ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 เศรษฐกิจภาคใต้โดยรวมปรับตัวดีขึ้นทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน ทางด้านอุปทาน ภาคเกษตรและการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน ขณะที่การทำประมงและอุตสาหกรรมหดตัว ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น ขณะเดียวกันการเบิกจ่ายเงินงบประมาณขยายตัว ส่วนการส่งออกมีสัญญาน ดีขึ้นในช่วงปลายปี มีเพียงการลงทุนที่ยังคงหดตัว สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวขึ้นตามราคาน้ำมัน
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจและการเงิน มีดังนี้
1. ภาคเกษตรกรรม ผลผลิตพืชผลหลักเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.0 ตามการเพิ่มขึ้นของ ผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมัน ขณะเดียวกันราคาพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.8 เนื่องจากราคายางพาราและปาล์มน้ำมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.2 และ 74.4 ส่งผลให้รายได้เกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.3
ด้านการทำประมงหดตัวต่อเนื่องจากต้นทุนน้ำมันที่สูงขึ้น ขณะที่ราคาสัตว์น้ำไม่สามารถปรับสูงขึ้นได้ ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการประมงหลายรายหยุดทำการประมง ส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือ ในภาคใต้ไตรมาสนี้มีจำนวน 76,733.7 เมตริกตัน มูลค่า 2,950.8 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 และ 5.3 ตามลำดับ ด้านการเพาะเลี้ยงกุ้ง ผลผลิตลดลงเนื่องจากเกษตรกรประสบผลขาดทุนจากวิกฤตราคากุ้งตกต่ำทำให้ชะลอ การเลี้ยง ส่วนราคากุ้งอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนทุกขนาด
2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้ลดลง แต่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน ปริมาณการส่งออกยางพารา อาหารบรรจุกระป๋อง สัตว์น้ำแช่แข็ง ถุงมือยาง และไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ ลดลงร้อยละ 19.2 16.1 16.0 14.3 และ 4.3 ตามลำดับ เนื่องจากตลาดหลักชะลอการซื้อ ปัญหาการแข่งขันสูง ตลอดจน การขาดแคลนวัตถุดิบ อาทิ ปลาทูน่า และส่วนหนึ่งเนื่องจากการนำระบบ e-Customs มาใช้ ส่วนผลผลิตน้ำมันปาล์มลดลง ร้อยละ 1.0 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 4.2 ในไตรมาสก่อน
3. การท่องเที่ยว ภาวะการท่องเที่ยวของภาคใต้ขยายตัว มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านตรวจ คนเข้าเมืองในภาคใต้ประมาณ 894,303 คน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.8 เนื่องจากภาครัฐและเอกชน ร่วมมือกันทำตลาดและจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในจังหวัด ภูเก็ตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.3 สำหรับทางภาคใต้ตอนล่าง สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่อำเภอ หาดใหญ่เริ่มคลี่คลาย นักท่องเที่ยวเริ่มมั่นใจในความปลอดภัย ขณะเดียวกันภาครัฐและเอกชนมีการส่งเสริมและกระตุ้น ตลาดการท่องเที่ยวต่อเนื่อง ทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางมาในจังหวัดสงขลาเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 2.1 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ลดลงร้อยละ 29.1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 ผู้ประกอบการสามารถส่งผ่านข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าและใบขนสินค้าขาออก ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ แบบไร้เอกสาร โดยไม่ต้องจัดส่งเอกสารในรูปแบบกระดาษ ณ ท่าเรือ หรือสนามบินทั่วประเทศที่ทำการส่งออก โดยผู้ประกอบการสามารถกำหนด เลือกข้อมูลส่งออกไปปรากฎที่ท่าเรือส่งออกปลายทาง เช่น ท่าเรือแหลมฉบังหรือท่าเรือกรุงเทพฯ ได้
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยไตรมาส นี้ดัชนีอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.3 และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.6 ทั้งนี้ เครื่องชี้ที่สำคัญ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 เนื่องจากราคายางและปาล์มน้ำมันอยู่ในระดับสูง ประกอบกับภาวะการท่องเที่ยวทางฝั่งอันดามันขยายตัวดี และสถานการณ์ท่องเที่ยวในอำเภอหาดใหญ่เริ่มดีขึ้น ส่งผลให้ ผู้บริโภคมีความมั่นใจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูงและสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ยังคงเป็นปัจจัยลบสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
5. การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัว โดยพื้นที่ก่อสร้างลดลงจากไตรมาสเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 10.7 แต่ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 16.5 ในไตรมาสก่อน ทั้งนี้พื้นที่ก่อสร้างลดลงเกือบทุกประเภท เว้นแต่พื้นที่ก่อสร้างเพื่อกรณีอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 267.7 เนื่องจากมีการก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์และที่จอดรถ ในจังหวัดสุราษฏร์ธานี และภูเก็ต เป็นสำคัญ ด้านโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนไตรมาสนี้มี 14 โครงการ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน 5 โครงการ เงินลงทุนรวม 4,407.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.3 ส่วนการจดทะเบียนธุรกิจ นิติบุคคล ทั้งจำนวนรายและทุนจดทะเบียนลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.8 และ 19.5 ตามลำดับ
6. การจ้างงาน ณ สิ้นไตรมาสนี้มีจำนวนแรงงานในภาคใต้ที่เข้าโครงการประกันสังคม ตามมาตรา 33 จำนวน 585,476 คน เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.4 โดยเพิ่มขึ้นเกือบทุกจังหวัด ยกเว้นจังหวัดระนอง ยะลา สงขลา และปัตตานี ด้านความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคใต้มีจำนวน 8,988 อัตรา ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.1 ขณะที่มีผู้สมัครงาน 9,860 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 และมีการบรรจุงาน 5,351 คน ลดลงร้อยละ 11.6 โดยจังหวัดสุราษฎร์ธานีบรรจุงานมากที่สุด รองลงมาคือ จังหวัดนครศรีธรรมราช
7. ระดับราคา อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของภาคใต้อยู่ที่ร้อยละ 3.0 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อน เป็น ผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 2.5 ตามการเพิ่มขึ้นของสินค้าหมวดเป็ดไก่ (8.1%) หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม (7.7%) และหมวดผักและผลไม้ (3.9%) ส่วนหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.4 จากการสูงขึ้นของหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง (11.3%) และหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร (7.4%) ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของภาคใต้ ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 เร่งตัวจากร้อยละ 1.2 ในไตรมาสก่อน
8. การค้าต่างประเทศ การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีมูลค่า 2,631.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจาก ไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.3 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการนำระบบ e-Customs มาใช้ โดยสินค้าส่งออกที่มีมูลค่า ลดลง ได้แก่ ถุงมือยาง สัตว์น้ำแช่แข็ง ยางพารา และไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ ลดลงร้อยละ 11.9 10.3 1.6 และ 1.3 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี การส่งออกดีบุก และอาหารกระป๋องเพิ่มขึ้นร้อยละ 135.8 และ 3.4 ด้านการนำเข้ามีมูลค่ารวม 1,449.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 ตามการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง อุปกรณ์ก่อสร้าง และสัตว์น้ำ แช่แข็ง ขณะที่นำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ลดลงร้อยละ 4.8
9. ภาคการคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการในภาคใต้มีจำนวน 27,544.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 42.9 โดยมีการเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นทุกคลังจังหวัด ส่วนรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากร มีจำนวน 7,196.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 ตามการจัดเก็บภาษีสรรพากร และภาษีภาษีศุลกากร เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 และ 7.3 ขณะที่จัดเก็บภาษีสรรพสามิตลดลงร้อยละ 0.1
10. ภาคการเงิน ณ สิ้นเดือนธันวาคม เงินฝากคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์มีจำนวนประมาณ 392,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.0 เป็นอัตราที่ชะลอตัวลงต่อเนื่อง ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเนื่องจากผู้ฝากเงิน มีทางเลือกลงทุนโดยการซื้อหน่วยลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ได้เปลี่ยนไประดมทุนด้วยการออกตราสารหนี้ประเภทตั๋วแลกเงินแทนการระดมเงินฝาก เพราะมีต้นทุนโดยรวมต่ำกว่าด้วย ทางด้านสินเชื่อคงค้างมีจำนวนประมาณ 334,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เป็นการเพิ่มในอัตราใกล้เคียงกับไตรมาส ก่อน โดยการขยายสินเชื่อส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจหลัก คือจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภูเก็ต และสงขลา ขณะที่ปัจจัยลบ ด้านความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีผลต่อการดำเนินงานของสถาบันการเงินในพื้นที่ 3 จังหวัด
ข้อมูลเพิ่มเติม : ภูวดล เหล่าแก้ว โทร. 0 7436 7646 e-mail : phoowadl@bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจและการเงิน มีดังนี้
1. ภาคเกษตรกรรม ผลผลิตพืชผลหลักเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.0 ตามการเพิ่มขึ้นของ ผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมัน ขณะเดียวกันราคาพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.8 เนื่องจากราคายางพาราและปาล์มน้ำมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.2 และ 74.4 ส่งผลให้รายได้เกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.3
ด้านการทำประมงหดตัวต่อเนื่องจากต้นทุนน้ำมันที่สูงขึ้น ขณะที่ราคาสัตว์น้ำไม่สามารถปรับสูงขึ้นได้ ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการประมงหลายรายหยุดทำการประมง ส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือ ในภาคใต้ไตรมาสนี้มีจำนวน 76,733.7 เมตริกตัน มูลค่า 2,950.8 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 และ 5.3 ตามลำดับ ด้านการเพาะเลี้ยงกุ้ง ผลผลิตลดลงเนื่องจากเกษตรกรประสบผลขาดทุนจากวิกฤตราคากุ้งตกต่ำทำให้ชะลอ การเลี้ยง ส่วนราคากุ้งอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนทุกขนาด
2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้ลดลง แต่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน ปริมาณการส่งออกยางพารา อาหารบรรจุกระป๋อง สัตว์น้ำแช่แข็ง ถุงมือยาง และไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ ลดลงร้อยละ 19.2 16.1 16.0 14.3 และ 4.3 ตามลำดับ เนื่องจากตลาดหลักชะลอการซื้อ ปัญหาการแข่งขันสูง ตลอดจน การขาดแคลนวัตถุดิบ อาทิ ปลาทูน่า และส่วนหนึ่งเนื่องจากการนำระบบ e-Customs มาใช้ ส่วนผลผลิตน้ำมันปาล์มลดลง ร้อยละ 1.0 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 4.2 ในไตรมาสก่อน
3. การท่องเที่ยว ภาวะการท่องเที่ยวของภาคใต้ขยายตัว มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านตรวจ คนเข้าเมืองในภาคใต้ประมาณ 894,303 คน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.8 เนื่องจากภาครัฐและเอกชน ร่วมมือกันทำตลาดและจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในจังหวัด ภูเก็ตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.3 สำหรับทางภาคใต้ตอนล่าง สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่อำเภอ หาดใหญ่เริ่มคลี่คลาย นักท่องเที่ยวเริ่มมั่นใจในความปลอดภัย ขณะเดียวกันภาครัฐและเอกชนมีการส่งเสริมและกระตุ้น ตลาดการท่องเที่ยวต่อเนื่อง ทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางมาในจังหวัดสงขลาเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 2.1 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ลดลงร้อยละ 29.1 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 ผู้ประกอบการสามารถส่งผ่านข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าและใบขนสินค้าขาออก ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ แบบไร้เอกสาร โดยไม่ต้องจัดส่งเอกสารในรูปแบบกระดาษ ณ ท่าเรือ หรือสนามบินทั่วประเทศที่ทำการส่งออก โดยผู้ประกอบการสามารถกำหนด เลือกข้อมูลส่งออกไปปรากฎที่ท่าเรือส่งออกปลายทาง เช่น ท่าเรือแหลมฉบังหรือท่าเรือกรุงเทพฯ ได้
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยไตรมาส นี้ดัชนีอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.3 และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.6 ทั้งนี้ เครื่องชี้ที่สำคัญ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 เนื่องจากราคายางและปาล์มน้ำมันอยู่ในระดับสูง ประกอบกับภาวะการท่องเที่ยวทางฝั่งอันดามันขยายตัวดี และสถานการณ์ท่องเที่ยวในอำเภอหาดใหญ่เริ่มดีขึ้น ส่งผลให้ ผู้บริโภคมีความมั่นใจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูงและสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ยังคงเป็นปัจจัยลบสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
5. การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัว โดยพื้นที่ก่อสร้างลดลงจากไตรมาสเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 10.7 แต่ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 16.5 ในไตรมาสก่อน ทั้งนี้พื้นที่ก่อสร้างลดลงเกือบทุกประเภท เว้นแต่พื้นที่ก่อสร้างเพื่อกรณีอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 267.7 เนื่องจากมีการก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์และที่จอดรถ ในจังหวัดสุราษฏร์ธานี และภูเก็ต เป็นสำคัญ ด้านโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนไตรมาสนี้มี 14 โครงการ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน 5 โครงการ เงินลงทุนรวม 4,407.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.3 ส่วนการจดทะเบียนธุรกิจ นิติบุคคล ทั้งจำนวนรายและทุนจดทะเบียนลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.8 และ 19.5 ตามลำดับ
6. การจ้างงาน ณ สิ้นไตรมาสนี้มีจำนวนแรงงานในภาคใต้ที่เข้าโครงการประกันสังคม ตามมาตรา 33 จำนวน 585,476 คน เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.4 โดยเพิ่มขึ้นเกือบทุกจังหวัด ยกเว้นจังหวัดระนอง ยะลา สงขลา และปัตตานี ด้านความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคใต้มีจำนวน 8,988 อัตรา ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.1 ขณะที่มีผู้สมัครงาน 9,860 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 และมีการบรรจุงาน 5,351 คน ลดลงร้อยละ 11.6 โดยจังหวัดสุราษฎร์ธานีบรรจุงานมากที่สุด รองลงมาคือ จังหวัดนครศรีธรรมราช
7. ระดับราคา อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของภาคใต้อยู่ที่ร้อยละ 3.0 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อน เป็น ผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 2.5 ตามการเพิ่มขึ้นของสินค้าหมวดเป็ดไก่ (8.1%) หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม (7.7%) และหมวดผักและผลไม้ (3.9%) ส่วนหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.4 จากการสูงขึ้นของหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง (11.3%) และหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร (7.4%) ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของภาคใต้ ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 เร่งตัวจากร้อยละ 1.2 ในไตรมาสก่อน
8. การค้าต่างประเทศ การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีมูลค่า 2,631.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจาก ไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.3 ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการนำระบบ e-Customs มาใช้ โดยสินค้าส่งออกที่มีมูลค่า ลดลง ได้แก่ ถุงมือยาง สัตว์น้ำแช่แข็ง ยางพารา และไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ ลดลงร้อยละ 11.9 10.3 1.6 และ 1.3 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี การส่งออกดีบุก และอาหารกระป๋องเพิ่มขึ้นร้อยละ 135.8 และ 3.4 ด้านการนำเข้ามีมูลค่ารวม 1,449.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 ตามการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง อุปกรณ์ก่อสร้าง และสัตว์น้ำ แช่แข็ง ขณะที่นำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ลดลงร้อยละ 4.8
9. ภาคการคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการในภาคใต้มีจำนวน 27,544.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 42.9 โดยมีการเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นทุกคลังจังหวัด ส่วนรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากร มีจำนวน 7,196.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 ตามการจัดเก็บภาษีสรรพากร และภาษีภาษีศุลกากร เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 และ 7.3 ขณะที่จัดเก็บภาษีสรรพสามิตลดลงร้อยละ 0.1
10. ภาคการเงิน ณ สิ้นเดือนธันวาคม เงินฝากคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์มีจำนวนประมาณ 392,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.0 เป็นอัตราที่ชะลอตัวลงต่อเนื่อง ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเนื่องจากผู้ฝากเงิน มีทางเลือกลงทุนโดยการซื้อหน่วยลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ได้เปลี่ยนไประดมทุนด้วยการออกตราสารหนี้ประเภทตั๋วแลกเงินแทนการระดมเงินฝาก เพราะมีต้นทุนโดยรวมต่ำกว่าด้วย ทางด้านสินเชื่อคงค้างมีจำนวนประมาณ 334,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เป็นการเพิ่มในอัตราใกล้เคียงกับไตรมาส ก่อน โดยการขยายสินเชื่อส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจหลัก คือจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภูเก็ต และสงขลา ขณะที่ปัจจัยลบ ด้านความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีผลต่อการดำเนินงานของสถาบันการเงินในพื้นที่ 3 จังหวัด
ข้อมูลเพิ่มเติม : ภูวดล เหล่าแก้ว โทร. 0 7436 7646 e-mail : phoowadl@bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--