สรุปภาวะเศรษฐกิจสำคัญในภาคใต้ เดือนสิงหาคม 2550

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 28, 2007 15:41 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

          เศรษฐกิจภาคใต้โดยรวมชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยการผลิตในภาคเกษตรลดลง  ตามผลผลิตหลักยางพารา ปาล์มน้ำมัน และประมง ส่วนภาคอุตสาหกรรมชะลอตัว  ขณะที่การ  ท่องเที่ยวหดตัวแต่ทางฝั่งอันดามันมีแนวโน้มดีขึ้น  ทางด้านการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคยังคง  ชะลอตัวต่อเนื่อง  ส่วนการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น  และการส่งออกขยายตัวเล็กน้อย  สำหรับ  อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 0.6  ชะลอลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน
ภาคเกษตรกรรม
เดือนสิงหาคม ผลผลิตพืชผลสำคัญลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.9 ตามการ ลดลงของผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมัน ขณะเดียวกันราคาพืชผลหลักเฉลี่ยลดลงร้อยละ 5.9 แต่ ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่ลดลงถึงร้อยละ 21.1 เนื่องจากราคายางพาราเริ่มขยับสูงขึ้นเป็น สำคัญ ส่งผลให้ในเดือนนี้รายได้ของเกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักยังคงลดลงร้อยละ 9.6 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 20.6 ในเดือนก่อน การทำประมงทะเลยังคงลดลงต่อเนื่อง โดยปริมาณสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือขององค์การ สะพานปลาในภาคใต้มีจำนวน 23,442.3 เมตริกตัน มูลค่า 852.2 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับเดือน เดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.9 และ 20.3 ตามลำดับ เนื่องจากอยู่ในช่วงมรสุม สัตว์น้ำมีน้อย กอปรกับ ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้น และการทำประมงนอกน่านน้ำในประเทศเพื่อนบ้านยังคงมีความเข้มงวด ขณะที่ราคาสัตว์น้ำปรับขึ้นได้ไม่มากนัก ผลจากภาวะการแข่งขันสูงของอุตสาหกรรมอาหารทะเลใน
ตลาดต่างประเทศ
การเพาะเลี้ยงกุ้ง ผลผลิตกุ้งขาวยังเข้าสู่ตลาดต่อเนื่อง จากภาวะราคากุ้งขาวตกต่ำ ทำให้ เกษตรกรเร่งจับกุ้งขาย โดยเฉพาะในเกษตรกรรายย่อยที่มีปัญหาด้านเงินทุนและผลตอบแทนไม่ คุ้มค่ากับการเลี้ยงต่อ อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมผลผลิตกุ้งมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยมีขนาดที่ 40-60 ตัว ต่อกิโลกรัม และคาดว่า เดือนหน้าขนาดจะเพิ่มขึ้นเป็น 35-50 ตัวต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็น แรงจูงใจจากมาตรการของภาครัฐที่รับจำนำกุ้งขาวตั้งแต่ขนาด 40-60 ตัวต่อกิโลกรัม ทำให้เกษตรกร หันมาเลี้ยงเพื่อเข้าโครงการมากขึ้น เนื่องจากราคารับจำนำสูงกว่าทั่วไปถึง 10-20 บาทต่อกิโลกรัม มีผลทำให้ราคากุ้งขาวโดยรวมขยับสูงขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ราคายังคงลดลงทุกขนาด นอกจากนี้ปริมาณการเลี้ยงกุ้งขาวมีแนวโน้มลดลงและหันไปเลี้ยงกุ้ง กุลาดำเพิ่มมากขึ้น สำหรับความคืบหน้าการรับจำนำกุ้งขาวแวนนาไม เบื้องต้นจากข้อมูลองค์การคลัง สินค้า ณ วันที่ 2 กันยายน 2550 จังหวัดสงขลามีจำนวนเกษตรกรและปริมาณกุ้งที่นำไปจำนำ ณ จุด รับจำนำ (ห้องเย็นที่ฝากเก็บ) รวมทั้งสิ้น 148 ราย ปริมาณกุ้ง 1,138 ตัน (ลักษณะเป็นกุ้งทั้งตัว)
ภาคอุตสาหกรรม
ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้ชะลอตัว โดยการผลิตในอุตสาหกรรมยางพารา ขยายตัวเล็กน้อย ขณะที่ความต้องการของผู้ผลิตยางล้อจากจีนและญี่ปุ่นยังมีต่อเนื่อง ส่วนผลผลิต น้ำมันปาล์มดิบลดลงร้อยละ 2.5 ตามปริมาณวัตถุดิบ ขณะเดียวกันอาหารบรรจุกระป๋อง สัตว์น้ำ แปรรูปและแช่แข็ง (ยกเว้นด่านศุลกากรสะเดา) และถุงมือยาง มีปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 25.9 23.4 และ 3.9 ตามลำดับ ตามการชะลอซื้อของตลาดต่างประเทศ และวัตถุดิบที่ลดลง2 ขณะที่ ไม้ยางพาราและเฟอร์นิเจอร์ มีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0
การท่องเที่ยว
ในเดือนสิงหาคมนี้ การท่องเที่ยวของภาคใต้ยังคงหดตัว แต่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองภาคใต้จำนวนประมาณ 237,103 คน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.4 ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 5.7 ในเดือนก่อน โดยการ ท่องเที่ยวทางฝั่งตะวันตกยังคงขยายตัวจากการจัดกิจกรรมกระตุ้นตลาดทั้งในและต่างประเทศอย่าง ต่อเนื่อง กอปรกับมีชาร์เตอร์ไฟล์ของสายการบินสกายสตาร์ระหว่างโซล-ภูเก็ต และสายการบิน ไชน่าเซาร์เทิร์นแอร์ไลน์ระหว่างกวางโจว-ภูเก็ต ทำให้มีนักท่องเที่ยวชาวเกาหลี จีน ญี่ปุ่น และ ออสเตรเลีย เดินทางเข้ามามากขึ้น ส่งผลให้เดือนนี้จังหวัดภูเก็ตมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 ส่วนทางภาคใต้ตอนล่างโดยเฉพาะจังหวัดสงขลา นักท่องเที่ยวยังคงลดลงร้อยละ 31.7 แต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่ลดลงร้อยละ 34.0 เล็กน้อย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนของภาคใต้โดยรวมชะลอลงอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยลบด้านเศรษฐกิจชะลอตัว ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง รวมทั้งเหตุการณ์ความไม่สงบใน มาตรการรับจำนำกุ้งขาวแวนนาไมของภาครัฐ เมื่อ 18 กรกฎาคม 2550 มีจำนวนทั้งสิ้น 10,000 ตัน เกษตรกรจำนำได้รายละไม่เกิน 2 ล้านบาท ระยะเวลารับจำนำตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2550 โดยจังหวัดสงขลาได้โควตารับจำนำกุ้ง จำนวน 4,300 ตัน ในอุตสาหกรรมอาหารบรรจุกระป๋อง เกิดภาวะขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้ราคาปลาทูน่าในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมาก จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง แม้ราคายางพารา และปาล์มน้ำมันจะอยู่ในเกณฑ์สูงก็ตาม สะท้อนจากการจดทะเบียนใหม่รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 21.9 และ 35.9 ตามลำดับ ขณะที่รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 ส่วนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ไม่รวมศุลกากร) และปริมาณการใช้ไฟฟ้า ในครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 และ 8.9 3
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนของภาคใต้ปรับตัวดีขึ้น โดยในเดือนนี้มีกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จำนวน 10 โครงการ เงินลงทุน 8,454.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.0 และ 171.7 ตามลำดับ มี การจ้างงาน 1,226 คน ทุกกิจการตั้งอยู่ในเขตภาคใต้ตอนบน แยกเป็นการลงทุนใหม่ 8 โครงการ และขยายการลงทุน 2 โครงการ โดยมีกิจการที่ใช้เงินทุนสูง 2 แห่ง คือ กิจการโรงแรมขนาด 206 ห้อง เงินลงทุน 7,200 ล้านบาท และกิจการบริการด้านจัดการพลังงาน เงินลงทุน 529.5 ล้านบาท ส่วน ภาคการก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.1 เป็นการเพิ่มขึ้นของการก่อสร้างเพื่อการ พาณิชย์ และการบริการ ร้อยละ 96.2 และ 93.6 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างในภาคใต้ ตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดสงขลา และพัทลุง เป็นสำคัญ ขณะที่ภาคใต้ตอนบนมีพื้นที่ก่อสร้างลดลงใน ทุกจังหวัด ยกเว้นจังหวัดนครศรีธรรมราช และชุมพร อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล ลดลงทั้งจำนวนรายและทุนจดทะเบียน โดยการจดทะเบียนส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ตอนบนถึงร้อยละ 77.1 อาทิ จังหวัดภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะที่เกาะสมุย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ และรับเหมาก่อสร้าง
การจ้างงาน
ในเดือนนี้มีผู้ประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดใน ภาคใต้ทั้งสิ้น 2,964 อัตรา ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.3 ส่วนใหญ่เป็นความต้องการ จากอุตสาหกรรมขายปลีก-ขายส่ง รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมการผลิต โดยมีผู้สมัครงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.8 แต่มีการบรรจุงานลดลงร้อยละ 0.3 ขณะที่จำนวนผู้เข้าประกันตนของสำนักงาน ประกันสังคมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.4
ระดับราคา
เดือนสิงหาคม 2550 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของภาคใต้อยู่ที่ร้อยละ 0.6 ชะลอลงจากร้อยละ 1.2 ในเดือนก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 2.1 ตามการเพิ่มขึ้น ตัวเลขประมาณการของหมวดข้าวสารเหนียว หมวดเป็ด ไก่ หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม และหมวดผักและผลไม้ เป็น สำคัญ ส่วนสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.4 เป็นการลดลงของ หมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง และหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร เนื่องจากราคา น้ำมันในตลาดโลกลดลง ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินลดลง 2 ครั้ง ดีเซลลดลง 1 ครั้ง และ ราคาโทรศัพท์มือถือลดลงร้อยละ 2.6 ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ชะลอลงจากร้อยละ 1.2 ในเดือนก่อน
การค้าต่างประเทศ
ในเดือนนี้มีมูลค่าการส่งออก 952.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 0.7 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่ลดลงร้อยละ 14.4 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออกดีบุก และไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ เป็นสำคัญ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 437.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.3 ชะลอลงจากร้อยละ 46.4 ในเดือนก่อน โดยสินค้านำเข้า สำคัญเพิ่มขึ้นแทบทุกหมวด ยกเว้นสัตว์น้ำแช่แข็งที่นำเข้าลดลง
ภาคการคลัง
ในเดือนสิงหาคม การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ในภาคใต้ มีจำนวน 9,147.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 ตามการเพิ่มขึ้นของการเบิกจ่ายของ คลังจังหวัดนครศรีธรรมราช (รวมคลังอำเภอทุ่งสงและอำเภอปากพนัง) สุราษฎร์ธานี และตรัง เป็น สำคัญ ส่วนการจัดเก็บภาษีเงินได้มีจำนวน 3,340.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.7 เป็นการจัดเก็บภาษีสรรพากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 เนื่องจากเดือนนี้เป็นเดือนสุดท้ายของการยื่น ชำระภาษีจากกำไรสุทธิของนิติบุคคลรอบครึ่งปีบัญชี 2550 และศุลกากร เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 ตามการเพิ่มขึ้นของภาษีนำเข้าหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ ขณะที่จัดเก็บภาษีสรรพสามิตลดลงร้อยละ 10.6 ตามการลดลงของภาษีหมวดสุรา
ภาคการเงิน
ณ สิ้นเดือนสิงหาคม เงินฝากคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์ คาดว่า มีจำนวนรวม ประมาณ 392,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.3 ส่วนสินเชื่อคงค้างมีจำนวน ประมาณ 316,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.4 โดยธนาคารพาณิชย์ยังมี เป้าการขยายสินเชื่อ อย่างไรก็ตาม จากการที่สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้ ธนาคารพาณิชย์ต้องระมัดระวังการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น โดยการขยายสินเชื่อยังคงเน้นกลุ่มลูกค้าเก่า ที่มีประวัติการเงินดี และกลุ่มที่มีรายได้แน่นอน เป็นหลัก

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ