สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนธันวาคม 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 28, 2009 15:04 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนธันวาคม 2551โดยรวมหดตัว ในด้านอุปทาน ผลผลิตอุตสาหกรรมลดลง การท่องเที่ยวและการประมงลดลง ส่วนผลผลิตพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาลดลง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลง ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ลดลง ตามรายได้เกษตรกรที่ลดลง การส่งออก การลงทุนและการเบิกจ่ายงบประมาณลดลง สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวลดลง ส่วนสินเชื่อและเงินฝาก ชะลอตัว

ไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ชะลอตัว โดยทางด้านอุปทาน ผลผลิตพืชผลสำคัญชะลอตัว ขณะที่ราคาลดลง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลง ขณะเดียวกันผลผลิตอุตสาหกรรมและประมง ลดลง ส่วนการท่องเที่ยวชะลอตัว ทางด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การส่งออกและ การลงทุนชะลอตัว ขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณลดลง

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนธันวาคมและไตรมาสที่ 4 ปี 2551 มีดังนี้

1. ภาคเกษตร ดัชนีรายได้ของเกษตรกรเดือนนี้ลดลงร้อยละ 44.5 ต่ำสุดในรอบ 10ปี ตามการลดลงของราคาเป็นสำคัญ โดยดัชนีราคาพืชผลสำคัญลดลงร้อยละ 48.9 ตามราคา ยางพาราและปาล์มน้ำมันที่ลดลงร้อยละ 51.7 และ 45.7 ตามลำดับด้านดัชนีผลผลิตพืชผล สำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 ตามผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 และ 0.5 ตามลำดับ

ประมงทะเล ลดลง จากปริมาณสัตว์น้ำที่ลดลงและต้นทุนการทำประมงโดยรวมยัง อยู่ในระดับสูง ความเข้มงวดในการทำประมงในน่านน้ำประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบกับได้รับ ผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ส่งผลให้ปริมาณและมูลค่าสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือ ขององค์การสะพานปลาในภาคใต้ลดลงร้อยละ 14.0 และ 11.7 ตามลำดับ ส่วนการเพาะเลี้ยงกุ้ง ผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.0 เนื่องจากเกษตรกรเร่งจับกุ้งออกขาย เพื่อลดความเสี่ยง จากสภาพอากาศที่แปรปรวนและการเกิดโรคระบาด ขณะที่ความต้องการของตลาดชะลอลงตาม การส่งออก ส่งผลให้ราคากุ้งในเดือนนี้ปรับตัวลดลง โดยกุ้งขาวขนาด 50 ตัวต่อกิโลกรัม ที่ตลาด มหาชัยราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.60 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.6

ไตรมาสที่ 4 ปี 2551 รายได้จากการขายพืชผลสำคัญของเกษตรกรลดลงร้อยละ 29.0 ตามราคาพืชผลสำคัญที่ลดลงร้อยละ 32.8 เนื่องจากราคายางพาราและปาล์มน้ำมันที่ลด ต่ำลงอย่างรวดเร็ว ขณะที่ผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ส่วนการประมง ปริมาณและมูลค่า สัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือในภาคใต้ในไตรมาสนี้ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.2 และ 4.9 ตามลำดับ ทางด้านการเพาะเลี้ยงกุ้ง ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.9 ด้านราคาปรับตัว ลดลง โดยราคากุ้งขาวขนาด 50 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.12 บาท ลดลงจากไตรมาส เดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.0

2. ภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 20.9 ตามการ ผลิตในอุตสาหกรรมยางที่ลดลงตามความต้องการของต่างประเทศ โดยอุตสาหกรรมยางแท่ง น้ำยางข้น และยางแผ่นรมควัน มีปริมาณส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้จำนวน 51,924.3 เมตริกตัน 54,616.4 เมตริกตัน และ 24,757.1 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 38.9 24.8 และ 37.5 ตามลำดับ ส่วนอุตสาหกรรมอาหารทะเลบรรจุกระป๋องและอาหารทะเลแช่ แข็ง มีปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 5.9 และร้อยละ 4.7 สำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบมี ผลผลิตจำนวน 75,189.8 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.1

ไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 7.3 ตามการ ส่งออกลดลง โดยอุตสาหกรรมยางมีปริมาณส่งออก จำนวน 507,214.4 เมตริกตัน ลดลงจาก ไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.6 อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็ง มีปริมาณการส่งออก 28,768.0 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 0.7 แต่อาหารบรรจุกระป๋อง มีปริมาณส่งออก 32,953.4 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 ส่วนผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบมีจำนวน 277,857.0 เมตริกตัน ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.2

3. การท่องเที่ยว ลดลง โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจ คนเข้าเมืองในภาคใต้ จำนวน 377,602 คน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.7 เป็นการ ลดลงจากการท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่งตะวันตกเป็นสำคัญ โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดิน ทางเข้ามาจังหวัดภูเก็ต ลดลงร้อยละ 5.3 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทาง การเมืองในประเทศที่มีการปิดสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง ส่วนภาคใต้ตอนล่างมี นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความเชื่อมั่นในความปลอดภัย โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวชาว ต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในจังหวัดสงขลา เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 แต่ชะลอลง จากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.2

ไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ภาวะการท่องเที่ยวขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยนักท่องเที่ยว ชาวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ทั้งสิ้น 940,971 คน เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.5 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 8.8 เนื่องจาก สถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศที่มีการปิดสนามบินหาดใหญ่ สนามบินภูเก็ต สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง และวิกฤตเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้นักท่องเที่ยวที่เดิน ทางผ่านตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ตและกระบี่ลดลงร้อยละ 5.2 และ ร้อยละ 13.9 ส่วนภาคใต้ ตอนล่างนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเที่ยวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง โดยนักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่าน ด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสงขลาเพิ่มขึ้น 20.7 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 39.9 อย่างไรก็ตามจากการที่ภาครัฐและเอกชนเร่งประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างเข้าใจในสถานการณ์ และ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว ทำให้นักท่องเที่ยวมีความมั่นใจในความปลอดภัย รวมทั้ง เป็นช่วงปิดภาคเรียนของมาเลเซีย ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียที่เป็นนักท่องเที่ยวหลักเดิน ทางเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น จึงทำให้นักท่องเที่ยวชะลอลงไม่มาก สำหรับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยร้อยละ 46

4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ลดลง ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลง จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.5 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และราคา พืชผลที่สำคัญทั้งยางพาราและปาล์มน้ำมันลดลง โดยดัชนีในหมวดยานยนต์ลดลงร้อยละ 19.0 ตามการลดลงของการจดทะเบียนรถยนต์และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ขณะเดียวกันการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ปี 2543 ลดลงร้อยละ 7.1

ไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ชะลอ ลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 โดยเครื่องชี้การบริโภคที่สำคัญได้แก่ การใช้ ไฟฟ้าที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ปี 2543 จัดเก็บได้ลดลงร้อย ละ 1.7 และดัชนียานยนต์ลดลงร้อยละ 7.3 การลดลงของการบริโภคภาคเอกชน เนื่องจากราคา พืชผลเกษตรที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

5. การลงทุนภาคเอกชน หดตัว โดยพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างลดลงร้อยละ 21.2 การจดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ จำนวนรายและเงินลงทุนลดลงร้อยละ 11.7 และ 60.1 ตามลำดับ ส่วนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน จำนวนรายและเงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 100.0 และ 515.9 ตามลำดับ ในจำนวนนี้มีกิจการโรงแรม ที่จังหวัดสงขลา 1 รายที่ ใช้เงินลงทุนสูงถึง 237.5 ล้านบาท ขณะที่การจ้างงานเพิ่มขึ้น ทั้งตำแหน่งงานว่าง ผู้สมัครงานและการบรรจุงาน ไตรมาสที่ 4 ปี 2551 การลงทุนโดยรวมชะลอตัว โดยพื้นที่ก่อสร้างที่ได้รับอนุญาต ในเขตเทศบาลมีจำนวน 373,173 ตารางเมตร ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.4 การ จดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล จำนวนรายเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 แต่เงินทุนจดทะเบียนลดลงร้อยละ 15.0 ส่วนใหญ่เป็นการจดทะเบียนในจังหวัดภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และสงขลา กิจการที่มีการจดทะเบียนมากที่สุดเป็นกิจการรับเหมาก่อสร้าง รองลงมาเป็นกิจการโรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร ส่วน โครงการลงทุนที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) เพิ่มขึ้นทั้ง จำนวนรายและเงินลงทุน

6. การจ้างงาน เพิ่มขึ้นโดยมีผู้ได้รับการบรรจุงานเดือนนี้มีจำนวน 2,772 อัตรา เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 62.1 โดยจังหวัดภูเก็ต เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว ส่วนจังหวัด ปัตตานีและนราธิวาส เพิ่มขึ้น 4-7 เท่าตัว ผลจากโครงการสร้างงานของภาครัฐ ขณะเดียวกัน ความต้องการจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยตำแหน่งงานว่างที่ผู้ประกอบการใช้บริการผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคใต้ มีจำนวน 3,521 อัตรา เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.6 ส่วน ผู้สมัครงาน มีจำนวน 3,697 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.0 สำหรับแรงงานที่ เข้าโครงการประกันสังคม ณ สิ้นเดือนธันวาคม มีจำนวนทั้งสิ้น 589,423 คน เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือน เดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.7

ไตรมาสที่ 4 ปี 2551 การจ้างงานเพิ่มขึ้น จะเห็นได้จากตำแหน่งงานว่าง มีจำนวน 10,512 อัตรา มีผู้สมัครงาน 11,416 คน และมีผู้ได้รับการบรรจุงาน 8,934 อัตรา เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.0,15.8 และ 67.0 ตามลำดับ ส่วนใหญ่จะเป็นการเพิ่มขึ้นใน จังหวัดภูเก็ต สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราชและสงขลา

7. ระดับราคา อัตราเงินเฟ้อของภาคใต้ในเดือนนี้ อยู่ที่ร้อยละ 1.6 ชะลอลงจาก ร้อยละ 2.9 ในเดือนก่อน เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอื่นๆที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลง ร้อยละ 7.0 ตามการลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก ส่งผลให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ ลดลง รวมทั้งการลดลงของสินค้าในหมวดยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร ส่วนหมวด อาหารและเครื่องดื่ม ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 ตามการเพิ่มขึ้นของสินค้าหมวดข้าวแป้งและ ผลิตภัณฑ์จากแป้ง หมวดเนื้อสัตว์ เครื่องประกอบอาหาร ผักและผลไม้ สำหรับอัตราเงินเฟ้อ พื้นฐานของภาคใต้ อยู่ที่ร้อยละ 3.5 ชะลอลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 3.8 ในเดือนก่อน

ไตรมาสที่ 4 ปี 2551 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของภาคใต้ในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ชะลอลงมากเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนที่มีอัตราเฟ้ออยู่ในระดับร้อยละ 8.8 สาเหตุหลักมาจาก ราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 4.3 ตามการลดลงของราคา สินค้าหมวดเคหสถาน และหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร ส่วนหมวดอาหารและ เครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 ตามราคาสินค้าในหมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เครื่อง ประกอบอาหาร ผักและผลไม้ สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8

8. การค้าต่างประเทศ มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีจำนวนทั้งสิ้น 1,349.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.1 แยกเป็นมูลค่าการส่งออก 872.1 ล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 ตามการลดลงของการส่งออก ยางพารา เป็นสำคัญ ขณะที่การส่งออกถุงมือยาง อาหารกระป๋อง และสัตว์น้ำแช่แข็ง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 32.3,10.7 และ 0.2 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 477.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลง จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.4 เป็นผลจากการนำเข้าอุปกรณ์รถยนต์ ลดลงเป็นสำคัญ ขณะที่ การนำเข้าสัตว์น้ำแช่แข็ง เครื่องจักรและอุปกรณ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 และ 18.2 ตามลำดับ

ไตรมาสที่ 4 ปี 2551 มูลค่าการค้าต่างประเทศรวมของภาคใต้มีทั้งสิ้น 4,965.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.1 โดยแยกเป็นมูลค่าการ ส่งออก จำนวน 3,120.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 18.6 ตาม มูลค่าส่งออกสินค้าที่สำคัญ ได้แก่ ถุงมือยาง อาหารกระป๋อง และสัตว์น้ำช่แข็ง ส่วนการนำเข้า มี มูลค่า 1,844.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.5 จากมูลค่าการ นำเข้าสัตว์น้ำช่แข็งและเครื่องจักรอุปกรณ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของ บริษัทในกรุงเทพมหานครและภาคกลาง

9. ภาคการคลัง หดตัว โดยการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่างๆใน ภาคใต้ มีจำนวน 8,845.1 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.6 ตามการลดลงของ การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของคลังจังหวัดยะลาและนครศรีธรรมราช เป็นสำคัญ โดยลดลงร้อยละ 41.5 และร้อยละ 40.8 ตามลำดับ ส่วนภาษีอากรจัดเก็บได้ 1,980.5 ล้านบาท ลดลงจากเดือน เดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.5 ตามการลดลงของการจัดเก็บภาษีทุกประเภท โดยเฉพาะภาษีสรรพากร ที่จัดเก็บได้จำนวน 1,718.9 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.9 ตามการลดลงของ ภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนภาษีสรรพสามิตและภาษีศุลกากร จัดเก็บได้ 160.7 ล้าน บาท และ 100.9 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.1 และ 20.7 ตามลำดับ

ไตรมาสที่ 4 ปี 2551 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่างๆในภาคใต้ มีจำนวน 23,626.1 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.2 ตามการลดลงของ การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของทุกคลังจังหวัด ซึ่งเงินงบประมาณที่ลดลงเป็นงบรายจ่ายด้านการ ลงทุน เนื่องจากปัญหาการจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่อยู่ ระหว่างรอการพิจารณาของคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนทางด้านรายได้มีการจัดเก็บภาษีได้ทั้งสิ้น 6,396.4 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 11.1 เป็นผลจากการดำเนินนโยบายด้านภาษีเพื่อฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 โดยภาษีสรรพากรลดลงร้อยละ 10.2 ส่วนภาษีสรรพสามิตและภาษีศุลกากรลดลง ร้อยละ 18.1และ 15.0 ตามลำดับ

10. การเงิน เงินฝากคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2551 ของสาขาธนาคารพาณิชย์ ในภาคใต้ มีประมาณ 422,800.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.5 ส่วน สินเชื่อมียอดคงค้างประมาณ 371,900.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.7 ชะลอตัวต่อเนื่อง ผลจากการที่ธนาคารพาณิชย์มีความระมัดระวังและเข้มงวดในการให้สินเชื่อ มากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

ไตรมาสที่ 4 ปี 2551 เงินฝากและสินเชื่อชะลอตัว ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ขณะที่ดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลง ตามราคาน้ำมันที่ปรับตัว ลดลง ประกอบกับความเสี่ยงในการขยายตัวของเศรษฐกิจมีมากขึ้น

ข้อมูลเพิ่มเติม : นายพสุธา ระวังสุข โทร.0-7423-6200 ต่อ 4345 e-mail : pasuthar@bot.or.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ