สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนมิถุนายน 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 4, 2008 15:27 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

          ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนมิถุนายน ขยายตัว ด้านอุปทาน ผลผลิตพืชผล  เพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของปาล์มน้ำมันและยางพารา ขณะเดียวกันการผลิตภาคอุตสาหกรรม  เพิ่มขึ้น และการท่องเที่ยวขยายตัว ขณะที่ประมงลดลงต่อเนื่อง ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภค ภาคเอกชนทรงตัว และการส่งออก ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ส่วนการลงทุนปรับตัวดีขึ้น  ขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้น สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคเร่งตัวสูงขึ้น ทางด้านสินเชื่อและเงิน  ฝากชะลอตัว
ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ขยายตัว โดยทางด้านอุปทานขยายตัวดีตามผลผลิตและ ราคาพืชผลสำคัญที่ขยายตัวดี รวมทั้งการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวที่ขยายตัว เช่นกัน ทางด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว ขณะที่การส่งออก และการ เบิกจ่ายงบประมาณขยายตัว พร้อมกันนั้นการลงทุนปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการก่อสร้าง รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มีดังนี้
1. ภาคเกษตร ดัชนีรายได้ของเกษตรกรเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 65.1 เป็นผลจากทั้ง ปริมาณผลผลิตและราคาที่เพิ่มขึ้น โดยผลผลิตพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 ตามปริมาณ ผลผลิตปาล์มน้ำมันและยางพาราที่เพิ่มขึ้น ด้านราคาพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.6 ตามราคา ยางที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.8 เนื่องจากมีอุปสงค์จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
ประมงทะเล ยังคงอยู่ในภาวะหดตัวต่อเนื่อง จากต้นทุนการทำประมงอยู่ในระดับสูง ตามราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เรือประมงส่วนหนึ่งหยุดทำการประมงและเรือทูน่าของไต้หวันซึ่ง นำสัตว์น้ำขึ้นที่ท่าเทียบเรือภูเก็ตได้นำสัตว์นำขึ้นที่ท่าเทียบเรือในศรีลังกาเพราะอยู่ใกล้แหล่งทำ ประมงแทน ส่งผลให้ปริมาณและมูลค่าสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาใน ภาคใต้ลดลงร้อยละ 16.0 และ 19.5 ตามลำดับ ส่วนการเพาะเลี้ยงกุ้ง ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ร้อยละ 13.4 เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และราคากุ้งตกต่ำ ทางด้านราคากุ้งในเดือนนี้ ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยกุ้งขาวขนาด 50 ตัวต่อกิโลกรัม ที่ตลาดมหาชัยราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 112.8 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.4
ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 รายได้จากการขายพืชผลสำคัญของเกษตรกรขยายตัว ร้อยละ 53.8 ตามปริมาณและราคาผลผลิตสำคัญที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 และ 22.8 ตามลำดับ ส่วนการประมง ปริมาณและมูลค่าสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือในภาคใต้ในไตรมาสนี้ลดลงจาก ไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.7 และร้อยละ 15.4 ตามลำดับ ผลกระทบจากต้นทุนที่สูงขึ้น ส่วนการเพาะเลี้ยงกุ้ง เกษตรกรบางส่วนชะลอการเพาะเลี้ยงเนื่องจากประสบปัญหาต้นทุนการ เลี้ยงสูงขึ้น กอปรกับราคากุ้งที่ตกต่ำ ทำให้ผลผลิตกุ้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันลดลงร้อยละ 24.8 ด้านราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยกุ้งขาวขนาด 50 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 119.87 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3
2. ภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 จากการผลิต อุตสาหกรรมยางที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของต่างประเทศ โดยอุตสาหกรรมยางแท่ง น้ำยางข้น และยางแผ่นรมควัน มีปริมาณส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้จำนวน 74,201.4 เมตริกตัน 60,983.3 เมตริกตัน และ 31,168.1 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.6 30.7 และ 11.0 ตามลำดับ ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมอาหารทะเลบรรจุกระป๋อง มีปริมาณส่งออก เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 36.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากขยายตลาดไปตะวันออกกลาง สำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบมีผลผลิตจำนวน 143,853.7 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือน เดียวกันปีก่อนร้อยละ 95.9 ตามปริมาณวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เย็นแช่ แข็งลดลงร้อยละ 12.2 เนื่องจากส่งออกผลิตภัณฑ์ปลาและหมึกลดลงร้อยละ 24.0 และ 30.4 ตามลำดับ ตามปริมาณวัตถุดิบที่ลดลง
ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 เร่งตัวขึ้น จากไตรมาสก่อนตามการส่งออกและวัตถุดิบ โดยอุตสาหกรรมยางมีปริมาณส่งออก 544,166.9 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.4 อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง มีปริมาณการส่งออก 31,145.1 เมตริกตันเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 ตามการเพิ่มขึ้นของการส่งออกกุ้ง แปรรูปไปตลาดญี่ปุ่น และอาหารบรรจุกระป๋องส่งออก 34,503.5 เมตริกตันเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เป็นการขยายตัวในตลาดตะวันออกกลาง ส่วนผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบมีจำนวน 446,190.5 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 92.8
3. การท่องเที่ยว ขยายตัว โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านด่าน ตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ 242,918 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.3 เนื่องจาก ภาครัฐและเอกชนร่วมมือในการทำตลาดทั้งต่างประเทศและในประเทศ โดยจัดกิจกรรมเพื่อ กระตุ้นตลาดประชุมสัมมนา เน้นนักท่องเที่ยวระยะใกล้ อาทิ จีน เกาหลีใต้ เนื่องจากราคาน้ำมันที่ เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้า มาจังหวัดภูเก็ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียมีความมั่นใจในความ ปลอดภัยมากขึ้น ประกอบกับการจัดกิจกรรม Amazing Thailand Grand Sales ส่งผลให้จังหวัด สงขลามีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.2
ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 ภาวะท่องเที่ยวขยายตัว โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ เดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ 776,177 คน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 29.1 จากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวฝั่งอันดามัน โดยจังหวัดภูเก็ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 และภาคใต้ ตอนล่าง โดยเฉพาะจังหวัดสงขลาเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.7 เนื่องจากรัฐและภาคเอกชนร่วมกันจัด กิจกรรมการท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวมั่นใจในความปลอดภัย ประกอบกับในไตรมาสเดียวกันปี ก่อนมีเหตุการณ์ระเบิดในอ.หาดใหญ่ ทำให้ฐานในไตรมาสเดียวกันปีก่อนต่ำ
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ทรงตัว โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.3 ตามดัชนีในหมวดยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 จาก การจดทะเบียนรถเพิ่มขึ้นทุกประเภท เนื่องจากฐานต่ำในปีก่อน ประกอบกับการลดภาษี สรรพสามิตสำหรับรถยนต์ที่ใช้ก๊าซโซฮอล์ E 20 รวมทั้งราคาพืชผลที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ปี 2543 ลดลงร้อยละ 1.0 เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง จากปัจจัยด้านราคาน้ำมัน และปัญหาเงินเฟ้อ
ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 การบริโภคชะลอตัว โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เนื่องจากราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นทั้งราคาน้ำมันและอาหาร รวมทั้งความไม่มั่นใจในสถานการณ์ด้านการเมือง ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ปี 2543 จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 ส่วนดัชนียานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 20.9 และการใช้ไฟฟ้าที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2
5. การลงทุนภาคเอกชน โดยรวมปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการ ทางด้านภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการโอนและการจำนอง อสังหาริมทรัพย์และห้องชุด รวมทั้งลดภาษีธุรกิจเฉพาะของภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ส่งผลให้การก่อสร้างขยายตัว โดยพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง ในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 99.6 ส่วนปริมาณการจำหน่ายปูนซิเมนต์ในภาคใต้ลดลงร้อยละ 2.1 ทางด้านโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน มีจำนวนโครงการและเงินลงทุนลดลงร้อยละ 50.0 และ 72.0 ตามลำดับ ส่วนการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่ จำนวนรายและทุนจดทะเบียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และ 30.3 ตามลำดับ
ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 การลงทุนโดยรวมอยู่ในภาวะดีขึ้น โดยพื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับ อนุญาตในเขตเทศบาลมีจำนวน 494,835 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.5 และปริมาณการ จำหน่ายปูนซิเมนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 รวมทั้งการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล จำนวนรายและ เงินทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 และ11.5 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นการจดทะเบียนใน จังหวัดภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และสงขลา กิจการที่มีการจดทะเบียนมากเป็นกิจการรับเหมาก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และโรงแรม ภัตตาคารร้านอาหาร ส่วนโครงการลงทุนที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) ลดลงทั้งจำนวนรายและเงินลงทุน
6. การจ้างงาน เพิ่มขึ้น โดยเดือนนี้มีผู้ได้รับการบรรจุงาน 5,517 อัตรา เพิ่มขึ้นจาก เดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 73.3 ขณะเดียวกันความต้องการจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยตำแหน่งงานว่าง ที่ผู้ประกอบการใช้บริการผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคใต้มีจำนวน 5,772 อัตรา เพิ่มขึ้น จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 116.1 เพิ่มขึ้นมากในจังหวัดพัทลุง ระนองและสุราษฎร์ธานี ส่วน ผู้สมัครงานมีจำนวน 7,177 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 80.8 ทางด้านผู้ประกันตน ณ สิ้นเดือนนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 582,581 คน เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.2
ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 การจ้างงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จะเห็นได้จากมีการบรรจุงาน 13,625 อัตรา ตำแหน่งงานว่าง 16,208 อัตรา และผู้สมัครงาน 17,321 คน เพิ่มขึ้นจากไตรมาส เดียวกันปีก่อนร้อยละ 44.2 - 58.6 และ 7.3 ตามลำดับ โดยตำแหน่งงานว่าง ผู้สมัครงานและการ บรรจุงานส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดภูเก็ต สงขลา และสุราษฎร์ธานี ทางด้านจำนวนผู้ประกันตน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2
7. ระดับราคา อัตราเงินเฟ้อของภาคใต้ในเดือนนี้ อยู่ที่ร้อยละ 10.2 เร่งตัวขึ้นจาก ร้อยละ 8.5 ในเดือนก่อน เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ13.3 ตามการเพิ่มขึ้นของข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เครื่องประกอบอาหารและอาหารบริโภคทั้ง ในบ้าน และนอกบ้าน ขณะเดียวกันหมวดอื่นที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ตาม ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายในการบริโภคสินค้าทุกชนิด เพิ่มขึ้น สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของภาคใต้ อยู่ที่ร้อยละ 5.5 สูงขึ้นจากร้อยละ 5.0 ในเดือน ก่อน
ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของภาคใต้ในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 8.5 โดยดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 ผลจากราคาข้าวแป้ง ผลิตภัณฑ์ จากแป้งเพิ่มขึ้นขึ้นร้อยละ 30.3 และเนื้อสัตว์ ร้อยละ 27.5 ขณะเดียวกันดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 โดยหมวดยานพาหนะน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 18.5 และหมวดยาสูบ เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.8 สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8
8. การค้าต่างประเทศ มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีจำนวนทั้งสิ้น 1,667.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 36.2 แยกเป็นมูลค่าการ ส่งออก 1,073.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.2 ตามการเพิ่มขึ้น ของการส่งออกยางพารา และไม้ยางพาราแปรรูปและเฟอร์นิเจอร์ เป็นสำคัญ ส่วนการนำเข้ามี มูลค่า 594.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 53.5 เป็นผลจากการ นำเข้าสัตว์น้ำแช่แข็ง เครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 มูลค่าการค้าต่างประเทศผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มี จำนวนทั้งสิ้น 4,876.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 32.9 แยก เป็นมูลค่าการส่งออกจำนวน 3,267.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อย ละ 31.0 เนื่องจากมูลค่าสินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ ยางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.0 ไม้ยางพาราแปร รูปและเฟอร์นิเจอร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.7 และอาหารบรรจุกระป๋องเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.4 นอกจากนี้มูลค่า การส่งออกน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่าตัว ส่วนการนำเข้า มีมูลค่าทั้งสิ้น 1,608.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 36.9 จากมูลค่าการนำเข้าสัตว์น้ำแช่แข็งเพิ่มขึ้น ร้อยละ 65.8 และเครื่องจักรอุปกรณ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3
9. ภาคการคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่างๆในภาคใต้ มี จำนวน 12,865.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.7 ตามการเพิ่มขึ้นของการ เบิกจ่ายเงินงบประมาณของคลังจังหวัดนราธิวาส สุราษฎร์ธานี สงขลา ภูเก็ต และนครศรีธรรมราช ส่วนภาษีอากรจัดเก็บได้ 2,225.2 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.8 เนื่องจาก จัดเก็บภาษีสรรพากรได้ลดลง เป็นผลมาจากนโยบายกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่มีการ ลดอัตราภาษีบางชนิดในการจัดเก็บลง ขณะที่ภาษีสรรพสามิต จัดเก็บได้ 201.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 38.4 ส่วนภาษีศุลกากร จัดเก็บได้จำนวน 99.7 ล้านบาท ลดลง จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.5
ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่างๆในภาคใต้ มีจำนวน 36,260.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.9 ตามการเพิ่มขึ้นของ การเบิกจ่ายเงินงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ส่วนทางด้านรายได้มีการ จัดเก็บภาษีได้ทั้งสิ้น 8,403.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.8 โดยภาษี สรรพากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ชะลอลงจากร้อยบะ 4.6 ในไตรมาสที่1 เนื่องจากการขยายวงเงินการ ยกเว้นภาษีและเพดานการหักลดหย่อน ส่วนภาษีสรรพสามิตและศุลกากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ขณะที่ภาษีศุลกากรลดลงร้อยละ 12.2
10. การเงิน เงินฝากคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2551 ของสาขาธนาคารพาณิชย์ ในภาคใต้ มีประมาณ 422,400.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ8.1 และมี สินเชื่อคงค้าง ประมาณ 360,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.2
ไตรมาสที่ 2 ปี 2551 เงินฝากและสินเชื่อยังคงขยายตัว โดยธนาคารพาณิชย์ได้ ปรับอัตราดอกเบี้นเงินฝากขึ้นเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง ส่วนสินเชื่อที่ขยายตัวเป็นสินเชื่อเพื่อการ อุปโภคบริโภคส่วนบุคคล เป็นสำคัญ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ