สรุปภาวะเศรษฐกิจสำคัญในภาคใต้ เดือนกันยายน 2550

ข่าวเศรษฐกิจ Friday October 26, 2007 16:00 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

          เศรษฐกิจภาคใต้โดยรวมชะลอตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน  แม้ว่ารายได้ของเกษตรกร  จะปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามราคาและผลผลิตพืชผลหลักโดยเฉพาะปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้น แต่การผลิต  ภาคอุตสาหกรรมชะลอตัว รวมทั้งการท่องเที่ยวที่หดตัวตามภาวะการท่องเที่ยวบริเวณภาคใต้  ตอนล่าง ขณะที่ทางฝั่งอันดามันยังขยายตัวดี  ด้านการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนยังชะลอ  ตัว  รวมทั้งการส่งออกที่ลดลง  สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับตัวสูงขึ้น
ไตรมาสที่ 3 ปี 2550 เศรษฐกิจภาคใต้โดยรวมชะลอตัวลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน เนื่องจากรายได้เกษตรกรลดลง ตามการลดลงของราคายาง ขณะเดียวกันการผลิตภาคอุตสาหกรรม ลดลงและการท่องเที่ยวหดตัวตามภาวะการท่องเที่ยวบริเวณภาคใต้ตอนล่าง แม้ว่าทางฝั่งอันดามัน จะขยายตัวดีก็ตาม สำหรับการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนยังอยู่ในภาวะชะลอตัว ขณะที่ การส่งออกลดลง ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในระดับต่ำ
ภาคเกษตรกรรม
ในเดือนกันยายน รายได้ของเกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักเพิ่มขึ้น ตามราคา พืชผลหลักที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 เนื่องจากราคายางพารา และปาล์มน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญ ขณะเดียวกันผลผลิตพืชผลหลักเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.6 ทั้งนี้เป็นการเพิ่มขึ้นของ ผลผลิตปาล์มน้ำมัน ส่วนผลผลิตยางพารายังคงลดลง เนื่องจากมีฝนตกชุก
ด้านประมงทะเล เรือประมงจับสัตว์น้ำได้น้อยลง เนื่องจากเป็นช่วงมรสุม ราคาน้ำมัน ปรับตัวสูงขึ้น และการทำประมงในน่านน้ำประเทศเพื่อนบ้านยังคงเข้มงวด ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำ นำขึ้นที่ท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาในภาคใต้มีจำนวน 29,321.3 เมตริกตัน มูลค่า 1,079.8 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.9 และ 10.7 ตามลำดับ
การเพาะเลี้ยงกุ้ง ผลผลิตกุ้งขาวออกสู่ตลาดลดลง เนื่องจากราคากุ้งขาวตกต่ำต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรเร่งทยอยขายในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา และลดปริมาณการเลี้ยง ด้านราคากุ้งขาว ยังคงลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ในระดับ ใกล้เคียงกับราคารับจำนำของภาครัฐ 1 นอกจากนั้นฟาร์มส่วนหนึ่งได้หันมาเลี้ยงกุ้งขนาดใหญ่ ราคารับจำนำกุ้งขาวแวนนาไมขนาด 40 50 60 ตัวต่อกิโลกรัม ราคา 140 120 และ 105 บาท ตามลำดับ ตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศและได้ราคาดี โดยกุ้งขาวขนาด 30-35 ตัวต่อกิโลกรัม ราคาอยู่ระหว่าง 160 - 205 บาทต่อกิโลกรัม
ไตรมาสที่ 3 ปี 2550 รายได้ของเกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักลดลงจาก ไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.9 ตามราคาพืชผลหลักที่ลดลงร้อยละ 5.4 เป็นผลจากราคา ยางพาราลดลง ขณะเดียวกันผลผลิตพืชผลหลักลดลงร้อยละ 0.6 ตามผลผลิตยางพาราที่ลดลง ทางด้านประมงทะเลหดตัวจากปัญหาต้นทุนการทำประมงที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทรัพยากรทางทะเลมีน้อย และการเข้าไปทำประมงในน่านน้ำประเทศเพื่อนบ้านมีความเข้มงวด ส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือในภาคใต้ ไตรมาสนี้มีจำนวน 78,703.6 เมตริกตัน มูลค่า 2,896.6 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.2 และ 9.9 ตามลำดับ สำหรับการเพาะเลี้ยงกุ้ง ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ส่งผลให้ราคาลดลงต่อเนื่อง ซึ่งภาครัฐได้แก้ไขด้วยการรับ จำนำกุ้งขาว ส่งผลให้ราคารับซื้อกุ้งขาวในท้องตลาดขยับสูงขึ้นใกล้เคียงกับราคารับจำนำของภาครัฐ ในช่วงปลายไตรมาส
ภาคอุตสาหกรรม
ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้ชะลอตัว ตามปริมาณวัตถุดิบและความต้องการ ของตลาดต่างประเทศ ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบลดลงร้อยละ 2.5 ปริมาณการส่งออกอาหารบรรจุ กระป๋อง สัตว์น้ำแช่แข็ง (ไม่รวมด่านศุลกากรสะเดา) ยางพารา และถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 22.8 21.2 10.4 และ 8.0 ตามลำดับ ตามปัญหาด้านวัตถุดิบและการชะลอซื้อของตลาดต่างประเทศ ขณะที่ไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6
ไตรมาสที่ 3 ปี 2550 การผลิตของอุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้ลดลง โดยผลผลิตน้ำมันปาล์มลดลงร้อยละ 4.2 ขณะเดียวกันปริมาณการส่งออกอาหารบรรจุกระป๋อง สัตว์น้ำ แช่แข็ง (ไม่รวมด่านศุลกากรสะเดา) ยางพารา และถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 28.5 23.9 9.7 และ 8.5 ตามลำดับ เนื่องจากการตลาดหลักในตลาดต่างประเทศชะลอการซื้อ ปัญหาการแข่งขันสูงกับ ประเทศคู่แข่งที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า ตลอดจนการขาดแคลนวัตถุดิบ อาทิ ปลาทูน่า อย่างไรก็ดี การส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9
การท่องเที่ยว
ภาวะการท่องเที่ยวของภาคใต้หดตัว แต่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยในเดือนกันยายน มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองภาคใต้ประมาณ 187,799 คน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 4.4 ในเดือนก่อน โดยการท่องเที่ยวทางฝั่งอันดามันยังคงขยายตัวจากการจัดกิจกรรมกระตุ้นตลาดนักท่องเที่ยวชาว ออสเตรเลีย และเอเชีย ให้เข้ามาใช้บริการสนามกอล์ฟ และฮันนีมูน รวมทั้งการเปิดสายการบิน เที่ยวบินตรงที่เป็นชาร์เตอร์ไฟส์ทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้จังหวัดภูเก็ตมีนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติเดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 ส่วนทางภาคใต้ตอนล่างโดยเฉพาะ จังหวัดสงขลานักท่องเที่ยวยังคงลดลงร้อยละ 19.2 แต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่ลดลงร้อยละ 31.7 เนื่องจากภาครัฐและเอกชนจัดโครงการ Amazing Thailand Grand Sale @ Hatyai 2007 และขอความร่วมมือให้จัดประชุมสัมมนาในอำเภอหาดใหญ่เพิ่มขึ้น รวมทั้งเดือนนี้ตรงกับช่วง พระราชทานปริญญาบัตร ทำให้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวต่างชาติ และชาวไทยเข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้น
ไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ภาวะการท่องเที่ยวของภาคใต้หดตัว นักท่องเที่ยวชาว ต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้มีประมาณ 632,220 คน ลดลงจากไตรมาส เดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.1 เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง ทำให้นักท่องเที่ยวชาว ต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาเที่ยวที่จังหวัดสงขลาลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 29.1 แต่ ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 34.6 ในไตรมาสก่อน สำหรับการท่องเที่ยวทางฝั่งอันดามันแม้ว่าจะ อยู่ในช่วงกรีนซีซัน แต่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ อาทิ ออสเตรเลีย เกาหลี จีน และญี่ปุ่น เดินทางเข้ามา เนื่องจากภาครัฐและเอกชนมีการส่งเสริมการทำตลาดด้านการท่องเที่ยวตลอดทั้งปี ทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางมาจังหวัดภูเก็ตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.4
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนของภาคใต้ในเดือนกันยายนโดยรวมชะลอ ตัวอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยลบด้านเศรษฐกิจชะลอตัว ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รวมทั้งเหตุการณ์ความ ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น แม้ราคายางพารา และปาล์มน้ำมันจะอยู่ในระดับสูงก็ตาม เครื่องชี้การบริโภคที่สำคัญ ได้แก่
การจดทะเบียนใหม่รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 11.0 และ 36.8 ตามลำดับ ขณะที่รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 และการจัดเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ไม่รวมที่จัดเก็บจากด่านศุลกากร) และปริมาณการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 และ 11.2 2
ไตรมาสที่ 3 ปี 2550 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคโดยรวมชะลอตัวจากราคาน้ำมัน ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้ราคา ยางพาราและปาล์มน้ำมันจะอยู่ในระดับสูงก็ตาม การจดทะเบียนใหม่รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลและ รถจักรยานยนต์ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.0 และ 34.3 อย่างไรก็ดี การจัดเก็บ ตัวเลขประมาณการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ไม่รวมศุลกากร) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.3 การจดทะเบียน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 และปริมาณการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.8
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนชะลอตัว ในเดือนนี้พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างลดลงจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 24.4 โดยลดลงในหลายจังหวัดยกเว้นจังหวัดระนอง ชุมพร ตรัง พัทลุง และนราธิวาส ส่วนการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลลดลงทั้งจำนวนรายและทุนจดทะเบียน โดยธุรกิจที่จดทะเบียน ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง โรงแรม และอสังหาริมทรัพย์ ในจังหวัดภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี เป็นสำคัญ สำหรับโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมี 5 โครงการ เพิ่มขึ้น 1 โครงการมี เงินลงทุนรวม 5,805.3 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 947 คน เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ในจำนวนนี้เป็น กิจการที่ใช้เงินลงทุนสูง 2 โครงการ คือ กิจการผลิตแผ่นใยไม้อัด เงินลงทุน 2,900 ล้านบาท และ กิจการโรงแรมขนาด 578 ห้อง เงินลงทุน 2,735 ล้านบาท
ไตรมาสที่ 3 ปี 2550 การลงทุนชะลอตัว ในไตรมาสนี้พื้นที่ก่อสร้างลดลงร้อยละ 16.5 โดยลดลงเกือบทุกประเภท3 ยกเว้นพื้นที่ก่อสร้างเพื่อการบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.1 เนื่องจากมีการ ก่อสร้างโรงแรมและที่จอดรถที่จังหวัดภูเก็ต และสุราษฎร์ธานีเป็นสำคัญ ด้านการจดทะเบียนธุรกิจ นิติบุคคลจำนวนรายและทุนจดทะเบียนลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.6 และ 20.8 สำหรับโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมี 20 โครงการ เพิ่มขึ้น 9 โครงการ เงินลงทุน 14,588.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 327.4 และมีการจ้างงานคนไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 125.5 เป็น โครงการลงทุนในภาคใต้ตอนบนจำนวน 17 โครงการ และภาคใต้ตอนล่าง 3 โครงการ
การจ้างงาน
ในเดือนกันยายนมีผู้ประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหางาน จังหวัดในภาคใต้ทั้งสิ้น 5,277 อัตรา เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 123.6 ส่วนใหญ่เป็น ความต้องการจากอุตสาหกรรมการขายปลีก ขายส่ง โดยจังหวัดที่มีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภูเก็ต และปัตตานี เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,201.3 795.2 และ 325.0 ตามลำดับ ด้านผู้สมัครงานเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 61.0 และมีการบรรจุงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 57.0 โดยผู้ที่ได้รับการบรรจุส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป พื้นที่ก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย, ก่อสร้างเพื่อการพาณิชย์ และอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 16.5 19.5 และ 65.4 ตามลำดับ
สำหรับจำนวนแรงงานในภาคใต้ที่เข้าโครงการประกันสังคม ตามมาตรา 33 ณ สิ้นเดือน กันยายนนี้ มีทั้งสิ้น 582,766 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.4 โดยภาคใต้ตอนบน เพิ่มขึ้นทุกจังหวัดโดยเฉพาะ จังหวัดพังงา ภูเก็ต และกระบี่ เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 15.4 14.7 และ 11.6 ตามลำดับ ส่วนภาคใต้ตอนล่างเพิ่มขึ้นในจังหวัดสตูล พัทลุง นราธิวาส และสงขลา โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 2.4 2.2 และ 0.6 ตามลำดับ
ไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีผู้ประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหา งานจังหวัดในภาคใต้ทั้งสิ้น 11,646 อัตรา เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.9 โดยจังหวัด สงขลามีตำแหน่งงานว่างมากที่สุด ขณะที่ผู้สมัครงานมีทั้งสิ้น 12,966 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.5 ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช และมีการบรรจุงานรวม 9,340 คน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.0 โดยจังหวัดสุราษฎร์ธานีบรรจุงานมากที่สุด รองลงมาคือ จังหวัดสงขลา
ระดับราคา
ในเดือนกันยายน 2550 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของภาคใต้อยู่ที่ร้อยละ 1.6 เร่งตัวขึ้นจาก ร้อยละ 0.6 ในเดือนก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 2.0 ตามการ เพิ่มขึ้นของหมวดข้าวสารเหนียว (44.2%) หมวดเป็ด ไก่ (14.6%) หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม (6.7%) และหมวดผักและผลไม้ (1.3%) เป็นสำคัญ ส่วนสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและ เครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เป็นการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสำคัญ ผลจากภาวะ ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของภาคใต้อยู่ที่ร้อยละ 1.2 เร่งขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 1.1 ในเดือนก่อน
ไตรมาสที่ 3 ปี 2550 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของภาคใต้อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ชะลอลงจาก ร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 2.4 ตามการเพิ่มขึ้นของสินค้าหมวดเป็ด ไก่ (11.2%) หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม (6.3%) หมวดผักและผลไม้ (4.2%) และหมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง (2.4%) ส่วนหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากการสูงขึ้นของดัชนีค่าโดยสารสาธารณะ (2.2%) หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ (1.3%) ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของภาคใต้ ไตรมาสที่ 3 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ชะลอลงจากร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อน
การค้าต่างประเทศ
ในเดือนนี้มีมูลค่าการส่งออก 874.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 11.4 ตามการส่งออกสัตว์น้ำแช่แข็ง ยางพารา อาหารกระป๋อง และถุงมือยาง ที่ลดลงร้อยละ 12.6 11.0 9.7 และ 2.9 ตามลำดับ ขณะที่มูลค่าการนำเข้ามีจำนวน 415.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.4 ตามการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องจักรอุปกรณ์ และสัตว์น้ำแช่แข็ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 376.5 20.5 และ 8.2 เป็นสำคัญ
ไตรมาสที่ 3 ปี 2550 การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีมูลค่า 2,647.2 ล้าน ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.4 เป็นผลจากการส่งออกสัตว์น้ำแช่แข็ง ยางพารา อาหารกระป๋อง และถุงมือยาง ลดลงร้อยละ 26.6 16.7 12.8 และ 4.3 ตามลำดับ ส่วน การนำเข้ามีมูลค่า 1,278.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 29.0 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องจักรและอุปกรณ์ และสัตว์น้ำแช่แข็ง ร้อยละ 161.1 19.6 และ 3.5 เป็นสำคัญ
ภาคการคลัง
ในเดือนกันยายน การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่างๆ ในภาคใต้ มีจำนวน 12,680.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.1 ตามการเบิกจ่ายของคลัง จังหวัดสงขลา สุราษฎร์ธานี และนราธิวาส เป็นสำคัญ เนื่องจากเดือนนี้เป็นเดือนสุดท้ายของ ปีงบประมาณ 2550 ส่วนราชการจึงเร่งเบิกจ่ายให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่วนรายได้จากการ จัดเก็บภาษีมีจำนวน 2,405.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.6 ตามการจัด ภาษีสรรพากร ภาษีสรรพสามิต และภาษีศุลกากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 18.8 และ 18.1 เป็นสำคัญ
ไตรมาสที่ 3 ปี 2550 ส่วนราชการต่าง ๆ ในภาคใต้มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 30,972.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.6 เนื่องจากส่วนราชการเร่งเบิกจ่าย งบลงทุนให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ร้อยละ 73 ของกรอบงบประมาณลงทุน โดยคลังจังหวัดสงขลา และสุราษฎร์ธานี มีการเบิกจ่ายงบประมาณ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 และ 29.3 ตามลำดับ ส่วนรายได้ จากการจัดเก็บภาษีอากรมีจำนวน 7,832.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.7 ตามการจัดเก็บภาษีสรรพากร และภาษีภาษีศุลกากร ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 และ11.5 ขณะที่มีการ จัดเก็บภาษีสรรพสามิตลดลงร้อยละ 4.6
ภาคการเงิน
ณ สิ้นเดือนกันยายนนี้ เงินฝากคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์ คาดว่ามีจำนวนรวม 393,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.0 ส่วนสินเชื่อคงค้างมีจำนวนประมาณ 321,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.3 เป็นการเพิ่มในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัวลง ประกอบกับการลงทุนในภาคใต้ตอนล่างที่ได้รับ ผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุน ส่งผลให้สินเชื่อขยายตัวไม่มากนัก

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ