ในไตรมาส 4 นี้ เศรษฐกิจภาคใต้โดยรวมขยายตัว ทั้งจากเครื่องชี้ภาคการผลิตและการใช้จ่าย โดยผลผลิตพืชผล ที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา และปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้น จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย และการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว มาก ส่วนการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดีแม้จะชะลอลงจากไตรมาสก่อนก็ตาม ด้านการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และการส่งออกขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาสก่อน ส่วนการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นมาก จากความเชื่อมั่น ของนักลงทุนต่อสถานการณ์การเมือง ราคาน้ำมันที่เริ่มปรับลดลง อัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัว สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปใน ไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 3.6
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจและการเงิน มีดังนี้
1. ภาคเกษตรกรรม ผลผลิตพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ8.0 เป็นการเพิ่มขึ้นของผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมัน ร้อยละ 4.8 และ 28.3 ตามลำดับ ส่วนราคาพืชผลหลักลดลงร้อยละ 13.5 หดตัวจากไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 เนื่องจากราคายางพาราและปาล์มน้ำมันปรับลดลงค่อนข้างมาก ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลัก ลดลงร้อยละ 6.6 ขณะที่ไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 ทางด้านประมงทะเลซบเซา จากต้นทุนการทำประมงสูงขึ้น และ สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้จำนวนเรือที่ออกทำประมงน้อยลง รวมทั้งการทำประมงในน่านน้ำประเทศเพื่อนบ้าน เข้มงวด ส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือในภาคใต้ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.5 แต่มูลค่าเพิ่ม ขึ้นร้อยละ 11.7 เนื่องจากราคากุ้งทะเลและปลาทูนาที่ท่าเรือระนองและภูเก็ตสูงขึ้น สำหรับผลผลิตกุ้งมีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นกุ้งที่เกษตรกรเลี้ยงอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ฝั่งอันดามัน แต่ราคาปรับลดลงทุกขนาด
2. ภาคอุตสาหกรรม ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้ขยายตัวมาก ตามปริมาณวัตถุดิบและความต้องการ ของตลาดต่างประเทศ โดยผลผลิตน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นร้อยละ 87.7 ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมยางพารา ไม้ยางพาราและ เฟอร์นิเจอร์ สัตว์น้ำแช่เย็นแช่แข็ง (ไม่รวมด่านศุลกากรสะเดา) และอาหารบรรจุกระป๋อง มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อย ละ 21.6 32.1 2.3 และ 16.3 ตามลำดับ ส่วนถุงมือยางปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 6.8 เนื่องจากโรงงานถุงมือยางบาง รายยังคงปิดกิจการจากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบและต้นทุนการผลิตที่สูง
3. การท่องเที่ยว ภาวะท่องเที่ยวภาคใต้ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาสก่อน โดยมีนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ 752,605 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.9 ชะลอลงจากไตรมาส ก่อนที่ ขยายตัวร้อยละ 33.0 เป็นการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวในภาคใต้ฝั่งตะวันตกเป็นสำคัญ เนื่องจากเป็นช่วงฤดูการ ท่องเที่ยว ประกอบกับมีการฟื้นฟูสถานที่ท่องเที่ยว รวมทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมมือกันเพื่อทำประชาสัมพันธ์และจัด กิจกรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีความมั่นใจในความปลอดภัย รวมทั้งการเพิ่ม เที่ยวบินทั้งจากต่างประเทศและในประเทศซึ่งทำให้การเดินทางสะดวกเพิ่มขึ้น
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคใต้ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน โดยมี ปัจจัยลบที่สำคัญ คือ ราคายางพาราที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง และสถานการณ์ความไม่สงบ โดยการจดทะเบียนรถยนต์ส่วน บุคคล ลดลงร้อยละ 2.5 หดตัวเมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวร้อยละ 7.5 ในไตรมาสก่อน ตามรถบรรทุกส่วนบุคคลที่ลดลง ร้อยละ 4.2 เป็นสำคัญ ส่วนการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 ชะลอลงจากร้อยละ 12.2 ในไตรมาสก่อน ด้านภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้จำนวน 1,751.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.3 ชะลอตัวเมื่อ เทียบกับร้อยละ 20.5 ในไตรมาสก่อน อย่างไรก็ดี ภาวะการท่องเที่ยวทางฝั่งทะเลอันดามันที่เร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง กอปรกับห้างค้าปลีก และโมเดิร์นเทรด ได้กระตุ้นตลาดและเพิ่มแรงจูงใจให้ผู้บริโภคซื้อมากขึ้นในช่วงปลายปี
5. การลงทุนภาคเอกชน ภาคการก่อสร้างขยายตัว พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างผ่านเทศบาลเมือง เทศบาล นคร และเทศบาลตำบลเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 34.7 ส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ตอนบน ตามการฟื้นตัวของ การท่องเที่ยวทาง ฝั่งอันดามัน ขณะที่โครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนและการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลจำนวน รายลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ส่วนเงินลงทุนและทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 และ 8.2 ตามลำดับ
6. การจ้างงาน ผู้ประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคใต้ทั้งสิ้น 9,883 อัตรา ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 38.0 ส่วนผู้สมัครงาน และการบรรจุงาน มีจำนวนทั้งสิ้น 9,401 คน และ 6,050 อัตรา เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 และ 49.9 ตามลำดับ
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6 ชะลอตัวเมื่อ เทียบกับร้อยละ 4.4 ในไตรมาสก่อน โดยดัชนีราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เร่งตัวขึ้นจาก ร้อยละ 5.9 ในไตรมาสก่อน ส่วนหนึ่งเนื่องจากได้รับผลกระทบจากอุทกภัยยาวนานในพื้นที่ภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกผักสำคัญ ทำให้ราคาผักสดปรับสูงขึ้นมาก และหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ชะลอลงจากร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อน ตามภาวะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่มีการปรับลดลง ส่วนดัชนีราคา ผู้บริโภคพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ชะลอลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อน
8. การค้าต่างประเทศ ในไตรมาส 4 นี้ การส่งออกมีมูลค่า 2,777.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปี ก่อนร้อยละ 31.7 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวสูงร้อยละ 38.8 เป็นการลดลงของมูลค่าการส่งออกสัตว์น้ำแช่แข็ง ส่วน การนำเข้ามีมูลค่า 1,136.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 51.1 เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ ขยายตัวเพียงร้อยละ 30.7 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเครื่องจักรและอุปกรณ์และสัตว์น้ำแช่แข็ง เป็นสำคัญ
9. ภาคการคลัง ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม-ธันวาคม 2549) ส่วนราชการต่าง ๆ ในภาคใต้มี การเบิกจ่ายเงินงบประมาณลดลง โดยมีการเบิกจ่ายจำนวน 19,293.2 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 29.3เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ยังไม่มีผลบังคับใช้ จึงมีการเบิกจ่ายเฉพาะ งบรายจ่ายประจำและงบผูกพันเท่านั้น ส่งผลให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของเกือบทุกคลังจังหวัดลดลง ส่วนการจัดเก็บ รายได้มีจำนวน 6,137.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.1 ตามการเพิ่มขึ้นของการจัดเก็บภาษี สรรพากรเป็นสำคัญ
10. ภาคการเงิน เงินฝากและสินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์ขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดย ณ สิ้นไตรมาส 4 มี เงินฝากคงค้างประมาณ 375,500.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.0 ตามการเพิ่มขึ้นเงินฝากประเภท ประจำ ด้านสินเชื่อคงค้างมีประมาณ 299,500.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.2 เป็นการเร่งขยาย สินเชื่อเพื่อให้เป็นตามเป้าหมายประจำปี ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจหลัก 3 จังหวัด คือ สงขลา ภูเก็ต และสุราษฏร์ธานี สำหรับสถานการณ์ความไม่สงบในเขต 3 จังหวัดชายแดนยังเป็นปัจจัยลบต่อภาคธุรกิจและส่งผลกระทบต่อผลการ ดำเนินงานของสาขาสถาบันการเงินในพื้นที่เขตนั้นโดยรวม
ข้อมูลเพิ่มเติม : อุษณี ปรีชม โทร. 0 7436 7648 e-mail : usaneep@bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจและการเงิน มีดังนี้
1. ภาคเกษตรกรรม ผลผลิตพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ8.0 เป็นการเพิ่มขึ้นของผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมัน ร้อยละ 4.8 และ 28.3 ตามลำดับ ส่วนราคาพืชผลหลักลดลงร้อยละ 13.5 หดตัวจากไตรมาสก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 เนื่องจากราคายางพาราและปาล์มน้ำมันปรับลดลงค่อนข้างมาก ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลัก ลดลงร้อยละ 6.6 ขณะที่ไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 ทางด้านประมงทะเลซบเซา จากต้นทุนการทำประมงสูงขึ้น และ สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้จำนวนเรือที่ออกทำประมงน้อยลง รวมทั้งการทำประมงในน่านน้ำประเทศเพื่อนบ้าน เข้มงวด ส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือในภาคใต้ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.5 แต่มูลค่าเพิ่ม ขึ้นร้อยละ 11.7 เนื่องจากราคากุ้งทะเลและปลาทูนาที่ท่าเรือระนองและภูเก็ตสูงขึ้น สำหรับผลผลิตกุ้งมีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นกุ้งที่เกษตรกรเลี้ยงอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ฝั่งอันดามัน แต่ราคาปรับลดลงทุกขนาด
2. ภาคอุตสาหกรรม ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้ขยายตัวมาก ตามปริมาณวัตถุดิบและความต้องการ ของตลาดต่างประเทศ โดยผลผลิตน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นร้อยละ 87.7 ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมยางพารา ไม้ยางพาราและ เฟอร์นิเจอร์ สัตว์น้ำแช่เย็นแช่แข็ง (ไม่รวมด่านศุลกากรสะเดา) และอาหารบรรจุกระป๋อง มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อย ละ 21.6 32.1 2.3 และ 16.3 ตามลำดับ ส่วนถุงมือยางปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 6.8 เนื่องจากโรงงานถุงมือยางบาง รายยังคงปิดกิจการจากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบและต้นทุนการผลิตที่สูง
3. การท่องเที่ยว ภาวะท่องเที่ยวภาคใต้ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาสก่อน โดยมีนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ 752,605 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.9 ชะลอลงจากไตรมาส ก่อนที่ ขยายตัวร้อยละ 33.0 เป็นการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวในภาคใต้ฝั่งตะวันตกเป็นสำคัญ เนื่องจากเป็นช่วงฤดูการ ท่องเที่ยว ประกอบกับมีการฟื้นฟูสถานที่ท่องเที่ยว รวมทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมมือกันเพื่อทำประชาสัมพันธ์และจัด กิจกรรม ส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีความมั่นใจในความปลอดภัย รวมทั้งการเพิ่ม เที่ยวบินทั้งจากต่างประเทศและในประเทศซึ่งทำให้การเดินทางสะดวกเพิ่มขึ้น
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคใต้ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อน โดยมี ปัจจัยลบที่สำคัญ คือ ราคายางพาราที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง และสถานการณ์ความไม่สงบ โดยการจดทะเบียนรถยนต์ส่วน บุคคล ลดลงร้อยละ 2.5 หดตัวเมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวร้อยละ 7.5 ในไตรมาสก่อน ตามรถบรรทุกส่วนบุคคลที่ลดลง ร้อยละ 4.2 เป็นสำคัญ ส่วนการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 ชะลอลงจากร้อยละ 12.2 ในไตรมาสก่อน ด้านภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้จำนวน 1,751.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.3 ชะลอตัวเมื่อ เทียบกับร้อยละ 20.5 ในไตรมาสก่อน อย่างไรก็ดี ภาวะการท่องเที่ยวทางฝั่งทะเลอันดามันที่เร่งตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง กอปรกับห้างค้าปลีก และโมเดิร์นเทรด ได้กระตุ้นตลาดและเพิ่มแรงจูงใจให้ผู้บริโภคซื้อมากขึ้นในช่วงปลายปี
5. การลงทุนภาคเอกชน ภาคการก่อสร้างขยายตัว พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างผ่านเทศบาลเมือง เทศบาล นคร และเทศบาลตำบลเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 34.7 ส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ตอนบน ตามการฟื้นตัวของ การท่องเที่ยวทาง ฝั่งอันดามัน ขณะที่โครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนและการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลจำนวน รายลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ส่วนเงินลงทุนและทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 และ 8.2 ตามลำดับ
6. การจ้างงาน ผู้ประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคใต้ทั้งสิ้น 9,883 อัตรา ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 38.0 ส่วนผู้สมัครงาน และการบรรจุงาน มีจำนวนทั้งสิ้น 9,401 คน และ 6,050 อัตรา เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 และ 49.9 ตามลำดับ
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6 ชะลอตัวเมื่อ เทียบกับร้อยละ 4.4 ในไตรมาสก่อน โดยดัชนีราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เร่งตัวขึ้นจาก ร้อยละ 5.9 ในไตรมาสก่อน ส่วนหนึ่งเนื่องจากได้รับผลกระทบจากอุทกภัยยาวนานในพื้นที่ภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกผักสำคัญ ทำให้ราคาผักสดปรับสูงขึ้นมาก และหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ชะลอลงจากร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อน ตามภาวะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่มีการปรับลดลง ส่วนดัชนีราคา ผู้บริโภคพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ชะลอลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อน
8. การค้าต่างประเทศ ในไตรมาส 4 นี้ การส่งออกมีมูลค่า 2,777.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปี ก่อนร้อยละ 31.7 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวสูงร้อยละ 38.8 เป็นการลดลงของมูลค่าการส่งออกสัตว์น้ำแช่แข็ง ส่วน การนำเข้ามีมูลค่า 1,136.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 51.1 เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ ขยายตัวเพียงร้อยละ 30.7 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเครื่องจักรและอุปกรณ์และสัตว์น้ำแช่แข็ง เป็นสำคัญ
9. ภาคการคลัง ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม-ธันวาคม 2549) ส่วนราชการต่าง ๆ ในภาคใต้มี การเบิกจ่ายเงินงบประมาณลดลง โดยมีการเบิกจ่ายจำนวน 19,293.2 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 29.3เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ยังไม่มีผลบังคับใช้ จึงมีการเบิกจ่ายเฉพาะ งบรายจ่ายประจำและงบผูกพันเท่านั้น ส่งผลให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของเกือบทุกคลังจังหวัดลดลง ส่วนการจัดเก็บ รายได้มีจำนวน 6,137.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.1 ตามการเพิ่มขึ้นของการจัดเก็บภาษี สรรพากรเป็นสำคัญ
10. ภาคการเงิน เงินฝากและสินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์ขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดย ณ สิ้นไตรมาส 4 มี เงินฝากคงค้างประมาณ 375,500.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.0 ตามการเพิ่มขึ้นเงินฝากประเภท ประจำ ด้านสินเชื่อคงค้างมีประมาณ 299,500.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.2 เป็นการเร่งขยาย สินเชื่อเพื่อให้เป็นตามเป้าหมายประจำปี ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจหลัก 3 จังหวัด คือ สงขลา ภูเก็ต และสุราษฏร์ธานี สำหรับสถานการณ์ความไม่สงบในเขต 3 จังหวัดชายแดนยังเป็นปัจจัยลบต่อภาคธุรกิจและส่งผลกระทบต่อผลการ ดำเนินงานของสาขาสถาบันการเงินในพื้นที่เขตนั้นโดยรวม
ข้อมูลเพิ่มเติม : อุษณี ปรีชม โทร. 0 7436 7648 e-mail : usaneep@bot.or.th
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--