ภาวะเศรษฐกิจในเดือนสิงหาคม 2551 โดยรวมชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเครื่องชี้การอุปโภคบริโภคและ การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เช่นเดียวกับการส่งออกและการนำเข้า สำหรับเครื่องชี้ด้านอุปทาน ผลผลิตและ ราคาพืชผลสำคัญที่ขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน ส่งผลให้รายได้เกษตรกรจากพืชผลสำคัญยังอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตาม ผลผลิตอุตสาหกรรมชะลอลงจากเดือนก่อน ในขณะที่การท่องเที่ยวชะลอลงค่อนข้างมาก ส่วนหนึ่งเนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง
เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีจากเงินสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง แม้ว่าดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล ด้านเสถียรภาพในประเทศ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงจากเดือนก่อน
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนสิงหาคม 2551 มีดังนี้
1. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.9 ชะลอลงจากเดือนก่อน ตามการผลิต ในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า และหมวดยานยนต์ โดยเป็นการชะลอลงจากอุปสงค์ต่างประเทศ เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี หมวดที่การผลิตขยายตัวดี ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ ที่ยังคงมีอุปสงค์จากต่างประเทศต่อเนื่อง สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 70.5 ทรงตัวจากเดือนก่อน
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 7.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนตามภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ ที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง อย่างไรก็ดี ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ยังคงขยายตัวตามรายได้เกษตรกรที่อยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (ประมาณการ) ขยายตัวร้อยละ 3.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนตามมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ เป็นสำคัญ ขณะที่เครื่องชี้หมวดก่อสร้างยังคงหดตัวต่อเนื่อง
3. ภาคการคลัง รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 199.1 พันล้านบาท หดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.9 จากรายได้ภาษีที่หดตัวร้อยละ 14.9 เป็นสำคัญ โดยเฉพาะภาษีฐานรายได้ที่หดตัวจากภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากเดือนนี้เป็นเดือนสุดท้ายของการยื่นชำระภาษีกำไรสุทธิ แต่วันสุดท้ายของการยื่นชำระภาษีตรงกับวันอาทิตย์จึงได้มีการยืดระยะเวลาการยื่นชำระภาษีมาเป็นวันที่ 1 กันยายน 2551 ทำให้รายได้จากภาษีดังกล่าวส่วนหนึ่งเหลื่อมไปเดือนกันยายน สำหรับภาษีฐานการบริโภคหดตัวเล็กน้อยจากภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ซึ่งเป็นผลจากมาตรการของรัฐบาล สำหรับดุลเงินสด รัฐบาลเกินดุล 7.7 พันล้านบาท ประกอบกับมีการกู้เงินในประเทศสุทธิ 32.7 พันล้านบาทและชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศ 27.8 พันล้านบาท ทำให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนเพิ่มขึ้น 12.6 พันล้านบาท เป็น 139.8 พันล้านบาท
4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้า ขาดดุล 675 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกและนำเข้าชะลอลงจากเดือนก่อน การส่งออก มีมูลค่า 15,788 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 15.5 ชะลอลงจากเดือนก่อนจากด้านปริมาณ เป็นสำคัญ โดยหมวดสินค้าเกษตร การส่งออกข้าวชะลอลงทั้งราคาและปริมาณ ส่วนยางพาราชะลอลงตามปริมาณเป็นสำคัญ หมวดสินค้าอุตสาหกรรมชะลอลงตาม การส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อัญมณีและเครื่องประดับ คอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า การนำเข้า มีมูลค่า 16,463 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 26.9 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนตามปริมาณการนำเข้าที่ชะลอตัวลงในทุกหมวด ยกเว้นทองคำ ที่เดือนนี้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากราคาในตลาดโลกอ่อนตัวลง
ภาวะเศรษฐกิจในเดือนสิงหาคม 2551 โดยรวมชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเครื่องชี้การอุปโภคบริโภคและ การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เช่นเดียวกับการส่งออกและการนำเข้า สำหรับเครื่องชี้ด้านอุปทาน ผลผลิตและ ราคาพืชผลสำคัญที่ขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน ส่งผลให้รายได้เกษตรกรจากพืชผลสำคัญยังอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ตาม ผลผลิตอุตสาหกรรมชะลอลงจากเดือนก่อน ในขณะที่การท่องเที่ยวชะลอลงค่อนข้างมาก ส่วนหนึ่งเนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง
เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีจากเงินสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง แม้ว่าดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล ด้านเสถียรภาพในประเทศ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงจากเดือนก่อน
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนสิงหาคม 2551 มีดังนี้
1. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.9 ชะลอลงจากเดือนก่อน ตามการผลิต ในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า และหมวดยานยนต์ โดยเป็นการชะลอลงจากอุปสงค์ต่างประเทศ เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี หมวดที่การผลิตขยายตัวดี ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ ที่ยังคงมีอุปสงค์จากต่างประเทศต่อเนื่อง สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 70.5 ทรงตัวจากเดือนก่อน
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 7.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนตามภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ ที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง อย่างไรก็ดี ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ยังคงขยายตัวตามรายได้เกษตรกรที่อยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (ประมาณการ) ขยายตัวร้อยละ 3.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนตามมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ เป็นสำคัญ ขณะที่เครื่องชี้หมวดก่อสร้างยังคงหดตัวต่อเนื่อง
3. ภาคการคลัง รัฐบาลมีรายได้จัดเก็บ 199.1 พันล้านบาท หดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.9 จากรายได้ภาษีที่หดตัวร้อยละ 14.9 เป็นสำคัญ โดยเฉพาะภาษีฐานรายได้ที่หดตัวจากภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากเดือนนี้เป็นเดือนสุดท้ายของการยื่นชำระภาษีกำไรสุทธิ แต่วันสุดท้ายของการยื่นชำระภาษีตรงกับวันอาทิตย์จึงได้มีการยืดระยะเวลาการยื่นชำระภาษีมาเป็นวันที่ 1 กันยายน 2551 ทำให้รายได้จากภาษีดังกล่าวส่วนหนึ่งเหลื่อมไปเดือนกันยายน สำหรับภาษีฐานการบริโภคหดตัวเล็กน้อยจากภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ซึ่งเป็นผลจากมาตรการของรัฐบาล สำหรับดุลเงินสด รัฐบาลเกินดุล 7.7 พันล้านบาท ประกอบกับมีการกู้เงินในประเทศสุทธิ 32.7 พันล้านบาทและชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศ 27.8 พันล้านบาท ทำให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนเพิ่มขึ้น 12.6 พันล้านบาท เป็น 139.8 พันล้านบาท
4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้า ขาดดุล 675 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกและนำเข้าชะลอลงจากเดือนก่อน การส่งออก มีมูลค่า 15,788 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 15.5 ชะลอลงจากเดือนก่อนจากด้านปริมาณ เป็นสำคัญ โดยหมวดสินค้าเกษตร การส่งออกข้าวชะลอลงทั้งราคาและปริมาณ ส่วนยางพาราชะลอลงตามปริมาณเป็นสำคัญ หมวดสินค้าอุตสาหกรรมชะลอลงตาม การส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อัญมณีและเครื่องประดับ คอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า การนำเข้า มีมูลค่า 16,463 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 26.9 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนตามปริมาณการนำเข้าที่ชะลอตัวลงในทุกหมวด ยกเว้นทองคำ ที่เดือนนี้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากราคาในตลาดโลกอ่อนตัวลง
ข้อมูลเพิ่มเติม: พรรณพิลาส เรืองวิสุทธิ์ โทร. 0-2283-5648, 0-2283-5639 e-mail: punpilay@bot.or.th
1/ เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิในเดือนล่าสุดเป็นข้อมูลเร็วเบื้องต้นซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขในเดือนถัดไป
2/ สถาบันรับฝากเงิน หมายถึง สถาบันรับฝากเงินทุกประเภท ยกเว้น ธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ข้อมูลปัจจุบันยังไม่นับรวมสหกรณ์ออมทรัพย์ และกองทุน รวมตลาดเงิน (Money Market Mutual Funds)