดลงเล็กน้อยเพราะมีการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณในช่วงต้นปีงบประมาณ 2551 การส่งออกและการนำเข้ากระเตื้องขึ้น ดัชนีราคาผู้บริโภคเร่งตัวขึ้น สำหรับเงินฝากและเงินให้สินเชื่อขยายตัวดี
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร เดือนมีนาคม 2551 รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งตัวจากเดือนก่อนตามราคาพืชผลหลักที่สูงต่อเนื่อง โดยสูงขึ้นร้อยละ 22.3 เนื่องจากราคาข้าวนาปรังและมันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 53.4 และร้อยละ 88.5 จากอุปสงค์ของตลาดทั้งในและต่างประเทศที่มีต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ราคาอ้อยโรงงานที่เกษตรกรจำหน่ายได้ลดลงร้อยละ 4.4 เป็นผลจากราคาอ้อยขั้นต้นลดลงตามราคาในตลาดโลก ประกอบกับค่าความหวานเฉลี่ยลดลง ทางด้านผลผลิตพืชสำคัญเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 เพราะผลผลิตข้าวนาปรังออกสู่ตลาดลดลงตามผลผลิตต่อไร่ที่ลดลงจากสภาพอากาศที่เย็นนาน
ไตรมาสแรก ปี 2551 เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 สูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 เพราะราคาพืชผลหลักเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ โดยราคาพืชสำคัญสูงขึ้นร้อยละ 13.7 เนื่องจากราคาข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง ข้าวเปลือกเจ้านาปี และข้าวโพด สูงขึ้นตามราคาในตลาดโลก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.4 ร้อยละ 95.2 ร้อยละ 28.4 และร้อยละ 9.1 ตามลำดับ สำหรับราคาอ้อยโรงงานลดลงร้อยละ 4.4 ส่วนข้าวเปลือกเหนียวนาปีลดลงร้อยละ 20.2 เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้นมากส่วนด้านผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 โดยอ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง และข้าวนาปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ร้อยละ 5.0 และร้อยละ 2.4 ตามลำดับ เป็นผลจากเกษตรกรเพิ่มการผลิตเนื่องจากราคาปีก่อนจูงใจ ประกอบกับสภาพอากาศเอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ขณะที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และหอมแดงลดลงร้อยละ 4.2 และร้อยละ 11.4 เนื่องจากการปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น ส่วนข้าวนาปรังลดลงเพราะผลผลิตต่อไร่ลดลงเนื่องจากกระทบหนาว
2. ภาคอุตสาหกรรม1/ เดือนมีนาคม 2551 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.5 เท่ากับเดือนก่อน เพราะการผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรขยายตัวดีเป็นสำคัญ โดยอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 ตามการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าและมอเตอร์ที่เพิ่มขึ้นหลังจากที่ลดลงตั้งแต่ปีก่อน เนื่องจากมีอุปสงค์จากตลาดจีนและญี่ปุ่น การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ประเภทไดโอด แผงวงจรและตัวเก็บปะจุเพิ่มขึ้น เป็นผลจากความต้องการของตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะตัวเก็บประจุที่เป็นสินค้าชนิดใหม่ ส่วนอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 ตามการขยายตัวของผลผลิตน้ำตาล ข้าวโพดอ่อนและข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋อง ส่วนอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างยังคงลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามภาวะการก่อสร้างที่ยังคง
ซบเซา
ไตรมาสแรก ปี 2551 การผลิตภาคอุตสาหกรรมภาคเหนือขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน และขยายตัวในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ไตรมาสก่อน และขยายตัวทุกหมวดการผลิต โดยอุตสาหกรรมการแปรรูปผลผลิตการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 จากการผลิตผลไม้แช่แข็งเพิ่มขึ้น ผักสดแช่แข็ง/อบแห้งและข้าวโพดอ่อนผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากสินค้าของประเทศคู่แข่งขันมีปัญหาด้านคุณภาพ ส่วนข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องเพิ่มขึ้นจากการขยายตลาดในยุโรป อาทิ อังกฤษ เยอรมัน และอิตาลี ทางด้านอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 5.4 เทียบกับที่ลดลงไตรมาสก่อน เป็นผลจากการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ประเภทไดโอด แผงวงจร และตัวเก็บประจุที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในจีนเป็นสำคัญ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเซรามิกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และร้อยละ 16.9 เนื่องจากมีการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์จากยุโรป
3. ภาคบริการ เดือนมีนาคม 2551 ปรับตัวดีขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากปีนี้ไม่ประสบปัญหาหมอกควันเช่นปีก่อน ประกอบกับผู้ประกอบการเร่งส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ โดยภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคารที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.7 ขณะเดียวกันจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นขึ้นร้อยละ 27.1 จากระยะเดียวกันปีก่อนและเพิ่มมากโดยเฉพาะจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ด้านราคาห้องพักเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อยร้อยละ 0.4 ส่วนหนึ่งปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุนด้านการตลาด อย่างไรก็ตาม อัตราการเข้าพักลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นผลจากการจัดการอบรมสัมมนาของภาครัฐชะลอลงเนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นของรัฐบาลใหม่
ไตรมาสแรก ปี 2551 ภาคบริการขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน จากการจัดกิจกรรมและประชาสัมพันธ์ของภาครัฐและเอกชน ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.8 จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ส่วนอัตราการเข้าพักลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.7 และราคาห้องพักของโรงแรมลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.1
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เดือนมีนาคม 2551 ทรงตัวในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยการซื้อสินค้าคงทน เช่น รถจักรยานยนต์และรถยนต์มีสัญญาณฟื้นตัวตามรายได้เกษตรกรที่สูงขึ้น ประกอบกับการออกรถยนต์รุ่นใหม่และการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ดียอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโดยรวมลดลงร้อยละ 1.3 แต่สำหรับยอดขายหมวดค้าส่งค้าปลีก และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยังขยายตัว อีกทั้งปริมาณการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.5 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสภาพอากาศปีนี้เย็นยาวกว่าปีก่อน
ไตรมาสแรก ปี 2551การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลง โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์และปริมาณการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 และร้อยละ 3.9 ตามลำดับ ส่วนทางด้านมูลค่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มทรงตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน แต่ลดลงจากไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ขณะที่ปริมาณการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 1.7
5. การลงทุนภาคเอกชน เดือนมีนาคม 2551 อยู่ในเกณฑ์ชะลอตัวแต่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว โดยพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.4 จากการสนใจลงทุนของกลุ่มทุนรายใหญ่ในจังหวัดสำคัญ สำหรับปริมาณการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างยังคงลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน แต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน ส่วนค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่ดินมีจำนวน 37.7 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.1 และลดลงจากเดือนก่อนที่เร่งตัวร้อยละ 60.4 เป็นผลจากการชะลอการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อรอการประกาศใช้มาตรการลดหย่อนภาษีซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2551 ทางด้านมูลค่าเงินลงทุนของกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมีประมาณ 422.2 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.2
ไตรมาสแรก ปี 2551 การลงทุนภาคเอกชนยังคงชะลอตัวแต่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนตามความสนใจลงทุนที่เพิ่มขึ้น โดยพื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลของภาคเหนือและค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่ดินเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.6 และ 21.8 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างปรับลดลงต่อเนื่อง และมูลค่าเงินลงทุนของกิจการที่ได้รับอนุญาตส่งเสริมการลงทุนลดลงร้อยละ 72.0 ซึ่งลดลงมากในหมวดเกษตรกรรมและผลิตผลทางการเกษตร
6. การเบิกจ่ายเงินงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือ เดือนมีนาคม 2551 มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 12,323.6 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6 เนื่องจากรายจ่ายงบลงทุนลดลงร้อยละ 25.1 เพราะมีการเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2551 ทั้งนี้การเบิกจ่ายหมวดที่ดิน/สิ่งก่อสร้างลดลงร้อยละ 6.4 สำหรับรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 ตามหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง/ค่าตอบแทนพนักงานส่วนราชการที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 และร้อยละ 6.2 ตามลำดับ ทั้งนี้ จังหวัดที่มีการเบิกจ่ายเพิ่มขึ้น ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน อุทัยธานีและเพชรบูรณ์
ไตรมาสแรก ปี 2551 มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือ 42,371.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.0 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.9 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีการเร่งเบิกจ่ายตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2551 ประกอบกับช่วงเดียวกันปีก่อนมีการเร่งเบิกจ่ายหลังจากที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 ประกาศและมีผลบังคับใช้ล่าช้า (วันที่ 9 มกราคม 2550) ทั้งนี้ การเบิกงบลงทุนลดลงร้อยละ 3.7 ส่วนการเบิกจ่ายงบประจำลดลงร้อยละ 0.9
7. การค้าต่างประเทศ เดือนมีนาคม 2551 การส่งออกเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.3 เป็น 245.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 เดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการชะลอลงของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ อาทิ อัญมณีและเครื่องเพชรพลอย ประกอบกับการส่งออกส่วนประกอบฮาร์ดดิสต์ไดร์และเลนส์ลดลงร้อยละ 24.9 และร้อยละ 8.6 ตามความต้องการในตลาดญี่ปุ่นและสิงคโปร์ที่ลดลง ทางด้านการส่งออกผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.6 เป็น 82.6 ล้านดอลลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากเดือนก่อน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม น้ำมันพืช ยานพาหนะและชิ้นส่วน ส่งผลให้การส่งออกไปตลาดพม่า ลาว และจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.6 ร้อยละ 55.7 และร้อยละ 34.3 ตามลำดับ
การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.0 เหลือ 129.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 เดือนก่อน จากการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง อาทิ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อัญมณี และพลาสติก ที่ลดลงร้อยละ 19.7 ด้านการนำเข้าชิ้นส่วนและส่วนประกอบเครื่องจักรในการผลิตเลนส์ยังขยายตัวตามความต้องการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก โดยตลาดนำเข้าสำคัญที่ลดลงได้แก่ ญี่ปุ่น อิสราเอล และสิงคโปร์ ด้านการนำเข้าผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เป็น 9.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.3 ในเดือนก่อน โดยการนำเข้าจากพม่าลดลงร้อยละ 20.6 เหลือ 4.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนการนำเข้าจากลาวและจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.8 และร้อยละ 3.3 ตามลำดับ สินค้านำเข้าสำคัญ อาทิ ถ่านหินลิกไนท์ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และผักผลไม้ เป็นต้น
ดุลการค้าในเดือนมีนาคม 2551 เกินดุล 116.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนที่เกินดุล 105.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 103.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
ไตรมาสแรก ปี 2551 การส่งออกเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.7 เป็น 688.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ไตรมาสก่อน จากการขยายตัวของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 อาทิ แผงวงจรไฟฟ้าสำเร็จรูป อัญมณีเจียระไน และเลนส์สำหรับกล้องถ่ายรูป ในตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน อิสราเอล มาเลเซีย และสหรัฐอาหรับ อิมิเรตส์ สำหรับการส่งออกผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.3 เป็น 220.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนึ่งจากมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม น้ำมันพืช และยางแผ่นรมควันที่เพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้การส่งออกไปพม่าและลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.0 และร้อยละ 43.1 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกไปจีนตอนใต้ลดลงร้อยละ 1.8 จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน
การนำเข้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.1 เป็น 386.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.7 ไตรมาสก่อน โดยการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 โดยเฉพาะในเดือนกุมภาพันธ์ที่มีการนำเข้าสินค้าอัญมณีเพื่อเจียระไนเพิ่มขึ้นมาก ส่วนด้านการนำเข้าสินค้าทุนลดลงร้อยละ 26.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีการนำเข้าส่วนประกอบเครื่องจักรไฟฟ้าอยู่ในเกณฑ์สูง อย่างไรก็ดี การนำเข้าอุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา เช่น เลนส์ ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ทางด้านการนำเข้าผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เป็น 27.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากไตรมาสก่อนตามการนำเข้าจากลาวและจีนตอนใต้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.3 และร้อยละ 24.9 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจากพม่าลดลงร้อยละ 23.8 เหลือ 11.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการลดลงของผลิตภัณฑ์ไม้และสินค้าประมง
ดุลการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือในช่วงไตรมาสแรกปี 2551 เกินดุล 301.70 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนและไตรมาสก่อนที่เกินดุล 259.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 266.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
8. ระดับราคา เดือนมีนาคม 2551 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.3 และเร่งตัวจากเดือนก่อน โดยหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 จากราคาสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ ไข่ และข้าว ส่วนราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.0 ใกล้เคียงกับเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน
ไตรมาสแรก ปี 2551 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 เร่งตัวขึ้นตามราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 จากสินค้าประเภทข้าว ไข่ และเนื้อสัตว์โดยเฉพาะราคาเนื้อหมู ด้านสินค้าหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 จากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.9 สูงกว่าร้อยละ 0.5 ไตรมาสก่อน
9. การจ้างงาน จากผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2551 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.510 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.301 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราการมีงานทำเท่ากับร้อยละ 96.8 ต่ำกว่าร้อยละ 98.1 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากแรงงานภาคเกษตรลดลงร้อยละ 1.6 และแรงงานนอกภาคเกษตรลดลงร้อยละ 1.4 โดยลดลงมากในสาขาการก่อสร้างร้อยละ 10.1 และการผลิตร้อยละ 6.1 อย่างไรก็ดี ในสาขาโรงแรม/ภัตตาคาร และค้าส่ง/ปลีก มีแรงงานเพิ่มขึ้น สำหรับผู้ว่างงาน มีจำนวน 0.100 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 1.5 ทรงตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ทางด้านผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 เพียงสิ้นเดือนมีนาคม 2551 มีจำนวน 0.601 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน
10. การเงิน ยอดคงค้างเงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2551 มีทั้งสิ้น356,372 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.0 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากส่วนราชการ ประกอบกับมีการโอนเงินจากการลงทุนในระบบกองทุนเปิดมาฝากเงินในประเภทประจำแบบพิเศษเพิ่มขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย นครสวรรค์ และพิษณุโลก ด้านเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 289,487 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.1 เนื่องจากสินเชื่อส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นมากในจังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก และนครสวรรค์ อย่างไรก็ตาม ได้มีการชำระตั๋วเงินของธุรกิจประเภทโรงสีข้าว ค้าปุ๋ย และสหกรณ์ออมทรัพย์ ส่งผลให้สินเชื่อลดลงในจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลำปาง และเพชรบูรณ์ สำหรับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 81.2 สูงขึ้นจากร้อยละ 79.7 ระยะเดียวกันปีก่อน
ข้อมูลเพิ่มเติม : คุณทวีศักดิ์ ใจคำสืบ โทร. 0-5393-1162 e-mail: thaveesc@bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ไตรมาสแรกปี 2551 เศรษฐกิจภาคเหนือยังขยายตัว ด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรเร่งตัวขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาพืชหลักเป็นสำคัญ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากการผลิตที่ขยายตัวในทุกหมวดยกเว้นเครื่องดื่ม ภาคบริการขยายตัวจากการจัดกิจกรรมและประชาสัมพันธ์ของภาครัฐและเอกชน ทางด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคชะลอตัวลง แต่มีสัญญาณฟื้นตัวในเครื่องชี้สำคัญ อาทิ ยอดจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ส่วนการลงทุนเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างและค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่ดินเพิ่มขึ้น การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐลดลงเล็กน้อยเพราะมีการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณในช่วงต้นปีงบประมาณ 2551 การส่งออกและการนำเข้ากระเตื้องขึ้น ดัชนีราคาผู้บริโภคเร่งตัวขึ้น สำหรับเงินฝากและเงินให้สินเชื่อขยายตัวดี
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร เดือนมีนาคม 2551 รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งตัวจากเดือนก่อนตามราคาพืชผลหลักที่สูงต่อเนื่อง โดยสูงขึ้นร้อยละ 22.3 เนื่องจากราคาข้าวนาปรังและมันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 53.4 และร้อยละ 88.5 จากอุปสงค์ของตลาดทั้งในและต่างประเทศที่มีต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ราคาอ้อยโรงงานที่เกษตรกรจำหน่ายได้ลดลงร้อยละ 4.4 เป็นผลจากราคาอ้อยขั้นต้นลดลงตามราคาในตลาดโลก ประกอบกับค่าความหวานเฉลี่ยลดลง ทางด้านผลผลิตพืชสำคัญเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 เพราะผลผลิตข้าวนาปรังออกสู่ตลาดลดลงตามผลผลิตต่อไร่ที่ลดลงจากสภาพอากาศที่เย็นนาน
ไตรมาสแรก ปี 2551 เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 สูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 เพราะราคาพืชผลหลักเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ โดยราคาพืชสำคัญสูงขึ้นร้อยละ 13.7 เนื่องจากราคาข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง ข้าวเปลือกเจ้านาปี และข้าวโพด สูงขึ้นตามราคาในตลาดโลก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.4 ร้อยละ 95.2 ร้อยละ 28.4 และร้อยละ 9.1 ตามลำดับ สำหรับราคาอ้อยโรงงานลดลงร้อยละ 4.4 ส่วนข้าวเปลือกเหนียวนาปีลดลงร้อยละ 20.2 เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้นมากส่วนด้านผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 โดยอ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง และข้าวนาปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ร้อยละ 5.0 และร้อยละ 2.4 ตามลำดับ เป็นผลจากเกษตรกรเพิ่มการผลิตเนื่องจากราคาปีก่อนจูงใจ ประกอบกับสภาพอากาศเอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ขณะที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และหอมแดงลดลงร้อยละ 4.2 และร้อยละ 11.4 เนื่องจากการปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น ส่วนข้าวนาปรังลดลงเพราะผลผลิตต่อไร่ลดลงเนื่องจากกระทบหนาว
2. ภาคอุตสาหกรรม1/ เดือนมีนาคม 2551 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.5 เท่ากับเดือนก่อน เพราะการผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรขยายตัวดีเป็นสำคัญ โดยอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 ตามการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าและมอเตอร์ที่เพิ่มขึ้นหลังจากที่ลดลงตั้งแต่ปีก่อน เนื่องจากมีอุปสงค์จากตลาดจีนและญี่ปุ่น การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ประเภทไดโอด แผงวงจรและตัวเก็บปะจุเพิ่มขึ้น เป็นผลจากความต้องการของตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะตัวเก็บประจุที่เป็นสินค้าชนิดใหม่ ส่วนอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 ตามการขยายตัวของผลผลิตน้ำตาล ข้าวโพดอ่อนและข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋อง ส่วนอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างยังคงลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามภาวะการก่อสร้างที่ยังคง
ซบเซา
ไตรมาสแรก ปี 2551 การผลิตภาคอุตสาหกรรมภาคเหนือขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน และขยายตัวในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ไตรมาสก่อน และขยายตัวทุกหมวดการผลิต โดยอุตสาหกรรมการแปรรูปผลผลิตการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 จากการผลิตผลไม้แช่แข็งเพิ่มขึ้น ผักสดแช่แข็ง/อบแห้งและข้าวโพดอ่อนผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากสินค้าของประเทศคู่แข่งขันมีปัญหาด้านคุณภาพ ส่วนข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋องเพิ่มขึ้นจากการขยายตลาดในยุโรป อาทิ อังกฤษ เยอรมัน และอิตาลี ทางด้านอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 5.4 เทียบกับที่ลดลงไตรมาสก่อน เป็นผลจากการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ประเภทไดโอด แผงวงจร และตัวเก็บประจุที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของอุตสาหกรรมผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในจีนเป็นสำคัญ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเซรามิกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และร้อยละ 16.9 เนื่องจากมีการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์จากยุโรป
3. ภาคบริการ เดือนมีนาคม 2551 ปรับตัวดีขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากปีนี้ไม่ประสบปัญหาหมอกควันเช่นปีก่อน ประกอบกับผู้ประกอบการเร่งส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ โดยภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคารที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.7 ขณะเดียวกันจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นขึ้นร้อยละ 27.1 จากระยะเดียวกันปีก่อนและเพิ่มมากโดยเฉพาะจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ด้านราคาห้องพักเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อยร้อยละ 0.4 ส่วนหนึ่งปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุนด้านการตลาด อย่างไรก็ตาม อัตราการเข้าพักลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นผลจากการจัดการอบรมสัมมนาของภาครัฐชะลอลงเนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นของรัฐบาลใหม่
ไตรมาสแรก ปี 2551 ภาคบริการขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน จากการจัดกิจกรรมและประชาสัมพันธ์ของภาครัฐและเอกชน ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.8 จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ส่วนอัตราการเข้าพักลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.7 และราคาห้องพักของโรงแรมลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.1
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เดือนมีนาคม 2551 ทรงตัวในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยการซื้อสินค้าคงทน เช่น รถจักรยานยนต์และรถยนต์มีสัญญาณฟื้นตัวตามรายได้เกษตรกรที่สูงขึ้น ประกอบกับการออกรถยนต์รุ่นใหม่และการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ดียอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโดยรวมลดลงร้อยละ 1.3 แต่สำหรับยอดขายหมวดค้าส่งค้าปลีก และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยังขยายตัว อีกทั้งปริมาณการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.5 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากสภาพอากาศปีนี้เย็นยาวกว่าปีก่อน
ไตรมาสแรก ปี 2551การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลง โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์และปริมาณการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 และร้อยละ 3.9 ตามลำดับ ส่วนทางด้านมูลค่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มทรงตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน แต่ลดลงจากไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ขณะที่ปริมาณการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 1.7
5. การลงทุนภาคเอกชน เดือนมีนาคม 2551 อยู่ในเกณฑ์ชะลอตัวแต่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว โดยพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.4 จากการสนใจลงทุนของกลุ่มทุนรายใหญ่ในจังหวัดสำคัญ สำหรับปริมาณการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างยังคงลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน แต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน ส่วนค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่ดินมีจำนวน 37.7 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.1 และลดลงจากเดือนก่อนที่เร่งตัวร้อยละ 60.4 เป็นผลจากการชะลอการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อรอการประกาศใช้มาตรการลดหย่อนภาษีซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2551 ทางด้านมูลค่าเงินลงทุนของกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมีประมาณ 422.2 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.2
ไตรมาสแรก ปี 2551 การลงทุนภาคเอกชนยังคงชะลอตัวแต่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนตามความสนใจลงทุนที่เพิ่มขึ้น โดยพื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลของภาคเหนือและค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่ดินเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.6 และ 21.8 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างปรับลดลงต่อเนื่อง และมูลค่าเงินลงทุนของกิจการที่ได้รับอนุญาตส่งเสริมการลงทุนลดลงร้อยละ 72.0 ซึ่งลดลงมากในหมวดเกษตรกรรมและผลิตผลทางการเกษตร
6. การเบิกจ่ายเงินงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือ เดือนมีนาคม 2551 มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 12,323.6 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6 เนื่องจากรายจ่ายงบลงทุนลดลงร้อยละ 25.1 เพราะมีการเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2551 ทั้งนี้การเบิกจ่ายหมวดที่ดิน/สิ่งก่อสร้างลดลงร้อยละ 6.4 สำหรับรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 ตามหมวดเงินเดือนและค่าจ้าง/ค่าตอบแทนพนักงานส่วนราชการที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 และร้อยละ 6.2 ตามลำดับ ทั้งนี้ จังหวัดที่มีการเบิกจ่ายเพิ่มขึ้น ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน อุทัยธานีและเพชรบูรณ์
ไตรมาสแรก ปี 2551 มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือ 42,371.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.0 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.9 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีการเร่งเบิกจ่ายตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2551 ประกอบกับช่วงเดียวกันปีก่อนมีการเร่งเบิกจ่ายหลังจากที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 ประกาศและมีผลบังคับใช้ล่าช้า (วันที่ 9 มกราคม 2550) ทั้งนี้ การเบิกงบลงทุนลดลงร้อยละ 3.7 ส่วนการเบิกจ่ายงบประจำลดลงร้อยละ 0.9
7. การค้าต่างประเทศ เดือนมีนาคม 2551 การส่งออกเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.3 เป็น 245.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 เดือนก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการชะลอลงของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ อาทิ อัญมณีและเครื่องเพชรพลอย ประกอบกับการส่งออกส่วนประกอบฮาร์ดดิสต์ไดร์และเลนส์ลดลงร้อยละ 24.9 และร้อยละ 8.6 ตามความต้องการในตลาดญี่ปุ่นและสิงคโปร์ที่ลดลง ทางด้านการส่งออกผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.6 เป็น 82.6 ล้านดอลลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากเดือนก่อน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม น้ำมันพืช ยานพาหนะและชิ้นส่วน ส่งผลให้การส่งออกไปตลาดพม่า ลาว และจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.6 ร้อยละ 55.7 และร้อยละ 34.3 ตามลำดับ
การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.0 เหลือ 129.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 เดือนก่อน จากการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง อาทิ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อัญมณี และพลาสติก ที่ลดลงร้อยละ 19.7 ด้านการนำเข้าชิ้นส่วนและส่วนประกอบเครื่องจักรในการผลิตเลนส์ยังขยายตัวตามความต้องการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก โดยตลาดนำเข้าสำคัญที่ลดลงได้แก่ ญี่ปุ่น อิสราเอล และสิงคโปร์ ด้านการนำเข้าผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เป็น 9.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.3 ในเดือนก่อน โดยการนำเข้าจากพม่าลดลงร้อยละ 20.6 เหลือ 4.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนการนำเข้าจากลาวและจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.8 และร้อยละ 3.3 ตามลำดับ สินค้านำเข้าสำคัญ อาทิ ถ่านหินลิกไนท์ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และผักผลไม้ เป็นต้น
ดุลการค้าในเดือนมีนาคม 2551 เกินดุล 116.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนที่เกินดุล 105.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 103.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
ไตรมาสแรก ปี 2551 การส่งออกเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.7 เป็น 688.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ไตรมาสก่อน จากการขยายตัวของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 อาทิ แผงวงจรไฟฟ้าสำเร็จรูป อัญมณีเจียระไน และเลนส์สำหรับกล้องถ่ายรูป ในตลาดสำคัญ ได้แก่ จีน อิสราเอล มาเลเซีย และสหรัฐอาหรับ อิมิเรตส์ สำหรับการส่งออกผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.3 เป็น 220.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนึ่งจากมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม น้ำมันพืช และยางแผ่นรมควันที่เพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้การส่งออกไปพม่าและลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.0 และร้อยละ 43.1 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกไปจีนตอนใต้ลดลงร้อยละ 1.8 จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน
การนำเข้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.1 เป็น 386.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 4.7 ไตรมาสก่อน โดยการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 โดยเฉพาะในเดือนกุมภาพันธ์ที่มีการนำเข้าสินค้าอัญมณีเพื่อเจียระไนเพิ่มขึ้นมาก ส่วนด้านการนำเข้าสินค้าทุนลดลงร้อยละ 26.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีการนำเข้าส่วนประกอบเครื่องจักรไฟฟ้าอยู่ในเกณฑ์สูง อย่างไรก็ดี การนำเข้าอุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา เช่น เลนส์ ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ทางด้านการนำเข้าผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เป็น 27.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากไตรมาสก่อนตามการนำเข้าจากลาวและจีนตอนใต้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.3 และร้อยละ 24.9 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจากพม่าลดลงร้อยละ 23.8 เหลือ 11.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการลดลงของผลิตภัณฑ์ไม้และสินค้าประมง
ดุลการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือในช่วงไตรมาสแรกปี 2551 เกินดุล 301.70 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนและไตรมาสก่อนที่เกินดุล 259.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 266.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
8. ระดับราคา เดือนมีนาคม 2551 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.3 และเร่งตัวจากเดือนก่อน โดยหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 จากราคาสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ ไข่ และข้าว ส่วนราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.0 ใกล้เคียงกับเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน
ไตรมาสแรก ปี 2551 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 เร่งตัวขึ้นตามราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 จากสินค้าประเภทข้าว ไข่ และเนื้อสัตว์โดยเฉพาะราคาเนื้อหมู ด้านสินค้าหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 จากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.9 สูงกว่าร้อยละ 0.5 ไตรมาสก่อน
9. การจ้างงาน จากผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2551 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.510 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.301 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราการมีงานทำเท่ากับร้อยละ 96.8 ต่ำกว่าร้อยละ 98.1 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากแรงงานภาคเกษตรลดลงร้อยละ 1.6 และแรงงานนอกภาคเกษตรลดลงร้อยละ 1.4 โดยลดลงมากในสาขาการก่อสร้างร้อยละ 10.1 และการผลิตร้อยละ 6.1 อย่างไรก็ดี ในสาขาโรงแรม/ภัตตาคาร และค้าส่ง/ปลีก มีแรงงานเพิ่มขึ้น สำหรับผู้ว่างงาน มีจำนวน 0.100 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 1.5 ทรงตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ทางด้านผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 เพียงสิ้นเดือนมีนาคม 2551 มีจำนวน 0.601 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน
10. การเงิน ยอดคงค้างเงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2551 มีทั้งสิ้น356,372 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.0 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากส่วนราชการ ประกอบกับมีการโอนเงินจากการลงทุนในระบบกองทุนเปิดมาฝากเงินในประเภทประจำแบบพิเศษเพิ่มขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย นครสวรรค์ และพิษณุโลก ด้านเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 289,487 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.1 เนื่องจากสินเชื่อส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นมากในจังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก และนครสวรรค์ อย่างไรก็ตาม ได้มีการชำระตั๋วเงินของธุรกิจประเภทโรงสีข้าว ค้าปุ๋ย และสหกรณ์ออมทรัพย์ ส่งผลให้สินเชื่อลดลงในจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลำปาง และเพชรบูรณ์ สำหรับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 81.2 สูงขึ้นจากร้อยละ 79.7 ระยะเดียวกันปีก่อน
ข้อมูลเพิ่มเติม : คุณทวีศักดิ์ ใจคำสืบ โทร. 0-5393-1162 e-mail: thaveesc@bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--