นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ Mr. Roldan Jose Maria ประธานคณะอนุกรรมการ Accord Implementation Group (AIG) กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 8-9 พฤษภาคม 2551 ธปท. ได้รับเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะอนุกรรมการ AIG และ International Liaison Group on Capital (ILGC) ที่ ธปท. และโรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนความคืบหน้าของประเทศสมาชิก BIS ต่อการนำหลักเกณฑ์ Basel II มาบังคับใช้ นอกจากนี้ ยังจะมีการสัมมนา เชิงปฏิบัติการเรื่อง "Scaling for Complexity in Implementation of Pillar 2" เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการนำกรอบ Pillar 2, Basel II มาบังคับใช้กับสถาบันการเงินที่ทำธุรกรรมไม่สลับซับซ้อนด้วย
คณะอนุกรรมการทั้งสองเป็นคณะอนุกรรมการที่สำคัญของ Basel Committee on Banking Supervision ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์สากลในการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงิน อาทิเช่น หลักเกณฑ์ Basel II และนิยามของเงินกองทุน เป็นต้น โดยประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินจากทั่วโลก ซึ่งมี ดร. บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เป็นตัวแทนของกลุ่มประเทศสมาชิก EMEAP ในคณะอนุกรรมการฯ ดังกล่าว
การประชุมครั้งนี้ถือเป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก BIS และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธปท. อยู่ในช่วงเตรียมการนำหลักเกณฑ์ Basel II มาใช้ในปี 2552 ซึ่งในโอกาสนี้ ธปท. ได้เชิญ Mr. Roldan Jose Maria ประธานคณะอนุกรรมการAIG ร่วมพบปะหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหาร ธปท. ตัวแทนจากธนาคารพาณิชย์ไทย และสาขาธนาคารต่างประเทศ ทำให้เห็นได้ว่า สถาบันการเงินไทยมีแผนรองรับต่อหลักเกณฑ์ Basel II ในเชิงรุก จากการรวมตัวจัดตั้งคณะทำงานเตรียมความพร้อมรองรับ Basel II เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์และอุปสรรคที่พบ รวมทั้งร่วมกันหาแนวทางการแก้ไขกันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเน้นย้ำเจตนารมณ์ของ ธปท. ที่จะผลักดันให้สถาบันการเงินไทยได้นำกฎเกณฑ์การกำกับตรวจสอบที่เป็นสากลมาพัฒนาระบบการบริหารจัดการความเสี่ยง และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของฐานะและเงินทุนให้กับสถาบันการเงินไทยต่อไป
อนึ่ง หลักเกณฑ์ Basel II ซึ่งประกอบไปด้วย 3 หลักการ (Pillars) นั้น หลักการข้อที่ 2 "การกำกับโดยทางการ" ถือเป็นหลักการสำคัญต่อการพัฒนาระบบการบริหารจัดการความเสี่ยง และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของฐานะและเงินทุนของสถาบันการเงิน เนื่องจากเป็นกรอบการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินที่มุ่งเน้นให้กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงของสถาบันการเงินอยู่ใน รูปของ Principle based กล่าวคือ ผู้กำกับตรวจสอบเป็นผู้ที่วางกรอบการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เป็นสากล เพื่อเป็นแนวทางให้สถาบันการเงินกำหนดแผนงานและเงินกองทุนที่เหมาะสมกับสถาบันการเงินนั้นๆ และสอดคล้องกับกรอบดังกล่าว
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
คณะอนุกรรมการทั้งสองเป็นคณะอนุกรรมการที่สำคัญของ Basel Committee on Banking Supervision ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์สากลในการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงิน อาทิเช่น หลักเกณฑ์ Basel II และนิยามของเงินกองทุน เป็นต้น โดยประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินจากทั่วโลก ซึ่งมี ดร. บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เป็นตัวแทนของกลุ่มประเทศสมาชิก EMEAP ในคณะอนุกรรมการฯ ดังกล่าว
การประชุมครั้งนี้ถือเป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก BIS และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธปท. อยู่ในช่วงเตรียมการนำหลักเกณฑ์ Basel II มาใช้ในปี 2552 ซึ่งในโอกาสนี้ ธปท. ได้เชิญ Mr. Roldan Jose Maria ประธานคณะอนุกรรมการAIG ร่วมพบปะหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหาร ธปท. ตัวแทนจากธนาคารพาณิชย์ไทย และสาขาธนาคารต่างประเทศ ทำให้เห็นได้ว่า สถาบันการเงินไทยมีแผนรองรับต่อหลักเกณฑ์ Basel II ในเชิงรุก จากการรวมตัวจัดตั้งคณะทำงานเตรียมความพร้อมรองรับ Basel II เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์และอุปสรรคที่พบ รวมทั้งร่วมกันหาแนวทางการแก้ไขกันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเน้นย้ำเจตนารมณ์ของ ธปท. ที่จะผลักดันให้สถาบันการเงินไทยได้นำกฎเกณฑ์การกำกับตรวจสอบที่เป็นสากลมาพัฒนาระบบการบริหารจัดการความเสี่ยง และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของฐานะและเงินทุนให้กับสถาบันการเงินไทยต่อไป
อนึ่ง หลักเกณฑ์ Basel II ซึ่งประกอบไปด้วย 3 หลักการ (Pillars) นั้น หลักการข้อที่ 2 "การกำกับโดยทางการ" ถือเป็นหลักการสำคัญต่อการพัฒนาระบบการบริหารจัดการความเสี่ยง และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของฐานะและเงินทุนของสถาบันการเงิน เนื่องจากเป็นกรอบการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินที่มุ่งเน้นให้กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงของสถาบันการเงินอยู่ใน รูปของ Principle based กล่าวคือ ผู้กำกับตรวจสอบเป็นผู้ที่วางกรอบการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เป็นสากล เพื่อเป็นแนวทางให้สถาบันการเงินกำหนดแผนงานและเงินกองทุนที่เหมาะสมกับสถาบันการเงินนั้นๆ และสอดคล้องกับกรอบดังกล่าว
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--