สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนมีนาคม 2551
ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนมีนาคม 2551 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยด้านอุปทาน ผลผลิตข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ออกสู่ตลาดลดลง ราคาพืชผลส่วนใหญ่สูงขึ้นยกเว้นข้าวเปลือกเหนียว ที่ราคายังลดลง การผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวตามอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์และแป้งมันผลิตลดลง สำหรับภาคบริการชะลอตัว ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภค ภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการมั่นใจในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจมากขึ้น การค้าชายแดน ไทย - ลาว ชะลอลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย ด้านการค้าชายแดนไทย - กัมพูชายังขยายตัวดี รายได้ของภาครัฐบาลที่จัดเก็บจากภาษีอากร ชะลอตัว ด้านเงินฝากและสินเชื่อยังเพิ่มขึ้น สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 5.4 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.0 รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตรกรรม เดือนนี้ผลผลิตข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ออกสู่ตลาดลดลง ขณะที่ราคาพืชผล ส่วนใหญ่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นข้าวเปลือกเหนียวที่ราคายังลดลง โดยราคาขายส่งข้าวเปลือกหอมมะลิเฉลี่ย เกวียนละ 12,595 บาท สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 41.4 เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยกว่าความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการเพื่อการส่งออก เนื่องจากประเทศผู้ส่งออกข้าวสำคัญ เช่น ประเทศเวียดนามและอินเดีย จำกัดการส่งออก ทำให้หลายประเทศสั่งซื้อข้าวจากไทยเพิ่มขึ้น ราคาขายส่งหัวมันสำปะหลังเฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.22 บาท และราคาขายส่งมันเส้นเฉลี่ย กิโลกรัมละ 4.74 บาท สูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 88.1 และร้อยละ 55.9 ตามลำดับ เนื่องจากปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอ ต่อความต้องการทั้งในอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ภายในประเทศ และเพื่อการส่งออก ราคาขายส่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.78 บาท สูงขึ้นร้อยละ 13.3 เนื่องจากผลผลิตมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ที่มีอย่างต่อเนื่อง ในส่วน ราคาขายส่งข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) เฉลี่ยเกวียนละ 9,088 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 15.4
2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตอุตสาหกรรมชะลอตัวลง โดยอุตสาหกรรมที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำตาลที่ยังมีอ้อยเข้าหีบต่อเนื่อง เทียบกับช่วงเดือนมีนาคมปีก่อนโรงงานน้ำตาลใกล้ปิดหีบแล้ว ขณะที่ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังขยายตัวดีตามการส่งออก สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการผลิตลดลงได้แก่ อุตสาหกรรม แป้งมันสำปะหลังเนื่องจากวัตถุดิบไม่เพียงพอกับความต้องการ และอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากความต้องการ ของตลาดในประเทศชะลอตัวลง
3. ภาคบริการ เดือนนี้การท่องเที่ยวเริ่มชะลอตัวโดยจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง ในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.3 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.8 โดยกิจกรรมการท่องเที่ยวในเดือนนี้ ได้แก่ โครงการฝึกบินผสมของนักบินไทยและนักบินมาเลเซีย Air Thamak 19 ที่จังหวัดนครราชสีมา มีส่วนให้ชาวมาเลเซียเดินทาง เข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้น อัตราการเข้าพักของโรงแรมอยู่ที่ระดับร้อยละ 62.2 ลดลงจากปีก่อนที่มีอัตราการเข้าพักที่ร้อยละ 65.6
4 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเริ่มฟื้นตัว สถานการณ์ ทางการเมืองมีความชัดเจนขึ้น ส่งผลให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจจึงหันมาใช้จ่ายมากขึ้น เครื่องชี้สำคัญคือ การจดทะเบียน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลจำนวน 3,488 คัน และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจำนวน 5,472 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 และร้อยละ 0.6 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเนื่องจากมาตรการสนับสนุนด้านภาษีสำหรับรถยนต์ที่รองรับการใช้น้ำมัน E20 ทำให้มีการปรับลดราคารถยนต์รุ่นใหม่ ส่งผลให้ประชาชนตัดสินใจซื้อเร็วขึ้น สำหรับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 704.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.1 ส่วนหนึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของยอดจำหน่ายห้างสรรพสินค้า และธุรกิจค้าส่ง - ค้าปลีก อย่างไรก็ตาม เดือนนี้มียอดการจดทะเบียน รถจักรยานยนต์จำนวน 31,993 คัน ลดลงร้อยละ 1.3 และปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.1 ชะลอจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5
5. การลงทุนภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้น โดยการจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่จำนวน 1,078.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก เดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 78.0 เป็นผลจากการจดทะเบียนธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้างขนาดใหญ่ซึ่งมีทุนจดทะเบียน 700 ล้านบาท ที่จังหวัดร้อยเอ็ด พื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร 189,660.6 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4 เป็นผลจาก พื้นที่ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในจังหวัดขอนแก่นและศรีสะเกษ เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม การลงทุนทางด้านอุตสาหกรรม มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมีจำนวนโครงการเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.3 แต่มูลค่า เงินลงทุนลดลงร้อยละ 52.0 เนื่องจากโครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดเล็กได้แก่ โครงการเลี้ยงไก่เนื้อ โครงการผลิตภัณฑ์จาก ยางสังเคราะห์ โครงการผลิตยางแผ่นรมควัน และโครงการผลิตข้าวสารคุณภาพดี สำหรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและ อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ชะลอตัวจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4
6. ภาคการคลัง เดือนนี้รายได้ของภาครัฐบาลที่จัดเก็บจากภาษีอากรชะลอลงจากเดือนก่อน โดยสามารถจัดเก็บได้ทั้งสิ้น 4,119.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.8 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.3 แยกเป็น ภาษีสรรพากร จัดเก็บได้ 2,609.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เป็นการเพิ่มขึ้นของภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามการเพิ่มขึ้นของผลประกอบการของภาคธุรกิจ ทั้งในด้านอุตสาหกรรมและด้านการค้า อาทิ อุตสาหกรรมผลิตสุรา อุตสาหกรรมผลิต เครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจสินแร่ทองแดงและธุรกิจค้าส่ง - ค้าปลีก เป็นต้น ส่วนการจัดเก็บภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาลดลง เนื่องจากในเดือนเดียวกันของปีก่อนมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินค่าวิทยฐานะของข้าราชการครู ทำให้ฐานภาษีสูง ทางด้านภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ 1,486.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 เป็นผลจากการลดลงของภาษีสุราเป็นสำคัญ ในขณะที่ภาษี เครื่องดื่มและภาษียาสูบยังเพิ่มขึ้น และการจัดเก็บอากรขาเข้ารวม 23.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ่านด่านศุลกากรมุกดาหาร
7. การค้าต่างประเทศ เดือนนี้มูลค่าการค้าชายแดนไทย - ลาว ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยมีมูลค่าการค้า 6,486.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น อยละ 31.6 ขณะที่เดือนก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.9 แยกเป็น มูลค่าการส่งออก 4,664.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8 เป็นการส่งออกสินค้า ประเภทน้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิง วัสดุก่อสร้างสินค้าบริโภค ผลิตภัณฑ์เหล็ก เครื่องจักรและอุปกรณ์ ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ส่วนสินค้าที่ลดลงได้แก่ ยานพาหนะและอุปกรณ์ มูลค่าการนำเข้า 1,821.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.0 กว่าร้อยละ 63 เป็นการนำเข้า สินแร่ทองแดง นอกจากนั้นเป็นยานพาหนะและอุปกรณ์ กว่าร้อยละ 75.0 เป็นการนำกลับรถที่เสร็จสิ้นการใช้งาน ส่วนผลิตภัณฑ์ไม้ลดลง ทางด้านการค้าชายแดนไทย - กัมพูชา มีมูลค่าการค้า 4,894.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 46.2 เป็นมูลค่าการส่งออก 4,694.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.1 สินค้าส่งออกสำคัญที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ยานพาหนะและส่วนประกอบ วัสดุก่อสร้าง น้ำตาล น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิง ส่วนสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ลดลง สำหรับมูลค่าการนำเข้า 199.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.6 ส่วนใหญ่เป็นพืชไร่ โดยเฉพาะมันสำปะหลัง
8. ระดับราคา อัตราเงินเฟ้อเดือนนี้สูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.4 เป็นผลจากราคาสินค้าหมวดอาหาร และเครื่องดื่มสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.2 จากการเพิ่มขึ้นของราคาเนื้อสุกรที่สูงขึ้นร้อยละ 41.7 ไก่สดสูงขึ้นร้อยละ 17.4 ไข่สูงขึ้นร้อยละ 24.0 และเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 14.8 สำหรับหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นจาก เดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.2 เป็นผลจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 25.5 ยาสูบสูงขึ้นร้อยละ 4.2 ไวน์สูงขึ้น ร้อยละ 4.0 และหนังสือสูงขึ้นร้อยละ 13.1 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเดือนนี้สูงขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.0
9. ภาคการจ้างงาน ภาวะการทำงานของประชากรเดือนมีนาคม 2551 มีกำลังแรงงานรวม 11.2 คน เป็นผู้มีงานทำ 10.8 ล้านคน โดยทำงานในภาคเกษตรจำนวน 10.8 ล้านคน และนอกภาคเกษตรจำนวน 5.8 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน 1.4 ล้านคน และการผลิต 1.3 ล้านคน สำหรับการว่างงานมีผู้ว่างงานจำนวน 0.23 ล้านคน อัตราการว่างงานร้อยละ 2.1 ของกำลังแรงงานรวม ด้านภาวะการจ้างงานในภาคเดือนนี้ มีตำแหน่งงานว่าง 6,535 อัตรา ลดลงร้อยละ 7.3 ส่วนใหญ่เป็นความต้องการ พนักงานในงานพื้นฐานต่าง ๆ ได้แก่ พนักงานบริการ และพนักงานขายของในร้านค้า มีผู้สมัครงาน 11,156 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน ของปีก่อนร้อยละ 26.3 และผู้ที่ได้รับการบรรจุงาน 3,833 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.0 โดยเป็นการบรรจุงานในอุตสาหกรรมการผลิต และในธุรกิจค้าส่งค้าปลีก สำหรับคนไทยในภาคที่เดินทางไปทำงานยังต่างประเทศจำนวน 7,490 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 14.8 ส่วนใหญ่ไปทำงานยังประเทศไต้หวัน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรท และกาตาร์
10. ภาคการเงิน ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2551 ธนาคารพาณิชย์ในภาคมีเงินฝากคงค้าง 356,909 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์เริ่มระดมเงินฝาก เพื่อรักษาฐานลูกค้าและเสริมสภาพคล่องของธนาคาร โดยออกผลิตภัณฑ์พิเศษที่เน้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาวเพื่อจูงใจผู้ฝากเงิน ทางด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 353,221 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.1 ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่ออุปโภคบริโภค ส่วนบุคคล ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากในเดือนนี้เป็นร้อยละ 99.0 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนที่มีอัตราส่วนร้อยละ 92.4
สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไตรมาสแรก ปี 2551
ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและจากไตรมาสก่อน โดยด้านอุปทาน ผลผลิตข้าว และมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น แต่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลง ราคาพืชผลสำคัญสูงขึ้นโดยเฉพาะราคาข้าวเปลือกหอมมะลิและ ราคามันสำปะหลัง แต่ราคาข้าวเปลือกเหนียวยังลดลงต่อเนื่อง การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น เป็นผลจากอุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิสก์และอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผลิตได้เพิ่มขึ้น ภาคบริการอยู่ในเกณฑ์ดี ตามเทศกาลท่องเที่ยวที่มีวันหยุดหลายวัน และมีกิจกรรมการท่องเที่ยวหลายกิจกรรม ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับตัว ดีขึ้นต่อเนื่อง แต่การลงทุนภาคเอกชนยังชะลอตัว รายได้ภาครัฐบาลจากการจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นทุกประเภท การค้าชายแดนไทย - ลาว และไทย - กัมพูชายังขยายตัวดีต่อเนื่อง เงินฝากและสินเชื่อเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลประเภทเช่าซื้อ สินเชื่อ สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนมีนาคม 2551 และไตรมาสแรก ปี 2551 เพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเพื่อการอุตสาหกรรม ส่วนสินเชื่อที่มีแนวโน้มชะลอตัวได้แก่ สินเชื่อตัวกลางทางการเงิน สินเชื่อบริการด้าน อสังหาริมทรัพย์ สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 5.2 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.1 รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตรกรรม ผลผลิตข้าวนาปีและมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น แต่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลง ทางด้านราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ราคาข้าวเปลือกเหนียวลดลง ราคาขายส่งข้าวเปลือก หอมมะลิเฉลี่ยไตรมาสนี้เกวียนละ 11,781 บาท สูงขึ้นร้อยละ 35.6 เนื่องจากผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการโดยเฉพาะเพื่อ การส่งออก เนื่องจากประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ ได้แก่ ประเทศเวียดนามและอินเดียผลผลิตลดลง เพราะประสบภัยธรรมชาติจนต้องจำกัด การส่งออก ทำให้มีคำสั่งซื้อมายังประเทศไทยเพิ่มขึ้นมาก ส่วนราคาข้าวเปลือกเหนียวเฉลี่ยไตรมาสนี้เกวียนละ 8,575 บาท ลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.8 ราคาขายส่งหัวมันสำปะหลังเฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.11 บาท และราคาขายส่ง มันเส้นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.63 บาท สูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 81.9 และร้อยละ 52.0 ตามลำดับ เนื่องจากผลผลิต ยังไม่เพียงพอกับความต้องการเพื่อการส่งออก โดยมีคำสั่งซื้อมันอัดเม็ดจากสหภาพยุโรปล่วงหน้าไปจนถึงเดือนมิถุนายน และความ ต้องการมันเส้นอย่างต่อเนื่องจากประเทศจีน ราคาขายส่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.04 บาท สูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ 11.3 เนื่องจากผลผลิตลดลงตามพื้นที่เพาะปลูก ในขณะที่ความต้องการของอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์มีต่อเนื่อง ประกอบกับราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในตลาดโลกอยู่ในเกณฑ์สูง
2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการผลิตในอุตสาหกรรมน้ำตาล ซึ่งมีอ้อยเข้าหีบมากกว่าปีก่อน อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวตามการส่งออก และอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์ซึ่งผลิตเพิ่มขึ้นตามผลิตภัณฑ์ใหม่ และการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ในส่วนอุตสาหกรรมที่มีการผลิตลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมแป้งมัน ที่มีวัตถุดิบไม่เพียงพอกับความต้องการขณะที่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นทั้งจากประเทศจีนและสหภาพยุโรป
3. ภาคบริการ ภาวะการท่องเที่ยวในภาคอยู่ในเกณฑ์ดี โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในภาคมาก ประกอบกับ เป็นช่วงเดือนที่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์ต่อเนื่องในช่วงเทศกาลปีใหม่และเทศกาลตรุษจีน ซึ่งเหมาะแก่การท่องเที่ยวทางธรรมชาติและ แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ โดยมีกิจกรรมที่สนับสนุนการท่องเที่ยวอีกได้แก่ การจัดการแข่งขันกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ครั้งที่ 4 การฝึกผสม โครงการ Cope Tiger 2008 และการฝึกบินผสมของนักบินไทยและนักบินมาเลเซียในโครงการ Air Thamak 19 ที่จังหวัดนครราชสีมา อัตราการเข้าพักโรงแรมอยู่ที่ร้อยละ 52.1 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีอัตราการเข้าพักที่ร้อยละ 56.9
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เครื่องชี้สำคัญคือการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 2,239.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.1 เทียบกับไตรมาสก่อน ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 เนื่องจากยอดจำหน่ายของห้างสรรพสินค้าและธุรกิจค้าส่ง - ค้าปลีกเพิ่มขึ้น การจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล จำนวน 10,476 คัน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจำนวน 16,785 คัน และรถจักรยานยนต์จำนวน 97,723 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 ร้อยละ 6.6 และร้อยละ 2.4 ตามลำดับ เนื่องจากราคารถยนต์รุ่นใหม่ปรับราคาลง ประกอบกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของตัวแทนจำหน่าย รถยนต์อย่างต่อเนื่อง สำหรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9
5. การลงทุนภาคเอกชน ยังชะลอตัวจากไตรมาสก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุน การประกอบการสูงขึ้น โดยพื้นที่ก่อสร้างของภาคเอกชนในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร 483,352.8 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนมีนาคม 2551 และไตรมาสแรก ปี 2551 ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.1 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ชะลอตัวจาก ไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 การลงทุนภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มลดลง โดยโครงการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุน มีจำนวน 19 โครงการ เงินลงทุน 1,281.0 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 47.2 และร้อยละ 78.7 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็น โครงการขนาดเล็กใช้เงินลงทุนไม่มาก เช่น โครงการเลี้ยงไก่เนื้อ โครงการผลิตชิ้นส่วนเหล็กหล่อ โครงการคัดคุณภาพและบรรจุพืชผัก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่มีทุนจดทะเบียน 2,034.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจค้าวัสดุ ก่อสร้างและธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเป็นสำคัญ
6. ภาคการคลัง การจัดเก็บภาษีอากรสามารถจัดเก็บได้ 10,193.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 14.5 จำแนกเป็น ภาษีสรรพากรรวม 5,833.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เป็นการเพิ่มขึ้นของภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้ นิติบุคคล ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการผลิตและการจำหน่ายของภาคเอกชนที่มีผลประกอบการเพิ่มขึ้นจากโรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจการค้า และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น ภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ 4,299.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 ขยายตัวขึ้นจาก ไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เป็นผลจากภาษีสุราซึ่งเพิ่มขึ้นจากเบียร์เป็นสำคัญ อากรขาเข้าจัดเก็บได้รวม 61.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า เท่าตัว ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป และอุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์
7. การค้าต่างประเทศ การค้าชายแดนไทย - ลาว มีมูลค่าการค้า 18,137 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่า การส่งออก 13,188.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.4 โดยการส่งออกสินค้าในหมวดสินค้าทุนขยายตัวดี เนื่องจากมีการก่อสร้างเขื่อน และ โครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานใน สปป. ลาว หลายโครงการ สินค้าสำคัญที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิง ยานพาหนะและอุปกรณ์ สินค้าบริโภค วัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์เหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากยังเป็นสินค้าที่นิยมมากกว่าสินค้าจาก ประเทศจีนที่มีคุณภาพด้อยกว่า เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากการส่งออกเครื่องจักรผลิตน้ำตาล เครื่องบดย่อยหิน เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ส่วนมูลค่าการนำเข้า 4,948.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.8 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินแร่ทองแดง เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนที่เหลือเป็นยานพาหนะและอุปกรณ์ (กว่าร้อยละ 63.0 เป็นการนำกลับรถที่เสร็จสิ้นการใช้งาน เช่น รถดัมพ์ รถแทรกเตอร์) เครื่องจักรและอุปกรณ์ ส่วนการนำเข้าผลิตภัณฑ์ไม้ลดลง เนื่องจากมาตรการเข้มงวดในการนำไม้ออก นอกประเทศของ สปป. ลาว การค้าชายแดนไทย - กัมพูชา มีมูลค่า 12,552.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 41.3 จำแนกเป็น มูลค่าการส่งออก 11,928.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.6 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออก ยานพาหนะและอุปกรณ์ วัสดุก่อสร้าง น้ำตาล น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ตามความต้องการใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรม รวมถึง ปริมาณยานพาหนะที่ขยายตัวขึ้น สำหรับมูลค่าการนำเข้า 623.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าพืชไร่ ซึ่งได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปสูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.2 เนื่องจากราคาสินค้าในหมวด อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 6.6 และหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.3 โดยหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าที่มีราคาเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องปรุงอาหารสูงขึ้นร้อยละ 18.6 ตามการปรับราคาขึ้นของน้ำมันพืชและน้ำมันสัตว์เป็นสำคัญ เนื้อสัตว์ สูงขึ้นร้อยละ 16.8 เนื่องจากราคาเนื้อสุกรที่สูงขึ้นตามราคาหน้าฟาร์ม ผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ 11.1 สำหรับหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม สินค้าที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 26.6 หนังสือสูงขึ้นร้อยละ 13.1 ค่าเรียนพิเศษสูงขึ้น ร้อยละ 7.9 ผลิตภัณฑ์ยาสูบและสุราสูงขึ้นร้อยละ 4.2 และร้อยละ 3.9 ตามลำดับ ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานสูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 1.1 สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนมีนาคม 2551 และไตรมาสแรก ปี 2551
9. ภาคการจ้างงาน ภาวะการทำงานของประชากร พบว่า มีกำลังแรงงานรวม 11.3 คน เป็นผู้ว่างงานจำนวน 0.24 ล้านคน อัตราการว่างงานร้อยละ 2.1 ของกำลังแรงงานรวม ด้านภาวะการจ้างงาน มีตำแหน่งงานว่าง 15,395 อัตรา เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.6 โดยมี ผู้สมัครงาน 24,352 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 และมีผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงาน 8,572 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.2 ส่วนใหญ่ทำงานในงานผู้ ช่วยงานบ้าน พนักงานทำความสะอาด และงานในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น สำหรับคนไทยในภาคที่เดินทางไปทำงาน ยังต่างประเทศจำนวน 25,086 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.9 ส่วนใหญ่ไปทำงานยังประเทศไต้หวัน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรท และกาตาร์
10. ภาคการเงิน เงินฝากคงค้างในไตรมาสนี้ขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสก่อน เนื่องจาก ลูกค้านำเงินมาฝากเพิ่มขึ้น หลังจากถอนเงินไปลงทุนที่อื่นในช่วงปลายปีก่อน เป็นผลมาจากการเร่งระดมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ เพื่อรักษาฐานลูกค้าและเสริมสภาพคล่องของธนาคาร โดยออกผลิตภัณฑ์เงินฝากพิเศษต่าง ๆ ที่มีอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาว เพื่อจูงใจผู้ฝากเงิน ทำให้เงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำเพิ่มขึ้น ทางด้านสินเชื่อขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสก่อน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์เริ่มปล่อยสินเชื่อทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อส่วนบุคคล ประกอบกับมีการจัดมหกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อ ส่งผลให้สินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้น สินเชื่อที่ขยายตัวยังคงเป็นสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล โดยเฉพาะ สินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเพื่อการอุตสาหกรรม ส่วนสินเชื่อที่มีแนวโน้มชะลอตัวได้แก่ สินเชื่อตัวกลางทางการเงิน สินเชื่อบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม : นางสิรีธร จารุธัญลักษณ์ โทร. 0-4333-3000 ต่อ 3432 e-mail: SireethJ@bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนมีนาคม 2551 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยด้านอุปทาน ผลผลิตข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ออกสู่ตลาดลดลง ราคาพืชผลส่วนใหญ่สูงขึ้นยกเว้นข้าวเปลือกเหนียว ที่ราคายังลดลง การผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวตามอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์และแป้งมันผลิตลดลง สำหรับภาคบริการชะลอตัว ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภค ภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการมั่นใจในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจมากขึ้น การค้าชายแดน ไทย - ลาว ชะลอลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย ด้านการค้าชายแดนไทย - กัมพูชายังขยายตัวดี รายได้ของภาครัฐบาลที่จัดเก็บจากภาษีอากร ชะลอตัว ด้านเงินฝากและสินเชื่อยังเพิ่มขึ้น สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 5.4 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.0 รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตรกรรม เดือนนี้ผลผลิตข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ออกสู่ตลาดลดลง ขณะที่ราคาพืชผล ส่วนใหญ่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นข้าวเปลือกเหนียวที่ราคายังลดลง โดยราคาขายส่งข้าวเปลือกหอมมะลิเฉลี่ย เกวียนละ 12,595 บาท สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 41.4 เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยกว่าความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการเพื่อการส่งออก เนื่องจากประเทศผู้ส่งออกข้าวสำคัญ เช่น ประเทศเวียดนามและอินเดีย จำกัดการส่งออก ทำให้หลายประเทศสั่งซื้อข้าวจากไทยเพิ่มขึ้น ราคาขายส่งหัวมันสำปะหลังเฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.22 บาท และราคาขายส่งมันเส้นเฉลี่ย กิโลกรัมละ 4.74 บาท สูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 88.1 และร้อยละ 55.9 ตามลำดับ เนื่องจากปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอ ต่อความต้องการทั้งในอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ภายในประเทศ และเพื่อการส่งออก ราคาขายส่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.78 บาท สูงขึ้นร้อยละ 13.3 เนื่องจากผลผลิตมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ที่มีอย่างต่อเนื่อง ในส่วน ราคาขายส่งข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) เฉลี่ยเกวียนละ 9,088 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 15.4
2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตอุตสาหกรรมชะลอตัวลง โดยอุตสาหกรรมที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำตาลที่ยังมีอ้อยเข้าหีบต่อเนื่อง เทียบกับช่วงเดือนมีนาคมปีก่อนโรงงานน้ำตาลใกล้ปิดหีบแล้ว ขณะที่ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังขยายตัวดีตามการส่งออก สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการผลิตลดลงได้แก่ อุตสาหกรรม แป้งมันสำปะหลังเนื่องจากวัตถุดิบไม่เพียงพอกับความต้องการ และอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากความต้องการ ของตลาดในประเทศชะลอตัวลง
3. ภาคบริการ เดือนนี้การท่องเที่ยวเริ่มชะลอตัวโดยจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง ในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.3 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.8 โดยกิจกรรมการท่องเที่ยวในเดือนนี้ ได้แก่ โครงการฝึกบินผสมของนักบินไทยและนักบินมาเลเซีย Air Thamak 19 ที่จังหวัดนครราชสีมา มีส่วนให้ชาวมาเลเซียเดินทาง เข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้น อัตราการเข้าพักของโรงแรมอยู่ที่ระดับร้อยละ 62.2 ลดลงจากปีก่อนที่มีอัตราการเข้าพักที่ร้อยละ 65.6
4 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมเริ่มฟื้นตัว สถานการณ์ ทางการเมืองมีความชัดเจนขึ้น ส่งผลให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจจึงหันมาใช้จ่ายมากขึ้น เครื่องชี้สำคัญคือ การจดทะเบียน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลจำนวน 3,488 คัน และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจำนวน 5,472 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 และร้อยละ 0.6 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเนื่องจากมาตรการสนับสนุนด้านภาษีสำหรับรถยนต์ที่รองรับการใช้น้ำมัน E20 ทำให้มีการปรับลดราคารถยนต์รุ่นใหม่ ส่งผลให้ประชาชนตัดสินใจซื้อเร็วขึ้น สำหรับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 704.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 19.1 ส่วนหนึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของยอดจำหน่ายห้างสรรพสินค้า และธุรกิจค้าส่ง - ค้าปลีก อย่างไรก็ตาม เดือนนี้มียอดการจดทะเบียน รถจักรยานยนต์จำนวน 31,993 คัน ลดลงร้อยละ 1.3 และปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.1 ชะลอจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5
5. การลงทุนภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้น โดยการจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่จำนวน 1,078.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก เดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 78.0 เป็นผลจากการจดทะเบียนธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้างขนาดใหญ่ซึ่งมีทุนจดทะเบียน 700 ล้านบาท ที่จังหวัดร้อยเอ็ด พื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร 189,660.6 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4 เป็นผลจาก พื้นที่ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในจังหวัดขอนแก่นและศรีสะเกษ เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม การลงทุนทางด้านอุตสาหกรรม มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมีจำนวนโครงการเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.3 แต่มูลค่า เงินลงทุนลดลงร้อยละ 52.0 เนื่องจากโครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดเล็กได้แก่ โครงการเลี้ยงไก่เนื้อ โครงการผลิตภัณฑ์จาก ยางสังเคราะห์ โครงการผลิตยางแผ่นรมควัน และโครงการผลิตข้าวสารคุณภาพดี สำหรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและ อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ชะลอตัวจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4
6. ภาคการคลัง เดือนนี้รายได้ของภาครัฐบาลที่จัดเก็บจากภาษีอากรชะลอลงจากเดือนก่อน โดยสามารถจัดเก็บได้ทั้งสิ้น 4,119.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.8 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.3 แยกเป็น ภาษีสรรพากร จัดเก็บได้ 2,609.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เป็นการเพิ่มขึ้นของภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามการเพิ่มขึ้นของผลประกอบการของภาคธุรกิจ ทั้งในด้านอุตสาหกรรมและด้านการค้า อาทิ อุตสาหกรรมผลิตสุรา อุตสาหกรรมผลิต เครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจสินแร่ทองแดงและธุรกิจค้าส่ง - ค้าปลีก เป็นต้น ส่วนการจัดเก็บภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาลดลง เนื่องจากในเดือนเดียวกันของปีก่อนมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินค่าวิทยฐานะของข้าราชการครู ทำให้ฐานภาษีสูง ทางด้านภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ 1,486.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 เป็นผลจากการลดลงของภาษีสุราเป็นสำคัญ ในขณะที่ภาษี เครื่องดื่มและภาษียาสูบยังเพิ่มขึ้น และการจัดเก็บอากรขาเข้ารวม 23.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ่านด่านศุลกากรมุกดาหาร
7. การค้าต่างประเทศ เดือนนี้มูลค่าการค้าชายแดนไทย - ลาว ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยมีมูลค่าการค้า 6,486.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น อยละ 31.6 ขณะที่เดือนก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.9 แยกเป็น มูลค่าการส่งออก 4,664.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8 เป็นการส่งออกสินค้า ประเภทน้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิง วัสดุก่อสร้างสินค้าบริโภค ผลิตภัณฑ์เหล็ก เครื่องจักรและอุปกรณ์ ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ส่วนสินค้าที่ลดลงได้แก่ ยานพาหนะและอุปกรณ์ มูลค่าการนำเข้า 1,821.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.0 กว่าร้อยละ 63 เป็นการนำเข้า สินแร่ทองแดง นอกจากนั้นเป็นยานพาหนะและอุปกรณ์ กว่าร้อยละ 75.0 เป็นการนำกลับรถที่เสร็จสิ้นการใช้งาน ส่วนผลิตภัณฑ์ไม้ลดลง ทางด้านการค้าชายแดนไทย - กัมพูชา มีมูลค่าการค้า 4,894.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 46.2 เป็นมูลค่าการส่งออก 4,694.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.1 สินค้าส่งออกสำคัญที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ยานพาหนะและส่วนประกอบ วัสดุก่อสร้าง น้ำตาล น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิง ส่วนสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ลดลง สำหรับมูลค่าการนำเข้า 199.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.6 ส่วนใหญ่เป็นพืชไร่ โดยเฉพาะมันสำปะหลัง
8. ระดับราคา อัตราเงินเฟ้อเดือนนี้สูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.4 เป็นผลจากราคาสินค้าหมวดอาหาร และเครื่องดื่มสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.2 จากการเพิ่มขึ้นของราคาเนื้อสุกรที่สูงขึ้นร้อยละ 41.7 ไก่สดสูงขึ้นร้อยละ 17.4 ไข่สูงขึ้นร้อยละ 24.0 และเครื่องประกอบอาหารสูงขึ้นร้อยละ 14.8 สำหรับหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นจาก เดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.2 เป็นผลจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 25.5 ยาสูบสูงขึ้นร้อยละ 4.2 ไวน์สูงขึ้น ร้อยละ 4.0 และหนังสือสูงขึ้นร้อยละ 13.1 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเดือนนี้สูงขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.0
9. ภาคการจ้างงาน ภาวะการทำงานของประชากรเดือนมีนาคม 2551 มีกำลังแรงงานรวม 11.2 คน เป็นผู้มีงานทำ 10.8 ล้านคน โดยทำงานในภาคเกษตรจำนวน 10.8 ล้านคน และนอกภาคเกษตรจำนวน 5.8 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน 1.4 ล้านคน และการผลิต 1.3 ล้านคน สำหรับการว่างงานมีผู้ว่างงานจำนวน 0.23 ล้านคน อัตราการว่างงานร้อยละ 2.1 ของกำลังแรงงานรวม ด้านภาวะการจ้างงานในภาคเดือนนี้ มีตำแหน่งงานว่าง 6,535 อัตรา ลดลงร้อยละ 7.3 ส่วนใหญ่เป็นความต้องการ พนักงานในงานพื้นฐานต่าง ๆ ได้แก่ พนักงานบริการ และพนักงานขายของในร้านค้า มีผู้สมัครงาน 11,156 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน ของปีก่อนร้อยละ 26.3 และผู้ที่ได้รับการบรรจุงาน 3,833 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.0 โดยเป็นการบรรจุงานในอุตสาหกรรมการผลิต และในธุรกิจค้าส่งค้าปลีก สำหรับคนไทยในภาคที่เดินทางไปทำงานยังต่างประเทศจำนวน 7,490 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 14.8 ส่วนใหญ่ไปทำงานยังประเทศไต้หวัน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรท และกาตาร์
10. ภาคการเงิน ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2551 ธนาคารพาณิชย์ในภาคมีเงินฝากคงค้าง 356,909 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์เริ่มระดมเงินฝาก เพื่อรักษาฐานลูกค้าและเสริมสภาพคล่องของธนาคาร โดยออกผลิตภัณฑ์พิเศษที่เน้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาวเพื่อจูงใจผู้ฝากเงิน ทางด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 353,221 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.1 ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่ออุปโภคบริโภค ส่วนบุคคล ทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากในเดือนนี้เป็นร้อยละ 99.0 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนที่มีอัตราส่วนร้อยละ 92.4
สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไตรมาสแรก ปี 2551
ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและจากไตรมาสก่อน โดยด้านอุปทาน ผลผลิตข้าว และมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น แต่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลง ราคาพืชผลสำคัญสูงขึ้นโดยเฉพาะราคาข้าวเปลือกหอมมะลิและ ราคามันสำปะหลัง แต่ราคาข้าวเปลือกเหนียวยังลดลงต่อเนื่อง การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น เป็นผลจากอุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิสก์และอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผลิตได้เพิ่มขึ้น ภาคบริการอยู่ในเกณฑ์ดี ตามเทศกาลท่องเที่ยวที่มีวันหยุดหลายวัน และมีกิจกรรมการท่องเที่ยวหลายกิจกรรม ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับตัว ดีขึ้นต่อเนื่อง แต่การลงทุนภาคเอกชนยังชะลอตัว รายได้ภาครัฐบาลจากการจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นทุกประเภท การค้าชายแดนไทย - ลาว และไทย - กัมพูชายังขยายตัวดีต่อเนื่อง เงินฝากและสินเชื่อเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลประเภทเช่าซื้อ สินเชื่อ สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนมีนาคม 2551 และไตรมาสแรก ปี 2551 เพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเพื่อการอุตสาหกรรม ส่วนสินเชื่อที่มีแนวโน้มชะลอตัวได้แก่ สินเชื่อตัวกลางทางการเงิน สินเชื่อบริการด้าน อสังหาริมทรัพย์ สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 5.2 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.1 รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตรกรรม ผลผลิตข้าวนาปีและมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น แต่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลง ทางด้านราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ราคาข้าวเปลือกเหนียวลดลง ราคาขายส่งข้าวเปลือก หอมมะลิเฉลี่ยไตรมาสนี้เกวียนละ 11,781 บาท สูงขึ้นร้อยละ 35.6 เนื่องจากผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการโดยเฉพาะเพื่อ การส่งออก เนื่องจากประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ ได้แก่ ประเทศเวียดนามและอินเดียผลผลิตลดลง เพราะประสบภัยธรรมชาติจนต้องจำกัด การส่งออก ทำให้มีคำสั่งซื้อมายังประเทศไทยเพิ่มขึ้นมาก ส่วนราคาข้าวเปลือกเหนียวเฉลี่ยไตรมาสนี้เกวียนละ 8,575 บาท ลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.8 ราคาขายส่งหัวมันสำปะหลังเฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.11 บาท และราคาขายส่ง มันเส้นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.63 บาท สูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 81.9 และร้อยละ 52.0 ตามลำดับ เนื่องจากผลผลิต ยังไม่เพียงพอกับความต้องการเพื่อการส่งออก โดยมีคำสั่งซื้อมันอัดเม็ดจากสหภาพยุโรปล่วงหน้าไปจนถึงเดือนมิถุนายน และความ ต้องการมันเส้นอย่างต่อเนื่องจากประเทศจีน ราคาขายส่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.04 บาท สูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ 11.3 เนื่องจากผลผลิตลดลงตามพื้นที่เพาะปลูก ในขณะที่ความต้องการของอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์มีต่อเนื่อง ประกอบกับราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในตลาดโลกอยู่ในเกณฑ์สูง
2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการผลิตในอุตสาหกรรมน้ำตาล ซึ่งมีอ้อยเข้าหีบมากกว่าปีก่อน อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวตามการส่งออก และอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์ซึ่งผลิตเพิ่มขึ้นตามผลิตภัณฑ์ใหม่ และการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ในส่วนอุตสาหกรรมที่มีการผลิตลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมแป้งมัน ที่มีวัตถุดิบไม่เพียงพอกับความต้องการขณะที่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นทั้งจากประเทศจีนและสหภาพยุโรป
3. ภาคบริการ ภาวะการท่องเที่ยวในภาคอยู่ในเกณฑ์ดี โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในภาคมาก ประกอบกับ เป็นช่วงเดือนที่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์ต่อเนื่องในช่วงเทศกาลปีใหม่และเทศกาลตรุษจีน ซึ่งเหมาะแก่การท่องเที่ยวทางธรรมชาติและ แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ โดยมีกิจกรรมที่สนับสนุนการท่องเที่ยวอีกได้แก่ การจัดการแข่งขันกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ครั้งที่ 4 การฝึกผสม โครงการ Cope Tiger 2008 และการฝึกบินผสมของนักบินไทยและนักบินมาเลเซียในโครงการ Air Thamak 19 ที่จังหวัดนครราชสีมา อัตราการเข้าพักโรงแรมอยู่ที่ร้อยละ 52.1 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีอัตราการเข้าพักที่ร้อยละ 56.9
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เครื่องชี้สำคัญคือการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 2,239.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.1 เทียบกับไตรมาสก่อน ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 เนื่องจากยอดจำหน่ายของห้างสรรพสินค้าและธุรกิจค้าส่ง - ค้าปลีกเพิ่มขึ้น การจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล จำนวน 10,476 คัน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจำนวน 16,785 คัน และรถจักรยานยนต์จำนวน 97,723 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 ร้อยละ 6.6 และร้อยละ 2.4 ตามลำดับ เนื่องจากราคารถยนต์รุ่นใหม่ปรับราคาลง ประกอบกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของตัวแทนจำหน่าย รถยนต์อย่างต่อเนื่อง สำหรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9
5. การลงทุนภาคเอกชน ยังชะลอตัวจากไตรมาสก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุน การประกอบการสูงขึ้น โดยพื้นที่ก่อสร้างของภาคเอกชนในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร 483,352.8 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนมีนาคม 2551 และไตรมาสแรก ปี 2551 ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.1 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ชะลอตัวจาก ไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 การลงทุนภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มลดลง โดยโครงการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุน มีจำนวน 19 โครงการ เงินลงทุน 1,281.0 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 47.2 และร้อยละ 78.7 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็น โครงการขนาดเล็กใช้เงินลงทุนไม่มาก เช่น โครงการเลี้ยงไก่เนื้อ โครงการผลิตชิ้นส่วนเหล็กหล่อ โครงการคัดคุณภาพและบรรจุพืชผัก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่มีทุนจดทะเบียน 2,034.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจค้าวัสดุ ก่อสร้างและธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเป็นสำคัญ
6. ภาคการคลัง การจัดเก็บภาษีอากรสามารถจัดเก็บได้ 10,193.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 14.5 จำแนกเป็น ภาษีสรรพากรรวม 5,833.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เป็นการเพิ่มขึ้นของภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้ นิติบุคคล ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการผลิตและการจำหน่ายของภาคเอกชนที่มีผลประกอบการเพิ่มขึ้นจากโรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจการค้า และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น ภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ 4,299.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 ขยายตัวขึ้นจาก ไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เป็นผลจากภาษีสุราซึ่งเพิ่มขึ้นจากเบียร์เป็นสำคัญ อากรขาเข้าจัดเก็บได้รวม 61.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า เท่าตัว ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป และอุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์
7. การค้าต่างประเทศ การค้าชายแดนไทย - ลาว มีมูลค่าการค้า 18,137 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่า การส่งออก 13,188.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.4 โดยการส่งออกสินค้าในหมวดสินค้าทุนขยายตัวดี เนื่องจากมีการก่อสร้างเขื่อน และ โครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานใน สปป. ลาว หลายโครงการ สินค้าสำคัญที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิง ยานพาหนะและอุปกรณ์ สินค้าบริโภค วัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์เหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้า เนื่องจากยังเป็นสินค้าที่นิยมมากกว่าสินค้าจาก ประเทศจีนที่มีคุณภาพด้อยกว่า เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากการส่งออกเครื่องจักรผลิตน้ำตาล เครื่องบดย่อยหิน เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ส่วนมูลค่าการนำเข้า 4,948.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.8 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินแร่ทองแดง เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนที่เหลือเป็นยานพาหนะและอุปกรณ์ (กว่าร้อยละ 63.0 เป็นการนำกลับรถที่เสร็จสิ้นการใช้งาน เช่น รถดัมพ์ รถแทรกเตอร์) เครื่องจักรและอุปกรณ์ ส่วนการนำเข้าผลิตภัณฑ์ไม้ลดลง เนื่องจากมาตรการเข้มงวดในการนำไม้ออก นอกประเทศของ สปป. ลาว การค้าชายแดนไทย - กัมพูชา มีมูลค่า 12,552.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 41.3 จำแนกเป็น มูลค่าการส่งออก 11,928.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.6 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออก ยานพาหนะและอุปกรณ์ วัสดุก่อสร้าง น้ำตาล น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ตามความต้องการใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรม รวมถึง ปริมาณยานพาหนะที่ขยายตัวขึ้น สำหรับมูลค่าการนำเข้า 623.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าพืชไร่ ซึ่งได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปสูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.2 เนื่องจากราคาสินค้าในหมวด อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 6.6 และหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 4.3 โดยหมวดอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าที่มีราคาเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องปรุงอาหารสูงขึ้นร้อยละ 18.6 ตามการปรับราคาขึ้นของน้ำมันพืชและน้ำมันสัตว์เป็นสำคัญ เนื้อสัตว์ สูงขึ้นร้อยละ 16.8 เนื่องจากราคาเนื้อสุกรที่สูงขึ้นตามราคาหน้าฟาร์ม ผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ 11.1 สำหรับหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม สินค้าที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 26.6 หนังสือสูงขึ้นร้อยละ 13.1 ค่าเรียนพิเศษสูงขึ้น ร้อยละ 7.9 ผลิตภัณฑ์ยาสูบและสุราสูงขึ้นร้อยละ 4.2 และร้อยละ 3.9 ตามลำดับ ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานสูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 1.1 สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนมีนาคม 2551 และไตรมาสแรก ปี 2551
9. ภาคการจ้างงาน ภาวะการทำงานของประชากร พบว่า มีกำลังแรงงานรวม 11.3 คน เป็นผู้ว่างงานจำนวน 0.24 ล้านคน อัตราการว่างงานร้อยละ 2.1 ของกำลังแรงงานรวม ด้านภาวะการจ้างงาน มีตำแหน่งงานว่าง 15,395 อัตรา เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.6 โดยมี ผู้สมัครงาน 24,352 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 และมีผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงาน 8,572 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.2 ส่วนใหญ่ทำงานในงานผู้ ช่วยงานบ้าน พนักงานทำความสะอาด และงานในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น สำหรับคนไทยในภาคที่เดินทางไปทำงาน ยังต่างประเทศจำนวน 25,086 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.9 ส่วนใหญ่ไปทำงานยังประเทศไต้หวัน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรท และกาตาร์
10. ภาคการเงิน เงินฝากคงค้างในไตรมาสนี้ขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสก่อน เนื่องจาก ลูกค้านำเงินมาฝากเพิ่มขึ้น หลังจากถอนเงินไปลงทุนที่อื่นในช่วงปลายปีก่อน เป็นผลมาจากการเร่งระดมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ เพื่อรักษาฐานลูกค้าและเสริมสภาพคล่องของธนาคาร โดยออกผลิตภัณฑ์เงินฝากพิเศษต่าง ๆ ที่มีอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาว เพื่อจูงใจผู้ฝากเงิน ทำให้เงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำเพิ่มขึ้น ทางด้านสินเชื่อขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสก่อน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์เริ่มปล่อยสินเชื่อทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อส่วนบุคคล ประกอบกับมีการจัดมหกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อ ส่งผลให้สินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้น สินเชื่อที่ขยายตัวยังคงเป็นสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล โดยเฉพาะ สินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อเพื่อการอุตสาหกรรม ส่วนสินเชื่อที่มีแนวโน้มชะลอตัวได้แก่ สินเชื่อตัวกลางทางการเงิน สินเชื่อบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม : นางสิรีธร จารุธัญลักษณ์ โทร. 0-4333-3000 ต่อ 3432 e-mail: SireethJ@bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--