แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคเหนือเดือนพฤษภาคม 2549

ข่าวเศรษฐกิจ Saturday June 3, 2006 17:22 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

          เดือนพฤษภาคม 2549 เศรษฐกิจภาคเหนือโดยรวมปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน ด้านอุปสงค์ มูลค่าการส่งออก และนำเข้าเพิ่มขึ้นมากจากเดือนก่อน การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน แต่ภาวะการลงทุนภาคเอกชนยังซบเซาต่อเนื่อง ด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรขยายตัวในเกณฑ์ชะลอลง การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว ในเกณฑ์ดี ภาคบริการชะลอตัวตามฤดูกาล ดัชนีราคาผู้บริโภคเร่งตัวขึ้นตามราคาน้ำมันเป็นสำคัญ ส่วนเงินฝากและสินเชื่อขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร รายได้ของเกษตรกรเดือนพฤษภาคม 2549 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 8.1 ต่ำกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เดือนก่อนหน้า โดยราคาพืชผลสำคัญสูงขึ้นร้อยละ 4.8 ต่ำกว่าที่สูงขึ้นร้อยละ 6.5 เดือนก่อนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเขียวผิวมันมีราคาสูงขึ้นร้อยละ 10.2 และร้อยละ 19.2 ตามลำดับ ลิ้นจี่คละสูงขึ้นร้อยละ 27.1 เนื่องจากผลผลิตลดลง ทางด้านมันสำปะหลังราคาลดลงร้อยละ 20 เนื่องจากมีผลผลิตออกสู่ตลาดมากและตลาดชะลอการรับซื้อส่วนข้าวเปลือกเจ้านาปรังมีราคาใกล้เคียงกับระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับผลผลิตพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ตามผลผลิตข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง ถั่วเขียว และถั่วลิสง ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ร้อยละ 16.3 ร้อยละ 2.0 และร้อยละ 2.4 ตามลำดับ
เนื่องจากราคาปีก่อนจูงใจให้เกษตรกรขยายการผลติ ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงรอ้ ยละ 0.8 จากการปรบั เปลยี่นไปปลูกพืชอื่น และลิ้นจี่ลดลงร้อยละ 7.1 เนื่องจากผลผลิตเสียหายจากฤดูฝนที่มาเร็วและมากกว่าปกติ
2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.9 เป็น 175.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 2.2 เดือนก่อน ตามมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นของสินค้าประเภทฮาร์ดดิสต์ไดร์ฟ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า และเลนส์
สำหรับกล้องถ่ายรูป โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.8 ร้อยละ 11.3 และร้อยละ 8.4 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกทรานฟอร์เมอร์และมอเตอร์ ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน สำหรับการผลิตวัสดุก่อสร้างลดลงร้อยละ 10.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 เดือนก่อน ตามการก่อสร้างที่ลดลง
3. ภาคบริการ ภาคบริการชะลอตัวลงตามฤดูกาล ประกอบกับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศบางส่วนได้เลื่อนการเดนิทางมาไทยจากความกงัวลในสถานการณก์ารเมอืงช่วงก่อนหน้า ขณะทกี่ารประชุม สัมมนาของสว่นราชการลดลงในช่วงนี้ เครื่องชี้สำคัญของภาคบริการ ได้แก่ อัตราการเข้าพักเฉลี่ยร้อยละ 37.9 ลดลงจากอัตราเฉลี่ยร้อยละ 46.5 เดือนก่อน ราคาห้องพักเฉลี่ยลดลงร้อยละ 2.2 เหลือ 779.2 บาทต่อคืน สำหรับจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เป็น 291,600 คน สูงกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เดือนก่อน ทางด้านการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 สูงกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 เดือนก่อน
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เดือนพฤษภาคม 2549 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนของภาคเหนือ ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 เท่ากับเดือนก่อน ส่วนเครื่องชี้ทางด้านยานพาหนะเพิ่มขึ้นตามปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ลดลงเดือนก่อน โดยปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.2 เนื่องจากผู้ประกอบการสามารถส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้มากขึ้น ส่วนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเร่งซื้อรองรับความต้องการใช้ในช่วงเปิดภาคการศึกษาใหม่ ขณะที่มีสินค้าใหม่ออกสู่ตลาดมากขึ้น
5. การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชนในภาคเหนืออยู่ในภาวะซบเซาต่อเนื่องจากเดือนก่อน ทั้งนี้พิจารณาจากเครื่องชี้สำคัญ ได้แก่ ยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.5 ค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.5 และมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักรและส่วนประกอบลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.6 ทางด้านการลงทุนที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนลดลงร้อยละ 50.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน
อย่างไรก็ตาม ในเดือนนี้พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 20.7 เดือนก่อน โดยเป็นการขออนุญาตก่อสร้างในส่วนของหอพัก และอาคารพาณิชย์ ในจังหวัดเชียงใหม่เชียงราย ลำพนู และนครสวรรค์
6. การค้าต่างประเทศ เดือนพฤษภาคม 2549 มูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.6 เป็น 238.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนเป็นสำคัญโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.9 เป็น 175.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. สินค้าส่งออกสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ประเภทฮาร์ดดิสต์ไดร์ฟเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ซึ่งส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกงและสหรัฐอเมริกา ทางด้านมูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.5 เป็น 21.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกสินค้าประเภทสายไฟฟ้าและเคเบิลเป็นสำคัญ ทางด้านผลิตภัณฑ์พืชสวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.4 ส่วนใหญ่เป็นผักสด/แช่แข็งและอบแห้ง ผลไม้สด และใบยาสูบ สำหรับมูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรตามแนวชายแดนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.7 เหลือ 42.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยลดลงจากตลาดส่งออกพม่าและจีนตอนใต้ที่ลดลงร้อยละ 8.4 และร้อยละ 3.4 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 เป็น 3.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.7 เดือนก่อน
มูลค่าการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.4 เป็น 150.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. มูลค่าการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.3 เป็น 131.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์และอิสราเอล โดยสินค้านำเข้าประเภทวัตถุดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ส่วนใหญ่เป็นประเภทไมโครแอสเซมบลีที่ใช้ในอิเล็กทรอนิกส์ แผงวงจรสำเร็จรูป ส่วนการนำเข้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบที่ใช้ในอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 29.8 เหลือ 5.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่มูลค่าการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว เป็น 7.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าสินค้าสำคัญ ได้แก่ สายไฟฟ้า เครื่องเพชรพลอย และเคมีภัณฑ์ สำหรับมูลค่าการนำเข้าด่านศุลกากรตามแนวชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 79.1 เป็น 11.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นการนำเข้าจากพม่าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว สินค้านำเข้าสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ปลา ปลาสำเร็จรูป น้ำมันจากพืชและสัตว์ ส่วนการนำเข้าจากลาวและจีนตอนใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9 และร้อยละ 31.4 ตามลำดับ
ดุลการค้า ในเดือนพฤษภาคม 2549 เกินดุล 88.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 72.6 และ 76.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
7. ระดับราคา เดือนพฤษภาคม 2549 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคเหนือเร่งตัวขึ้นโดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เดือนก่อน โดยเร่งตัวตามราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เดือนก่อน จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30.2 ส่งผลให้ค่าโดยสารสาธารณะสูงขึ้น ได้แก่ ค่าโดยสารรถไฟ ค่าโดยสารรถประจำทางและรถเมล์เล็ก รวมทั้งการปรับเพิ่มขึ้นของค่ากระแสไฟฟ้า สำหรับสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน 6.8 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เดือนก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของราคาผักสด ผลไม้สด สัตว์น้ำ น้ำตาลทราย และอาหารสำเร็จรูปทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เดือนก่อน
8. การจ้างงาน เดือนเมษายน 2549 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.53 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.35 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 97.2 ของกำลังแรงงานรวม สงูกว่าร้อยละ 96.0 ระยะเดยี วกนั ปกี อ่น โดยในภาคเกษตรมี แรงงาน 2.98 ล้านคนขยายตัวร้อยละ 9.0 จากระยะเดียวกันปีก่อนที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ส่วนการจ้างงานนอกภาคเกษตรมีแรงงาน 3.37 ล้านคน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.5 ตามการลดลงของการจ้างงานในสาขาโรงแรม ภัตตาคาร อุตสาหกรรม และการขายส่งและขายปลีก ทั้งนี้ อัตราการว่างงานเดือนเมษายน 2549 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 1.2 เดือนก่อน
9. การเงิน เงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนเมษายน 2549 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 326,127 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 7.1 ขยายตัวต่อเนื่องจากอัตราเพิ่มร้อยละ 6.1 เดือนก่อน (ไม่รวมธนาคารพาณิชย์ใหม่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6) เนื่องจากการแข่งขันระดมเงินฝากจากผู้ประกอบการและข้าราชการ โดยเงินฝากเพิ่มขึ้นมากในจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พษิณุโลก นครสวรรค์และสุโขทัย ทางด้านสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ มียอดคงค้าง 256,328 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.1 (ไม่รวมธนาคารพาณิชย์ใหม่ ขยายตัวร้อยละ 6.3) ทั้งนี้เป็นการให้สินเชื่อประเภทเช่าซื้อ โรงแรม ร้านซักอบรีด โรงสีข้าวและสหกรณอ์อมทรพย์ครู โดยเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลกและสุโขทัย
สำหรับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 78.6 สูงขึ้นจากร้อยละ 74.4 ระยะเดียวกันปีก่อน
ข้อมูลเพิ่มเติม : สุวีวรรณ เลิศวิภาภัทร โทร 0 5393 1164 e-mail : suweewal@bot.or.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ