ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. รายงานการขายหุ้น ธ.พาณิชย์ที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นให้ ก.คลังรับทราบมาตลอด นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท.
กล่าวว่า ธปท. ได้รายงานการทยอยขายหุ้นของ ธ.พาณิชย์ที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้น ได้แก่ ธ.กรุงไทย ธ.นครหลวงไทย และ ธ.ไทยธนาคาร
ให้กับ รมว.คลังรับทราบมาตลอด ซึ่งขณะนี้ทุกธนาคารยังดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ โดยในการเปิดขายหุ้นของ ธ.ไทยธนาคาร ธปท. ได้แถลง
ต่อสื่อมวลชนอย่างเปิดเผย และขณะนี้ได้ให้ที่ปรึกษาทางการเงินดูอยู่ ด้าน นายพีรศิลป์ ศุภผลศิริ กก.ผจก.ใหญ่ ธ.ไทยธนาคาร กล่าวว่า
ธนาคารมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงสูงกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด สภาพคล่องส่วนเกินสูง และทำธุรกิจได้ตามปกติ ขณะที่ นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์
กก.ผจก.ใหญ่ ธ.นครหลวงไทย กล่าวว่า ธนาคารมีความแข็งแกร่งด้านฐานะทางการเงิน สินทรัพย์ รวมถึงสินเชื่อและเงินฝาก โดยมีเงินกองทุน
ในระดับร้อยละ 13 ซึ่งเป็นเงินกองทุนขั้นที่ 1 ประมาณร้อยละ 12 และเงินกองทุนขั้นที่ 2 ประมาณร้อยละ 1 ส่วนการเติบโตของสินเชื่อยัง
เป็นไปด้วยดี โดยเฉพาะสินเชื่อรายใหญ่ในครึ่งปีหลังน่าจะเติบโตได้ดีขึ้นต่อเนื่อง (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
2. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้น แต่เงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในเป้าหมาย นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อ
ที่เร่งตัวขึ้นในตอนนี้คืออัตราเงินเฟ้อทั่วไป ซึ่งคงจะส่งผ่านมายังอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน แต่จะมีระยะเวลาเหลื่อมออกไป โดยจากการประเมินเห็นว่า
แม้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะสูงขึ้นแต่เงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในเป้าหมาย ดังนั้น เงินเฟ้อในขณะนี้จึงยังไม่ใช่เรื่องที่น่าตกใจและไม่ควรนำไปโยงกับ
นโยบายอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากการดำเนินนโยบายการเงินจะต้องดูจากการสะท้อนของต้นทุนราคาสินค้าที่เกิดขึ้นจากการส่งผ่านของราคาน้ำมัน
และอาหารสดที่สูงขึ้นในรอบสอง หากการส่งผ่านไม่มากไปกว่าที่คาดก็ไม่เป็นปัญหา แต่หากถูกส่งผ่านไปที่ต้นทุนอย่างรุนแรง ธปท. ก็ต้องพิจารณา
ใช้เครื่องมือที่มีอยู่ให้เหมาะสม ด้าน นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผอส.ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท. กล่าวว่า จากเครื่องชี้ของ ธปท. เห็นภาพ
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกปีนี้ออกมาค่อนข้างดี โดยมั่นใจว่าเศรษฐกิจไตรมาสแรกจะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 6 แต่มีประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ
อัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวในเดือน เม.ย. ที่ขยายตัวร้อยละ 6.2 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากราคาน้ำมันและสินค้าเกษตร
และโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ภาพรวมเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในไตรมาสแรกปรับตัวดีขึ้น นายสมชาย เสตกรณุกูล ผอส.สนง.ภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือ ธปท. เปิดเผยว่า ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในไตรมาสแรกปีนี้เริ่มปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน อัน
เป็นผลมาจากการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวและรายได้ของเกษตรกรเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากราคาพืชผลทางการเกษตรที่สูงขึ้น
เพราะผลผลิตมีน้อยกว่าความต้องการทั้งภายในประเทศและเพื่อการส่งออก ซึ่งภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นทำให้ประชาชนมีการบริโภคมากขึ้น
ส่วนการค้าชายแดนไทย-ลาว และไทย-กัมพูชายังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน สำหรับการท่องเที่ยวอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่
สถาบันการเงินเริ่มปล่อยสินเชื่อให้ทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขึ้น ด้านเงินฝากและสินเชื่อขยายตัวเพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลประเภทเช่าซื้อ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเพื่อการอุตสาหกรรม ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไป
อยู่ที่ร้อยละ 5.2 เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปัจจัยที่เป็นข้อจำกัด
ต่อการขยายตัว ได้แก่ ประชาชนและนักธุรกิจยังขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน เนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ตลอดจนความไม่
แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ (โลกวันนี้)
4. ก.คลังจัดเก็บรายได้ช่วงเดือน ต.ค.50-เม.ย.51 สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 1.1 นายสมชัย สัจจพงษ์ โฆษก ก.คลัง เปิดเผยว่า
รัฐบาลจัดเก็บรายได้ในเดือน เม.ย.51 จำนวน 127,092 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 909 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.7 ทำให้ในช่วง
7 เดือนแรกของปี งปม.51 (ต.ค.50-เม.ย.51) จัดเก็บได้ 762,490 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 8,595 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.1
อันเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีสรรพากรและศุลกากรสูงกว่าเป้าหมายเป็นหลัก โดย ก.สรรพากรจัดเก็บได้ 567,082 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย
ที่ตั้งไว้ 17,294 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.1 ขณะที่ ก.สรรพสามิตเก็บได้รวม 172,487 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 160 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 0.1 ส่วน ก.ศุลกากรเก็บได้รวม 57,173 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 5,533 ล้านบาท (เดลินิวส์, โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลางยุโรปคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปีตามที่คาดไว้ รายงานจากเอเธนส์ เมื่อ 8 พ.ค.51 ธ.กลาง
ยุโรปหรือ ECB คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี ตามที่ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดไว้ ทั้งนี้ เพื่อ
ลดแรงกดดันเงินเฟ้อที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจในภูมิภาคซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก
แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่า ECB จะลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 3.5 ต่อปีภายในสิ้นปีนี้ (รอยเตอร์)
2. เยอรมนีเกินดุลการค้าลดลงในเดือน มี.ค.51 สาเหตุจากการส่งออกชะลอตัว รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 8 พ.ค.51
สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า เยอรมนีเกินดุลการค้าในเดือน มี.ค.51 จำนวน 15.4 พัน ล.ยูโร ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล
จำนวน 16.3 พัน ล.ยูโร และต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะเกินดุลการค้าเป็นจำนวน 16.5 พันล.ยูโร ทั้งนี้
การเกินดุลการค้าที่ลดลงดังกล่าวเป็นผลจากการชะลอตัวของการส่งออก ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น โดยการส่งออกมีจำนวน 84.6 พัน ล.ยูโร
ลดลงร้อยละ 0.5 เทียบต่อเดือน สวนทางกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ส่วนการนำเข้ามีจำนวน
69.2 พัน ล.ยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เทียบต่อเดือน สูงกว่าเล็กน้อยจากการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7
ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีการส่งออกขยายตัวร้อยละ 0.2 และการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 3.3 (รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของจีนในเดือน เม.ย. จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 8.5 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 51 แหล่งข่าว
2 แห่งของทางการจีนเปิดเผยว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน เม.ย. ของจีนจะสูงขึ้นที่ร้อยละ 8.5 จากร้อยละ 8.3 ในเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
หลังจากที่เคยทำสถิติสูงสุดในรอบเกือบ 12 ปีเมื่อเดือน ก.พ. ที่ร้อยละ 8.7 เนื่องจากทางการจีนประสบปัญหาในการควบคุมภาวะเงินเฟ้อ
มิให้สูงขึ้นมากขณะเดียวกันต้องป้องกันมิให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วด้วย ขณะที่ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่า
อัตราเงินเฟ้อในเดือน เม.ย. จะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 8.3 ทั้งนี้ทางการจีนมีกำหนดที่จะเปิดเผยตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ
อย่างเป็นทางการในวันที่ 12 พ.ค. นี้ อย่างไรก็ตามอาจจะมีการทบทวนตัวเลขดังกล่าว เนื่องจากราคาข้าวซึ่งมีน้ำหนักถึง 1 ใน 3 ในการ
คำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคในปัจจุบัน มีราคาสูงขึ้นอย่างมากถึงร้อยละ 6.8 ในเดือน มี.ค. ส่วนราคาเนื้อ และเป็ดไก่ในเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น
จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 45.8 เช่นเดียวกับราคาน้ำมันเพื่อการบริโภคที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 50.7 ทั้งนี้ที่ผ่านมาทางการจีนรวมทั้ง
นักเศรษฐศาสตร์บางคนได้เตือนถึงอันตรายจากการสูงขึ้นของเงินเฟ้อเนื่องจากการสูงขึ้นของราคาอาหาร และได้เข้ามาควบคุมราคาและให้
การอุดหนุนโรงงานด้วย (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปีเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน รายงานจากโซล เมื่อ 8 พ.ค.51
ธ.กลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปีเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน จากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ในขณะที่
เศรษฐกิจกำลังชะลอตัวลง โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือน เม.ย.51 อยู่ในระดับสูงกว่าที่ ธ.กลางเกาหลีใต้กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.5 — 3.5 ต่อปี
สำหรับช่วงปี 50 — 52 เป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน ในขณะที่เศรษฐกิจในไตรมาสแรกที่ผ่านมาขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 พ.ค. 51 8 พ.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.875 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.6390/31.9708 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25625 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 850.17/23.63 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,300/13,400 13,100/13,200 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 115.84 114.65 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 37.09*/33.94* 37.09*/33.94* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 8 พ.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. รายงานการขายหุ้น ธ.พาณิชย์ที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้นให้ ก.คลังรับทราบมาตลอด นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท.
กล่าวว่า ธปท. ได้รายงานการทยอยขายหุ้นของ ธ.พาณิชย์ที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถือหุ้น ได้แก่ ธ.กรุงไทย ธ.นครหลวงไทย และ ธ.ไทยธนาคาร
ให้กับ รมว.คลังรับทราบมาตลอด ซึ่งขณะนี้ทุกธนาคารยังดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ โดยในการเปิดขายหุ้นของ ธ.ไทยธนาคาร ธปท. ได้แถลง
ต่อสื่อมวลชนอย่างเปิดเผย และขณะนี้ได้ให้ที่ปรึกษาทางการเงินดูอยู่ ด้าน นายพีรศิลป์ ศุภผลศิริ กก.ผจก.ใหญ่ ธ.ไทยธนาคาร กล่าวว่า
ธนาคารมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงสูงกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด สภาพคล่องส่วนเกินสูง และทำธุรกิจได้ตามปกติ ขณะที่ นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์
กก.ผจก.ใหญ่ ธ.นครหลวงไทย กล่าวว่า ธนาคารมีความแข็งแกร่งด้านฐานะทางการเงิน สินทรัพย์ รวมถึงสินเชื่อและเงินฝาก โดยมีเงินกองทุน
ในระดับร้อยละ 13 ซึ่งเป็นเงินกองทุนขั้นที่ 1 ประมาณร้อยละ 12 และเงินกองทุนขั้นที่ 2 ประมาณร้อยละ 1 ส่วนการเติบโตของสินเชื่อยัง
เป็นไปด้วยดี โดยเฉพาะสินเชื่อรายใหญ่ในครึ่งปีหลังน่าจะเติบโตได้ดีขึ้นต่อเนื่อง (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
2. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้น แต่เงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในเป้าหมาย นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อ
ที่เร่งตัวขึ้นในตอนนี้คืออัตราเงินเฟ้อทั่วไป ซึ่งคงจะส่งผ่านมายังอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน แต่จะมีระยะเวลาเหลื่อมออกไป โดยจากการประเมินเห็นว่า
แม้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะสูงขึ้นแต่เงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในเป้าหมาย ดังนั้น เงินเฟ้อในขณะนี้จึงยังไม่ใช่เรื่องที่น่าตกใจและไม่ควรนำไปโยงกับ
นโยบายอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากการดำเนินนโยบายการเงินจะต้องดูจากการสะท้อนของต้นทุนราคาสินค้าที่เกิดขึ้นจากการส่งผ่านของราคาน้ำมัน
และอาหารสดที่สูงขึ้นในรอบสอง หากการส่งผ่านไม่มากไปกว่าที่คาดก็ไม่เป็นปัญหา แต่หากถูกส่งผ่านไปที่ต้นทุนอย่างรุนแรง ธปท. ก็ต้องพิจารณา
ใช้เครื่องมือที่มีอยู่ให้เหมาะสม ด้าน นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผอส.ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท. กล่าวว่า จากเครื่องชี้ของ ธปท. เห็นภาพ
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกปีนี้ออกมาค่อนข้างดี โดยมั่นใจว่าเศรษฐกิจไตรมาสแรกจะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 6 แต่มีประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ
อัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวในเดือน เม.ย. ที่ขยายตัวร้อยละ 6.2 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากราคาน้ำมันและสินค้าเกษตร
และโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ภาพรวมเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในไตรมาสแรกปรับตัวดีขึ้น นายสมชาย เสตกรณุกูล ผอส.สนง.ภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือ ธปท. เปิดเผยว่า ภาพรวมภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในไตรมาสแรกปีนี้เริ่มปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน อัน
เป็นผลมาจากการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวและรายได้ของเกษตรกรเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากราคาพืชผลทางการเกษตรที่สูงขึ้น
เพราะผลผลิตมีน้อยกว่าความต้องการทั้งภายในประเทศและเพื่อการส่งออก ซึ่งภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นทำให้ประชาชนมีการบริโภคมากขึ้น
ส่วนการค้าชายแดนไทย-ลาว และไทย-กัมพูชายังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน สำหรับการท่องเที่ยวอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่
สถาบันการเงินเริ่มปล่อยสินเชื่อให้ทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขึ้น ด้านเงินฝากและสินเชื่อขยายตัวเพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลประเภทเช่าซื้อ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อเพื่อการอุตสาหกรรม ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไป
อยู่ที่ร้อยละ 5.2 เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปัจจัยที่เป็นข้อจำกัด
ต่อการขยายตัว ได้แก่ ประชาชนและนักธุรกิจยังขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน เนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ตลอดจนความไม่
แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ (โลกวันนี้)
4. ก.คลังจัดเก็บรายได้ช่วงเดือน ต.ค.50-เม.ย.51 สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 1.1 นายสมชัย สัจจพงษ์ โฆษก ก.คลัง เปิดเผยว่า
รัฐบาลจัดเก็บรายได้ในเดือน เม.ย.51 จำนวน 127,092 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 909 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.7 ทำให้ในช่วง
7 เดือนแรกของปี งปม.51 (ต.ค.50-เม.ย.51) จัดเก็บได้ 762,490 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 8,595 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.1
อันเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีสรรพากรและศุลกากรสูงกว่าเป้าหมายเป็นหลัก โดย ก.สรรพากรจัดเก็บได้ 567,082 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย
ที่ตั้งไว้ 17,294 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.1 ขณะที่ ก.สรรพสามิตเก็บได้รวม 172,487 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 160 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 0.1 ส่วน ก.ศุลกากรเก็บได้รวม 57,173 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 5,533 ล้านบาท (เดลินิวส์, โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลางยุโรปคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปีตามที่คาดไว้ รายงานจากเอเธนส์ เมื่อ 8 พ.ค.51 ธ.กลาง
ยุโรปหรือ ECB คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี ตามที่ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดไว้ ทั้งนี้ เพื่อ
ลดแรงกดดันเงินเฟ้อที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจในภูมิภาคซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก
แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่า ECB จะลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 3.5 ต่อปีภายในสิ้นปีนี้ (รอยเตอร์)
2. เยอรมนีเกินดุลการค้าลดลงในเดือน มี.ค.51 สาเหตุจากการส่งออกชะลอตัว รายงานจากเบอร์ลินเมื่อ 8 พ.ค.51
สำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า เยอรมนีเกินดุลการค้าในเดือน มี.ค.51 จำนวน 15.4 พัน ล.ยูโร ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล
จำนวน 16.3 พัน ล.ยูโร และต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะเกินดุลการค้าเป็นจำนวน 16.5 พันล.ยูโร ทั้งนี้
การเกินดุลการค้าที่ลดลงดังกล่าวเป็นผลจากการชะลอตัวของการส่งออก ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น โดยการส่งออกมีจำนวน 84.6 พัน ล.ยูโร
ลดลงร้อยละ 0.5 เทียบต่อเดือน สวนทางกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ส่วนการนำเข้ามีจำนวน
69.2 พัน ล.ยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เทียบต่อเดือน สูงกว่าเล็กน้อยจากการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7
ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีการส่งออกขยายตัวร้อยละ 0.2 และการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 3.3 (รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของจีนในเดือน เม.ย. จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 8.5 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 51 แหล่งข่าว
2 แห่งของทางการจีนเปิดเผยว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน เม.ย. ของจีนจะสูงขึ้นที่ร้อยละ 8.5 จากร้อยละ 8.3 ในเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
หลังจากที่เคยทำสถิติสูงสุดในรอบเกือบ 12 ปีเมื่อเดือน ก.พ. ที่ร้อยละ 8.7 เนื่องจากทางการจีนประสบปัญหาในการควบคุมภาวะเงินเฟ้อ
มิให้สูงขึ้นมากขณะเดียวกันต้องป้องกันมิให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วด้วย ขณะที่ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่า
อัตราเงินเฟ้อในเดือน เม.ย. จะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 8.3 ทั้งนี้ทางการจีนมีกำหนดที่จะเปิดเผยตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ
อย่างเป็นทางการในวันที่ 12 พ.ค. นี้ อย่างไรก็ตามอาจจะมีการทบทวนตัวเลขดังกล่าว เนื่องจากราคาข้าวซึ่งมีน้ำหนักถึง 1 ใน 3 ในการ
คำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคในปัจจุบัน มีราคาสูงขึ้นอย่างมากถึงร้อยละ 6.8 ในเดือน มี.ค. ส่วนราคาเนื้อ และเป็ดไก่ในเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้น
จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึงร้อยละ 45.8 เช่นเดียวกับราคาน้ำมันเพื่อการบริโภคที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 50.7 ทั้งนี้ที่ผ่านมาทางการจีนรวมทั้ง
นักเศรษฐศาสตร์บางคนได้เตือนถึงอันตรายจากการสูงขึ้นของเงินเฟ้อเนื่องจากการสูงขึ้นของราคาอาหาร และได้เข้ามาควบคุมราคาและให้
การอุดหนุนโรงงานด้วย (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปีเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน รายงานจากโซล เมื่อ 8 พ.ค.51
ธ.กลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.0 ต่อปีเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน จากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ในขณะที่
เศรษฐกิจกำลังชะลอตัวลง โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือน เม.ย.51 อยู่ในระดับสูงกว่าที่ ธ.กลางเกาหลีใต้กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.5 — 3.5 ต่อปี
สำหรับช่วงปี 50 — 52 เป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน ในขณะที่เศรษฐกิจในไตรมาสแรกที่ผ่านมาขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 พ.ค. 51 8 พ.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 31.875 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.6390/31.9708 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25625 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 850.17/23.63 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,300/13,400 13,100/13,200 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 115.84 114.65 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 37.09*/33.94* 37.09*/33.94* 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 8 พ.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--