สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนตุลาคม 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 26, 2008 15:46 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนตุลาคม ชะลอตัว ด้านอุปทาน ผลผลิตพืชผลเพิ่มขึ้น ในอัตราที่ชะลอลงตามผลผลิตปาล์มน้ำมันและยางพารา ขณะเดียวกันการผลิตภาคอุตสาหกรรม และนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ส่วนประมงทะเลลดลง ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ชะลอตัว ตามรายได้เกษตรกรและท่องเที่ยวที่ลดลง ขณะเดียวกันการลงทุนชะลอตัว ส่วนการ ส่งออกขยายตัว ขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณลดลง สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวลดลง ด้านสินเชื่อและเงินฝากขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนตุลาคม ปี 2551 มีดังนี้

1. ภาคเกษตร ดัชนีรายได้ของเกษตรกรเดือนนี้ลดลงร้อยละ 12.9 เป็นผลจากราคา พืชผลสำคัญลดลงร้อยละ 17.2 ตามราคาปาล์มน้ำมันและยางพาราที่ลดลงร้อยละ 36.0 และ 16.0 ตามลำดับ เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตการเงิน ทำให้ความต้องการในตลาดโลกชะลอลง ด้าน ผลผลิตพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ชะลอลงจากเดือนก่อนซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 ตามผลผลิต ยางและปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง

จากราคายางพาราที่ตกต่ำ ทำให้ประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ มีโครงการเร่งรัดการปลูก แทนต้นยางเก่าจากปีละ 7 แสนไร่เป็น 1.06 ล้านไร่ รวมทั้งชะลอการกรีดและการขาย ส่วน เกษตรกรชาวสวนปาล์ม ได้เรียกร้องให้รัฐบาลแทรกแซงราคา โดยรับซื้อผลปาล์มสดในราคา กิโลกรัมละ 3.50 บาท

ด้านประมงทะเล ลดลง จากปริมาณสัตว์น้ำที่ลดลงและต้นทุนการทำประมงอยู่ใน ระดับสูง ส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาในภาคใต้ลดลงร้อย ละ 4.9 ส่วนมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 เนื่องจากสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือภูเก็ต และสงขลา เป็น ปลาทูน่า ซึ่งมีมูลค่าสูง ส่วนการเพาะเลี้ยงกุ้ง ผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เนื่องจาก เกษตรกรมีความกังวลเรื่องราคากุ้งที่อาจปรับลดลงอีก จึงเร่งนำผลผลิตออกจำหน่าย ขณะที่ผู้ ส่งออกชะลอการซื้อตามความต้องการจากตลาดต่างประเทศ ส่งผลให้ราคาลดลง โดยกุ้งขาว ขนาด 50 ตัวต่อกิโลกรัม ที่ตลาดมหาชัยราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ125.10 บาท ลดลงจากเดือน เดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0

2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตขยายตัว ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งมอบสินค้าตามคำสั่ง ซื้อเดิม โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 จากการผลิตอุตสาหกรรมยางที่ เพิ่มขึ้น โดยอุตสาหกรรมยางแท่งและน้พยางข้น มีปริมาณส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ จำนวน 90,102.1 เมตริกตัน 71,933.4 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.8 และ 15.5 ตามลำดับ ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมอาหารทะเลบรรจุกระป๋อง มีปริมาณส่งออก เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.4 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากขยายตลาดไปตะวันออกกลาง และอาหารทะเลแช่แข็งเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 โดยตลาดสหภาพยุโรปยังขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับ อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบมีผลผลิตจำนวน 115,786.0 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 9.5 ตามปริมาณวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น

3. การท่องเที่ยว ขยายตัว โดยในเดือนนี้มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่าน ด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ 267,633 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.3 เป็น การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวในภาคใต้ตอนล่าง โดยมีนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้า เมืองในจังหวัดสงขลาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 27.5 ขณะที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีนักท่องเที่ยวเดินทางผ่าน ด่านตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ตลดลงร้อยละ 7.7 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก และเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศ แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 25.0 ในเดือนก่อน ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลีย เกาหลีและมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม จากการที่นักท่องเที่ยวฝั่งตะวันตกลดลง เป็นนักท่องเที่ยวที่มีการใช้จ่ายต่อคนสูงกว่านักท่องเที่ยว ภาคใต้ตอนล่าง ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวของภาคใต้ยังคงลดลง

4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ชะลอตัว ตามรายได้เกษตรกรและการท่องเที่ยว โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.4 โดยดัชนีใน หมวดยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ตามการจดทะเบียนรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ปี 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ชะลอลงจาก ร้อยละ 5.6 ในเดือนก่อน ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ขณะที่ดัชนีหมวดเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 0.7

5. การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัว เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการทางด้านภาษีเพื่อ กระตุ้นเศรษฐกิจ โดยลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์และ ห้องชุด รวมทั้งลดภาษีธุรกิจเฉพาะของภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่น มากขึ้น ส่งผลให้การก่อสร้างขยายตัว โดยพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่มีพื้นที่ก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.9 ทางด้านโครงการที่ได้รับอนุมัติ การส่งเสริมการลงทุน มีจำนวน 9 โครงการ เงินลงทุน 3,439.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 50.0 และ 0.8 ตามลำดับ ในจำนวนนี้มีกิจการโรงแรม1 โครงการ ที่จังหวัดภูเก็ต ที่มี เงินลงทุนสูงถึง 1,653.5 ล้านบาท ส่วนการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลใหม่ จำนวนรายและทุนจด ทะเบียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 และ 21.0 ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจโรงแรม ห้องพัก ภัตตาคาร รับเหมาก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์

6. การจ้างงาน เพิ่มขึ้น โดยมีผู้ได้รับการบรรจุงานเดือนนี้มีจำนวน 2,419 อัตรา เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.7 โดยตำแหน่งงานว่างที่ผู้ประกอบการใช้บริการผ่าน สำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคใต้มีจำนวน 3,752 อัตรา เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 74.1 ส่วนผู้สมัครงาน มีจำนวน 3,297 คน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.4 สำหรับแรงงานที่เข้าโครงการประกันสังคม ณ สิ้นเดือนนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 584,544 คน เพิ่มขึ้นจาก เดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.3

7. ระดับราคา อัตราเงินเฟ้อของภาคใต้ในเดือนนี้ อยู่ที่ร้อยละ 5.2 ชะลอลงจาก ร้อยละ 7.2 ในเดือนก่อน โดยราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 ตาม การเพิ่มขึ้นของสินค้าหมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง หมวดเนื้อสัตว์ เครื่องประกอบอาหาร ผักและผลไม้ ขณะที่หมวดอื่นที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.1 ตามการลดลงของ สินค้าหมวดเคหสถาน ได้แก่ ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า และการลดลงของราคาน้ำมัน สำหรับอัตรา เงินเฟ้อพื้นฐานของภาคใต้ อยู่ที่ร้อยละ 4.3 ชะลอลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 4.4 ในเดือนก่อน

8. การค้าต่างประเทศ ขยายตัว มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีจำนวน ทั้งสิ้น 1,846.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 40.8 แยกเป็นมูลค่าการ ส่งออก 1,239.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 47.9 ตามการเพิ่มขึ้น ของการส่งออกยางพารา ถุงมือยาง สัตว์น้ำแช่แข็ง และอาหารทะเลกระป๋อง ส่วนการนำเข้า มี มูลค่า 607.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.2 เป็นผลจากการ นำเข้าสัตว์น้ำแช่แข็ง เครื่องจักรและอุปกรณ์ เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ

9. ภาคการคลัง หดตัว การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่างๆในภาคใต้ มีจำนวน 4,904.7 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 41.9 เนื่องจากการโอนงบลงทุน มาให้คลังจังหวัดล่าช้า ส่งผลให้ทุกคลังจังหวัดมีการเบิกจ่ายลดลง โดยเฉพาะคลังจังหวัดยะลา และสุราษฎร์ธานี ลดลงร้อยละ 60.4 และ 47.4 ตามลำดับ ส่วนภาษีอากรจัดเก็บได้ 2,296.0 ล้าน บาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.5 ตามการจัดเก็บภาษีทุกประเภทได้ลดลง โดยเฉพาะภาษีสรรพากรที่จัดเก็บได้ลดลงร้อยละ 9.1 ตามการลดลงของการจัดเก็บภาษีธุรกิจ เฉพาะ เป็นสำคัญ ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินนโยบายทางด้านภาษีของรัฐบาลเพื่อฟื้นฟูและกระตุ้น เศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 ยอดลดลงมากที่จังหวัดภูเก็ต และพังงา

10. การเงิน ขยายตัว โดยเงินฝากคงค้าง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2551 ของสาขา ธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้ มีประมาณ 424,300.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 6.9 ส่วนสินเชื่อมียอดคงค้างประมาณ 375,700.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 15.5 ตามการขยายตัวของสินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และสินเชื่อเพื่อการอุปโภค บริโภคส่วนบุคคล เป็นสำคัญ

ข้อมูลเพิ่มเติม : นายพสุธา ระวังสุข โทร.0-7423-6200 ต่อ 4345 e-mail : pasuthar@bot.or.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ