สรุปภาวะเศรษฐกิจสำคัญในภาคใต้ เดือนมิถุนายน 2550

ข่าวเศรษฐกิจ Friday July 27, 2007 16:15 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

          เศรษฐกิจภาคใต้เดือนมิถุนายนโดยรวมชะลอตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน  โดยการผลิต  ภาคเกษตรและอุตสาหกรรมชะลอตัว  ส่วนการท่องเที่ยวหดตัว  ทางด้านการอุปโภคบริโภคชะลอลง  ผลจากรายได้เกษตรกรลดลงจากราคาพืชผลหลักเป็นสำคัญ  ส่วนการลงทุนภาคเอกชนชะลอลง    ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นตามการเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 เศรษฐกิจภาคใต้โดยรวมชะลอตัวลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ผลผลิตพืชผลที่สำคัญชะลอลง ประกอบกับราคาลดต่ำลง ทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลง ขณะเดียวกันการผลิตภาคอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวลดลง ส่งผลให้การอุปโภคบริโภค ภาคเอกชนชะลอตัว ส่วนการลงทุน ชะลอตัวลงตามการลดลงของการลงทุนด้านการก่อสร้าง สำหรับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 2.0
ภาคเกษตรกรรม
ในเดือนมิถุนายน รายได้ของเกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักลดลงจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 20.0 เป็นผลจากราคาพืชผลหลักลดลงร้อยละ 21.8 ที่สำคัญคือ ราคายางพาราลดลง ร้อยละ 25.8 เนื่องจากการชะลอซื้อของผู้ผลิตยางล้อจากจีนและญี่ปุ่น กอปรกับนักลงทุนในตลาด ล่วงหน้าเริ่มเทขายสัญญาเพื่อทำกำไร ขณะที่ผลผลิตพืชผลหลักเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 2.3 เป็นผลจากผลผลิตยางเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ด้านประมงทะเลลดลง โดยปริมาณสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาใน ภาคใต้เดือนนี้มีจำนวน 26,803.2 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.9 มูลค่า 1,008.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูมรสุม ขณะเดียวกันผู้ประกอบการประมง ยังประสบปัญหาต้นทุนการทำประมงที่ปรับสูงขึ้น ขณะที่ราคาสัตว์น้ำปรับขึ้นได้ไม่มากนัก นอกจากนี้การทำประมงนอกน่านน้ำในประเทศเพื่อนบ้านยังมีความเสี่ยงด้านความไม่ปลอดภัยทาง ทะเล
การเพาะเลี้ยงกุ้ง ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดต่อเนื่อง แม้บางพื้นที่จะมีโรคระบาดตัวแดง ดวงขาว เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย และการลงกุ้งที่หนาแน่นเกินไป ทางด้านราคา ปรับลดลงค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกุ้งขนาดเล็ก โดยกุ้งขาวขนาด 80 และ 100 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ย กิโลกรัมละ 66.23 และ 57.50 บาท1 ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.6 และ 31.9 ตามลำดับ
ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 รายได้ของเกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักลดลงร้อยละ 10.6 เนื่องจากราคาพืชผลหลักลดลงร้อยละ 11.1 ตามราคายางพาราที่ลดลงร้อยละ 14.8 ผลจากการ ชะลอซื้อของผู้ใช้ยางรายใหญ่ ประกอบกับนักลงทุนในตลาดล่วงหน้าเริ่มเทขายสัญญา เพื่อทำกำไร ขณะที่ผลผลิตพืชผลหลักเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.1
ด้านประมงทะเล ปริมาณสัตว์น้ำลดลง แม้ว่าการประมงทางฝั่งอันดามัน โดยเฉพาะ จังหวัดภูเก็ต และระนอง จะมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ขึ้นหลังจากเกิดธรณีพิบัติภัยสึนามิก็ตาม แต่ เนื่องจากราคาสัตว์น้ำไม่สามารถเพิ่มขึ้นตามต้นทุนที่สูงขึ้น โดยเฉพาะน้ามัน ทำให้ผู้ประกอบการ ประมงส่วนหนึ่งหยุดทำการประมง ส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือในภาคใต้ลดลงจาก ไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.2 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 นอกจากนั้นประมงนอกน่านน้ำยังคง มีความเสี่ยงด้านความไม่ปลอดภัยทางทะเล สำหรับผลผลิตกุ้งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน และ ไตรมาสเดียวกันปีก่อน แต่ราคาลดลงทุกขนาด
ภาคอุตสาหกรรม
การผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้ในเดือนมิถุนายนชะลอลง เมื่อเทียบกับเดือน เดียวกันปีก่อน โดยผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบลดลงร้อยละ 19.9 ตามปริมาณวัตถุดิบ ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออกลดลง เป็นผลจากปริมาณวัตถุดิบที่น้อยลงและการชะลอซื้อของ ตลาดต่างประเทศ ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง ไม้ยางพาราและเฟอร์นิเจอร์ ยางพารา สัตว์น้ำแปรรูปและแช่แข็ง (ผ่านด่านศุลกากรสงขลา) และถุงมือยาง มีปริมาณส่งออกลดลง ร้อยละ 41.4 24.5 14.2 10.4 และ 4.9 ตามลำดับ
ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้ลดลง โดยผลผลิตน้ำมัน ปาล์มลดลงร้อยละ 32.5 ตามปริมาณและคุณภาพของวัตถุดิบ ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมอาหาร ทะเลกระป๋อง ยางพารา สัตว์น้ำแปรรูปและแช่แข็ง (ผ่านด่านศุลกากรสงขลา) ไม้ยางพาราและ เฟอร์นิเจอร์ และถุงมือยาง การผลิตลดลงตามความต้องการของตลาดต่างประเทศและวัตถุดิบที่ น้อยลง โดยมีปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 21.6 16.5 15.5 9.7 และ 9.3 ตามลำดับ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ประสบปัญหาต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ขณะที่ราคาสินค้าปรับขึ้นได้ไม่มากนัก เพราะภาวะการแข่งขันสูง และมาตรการทางการค้าที่เข้มงวดของประเทศคู่ค้าสำคัญ ราคาซื้อขายโดยประมาณที่ตลาดมหาชัย
การท่องเที่ยว
ในเดือนมิถุนายนนี้ การท่องเที่ยวของภาคใต้ลดลง โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ เดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ มีจำนวนประมาณ 179,987 คน ลดลงจากเดือน เดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.9 ทั้งนี้ เป็นผลจากการลดลงของนักท่องเที่ยวทางภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งได้รับ ผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง ทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทางผ่าน ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสงขลาลดลงถึงร้อยละ 46.1 ขณะเดียวกันทางฝั่งตะวันตกภาวะ ท่องเที่ยวเริ่มชะลอลง โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด ภูเก็ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 ชะลอลงจากร้อยละ 49.4 ในเดือนก่อน เนื่องจากเข้าสู่ช่วงกรีนซีซัน นักท่องเที่ยวแถบยุโรปและสแกนดิเนเวียเข้ามาน้อยลง
ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ภาวะท่องเที่ยวของภาคใต้ลดลง โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ เดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ประมาณ 607,237 คน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 4.3 เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง ทำให้นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย และ สิงคโปร์ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวภาคใต้ตอนล่างลดลง โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่าน ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสงขลาลดลงร้อยละ 34.6 ส่วนการท่องเที่ยวทางฝั่งอันดามันชะลอลง จากไตรมาสก่อน เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงกรีนซีซัน นักท่องเที่ยวชาวยุโรปและสแกนดิเนเวีย เข้ามา น้อยลง อย่างไรก็ตามนักท่องเที่ยวเอเชียและออสเตรเลียเข้ามาเพิ่มขึ้น ทำให้การท่องเที่ยวชะลอ ลงไม่มากนัก โดยนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.3 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.6 ในไตรมาสก่อน
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคใต้เดือนมิถุนายนชะลอลง เนื่องจากภาวะ เศรษฐกิจชะลอตัว กอปรกับมีปัจจัยลบด้านสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่นิ่ง เหตุการณ์ความไม่สงบ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง สะท้อนจากเครื่องชี้การบริโภคที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 ชะลอลง จากร้อยละ 14.8 ในเดือนก่อน ส่วนการจดทะเบียนใหม่รถยนต์ส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ลดลง ร้อยละ 17.5 และ 27.1 ตามลำดับ
ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ชะลอตัว ตามปัจจัยลบด้านสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ความไม่แน่นอนทาง การเมือง และราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยการจดทะเบียนใหม่รถยนต์ส่วนบุคคล และ รถจักรยานยนต์ ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.0 และ 24.0 และเมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 17.8 และ 7.9 ตามลำดับ ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 1,937.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 แต่เป็นอัตราที่ชะลอลงจากร้อยละ 19.4 ในไตรมาสก่อน
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนโดยรวมชะลอตัว จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว การเมืองที่ยังไม่ชัดเจน ตลอดจนความเข้มงวดในการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ มีโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการ ลงทุนจำนวน 10 โครงการ เท่ากับเดือนเดียวกันปีก่อน เป็นโครงการลงทุนใหม่ 2 โครงการ และขยาย การลงทุน 8 โครงการ แต่เงินลงทุนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 417.7 เนื่องจากเดือนนี้มีโครงการที่ใช้เงินลงทุนสูง เป็นกิจการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อในจังหวัดสงขลา รองลงมาเป็นกิจการผลิตน้ำยางข้น ใน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นต้น ส่วนพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างลดลง ร้อยละ 18.0 ขณะที่การ จดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลในภาคใต้จำนวนรายลดลงร้อยละ 23.0 แต่เงินทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.0 ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร รองลงมาเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ใน จังหวัดภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี เป็นสำคัญ
ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลง พิจารณาจากเครื่องชี้สำคัญด้าน พื้นที่ก่อสร้างลดลงร้อยละ 13.5 โดยพื้นที่ก่อสร้างลดลงเกือบทุกประเภท เว้นแต่พื้นที่ก่อสร้างเพื่อ การบริการที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 555.8 เนื่องจากมีการก่อสร้างโรงพยาบาล และโรงเรียนเอกชน เพิ่มขึ้น เป็นสำคัญ ด้านโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมี 21 โครงการ เพิ่มขึ้นจากไตรมาส เดียวกันปีก่อน 1 โครงการ แต่เงินลงทุนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 239.9 ขณะที่การจ้างงานคนไทยลดลง ร้อยละ 46.0 สำหรับการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล จำนวนรายและทุนจดทะเบียนลดลงจากไตรมาส เดียวกันปีก่อน ร้อยละ 34.1 และ 16.7 ตามลำดับ
การจ้างงาน
การจ้างงานลดลงต่อเนื่อง โดยในเดือนนี้มีผู้ประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานผ่าน สำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคใต้ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 44.8 ความต้องการแรงงาน ส่วนใหญ่เป็นความต้องการจากอุตสาหกรรมการขายส่ง ขายปลีก และอุตสาหกรรมการผลิต ด้านผู้สมัครงานลดลงร้อยละ 12.5 ส่วนใหญ่มีวุฒิปริญญาตรีขึ้นไป ขณะเดียวกันการบรรจุงาน ลดลงร้อยละ 1.1 ส่วนใหญ่เป็นการบรรจุงานในอุตสาหกรรมการขายปลีก ขายส่ง เป็นสำคัญ ทางด้านผู้เข้าประกันตน ณ สิ้นเดือนนี้มีจำนวน 581,162 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5
ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ผู้ประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหางาน จังหวัดในภาคใต้ทั้งสิ้น 10,220 อัตรา ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.9 โดยจังหวัด สงขลามีตำแหน่งงานว่างสูงสุด รองลงมาได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขณะที่มีผู้สมัครงานทั้งสิ้น 16,150 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 และมีการบรรจุงานรวม 9,449 อัตรา เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4
ระดับราคา
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของภาคใต้อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ชะลอลงจากร้อยละ 2.1 ในเดือนก่อน เล็กน้อย เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 3.4 ตามการเพิ่มขึ้น ของข้าวสารเหนียว ผักและผลไม้ และสัตว์น้ำ ส่วนหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.2 จากการเพิ่มขึ้นของค่าโดยสารสาธารณะ ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของภาคใต้อยู่ที่ ร้อยละ 1.1 ทรงตัวเท่ากับเดือนก่อน
ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของภาคใต้อยู่ที่ร้อยละ 2.0 เป็นผลจากราคา สินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ตามการเพิ่มขึ้นของหมวดผักและผลไม้ร้อยละ 14.1 หมวดปลาและสัตว์น้ำร้อยละ 6.7 หมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ 3.1 ขณะที่ หมวดเนื้อสัตว์ลดลงร้อยละ 11.9 ส่วนหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ตามการเพิ่มขึ้นของค่าโดยสารสาธารณะร้อยละ 5.8 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของไตรมาส ที่ 2 ปี 2550 อยู่ที่ร้อยละ 1.3
การค้าต่างประเทศ
ในเดือนนี้มีมูลค่าการส่งออกรวม 913.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 12.8 เป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออกถุงมือยาง และดีบุก ซึ่งมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 และ 38.9 ตามลำดับ เป็นสำคัญ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 387.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือน เดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.3 ชะลอลงจากร้อยละ 16.3 ในเดือนก่อน เป็นการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้น เป็นสำคัญ ซึ่งเป็นการนำเข้าน้ำมันเตา น้ำมันปิโตรเลียม และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ มีมูลค่า 2,423.8 ล้าน ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 เป็นผลจากการส่งออกไม้ยางพารา แปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ ถุงมือยาง และสัตว์น้ำแช่แข็ง เป็นสำคัญ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 1,173.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.4 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของการ นำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ และน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสำคัญ
ภาคการคลัง
ในเดือนมิถุนายน ภาครัฐจัดเก็บภาษีได้จำนวน 2,316.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน เดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.3 โดยจัดเก็บภาษีสรรพากร ได้จำนวน 2,038.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 ภาษีสรรพสามิตจัดเก็บได้ 145.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 และภาษีศุลกากร จัดเก็บได้ 132.6 เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.3 ด้านการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ในภาคใต้ มี จำนวน 12,286.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 39.9 ตามการเบิกจ่ายที่เพิ่มขึ้น ของทุกคลังจังหวัด โดยเฉพาะคลังจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา และยะลา มีการเบิกจ่ายใน ปริมาณสูง เนื่องจากมีการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุน และเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการเบิกจ่ายเงินของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ในภาคใต้มี จำนวน 31,010.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.7 ตามการเร่งเบิกจ่ายเงิน งบประมาณของคลังจังหวัดต่าง ๆ โดยคลังจังหวัดที่มีการเบิกจ่ายในระดับสูง ได้แก่คลังจังหวัด นครศรีธรรมราช คลังจังหวัดสงขลา และคลังจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.6 5.8 และ 8.2 ตามลำดับ เนื่องจากมีมาตรการให้เร่งเบิกจ่ายเงินด้านงบลงทุน และให้มีการก่อหนี้ผูกพันภายใน วันที่ 30 มิถุนายน 2550 รวมทั้งมีการเบิกจ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการ ปกครองท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากร มีจำนวน 8,239.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.7 ตามการจัดเก็บภาษีสรรพากร ภาษีสรรพสามิต และ ภาษีศุลกากร ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 24.0 และ 22.8 ตามลำดับ
ภาคการเงิน
ณ สิ้นเดือนมิถุนายนนี้ เงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ คาดว่ามีจำนวนรวม 389,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.6 ส่วนสินเชื่อมีจำนวนประมาณ 313,000 ล้าน บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 เป็นการเพิ่มในอัตราชะลอลง โดยมีปัจจัยลบด้านภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ความไม่ชัดเจนทางการเมืองในประเทศ รวมทั้งเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องระมัดระวังในการให้สินเชื่อมากขึ้น โดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่เป็นธุรกิจรายเก่าที่ มีประวัติการเงินดี และกลุ่มสินเชื่อรายย่อยที่มีแหล่งรายได้แน่นอน เป็นสำคัญ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ