สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดือนพฤษภาคม 2549

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 3, 2006 17:55 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

          เดือนพฤษภาคม 2549 เป็นช่วงฤดูการผลิตพืชสำคัญในภาคฯ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังรอดูสถานการณ์ต้นทุน การผลิต ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ยังเข้มงวดในการอำนวยสินเชื่อรายใหม่มากขึ้น ภาวะการจ้างงานในภาคฯ ซบเซา แต่มีผู้สนใจ ขอเดินทางไปทำงานในต่างประเทศเพิ่มขึ้น ภาวะการค้าชายแดนคึกคักขึ้นทั้งด้านลาวและกัมพูชา
1. ภาคการเกษตร
ผลผลิตข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ออกสู่ตลาดน้อย ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล ราคาข้าวเปลือก และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ราคามันสำปะหลังลดลง
ข้าว ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย กอปรกับความต้องการของโรงสียังมีอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกปรับตัว สูงขึ้น โดยราคาขายส่งข้าวเปลือกเจ้า 5% เฉลี่ยเกวียนละ 8,362 บาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนราคาเกวียนละ 7,819 บาท สูงขึ้นร้อยละ 6.9 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนราคาเกวียนละ 8,240 บาท สูงขึ้นร้อยละ 1.5 ราคาขายส่งข้าวเปลือกเหนียว 10% (เมล็ดยาว) เฉลี่ยเกวียนละ 7,349 บาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเกวียนละ 6,056 บาท และเดือนก่อนราคาเกวียนละ 7,094 บาท สูงขึ้นร้อยละ 21.3 และร้อยละ 3.6 ตามลำดับ
มันสำปะหลัง แม้ผลผลิตยังออกสู่ตลาดน้อย แต่ลานมันหยุดรับซื้อ เพราะมีอุปสรรคจากฝน รวมทั้งผู้ประกอบการยังมีสต็อกมาก ส่งผลให้ราคามันสำปะหลังและผลตภัณฑ์ลดลง โดยราคาขายส่งหัวมันสำปะหลังเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.14 บาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนกิโลกรัมละ 1.48 บาท ลดลงร้อยละ 23.0 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนกิโลกรัมละ 1.23 บาท ลดลง ร้อยละ 7.3 ราคาขายส่งมันเส้นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.86 บาท เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนราคากิโลกรัมละ 3.40 บาท และ เดือนก่อนราคากิโลกรัมละ 2.94 บาท ลดลงร้อยละ 15.9 และร้อยละ 2.7 ตามลำดับ
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย กอปรกับผู้ส่งออกและโรงงานอาหารสัตว์เร่งซื้อผลผลิตเพื่อสร้างสต็อก ส่งผลให้ราคาขายส่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงขึ้นร้อยละ 19.0 จากเดือนเดียวกันของปีกอนราคากิโลกรัมละ 5.15 บาท เป็นกิโลกรัมละ 6.13 บาท และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนราคากิโลกรัมละ 5.36 บาท สูงขึ้นร้อยละ 14.4
2. การใช้จ่ายภาคเอกชน ขยายตัวจากเดือนเดียวกันของปีก่อน เห็นได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 622.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 44.7 จากเดือนเดียวกันของปีก่อนจัดเก็บได้ 430.3 ล้านบาท เนื่องจากตัวแทนจำหน่ายเบียร์ - สุรา โรงงานผลิตอาหารสัตว์ โรงงานแป้งมันสำปะหลัง โรงงานน้ำตาล และห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่มียอดจำหน่ายสูงขึ้น
การจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคล 3,089 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 5,909 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 เนื่องจากผู้จำหน่ายรถยนต์แข่งขันกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย และมีการนำรถรุ่นใหม่ออกสู่ตลาด ปริมาณ การจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ 45,027 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 เนื่องจากการแข่งขันปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของ ธุรกิจเอกชนที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในที่อยู่อาศัย 421.0 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.6 3. การลงทุนภาคเอกชน เดือนนี้แม้ว่าผู้ประกอบการส่วนหนึ่งยังรีรอที่จะลงทุนใหม่ ธนาคารพาณิชย์เข้มงวด ในการพิจารณาการอำนวยสินเชื่อมากขึ้น แต่มีผู้สนใจขอรับการส่งเสริมการลงทุนมากขึ้นอย่างน่าสังเกต โดยมีกิจการที่ได้รับอนุมัติ
ส่งเสริมการลงทุนจำนวน 13 โครงการ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 37.5 ใช้เงินลงทุน 6,887.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 11 เท่า จากเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีการลงทุนขนาดใหญ่ในหมวดอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้แก่ โครงการผลิต HEAD GIMBAL ASSEMBLY (HGA) เงินทุน 3,371.2 ล้านบาท และ โครงการผลิต HEAD STACK ASSEMBLY (HAS) เงินทุน 1,165.6 ล้านบาท ของบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด นอกจากนี้ ยังมีหมวดอุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผล ทางการเกษตร ได้แก่ โครงการผลิตข้าวสารคัดคุณภาพ โครงการผลิตแป้งแปรรูป โครงการเลี้ยงสัตว์ และโครงการผลิตก๊าซชีวภาพ และหมวดอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง ได้แก่ โครงการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับ งานอุตสาหกรรม และโครงการผลิตลูกสูบสำหรับยานพาหนะ
ภาคการค้ามีการจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่จำนวน 237 ราย ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.7 แต่ใช้เงินทุน 717.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 36.7 ประเภทของธุรกิจที่สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ ธุรกิจ รับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจค้าปลีก - ค้าส่ง และธุรกิจซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
การใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม 484.0 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.6
4. ภาคการก่อสร้าง
เดือนนี้มีพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครของภาคฯ 181,408 ตารางเมตร เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 186,209 ตารางเมตร ลดลงร้อยละ 2.6 ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 74.4 ของพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างทั้งภาคฯ รองลงมาเป็นอาคารพาณิชย์สัดส่วนร้อยละ 19.5
จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างมากที่สุดในภาคฯ 40,234 ตารางเมตร และหนองบัวลำภู 25,318 ตารางเมตร ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัย สำหรับพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในจังหวัดขอนแก่น 25,632 ตารางเมตรส่วนใหญ่เป็น อาคารพาณิชย์
5. การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนนี้โรงงานน้ำตาลปิดหีบแล้ว โรงงานแปรรูปมันสำปะหลังผลิตได้ลดลง เนื่องจากวัตถุดิบมีน้อย และมีอุปสรรคจากฝนตกชุก แต่การผลิตในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มยังขยายตัวสูง
ในเดือนนี้โรงงานน้ำตาลในภาคฯ ภายหลังที่ได้ทำการปิดหีบตั้งแต่เดือนเมษายน ยังมีโรงงาน บางส่วนทำการผลิตต่อเนื่องโดยแปรสภาพน้ำตาลทรายดิบ เป็นน้ำตาลชนิดต่าง ๆ
โรงงานแปรรูปมันสำปะหลังทำการผลิตได้ลดลง เนื่องจากเป็นปลายฤดูการผลิต ปริมาณหัวมันมีน้อย โดยเฉพาะลานมันเส้น ได้รับผลกระทบจากฝนตกชุก อีกทั้งสต็อกสินค้ายังมีอยู่มาก
อุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่มขยายตัวดี ตามการเพิ่มกำลังการผลิตของโรงงานในปีนี้
6. ภาคการจ้างงาน ภาวะการจ้างงานในภาคฯ ซบเซา แต่คนไทยในภาคฯ ขออนุญาตเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ
เพิ่มขึ้น
จากข้อมูลของศูนย์ข่าวสารตลาดแรงงานภาคฯ พบว่า
1) เดือนนี้มีผู้สมัครงาน 6,224 คน เทียบกับเดือนก่อนผู้สมัครงาน 7,797 คน ลดลงร้อยละ 20.2 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนผู้สมัครงาน 13,597 คน ลดลงร้อยละ 54.2
ผู้สมัครงานส่วนใหญ่อายุระหว่าง 18 — 24 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาทั้งตอนต้นและตอนปลาย มีความสนใจอาชีพผู้ช่วยงานบ้าน และพนักงานทำความสะอาด ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ร้อยเอ็ด และขอนแก่น
2) มีตำแหน่งงานว่าง 7,149 อัตรา เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 7,539 อัตรา ลดลงร้อยละ 5.2
ตำแหน่งงานว่างส่วนใหญ่ เป็นตำแหน่งงานในภาคการผลิตอาหาร และเครื่องดื่มมากที่สุด 2,878 อัตรา
รองลงมาเป็นตำแหน่งงานในภาคการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ 1,779 อัตรา ส่วนใหญ่เป็นความต้องการจาก จังหวัดสุรินทร์ หนองบัวลำภู และมุกดาหาร
3) มีผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้าทำงาน 2,447 คน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 2,650 คน ลดลงร้อยละ 7.7
จังหวัดนครราชสีมามีผู้ได้รับการบรรจุเข้าทำงานมากที่สุดในภาคฯ 467 คน รองลงมาเป็นจังหวัดร้อยเอ็ด 347 คน และศรีสะเกษ 238 คน ส่วนใหญ่เป็นงานในโรงงานผลิตอาหารและเครื่องดื่ม 1, 310 คน ในธุรกิจการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ 593 คน
อัตราส่วนการบรรจุงานต่อผู้สมัครงานคิดเป็นร้อยละ 39.3 และอัตราส่วนการบรรจุงานต่อตำแหน่งงานว่าง คิดเป็นร้อยละ 34.2
จากข้อมูลของสำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ พบว่าเดือนนี้ คนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือขออนุญาตเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ 7,879 คน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59.7 ของคนไทยที่ขออนุญาตจากทั้งประเทศ 13,194 คน) เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 7,264 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5
จังหวัดอุดรธานีมีคนไทยขออนุญาตเดินทางไปทำงานต่างประเทศมากที่สุดในภาคฯ 1,573 คน รองลงมาเป็น นครราชสีมา 1,200 คน ขอนแก่น 783 คน หนองคาย 590 คน ชัยภูมิ 555 คน และบุรีรัมย์ 530 คน
ไต้หวันเป็นประเทศที่คนไทยในภาคฯ เดินทางไปทำงานมากที่สุด 3,400 คน รองลงมาเป็นสิงคโปร์ 1,031 คน เกาหลีใต้ 580 คน อิสราเอล 507 คน กาตาร์ 380 คน และบรูไน 315 คน
เดือนนี้คนไทยในภาคฯ เดินทางโดยวิธีการเดินทางโดยบริษัทฯ จัดส่งมากที่สุด 3,346 คน รองลงมาเปนวิธี RE-ENTRY 2,913 คน เดินทางด้วยตนเอง 716 คน สำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคฯ จัดส่ง 448 คน นายจ้างพาไปทำงาน 266 คน และนายจ้างพาไปฝึกงาน 180 คน
7. การค้าชายแดน
ภาวะการค้าชายแดนคึกคักทั้งด้านลาวและกัมพูชา สินค้าไทยยังเป็นที่ต้องการของคนลาวและกัมพูชา ขณะที่ สินค้านำเข้าจากลาวส่วนใหญ่เป็นสินแร่ และการนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้จากกัมพูชาจำนวนมาก
7.1 การค้าชายแดนไทย-ลาว มีมูลค่าการค้า 3,343.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่าการค้า 2,455.7 ล้านบาท โดยเป็นการส่งออก 2,473.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 และการนำเข้า 870.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.1 เท่า
การส่งออก เพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงอื่น ๆ 464.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8 ยานพาหนะและอุปกรณ์ 323.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 วัสดุก่อสร้าง 222.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.1 เหล็กและเหล็กกล้า 95.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.9 เครื่องดื่ม สุรา น้ำส้มสายชู 75.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.6 เท่า สินค้าอุปโภคบริโภคส่งออก 330.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.1 เครื่องใช้ไฟฟ้า 145.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.0
การนำเข้า มีการนำเข้าสินแร่ 454.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 4.9 เท่า ในขณะที่เดือนเดียวกันของปีก่อน นำเข้าเพียง 76.9 ล้านบาท ส่วนใหญ่นำเข้าผ่านด่านศุลกากรพิบูลมังสาหาร และด่านศุลกากรมุกดาหาร พืชไร่ 92.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าข้าวโพดผ่านด่านศุลกากรท่าลี่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ 43.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.9 เท่า เป็นการนำเข้าเครื่องจักรเก่าที่เสร็จสิ้นการใช้งานแล้ว ส่วนสินค้านำเข้าที่ลดลงได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 13.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 26.6 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 251.6 ล้านบาทลดลงร้อยละ 2.5
7.2 การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา เดือนพฤษภาคม 2549 มีมูลค่าการค้า 3,251.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก เดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 21.7 โดยเป็นการส่งออก 3,117.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7 และการนำเข้า 134.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.0
การส่งออก สินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นเกือบทุกหมวด ยกเว้นสินค้าในหมวดน้ำมันปิโตรเลียม เชื้อเพลิงอื่น ๆ ส่งออก 139.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 53.0 เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 56.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 58. ทั้งนี้สินค้าส่งออกที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยานพาหนะ และส่วนประกอบ 451.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.4 น้ำตาล 352.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.4 วัสดุก่อสร้าง 287.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เครื่องแต่งกายและรองเท้า 205.5 ล้านบาท (ระยะเดียวกันของปีก่อนมีการส่งออกเพียง 4.4 ล้านบาท) สิ่งทอ 193.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.8 เครื่องดื่ม 166.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.0 และเคมีภัณฑ์ 73.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.4
การนำเข้า สินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้นเกือบทุกหมวด ได้แก่ ไม้ และผลิตภัณฑ์ไม้ (รวมหวาย) ซึ่งส่วนใหญ่เป็น ไม้แปรรูป 16.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.5 เดือนนี้มีการนำเข้าพริกแห้ง 0.2 ล้านบาท ซึ่งระยะเดียวกันของปีก่อนไม่มการนำเข้า เป็นที่น่าสังเกตว่ามีการนำเข้าเสื้อผ้าเก่า/ผ้าห่มเก่าเพียง 23.0 ล้านบาท ลดลงถึงร้อยละ 44.0
8. ภาคการเงิน
ธนาคารพาณิชย์
สาขาธนาคารพาณิชย์เปิดดำเนินการในภาคฯ ทั้งสิ้น 535 สำนักงาน เพิ่มขึ้น 2 สำนักงาน จากเดือนเมษายน คือ ธนาคาร ธนชาต จำกัด (มหาชน) สาขาสุรินทร์ และสาขาหนองคาย
จากข้อมูลเบื้องต้น ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2549 เงินฝากคงค้าง 326,514 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 จากเดือนเดียวกันของปีก่อนเงินฝากคงค้าง 299,278 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากเดือนก่อนเงินฝากคงค้าง 324,215 ล้านบาท สินเชื่อคงค้าง 279,295 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 จากเดือนเดียวกันของปีก่อนสินเชื่อคงค้าง 246,499 ล้านบาท และเมื่อเทียบกับเดือนเมษายนสินเชื่อคงค้าง 276,717 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เนื่องจากผู้ประกอบการชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้น และธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อสำหรับลูกค้ารายย่อยที่มีความเสี่ยงสูง
สินเชื่อที่มีการขยายตัว ได้แก่ สินเชื่อเพื่อการค้าส่งและค้าปลีก สินเชื่อการอุปโภคส่วนบุคคล ฯลฯ ส่วนสินเชื่อที่มียอดคงค้างลดลง ได้แก่ สินเชื่อเพื่อการก่อสร้าง สินเชื่อการบริการ ฯลฯ
อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเดือนนี้สูงขึ้น จากร้อยละ 82.4 ในเดือนพฤษภาคมปีก่อนเป็นร้อยละ 85.5 ในเดือนนี้
เดือนนี้ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ มีการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภท 6 เดือนและ 12 เดือนสูงขึ้น แต่ประเภท 3 เดือนลดลง ส่วนอัตราดอกเบี้ยด้านสินเชื่อไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน
ด้านเงินฝาก
- เงินฝากออมทรัพย์ ร้อยละ 0.75 ต่อปี (เท่ากับเดือนก่อน)
- เงินฝากประเภท 3 เดือน ร้อยละ 3.00 - 5.00 ต่อปี (เดือนก่อนร้อยละ 3.00 - 5.125 ต่อปี)
- เงินฝากประเภท 6 เดือนร้อยละ 3.25 - 5.15 ต่อปี (เดือนก่อนร้อยละ 3.25 - 5.125 ต่อปี)
- เงินฝากประเภท 12 เดือนร้อยละ 3.50 - 5.40 ต่อปี (เดือนก่อนร้อยละ 3.50 - 5.25 ต่อปี)
ด้านสินเชื่อ (ไม่เปลี่ยนแปลง)
ร้อยละ 7.50-8.25 ต่อปี - MLR
- MOR ร้อยละ 7.75-8.50 ต่อปี
- MRR ร้อยละ 8.00-9.00 ต่อปี
- สูงสุดร้อยละ 12.00-28.00 ต่อปี
ปริมาณการใช้เช็ค
เดือนนี้ปริมาณการใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชีในภาคฯ 314,174 ฉบับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 จากเดือนเดียวกัน ของปีก่อน ที่มีการใช้เช็ค 303,464 ฉบับ จำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คทั้งสิ้น 51,523.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.7 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ที่มีการสั่งจ่าย 43,759.4 ล้านบาท หรือเฉลี่ยเช็คสั่งจ่ายฉบับละ 163,996 บาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เฉลี่ยฉบับละ 144,200 บาท
ปริมาณเช็คคืนทั้งสิ้น 6,627 ฉบับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ที่มีปริมาณเช็คคืนทั้งสิ้น 6,528 ฉบับ จำนวนเงินที่สั่งจ่าย 1,547.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.5 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวนเงินที่สั่งจ่าย 1,159.2 ล้านบาท ทำให้อัตราส่วนจำนวนเงินเช็คคืนทั้งสิ้นต่อเช็คเรียกเก็บจากร้อยละ 2.6 ในเดือนเดียวกันของปีก่อนเป็นร้อยละ 3.0 ในเดือนนี้
เช็คคืนเพราะไม่มีเงินมีทั้งสิ้น 4,176 ฉบับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ที่มีเช็คคืนเพราะ ไม่มีเงิน 4,038 ฉบับ จำนวนเงินที่สั่งจ่ายตามเช็คดังกล่าวมีทั้งสิ้น 747.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 69.5 จากเดือนเดียวกันของปีก่อนที่มีการสั่งจ่าย 441.1 ล้านบาท ทำให้อัตราส่วนจำนวนเงินเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บจากร้อยละ 1.0 ในเดือนเดียวกัน ของปีก่อนเป็นร้อยละ 1.5 ในเดือนนี้ โดยจังหวัดอุดรธานีมีอัตราส่วนจำนวนเงินเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บสูงสุดร้อยละ 9.1
9. ภาคการคลัง เดือนนี้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ และด่านศุลกากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดเก็บภาษีอากรรวม 3,536.1 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 2,746.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.8
สำนักงานสรรพากรพื้นที่ในภาคฯ จัดเก็บภาษีอากรรวม 2,473.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 1,990.3 ล้านบาท เนื่องจากมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 622.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 44.7 จากเดือนเดียวกันของปีก่อนจัดเก็บได้ 430.3 ล้านบาท เป็นผลจากโรงงานผลิตและตัวแทนจำหน่ายเบียร์ - สุรา โรงงานผลิตอาหารสัตว์ โรงงานแป้งมันสำปะหลัง โรงงานน้ำตาล และห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นมากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 440.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.2 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน 335.3 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการจัดเก็บภาษีเงินได้จากผู้เสียภาษีขอผ่อนชำระภาษีในเดือนมีนาคมมาชำระภาษีในเดือนนี้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล 1,193.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน 1,052.0 ล้านบาท เนื่องจากภาคธุรกิจมีผลประกอบการดีขึ้น โดยเฉพาะโรงงานผลิตเมล็ดพันธุ์พืช ตัวแทนจำหน่ายเบียร์ - สุรา โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 42.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น1.5 เท่า จากเดือนเดียวกันของปีก่อน 16.9 ล้านบาท แต่ภาษีอากรแสตมป์จัดเก็บได้ 60.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.4 จากเดือนเดียวกันของปีก่อนเก็บภาษีได้ 62.0 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 150.9 ล้านบาท
การคืนภาษี 157.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เนื่องจากการคืนภาษีธุรกิจเฉพาะ 6.7 ล้านบาท (เดือนเดียวกันของปีก่อนคืนภาษีเพียง 10,340 บาท) แต่การคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 14.5 ล้านบาท และการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 133.1 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.4 และร้อยละ 1.5 ตามลำดับ
สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ในภาคฯ จัดเก็บภาษีอากรรวม 1,052.9 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 748.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.7 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีสุรา 1,029.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.2 ภาษีสถานบริการ 3.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.7และภาษียาสูบ 1.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 แต่การจัดเก็บภาษีเครื่องดื่ม 14.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 12.1 และภาษีเครื่องใช้ไฟฟ้า 90,677 บาท ลดลงร้อยละ 45.0
ด่านศุลกากรในภาคฯ จัดเก็บอากรขาเข้ารวม 9.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 7.6 ล้านบาท ด่านศุลกากรที่จัดเก็บอากรขาเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ด่านศุลกากรพิบูลมังสาหาร 4.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 108.0 ด่านศุลกากรมุกดาหาร 2.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 102.4 และด่านศุลกากรหนองคายจัดเก็บได้ 1.9 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 ส่วนด่านศุลกากรนครพนม 0.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 68.3 และด่านศุลกากรเขมราฐ 0.2 ล้านบาทลดลงร้อยละ 56.5
10. ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ในภาคฯ เดือนนี้สูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.7 และสูงขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.6 เนื่องจากระดับราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นเกือบทุกรายการ
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.0 โดยเฉพาะสินค้าในหมวดผัก และผลไม้สูงขึ้นถึงร้อยละ 30.8 และสินค้าในประเภทอื่น ๆ ที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์น้ำตาล ปลาและสัตว์น้ำ อาหารสำเร็จรูป ในขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลงมาก ได้แก่ ไข่ ลดลงร้อยละ10.5
หมวดอื่น ๆ ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 6.6 สินค้าที่มีราคา สูงขึ้นมาก ได้แก่ สินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 12.9 โดยเฉพาะค่าโดยสารสาธารณะ และน้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าในหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 9.3 เนื่องจากการปรับราคาผลิตภัณฑ์ยาสูบตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 เป็นสำคัญ
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ในภาคฯเดือนนี้สูงขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.6

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ