ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนพฤษภาคม ขยายตัว ด้านอุปทาน ผลผลิตพืชผล เพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของปาล์มน้ำมันและยางพารา ขณะเดียวกันการผลิตภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น และการท่องเที่ยวขยายตัว ขณะที่ประมงลดลงต่อเนื่อง ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภค ภาคเอกชน และการส่งออก ชะลอตัว ส่วนการลงทุนปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณ ลดลง สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคเร่งตัวสูงขึ้นโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 สูงสุดในรอบห้าปี ทางด้าน สินเชื่อและเงินฝากขยายตัว
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนพฤษภาคม ปี 2551 มีดังนี้
1. ภาคเกษตร ดัชนีรายได้ของเกษตรกรเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 55.8 เป็นผลจากทั้ง ราคาและปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดยราคาพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 ตาม ราคายางที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 เนื่องจากจีนและญี่ปุ่นมีความต้องการเพิ่มขึ้นและการเก็งกำไรใน ตลาดซื้อขายล่วงหน้า ด้านผลผลิตพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 ตามปริมาณผลผลิตปาล์ม น้ำมันที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ขณะที่ยางพาราเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ประมงทะเล ยังคงอยู่ในภาวะซบเซา จากต้นทุนการทำประมงอยู่ในระดับสูง ตาม ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เรือประมงส่วนหนึ่งหยุดทำการประมงและเรือทูน่าของไต้หวันซึ่งนำ สัตว์น้ำขึ้นที่ท่าเทียบเรือภูเก็ตได้นำสัตว์นำขึ้นทีท่าเทียบเรือในศรีลังกาเพราะอยู่ใกล้แหล่งทำ ประมงแทน นอกจากนี้เรือประมงทางฝั่งอันดามันหยุดทำประมงเพราะได้รับผลกระทบจากพายุ นาร์กีส ส่งผลให้ปริมาณและมูลค่าสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาในภาคใต้ ลดลงร้อยละ 16.8 และ 22.9 ตามลำดับ ส่วนการเพาะเลี้ยงกุ้ง ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงร้อยละ 19.2 เนื่องจากเกษตรกรทยอยลดการเลี้ยงจากราคากุ้งตกต่ำ ขณะที่ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทางด้านราคากุ้งในเดือนนี้ปรับลดลง โดยกุ้งขาวขนาด 50 ตัวต่อกิโลกรัม ที่ตลาดมหาชัยราคา เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.8 บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.3
2. ภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 จากการผลิต อุตสาหกรรมยางที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของจีนและญี่ปุ่น โดยอุตสาหกรรม ยางแท่ง น้ำยาง ข้น และยางแผ่นรมควัน มีปริมาณส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้จำนวน 75,301.1 เมตริกตัน 56,170.2 เมตริกตัน และ 29,934.4 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 29.1 15.4 และ 21.6 ตามลำดับ ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมอาหารทะเลบรรจุกระป๋อง มีปริมาณส่งออก เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.4 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากขยายตลาดไปตะวันออกกลาง สำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบมีผลผลิตจำนวน 168,465.4 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือน เดียวกันปีก่อนร้อยละ 110.0 ตามปริมาณวัตถุดิบ ส่วนอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง ลดลงร้อยละ 4.6 เนื่องจากส่งออกปลาและหมึกลดลงร้อยละ 56.8และ 10.1 ตามลำดับ
3. การท่องเที่ยว ภาวะท่องเที่ยวขยายตัว โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดิน ทางผ่านด่านตรววจคนเข้าเมืองในภาคใต้ ประมาณ 267,603 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 39.2 เร่งตัวขึ้นมากเมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 เนื่องจากภาครัฐและ เอกชนร่วมมือจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นตลาด MICE ประกอบกับอัตราค่าที่พักลดลง ทำให้ นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาจังหวัดภูเก็ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 ขณะเดียวกันจังหวัดสงขลามี นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 80.7 จากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและเป็นวันวิสาขบูชา โลก ประกอบกับในเดือนเดียวกันปีก่อนนักท่องเที่ยวเข้ามาน้อยจากเหตุระเบิดในหาดใหญ่ ส่งผล ให้นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 99.1 สำหรับอัตราการเข้าพักในเดือนนี้อยู่ที่ ร้อยละ 51.5
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ชะลอตัว โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ตามดัชนีในหมวดยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 ผลจากการจดทะเบียน รถยนต์เพิ่มขึ้นทุกประเภท ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ปี 2543 ลดลงร้อยละ 0.3 เนื่องจาก ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง จากปัจจัยด้านราคาน้ำมัน และสถานการณ์ทางการเมือง
5. การลงทุนภาคเอกชน โดยรวมปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการ ทางด้านภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการโอนและการจำนอง อสังหาริมทรัพย์และห้องชุด รวมทั้งลดภาษีธุรกิจเฉพาะของภาคอสังหาริมทรัพย์ทำให้ ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ส่งผลให้การก่อสร้างขยายตัว โดยพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง ในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.5 และปริมาณการจำหน่ายปูนซิเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 ทางด้านโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน จำนวนโครงการเพิ่มขึ้นร้อยละ 100.0 แต่เงินทุน ลดลงร้อยละ 42.4 ในจำนวนนี้เป็นโครงการที่มีเงินลงทุนมากกว่า 100ล้านบาทเพียง 2 โครงการ เป็นกิจการผลิตยางแท่งที่สงขลาและปัตตานี ส่วนการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่ จำนวนราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.9 แต่ทุนจดทะเบียนลดลงร้อยละ 10.2
6. การจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยมีผู้ได้รับการบรรจุงานเดือนนี้มีจำนวน 3,924 อัตราเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.4 ขณะเดียวกันความต้องการจ้างงานเพิ่มขึ้น โดย ตำแหน่งงานว่างที่ผู้ประกอบการใช้บริการผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคใต้มีจำนวน 4,631 อัตรา เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.6 ส่วนผู้สมัครงาน มีจำนวน 4,603 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.4 ทางด้านผู้ประกันตน ณ สิ้นเดือนนี้ มี584,518 คน เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.7
7. ระดับราคา อัตราเงินเฟ้อของภาคใต้ในเดือนนี้สูงสุดในรอบห้าปีที่ผ่านมา โดยอยู่ ที่ร้อยละ 8.5 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 6 .8 ในเดือนก่อน เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและ เครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ12.3 ตามการเพิ่มขึ้นของข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เครื่อง ประกอบอาหารและอาหารบริโภคในบ้าน ขณะเดียวกันหมวดอื่นที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายในการ บริโภคสินค้าทุกชนิดเพิ่มขึ้น สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของภาคใต้ อยู่ที่ร้อยละ 5.0 สูงขึ้นจาก ร้อยละ 4.0 ในเดือนก่อน
8. การค้าต่างประเทศ มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีจำนวนทั้งสิ้น 1,551.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.8 แยกเป็นมูลค่าการ ส่งออก 1,096.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.7 ตามการเพิ่มขึ้น ของการส่งออกยางพารา อาหารกระป๋องและปาล์มน้ำมัน เป็นสำคัญ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 454.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.4 เป็นผลจากการนำเข้าสัตว์ น้ำแช่แข็งเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
9. ภาคการคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่างๆในภาคใต้ มี จำนวน 8,128.7 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.6 ตามการลดลงของการเบิก จ่ายเงินงบประมาณของเกือบทุกคลังจังหวัด ส่วนภาษีอากรจัดเก็บได้ 3,759.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.1 เนื่องจากจัดเก็บภาษีสรรพากรได้ 3,491.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.5 ขณะที่ภาษีสรรพสามิตและภาษีศุลกากรจัดเก็บได้ 165.9 ล้านบาท และ102.5 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.5 และ 12.1 ตามลำดับ
10. การเงิน ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2551 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้ มีเงิน ฝากคงค้างประมาณ 426,500.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ10.3 และ สินเชื่อคงค้าง ประมาณ 353,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.6
ข้อมูลเพิ่มเติม : นายพสุธา ระวังสุข โทร.0-7423-6200 ต่อ 4345 e-mail : pasuthar@bot.or.th