ในเดือนพฤศจิกายนนี้ เศรษฐกิจภาคใต้โดยรวมปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย ทางด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นมากจากการเพิ่มขึ้นทั้งผลผลิตและราคายางพาราและปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นพืช สำคัญ ประกอบกับการท่องเที่ยวขยายตัวทั้งภาคใต้ตอนบนและตอนล่าง ขณะเดียวกันการผลิต ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตามการทำประมงยังคงซบเซา ด้านอุปสงค์ การอุปโภค บริโภคทรงตัว เนื่องจากประชาชนยังคงรอดูทิศทางภาวะเศรษฐกิจ ประกอบกับราคาน้พมันที่ปรับตัว สูงขึ้นมาก ทำให้ระมัดระวังการใช้จ่ายและการลงทุน สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวขึ้นต่อเนื่อง
ภาคเกษตรกรรม
ในเดือนนี้ผลผลิตพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตยางพารา และปาล์มน้ำมัน เป็นสำคัญ ขณะเดียวกันราคาพืชผลหลักปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.8 เนื่องจาก ราคายางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.1 จากความต้องการที่เพิ่มขึ้น และราคาปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.4 ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 63.6
ด้านประมงทะเลซบเซา จากปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ขณะที่ราคาสัตว์น้ำไม่สามารถ ปรับสูงขึ้นได้ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทำให้เรือประมงส่วนหนึ่งหยุดทำการประมง บางรายขายกิจการ เนื่องจากขาดเงินทุนหมุนเวียนและไม่สามารถแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นได้ ส่งผลให้ในเดือนนี้ ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาในภาคใต้มีจำนวน 25,573.7 เมตริกตัน มูลค่ารวม 1,025.9 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.0 และ 9.4 ตามลำดับ โดย ลดลงแทบทุกจังหวัด ยกเว้นจังหวัดชุมพร และระนอง
การเพาะเลี้ยงกุ้ง ผลผลิตกุ้งขาวลดลง จากภาวะชะลอการเลี้ยงของเกษตรกร ด้านราคากุ้งขาว ขนาดเล็ก 90-100 ตัวต่อกิโลกรัมปรับตัวลดลงเล็กน้อย ขณะที่ขนาดกลางมีราคา เพิ่มขึ้น1 โดยในเดือนนี้ราคากุ้งขาวขนาด 50 ตัวต่อกิโลกรัมที่ตลาดมหาชัยเฉลี่ยกิโลกรัมละ 131.00 บาท2 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.0 เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดน้อยลง
กุ้งขาวขนาดกลาง อยู่ที่ประมาณ 50-80 ตัวต่อกิโลกรัม กรณีซื้อขายหน้าฟาร์มราคาจะสูงกว่าราคาที่ตลาดมหาชัยประมาณ 10-15 บาทต่อขนาดกุ้ง เนื่องจากมีการแข่งขันกันประมูลราคารับซื้อที่หน้า ฟาร์มและกุ้งมีความสดกว่า ขณะที่ผู้รับซื้อกุ้งจะได้รับการชดเชยสำหรับราคาที่สูงกว่า เนื่องจากขนาดและน้ำหนักของกุ้งจะเพิ่มขึ้นเพราะบวมน้ำ จากการแช่น้ำแข็งระหว่างการขนส่ง
ภาคอุตสาหกรรม
ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้ปรับตัวดีขึ้น โดยน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ตามปริมาณวัตถุดิบ ณะเดียวกัน อุตสาหกรรมยางการผลิตปรับตัวดีขึ้น จากวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น เช่นกัน แต่ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 25.7 เนื่องจากต่างประเทศชะลอการซื้อ และส่วนหนึ่ง เป็นผลจากการนำระบบ e-Customs3 มาใช้ ทำให้ข้อมูลปริมาณการส่งออกผ่านด่านศุลกากรบาง ด่านลดลง โดยเฉพาะด่านศุลกากรบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี อุตสาหกรรมถุงมือยาง อาหารบรรจุ กระป๋อง ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ และสัตว์น้ำแช่เย็นแช่แข็ง (ไม่รวมด่านศุลกากรสะเดา) การผลิตปรับตัวดีขึ้น แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนลดลง เนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบ และ ความต้องการของตลาดต่างประเทศชะลอลง โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 22.2 15.0 14.5 และ 6.4 ตามลำดับ
การท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวขยายตัว โดยในเดือนพฤศจิกายนมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ เดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ประมาณ 270,337 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 21.0 โดยการท่องเที่ยวทางฝั่งอันดามันมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางผ่านด่านตรวจคน เข้าเมืองภูเก็ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.0 เนื่องจากภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการ ท่องเที่ยวเพื่อต้อนรับงานเปิดฤดูกาลท่องเที่ยวประจำปี และเทศกาลลอยกระทง ทำให้มีนักท่องเที่ยว จากยุโรปและสแกนดิเนเวียเข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้น กอปรกับมีสายการบินเช่าเหมาลำเข้ามาเพิ่มมาก ขึ้น ส่วนภาคใต้ตอนล่าง มีนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสงขลาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.5 เนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียเริ่มมั่นใจในความปลอดภัย และเดินทางเข้ามา ท่องเที่ยวในงานเทศกาลลอยกระทงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากการที่สายการบินไทเกอร์แอร์หยุดทำ การบินเข้ามาท่าอากาศยานหาดใหญ่ ทำให้นักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์เดินทางเข้ามาไม่สะดวก และ เปลี่ยนไปเที่ยวที่จังหวัดอื่นแทน
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
เดือนนี้การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนของภาคใต้ทรงตัว แม้ราคา ยางพาราจะอยู่ในระดับสูง และการท่องเที่ยวขยายตัวดีก็ตาม ทั้งนี้ เนื่องจากระดับราคาน้ำมันที่สูง ทำให้ประชาชนยังคงมีความระมัดระวังในการใช้จ่าย และส่วนหนึ่งรอดูสถานการณ์การเมืองหลังการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 ผู้ประกอบการสามารถส่งผ่านข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าและใบขนสินค้าขาออก ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ แบบไร้เอกสาร โดยไม่ต้องจัดส่งเอกสารในรูปแบบกระดาษ ณ ท่าเรือ หรือสนามบินทั่วประเทศที่ทำการส่งออก และผู้ประกอบการสามารถกำหนด เลือกข้อมูลส่งออกไปปรากฏที่ท่าเรือส่งออกปลายทาง เช่น ท่าเรือแหลมฉบังหรือท่าเรือกรุงเทพฯ ได้ เลือกตั้ง โดยเครื่องชี้สำคัญด้านภาษีมูลค่าเพิ่ม (ไม่รวมศุลกากร) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 ปริมาณการใช้ ไฟฟ้าในครัวเรือนเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 7.0 ขณะที่เครื่องชี้ด้านยานพาหนะยังคงลดลง จาก ปริมาณการจดทะเบียนใหม่รถยนต์ส่วนนั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และ รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 0.2 13.0 และ 24.0 ตามลำดับ
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนโดยรวมชะลอตัว โดยในเดือนนี้มีโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการ ลงทุน 6 โครงการ เป็นการลงทุนใหม่ 1 โครงการ และขยายการลงทุน 5 โครงการ จำนวนโครงการ ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อน 2 โครงการ แต่มียอดเงินลงทุนรวม 920.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 229.6 ส่วนใหญ่เป็นโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวะภาพถึง 4 โครงการ และโครงการผลิต แผ่นยิบซัมบอร์ด และผลิตถุงมือยาง ประเภทละ 1 โครงการ เป็นการลงทุนในภาคใต้ตอนบน 4 โครงการ และภาคใต้ตอนล่างที่จังหวัดตรังและสงขลาจังหวัดละ 1 โครงการ
ด้านการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลรายใหม่ ทั้งจำนวนรายและทุนจดทะเบียน ลดลง ร้อยละ 7.9 และ 21.7 ตามลำดับ ส่วนใหญ่ที่จดทะเบียนใหม่เป็นธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจโรงแรม-ภัตตาคาร-ร้านอาหาร ซึ่งอยู่ทางภาคใต้ตอนบนในจังหวัดภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี เป็นสำคัญ แต่อย่างไรก็ดี การจดทะเบียนเพิ่มทุนในส่วนของเงินลงทุนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.6
ขณะเดียวกันพื้นที่ก่อสร้างในเขตเทศบาลเดือนนี้มีจำนวน 154,623 ตารางเมตร ลดลง จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.2 ผลจากการก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยลดลงร้อยละ 40.5 เป็นสำคัญ ขณะที่การก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์ การบริการ และอื่น ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 1,842.8 และ 406.1 ตามลำดับ จากการก่อสร้างโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต
การจ้างงาน
ในเดือนนี้มีผู้ประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดใน ภาคใต้ทั้งสิ้น 3,619 อัตรา เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.0 ส่วนใหญ่เป็นความต้องการ แรงงานในจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา และสุราษฎร์ธานี ขณะเดียวกันมีผู้สมัครงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.6 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมัธยมศึกษา รองลงมาเป็นระดับปริญญาตรีขึ้นไป ขณะที่มีการ บรรจุงานลดลงร้อยละ 24.1 ผู้ได้รับบรรจุงานส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป โดย จังหวัดที่มีอัตราการบรรจุงานเพิ่มขึ้นมากได้แก่ จังหวัดพังงา และปัตตานี
สำหรับจำนวนแรงงานในภาคใต้ที่เข้าโครงการประกันสังคม ตามมาตรา 33 ณ สิ้น เดือนพฤศจิกายนนี้มีทั้งสิ้น 582,865 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 โดยภาคใต้ ตอนบนเพิ่มขึ้นทุกจังหวัดโดยเฉพาะจังหวัดพังงา ภูเก็ต และกระบี่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 12.8 และ 12.7 ตามลำดับ ส่วนภาคใต้ตอนล่างเพิ่มขึ้นในจังหวัดสตูล พัทลุง และนราธิวาส โดยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.3 2.3 และ 0.4 ตามลำดับ
ระดับราคา
ในเดือนพฤศจิกายน 2550 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของภาคใต้อยู่ที่ร้อยละ 3.3 เร่งตัวขึ้น ต่อเนื่องจากร้อยละ 2.5 ในเดือนก่อน เป็นผลจากสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ตามการเพิ่มขึ้นของหมวดข้าวสารเหนียว (34.5%) หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม (7.4%) หมวด เป็ดไก่ (6.8%) และหมวดผักและผลไม้ (5.8%) เป็นสำคัญ ส่วนสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ผลจากภาวะราคาน้พมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาหมวดย่อยไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้ำประปา และแสงสว่าง ลดลงร้อยละ 2.8 เนื่องจากมีการปรับลดค่า Ft กระไฟฟ้า ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของภาคใต้อยู่ที่ร้อยละ 1.6
การค้าต่างประเทศ
เดือนนี้มีมูลค่าการส่งออกรวม 872.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 4.3 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 17.1 ในเดือนก่อน โดยการส่งออก ถุงมือยาง ยางพารา ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์และสัตว์น้ำแช่แข็งลดลงร้อยละ 21.2 9.8 5.5 และ 1.0 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกดีบุก และอาหารกระป๋อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 180.5 และ 9.0 ตามลำดับ
ด้านมูลค่าการนำเข้ามีจำนวน 483.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.2 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ สัตว์น้ำแช่แข็ง และน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสำคัญ
ภาคการคลัง
ในเดือนพฤศจิกายน การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ในภาคใต้ มี จำนวน 9,178.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 34.1 ตามการเบิกจ่ายเงินของคลัง จังหวัดนราธิวาส ตรัง ยะลา สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เป็นสำคัญ ส่วนหนึ่งยังคงเป็นผล จากฐานต่ำในปีก่อนที่ภาครัฐชะลอการเบิกจ่ายงบลงทุนของเดือนตุลาคม 2549 ไปเป็นเดือนมกราคม ปี 2550 ประกอบกับมีการเบิกจ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ส่วนการจัดเก็บรายได้มี จำนวน 2,288.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ตามการจัดภาษีศุลกากร และสรรพากร ได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 29.8 และ 12.8 ตามลำดับ ขณะที่จัดเก็บภาษีสรรพสามิตลดลงร้อยละ 13.7
ภาคการเงิน
ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน เงินฝากคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์ คาดว่ามีจำนวน ประมาณ 399,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.1 ชะลอลงต่อเนื่อง โดยที่ ดอกเบี้ยยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และผู้ฝากเงินมีทางเลือกในการลงทุนมากขึ้น ทางด้านสินเชื่อคงค้างมี จำนวนประมาณ 329,900 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 แม้ธนาคารพาณิชย์จะยังเข้มงวดในการให้ สินเชื่อ แต่สินเชื่อยังขยายตัวในพื้นที่เศรษฐกิจหลักของภาคใต้ คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภูเก็ต และ สงขลา