สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนธันวาคม 2550
ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดือนธันวาคม 2550 ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยด้านอุปทาน ผลผลิต เกษตรส่วนใหญ่ออกสู่ตลาดมากขึ้น ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยกเว้นราคาข้าวเปลือกเหนียวที่มีแนวโน้มลดลง สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนตามการลดลงของ อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม รวมถึงอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง ส่วนอุตสาหกรรมที่ขยายตัวในเดือนนี้ ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำตาล และอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ภาคบริการยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวหลายกิจกรรมในภาค ด้านอุปสงค์ ยังชะลอตัวต่อเนื่องตามการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน การจัดเก็บภาษีอากรของภาครัฐลดลงตามการลดลง ของภาษีสรรพสามิต ทางด้านการค้าชายแดนยังขยายตัวดีทั้งการค้าไทย - ลาว และ ไทย - กัมพูชา สำหรับเงินฝากชะลอตัวขณะที่สินเชื่อ ยังใกล้เคียงกับเดือนก่อน อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 3.1
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตรกรรม ในเดือนธันวาคม 2550 ผลผลิตข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ออกสู่ตลาดมากขึ้น ราคาพืชผลส่วนใหญ่สูงขึ้น ยกเว้นราคาข้าวเปลือกเหนียวที่ลดลง ราคาขายส่งข้าวเปลือกหอมมะลิเฉลี่ยเกวียนละ 9,787 บาท สูงขึ้น ร้อยละ 22.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการทั้งภายในและภายนอกประเทศเพิ่มขึ้น ราคาขายส่งหัวมันสำปะหลังเฉลี่ย กิโลกรัมละ 1.82 บาท สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 56.9 ราคาขายส่งมันเส้นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.40 บาท สูงขึ้นร้อยละ 44.3 เนื่องจากปริมาณผลผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และเพื่อการส่งออก ราคาขายส่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.51 บาท สูงขึ้นร้อยละ 20.9 ตามความต้องการของโรงงานผลิตอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ราคาขายส่งข้าวเปลือก เหนียว 10% (เมล็ดยาว) เฉลี่ยเกวียนละ 8,085 บาท ลดลงร้อยละ 12.7 เนื่องจากความต้องการของต่างประเทศลดลง
2. ภาคอุตสาหกรรม ในเดือนธันวาคม 2550 การผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน และยังลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน เนื่องจากการลดลงของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และไม่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากมีการเร่งผลิตเพื่อทำสต็อกในช่วงก่อนหน้า รวมถึงอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังที่มีวัตถุดิบไม่เพียงพอต่อความต้องการ อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่ขยายตัวในเดือนนี้ ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำตาล เนื่องจากโรงงานมีการเปิดหีบครบทุกแห่ง และอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
3. ภาคบริการ ภาวะการท่องเที่ยวในภาคเดือนพฤศจิกายนยังคึกคักต่อเนื่อง เนื่องจากสภาพอากาศที่เย็นเหมาะแก่ การท่องเที่ยว กอปรกับมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดแข่งขันสนุกเกอร์ชิงแชมป์โลก 2007 การเตรียมการจัดกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 24 การจัดงานประเพณีลอยกระทงในจังหวัดต่าง ๆ ทำให้อัตราการเข้าพักของโรงแรมอยู่ที่ร้อยละ 52.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ที่มีอัตราการเข้าพักที่ร้อยละ 49.7 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ส่วนใหญ่เดินทาง เข้ามาทางด่านศุลกากรมุกดาหารซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่าเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ในเดือนธันวาคม 2550 ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ประกอบกับ ค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น กำลังซื้อของประชาชนลดลง ประชาชนจึงชะลอการใช้จ่าย โดยการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์จำนวน 24,065 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 22.4 การจดทะเบียนรถบรรทุกส่วนบุคคลจำนวน 3,591 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 710.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.4 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่สามารถจัดเก็บได้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 อย่างไรก็ตาม สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนธันวาคม 2550 และไตรมาสที่ 4 ปี 2550 การจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลยังขยายตัว โดยมีจำนวน 1,681 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 เนื่องจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย อย่างมากในช่วงปลายปี
5. การลงทุนภาคเอกชน ในเดือนธันวาคม 2550 ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยพื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้าง ในเขตเทศบาลนครและเมืองในภาค 118,573.7 ตารางเมตร ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 27.5 เป็นผลจากพื้นที่ก่อสร้าง อาคารพาณิชย์ลดลงเป็นสำคัญ โครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมีเงินลงทุน 937.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 76.1 เนื่องจาก โครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดเล็กที่ใช้เงินลงทุนไม่สูง ได้แก่ โครงการเลี้ยงไก่เนื้อ โครงการผลิตกระสอบทอพลาสติก และโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยหรือปานกลาง เป็นต้น เงินทุนจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่ 261.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.8 ส่วนใหญ่เป็นการลดลงของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง การใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.6 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4
6. ภาคการคลัง รายได้ของภาคระฐบาล ที่ได้จากการจัดเก็บภาษีอากรในเดือนธันวาคม 2550 ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเดือนธันวาคม 2550 สามารถจัดเก็บได้ 2,748.6 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.8 เนื่องจากการจัดเก็บภาษี สรรพสามิตลดลง ในขณะที่ภาษีสรรพากรและอากรขาเข้าเพิ่มขึ้น จำแนกเป็นภาษีแต่ละประเภท ดังนี้ ภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ทั้งสิ้น 1,257.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 14.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการจัดเก็บจากภาษีสุราซึ่งลดลงตามภาษีเบียร์ เป็นสำคัญ การจัดเก็บอากรขาเข้าจากด่านศุลกากรในภาครวม 26.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่า ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินแร่ทองแดง เป็นสำคัญ
7. การค้าต่างประเทศ การค้าชายแดนไทย - ลาว ยังขยายตัวดีต่อเนื่อง เดือนธันวาคม 2550 มีมูลค่าการค้า 6,442.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แยกเป็น การส่งออก 4,376.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.3 ประเภทของสินค้าสำคัญ ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิง สินค้าอุปโภคบริโภค (น้ำปลา สบู่ ผงชูรส ผงซักฟอก) วัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์เหล็กเนื่องจากมีการก่อสร้างเขื่อนหลายแห่งใน สปป. ลาว เครื่องจักรและอุปกรณ์ส่วนใหญ่เป็นส่วนประกอบของเครื่องจักร สำหรับผลิตน้ำตาล ในส่วนสินค้าที่มีการส่งออกลดลง ได้แก่ ยานพาหนะและอุปกรณ์ ทางด้านการนำเข้า 2,066.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 91.4 กว่าร้อยละ 73.0 เป็นการนำเข้าสินแร่ทองแดงผ่านด่านศุลกากรมุกดาหาร นอกจากนั้น เป็นการส่งออกยานพาหนะอุปกรณ์ และส่วนประกอบ โดยเป็นการนำเข้ารถยนต์ใหม่พวงมาลัยซ้ายเพื่อส่งไปจำหน่ายต่อยังประเทศกัมพูชา และอีกครึ่งหนึ่ง เป็นการนำกลับรถยนต์เก่าและรถที่นำไปใช้งานอื่น สินค้าเกษตรส่วนใหญ่เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลูกเดือย และกล้วยดิบ ทางด้านการค้าชายแดนไทย - กัมพูชา ยังขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าการค้า 3,901.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 24.2 เป็นการส่งออก 3,659.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.5 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออก ยานพาหนะและส่วนประกอบ น้ำมันปิโตรเลียม เครื่องจักรกลการเกษตรซึ่งเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกรถไถนาเดินตาม ในส่วนการนำเข้า 242.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 85.9 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
8. ระดับราคา อัตราเงินเฟ้อเดือนธันวาคม 2550 สูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.1 เนื่องจากราคาสินค้า หมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 1.7 และหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.9 สินค้าในหมวดอาหารและ เครื่องดื่มที่มีราคาสูงขึ้นมาก ได้แก่ เครื่องปรุงอาหาร ผลิตภัณฑ์นม สินค้าในหมวดอื่นไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่มีราคาสูงขึ้นมาก ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง หนังสือ ยาสูบ และผลิตภัณฑ์ไวน์ ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเดือนธันวาคม 2550 สูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 1.2
9. ภาคการจ้างงาน ภาวะการทำงานของประชากรเดือนพฤศจิกายน 2550 ในภาค มีผู้มีงานทำทั้งสิ้น 12.0 ล้านคน โดยทำงานในภาคเกษตร 7.3 ล้านคน และนอกภาคเกษตร 4.7 ล้านคน ส่วนใหญ่ทำงานในสาขาขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซม ยานยนต์ รถจักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน และสาขาการผลิต สำหรับการว่างงานมีผู้ว่างงานจำนวน 0.1 ล้านคน อัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 ทางด้านภาวะการจ้างงานในภาคเดือนธันวาคม 2550 มีผู้สมัครงาน 4,820 คน เพิ่มขึ้น สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนธันวาคม 2550 และไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ร้อยละ 21.5 แต่มีตำแหน่งงานว่าง 2,862 อัตรา ลดลงร้อยละ 30.0 โดยมีผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงาน 1,367 คน ลดลงร้อยละ 4.7 ส่วนใหญ่เป็นงานในโรงงานอุตสาหกรรม ทางด้านคนไทยในภาคที่เดินทางไปทำงานยังต่างประเทศจำนวน 9,220 คน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 24.6 ส่วนใหญ่ยังนิยมไปทำงานยังประเทศไต้หวัน อิสราเอล และเกาหลีใต้
10. ภาคการเงิน ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน ธนาคารพาณิชย์ในภาคมีเงินฝากคงค้าง 343,856 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก เดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.6 ชะลอตัวจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 โดยลดลงในเงินฝากทุกประเภท ส่วนสินเชื่อคงค้าง 339,337 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะตั๋วสัญญาใช้เงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 ซึ่งเป็นตั๋วที่สถาบัน การเงินให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ ได้แก่ โรงสีข้าว และกิจการจำหน่ายรถยนต์ เป็นต้น ส่งผลให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก ในเดือนธันวาคม 2550เท่ากับร้อยละ 98.7
สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไตรมาสที่ 4 ปี 2550
ภาวะเศรษฐกิจภาคชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน โดยด้านอุปทาน ผลผลิตเกษตร ได้แก่ ข้าวเปลือก มันสำปะหลัง เพิ่มขึ้น แต่ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงเนื่องจากเกษตรกรหันไปปลูกมันสำปะหลังและอ้อยโรงงานมากขึ้น ทางด้านราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงขึ้น ยกเว้นราคาข้าวเปลือกเหนียวที่มีแนวโน้มลดลง การผลิต ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน เนื่องจากอุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ผลิตเพิ่มขึ้น โดยอุตสาหกรรมที่ผลิตได้ลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตน้ำอัดลม แป้งมัน และอาหารสัตว์ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังลดลง ส่วนภาคบริการ การท่องเที่ยวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยแก่การท่องเที่ยว รวมถึงมีกิจกรรมทางการท่องเที่ยวและงานเทศกาลหลายกิจกรรมในช่วงปลายปี ด้านอุปสงค์ ชะลอตัวตามการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน แต่การลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมพลังงานและเอทานอลยังเป็น ที่สนใจของนักลงทุน ทำให้มีการขออนุมัติส่งเสริมลงทุนดังกล่าวหลายโครงการ การจัดเก็บภาษีอากรยังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยเพิ่มขึ้นในภาษีทุกประเภท ทางด้านการค้าชายแดนไทย - ลาว ยังขยายตัวดีทั้งการส่งออกและการนำเข้า เนื่องจากทาง สปป. ลาว มีโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน เขื่อน โรงแรม และที่พักอาศัย หลายโครงการ รวมถึงมีการนำเข้าสินแร่ทองแดงจาก สปป. ลาว เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าชายแดนไทย - กัมพูชา ขยายตัวดีต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ตามการส่งออกยานพาหนะและส่วนประกอบ และ การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทางด้านเงินฝากชะลอลงจากไตรมาสก่อน แต่สินเชื่อขยายตัว โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อเพื่อการผลิต อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 3.1 เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตรกรรม การผลิตในปีการเพาะปลูก 2550/51 ผลผลิตข้าวนาปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.3 แต่ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงร้อยละ 1.3 เนื่องจากเกษตรกรหันไปปลูกมันสำปะหลังและอ้อยโรงงานซึ่งเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.1 ทางด้านราคาพืชผลสำคัญส่วนใหญ่สูงขึ้น ยกเว้นข้าวเปลือกเหนียวที่ราคามีแนวโน้มลดลง ราคาขายส่งข้าวเปลือกหอมมะลิ เฉลี่ยไตรมาสนี้เกวียนละ 9,199 บาท สูงขึ้นร้อยละ 9.5 เนื่องจากปริมาณข้าวหอมมะลิเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ขณะที่ความต้องการยังมีอยู่อย่าง ต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิสูงกว่าราคาข้าวเปลือกเหนียวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 อย่างไรก็ตาม ราคาข้าวเปลือก เหนียวไตรมาสนี้ยังสูงกว่าข้าวเปลือกหอมมะลิ กล่าวคือ มีราคาเฉลี่ยเกวียนละ 9,383 บาท ราคาขายส่งหัวมันสำปะหลังเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.81 บาท และราคาขายส่งมันเส้นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.34 บาท สูงขึ้นร้อยละ 71.0 และร้อยละ 35.6 ตามลำดับ เนื่องจากปริมาณยังไม่ เพียงพอต่อความต้องการเพื่อการส่งออกทั้งมันเส้นและมันอัดเม็ดที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมาก อีกทั้งความต้องการใช้เพื่อทดแทนข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ซึ่งมีราคาสูงขึ้นมาก ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ก็ยังมีต่อเนื่อง ราคาขายส่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.55 บาท สูงขึ้นร้อยละ 31.7 เนื่องจากผลผลิตมีน้อยตามพื้นที่เพาะปลูกที่ลดลง จากต้นทุนในการเพาะปลูกข้าวโพดที่ค่อนข้างสูง เกษตรกรจึงหันไปปลูกมันสำปะหลังและอ้อยโรงงานแทน สำหรับราคาขายส่งข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) ยังลดลงต่อเนื่อง ราคาเฉลี่ยเกวียนละ 9,383 บาท ลดลงร้อยละ 3.7
สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนธันวาคม 2550 และไตรมาสที่ 4 ปี 2550
2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน เนื่องจากอุตสาหกรรมบางประเภทยังมีการผลิตที่ขยายตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรม ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ในส่วนอุตสาหกรรมที่ลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตน้ำอัดลม แป้งมัน และอาหารสัตว์
3. ภาคบริการ สถานการณ์การท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือดีขึ้นจากไตรมาสก่อน เนื่องจากอากาศที่หนาวเย็น เป็นปัจจัยที่ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น โดยนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในภาค ส่วนใหญ่เป็นคนไทย ส่วนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศยังคงเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางแบบท่องเที่ยวเอง (Backpackers) กิจกรรม สำคัญที่ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น เช่น การจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 24 การจัดแข่งขันสนุกเกอร์ชิงแชมป์โลก 2007 การจัดงานเทศกาลบอลลูนนานาชาติ 2007 การจัดงานเทศกาลออกพรรษา บั้งไฟพญานาค ประจำปี 2550 ที่จังหวัดหนองคายและ อุบลราชธานี การจัดงานประเพณีลอยกระทงในจังหวัดต่าง ๆ จากข้อมูลเบื้องต้นจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง ในไตรมาสนี้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวน 12,597 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สำหรับอัตราการเข้าพักของโรงแรมไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 48.9 เท่ากับระยะเดียวกันปีก่อน
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังคงชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมถึง ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ทำให้กำลังซื้อของประชาชนลดลง เห็นได้จากยอดการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ 80,469 คัน รถยนต์นั่งและรถบรรทุกส่วนบุคคลจำนวน 19,224 คัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.4 และร้อยละ 3.0 ตามลำดับ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 อย่างไรก็ตาม การจับจ่ายใช้สอยสินค้าอุปโภคบริโภคของประชาชนเพิ่มขึ้น โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 2,055 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 ส่วน หนึ่งเป็นผลจากยอดจำหน่ายของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ธุรกิจค้าส่งค้าปลีก และธุรกิจเช่าซื้อเพิ่มขึ้น
5. การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชนยังคงชะลอตัว เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และการเมืองยังไม่ ชัดเจน นักลงทุนจึงยังไม่ตัดสินใจลงทุน เห็นได้จากเงินทุนจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่ทั้งบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนจำกัดจำนวน 1,126.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 อย่างไรก็ตาม พื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างในเขต เทศบาลนครและเมือง 693,761.8 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.1 ซึ่งเป็นพื้นที่ก่อสร้างห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีพื้นที่ถึง 263,446.0 ตารางเมตร รวมถึงแนวโน้มการลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมในภาคโดยเฉพาะในด้านพลังงานและเอทานอลยัง มีทิศทางที่ดี โดยเงินลงทุนของโครงการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุน 25,886.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่า เนื่องจากมีโครงการลงทุน ขนาดใหญ่หลายโครงการ ได้แก่ โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลมที่จังหวัดมุกดาหาร เงินลงทุน 10,133.0 ล้านบาท และที่จังหวัดสกลนคร เงินลงทุน 4,424.0 ล้านบาท โครงการผลิตเอทานอลที่จังหวัดนครราชสีมา เงินลงทุน 5,384.0 ล้านบาท และที่จังหวัดอุบลราชธานี เงินลงทุน 4,230.0 ล้านบาท
6. ภาคการคลัง รายได้ของภาคระฐบาล จากการจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเป็นการเพิ่มขึ้นของภาษี ทุกประเภท ซึ่งสามารถจัดเก็บภาษีรวม 8,408.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.9 เป็นภาษีสรรพากรรวม 4,344.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 กว่าครึ่งหนึ่งเป็นการจัดเก็บจากภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากยอดผลิตและจำหน่ายของธุรกิจบางประเภท เพิ่มขึ้น ได้แก่ โรงงานผลิตเบียร์ โรงงานแป้งมัน ธุรกิจขายส่งขายปลีก ธุรกิจเช่าซื้อ และห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้น ภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ 3,991.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.2 เกือบทั้งหมดเป็นการเพิ่มขึ้นจากภาษีสุรา เนื่องจากโรงงานผลิตเบียร์ผลิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ในช่วงไตรมาสนี้ ทางด้านการจัดเก็บอากรขาเข้ารวม 74.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว ส่วนใหญ่จัดเก็บจากการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป สินแร่ทองแดง และส่วนประกอบรถยนต์ สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนธันวาคม 2550 และไตรมาสที่ 4 ปี 2550
7. การค้าต่างประเทศ ทางด้านการค้าชายแดนไทย - ลาว ยังขยายตัวดีโดยมีมูลค่าการค้า 17,416.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 40.2 แยกเป็นการส่งออก 12,423.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4 โดยเฉพาะสินค้าในหมวดวัตถุดิบและ กึ่งวัตถุดิบ สินค้าหมวดทุน เนื่องจากขณะนี้ทาง สปป. ลาว อยู่ระหว่างการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน เขื่อน โรงแรม และที่พักอาศัย หลายแห่ง สินค้าส่งออกสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียม ยานพาหนะและอุปกรณ์ สินค้าอุปโภคบริโภค วัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์เหล็ก ผ้าผืน และเครื่องจักรอุปกรณ์ส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักรสำหรับผลิตน้ำตาล สำหรับการค้าชายแดนไทย - กัมพูชา ขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน โดยมูลค่าการค้า 10,618.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.0 เป็นการส่งออก 9,791.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 สินค้าส่งออกสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานพาหนะ อาหารสัตว์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องจักรกลเกษตร ในส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 827.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.5 สินค้านำเข้าสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง เสื้อผ้าเก่า ไม้แปรรูป
8. ระดับราคา อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.1 เป็นผลจากราคาสินค้าหมวดอาหารและ เครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 2.6 โดยราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นมาก ได้แก่ ข้าว ผลิตภัณฑ์นมและเครื่องปรุงรส ในส่วนราคาสินค้า หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 3.4 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง หนังสือ และไวน์ สำหรับดัชนีราคา ผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2
9. ภาคการจ้างงาน ภาวะการจ้างงานในภาค พบว่า มีตำแหน่งงานว่าง 11,507 อัตรา ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.7 แต่มีผู้สมัครงาน 15,513 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6 และมีผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงาน 5,252 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 ส่วนใหญ่ เป็นงานในโรงงานผลิตอาหารและเครื่องดื่ม และงานในธุรกิจขายส่ง - ขายปลีก สำหรับคนไทยที่เดินทางไปทำงานยังต่างประเทศ 26,250 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.7
10. ภาคการเงิน เงินฝากคงค้างในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เป็นการลดลงทุกประเภทเงินฝาก เนื่องจากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในไตรมาสก่อน อีกทั้งมีการครบกำหนดระยะเวลาเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์ ทำให้ลูกค้าบางส่วนถอนเงินไปลงทุนประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทน ที่สูงกว่า ทางด้านสินเชื่อกลับขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและ ขนาดใหญ่ ทั้งสินเชื่อเงินให้กู้ยืมและตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยสินเชื่อที่ขยายตัว ได้แก่ สินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อเพื่อการผลิต ส่วนสินเชื่อที่มีแนวโน้มชะลอตัว ได้แก่ สินเชื่อด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม และหอพัก ในจังหวัดใหญ่ และสินเชื่อเพื่อการก่อสร้างเป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม : นางสิรีธร จารุธัญลักษณ์ โทร. 0-4333-3000 ต่อ 3432 e-mail: SireethJ@bot.or.th