ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนสิงหาคม ชะลอตัว ด้านอุปทาน ผลผลิตพืชผล เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ตามผลผลิตปาล์มน้ำมันและยางพารา ขณะเดียวกันการท่องเที่ยว ขยายตัวในอัตราชะลอลง การประมงปรับตัวดีขึ้น แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง
ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัว การส่งออกและการลงทุนชะลอตัว การ เบิกจ่ายงบประมาณลดลง สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคชะลอตัว ด้านสินเชื่อและเงินฝากขยายตัว
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนสิงหาคม ปี 2551 มีดังนี้
1. ภาคเกษตร ดัชนีรายได้ของเกษตรกรขยายตัวร้อยละ 55.3 ชะลอลงจากร้อยละ 89.1 ในเดือนก่อน ตามการชะลอตัวลงของผลผลิตและราคา โดยผลผลิตพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นเพียง ร้อยละ 14.1 ตามปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันและยางพาราที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 39.8 และร้อยละ 5.2 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.5 และ 8.9 ตามลำดับ ด้านราคาพืชผล สำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.1 ชะลอตัวลงเช่นกัน ตามราคายางและปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.7 และ 5.5 ตามลำดับ ตามราคาในตลาดโลก
ประมงทะเล ปรับตัวดีขึ้น มีปริมาณและมูลค่าสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือขององค์การ สะพานปลาในภาคใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 และ 2.2 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในท่าเทียบเรือฯ จังหวัดระนองและปัตตานี จากการทำประมงในน่านน้ำประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนการเพาะเลี้ยงกุ้ง ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงร้อยละ 25.8 เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ขณะที่ราคาปรับตัวขึ้นไม่ มาก ไม่จูงใจในการเลี้ยง ทางด้านราคากุ้งขาวขนาด 50 ตัวต่อกิโลกรัม ที่ตลาดมหาชัยในเดือนนี้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.9 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.8 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก ราคาในเดือนเดียวกันปีก่อนเป็นราคาต่ำสุดในรอบปี
2. ภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 6.5 จากการผลิต อุตสาหกรรมยางที่ลดลงตามความต้องการของต่างประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่นและยุโรป แม้ว่าจีน จะมีความต้องการต่อเนื่องก็ตาม โดยอุตสาหกรรมยางแท่งและยางแผ่นรมควัน มีปริมาณส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้จำนวน 75,421.0 เมตริกตันและ 39,467.1 เมตริกตัน ลดลงจากเดือน เดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.9 และ 12.9 ตามลำดับ ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมสัตว์น้ำแช่แข็ง มี ปริมาณส่งออกลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.1 เป็นการลดลงของผลิตภัณฑ์ปลาและ ปลาหมึก ขณะที่ผลิตภัณฑ์กุ้งปรับตัวดีขึ้น จากการส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรปและญี่ปุ่น ส่วน อาหารทะเลบรรจุกระป๋อง มีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.7 ซึ่ง ตะวันออกกลางยังคงเป็นตลาดหลักที่มีการขยายตัวดี ขณะที่ตลาดสหรัฐฯลดลงตามภาวะ เศรษฐกิจสำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบมีผลผลิตจำนวน 96,408.9 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจาก เดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 36.4 ตามปริมาณวัตถุดิบ
3. การท่องเที่ยว ขยายตัว แต่ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยมีนักท่องเที่ยวชาว ต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ 271,059 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 11.4 ตามการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวในภาคใต้ตอนล่างเป็นสำคัญ โดยมี นักท่องเที่ยวเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในจังหวัดสงขลาเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.5 เนื่องจากมี การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว ได้แก่งานตักบาตรพระ 2,500 รูป ประกอบกับเป็นช่วงวัน ชาติของประเทศมาเลเซีย ส่วนภาวะการท่องเที่ยวในภาคใต้ฝั่งตะวันตก นักท่องเที่ยวเดินทางเข้า มาท่องเที่ยวลดลง เนื่องจากเป็นช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และปัญหาสถานการณ์ทางการเมือง ที่มีการประท้วงปิดสนามบินในช่วงปลายเดือน โดยจังหวัดภูเก็ตนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ลดลงร้อยละ 11.6
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัว โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.3 ตามดัชนีในหมวดภาษีมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 เนื่องจากภาวะการท่องเที่ยวและราคาสินค้าเกษตรอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะเดียวกันปริมาณการใช้ ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ส่วนดัชนีหมวดยานยนต์ลดดลงร้อยละ 10.2 ตามการจดทะเบียน รถยนต์และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากจะมีรถรุ่นใหม่เปิดตัวในช่วง ปลายเดือน และราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับสูง ผู้บริโภคจึงชะลอการซื้อ ขณะที่ดัชนีหมวดเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 1.7 ตามปริมาณการใช้น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล ลดลง
5. การลงทุนภาคเอกชน ชะลอตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทาง การเมือง ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง ต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น และความเข้มงวดในการให้ สินเชื่อของสถาบันการเงิน โดยพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 9.8 ทางด้านโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน จำนวนโครงการและเงินลงทุนลดลงจากเดือน เดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.0 และ 94.0 ตามลำดับ โดยมีโครงการลงทุนที่น่าสนใจ 2 โครงการ คือ โครงการบ้านพักและศูนย์สวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ ในจังหวัดภูเก็ตเงินลงทุน 250.0 ล้านบาท และกิจการผลิตน้ำมันปาล์มดิบในจังหวัดระนองเงินลงทุน 100.0 ล้านบาท ส่วนการจดทะเบียน ธุรกิจนิติบุคคลใหม่ จำนวนรายลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.3 แต่ทุนจดทะเบียน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.9
6. การจ้างงาน เพิ่มขึ้น โดยมีผู้ได้รับการบรรจุงานเดือนนี้จำนวน 3,040 อัตรา เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.3 ทางด้านความต้องการจ้างงาน มีตำแหน่งงานว่างที่ ผู้ประกอบการใช้บริการผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคใต้จำนวน 2,973 อัตรา เพิ่มขึ้นจาก เดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.3 เพิ่มขึ้นมากในจังหวัดนราธิวาส สตูลและปัตตานี ส่วนผู้สมัครงาน มีจำนวน 3,646 คน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.6 ทางด้านผู้ประกันตน ณ สิ้นเดือน นี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 582,908 คน เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.1
7. ระดับราคา อัตราเงินเฟ้อของภาคใต้ในเดือนนี้ อยู่ที่ร้อยละ 8.3 ชะลอลงจาก ร้อยละ 11.0 ในเดือนก่อน เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ชะลอตัวลง เนื่องจากการดำเนินนโยบาย 6 มาตรการ 6 เดือนของรัฐบาล ส่วนราคาสินค้าใน หมวดอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ16.0 ตามการเพิ่มขึ้นของข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จาก แป้ง เป็นสำคัญ สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของภาคใต้ อยู่ที่ร้อยละ 4.7 ลดลงจากร้อยละ 5.7 ในเดือนก่อน
8. การค้าต่างประเทศ ขยายตัว โดยมูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มี จำนวนทั้งสิ้น 1,830.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.9 แยกเป็น มูลค่าการส่งออก 1,246.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.8 ตาม การเพิ่มขึ้นของมูลค่าส่งออกยางพารา น้ำมันปาล์ม อาหารกระป๋องและสัตว์น้ำแช่แข็ง เป็นสำคัญ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 583.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.6 เป็นผลจากการนำเข้าสัตว์น้ำแช่แข็ง เครื่องจักรและอุปกรณ์ เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
9. ภาคการคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่างๆในภาคใต้ มี จำนวน 8,856.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.4 ส่วนภาษีอากรจัดเก็บได้ 3,245.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.8 เนื่องจากจัดเก็บภาษีสรรพากรได้ ลดลงร้อยละ 2.0 ขณะเดียวกันจัดเก็บภาษีสรรพสามิตและภาษีศุลกากร ได้ลดลงร้อยละ 10.3 และ 13.0 ตามลำดับ
10. การเงิน เงินฝากคงค้าง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2551 ของสาขาธนาคารพาณิชย์ใน ภาคใต้ มีประมาณ 412,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.3 ซึ่งขยายตัว ในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนนี้ เนื่องจากมีการออมในลักษณะอื่นที่ได้รับผลตอบแทนสูงกว่า มากขึ้น ทางด้านสินเชื่อคงค้างมี ประมาณ 370,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 16.2 ยังคงขยายตัวในสินเชื่อประเภทส่วนบุคคล และเงินทุนหมุนเวียนในภาคธุรกิจ
ข้อมูลเพิ่มเติม : นายพสุธา ระวังสุข โทร.0-7423-6200 ต่อ 4345 e-mail : pasuthar@bot.or.th