เศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสแรกของปี 2549 ปรับตัวดีขึ้นมาก ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงทางด้าน คาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ทางด้านอุปทาน ผลผลิตพืชผลหลักเพิ่มขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของปาล์มน้ำมัน ขณะที่ ผลผลิตยางพาราใกล้เคียงกับปีก่อน นอกจากนั้น การผลิตภาคอุตสาหกรรม ยังขยายตัวตามการส่งออก แม้จะได้รับผลกระทบจากวัตถุดิบ และภาวะต้นทุนที่สูงขึ้น ก็ตาม สำหรับการท่องเที่ยว ฟื้นตัวชัดเจนขึ้นมาก ทางด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่การลงทุน ภาคเอกชน มีสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นมาก แต่ยังคงได้รับผลกระทบจากปัจจัยแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการลงทุน
นอกจากนั้น การส่งออกขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นมาก ทางด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ พิจารณาจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัวขึ้น โดยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ด้านราคาน้ำมันเป็นสำคัญ
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจและการเงิน มีดังนี้
ภาคเกษตรกรรม
ผลผลิตพืชผลหลักเพิ่มขึ้นโดยผลผลิตยางออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับปีก่อน ขณะที่ความต้องการใช้ จากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากจีนยังมีต่อเนื่อง เนื่องจากอุตสาหกรรมยางล้อของโลกย้ายฐานไปผลิตที่จีนมาก ส่วนทางด้านราคายังสูงขึ้นจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น และสต็อกยางของประเทศผู้ใช้ลดลง กอปรกับมีการ เข้าเก็งกำไรในตลาดล่วงหน้า โดยราคายางแผ่นดิบ ชั้น 3 ในไตรมาสแรกปีนี้ เฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 72.86 บาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 67.6 ขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นสูงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ปีก่อน เนื่องจากปีนี้เข้าสู่ฤดูกาลการผลิตเร็วกว่าปีก่อนจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย จึงส่งผลให้ราคามีแนวโน้ม อ่อนตัวลง อย่างไรก็ดี ในไตรมาสนี้ ราคาเฉลี่ยผลปาล์มสดทั้งทะลายเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 เทียบกับไตรมาสเดียวกัน ในปี 2548 ที่ราคาปาล์มตกต่ำมาก
ทางด้านการทำประมง หดตัวต่อเนื่อง เนื่องจากราคาน้ำมันและอุปกรณ์การทำประมงปรับตัวสูงขึ้นมาก ประกอบกับทรัพยากรทางทะเลมีจำนวนลดลงอย่างมาก ส่งผลให้ชาวประมงหยุดทำประมง ปริมาณและมูลค่าสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือในภาคใต้ในไตรมาสนี้จึงลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ27.0 และ 14.7 ตามลำดับ
ภาคอุตสาหกรรม
การผลิตของอุตสาหกรรมในไตรมาสแรกปีนี้ ขยายตัวตามการส่งออกอาหารบรรจุกระป๋อง ชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ และการเพิ่มขึ้นของการผลิตน้ำมันปาล์มดิบ ขณะที่ ยางพารา ถุงมือยาง และสัตว์น้ำ แปรรูปและแช่แข็ง (ผ่านด่านศุลกากรสงขลา) ส่งออกได้ลดลง เนื่องจากประสบปัญหาด้านการผลิต เพราะมีวัตถุดิบเข้าสู่โรงงานน้อย
การท่องเที่ยว
ภาวะการท่องเที่ยวของภาคใต้ช่วงไตรมาสแรกปีนี้ มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างชัดเจน ทั้งทางภาคใต้ ฝั่งตะวันตก และภาคใต้ตอนล่าง เนื่องจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้ความร่วมมืออย่างดี ในการจัดกิจกรรม เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว โดยในช่วงไตรมาสแรกปีนี้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมี จำนวน 706,939 คน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 58.5 เป็นการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยว
ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกมากถึงร้อยละ 217.4 เนื่องจากในปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากสึนามิ ขณะที่ภาคใต้ตอนล่าง ขยายตัวร้อยละ 10.6
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ในไตรมาสแรกปีนี้ ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับสูงขึ้น สะท้อนจากเครื่องชี้ที่สำคัญ คือ การจดทะเบียนใหม่ รถยนต์ส่วนบุคคลที่โดยรวมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 13.1 จากปัจจัยบวกด้านราคายางพารา ที่ยังอยู่ในระดับสูง นอกจากนั้น จากการที่รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลมีการปรับสมรรถนะ และรูปแบบให้ทันสมัย ทำให้ได้รับความนิยมมากขึ้น และการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อสะดวกขึ้น อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนใหม่
รถจักรยานยนต์ยังคงลดลงต่อเนื่อง โดยลดลงร้อยละ 8.7 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากผู้บริโภคในภาคเกษตรหันมานิยมใช้ รถยนต์บรรทุกเพิ่มขึ้น ส่วนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในไตรมาสเดียวกันนี้ จัดเก็บได้ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 31.6
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นมาก โดยเฉพาะภาคใต้ตอนบน ตามการฟื้นตัว ของการท่องเที่ยว สะท้อนจากกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนที่มีจำนวนและเงินลงทุนมากขึ้น รวมทั้ง การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่ที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน การลงทุนด้านการก่อสร้างขยายตัว โดยพื้นที่ที่ได้รับ อนุญาตให้มีการก่อสร้างเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.7 หลังจากที่ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 3/2547 อย่างไรก็ตาม ยังมี ปัจจัยเสี่ยงด้านราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
การจ้างงาน
ในไตรมาสนี้ยังคงมีปัญหาการขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากจังหวัดที่ประสบภัยจากเหตุการณ์ ธรณีพิบัติภัยฟื้นตัว และการลงทุนขยายตัวโดยเฉพาะในเขตภาคใต้ตอนบน รวมทั้งจังหวัดในภาคใต้ตอนล่างที่มี โรงงานอุตสาหกรรมมาก ทำให้มีความต้องการแรงงานเพื่อรองรับธุรกิจจำนวนมาก จึงได้มีการนำเข้าแรงงานลาว เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยจังหวัดสงขลาซึ่งเป็นจังหวัดนำร่องได้มีการนำเข้าแรงงานลาวมาบางส่วนแล้ว
ระดับราคา
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของภาคใต้ อยู่ที่ร้อยละ 5.8 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 5.6 ในไตรมาสก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม และสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 และ 5.3 ตามลำดับ ขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ของไตรมาสนี้ ปรับตัวขึ้น จากไตรมาสก่อนเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 2.2
การค้าต่างประเทศ
การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีมูลค่า 2,237.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาส เดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.8 เร่งตัวขึ้นมากเมื่อเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 6.2 ในไตรมาส 4/2548 และร้อยละ 4.9 ในไตรมาส 1/2548 เนื่องจากการส่งออกยางรวมที่เพิ่มขึ้นจากผลทางด้านราคาเป็นสำคัญ ขณะที่การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีมูลค่า 905.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.4 เร่งตัวขึ้นจากไตรมาส 4/2548 ซึ่งขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3 เท่านั้น ส่วนใหญ่ยังคงเป็นการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ ส่วนทางด้านการค้าผ่านด่านชายแดนไทย มาเลเซีย มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 และนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.5
ภาคการคลัง
การจัดเก็บรายได้ มีจำนวน 6,386.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.3 โดยภาษีสรรพากร จัดเก็บได้มากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 86.2 ของเงินภาษีที่จัดเก็บได้ทั้งหมดในภาคใต้ และ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.8 ส่วนภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 43.9 เนื่องจากบริษัทน้ำมันได้จ่ายภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่หน้าโรงกลั่น แทนที่จะมาจ่ายที่คลังน้ำมัน ปลอดภาษีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ ขณะที่ภาษีศุลกากรจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.1 ตามการจัดเก็บภาษีส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ ในไตรมาสนี้ การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ของส่วนราชการต่างๆ ในภาคใต้ มีการเบิกจ่ายเพิ่มขึ้น โดยมีการเบิกจ่ายจำนวน 25,832.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 7.7
ภาคการเงิน
ผลจากการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธนาคารพาณิชย์แข่งขันกัน ปรับอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิม นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังออกผลิตภัณฑ์ ทางการเงินใหม่ ๆ ให้ลูกค้ามีโอกาสหาทางเลือกทั้งระยะเวลาในการลงทุน และอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ เงินฝากคงค้าง ของสาขาธนาคารพาณิชย์ในเบื้องต้น คาดว่ามีจำนวนรวม 350,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นไตรมาสเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 8.1 ส่วนสินเชื่อคงค้างคาดว่ามีจำนวนรวม 265,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นไตรมาสเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 23.6
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
นอกจากนั้น การส่งออกขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นมาก ทางด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ พิจารณาจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัวขึ้น โดยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ด้านราคาน้ำมันเป็นสำคัญ
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจและการเงิน มีดังนี้
ภาคเกษตรกรรม
ผลผลิตพืชผลหลักเพิ่มขึ้นโดยผลผลิตยางออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับปีก่อน ขณะที่ความต้องการใช้ จากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากจีนยังมีต่อเนื่อง เนื่องจากอุตสาหกรรมยางล้อของโลกย้ายฐานไปผลิตที่จีนมาก ส่วนทางด้านราคายังสูงขึ้นจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น และสต็อกยางของประเทศผู้ใช้ลดลง กอปรกับมีการ เข้าเก็งกำไรในตลาดล่วงหน้า โดยราคายางแผ่นดิบ ชั้น 3 ในไตรมาสแรกปีนี้ เฉลี่ยที่กิโลกรัมละ 72.86 บาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 67.6 ขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นสูงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน ปีก่อน เนื่องจากปีนี้เข้าสู่ฤดูกาลการผลิตเร็วกว่าปีก่อนจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย จึงส่งผลให้ราคามีแนวโน้ม อ่อนตัวลง อย่างไรก็ดี ในไตรมาสนี้ ราคาเฉลี่ยผลปาล์มสดทั้งทะลายเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 เทียบกับไตรมาสเดียวกัน ในปี 2548 ที่ราคาปาล์มตกต่ำมาก
ทางด้านการทำประมง หดตัวต่อเนื่อง เนื่องจากราคาน้ำมันและอุปกรณ์การทำประมงปรับตัวสูงขึ้นมาก ประกอบกับทรัพยากรทางทะเลมีจำนวนลดลงอย่างมาก ส่งผลให้ชาวประมงหยุดทำประมง ปริมาณและมูลค่าสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือในภาคใต้ในไตรมาสนี้จึงลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ27.0 และ 14.7 ตามลำดับ
ภาคอุตสาหกรรม
การผลิตของอุตสาหกรรมในไตรมาสแรกปีนี้ ขยายตัวตามการส่งออกอาหารบรรจุกระป๋อง ชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ และการเพิ่มขึ้นของการผลิตน้ำมันปาล์มดิบ ขณะที่ ยางพารา ถุงมือยาง และสัตว์น้ำ แปรรูปและแช่แข็ง (ผ่านด่านศุลกากรสงขลา) ส่งออกได้ลดลง เนื่องจากประสบปัญหาด้านการผลิต เพราะมีวัตถุดิบเข้าสู่โรงงานน้อย
การท่องเที่ยว
ภาวะการท่องเที่ยวของภาคใต้ช่วงไตรมาสแรกปีนี้ มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างชัดเจน ทั้งทางภาคใต้ ฝั่งตะวันตก และภาคใต้ตอนล่าง เนื่องจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้ความร่วมมืออย่างดี ในการจัดกิจกรรม เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยว โดยในช่วงไตรมาสแรกปีนี้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมี จำนวน 706,939 คน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 58.5 เป็นการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยว
ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกมากถึงร้อยละ 217.4 เนื่องจากในปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากสึนามิ ขณะที่ภาคใต้ตอนล่าง ขยายตัวร้อยละ 10.6
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ในไตรมาสแรกปีนี้ ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับสูงขึ้น สะท้อนจากเครื่องชี้ที่สำคัญ คือ การจดทะเบียนใหม่ รถยนต์ส่วนบุคคลที่โดยรวมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 13.1 จากปัจจัยบวกด้านราคายางพารา ที่ยังอยู่ในระดับสูง นอกจากนั้น จากการที่รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลมีการปรับสมรรถนะ และรูปแบบให้ทันสมัย ทำให้ได้รับความนิยมมากขึ้น และการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อสะดวกขึ้น อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนใหม่
รถจักรยานยนต์ยังคงลดลงต่อเนื่อง โดยลดลงร้อยละ 8.7 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากผู้บริโภคในภาคเกษตรหันมานิยมใช้ รถยนต์บรรทุกเพิ่มขึ้น ส่วนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในไตรมาสเดียวกันนี้ จัดเก็บได้ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 31.6
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นมาก โดยเฉพาะภาคใต้ตอนบน ตามการฟื้นตัว ของการท่องเที่ยว สะท้อนจากกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนที่มีจำนวนและเงินลงทุนมากขึ้น รวมทั้ง การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่ที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน การลงทุนด้านการก่อสร้างขยายตัว โดยพื้นที่ที่ได้รับ อนุญาตให้มีการก่อสร้างเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.7 หลังจากที่ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 3/2547 อย่างไรก็ตาม ยังมี ปัจจัยเสี่ยงด้านราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
การจ้างงาน
ในไตรมาสนี้ยังคงมีปัญหาการขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากจังหวัดที่ประสบภัยจากเหตุการณ์ ธรณีพิบัติภัยฟื้นตัว และการลงทุนขยายตัวโดยเฉพาะในเขตภาคใต้ตอนบน รวมทั้งจังหวัดในภาคใต้ตอนล่างที่มี โรงงานอุตสาหกรรมมาก ทำให้มีความต้องการแรงงานเพื่อรองรับธุรกิจจำนวนมาก จึงได้มีการนำเข้าแรงงานลาว เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยจังหวัดสงขลาซึ่งเป็นจังหวัดนำร่องได้มีการนำเข้าแรงงานลาวมาบางส่วนแล้ว
ระดับราคา
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของภาคใต้ อยู่ที่ร้อยละ 5.8 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 5.6 ในไตรมาสก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม และสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 และ 5.3 ตามลำดับ ขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ของไตรมาสนี้ ปรับตัวขึ้น จากไตรมาสก่อนเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 2.2
การค้าต่างประเทศ
การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีมูลค่า 2,237.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาส เดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.8 เร่งตัวขึ้นมากเมื่อเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 6.2 ในไตรมาส 4/2548 และร้อยละ 4.9 ในไตรมาส 1/2548 เนื่องจากการส่งออกยางรวมที่เพิ่มขึ้นจากผลทางด้านราคาเป็นสำคัญ ขณะที่การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีมูลค่า 905.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.4 เร่งตัวขึ้นจากไตรมาส 4/2548 ซึ่งขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3 เท่านั้น ส่วนใหญ่ยังคงเป็นการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ ส่วนทางด้านการค้าผ่านด่านชายแดนไทย มาเลเซีย มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 และนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.5
ภาคการคลัง
การจัดเก็บรายได้ มีจำนวน 6,386.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.3 โดยภาษีสรรพากร จัดเก็บได้มากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 86.2 ของเงินภาษีที่จัดเก็บได้ทั้งหมดในภาคใต้ และ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.8 ส่วนภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 43.9 เนื่องจากบริษัทน้ำมันได้จ่ายภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่หน้าโรงกลั่น แทนที่จะมาจ่ายที่คลังน้ำมัน ปลอดภาษีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ ขณะที่ภาษีศุลกากรจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.1 ตามการจัดเก็บภาษีส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปได้เพิ่มขึ้น ขณะที่ ในไตรมาสนี้ การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ของส่วนราชการต่างๆ ในภาคใต้ มีการเบิกจ่ายเพิ่มขึ้น โดยมีการเบิกจ่ายจำนวน 25,832.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 7.7
ภาคการเงิน
ผลจากการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธนาคารพาณิชย์แข่งขันกัน ปรับอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิม นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ยังออกผลิตภัณฑ์ ทางการเงินใหม่ ๆ ให้ลูกค้ามีโอกาสหาทางเลือกทั้งระยะเวลาในการลงทุน และอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ เงินฝากคงค้าง ของสาขาธนาคารพาณิชย์ในเบื้องต้น คาดว่ามีจำนวนรวม 350,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นไตรมาสเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 8.1 ส่วนสินเชื่อคงค้างคาดว่ามีจำนวนรวม 265,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นไตรมาสเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 23.6
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--