เศรษฐกิจและการเงินภาคเหนือเดือนสิงหาคม 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday October 2, 2008 15:59 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

          ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือเดือนสิงหาคม 2551 ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยด้านอุปทาน รายได้  เกษตรกรชะลอตัวตามราคาพืชผลสำคัญแต่ยังขยายตัวในเกณฑ์สูง การผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอลงตามการผลิตของ  อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร  ภาคบริการยังคงชะลอลงตามฤดูกาล ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน  ลดลงจากการระมัดระวังการใช้จ่ายและความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุน การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐลดลงตามการ  เบิกจ่ายเพื่อการลงทุน อย่างไรก็ดีการส่งออกขยายตัว ดัชนีราคาผู้บริโภคชะลอตัวตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนเงินฝากและ  สินเชื่อขยายตัว
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร เดือนสิงหาคม 2551 รายได้ของเกษตรกรจากพืชสำคัญขยายตัวร้อยละ 59.2 ชะลอลง จากเดือนก่อนหน้าตามราคาพืชผลสำคัญ อย่างไรก็ดีราคายังขยายตัวถึงร้อยละ 52.6 โดยราคาลำไยเพิ่มขึ้นร้อยละ 163.0 เนื่องจากผลผลิตลดลงขณะที่มีความต้องการเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และข้าวเปลือกเจ้านาปรัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.6 และร้อยละ 83.6 ตามลำดับ ตามราคาในตลาดโลก สำหรับดัชนีผลผลิตพืชผลสำคัญขยายตัวร้อยละ 6.6 ตามการเพิ่มขึ้นของข้าวนาปรังและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.5 และร้อยละ 2.7 ตามลำดับ เนื่องจากสภาพ อากาศเอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาอยู่ในระดับสูงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มการผลิต อย่างไรก็ตาม ผลผลิตลำไยลดลงร้อยละ 14.4 เป็นผลจากราคาในปีก่อนไม่จูงใจ ทำให้เกษตรกรดูแลรักษาการเพาะปลูกน้อยลง
2. ภาคอุตสาหกรรม เดือนสิงหาคม 2551 ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.7 ชะลอตัวจากเดือนก่อน เนื่องจากอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทาง การเกษตรลดลงโดยเฉพาะลำไยอบแห้งจากปริมาณผลผลิตลำไยที่ลดลง อีกทั้งการผลิตพืชผักถนอมอาหารชะลอลงตาม ฤดูกาล การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังคงลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ส่วนทางด้านการผลิตเครื่องดื่มขยายตัวร้อยละ 12.4 เป็น ผลจากการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยขยายตัวเป็นเดือนแรกหลังจากลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปีก่อน ด้านการ ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 20.2 จากการผลิตชิ้นส่วนสินค้าไอทีเพื่อส่งออกที่ขยายตัวดี อาทิ ไดโอด ไอซี และ ตัวเก็บปะจุ เป็นต้น การผลิตเซรามิคประเภทเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารเพื่อส่งออกยังคงขยายตัวดีต่อเนื่องจากเดือนก่อนตาม ความต้องการในตลาดยุโรป ส่วนอุตสาหกรรมการเจียระไนเพชรชะลอตัวจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นประกอบกับความ ต้องการในตลาดต่างประเทศชะลอตัวลง
3. ภาคบริการ เดือนสิงหาคม 2551 ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมือง ประกอบกับเป็นช่วงนอก ฤดูกาลท่องเที่ยว ส่งผลให้ภาคบริการอยู่ในเกณฑ์ลดลง อย่างไรก็ดีกิจกรรมการจัดประชุมสัมมนาจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ยังคงเป็นปัจจัยที่ส่งผลบวกต่อภาคบริการ ซึ่งสะท้อนจากเครื่องชี้สำคัญคือ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและ ภัตตาคารเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.9 อย่างไรก็ดีอัตราการเข้าพักอยู่ที่ร้อยละ 51.2 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนที่ อยู่ที่ระดับร้อยละ 51.7 ด้านราคาห้องพักเฉลี่ยลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 จากภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น และจำนวน ผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.9
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เดือนสิงหาคม 2551 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการระมัดระวังการ ใช้จ่ายของประชาชน โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.2 เป็นผลจากภาษีมูลค่าเพิ่มของภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงปรับตัวลดลง ด้านการจดทะเบียนรถยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.2 ส่วนการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5 โดยเฉพาะจังหวัดพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างตาม รายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับมีรถรุ่นใหม่ตอบสนองผู้บริโภคตรงกลุ่มเป้าหมาย ส่วนปริมาณการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนเดือน กรกฎาคม 2551 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.4
5. การลงทุนภาคเอกชน เดือนสิงหาคม 2551 ยังอยู่ในเกณฑ์ลดลง เป็นผลจากความไม่เชื่อมั่นของนัก ลงทุนจากปัจจัยด้านการเมือง ซึ่งสะท้อนจากเครื่องชี้สำคัญได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามภาวะการก่อสร้างที่ยังคงซบเซา รายได้ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนที่ดินลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.8 ส่วนหนึ่ง เป็นผลจากมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนที่ดินของภาครัฐ ส่วนพื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุญาตในเขตเทศบาล เพิ่มขึ้นจาก ระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.8 จากการขยายตัวในประเภทที่อยู่อาศัยและการพาณิชย์ ในจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย ส่วนเงิน ลงทุนที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมีทั้งสิ้น 40.0 ล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนในหมวดบริการและสาธารณูปโภค
6. การค้าต่างประเทศ เดือนสิงหาคม 2551 การค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือขยายตัว โดยการส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 เป็น 251.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.9 จากการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน เช่น แผงวงจรรวม และส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ประกอบกับการส่งออกชิ้นส่วนเครื่องยนต์ขยายตัวดีโดยเฉพาะการส่งออกไปประเทศอินโดนีเซีย ส่วนการส่งออกเครื่องประดับเพชร พลอยชะลอตัวจากเดือนก่อน ด้านการส่งออกผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.2 เป็น 77.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวในเกณฑ์ ดีต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตามการส่งออกไปพม่าและลาวที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 88.3 และร้อยละ 7.2 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกไปจีนตอน ใต้ยังคงลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนร้อยละ 57.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 42.0 เดือนก่อน ตามการส่งออกลำไยอบแห้ง น้ำมันปาล์ม และยางแผ่นรมควันที่ลดลง
การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงร้อยละ 13.8 เหลือ 117.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้า วัตถุดิบลดลงร้อยละ 21.8 เป็นผลจากมูลค่าการนำเข้าเพชรเพื่อเจียระไนและวัตถุดิบประเภทแก้วลดลงเป็นสำคัญ ขณะที่การนำเข้า วัตถุดิบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชะลอลงเล็กน้อย ด้านการนำเข้าสินค้าทุนลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตามการนำเข้าส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าที่ลดลง และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากเดือนเดียวกันปีก่อนมีการนำเข้าอุปกรณ์วิทยาศาสตร์มูลค่าสูง ส่วนการนำเข้า ผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.0 เป็น 7.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นทั้งการนำเข้าจากพม่า ลาวและจีนตอนใต้ในอัตราร้อยละ 7.5 ร้อยละ 35.6 และร้อยละ 67.0 ตามลำดับ สินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ผักสด ผลไม้ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ดุลการค้า ในเดือนสิงหาคม 2551 เกินดุล 134.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนและเดือน ก่อนที่เกินดุล 81.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 89.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
7. การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในภาคเหนือ เดือนสิงหาคม 2551 มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้นจำนวน 10,879.6 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.0 โดยรายจ่ายลงทุนลดลงร้อยละ 31.2 โดยเฉพาะในส่วนของที่ดิน/ สิ่งก่อสร้างที่ลดลงร้อยละ 31.3 เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาได้มีการเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณอย่างต่อเนื่อง ด้านรายจ่ายประจำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ตามการเพิ่มขึ้นของหมวดเงินเดือนจากการปรับฐานเงินเดือนของข้าราชการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 ขณะที่ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุและค่าสาธารณูปโภคลดลง
8. ระดับราคา เดือนสิงหาคม 2551 ดัชนีราคาผู้บริโภคภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.7 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 10.7 เนื่องจากหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มชะลอตัวลง ตามการชะลอลงของหมวด พาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร ส่วนราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 16.4 จากการเพิ่มขึ้นของ ข้าว เนื้อสัตว์ และผักผลไม้ ในอัตราร้อยละ 21.3 ร้อยละ 15.2 และร้อยละ 18.1 ตามลำดับ ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจาก ระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.5 ลดลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เดือนก่อน
9. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนกรกฎาคม 2551 กำลังแรงงาน รวมในภาคเหนือมีจำนวน 7.042 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.940 ล้านคน คิดเป็นอัตราการมีงานทำร้อยละ 98.6 ใกล้เคียงกับ ร้อยละ 98.7 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยการจ้างงานในภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เนื่องจากเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูกาลการเกษตร และการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากการขยายตัวของแรงงานในสาขาการก่อสร้างร้อยละ 7.2 โรงแรมและ ภัตตาคารร้อยละ 2.8 และค้าปลีก/ส่งร้อยละ 2.3 ส่วนผู้ว่างงานมีจำนวน 0.090 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 1.3 ทรงตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ด้านผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 ในเดือนสิงหาคม 2551 มีจำนวน 0.599 ล้านคน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อยร้อยละ 0.1
10. การเงิน ยอดคงค้างเงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2551 มียอด คงค้างทั้งสิ้น 351,495 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.3 ชะลอลงจากเดือนก่อน ส่วนหนึ่งจากการถอนเงิน ฝากของส่วนราชการ และการถอนเงินฝากเพื่อไปลงทุนในตั๋วแลกเงินและกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า โดยเงินฝาก ลดลงมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและนครสวรรค์ ด้านเงินให้สินเชื่อ มียอดคงค้าง 300,775 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะ เดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.5 โดยสินเชื่อเพิ่มขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูนและเชียงราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวใน อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร อย่างไรก็ตาม มีการชำระสินเชื่อของธุรกิจค้าพืชไร่และโรงสี ส่งผลให้สินเชื่อลดลงมากที่จังหวัด นครสวรรค์ เพชรบูรณ์และพิจิตร สำหรับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 85.6 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 80.7 ระยะ เดียวกันปีก่อน
ข้อมูลเพิ่มเติม : คุณนุกุล มุกลีมาศ โทร 0 5393 1142 E-mail: Nukulm@bot.or.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ