ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ยืนยันการขายหุ้นของ ธ.ไทยธนาคารตามแผนกำหนดการเดิม นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) กล่าวถึงแผนการขายหุ้นที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถืออยู่ใน ธ.ไทยธนาคารว่า กองทุนฟื้นฟูฯ ยืนยันจะดำเนินการ
หาพันธมิตรรายใหม่ตามแผนของที่ปรึกษาทางการเงิน และยอมรับว่า กลุ่มทีพีจี นิวบริดจ์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ ธ.ไทยธนาคาร ได้ส่งหนังสือมายังกองทุน
ฟื้นฟูฯ เพื่อขอให้ชะลอการขายหุ้นออกไปก่อน แต่กองทุนฟื้นฟูฯ ยืนยันว่าจะดำเนินตามแผนเดิม คือ การหาพันธมิตรภายใน 6 เดือน เพราะไม่มี
เหตุผลที่จะต้องระงับ เนื่องจากกระบวนการเป็นไปอย่างโปร่งใส และเป็นจังหวะที่เหมาะสม (โลกวันนี้, ข่าวสด, มติชน)
2. ธปท.ระบุเงินบาทอ่อนค่าลงจาก 3 ปัจจัยหลัก นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)เปิดเผยว่า
การเคลื่อนไหวของเงินบาทที่อ่อนค่าลงแตะระดับอ่อนสุดในรอบ 2 เดือนครึ่ง ใกล้ระดับ 32.20 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เมื่อวันที่ 12 พ.ค.51
นั้น เกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก โดยปัจจัยแรกเป็นไปตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาค ปัจจัยที่สอง ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และปัจจัยสุดท้ายคือ การที่
ธปท.ประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เงินบาทที่อ่อนค่าลง ไม่น่ากังวล เพราะปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
ของไทยยังคงอยู่ในระดับที่ดี อีกทั้งเป็นเรื่องที่ดีที่ค่าเงินบาทมีทั้งอ่อนและแข็งค่า ช่วยเสริมประสบการณ์ให้ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าเห็นจังหวะในการ
ทำธุรกิจ (ผู้จัดการรายวัน)
3. กนง.ติดตามสถานการณ์เงินเฟ้อเพื่อใช้ในการประเมินภาพรวมเศรษฐกิจ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) กล่าวถึงความกังวลในเรื่องภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้นจากราคาน้ำมัน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้นว่า เป็นปัจจัยหนึ่งที่การ
ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 21 พ.ค. จะนำมาประเมินภาพของเศรษฐกิจไทยโดยรวม และเป็นปัจจัยสำคัญต่อการ
ดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. อย่างไรก็ตาม จากการประเมินภาพครั้งล่าสุดของ กนง. เมื่อวันที่ 9 เม.ย.ที่ผ่านมา ทั้งแนวโน้มของ
ระดับราคาสินค้า ราคาน้ำมันดิบ และการขยายตัวของเศรษฐกิจ ยังมีผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ในเป้าหมายของ ธปท. โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยน
นโยบายอัตราดอกเบี้ย (ผู้จัดการรายวัน)
4. ช่วง 4 เดือนแรกปี 51 ก.คลังออก พธบ.ลดลง 44% ขณะที่ ธปท.ออก พธบ.เพิ่มขึ้น 93% นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการ
ผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยถึงภาพรวมตลาดตราสารหนี้ไทยใน 4 เดือนแรกของปี 51 ว่า ก.คลังมีการออก พธบ.รวม
7.4 หมื่น ล.บาท ลดลง 44% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออก พธบ.ทั้งสิ้น 2.5 ล้านล้านบาท
เพิ่มขึ้น 93% โดยส่วนใหญ่เป็น พธบ.ระยะสั้นอายุ 14 วัน ทั้งนี้ เชื่อว่าใน 1-2 ปี การออก พธบ.ของ ธปท.จะชะลอตัวลง เพราะคาดว่า
สหรัฐฯ จะสามารถแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งจะทำให้เงินดอลลาร์ สรอ.แข็งค่าขึ้นได้ (ไทยโพสต์, มติชน)
5. มันนี่เอ็กซ์โป 2008 มียอดธุรกรรมสูงสุดในรอบ 8 ปี นายสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานจัดงานมหกรรมการเงิน เปิดเผยภายหลัง
การปิดงานมหกรรมการเงินครั้งที่ 8 (มันนี่ เอ็กซ์โป 2008) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-11 พ.ค. ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่า ประสบ
ความสำเร็จอย่างมาก โดยมีผู้เข้าชมรวมกว่า 7 แสนคน และมีผู้สมัครใช้บริการจากสถาบันการเงินที่เข้าร่วมงาน ทั้งธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์
บริษัทจัดการกองทุน และบริษัทประกันชีวิต/ประกันภัย 163,248 ราย มียอดธุรกรรมรวมมูลค่าทั้งสิ้น 121,277 ล.บาท ถือเป็นยอดธุรกรรม
สูงที่สุดในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ สินเชื่อบ้านเป็นธุรกรรมที่ผู้เข้าชมงานสมัครใช้บริการมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง รวมมูลค่า 93,890 ล.บาท
หรือคิดเป็น 77% ของปริมาณธุรกรรมรวม อันดับ 2 คือ สินเชื่อเอสเอ็มอี มูลค่า 20,827 ล.บาท หรือคิดเป็นกว่า 17% ขณะที่อันดับ 3 ได้แก่
การซื้อสลากออมทรัพย์ มูลค่า 1,340 ล.บาท (ข่าวสด, มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน เม.ย.51 ลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 13 พ.ค.51 สมาคมค้าปลีกของอังกฤษรายงานยอดค้าปลีกของร้านค้าปลีกในอังกฤษลดลงในเดือน เม.ย.51 เฉลี่ยร้อยละ 1.5 เมื่อ
เทียบกับยอดขายของร้านเดียวกันในปีก่อน หลังจากลดลงร้อยละ 1.6 ต่อปีในเดือน มี.ค.51 นับเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีนับตั้งแต่ปี 48 ที่
ยอดค้าปลีกลดลงต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน ทั้งนี้ เป็นผลจากราคาน้ำมันและค่าสาธารณูปโภคที่สูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีเงินเหลือใช้จ่ายอย่างอื่น
น้อยลง โดยผู้บริโภคจะเน้นใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น ส่งผลให้ยอดขายเสื้อผ้าและรองเท้าลดลงในอัตราสูงสุดในรอบ 8 ปีแม้ว่าจะมีการลดราคา
และโปรโมชั่นกันอย่างมากก็ตาม เช่นเดียวกันยอดขายเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีราคาสูงที่ลดลงตามตลาดบ้านที่ชะลอตัวลง มีเพียง
อาหาร ของใช้ในบ้านและสุขภัณฑ์ที่มียอดจำหน่ายสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคเน้นใช้จ่ายเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น (รอยเตอร์)
2. คาดว่าคำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นในเดือน มี.ค.51 จะลดลงร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน รายงานจากโตเกียว เมื่อ
13 พ.ค.51 ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่าคำสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐานซึ่งไม่รวมเรือและอุปกรณ์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าและใช้เป็นตัวชี้วัดการใช้จ่าย
ลงทุนในประเทศจะลดลงร้อยละ 5.5 ต่อเดือนในเดือน มี.ค.51 จากผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงทำให้ภาคธุรกิจเพิ่มความระมัดระวัง
ในการลงทุนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดี รัฐบาลคาดว่าคำสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐานในไตรมาสแรกปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
หลังจากคำสั่งซื้อในเดือน ม.ค.เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.6 ต่อเดือน (รอยเตอร์)
3. มาเลเซียผ่อนปรนให้มีการจัดตั้งกองทุนอิสลามเพิ่มขึ้นในปีนี้ รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 51 ธ.กลางมาเลเซีย
เปิดเผยว่า ในปีนี้จะอนุญาตให้มีการจัดตั้งกองทุนอิสลามเพิ่มขึ้น เพื่อที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมการเงินอิสลามให้มีมูลค่า 900 พันล. ดอลลาร์ สรอ.
ทั้งนี้ Islamic Exchange traded fund ออกจำหน่ายครั้งแรกเมื่อเดือน ม.ค. 51 ในรูปสกุลเงินริงกิตที่มีมูลค่าประมาณ 262.5 ล้านดอลลาร์
สรอ. โดยจำหน่ายให้แก่ชาวมาเลเซีย เน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงาน โทรศัพท์มือถือ การขนส่ง และการก่อสร้าง คาดว่าการออกจำหน่ายกองทุน
เป็นครั้งที่ 2 นี้จะเริ่มได้ในช่วงครึ่งงหลังปีนี้ในรูปสกุลเงินตราต่างประเทศซึ่งจะเปิดขายให้แก่นักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้ปัจจุบันชาวมุสลิมส่วนใหญ่
ในมาเลเซียมีความพยายามที่จะทำให้มาเลเซียเป็นศูนย์กลางทางการเงินอิสลามดังเช่นศูนย์กลางการเงินอิสลามของดูไบและลอนดอน ทั้งนี้
ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดพันธบัตรที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ของตลาดพันธบัตรอิสลามทั่วโลกหรือมี
มูลค่าประมาณ 100 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ตามการคาดการณ์ของ ธ.กลาง และเพื่อเป็นการเพิ่มเงินลงทุนเข้าสู่อุตสาหกรรมการเงินอิสลาม
ให้มากขึ้น ธ.กลางมาเลเซียได้ผ่อนปรนให้ ธพ.อิสลามจากต่างประเทศ และกิจการประกันภัยของอิสลามสามารถดำเนินธุรกิจในรูปสกุลเงินตรา
ต่างประเทศได้ ซึ่งสถาบันการเงินเหล่านี้สามารถที่จะจัดตั้งสาขาได้ และได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจจนถึงปี 59 (รอยเตอร์)
4. KDI ปรับลดพยากรณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ปีนี้ลงเหลือร้อยละ 4.8 รายงานจากโซลเมื่อวันที่ 12 พ.ค.51
Korea Development Institute (KDI) หน่วยงานวิจัยชั้นนำของเกาหลีใต้แถลงว่า KDI ได้ปรับลดพยากรณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของเกาหลีใต้ปีนี้ลงเหลือร้อยละ 4.8 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 5.0 เนื่องจากเศรษฐกิจภายในประเทศชะลอตัว โดยคาดว่าการบริโภค
ภาคเอกชนปีนี้จะลดลงเหลือร้อยละ 3.0 จากเดิมร้อยละ 4.5 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 ในปี 50 นอกจากนี้ KDI ยังได้ปรับลดอัตรา
การเติบโตด้านการลงทุนในเครื่องจักรเหลือร้อยละ 2.4 จากเดิมที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เทียบกับปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 ทั้งนี้
การปรับตัวเลขพยากรณ์เศรษฐกิจครั้งนี้มีขึ้นหลังจากเมื่อสัปดาห์ก่อนผู้ว่าการ ธ.กลางเกาหลีใต้ กล่าวว่าเป็นเรื่องยากที่เศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัว
มากกว่าร้อยละ 4.5 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปีก่อน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13 พ.ค. 51 12 พ.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.168 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.9455/32.2850 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25500 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 842.22/16.14 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,450/13,550 13,450/13,550 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 119.29 117.65 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 37.59*/33.44** 37.59*/33.44** 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 12 พ.ค.51
**ปรับลดลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 12 พ.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ยืนยันการขายหุ้นของ ธ.ไทยธนาคารตามแผนกำหนดการเดิม นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) กล่าวถึงแผนการขายหุ้นที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถืออยู่ใน ธ.ไทยธนาคารว่า กองทุนฟื้นฟูฯ ยืนยันจะดำเนินการ
หาพันธมิตรรายใหม่ตามแผนของที่ปรึกษาทางการเงิน และยอมรับว่า กลุ่มทีพีจี นิวบริดจ์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ ธ.ไทยธนาคาร ได้ส่งหนังสือมายังกองทุน
ฟื้นฟูฯ เพื่อขอให้ชะลอการขายหุ้นออกไปก่อน แต่กองทุนฟื้นฟูฯ ยืนยันว่าจะดำเนินตามแผนเดิม คือ การหาพันธมิตรภายใน 6 เดือน เพราะไม่มี
เหตุผลที่จะต้องระงับ เนื่องจากกระบวนการเป็นไปอย่างโปร่งใส และเป็นจังหวะที่เหมาะสม (โลกวันนี้, ข่าวสด, มติชน)
2. ธปท.ระบุเงินบาทอ่อนค่าลงจาก 3 ปัจจัยหลัก นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)เปิดเผยว่า
การเคลื่อนไหวของเงินบาทที่อ่อนค่าลงแตะระดับอ่อนสุดในรอบ 2 เดือนครึ่ง ใกล้ระดับ 32.20 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เมื่อวันที่ 12 พ.ค.51
นั้น เกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก โดยปัจจัยแรกเป็นไปตามทิศทางค่าเงินในภูมิภาค ปัจจัยที่สอง ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และปัจจัยสุดท้ายคือ การที่
ธปท.ประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เงินบาทที่อ่อนค่าลง ไม่น่ากังวล เพราะปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
ของไทยยังคงอยู่ในระดับที่ดี อีกทั้งเป็นเรื่องที่ดีที่ค่าเงินบาทมีทั้งอ่อนและแข็งค่า ช่วยเสริมประสบการณ์ให้ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าเห็นจังหวะในการ
ทำธุรกิจ (ผู้จัดการรายวัน)
3. กนง.ติดตามสถานการณ์เงินเฟ้อเพื่อใช้ในการประเมินภาพรวมเศรษฐกิจ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) กล่าวถึงความกังวลในเรื่องภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้นจากราคาน้ำมัน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้นว่า เป็นปัจจัยหนึ่งที่การ
ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 21 พ.ค. จะนำมาประเมินภาพของเศรษฐกิจไทยโดยรวม และเป็นปัจจัยสำคัญต่อการ
ดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. อย่างไรก็ตาม จากการประเมินภาพครั้งล่าสุดของ กนง. เมื่อวันที่ 9 เม.ย.ที่ผ่านมา ทั้งแนวโน้มของ
ระดับราคาสินค้า ราคาน้ำมันดิบ และการขยายตัวของเศรษฐกิจ ยังมีผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ในเป้าหมายของ ธปท. โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยน
นโยบายอัตราดอกเบี้ย (ผู้จัดการรายวัน)
4. ช่วง 4 เดือนแรกปี 51 ก.คลังออก พธบ.ลดลง 44% ขณะที่ ธปท.ออก พธบ.เพิ่มขึ้น 93% นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการ
ผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยถึงภาพรวมตลาดตราสารหนี้ไทยใน 4 เดือนแรกของปี 51 ว่า ก.คลังมีการออก พธบ.รวม
7.4 หมื่น ล.บาท ลดลง 44% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออก พธบ.ทั้งสิ้น 2.5 ล้านล้านบาท
เพิ่มขึ้น 93% โดยส่วนใหญ่เป็น พธบ.ระยะสั้นอายุ 14 วัน ทั้งนี้ เชื่อว่าใน 1-2 ปี การออก พธบ.ของ ธปท.จะชะลอตัวลง เพราะคาดว่า
สหรัฐฯ จะสามารถแก้ปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งจะทำให้เงินดอลลาร์ สรอ.แข็งค่าขึ้นได้ (ไทยโพสต์, มติชน)
5. มันนี่เอ็กซ์โป 2008 มียอดธุรกรรมสูงสุดในรอบ 8 ปี นายสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานจัดงานมหกรรมการเงิน เปิดเผยภายหลัง
การปิดงานมหกรรมการเงินครั้งที่ 8 (มันนี่ เอ็กซ์โป 2008) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-11 พ.ค. ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่า ประสบ
ความสำเร็จอย่างมาก โดยมีผู้เข้าชมรวมกว่า 7 แสนคน และมีผู้สมัครใช้บริการจากสถาบันการเงินที่เข้าร่วมงาน ทั้งธนาคาร บริษัทหลักทรัพย์
บริษัทจัดการกองทุน และบริษัทประกันชีวิต/ประกันภัย 163,248 ราย มียอดธุรกรรมรวมมูลค่าทั้งสิ้น 121,277 ล.บาท ถือเป็นยอดธุรกรรม
สูงที่สุดในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ สินเชื่อบ้านเป็นธุรกรรมที่ผู้เข้าชมงานสมัครใช้บริการมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง รวมมูลค่า 93,890 ล.บาท
หรือคิดเป็น 77% ของปริมาณธุรกรรมรวม อันดับ 2 คือ สินเชื่อเอสเอ็มอี มูลค่า 20,827 ล.บาท หรือคิดเป็นกว่า 17% ขณะที่อันดับ 3 ได้แก่
การซื้อสลากออมทรัพย์ มูลค่า 1,340 ล.บาท (ข่าวสด, มติชน, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน เม.ย.51 ลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 13 พ.ค.51 สมาคมค้าปลีกของอังกฤษรายงานยอดค้าปลีกของร้านค้าปลีกในอังกฤษลดลงในเดือน เม.ย.51 เฉลี่ยร้อยละ 1.5 เมื่อ
เทียบกับยอดขายของร้านเดียวกันในปีก่อน หลังจากลดลงร้อยละ 1.6 ต่อปีในเดือน มี.ค.51 นับเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีนับตั้งแต่ปี 48 ที่
ยอดค้าปลีกลดลงต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน ทั้งนี้ เป็นผลจากราคาน้ำมันและค่าสาธารณูปโภคที่สูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีเงินเหลือใช้จ่ายอย่างอื่น
น้อยลง โดยผู้บริโภคจะเน้นใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น ส่งผลให้ยอดขายเสื้อผ้าและรองเท้าลดลงในอัตราสูงสุดในรอบ 8 ปีแม้ว่าจะมีการลดราคา
และโปรโมชั่นกันอย่างมากก็ตาม เช่นเดียวกันยอดขายเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีราคาสูงที่ลดลงตามตลาดบ้านที่ชะลอตัวลง มีเพียง
อาหาร ของใช้ในบ้านและสุขภัณฑ์ที่มียอดจำหน่ายสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคเน้นใช้จ่ายเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น (รอยเตอร์)
2. คาดว่าคำสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นในเดือน มี.ค.51 จะลดลงร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน รายงานจากโตเกียว เมื่อ
13 พ.ค.51 ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่าคำสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐานซึ่งไม่รวมเรือและอุปกรณ์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าและใช้เป็นตัวชี้วัดการใช้จ่าย
ลงทุนในประเทศจะลดลงร้อยละ 5.5 ต่อเดือนในเดือน มี.ค.51 จากผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงทำให้ภาคธุรกิจเพิ่มความระมัดระวัง
ในการลงทุนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดี รัฐบาลคาดว่าคำสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐานในไตรมาสแรกปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
หลังจากคำสั่งซื้อในเดือน ม.ค.เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19.6 ต่อเดือน (รอยเตอร์)
3. มาเลเซียผ่อนปรนให้มีการจัดตั้งกองทุนอิสลามเพิ่มขึ้นในปีนี้ รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 51 ธ.กลางมาเลเซีย
เปิดเผยว่า ในปีนี้จะอนุญาตให้มีการจัดตั้งกองทุนอิสลามเพิ่มขึ้น เพื่อที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมการเงินอิสลามให้มีมูลค่า 900 พันล. ดอลลาร์ สรอ.
ทั้งนี้ Islamic Exchange traded fund ออกจำหน่ายครั้งแรกเมื่อเดือน ม.ค. 51 ในรูปสกุลเงินริงกิตที่มีมูลค่าประมาณ 262.5 ล้านดอลลาร์
สรอ. โดยจำหน่ายให้แก่ชาวมาเลเซีย เน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงาน โทรศัพท์มือถือ การขนส่ง และการก่อสร้าง คาดว่าการออกจำหน่ายกองทุน
เป็นครั้งที่ 2 นี้จะเริ่มได้ในช่วงครึ่งงหลังปีนี้ในรูปสกุลเงินตราต่างประเทศซึ่งจะเปิดขายให้แก่นักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้ปัจจุบันชาวมุสลิมส่วนใหญ่
ในมาเลเซียมีความพยายามที่จะทำให้มาเลเซียเป็นศูนย์กลางทางการเงินอิสลามดังเช่นศูนย์กลางการเงินอิสลามของดูไบและลอนดอน ทั้งนี้
ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดพันธบัตรที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ของตลาดพันธบัตรอิสลามทั่วโลกหรือมี
มูลค่าประมาณ 100 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ตามการคาดการณ์ของ ธ.กลาง และเพื่อเป็นการเพิ่มเงินลงทุนเข้าสู่อุตสาหกรรมการเงินอิสลาม
ให้มากขึ้น ธ.กลางมาเลเซียได้ผ่อนปรนให้ ธพ.อิสลามจากต่างประเทศ และกิจการประกันภัยของอิสลามสามารถดำเนินธุรกิจในรูปสกุลเงินตรา
ต่างประเทศได้ ซึ่งสถาบันการเงินเหล่านี้สามารถที่จะจัดตั้งสาขาได้ และได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจจนถึงปี 59 (รอยเตอร์)
4. KDI ปรับลดพยากรณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ปีนี้ลงเหลือร้อยละ 4.8 รายงานจากโซลเมื่อวันที่ 12 พ.ค.51
Korea Development Institute (KDI) หน่วยงานวิจัยชั้นนำของเกาหลีใต้แถลงว่า KDI ได้ปรับลดพยากรณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของเกาหลีใต้ปีนี้ลงเหลือร้อยละ 4.8 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 5.0 เนื่องจากเศรษฐกิจภายในประเทศชะลอตัว โดยคาดว่าการบริโภค
ภาคเอกชนปีนี้จะลดลงเหลือร้อยละ 3.0 จากเดิมร้อยละ 4.5 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 ในปี 50 นอกจากนี้ KDI ยังได้ปรับลดอัตรา
การเติบโตด้านการลงทุนในเครื่องจักรเหลือร้อยละ 2.4 จากเดิมที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เทียบกับปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 ทั้งนี้
การปรับตัวเลขพยากรณ์เศรษฐกิจครั้งนี้มีขึ้นหลังจากเมื่อสัปดาห์ก่อนผู้ว่าการ ธ.กลางเกาหลีใต้ กล่าวว่าเป็นเรื่องยากที่เศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัว
มากกว่าร้อยละ 4.5 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปีก่อน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13 พ.ค. 51 12 พ.ค. 51 28 ธ.ค. 50 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 32.168 33.747 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 31.9455/32.2850 33.5519/33.8850 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.25500 3.35406 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 842.22/16.14 858.10/17.36 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 13,450/13,550 13,450/13,550 13,100/13,200 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 119.29 117.65 88.13 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 37.59*/33.44** 37.59*/33.44** 32.89/29.34 ปตท.
*ปรับเพิ่มลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 12 พ.ค.51
**ปรับลดลิตรละ 50 สตางค์เมื่อ 12 พ.ค. 51
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--