ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. กองทุนฟื้นฟูฯ ชี้แจงฐานะ ธ.พาณิชย์ยังเป็นปกติ นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผอส.ฝ่ายบริหารกองทุน ธปท. ในฐานะ ผจก.กองทุนเพื่อ
การฟื้นฟูฯ กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวลือว่าจะมี ธ.พาณิชย์ล้ม 2 แห่ง ว่า ธนาคารที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นใหญ่ทั้ง 3 แห่ง คือ ธ.ไทยธนาคาร ธ.กรุงไทย
และ ธ.นครหลวงไทย ตามนโยบายก็มีแนวทางที่จะทยอยขายออกอยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้ได้ให้ที่ปรึกษาทางการเงินเริ่มทำที่ ธ.ไทยธนาคารก่อน และใน
ปัจจุบันยังสามารถดำเนินงานได้ตามปกติ ส่วนกรณี ธ.ไทยธนาคารหลังจากมีการเพิ่มทุนไปแล้ว 2 ครั้ง จะมีการเพิ่มทุนอีกหรือไม่นั้นยังไม่ทราบ
(โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
2. ธปท. จัดประชุมร่วม AIG-ILGC รองรับใช้เกณฑ์บาเซิลทูปี 52 นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผอส.อาวุโสฝ่ายนโยบายความเสี่ยง
ธปท. เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 8 — 9 พ.ค.51 ธปท. ได้รับเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะอนุกรรมการ Accord Implementation (AIG) และ
International Liaison Group on Capital (ILGC) ที่ ธปท. และ ร.ร.แกรนด์ ไฮแอทเอราวัณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์ตลอดจนความคืบหน้าของประเทศสมาชิก BIS ต่อการนำหลักเกณฑ์ Basel II มาบังคับใช้ นอกจากนี้ จะมีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง Scaling for Complexity in Implementation of Pillar 2 เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการนำกรอบ Pillar 2 และ
Basel II มาบังคับใช้กับสถานบันการเงินที่ทำธุรกรรมไม่ซับซ้อนด้วย ซึ่งการประชุมครั้งนี้ถือเป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก BIS โดยเฉพาะ
ธปท. ที่อยู่ในช่วงเตรียมการนำหลักเกณฑ์ Basel II มาใช้ในปี 52 (ผู้จัดการรายวัน)
3. ธ.พาณิชย์หลายแห่งเตรียมออกหุ้นกู้รองรับความต้องการเงินทุนเพื่อขยายธุรกิจ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กก.ผจก. ธ.กรุงไทย
กล่าวว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่มีความต้องการเงินทุนในการขยายธุรกิจเพิ่มมากขึ้น ธนาคารจึงเตรียมออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิอายุ 10 ปี โดยแบ่งเป็น 2
ประเภท คือ ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่และอัตราดอกเบี้ยลอยตัวอิงกับเงินฝาก 6 เดือน เพื่อจำหน่ายให้กับนักลงทุนสถาบันและลูกค้ารายย่อยใน
ประเทศ สำหรับจำนวนหุ้นที่จะจำหน่ายและอัตราผลตอบแทนจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง แต่มั่นใจว่าให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าและจะเป็นทางเลือกที่ดีในการ
ออม ส่วน ธ.ไทยพาณิชย์ประกาศขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิชนิดไม่มีหลักประกัน วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท กำหนดไถ่ถอนในปี 2561 อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นปีที่
1 — 2 ร้อยละ 4.25 เพิ่มเป็นขั้นบันไดจนถึงปีที่ 7 — 10 ร้อยละ 6.25 จองซื้อขั้นต่ำเริ่มที่ 1 แสนบาท นอกจากนี้ ในช่วงปลายเดือนนี้จนถึงสิ้น
เดือน มิ.ย. มี ธ.พาณิชย์หลายแห่งจะทยอยประกาศขายหุ้นกู้และหุ้นกู้ด้อยสิทธิในรูปแบบและผลตอบแทนที่แตกต่างกัน โดยคาดว่าจะมียอดขายไม่น้อย
กว่า 7 หมื่นล้านบาท ถึง 1 แสนล้านบาท อัตราดอกเบี้ยประมาณร้อยละ 5 — 6 ขึ้นอยู่กับระยะเวลา โดย ธ.กรุงเทพมีแผนออกหุ้นกู้วงเงิน 1.5
แสนล้านบาท ธ.เกียรตินาคินมีแผนออกหุ้นกู้ 2 หมื่นล้านบาท และ ธ.ทิสโก้ออกหุ้นกู้หมุนเวียนไม่เกิน 3 หมื่นล้านบาท (มติชน, ข่าวสด)
4. รัฐบาลซักซ้อมความเข้าใจโครงการเอสเอ็มแอลให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน นายปานปรีย์ พหิทธานุกร ที่ปรึกษารอง นรม.
(นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (เอสเอ็มแอล) ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอ
เพียง เปิดเผยภายหลังเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการเอสเอ็มแอล เช่น ก.มหาดไทย ธ.ออมสิน และ ธกส. ว่า ได้
ซักซ้อมความเข้าใจให้หน่วยงานต่าง ๆ ไปทำความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับการดำเนินโครงการเอสเอ็มแอลของรัฐบาลให้เป็นไปในแนวทาง
เดียวกัน เพราะที่ผ่านมายังมีปัญหาการสื่อสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประชาชนทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน รวมทั้งมีการแทรกแซงจาก
หน่วยงานของรัฐ ซึ่งจะทำชาวบ้านไม่มีอิสระในความคิดหรือดำเนินโครงการให้ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล (โลกวันนี้, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่า ธ. กลางยุโรปจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 ในการประชุมสัปดาห์นี้ รายงานจากFrankfurt เมื่อวันที่
8 พ.ค. 51 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจนักวิเคราะห์จำนวน 83 คนโดยรอยเตอร์ ซึ่งนักวิเคราะห์ทั้ง 83 คนคาดว่าในการประชุมนโยบายการ
เงินในสัปดาห์นี้ ธ.กลางยุโรปจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 ต่อไปเป็นเดือนที่ 11 อย่างไรก็ตามบรรดานักวิเคราะห์ต่างก็มีความเห็น
ว่ามีความเสี่ยงจากการสูงขึ้นของเงินเฟ้อ และมีสัญญานว่าภาวะเศรษฐกิจของ 15 ชาติในยูโรโซนจะชะลอตัว เนื่องจากปัญหาที่ได้รับผลกระทบจาก
ความตึงเครียดของตลาดเงิน ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือน เม.ย. อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ชะลอตัวลงจากที่เคยสูงทำสถิติสูงสุดเมื่อเดือนก่อนหน้า แต่ยังคง
อยู่ในระดับสูงกว่าที่ ธ.กลางยุโรปกำหนดไว้ไม่ให้เกินกว่าร้อยละ 3.0 อย่างไรก็ตามมีสัญญานให้เห็นว่า ธ.กลางยุโรปสามารถควบคุมภาวะเงินเฟ้อ
ได้แล้วและส่งผลให้ความเชื่อมั่นดีขึ้น (รอยเตอร์)
2. คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของเยอรมนีในเดือน มี.ค.51 ลดลงร้อยละ 0.6 ต่อเดือนผิดจากที่คาดไว้ รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 7
พ.ค.51 ก.เศรษฐกิจของเยอรมนีรายงานตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของเยอรมนีลดลงร้อยละ 0.6 ต่อเดือนในเดือน มี.ค.51 ผิดจากที่คาดไว้
ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อเดือน ส่งผลให้คำสั่งซื้อในไตรมาสแรกปีนี้ลดลงร้อยละ 1.3 โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศซึ่งลด
ลงร้อยละ 0.4 โดยหากแยกตามประเภทของสินค้าแล้ว คำสั่งซื้อสินค้าขั้นกลางเพื่อนำไปผลิตต่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ในขณะที่คำสั่งซื้อสินค้าทุนและ
สินค้าเพื่อการบริโภคลดลงร้อยละ 2.3 และ 2.7 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตโรงงานของอังกฤษในเดือน มี.ค.51 ลดลงร้อยละ 0.5 ต่อเดือนสูงสุดในรอบ 6 เดือน รายงานจากลอนดอน เมื่อ 7
พ.ค.51 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานตัวเลขผลผลิตโรงงานของอังกฤษในเดือน มี.ค.51 ลดลงร้อยละ 0.5 ต่อเดือน ลดลงในอัตราสูงสุด
ในรอบ 6 เดือนนับตั้งแต่เดือน ก.ย.ปีก่อน ผิดจากที่คาดไว้ว่าจะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง โดยส่วนใหญ่เป็นการลดลงของผลผลิตในอุตสาหกรรมรถยนต์
หลังจากเพิ่มขึ้นมากใน 2 เดือนก่อน ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมในวันที่ 8 พ.ค.51
นี้ แต่คาดว่า อาจลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้าหลังจากคงอัตราดอกเบี้ยมาตั้งแต่เดือน ธ.ค.ปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
4. รายได้ของ ธพ. ขนาดใหญ่ในสิงคโปร์ชะลอลงจากปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 51 ธพ. ขนาด
ใหญ่ 2 แห่งของ Southeast Asia ซึ่งได้แก่ DBS Group และ OCBC ต่างได้รับผลกระทบจากปัญหา subprime ใน สรอ. ที่สร้างความเสีย
หายไปทั่วโลก ทำให้รายได้ในไตรมาสนี้ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว และคาดว่าอาจกระทบต่อผลประกอบการในช่วงครึ่งหลังปีนี้ด้วย เนื่องจากเศรษฐกิจ
สรอ. ประสบกับภาวะถดถอยและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเอเชีย ทั้งนี้นาย Matthew Wilson นักวิเคราะห์จาก Morgan Stanley กล่าวว่า
เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากสภาวะแวดล้อมโดยรวมซึ่งน่าวิตกว่าภาวะเศรษฐกิจสรอ.ที่ถดถอยในปัจจุบันจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสิงคโปร์ด้วย
ทั้งนี้ในปีนี้สินเชื่อของสิงคโปร์อยู่ที่ร้อยละ 12 — 13 ชะลอตัวลงจากที่เติบโตร้อยละ 20 เมื่อปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8 พ.ค. 51 7 พ.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมู
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.732 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.5116/31.8548 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25500 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 848.71/22.53 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,100/13,200 13,200/13,300 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 114.65 112.85 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 37.09*/33.94* 36.59*/33.44* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 8 พ.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. กองทุนฟื้นฟูฯ ชี้แจงฐานะ ธ.พาณิชย์ยังเป็นปกติ นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผอส.ฝ่ายบริหารกองทุน ธปท. ในฐานะ ผจก.กองทุนเพื่อ
การฟื้นฟูฯ กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวลือว่าจะมี ธ.พาณิชย์ล้ม 2 แห่ง ว่า ธนาคารที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นใหญ่ทั้ง 3 แห่ง คือ ธ.ไทยธนาคาร ธ.กรุงไทย
และ ธ.นครหลวงไทย ตามนโยบายก็มีแนวทางที่จะทยอยขายออกอยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้ได้ให้ที่ปรึกษาทางการเงินเริ่มทำที่ ธ.ไทยธนาคารก่อน และใน
ปัจจุบันยังสามารถดำเนินงานได้ตามปกติ ส่วนกรณี ธ.ไทยธนาคารหลังจากมีการเพิ่มทุนไปแล้ว 2 ครั้ง จะมีการเพิ่มทุนอีกหรือไม่นั้นยังไม่ทราบ
(โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
2. ธปท. จัดประชุมร่วม AIG-ILGC รองรับใช้เกณฑ์บาเซิลทูปี 52 นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผอส.อาวุโสฝ่ายนโยบายความเสี่ยง
ธปท. เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 8 — 9 พ.ค.51 ธปท. ได้รับเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะอนุกรรมการ Accord Implementation (AIG) และ
International Liaison Group on Capital (ILGC) ที่ ธปท. และ ร.ร.แกรนด์ ไฮแอทเอราวัณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์ตลอดจนความคืบหน้าของประเทศสมาชิก BIS ต่อการนำหลักเกณฑ์ Basel II มาบังคับใช้ นอกจากนี้ จะมีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
เรื่อง Scaling for Complexity in Implementation of Pillar 2 เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการนำกรอบ Pillar 2 และ
Basel II มาบังคับใช้กับสถานบันการเงินที่ทำธุรกรรมไม่ซับซ้อนด้วย ซึ่งการประชุมครั้งนี้ถือเป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก BIS โดยเฉพาะ
ธปท. ที่อยู่ในช่วงเตรียมการนำหลักเกณฑ์ Basel II มาใช้ในปี 52 (ผู้จัดการรายวัน)
3. ธ.พาณิชย์หลายแห่งเตรียมออกหุ้นกู้รองรับความต้องการเงินทุนเพื่อขยายธุรกิจ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กก.ผจก. ธ.กรุงไทย
กล่าวว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่มีความต้องการเงินทุนในการขยายธุรกิจเพิ่มมากขึ้น ธนาคารจึงเตรียมออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิอายุ 10 ปี โดยแบ่งเป็น 2
ประเภท คือ ประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่และอัตราดอกเบี้ยลอยตัวอิงกับเงินฝาก 6 เดือน เพื่อจำหน่ายให้กับนักลงทุนสถาบันและลูกค้ารายย่อยใน
ประเทศ สำหรับจำนวนหุ้นที่จะจำหน่ายและอัตราผลตอบแทนจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง แต่มั่นใจว่าให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าและจะเป็นทางเลือกที่ดีในการ
ออม ส่วน ธ.ไทยพาณิชย์ประกาศขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิชนิดไม่มีหลักประกัน วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท กำหนดไถ่ถอนในปี 2561 อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นปีที่
1 — 2 ร้อยละ 4.25 เพิ่มเป็นขั้นบันไดจนถึงปีที่ 7 — 10 ร้อยละ 6.25 จองซื้อขั้นต่ำเริ่มที่ 1 แสนบาท นอกจากนี้ ในช่วงปลายเดือนนี้จนถึงสิ้น
เดือน มิ.ย. มี ธ.พาณิชย์หลายแห่งจะทยอยประกาศขายหุ้นกู้และหุ้นกู้ด้อยสิทธิในรูปแบบและผลตอบแทนที่แตกต่างกัน โดยคาดว่าจะมียอดขายไม่น้อย
กว่า 7 หมื่นล้านบาท ถึง 1 แสนล้านบาท อัตราดอกเบี้ยประมาณร้อยละ 5 — 6 ขึ้นอยู่กับระยะเวลา โดย ธ.กรุงเทพมีแผนออกหุ้นกู้วงเงิน 1.5
แสนล้านบาท ธ.เกียรตินาคินมีแผนออกหุ้นกู้ 2 หมื่นล้านบาท และ ธ.ทิสโก้ออกหุ้นกู้หมุนเวียนไม่เกิน 3 หมื่นล้านบาท (มติชน, ข่าวสด)
4. รัฐบาลซักซ้อมความเข้าใจโครงการเอสเอ็มแอลให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน นายปานปรีย์ พหิทธานุกร ที่ปรึกษารอง นรม.
(นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (เอสเอ็มแอล) ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอ
เพียง เปิดเผยภายหลังเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการเอสเอ็มแอล เช่น ก.มหาดไทย ธ.ออมสิน และ ธกส. ว่า ได้
ซักซ้อมความเข้าใจให้หน่วยงานต่าง ๆ ไปทำความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับการดำเนินโครงการเอสเอ็มแอลของรัฐบาลให้เป็นไปในแนวทาง
เดียวกัน เพราะที่ผ่านมายังมีปัญหาการสื่อสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประชาชนทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน รวมทั้งมีการแทรกแซงจาก
หน่วยงานของรัฐ ซึ่งจะทำชาวบ้านไม่มีอิสระในความคิดหรือดำเนินโครงการให้ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล (โลกวันนี้, แนวหน้า)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่า ธ. กลางยุโรปจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 ในการประชุมสัปดาห์นี้ รายงานจากFrankfurt เมื่อวันที่
8 พ.ค. 51 รอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจนักวิเคราะห์จำนวน 83 คนโดยรอยเตอร์ ซึ่งนักวิเคราะห์ทั้ง 83 คนคาดว่าในการประชุมนโยบายการ
เงินในสัปดาห์นี้ ธ.กลางยุโรปจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 ต่อไปเป็นเดือนที่ 11 อย่างไรก็ตามบรรดานักวิเคราะห์ต่างก็มีความเห็น
ว่ามีความเสี่ยงจากการสูงขึ้นของเงินเฟ้อ และมีสัญญานว่าภาวะเศรษฐกิจของ 15 ชาติในยูโรโซนจะชะลอตัว เนื่องจากปัญหาที่ได้รับผลกระทบจาก
ความตึงเครียดของตลาดเงิน ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือน เม.ย. อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ชะลอตัวลงจากที่เคยสูงทำสถิติสูงสุดเมื่อเดือนก่อนหน้า แต่ยังคง
อยู่ในระดับสูงกว่าที่ ธ.กลางยุโรปกำหนดไว้ไม่ให้เกินกว่าร้อยละ 3.0 อย่างไรก็ตามมีสัญญานให้เห็นว่า ธ.กลางยุโรปสามารถควบคุมภาวะเงินเฟ้อ
ได้แล้วและส่งผลให้ความเชื่อมั่นดีขึ้น (รอยเตอร์)
2. คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของเยอรมนีในเดือน มี.ค.51 ลดลงร้อยละ 0.6 ต่อเดือนผิดจากที่คาดไว้ รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 7
พ.ค.51 ก.เศรษฐกิจของเยอรมนีรายงานตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของเยอรมนีลดลงร้อยละ 0.6 ต่อเดือนในเดือน มี.ค.51 ผิดจากที่คาดไว้
ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อเดือน ส่งผลให้คำสั่งซื้อในไตรมาสแรกปีนี้ลดลงร้อยละ 1.3 โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศซึ่งลด
ลงร้อยละ 0.4 โดยหากแยกตามประเภทของสินค้าแล้ว คำสั่งซื้อสินค้าขั้นกลางเพื่อนำไปผลิตต่อเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ในขณะที่คำสั่งซื้อสินค้าทุนและ
สินค้าเพื่อการบริโภคลดลงร้อยละ 2.3 และ 2.7 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตโรงงานของอังกฤษในเดือน มี.ค.51 ลดลงร้อยละ 0.5 ต่อเดือนสูงสุดในรอบ 6 เดือน รายงานจากลอนดอน เมื่อ 7
พ.ค.51 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานตัวเลขผลผลิตโรงงานของอังกฤษในเดือน มี.ค.51 ลดลงร้อยละ 0.5 ต่อเดือน ลดลงในอัตราสูงสุด
ในรอบ 6 เดือนนับตั้งแต่เดือน ก.ย.ปีก่อน ผิดจากที่คาดไว้ว่าจะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง โดยส่วนใหญ่เป็นการลดลงของผลผลิตในอุตสาหกรรมรถยนต์
หลังจากเพิ่มขึ้นมากใน 2 เดือนก่อน ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมในวันที่ 8 พ.ค.51
นี้ แต่คาดว่า อาจลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้าหลังจากคงอัตราดอกเบี้ยมาตั้งแต่เดือน ธ.ค.ปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
4. รายได้ของ ธพ. ขนาดใหญ่ในสิงคโปร์ชะลอลงจากปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 51 ธพ. ขนาด
ใหญ่ 2 แห่งของ Southeast Asia ซึ่งได้แก่ DBS Group และ OCBC ต่างได้รับผลกระทบจากปัญหา subprime ใน สรอ. ที่สร้างความเสีย
หายไปทั่วโลก ทำให้รายได้ในไตรมาสนี้ลดลงจากไตรมาสที่แล้ว และคาดว่าอาจกระทบต่อผลประกอบการในช่วงครึ่งหลังปีนี้ด้วย เนื่องจากเศรษฐกิจ
สรอ. ประสบกับภาวะถดถอยและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของเอเชีย ทั้งนี้นาย Matthew Wilson นักวิเคราะห์จาก Morgan Stanley กล่าวว่า
เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากสภาวะแวดล้อมโดยรวมซึ่งน่าวิตกว่าภาวะเศรษฐกิจสรอ.ที่ถดถอยในปัจจุบันจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสิงคโปร์ด้วย
ทั้งนี้ในปีนี้สินเชื่อของสิงคโปร์อยู่ที่ร้อยละ 12 — 13 ชะลอตัวลงจากที่เติบโตร้อยละ 20 เมื่อปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 8 พ.ค. 51 7 พ.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมู
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.732 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.5116/31.8548 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25500 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 848.71/22.53 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,100/13,200 13,200/13,300 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 114.65 112.85 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 37.09*/33.94* 36.59*/33.44* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 8 พ.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--