เดือนมกราคม 2549 ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การใช้จ่ายภาคเอกชนยังเพิ่มขึ้น เห็นได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม สอดคล้องกับการลงทุนภาคเอกชน ภาคการก่อสร้างขยายตัว การจัดเก็บภาษีในภาคเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 6.3 การค้าชายแดนขยายตัวทั้งด้านไทย-กัมพูชา และไทย-ลาว ราคามันสำปะหลัง ข้าวเปลือกเหนียวสูงขึ้น แต่ราคาข้าวเปลือกเจ้าและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปรับตัวลดลง ส่วนอุตสาหกรรมสำคัญในภาคฯ ชะลอตัว
1. ภาคการเกษตร
ราคาข้าวเปลือกเหนียวและมันสำปะหลังสูงขึ้น ส่วนราคาข้าวเปลือกเจ้า และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ราคาลดลงเมื่อเทียบ กับเดือนเดียวกันของปีก่อน
ข้าว ราคาข้าวเปลือกเหนียวปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลงในขณะที่ความต้องการยังสูง ราคาขายส่งข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) เฉลี่ยเกวียนละ 6,382 บาท เทียบกับเดือนก่อนราคาเกวียนละ 5,848 บาท และเดือน เดียวกันของปีก่อน เกวียนละ 5,799 บาท สูงขึ้นร้อยละ 9.1 และร้อยละ 10.1 ตามลำดับ ผู้ส่งออกชะลอการสั่งซื้อข้าวเปลือกเจ้า ทำให้ราคาขายส่งข้าวเปลือกเจ้า 5% เกวียนละ 7,578 บาท ลดลงร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเกวียนละ 7,767 บาท แต่สูงขึ้นร้อยละ 2.2 จากเดือนก่อนราคาเกวียนละ 7,416 บาท
มันสำปะหลัง ความต้องการของโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังยังอยู่ในเกณฑ์สูงและการส่งเสริม การผลิตเอทานอลของภาครัฐ ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น ราคาขายส่งหัวมันสำปะหลังเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.46 บาท เทียบกับเดือนก่อน กิโลกรัมละ 1.43 บาท สูงขึ้นร้อยละ 2.1 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 1.34 บาท สูงขึ้นร้อยละ 9.0 ราคาขายส่ง มันเส้นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.13 บาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 2.82 บาท สูงขึ้นร้อยละ 11.0 แต่เทียบกับเดือนก่อน กิโลกรัมละ 3.26 บาท ลดลงร้อยละ 4.0
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาขายส่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.84 บาท เท่ากับราคาเฉลี่ยของเดือนก่อน แต่ลดลงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน กิโลกรัมละ 5.14 บาท
2. การใช้จ่ายภาคเอกชน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน พิจารณาจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 686.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 62.7 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน 421.8 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในจังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี อุบลราชธานี สุรินทร์ และมุกดาหาร เพิ่มขึ้น กิจการสำคัญที่ยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ โรงงานเบียร์ โรงงานสุรา โรงงานชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ ตัวแทนจำหน่ายสุรา-เบียร์ และห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น ปริมาณการใช้ไฟฟ้า ในที่อยู่อาศัย 305.0 ล้านหน่วย เทียบจากเดือนเดียวกันของปีก่อน 281.4 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4
การจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ชะลอตัว โดยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ 3,504 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน ของปีก่อน ร้อยละ 3.7 (ปีก่อนขยายตัวร้อยละ 47.9) และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 5,535 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 (ปีก่อนขยายตัว ร้อยละ 36.0) เนื่องจากผู้ซื้อระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ตามราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น ประกอบกับยอดจำหน่าย รถยนต์ในเดือนเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นมาก สำหรับรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ 36,782 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 เนื่องจากบริษัท เอกชนที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) ยังคงแข่งขันกันปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์มากขึ้น
3. การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนในภาคการค้า ภาคอุตสาหกรรม และการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น
ในด้านภาคการค้า มีการจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่จำนวน 305 ราย เงินทุน 554.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน เดียวกันของปีก่อนร้อยละ 35.6 และร้อยละ 24.0 ตามลำดับ ประเภทของธุรกิจที่สำคัญในเดือนนี้ได้แก่ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจรับจ้างขนส่ง โรงเรียนเอกชน ธุรกิจนำเข้าส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภค ในจังหวัดตามแนวชายแดน รวมถึงโรงงาน อุตสาหกรรม เช่น โรงสีข้าว ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ
ในเดือนนี้มีกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจำนวน 10 โครงการ เงินลงทุน 1,297 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก เดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 66.7 และร้อยละ 163.0 ตามลำดับ โดยโครงการส่วนใหญ่ยังเป็นโครงการทางด้านอุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมเบา ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของภาคฯ ได้แก่ กิจการเลี้ยงไก่เนื้อเป็นฟาร์มระบบปิด กิจการผลิต เสื้อผ้าสำเร็จรูป กิจการผลิตเครื่องประดับ กิจการผลิตพรม กิจการโรงแรม และกิจการโรงพยาบาล
การใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม 410.0 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ที่มีปริมาณการใช้ 377.5 ล้านหน่วย
4. ภาคการก่อสร้าง เดือนนี้มีพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร 164,906 ตารางเมตร ลดลงร้อยละ 10.4 จากเดือนก่อน 184,067 ตารางเมตร แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน 161,962 ตารางเมตร
พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 72.9 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา อาคารพาณิชย์สัดส่วนร้อยละ 20.3 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดขอนแก่น และเพื่อการบริการ เช่น หอประชุม ภัตตาคาร ร้อยละ 4.6 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดมุกดาหาร
จังหวัดนครราชสีมามีการขออนุญาตก่อสร้างมากที่สุดในภาคฯ 44,020 ตารางเมตร รองลงมาจังหวัดขอนแก่น 32,588 ตารางเมตร อุดรธานี 14,905 ตารางเมตร และอุบลราชธานี13,529 ตารางเมตร
5. การผลิตภาคอุตสาหกรรม การผลิตของอุตสาหกรรมที่สำคัญของภาคฯ ชะลอตัว เนื่องจากผลผลิตเกษตรที่เป็น วัตถุดิบลดลง ทั้งโรงงานน้ำตาล โรงงานเยื่อกระดาษ และโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง แต่อุตสาหกรรมเครื่องดื่มผลิตได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากการขยายกำลังการผลิต ตามการขยายตัวของตลาด
เดือนนี้โรงงานน้ำตาลในภาคฯได้ทำการเปิดหีบ โดยผลิตน้ำตาลได้ 694,900 ตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.5 ตามปริมาณวัตถุดิบที่ลดลง โรงงานคาดว่าปีนี้จะปิดหีบเร็วขึ้น
โรงงานแปรรูปมันสำปะหลังในเดือนนี้ผลิตได้ลดลง เนื่องจากผลผลิตยังออกสู่ตลาดไม่มาก โรงงานที่ตั้งอยู่ ตอนกลางของภาคฯ ในแถบจังหวัดกาฬสินธุ์ และขอนแก่น ต้องรับซื้อผลผลิตจากจังหวัดรอบข้าง เนื่องจากผลผลิตในพื้นที่มีน้อย
6. ภาคการจ้างงาน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ข้อมูลการสมัครงานภายในภาคฯ ลดลง แต่แรงงานที่ ขออนุญาตเดินทางไปทำงานในต่างประเทศกลับเพิ่มขึ้น
จากข้อมูลของศูนย์ข่าวสารตลาดแรงงานภาคฯ ตำแหน่งงานว่าง และผู้ได้รับการบรรจุเข้าทำงานเพิ่มขึ้น แต่ผู้สมัครงานผ่านหน่วยงานจัดหางานของรัฐมีจำนวนลดลง
1) เดือนนี้มีผู้สมัครงาน 3,596 คน เทียบกับเดือนก่อน ผู้สมัครงาน 3,736 คน และเดือนเดียวกันของปีก่อน ผู้สมัครงาน 4,271 คน ลดลงร้อยละ 3.7 และร้อยละ 15.8 ตามลำดับ
ผู้สมัครงานส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดขอนแก่น 357 คน ศรีสะเกษ 336 คน และอุบลราชธานี 297 คน ซึ่งมีอายุ ระหว่าง 18 -- 24 ปี วุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย อาชีพงานพื้นฐานต่าง ๆ ด้านการขายและการให้บริการ เช่น ผู้ช่วยงานบ้าน และพนักงานทำความสะอาด
2) ตำแหน่งงานว่าง 6,915 อัตรา เทียบกับเดือนก่อน ตำแหน่งงานว่าง 4,504 อัตรา และเดือนเดียวกันของปีก่อน ตำแหน่งงานว่าง 4,343 อัตรา เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.5 และร้อยละ 59.2 ตามลำดับ
ตำแหน่งงานว่างส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดหนองบัวลำภู 1,234 อัตรา กาฬสินธุ์ 878 อัตรา และขอนแก่น 785 อัตรา ซึ่งมีอายุระหว่าง 18 -24 ปี วุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย เป็นตำแหน่งงานว่างในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร และเครื่องดื่ม 3,058 อัตรา การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ 1,702 อัตรา
3) ผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงาน 1,365 คน เทียบกับเดือนก่อน 1,282 คน และเดือนเดียวกันของปีก่อน 327 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 และร้อยละ 317.4 ตามลำดับ
ผู้ได้รับการบรรจุเข้าทำงานส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ 185 คน ร้อยเอ็ด 150 คน และหนองคาย 144 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 18 - 24 ปี วุฒิการศึกษาประโยคประถมศึกษา อาชีพในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร และเครื่องดื่ม 541 คน การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ 439 คน
เดือนนี้อัตราส่วนการบรรจุเข้าทำงานต่อผู้สมัครงานคิดเป็นร้อยละ 38.0 และต่อตำแหน่งงานว่างคิดเป็นร้อยละ 19.7
ข้อมูลของสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ พอสรุปได้ดังนี้
สำหรับคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ขออนุญาตเดินทางไปทำงานในต่างประเทศเดือนนี้ 8,240 คน เพื่อไป ทำงานใน 64 ประเทศ จากคนไทยทั้งประเทศที่เดินทางไปทำงานใน 79 ประเทศ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 62.6 ของคนทั้งประเทศ 13,168 คน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3 จากเดือนก่อน 6,627 คน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.9 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน 6,295 คน
จังหวัดอุดรธานีมีคนไทยขออนุญาตเดินทางไปทำงานต่างประเทศมากที่สุดในภาคฯ 1,667 คน รองลงมาคือ นครราชสีมา 1,213 คน ขอนแก่น 723 คน บุรีรัมย์ 682 คน หนองคาย 602 คน และชัยภูมิ 568 คน
ไต้หวันเป็นประเทศที่คนไทยในภาคฯ เดินทางไปทำงานมากที่สุด 4,050 คน รองลงมาเป็นเกาหลีใต้ 1,414 คน สิงคโปร์ 843 คน กาตาร์ 371 คน บรูไน 316 คน ฮ่องกง 191 คน
เดือนนี้บริษัทจัดหางานเป็นผู้ส่งคนไทยในภาคฯไปทำงานในต่างประเทศมากที่สุด 3,431 คน รองลงมา คือ Re-entry 3,235 คน สำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคฯ จัดส่ง 783 คน เดินทางด้วยตนเอง 514 คน นายจ้างพาไปทำงาน 165 คน และนายจ้าง พาไปฝึกงาน 112 คน
คนไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศเดือนนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.4 จบประโยคประถมศึกษามากที่สุด รองลงมา จบประโยคมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 20.8 และประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ11.3
7. การค้าชายแดน
7.1 การค้าชายแดนไทย-ลาว เดือนมกราคม มูลค่าการค้า 2,648.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.5 เมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการค้า 1,748.3 ล้านบาท เป็นการส่งออก 1,948.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.3 และการนำเข้า 699.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.3 เท่า เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าทุกหมวด ยกเว้นหมวดวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ
การส่งออก 1,948.4 ล้านบาท สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น ๆ 333.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.2 เท่า ยานพาหนะและอุปกรณ์ 322.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่า สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน (น้ำปลา สบู่ ผงชูรส ผงซักฟอกฯลฯ ) 296.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 วัสดุก่อสร้าง 166.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.8 ผ้าผืน 47.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 53.0 เครื่องจักรและอุปกรณ์ (ยกเว้นเครื่องจักรไฟฟ้า) 44.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.8 เท่า สินค้าส่งออกที่ลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ ไฟฟ้า 98.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.9 เหล็กและเหล็กกล้า 54.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.02 เคมีภัณฑ์ 12.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 61.8 อุปกรณ์ตัดเย็บ 8.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 30.2 ผลิตภัณฑ์โลหะ (ฝาจีบ อลูมิเนียม) 2.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 62.6 เครื่องแต่งกายและ รองเท้า เดือนนี้ไม่มีการส่งออก ขณะที่เดือนเดียวกันของปีก่อน มีการส่งออก 1.6 ล้านบาท
การนำเข้า 699.7 ล้านบาท สินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ สินแร่ 326.8 ล้านบาท ซึ่งเดือนเดียวกันของปีก่อน นำเข้าเพียง 3.2 ล้านบาท สินแร่ที่นำเข้าคือทองแดง เนื่องจากมีการทำเหมืองทองแดงใน สปป. ลาว ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 219.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.9 ของป่า 102.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.9 เท่า สินค้านำเข้าที่ลดลง ได้แก่ พืชไร่ 28.8 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 53.6 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 7.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 84.2
7.2 การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา เดือนนี้มูลค่าการค้า 2,547.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.3 โดยเป็นการส่งออก 2,472.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 การนำเข้า 75.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 26.1
การส่งออก สินค้าส่งออกที่สำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานพาหนะและส่วนประกอบ 548.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก เดือนเดียวกันของปีก่อนกว่าเท่าตัว เครื่องแต่งกายและรองเท้า 240.0 ล้านบาท (เดือนเดียวกันของปีก่อน ส่งออกเพียง 12.5 ล้านบาท) เครื่องดื่ม 232.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 88.0 ปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่นๆ 230.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.5 และน้ำตาล 209.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.2 ส่วนสินค้าส่งออกที่ลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 39.2 ล้านบาท ลดลงเกือบ 6 เท่า และ เครื่องจักรกลการเกษตร 0.2 ล้านบาท ในขณะที่ปีก่อนมีการส่งออก 36.2 ล้านบาท การนำเข้า สินค้านำเข้าที่สำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ พืชไร่ 5.4 ล้านบาท ในขณะที่เดือนเดียวกันของปีก่อนไม่มี การนำเข้า ส่วนสินค้าที่ลดลง ได้แก่ เสื้อผ้าเก่า/ผ้าห่มเก่า 18.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.3 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 1.6 ล้านบาท ลดลงถึง ร้อยละ 95.4
8. ภาคการเงิน ธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นมกราคมปี 2549 สาขาธนาคารพาณิชย์เปิดดำเนินการในภาคฯ ทั้งสิ้น 524 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 75 สำนักงาน)
จากข้อมูลเบื้องต้นธนาคารพาณิชย์ในภาคฯมีเงินฝากคงค้าง 313,540 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 จากเดือน เดียวกันของปีก่อนที่มีเงินฝากคงค้าง 288,740 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า เงินฝากคงค้าง 312,745 ล้านบาท เนื่อง จากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงขึ้นมีส่วนจูงใจผู้ฝากเงิน ส่วนใหญ่เป็นผู้ฝากรายย่อย ในด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 276,408 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.2 จากมกราคมปีก่อนที่มีสินเชื่อคงค้าง 237,823 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อนหน้า สินเชื่อคงค้าง 273,050 ล้านบาท
สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ขยายตัวมากที่สุด รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมธัญพืช และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ส่วนบุคคล ส่วนสินเชื่อที่มียอดคงค้างลดลง ได้แก่ สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ และสินเชื่อเพื่อการบริการ ฯลฯ
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์เดือนนี้ปรับสูงขึ้นทั้งด้านเงินฝากและสินเชื่อ ด้านเงินฝาก
- เงินฝากออมทรัพย์ ร้อยละ 0.75-3.00 ต่อปี (เดือนก่อนร้อยละ 0.50-4.00 ต่อปี)
- เงินฝากประเภท 3 เดือน ร้อยละ 2.50-4.00 ต่อปี (เดือนก่อนร้อยละ 2.00-3.50 ต่อปี)
- เงินฝากประเภท 6 เดือนร้อยละ 2.75-4.25 ต่อปี (เดือนก่อนร้อยละ 2.25-3.75 ต่อปี)
- เงินฝากเงินฝากประเภท 12 เดือนร้อยละ 3.00-4.25 ต่อปี (เดือนก่อนร้อยละ 2.50-4.00 ต่อปี)
ด้านสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นทุกประเภท ได้แก่
- MLR ร้อยละ 6.75-7.30 ต่อปี (เดือนก่อนร้อยละ 6.50-7.00 ต่อปี)
- MOR ร้อยละ 7.00-7.75 ต่อปี (เดือนก่อนร้อยละ 6.75-7.50 ต่อปี)
- MRR ร้อยละ 7.25-8.00 ต่อปี (เดือนก่อนร้อยละ 7.00-7.75 ต่อปี)
ปริมาณการใช้เช็ค
เดือนนี้ปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีในภาคฯ 274,234 ฉบับ ลดลงร้อยละ 4.1 จากมกราคมปีก่อนที่มีการ ใช้เช็ค 285,968 ฉบับ ในขณะที่จำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คทั้งสิ้น 45,518.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เทียบกับมกราคมปีก่อนที่มี มูลค่าที่สั่งจ่าย 41,244.7 ล้านบาท ทั้งนี้จำนวนฉบับที่ลดลง เนื่องจากธนาคารสมาชิกมีการเปลี่ยนวิธีการเรียกเก็บไปใช้ระบบเรียกเก็บที่ ส่วนกลาง แทนการส่งไปเรียกเก็บที่สำนักหักบัญชีในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น ในขณะที่มูลค่าเช็คที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากคู่ค้าที่เป็นรายใหญ่มีการ สั่งจ่ายเช็คที่มีมูลค่าสูงเพิ่มขึ้น จังหวัดที่มีมูลค่าการใช้เช็คสูงที่สุดในภาคฯ คือ นครราชสีมา รองลงมาได้แก่ ขอนแก่น อุดรธานี ร้อยเอ็ด และสุรินทร์ สำหรับปริมาณเช็คคืนทั้งสิ้น 5,738 ฉบับ ลดลงร้อยละ 1.1 จากเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีปริมาณเช็คคืน 5,805 ฉบับ แต่จำนวนเงินที่สั่งจ่าย 1,159.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 จากปีก่อนที่มีการสั่งจ่าย 953.0 ล้านบาท ทำให้สัดส่วน จำนวนเงินตามเช็คคืนทั้งสิ้นต่อเช็คเรียกเก็บเดือนนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 จากมกราคมปีก่อนเป็นร้อยละ 2.5 ในเดือนนี้
เช็คคืนเพราะไม่มีเงินมีทั้งสิ้น 3,727 ฉบับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ที่มีเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน 3,539 ฉบับ และจำนวนเงิน ที่สั่งจ่ายตามเช็คดังกล่าวมีทั้งสิ้น 520.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.1 จากมกราคมปีก่อนที่มีการสั่งจ่าย 287.4 ล้านบาท ทำให้สัดส่วน จำนวนเงินเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.7 ในเดือนมกราคมปีก่อนเป็นร้อยละ 1.1 ในเดือนนี้ จังหวัดที่มีอัตราส่วนของจำนวนเงินที่สั่งจ่ายในเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บสูงสุด คือ มุกดาหาร ร้อยละ 3.3 รองลงมา ได้แก่ อุบลราชธานี ร้อยละ 2.4 นครราชสีมา ร้อยละ 1.7 และอุดรธานี ร้อยละ 1.7
9. การคลังรัฐบาล เดือนนี้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ และด่านศุลกากรในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ สามารถจัดเก็บภาษีอากรรวมทั้งสิ้น 2,345.2 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 1,527.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 53.6
สำนักงานสรรพากรพื้นที่ในภาคฯ จัดเก็บภาษีอากรรวม 1,349.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.8 เมื่อเทียบกับเดือน เดียวกันของปีก่อน 1,016.6 ล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 686.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 62.7 จากเดือนเดียวกันของ ปีก่อนจัดเก็บได้ 421.8 ล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากโรงงานเบียร์ โรงงานสุรา โรงงานชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ ตัวแทนจำหน่ายสุรา-เบียร์ และห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น และการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 321.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.1 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน 300.1 ล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเงินได้จากเงินค่าตอบแทนพิเศษของ พนักงานในภาคเอกชนเพิ่มขึ้น และภาษีเงินได้นิติบุคคล 127.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 ตามผลประกอบการที่ดีขึ้นของภาคธุรกิจ โดย เฉพาะอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ การคืนภาษี 78.2 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 141.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 44.8 เนื่องจากการคืน ภาษีมูลค่าเพิ่ม 70.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 44.3 และการคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล 5.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 60.3 ส่วนการคืนภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา 2.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ในภาคฯ จัดเก็บภาษีอากรรวม 985.9 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 502.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 96.2 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีสุรา 960.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 98.1 และภาษีเครื่องดื่มจัดเก็บได้ 15.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.6 ส่วนการจัดเก็บภาษีรถยนต์ 18,312 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งจัดเก็บได้ถึง 764,550 บาท ด่านศุลกากรในภาคฯ จัดเก็บอากรขาเข้ารวม 9.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.5 ด่านศุลกากรสำคัญที่จัดเก็บอากร ขาเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ด่านศุลกากรมุกดาหาร 3.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5 ด่านศุลกากรพิบูลมังสาหาร 1.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 111.1 ด่านศุลกากรหนองคาย 1.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 และด่านศุลกากรเขมราฐ 0.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7 เท่า ส่วนด่านศุลกากรเชียงคาน 0.5 ล้านบาท และด่านศุลกากรบึงกาฬ 0.1 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 70.6 และลดลงร้อยละ 40.3 ตามลำดับ
10. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคฯ เดือนนี้สูงขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.4 และสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.3 หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.5 แต่สูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.2 สินค้าที่มีราคาสูงขึ้นมาก ได้แก่ ผักสด เป็ด ไก่ และเนื้อสัตว์ ส่วนสินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ ข้าวและไข่ หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.8 และสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.9 สินค้าที่มีราคาสูงขึ้นมาก คือ สินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 14.6 ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าโดยสารสาธารณะในและนอกท้องถิ่น และสินค้าในหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 9.2 โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ ยาสูบ ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ในภาคฯเดือนนี้สูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.1 และสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.3
1. ภาคการเกษตร
ราคาข้าวเปลือกเหนียวและมันสำปะหลังสูงขึ้น ส่วนราคาข้าวเปลือกเจ้า และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ราคาลดลงเมื่อเทียบ กับเดือนเดียวกันของปีก่อน
ข้าว ราคาข้าวเปลือกเหนียวปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลงในขณะที่ความต้องการยังสูง ราคาขายส่งข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) เฉลี่ยเกวียนละ 6,382 บาท เทียบกับเดือนก่อนราคาเกวียนละ 5,848 บาท และเดือน เดียวกันของปีก่อน เกวียนละ 5,799 บาท สูงขึ้นร้อยละ 9.1 และร้อยละ 10.1 ตามลำดับ ผู้ส่งออกชะลอการสั่งซื้อข้าวเปลือกเจ้า ทำให้ราคาขายส่งข้าวเปลือกเจ้า 5% เกวียนละ 7,578 บาท ลดลงร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเกวียนละ 7,767 บาท แต่สูงขึ้นร้อยละ 2.2 จากเดือนก่อนราคาเกวียนละ 7,416 บาท
มันสำปะหลัง ความต้องการของโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังยังอยู่ในเกณฑ์สูงและการส่งเสริม การผลิตเอทานอลของภาครัฐ ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น ราคาขายส่งหัวมันสำปะหลังเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.46 บาท เทียบกับเดือนก่อน กิโลกรัมละ 1.43 บาท สูงขึ้นร้อยละ 2.1 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 1.34 บาท สูงขึ้นร้อยละ 9.0 ราคาขายส่ง มันเส้นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.13 บาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 2.82 บาท สูงขึ้นร้อยละ 11.0 แต่เทียบกับเดือนก่อน กิโลกรัมละ 3.26 บาท ลดลงร้อยละ 4.0
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาขายส่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.84 บาท เท่ากับราคาเฉลี่ยของเดือนก่อน แต่ลดลงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน กิโลกรัมละ 5.14 บาท
2. การใช้จ่ายภาคเอกชน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน พิจารณาจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 686.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 62.7 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน 421.8 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในจังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา อุดรธานี อุบลราชธานี สุรินทร์ และมุกดาหาร เพิ่มขึ้น กิจการสำคัญที่ยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ โรงงานเบียร์ โรงงานสุรา โรงงานชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ ตัวแทนจำหน่ายสุรา-เบียร์ และห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น ปริมาณการใช้ไฟฟ้า ในที่อยู่อาศัย 305.0 ล้านหน่วย เทียบจากเดือนเดียวกันของปีก่อน 281.4 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4
การจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ชะลอตัว โดยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ 3,504 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน ของปีก่อน ร้อยละ 3.7 (ปีก่อนขยายตัวร้อยละ 47.9) และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 5,535 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 (ปีก่อนขยายตัว ร้อยละ 36.0) เนื่องจากผู้ซื้อระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ตามราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น ประกอบกับยอดจำหน่าย รถยนต์ในเดือนเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นมาก สำหรับรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ 36,782 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 เนื่องจากบริษัท เอกชนที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) ยังคงแข่งขันกันปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์มากขึ้น
3. การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนในภาคการค้า ภาคอุตสาหกรรม และการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น
ในด้านภาคการค้า มีการจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่จำนวน 305 ราย เงินทุน 554.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน เดียวกันของปีก่อนร้อยละ 35.6 และร้อยละ 24.0 ตามลำดับ ประเภทของธุรกิจที่สำคัญในเดือนนี้ได้แก่ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจรับจ้างขนส่ง โรงเรียนเอกชน ธุรกิจนำเข้าส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภค ในจังหวัดตามแนวชายแดน รวมถึงโรงงาน อุตสาหกรรม เช่น โรงสีข้าว ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ
ในเดือนนี้มีกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจำนวน 10 โครงการ เงินลงทุน 1,297 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก เดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 66.7 และร้อยละ 163.0 ตามลำดับ โดยโครงการส่วนใหญ่ยังเป็นโครงการทางด้านอุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมเบา ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของภาคฯ ได้แก่ กิจการเลี้ยงไก่เนื้อเป็นฟาร์มระบบปิด กิจการผลิต เสื้อผ้าสำเร็จรูป กิจการผลิตเครื่องประดับ กิจการผลิตพรม กิจการโรงแรม และกิจการโรงพยาบาล
การใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม 410.0 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ที่มีปริมาณการใช้ 377.5 ล้านหน่วย
4. ภาคการก่อสร้าง เดือนนี้มีพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร 164,906 ตารางเมตร ลดลงร้อยละ 10.4 จากเดือนก่อน 184,067 ตารางเมตร แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน 161,962 ตารางเมตร
พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 72.9 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา อาคารพาณิชย์สัดส่วนร้อยละ 20.3 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดขอนแก่น และเพื่อการบริการ เช่น หอประชุม ภัตตาคาร ร้อยละ 4.6 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดมุกดาหาร
จังหวัดนครราชสีมามีการขออนุญาตก่อสร้างมากที่สุดในภาคฯ 44,020 ตารางเมตร รองลงมาจังหวัดขอนแก่น 32,588 ตารางเมตร อุดรธานี 14,905 ตารางเมตร และอุบลราชธานี13,529 ตารางเมตร
5. การผลิตภาคอุตสาหกรรม การผลิตของอุตสาหกรรมที่สำคัญของภาคฯ ชะลอตัว เนื่องจากผลผลิตเกษตรที่เป็น วัตถุดิบลดลง ทั้งโรงงานน้ำตาล โรงงานเยื่อกระดาษ และโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง แต่อุตสาหกรรมเครื่องดื่มผลิตได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากการขยายกำลังการผลิต ตามการขยายตัวของตลาด
เดือนนี้โรงงานน้ำตาลในภาคฯได้ทำการเปิดหีบ โดยผลิตน้ำตาลได้ 694,900 ตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 15.5 ตามปริมาณวัตถุดิบที่ลดลง โรงงานคาดว่าปีนี้จะปิดหีบเร็วขึ้น
โรงงานแปรรูปมันสำปะหลังในเดือนนี้ผลิตได้ลดลง เนื่องจากผลผลิตยังออกสู่ตลาดไม่มาก โรงงานที่ตั้งอยู่ ตอนกลางของภาคฯ ในแถบจังหวัดกาฬสินธุ์ และขอนแก่น ต้องรับซื้อผลผลิตจากจังหวัดรอบข้าง เนื่องจากผลผลิตในพื้นที่มีน้อย
6. ภาคการจ้างงาน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ข้อมูลการสมัครงานภายในภาคฯ ลดลง แต่แรงงานที่ ขออนุญาตเดินทางไปทำงานในต่างประเทศกลับเพิ่มขึ้น
จากข้อมูลของศูนย์ข่าวสารตลาดแรงงานภาคฯ ตำแหน่งงานว่าง และผู้ได้รับการบรรจุเข้าทำงานเพิ่มขึ้น แต่ผู้สมัครงานผ่านหน่วยงานจัดหางานของรัฐมีจำนวนลดลง
1) เดือนนี้มีผู้สมัครงาน 3,596 คน เทียบกับเดือนก่อน ผู้สมัครงาน 3,736 คน และเดือนเดียวกันของปีก่อน ผู้สมัครงาน 4,271 คน ลดลงร้อยละ 3.7 และร้อยละ 15.8 ตามลำดับ
ผู้สมัครงานส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดขอนแก่น 357 คน ศรีสะเกษ 336 คน และอุบลราชธานี 297 คน ซึ่งมีอายุ ระหว่าง 18 -- 24 ปี วุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย อาชีพงานพื้นฐานต่าง ๆ ด้านการขายและการให้บริการ เช่น ผู้ช่วยงานบ้าน และพนักงานทำความสะอาด
2) ตำแหน่งงานว่าง 6,915 อัตรา เทียบกับเดือนก่อน ตำแหน่งงานว่าง 4,504 อัตรา และเดือนเดียวกันของปีก่อน ตำแหน่งงานว่าง 4,343 อัตรา เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.5 และร้อยละ 59.2 ตามลำดับ
ตำแหน่งงานว่างส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดหนองบัวลำภู 1,234 อัตรา กาฬสินธุ์ 878 อัตรา และขอนแก่น 785 อัตรา ซึ่งมีอายุระหว่าง 18 -24 ปี วุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย เป็นตำแหน่งงานว่างในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร และเครื่องดื่ม 3,058 อัตรา การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ 1,702 อัตรา
3) ผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงาน 1,365 คน เทียบกับเดือนก่อน 1,282 คน และเดือนเดียวกันของปีก่อน 327 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 และร้อยละ 317.4 ตามลำดับ
ผู้ได้รับการบรรจุเข้าทำงานส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ 185 คน ร้อยเอ็ด 150 คน และหนองคาย 144 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 18 - 24 ปี วุฒิการศึกษาประโยคประถมศึกษา อาชีพในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร และเครื่องดื่ม 541 คน การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ 439 คน
เดือนนี้อัตราส่วนการบรรจุเข้าทำงานต่อผู้สมัครงานคิดเป็นร้อยละ 38.0 และต่อตำแหน่งงานว่างคิดเป็นร้อยละ 19.7
ข้อมูลของสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ พอสรุปได้ดังนี้
สำหรับคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ขออนุญาตเดินทางไปทำงานในต่างประเทศเดือนนี้ 8,240 คน เพื่อไป ทำงานใน 64 ประเทศ จากคนไทยทั้งประเทศที่เดินทางไปทำงานใน 79 ประเทศ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 62.6 ของคนทั้งประเทศ 13,168 คน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3 จากเดือนก่อน 6,627 คน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.9 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน 6,295 คน
จังหวัดอุดรธานีมีคนไทยขออนุญาตเดินทางไปทำงานต่างประเทศมากที่สุดในภาคฯ 1,667 คน รองลงมาคือ นครราชสีมา 1,213 คน ขอนแก่น 723 คน บุรีรัมย์ 682 คน หนองคาย 602 คน และชัยภูมิ 568 คน
ไต้หวันเป็นประเทศที่คนไทยในภาคฯ เดินทางไปทำงานมากที่สุด 4,050 คน รองลงมาเป็นเกาหลีใต้ 1,414 คน สิงคโปร์ 843 คน กาตาร์ 371 คน บรูไน 316 คน ฮ่องกง 191 คน
เดือนนี้บริษัทจัดหางานเป็นผู้ส่งคนไทยในภาคฯไปทำงานในต่างประเทศมากที่สุด 3,431 คน รองลงมา คือ Re-entry 3,235 คน สำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคฯ จัดส่ง 783 คน เดินทางด้วยตนเอง 514 คน นายจ้างพาไปทำงาน 165 คน และนายจ้าง พาไปฝึกงาน 112 คน
คนไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศเดือนนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.4 จบประโยคประถมศึกษามากที่สุด รองลงมา จบประโยคมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 20.8 และประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ11.3
7. การค้าชายแดน
7.1 การค้าชายแดนไทย-ลาว เดือนมกราคม มูลค่าการค้า 2,648.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.5 เมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการค้า 1,748.3 ล้านบาท เป็นการส่งออก 1,948.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.3 และการนำเข้า 699.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.3 เท่า เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าทุกหมวด ยกเว้นหมวดวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ
การส่งออก 1,948.4 ล้านบาท สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น ๆ 333.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.2 เท่า ยานพาหนะและอุปกรณ์ 322.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่า สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน (น้ำปลา สบู่ ผงชูรส ผงซักฟอกฯลฯ ) 296.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 วัสดุก่อสร้าง 166.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.8 ผ้าผืน 47.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 53.0 เครื่องจักรและอุปกรณ์ (ยกเว้นเครื่องจักรไฟฟ้า) 44.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.8 เท่า สินค้าส่งออกที่ลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ ไฟฟ้า 98.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.9 เหล็กและเหล็กกล้า 54.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.02 เคมีภัณฑ์ 12.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 61.8 อุปกรณ์ตัดเย็บ 8.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 30.2 ผลิตภัณฑ์โลหะ (ฝาจีบ อลูมิเนียม) 2.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 62.6 เครื่องแต่งกายและ รองเท้า เดือนนี้ไม่มีการส่งออก ขณะที่เดือนเดียวกันของปีก่อน มีการส่งออก 1.6 ล้านบาท
การนำเข้า 699.7 ล้านบาท สินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ สินแร่ 326.8 ล้านบาท ซึ่งเดือนเดียวกันของปีก่อน นำเข้าเพียง 3.2 ล้านบาท สินแร่ที่นำเข้าคือทองแดง เนื่องจากมีการทำเหมืองทองแดงใน สปป. ลาว ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 219.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.9 ของป่า 102.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.9 เท่า สินค้านำเข้าที่ลดลง ได้แก่ พืชไร่ 28.8 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 53.6 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 7.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 84.2
7.2 การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา เดือนนี้มูลค่าการค้า 2,547.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.3 โดยเป็นการส่งออก 2,472.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 การนำเข้า 75.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 26.1
การส่งออก สินค้าส่งออกที่สำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานพาหนะและส่วนประกอบ 548.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก เดือนเดียวกันของปีก่อนกว่าเท่าตัว เครื่องแต่งกายและรองเท้า 240.0 ล้านบาท (เดือนเดียวกันของปีก่อน ส่งออกเพียง 12.5 ล้านบาท) เครื่องดื่ม 232.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 88.0 ปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่นๆ 230.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.5 และน้ำตาล 209.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.2 ส่วนสินค้าส่งออกที่ลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 39.2 ล้านบาท ลดลงเกือบ 6 เท่า และ เครื่องจักรกลการเกษตร 0.2 ล้านบาท ในขณะที่ปีก่อนมีการส่งออก 36.2 ล้านบาท การนำเข้า สินค้านำเข้าที่สำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ พืชไร่ 5.4 ล้านบาท ในขณะที่เดือนเดียวกันของปีก่อนไม่มี การนำเข้า ส่วนสินค้าที่ลดลง ได้แก่ เสื้อผ้าเก่า/ผ้าห่มเก่า 18.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.3 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 1.6 ล้านบาท ลดลงถึง ร้อยละ 95.4
8. ภาคการเงิน ธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นมกราคมปี 2549 สาขาธนาคารพาณิชย์เปิดดำเนินการในภาคฯ ทั้งสิ้น 524 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 75 สำนักงาน)
จากข้อมูลเบื้องต้นธนาคารพาณิชย์ในภาคฯมีเงินฝากคงค้าง 313,540 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 จากเดือน เดียวกันของปีก่อนที่มีเงินฝากคงค้าง 288,740 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า เงินฝากคงค้าง 312,745 ล้านบาท เนื่อง จากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงขึ้นมีส่วนจูงใจผู้ฝากเงิน ส่วนใหญ่เป็นผู้ฝากรายย่อย ในด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 276,408 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.2 จากมกราคมปีก่อนที่มีสินเชื่อคงค้าง 237,823 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อนหน้า สินเชื่อคงค้าง 273,050 ล้านบาท
สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ขยายตัวมากที่สุด รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมธัญพืช และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ส่วนบุคคล ส่วนสินเชื่อที่มียอดคงค้างลดลง ได้แก่ สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ และสินเชื่อเพื่อการบริการ ฯลฯ
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์เดือนนี้ปรับสูงขึ้นทั้งด้านเงินฝากและสินเชื่อ ด้านเงินฝาก
- เงินฝากออมทรัพย์ ร้อยละ 0.75-3.00 ต่อปี (เดือนก่อนร้อยละ 0.50-4.00 ต่อปี)
- เงินฝากประเภท 3 เดือน ร้อยละ 2.50-4.00 ต่อปี (เดือนก่อนร้อยละ 2.00-3.50 ต่อปี)
- เงินฝากประเภท 6 เดือนร้อยละ 2.75-4.25 ต่อปี (เดือนก่อนร้อยละ 2.25-3.75 ต่อปี)
- เงินฝากเงินฝากประเภท 12 เดือนร้อยละ 3.00-4.25 ต่อปี (เดือนก่อนร้อยละ 2.50-4.00 ต่อปี)
ด้านสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นทุกประเภท ได้แก่
- MLR ร้อยละ 6.75-7.30 ต่อปี (เดือนก่อนร้อยละ 6.50-7.00 ต่อปี)
- MOR ร้อยละ 7.00-7.75 ต่อปี (เดือนก่อนร้อยละ 6.75-7.50 ต่อปี)
- MRR ร้อยละ 7.25-8.00 ต่อปี (เดือนก่อนร้อยละ 7.00-7.75 ต่อปี)
ปริมาณการใช้เช็ค
เดือนนี้ปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีในภาคฯ 274,234 ฉบับ ลดลงร้อยละ 4.1 จากมกราคมปีก่อนที่มีการ ใช้เช็ค 285,968 ฉบับ ในขณะที่จำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คทั้งสิ้น 45,518.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เทียบกับมกราคมปีก่อนที่มี มูลค่าที่สั่งจ่าย 41,244.7 ล้านบาท ทั้งนี้จำนวนฉบับที่ลดลง เนื่องจากธนาคารสมาชิกมีการเปลี่ยนวิธีการเรียกเก็บไปใช้ระบบเรียกเก็บที่ ส่วนกลาง แทนการส่งไปเรียกเก็บที่สำนักหักบัญชีในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น ในขณะที่มูลค่าเช็คที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากคู่ค้าที่เป็นรายใหญ่มีการ สั่งจ่ายเช็คที่มีมูลค่าสูงเพิ่มขึ้น จังหวัดที่มีมูลค่าการใช้เช็คสูงที่สุดในภาคฯ คือ นครราชสีมา รองลงมาได้แก่ ขอนแก่น อุดรธานี ร้อยเอ็ด และสุรินทร์ สำหรับปริมาณเช็คคืนทั้งสิ้น 5,738 ฉบับ ลดลงร้อยละ 1.1 จากเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีปริมาณเช็คคืน 5,805 ฉบับ แต่จำนวนเงินที่สั่งจ่าย 1,159.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 จากปีก่อนที่มีการสั่งจ่าย 953.0 ล้านบาท ทำให้สัดส่วน จำนวนเงินตามเช็คคืนทั้งสิ้นต่อเช็คเรียกเก็บเดือนนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 จากมกราคมปีก่อนเป็นร้อยละ 2.5 ในเดือนนี้
เช็คคืนเพราะไม่มีเงินมีทั้งสิ้น 3,727 ฉบับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ที่มีเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน 3,539 ฉบับ และจำนวนเงิน ที่สั่งจ่ายตามเช็คดังกล่าวมีทั้งสิ้น 520.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.1 จากมกราคมปีก่อนที่มีการสั่งจ่าย 287.4 ล้านบาท ทำให้สัดส่วน จำนวนเงินเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.7 ในเดือนมกราคมปีก่อนเป็นร้อยละ 1.1 ในเดือนนี้ จังหวัดที่มีอัตราส่วนของจำนวนเงินที่สั่งจ่ายในเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บสูงสุด คือ มุกดาหาร ร้อยละ 3.3 รองลงมา ได้แก่ อุบลราชธานี ร้อยละ 2.4 นครราชสีมา ร้อยละ 1.7 และอุดรธานี ร้อยละ 1.7
9. การคลังรัฐบาล เดือนนี้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ และด่านศุลกากรในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ สามารถจัดเก็บภาษีอากรรวมทั้งสิ้น 2,345.2 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 1,527.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 53.6
สำนักงานสรรพากรพื้นที่ในภาคฯ จัดเก็บภาษีอากรรวม 1,349.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.8 เมื่อเทียบกับเดือน เดียวกันของปีก่อน 1,016.6 ล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 686.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 62.7 จากเดือนเดียวกันของ ปีก่อนจัดเก็บได้ 421.8 ล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากโรงงานเบียร์ โรงงานสุรา โรงงานชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ ตัวแทนจำหน่ายสุรา-เบียร์ และห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น และการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 321.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.1 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน 300.1 ล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเงินได้จากเงินค่าตอบแทนพิเศษของ พนักงานในภาคเอกชนเพิ่มขึ้น และภาษีเงินได้นิติบุคคล 127.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 ตามผลประกอบการที่ดีขึ้นของภาคธุรกิจ โดย เฉพาะอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ การคืนภาษี 78.2 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 141.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 44.8 เนื่องจากการคืน ภาษีมูลค่าเพิ่ม 70.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 44.3 และการคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล 5.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 60.3 ส่วนการคืนภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา 2.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ในภาคฯ จัดเก็บภาษีอากรรวม 985.9 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 502.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 96.2 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีสุรา 960.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 98.1 และภาษีเครื่องดื่มจัดเก็บได้ 15.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.6 ส่วนการจัดเก็บภาษีรถยนต์ 18,312 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งจัดเก็บได้ถึง 764,550 บาท ด่านศุลกากรในภาคฯ จัดเก็บอากรขาเข้ารวม 9.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.5 ด่านศุลกากรสำคัญที่จัดเก็บอากร ขาเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ด่านศุลกากรมุกดาหาร 3.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5 ด่านศุลกากรพิบูลมังสาหาร 1.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 111.1 ด่านศุลกากรหนองคาย 1.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 และด่านศุลกากรเขมราฐ 0.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7 เท่า ส่วนด่านศุลกากรเชียงคาน 0.5 ล้านบาท และด่านศุลกากรบึงกาฬ 0.1 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 70.6 และลดลงร้อยละ 40.3 ตามลำดับ
10. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในภาคฯ เดือนนี้สูงขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.4 และสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.3 หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.5 แต่สูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.2 สินค้าที่มีราคาสูงขึ้นมาก ได้แก่ ผักสด เป็ด ไก่ และเนื้อสัตว์ ส่วนสินค้าที่มีราคาลดลง ได้แก่ ข้าวและไข่ หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.8 และสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.9 สินค้าที่มีราคาสูงขึ้นมาก คือ สินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 14.6 ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าโดยสารสาธารณะในและนอกท้องถิ่น และสินค้าในหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 9.2 โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ ยาสูบ ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ในภาคฯเดือนนี้สูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.1 และสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.3