ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้โดยรวมในไตรมาสแรก ปี 2551 ขยายตัวทั้งการผลิตและการใช้จ่าย โดยพืชผลเกษตร ที่สำคัญ ทั้งผลผลิตและราคาเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวขยายตัว ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง ทางด้านการ ใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวจากปัจจัยสนับสนุนด้านรายได้เกษตรกรและการท่องเที่ยว ขณะเดียวกันการ ส่งออกและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้น ส่วนการลงทุนยังคงลดลง สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับตัวเพิ่มขึ้น
รายละเอียดของภาวะภาคเศรษฐกิจและการเงินในไตรมาสแรก มีดังนี้
1. ภาคเกษตรกรรม ในไตรมาส 1 ปี 2551 ดัชนีรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ ร้อยละ 30.2 เป็นการเพิ่มขึ้นทั้งทางด้านผลผลิตและราคา โดยดัชนีผลผลิตพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 ตามการเพิ่มขึ้น ของผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมัน ขณะเดียวกันดัชนีราคาพืชผลหลักปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 เนื่องจากราคายางพารา และปาล์น้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 และ 74.2 ตามลำดับ ประมงทะเลหดตัวต่อเนื่อง จากการที่ต้นทุนการทำประมงที่สูงขึ้นและบางส่วนเปลี่ยนไปนำขึ้นที่ท่าเรืออื่น โดยปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นท่าเทียบเรือทางการ ลดลงร้อยละ 15.7 ส่วนผลผลิตกุ้งมีปริมาณลดลงร้อยละ 26.2 เนื่องจาก เกษตรกรชะลอการเลี้ยงหลังจากประสบปัญหาราคากุ้งตกต่ำ กอปรกับสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ทำให้เกิดโรคระบาด หลายพื้นที่ ส่วนราคากุ้งปรับลดมาตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากตลาดต่างประเทศชะลอการนำเข้า โดยกุ้งขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัม ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 111.83 บาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.3 อย่างไรก็ตาม กุ้งขนาด 50 ตัวต่อกิโลกรัม ราคายังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ดยมีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 131.67 บาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8
2. ภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 2.8 เนื่องจากการผลิตเพื่อการส่งออกลดลง ตามความต้องการและวัตถุดิบเป็นสำคัญ โดยอุตสาหกรรมยาง มีปริมาณส่งออกลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.6 สัตว์น้ำแช่แข็งลดลงร้อยละ 21.2 และอาหารบรรจุกระป๋องลดลงร้อยละ 15.4 ขณะที่ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ มี ปริมาณเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 48.3 ตามผลผลิตปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.2
3. การท่องเที่ยว ขยายตัว มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ 952,392 คน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.3 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความร่วมมือกันของภาครัฐและเอกชนใน การจัดกิจกรรมส่งเสริมและทำตลาดการท่องเที่ยวต่อเนื่อง โดยอัตราการเข้าพักโรงแรมอยู่ที่ร้อยละ 66.2
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.6 โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น และเครื่องชี้ในหมวดสินค้าคงทนปรับตัวดีขึ้น โดยยอดการจดทะเบียนรถเพิ่มขึ้นทุกประเภท ซึ่งเป็นผล มาจากรายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น ประกอบกับการขยายตัวของการท่องเที่ยวในฝั่งอันดามัน
5. การลงทุนภาคเอกชน ลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการขาดความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจ ประกอบกับราคา น้ำมันที่สูงขึ้น โดยโครงการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) ทั้งจำนวนราย และเงินลงทุนลดลงร้อยละ 28.6 และ 46.6 ตามลำดับ และพื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างลดลงร้อยละ 11.4 ตามการลดลง ของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและบริการเป็นสำคัญ ส่วนการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล จำนวนรายเพิ่มขึ้น แต่ทุนจดทะเบียนลดลง
6. การจ้างงาน ตำแหน่งงานว่างผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคใต้ มีจำนวนทั้งสิ้น 16,105 อัตรา เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 56.5 และมีการบรรจุงานรวม 8,409 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 ขณะที่มีผู้สมัครงาน 14,250 คน ลดลงร้อยละ 1.0 สำหรับผู้ประกันตนมีจำนวน 589,208 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0
7. ระดับราคา อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของภาคใต้อยู่ที่ร้อยละ 5.1 ตามราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 เป็นผลจากการสูงขึ้นของราคาไข่และผลิตภัณฑ์นม เครื่องปรุงอาหารและข้าว แป้ง ผลิตภัณฑ์จาก แป้ง ส่วนหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ตามราคาน้ำมันและยาสูบ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
8. การค้าต่างประเทศ การค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีมูลค่ารวม 4,219.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.1 แยกเป็นมูลค่าการส่งออก 2,882.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 ตามการ เพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกยางพาราเป็นสำคัญ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 1,337.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.3 เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ลดลงร้อยละ 26.0
9. ภาคการคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่างๆในภาคใต้ มีจำนวน 32,654.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.9 ตามการเพิ่มขึ้นของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น(อปท.)ในทุกคลังจังหวัด ส่วนรายได้จากการจัดเก็บภาษี มีจำนวน7,699.3 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 0.9 ตามการลดลงของการจัดเก็บภาษีทุกประเภท
10. ภาคการเงิน เงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัว โดย ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2551 เงินฝาก คงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์ มีจำนวนประมาณ 419,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.8 ส่วน สินเชื่อคงค้าง มีจำนวนประมาณ 350,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.2 ตามการขยายตัวของ สินเชื่อ ในพื้นที่เศรษฐกิจหลัก 3 จังหวัด คือ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และสงขลา โดยสินเชื่อที่ขยายตัวมากได้แก่ สินเชื่อเพื่อ การบริโภคส่วนบุคคล
แนวโน้ม ไตรมาส 2 ปี 2551
ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ในไตรมาส 2 ปี 2551 คาดว่า จะขยายตัวต่อเนื่อง เนื่องจากรายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้น จากราคาพืชผลเกษตรสำคัญ อาทิ ยางพารา และปาล์มน้ำมันอยู่ในระดับสูง ประกอบกับการท่องเที่ยวขยายตัวดีขึ้น โดยเฉพาะทางฝั่งอันดามัน ขณะที่ภาคใต้ตอนล่างเริ่มปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ช่วงสงกรานต์ ตลอดจนเงินงบประมาณกระตุ้น เศรษฐกิจจากภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยง คือ ความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และปัญหาหนี้เสียใน ส่วนของสินเชื่อประเภทด้อยมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา (SUBPRIME)
ข้อมูลเพิ่มเติม : นายพสุธา ระวังสุข โทร. 0 7423 6200 ต่อ 4345 e-mail : pasuthar@ bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
รายละเอียดของภาวะภาคเศรษฐกิจและการเงินในไตรมาสแรก มีดังนี้
1. ภาคเกษตรกรรม ในไตรมาส 1 ปี 2551 ดัชนีรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ ร้อยละ 30.2 เป็นการเพิ่มขึ้นทั้งทางด้านผลผลิตและราคา โดยดัชนีผลผลิตพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 ตามการเพิ่มขึ้น ของผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมัน ขณะเดียวกันดัชนีราคาพืชผลหลักปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 เนื่องจากราคายางพารา และปาล์น้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 และ 74.2 ตามลำดับ ประมงทะเลหดตัวต่อเนื่อง จากการที่ต้นทุนการทำประมงที่สูงขึ้นและบางส่วนเปลี่ยนไปนำขึ้นที่ท่าเรืออื่น โดยปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นท่าเทียบเรือทางการ ลดลงร้อยละ 15.7 ส่วนผลผลิตกุ้งมีปริมาณลดลงร้อยละ 26.2 เนื่องจาก เกษตรกรชะลอการเลี้ยงหลังจากประสบปัญหาราคากุ้งตกต่ำ กอปรกับสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ทำให้เกิดโรคระบาด หลายพื้นที่ ส่วนราคากุ้งปรับลดมาตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากตลาดต่างประเทศชะลอการนำเข้า โดยกุ้งขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัม ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 111.83 บาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.3 อย่างไรก็ตาม กุ้งขนาด 50 ตัวต่อกิโลกรัม ราคายังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ดยมีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 131.67 บาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8
2. ภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 2.8 เนื่องจากการผลิตเพื่อการส่งออกลดลง ตามความต้องการและวัตถุดิบเป็นสำคัญ โดยอุตสาหกรรมยาง มีปริมาณส่งออกลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.6 สัตว์น้ำแช่แข็งลดลงร้อยละ 21.2 และอาหารบรรจุกระป๋องลดลงร้อยละ 15.4 ขณะที่ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ มี ปริมาณเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 48.3 ตามผลผลิตปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.2
3. การท่องเที่ยว ขยายตัว มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ 952,392 คน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.3 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความร่วมมือกันของภาครัฐและเอกชนใน การจัดกิจกรรมส่งเสริมและทำตลาดการท่องเที่ยวต่อเนื่อง โดยอัตราการเข้าพักโรงแรมอยู่ที่ร้อยละ 66.2
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.6 โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น และเครื่องชี้ในหมวดสินค้าคงทนปรับตัวดีขึ้น โดยยอดการจดทะเบียนรถเพิ่มขึ้นทุกประเภท ซึ่งเป็นผล มาจากรายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น ประกอบกับการขยายตัวของการท่องเที่ยวในฝั่งอันดามัน
5. การลงทุนภาคเอกชน ลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการขาดความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจ ประกอบกับราคา น้ำมันที่สูงขึ้น โดยโครงการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) ทั้งจำนวนราย และเงินลงทุนลดลงร้อยละ 28.6 และ 46.6 ตามลำดับ และพื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างลดลงร้อยละ 11.4 ตามการลดลง ของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและบริการเป็นสำคัญ ส่วนการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล จำนวนรายเพิ่มขึ้น แต่ทุนจดทะเบียนลดลง
6. การจ้างงาน ตำแหน่งงานว่างผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคใต้ มีจำนวนทั้งสิ้น 16,105 อัตรา เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 56.5 และมีการบรรจุงานรวม 8,409 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 ขณะที่มีผู้สมัครงาน 14,250 คน ลดลงร้อยละ 1.0 สำหรับผู้ประกันตนมีจำนวน 589,208 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0
7. ระดับราคา อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของภาคใต้อยู่ที่ร้อยละ 5.1 ตามราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 เป็นผลจากการสูงขึ้นของราคาไข่และผลิตภัณฑ์นม เครื่องปรุงอาหารและข้าว แป้ง ผลิตภัณฑ์จาก แป้ง ส่วนหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ตามราคาน้ำมันและยาสูบ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
8. การค้าต่างประเทศ การค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีมูลค่ารวม 4,219.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.1 แยกเป็นมูลค่าการส่งออก 2,882.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 ตามการ เพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกยางพาราเป็นสำคัญ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 1,337.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.3 เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ลดลงร้อยละ 26.0
9. ภาคการคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่างๆในภาคใต้ มีจำนวน 32,654.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.9 ตามการเพิ่มขึ้นของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น(อปท.)ในทุกคลังจังหวัด ส่วนรายได้จากการจัดเก็บภาษี มีจำนวน7,699.3 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 0.9 ตามการลดลงของการจัดเก็บภาษีทุกประเภท
10. ภาคการเงิน เงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัว โดย ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2551 เงินฝาก คงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์ มีจำนวนประมาณ 419,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.8 ส่วน สินเชื่อคงค้าง มีจำนวนประมาณ 350,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.2 ตามการขยายตัวของ สินเชื่อ ในพื้นที่เศรษฐกิจหลัก 3 จังหวัด คือ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และสงขลา โดยสินเชื่อที่ขยายตัวมากได้แก่ สินเชื่อเพื่อ การบริโภคส่วนบุคคล
แนวโน้ม ไตรมาส 2 ปี 2551
ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ในไตรมาส 2 ปี 2551 คาดว่า จะขยายตัวต่อเนื่อง เนื่องจากรายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้น จากราคาพืชผลเกษตรสำคัญ อาทิ ยางพารา และปาล์มน้ำมันอยู่ในระดับสูง ประกอบกับการท่องเที่ยวขยายตัวดีขึ้น โดยเฉพาะทางฝั่งอันดามัน ขณะที่ภาคใต้ตอนล่างเริ่มปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ช่วงสงกรานต์ ตลอดจนเงินงบประมาณกระตุ้น เศรษฐกิจจากภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยง คือ ความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก และปัญหาหนี้เสียใน ส่วนของสินเชื่อประเภทด้อยมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา (SUBPRIME)
ข้อมูลเพิ่มเติม : นายพสุธา ระวังสุข โทร. 0 7423 6200 ต่อ 4345 e-mail : pasuthar@ bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--