เดือนธันวาคม 2549 ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังชะลอตัวจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามการลดลงของ การใช้จ่ายภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และรายได้เกษตรกรที่ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนที่แล้ว แต่ยังเพิ่มอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีก่อน การจัดเก็บภาษีอากรยังเพิ่มขึ้น เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังขยายตัวต่อเนื่อง มูลค่าการค้าชายแดน ขยายตัวทั้งด้านไทย - กัมพูชา และไทย - ลาว โดยการส่งออกยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี แต่มูลค่าการนำเข้าจากกัมพูชาและลาวกลับลดลง อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 4.6
สำหรับไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือชะลอตัวจากระยะเดียวกันของปีก่อนตามการใช้จ่าย ภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และรายได้เกษตรกรที่ชะลอตัวจากไตรมาสก่อน แต่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน การจัดเก็บภาษีอากรยังเพิ่มขึ้น เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังขยายตัวต่อเนื่อง มูลค่าการค้าชายแดนขยายตัว ทั้งด้านไทย - กัมพูชา และไทย - ลาว อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 4.5
1. ภาคการเกษตร ผลผลิตข้าวออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่ราคาข้าวเปลือกเหนียวยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ชะลอตัวจากเดือนก่อน ส่วนราคาข้าวเปลือกเจ้าสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย โดยในเดือนนี้ราคาขายส่ง ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) เฉลี่ยเกวียนละ 9,257 บาท สูงขึ้นถึงร้อยละ 58.3 ราคาขายส่งข้าวเปลือกเจ้า 5% เฉลี่ยเกวียนละ7,983 บาท สูงขึ้นร้อยละ 7.6 ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นมาก แม้ว่าความต้องการของโรงงานแป้งและการส่งออก จะเพิ่มขึ้นแต่ราคาหัวมันสำปะหลังยังคงลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยราคาหัวมันสำปะหลังเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.16 บาท ลดลงร้อยละ 18.9 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง ขณะที่ความต้องการของโรงงานอาหารสัตว์ยังเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยราคาขายส่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.21 บาท สูงขึ้นจาก เดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 28.3
ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 การผลิตในปีการเพาะปลูก 2549/50 ผลผลิตมันสำปะหลังและอ้อยเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลผลิตข้าว และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลง สำหรับราคาข้าวเปลือกและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องตามความต้องการของตลาด ขณะที่ราคาหัวมันสำปะหลังยังคงปรับตัวลดลงเนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
2. ภาคอุตสาหกรรม ปรับตัวดีขึ้น โดยอุตสาหกรรมน้ำตาลขยายตัวเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากมีการเปิดหีบอ้อยในเดือนนี้ และมีวัตถุดิบป้อนโรงงานอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลังขยายตัวตามความต้องการของตลาดประเทศจีน และ อุตสาหกรรมเครื่องดื่มขยายตัวตามความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในอินโดจีน
ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลัง ขยายตัว ตามความต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศโดยเฉพาะความต้องการจากประเทศจีน อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ขยายตัวตามความต้องการของตลาดในประเทศและตลาดกลุ่มประเทศอินโดจีน อุตสาหกรรมน้ำตาลขยายตัวสูงเนื่องจากมีวัตถุดิบ ป้อนโรงงานอย่างต่อเนื่อง และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกาและ สหภาพยุโรปเป็นหลัก
3. การใช้จ่ายภาคเอกชน หดตัวลง โดยยอดการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลใหม่ในเดือนนี้มีจำนวน 1,492 คัน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลมีจำนวน 3,573 คัน และรถจักรยานยนต์จำนวน 31,003 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.4 ร้อยละ 1.5 และร้อยละ 18.3 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจชะลอตัวส่งผลให้ประชาชนระมัดระวังในการจับจ่ายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 667.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.5 ส่วนใหญ่เป็นผลจากการจัดเก็บ ภาษีในอุตสาหกรรมหมวดการผลิตเพิ่มขึ้น สำหรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าในที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.5
ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 การใช้จ่ายภาคเอกชนชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน โดยการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และการจดทะเบียนรถบรรทุกส่วนบุคคล การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและการใช้ไฟฟ้าในที่อยู่อาศัยชะลอตัว ขณะที่การจดทะเบียน รถจักรยานยนต์ยังคงลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
4. การลงทุนภาคเอกชน ชะลอตัวลง โดยการจดทะเบียนบริษัทจำกัดตั้งใหม่เดือนนี้มีทุนจดทะเบียน 92.3 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 54.0 ธุรกิจสำคัญที่มีทุนจดทะเบียนลดลง ได้แก่ ธุรกิจด้านการผลิต ธุรกิจค้าส่ง - ค้าปลีก ขณะที่การจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดตั้งใหม่ ทุนจดทะเบียน 194.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 สำหรับบรรยากาศในการลงทุนยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมีจำนวน 18 โครงการ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนกว่าเท่าตัว ใช้เงินลงทุนถึง 3,919.0 ล้านบาท โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่มีมูลค่าการลงทุนสูง ได้แก่ อุตสาหกรรมทางการเกษตร ใช้เงินลงทุนถึง 2,059 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา
ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 หดตัวลง พิจารณาจากทุนการจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่ทั้งทุนจดทะเบียนบริษัทจำกัดและ ทุนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดลดลง โดยเฉพาะธุรกิจค้าส่ง - ค้าปลีก สอดคล้องกับบรรยากาศการลงทุนโดยพิจารณาจาก โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมีเงินทุนลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
5. การค้าชายแดน มูลค่าการค้าชายแดนไทย - ลาว มีมูลค่าการค้า 2,597.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน จำแนกเป็นมูลค่าการส่งออก 2,145.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 โดยสินค้าส่งออกสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานพาหนะและอุปกรณ์ วัสดุก่อสร้าง ส่วนมูลค่าการนำเข้า 452.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.0 ตามการนำเข้าไม้ และผลิตภัณฑ์จากไม้เป็นสำคัญ สำหรับ การค้าชายแดนไทย - กัมพูชา มีมูลค่าการค้า 3,141.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 จำแนกเป็นการส่งออก 3,011.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ12.1 ตามการส่งออกวัสดุก่อสร้าง สิ่งทอ และเครื่องดื่มเป็นสำคัญ ส่วนมูลค่าการนำเข้า 130.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 48.3 ตามการลดลงของสินค้าหมวดเบ็ดเตล็ด และพืชไร่
ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ภาวะการค้าชายแดนไทย - ลาว และไทย - กัมพูชายังขยายตัวต่อเนื่อง โดยเป็นการขยายตัว ทั้งด้านการส่งออกและการนำเข้า สินค้าส่งออกไปกัมพูชาและลาวที่สำคัญ ได้แก่ ยานพาหนะและอุปกรณ์ วัสดุก่อสร้าง สำหรับสินค้า นำเข้าจากกัมพูชาที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าเบ็ดเตล็ดและพืชไร่ ขณะที่สินค้านำเข้าจากลาวที่สำคัญ ได้แก่ สินแร่ โดยเฉพาะแร่ทองแดง
6. ภาคการเงิน ข้อมูลเบื้องต้น ณ สิ้นธันวาคม 2549 ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ มีเงินฝากคงค้าง 334,120 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 และสินเชื่อคงค้าง 309,087 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน อัตราส่วนสินเชื่อต่อ เงินฝากเป็นร้อยละ 92.5 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 87.3
7. ภาคการคลังรัฐบาล การจัดเก็บรายได้จากภาษีอากรเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยภาษีอากรรวม จัดเก็บได้ 2,857.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 จำแนกเป็นภาษีสรรพากร 1,377.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม 667.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 ส่วนใหญ่จัดเก็บภาษีได้จากอุตสาหกรรมด้านการผลิต ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และห้างสรรพสินค้าภาษีสรรพสามิต 1,475.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.4 ส่วนใหญ่เป็นภาษีเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์และยาสูบ อากรขาเข้า 4.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 42.2 ตามการนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้เป็นสำคัญ
ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 การจัดเก็บรายได้จากภาษีอากรเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการจัดเก็บภาษี เพิ่มขึ้นในทุกประเภท โดยภาษีสรรพากรเพิ่มขึ้นตามภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้นจากภาษีเบียร์ และอากรขาเข้าเพิ่มขึ้นจาก การนำเข้าสินแร่ทองแดง เป็นสำคัญ
8. ภาคการจ้างงาน จากรายงานของศูนย์ข่าวสารตลาดแรงงานจังหวัดขอนแก่น มีผู้สมัครงาน 3,968 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่มีตำแหน่งงานว่าง 4,091 อัตรา ลดลงร้อยละ 9.2 อย่างไรก็ตาม ในเดือนนี้มีผู้ได้รับการบรรจุ เข้าทำงาน 1,435 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน และอัตราส่วนผู้ได้รับการบรรจุเข้าทำงานต่อผู้สมัครงานคิดเป็น ร้อยละ 36.2 และผู้ได้รับการบรรจุงานต่อตำแหน่งงานว่างคิดเป็นร้อยละ 35.1 คนไทยในภาคฯ ที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศมี จำนวน 7,402 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่ไปทำงานในไต้หวันมากที่สุด รองลงมาคือ อิสราเอล สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และคูเวต
ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีผู้สมัครงานและตำแหน่งงานว่างลดลง ขณะที่ผู้ได้รับการบรรจุงานเพิ่มขึ้นจากไตรมาส เดียวกันของปีก่อน อัตราส่วนผู้ได้รับการบรรจุงานต่อผู้สมัครงานคิดเป็นร้อยละ 37.2 และผู้ได้รับการบรรจุงานต่อตำแหน่งงานว่าง คิดเป็นร้อยละ 36.1 สำหรับคนไทยในภาคฯ ที่ไปทำงานต่างประเทศยังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่ไปทำงานใน ไต้หวัน มากที่สุด รองลงมาคือ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และบรูไน
9. ระดับราคา อัตราเงินเฟ้อในภาคฯ เดือนนี้สูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.6 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า หมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 9.2 ตามการสูงขึ้นของราคาสินค้าหมวดผักสดและผลไม้ที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 31.3 และหมวด ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ที่สูงขึ้นร้อยละ 22.3 สำหรับราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นเพียงร้อยละ 1.8 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปโดยหักราคาสินค้าในหมวดอาหารสดและพลังงาน) ในภาคฯเดือนนี้สูงขึ้น จากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.5 ชะลอตัวจากเดือนก่อนที่สูงขึ้นร้อยละ 2.0
ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 อัตราเงินเฟ้อในภาคฯ สูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.5 เป็นผลจากราคาสินค้า ในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 9.1 ตามการสูงขึ้นของราคาสินค้าหมวดผักและผลไม้ที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 29.3 ส่วนหนึ่ง เป็นผลจากภาวะน้ำท่วม สำหรับราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 1.6 เป็นผลจากการสูงขึ้นของสินค้า หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ และราคาสินค้าหมวดการบันเทิง การอ่าน และการศึกษา ที่สูงขึ้นร้อยละ 4.2 และร้อยละ 4.0 ตามลำดับ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปโดยหักราคาสินค้าในหมวดอาหารสดและพลังงาน) ไตรมาสนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
สำหรับไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือชะลอตัวจากระยะเดียวกันของปีก่อนตามการใช้จ่าย ภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และรายได้เกษตรกรที่ชะลอตัวจากไตรมาสก่อน แต่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน การจัดเก็บภาษีอากรยังเพิ่มขึ้น เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังขยายตัวต่อเนื่อง มูลค่าการค้าชายแดนขยายตัว ทั้งด้านไทย - กัมพูชา และไทย - ลาว อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 4.5
1. ภาคการเกษตร ผลผลิตข้าวออกสู่ตลาดมากขึ้น ขณะที่ราคาข้าวเปลือกเหนียวยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ชะลอตัวจากเดือนก่อน ส่วนราคาข้าวเปลือกเจ้าสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย โดยในเดือนนี้ราคาขายส่ง ข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) เฉลี่ยเกวียนละ 9,257 บาท สูงขึ้นถึงร้อยละ 58.3 ราคาขายส่งข้าวเปลือกเจ้า 5% เฉลี่ยเกวียนละ7,983 บาท สูงขึ้นร้อยละ 7.6 ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นมาก แม้ว่าความต้องการของโรงงานแป้งและการส่งออก จะเพิ่มขึ้นแต่ราคาหัวมันสำปะหลังยังคงลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยราคาหัวมันสำปะหลังเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.16 บาท ลดลงร้อยละ 18.9 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง ขณะที่ความต้องการของโรงงานอาหารสัตว์ยังเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยราคาขายส่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.21 บาท สูงขึ้นจาก เดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 28.3
ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 การผลิตในปีการเพาะปลูก 2549/50 ผลผลิตมันสำปะหลังและอ้อยเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลผลิตข้าว และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลง สำหรับราคาข้าวเปลือกและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องตามความต้องการของตลาด ขณะที่ราคาหัวมันสำปะหลังยังคงปรับตัวลดลงเนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
2. ภาคอุตสาหกรรม ปรับตัวดีขึ้น โดยอุตสาหกรรมน้ำตาลขยายตัวเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากมีการเปิดหีบอ้อยในเดือนนี้ และมีวัตถุดิบป้อนโรงงานอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลังขยายตัวตามความต้องการของตลาดประเทศจีน และ อุตสาหกรรมเครื่องดื่มขยายตัวตามความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในอินโดจีน
ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลัง ขยายตัว ตามความต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศโดยเฉพาะความต้องการจากประเทศจีน อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ขยายตัวตามความต้องการของตลาดในประเทศและตลาดกลุ่มประเทศอินโดจีน อุตสาหกรรมน้ำตาลขยายตัวสูงเนื่องจากมีวัตถุดิบ ป้อนโรงงานอย่างต่อเนื่อง และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกาและ สหภาพยุโรปเป็นหลัก
3. การใช้จ่ายภาคเอกชน หดตัวลง โดยยอดการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลใหม่ในเดือนนี้มีจำนวน 1,492 คัน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลมีจำนวน 3,573 คัน และรถจักรยานยนต์จำนวน 31,003 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.4 ร้อยละ 1.5 และร้อยละ 18.3 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจชะลอตัวส่งผลให้ประชาชนระมัดระวังในการจับจ่ายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 667.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.5 ส่วนใหญ่เป็นผลจากการจัดเก็บ ภาษีในอุตสาหกรรมหมวดการผลิตเพิ่มขึ้น สำหรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าในที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.5
ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 การใช้จ่ายภาคเอกชนชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน โดยการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และการจดทะเบียนรถบรรทุกส่วนบุคคล การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและการใช้ไฟฟ้าในที่อยู่อาศัยชะลอตัว ขณะที่การจดทะเบียน รถจักรยานยนต์ยังคงลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
4. การลงทุนภาคเอกชน ชะลอตัวลง โดยการจดทะเบียนบริษัทจำกัดตั้งใหม่เดือนนี้มีทุนจดทะเบียน 92.3 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 54.0 ธุรกิจสำคัญที่มีทุนจดทะเบียนลดลง ได้แก่ ธุรกิจด้านการผลิต ธุรกิจค้าส่ง - ค้าปลีก ขณะที่การจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดตั้งใหม่ ทุนจดทะเบียน 194.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 สำหรับบรรยากาศในการลงทุนยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมีจำนวน 18 โครงการ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนกว่าเท่าตัว ใช้เงินลงทุนถึง 3,919.0 ล้านบาท โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่มีมูลค่าการลงทุนสูง ได้แก่ อุตสาหกรรมทางการเกษตร ใช้เงินลงทุนถึง 2,059 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา
ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 หดตัวลง พิจารณาจากทุนการจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่ทั้งทุนจดทะเบียนบริษัทจำกัดและ ทุนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดลดลง โดยเฉพาะธุรกิจค้าส่ง - ค้าปลีก สอดคล้องกับบรรยากาศการลงทุนโดยพิจารณาจาก โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมีเงินทุนลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
5. การค้าชายแดน มูลค่าการค้าชายแดนไทย - ลาว มีมูลค่าการค้า 2,597.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน จำแนกเป็นมูลค่าการส่งออก 2,145.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 โดยสินค้าส่งออกสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานพาหนะและอุปกรณ์ วัสดุก่อสร้าง ส่วนมูลค่าการนำเข้า 452.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.0 ตามการนำเข้าไม้ และผลิตภัณฑ์จากไม้เป็นสำคัญ สำหรับ การค้าชายแดนไทย - กัมพูชา มีมูลค่าการค้า 3,141.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 จำแนกเป็นการส่งออก 3,011.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ12.1 ตามการส่งออกวัสดุก่อสร้าง สิ่งทอ และเครื่องดื่มเป็นสำคัญ ส่วนมูลค่าการนำเข้า 130.4 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 48.3 ตามการลดลงของสินค้าหมวดเบ็ดเตล็ด และพืชไร่
ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ภาวะการค้าชายแดนไทย - ลาว และไทย - กัมพูชายังขยายตัวต่อเนื่อง โดยเป็นการขยายตัว ทั้งด้านการส่งออกและการนำเข้า สินค้าส่งออกไปกัมพูชาและลาวที่สำคัญ ได้แก่ ยานพาหนะและอุปกรณ์ วัสดุก่อสร้าง สำหรับสินค้า นำเข้าจากกัมพูชาที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าเบ็ดเตล็ดและพืชไร่ ขณะที่สินค้านำเข้าจากลาวที่สำคัญ ได้แก่ สินแร่ โดยเฉพาะแร่ทองแดง
6. ภาคการเงิน ข้อมูลเบื้องต้น ณ สิ้นธันวาคม 2549 ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ มีเงินฝากคงค้าง 334,120 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 และสินเชื่อคงค้าง 309,087 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน อัตราส่วนสินเชื่อต่อ เงินฝากเป็นร้อยละ 92.5 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 87.3
7. ภาคการคลังรัฐบาล การจัดเก็บรายได้จากภาษีอากรเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยภาษีอากรรวม จัดเก็บได้ 2,857.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 จำแนกเป็นภาษีสรรพากร 1,377.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม 667.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5 ส่วนใหญ่จัดเก็บภาษีได้จากอุตสาหกรรมด้านการผลิต ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และห้างสรรพสินค้าภาษีสรรพสามิต 1,475.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.4 ส่วนใหญ่เป็นภาษีเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์และยาสูบ อากรขาเข้า 4.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 42.2 ตามการนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้เป็นสำคัญ
ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 การจัดเก็บรายได้จากภาษีอากรเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการจัดเก็บภาษี เพิ่มขึ้นในทุกประเภท โดยภาษีสรรพากรเพิ่มขึ้นตามภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้นจากภาษีเบียร์ และอากรขาเข้าเพิ่มขึ้นจาก การนำเข้าสินแร่ทองแดง เป็นสำคัญ
8. ภาคการจ้างงาน จากรายงานของศูนย์ข่าวสารตลาดแรงงานจังหวัดขอนแก่น มีผู้สมัครงาน 3,968 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่มีตำแหน่งงานว่าง 4,091 อัตรา ลดลงร้อยละ 9.2 อย่างไรก็ตาม ในเดือนนี้มีผู้ได้รับการบรรจุ เข้าทำงาน 1,435 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน และอัตราส่วนผู้ได้รับการบรรจุเข้าทำงานต่อผู้สมัครงานคิดเป็น ร้อยละ 36.2 และผู้ได้รับการบรรจุงานต่อตำแหน่งงานว่างคิดเป็นร้อยละ 35.1 คนไทยในภาคฯ ที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศมี จำนวน 7,402 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่ไปทำงานในไต้หวันมากที่สุด รองลงมาคือ อิสราเอล สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และคูเวต
ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีผู้สมัครงานและตำแหน่งงานว่างลดลง ขณะที่ผู้ได้รับการบรรจุงานเพิ่มขึ้นจากไตรมาส เดียวกันของปีก่อน อัตราส่วนผู้ได้รับการบรรจุงานต่อผู้สมัครงานคิดเป็นร้อยละ 37.2 และผู้ได้รับการบรรจุงานต่อตำแหน่งงานว่าง คิดเป็นร้อยละ 36.1 สำหรับคนไทยในภาคฯ ที่ไปทำงานต่างประเทศยังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่ไปทำงานใน ไต้หวัน มากที่สุด รองลงมาคือ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และบรูไน
9. ระดับราคา อัตราเงินเฟ้อในภาคฯ เดือนนี้สูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.6 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า หมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 9.2 ตามการสูงขึ้นของราคาสินค้าหมวดผักสดและผลไม้ที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 31.3 และหมวด ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ที่สูงขึ้นร้อยละ 22.3 สำหรับราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นเพียงร้อยละ 1.8 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปโดยหักราคาสินค้าในหมวดอาหารสดและพลังงาน) ในภาคฯเดือนนี้สูงขึ้น จากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.5 ชะลอตัวจากเดือนก่อนที่สูงขึ้นร้อยละ 2.0
ไตรมาสที่ 4 ปี 2549 อัตราเงินเฟ้อในภาคฯ สูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.5 เป็นผลจากราคาสินค้า ในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 9.1 ตามการสูงขึ้นของราคาสินค้าหมวดผักและผลไม้ที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 29.3 ส่วนหนึ่ง เป็นผลจากภาวะน้ำท่วม สำหรับราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 1.6 เป็นผลจากการสูงขึ้นของสินค้า หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ และราคาสินค้าหมวดการบันเทิง การอ่าน และการศึกษา ที่สูงขึ้นร้อยละ 4.2 และร้อยละ 4.0 ตามลำดับ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปโดยหักราคาสินค้าในหมวดอาหารสดและพลังงาน) ไตรมาสนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--