สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนกุมภาพันธ์ 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 26, 2009 16:03 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนกุมภาพันธ์ 2552 หดตัว แต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือน ก่อน ด้านอุปทาน ผลผลิตพืชผลสำคัญ และการท่องเที่ยวลดลง ส่วนอุตสาหกรรมและประมง ขยายตัว ด้านอุปสงค์ การลงทุนและการส่งออกลดลง ส่วนการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการ เบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มขึ้น สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวลดลง ส่วนสินเชื่อและเงินฝากชะลอตัว

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2552 มีดังนี้

1. ภาคเกษตร ดัชนีรายได้ของเกษตรกรเดือนนี้ลดลงร้อยละ 45.8 ตามการลดลงของ ผลผลิตและราคาพืชผลสำคัญ โดยดัชนีผลผลิตพืชผลสำคัญลดลงร้อยละ 10.2 เป็นผลจาก ผลผลิตยางพาราลดลงร้อยละ 3.3 เนื่องจากราคาที่ลดลงไม่จูงใจให้เกษตรกรเร่งกรีดยางประกอบ กับยางผลัดใบเร็วกว่าปกติ และปาล์มน้มันลดลงร้อยละ 29.2 ส่วนดัชนีราคาพืชผลสำคัญลดลง ร้อยละ 39.7 ตามราคายางพาราและปาล์มน้ำมันที่ลดลงร้อยละ 44.5 และ 26.4 ตามลำดับ

ประมงทะเล ปรับตัวดีขึ้น โดยปริมาณสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือขององค์การสะพาน ปลาในภาคใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 ตามการเพิ่มขึ้นที่ท่าเทียบเรือฯจังหวัดภูเก็ต เป็นสำคัญ ขณะที่ มูลค่าลดลงร้อยละ 1.8 เนื่องจากราคาสัตว์น้ำปรับลดลงจากอุตสาหกรรมแปรรูปชะลอการรับซื้อ ตามคำสั่งซื้อที่ลดลง ส่วนการเพาะเลี้ยงกุ้ง ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงร้อยละ 7.6 เนื่องจากสภาพ อากาศที่เปลี่ยนแปลงเร็วและช่วงฤดูฝนที่มีระยะเวลานาน ขณะที่ราคากุ้งปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะ กุ้งขนาดเล็ก โดยกุ้งขาวขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ที่ตลาดมหาชัยราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 125.9 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.2 เนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงทั่วโลก ทำให้ ผู้บริโภคเปลี่ยนมาบริโภคกุ้งขนาดเล็ก

2. ภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.0 ตามความ ต้องการของต่างประเทศ โดยอุตสาหกรรมยางแท่ง น้ำยางข้น และยางแผ่นรมควัน มีปริมาณ ส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้จำนวน 69,824.0 เมตริกตัน 78,163.0 เมตริกตัน และ 37,188.0 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.1 50.2 และ 6.3 ตามลำดับ ตาม ความต้องการจากจีนและมาเลเซีย ส่วนอุตสาหกรรมอาหารทะเลบรรจุกระป๋องเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6 เนื่องจากตลาดสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียและญี่ปุ่นปรับดีขึ้น นอกจากนี้ตลาดแอฟริกาใต้ ขยายตัวเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการส่งออกผ่านประเทศมาเลเซีย และอาหารทะเลแช่แข็ง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.2 เป็นการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์กุ้งร้อยละ 16.2 ตามการส่งออกไปญี่ปุ่นและสหภาพ ยุโรป และผลิตภัณฑ์หมึกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 ซึ่งตลาดสำคัญคือ อิตาลี สำหรับอุตสาหกรรมน้ำมัน ปาล์มดิบ มีผลผลิตจำนวน 84,333.1 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 26.8 ตาม ปริมาณวัตถุดิบประกอบกับเปอร์เซนต์การให้น้พมันของผลปาล์มที่ลดลง

3. การท่องเที่ยว หดตัว โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านด่าน ตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ จำนวน 282,955 คน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.4 ตาม การลดลงของนักท่องเที่ยวทั้งในภาคใต้ฝั่งตะวันตกและภาคใต้ตอนล่าง ที่ลดลงจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 23.3 และ 24.9 ตามลำดับ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการการชะลอตัวของ เศรษฐกิจโลก และเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับในเดือน กุมภาพันธ์ปีก่อน เป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน จึงมีนักท่องเที่ยวเชื้อสายจีนจากมาเลเซีย สิงคโปร์ และจีน เดินทางมาท่องเที่ยวในภาคใต้เป็นจำนวนมาก

4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้น ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.7 โดยดัชนีหมวดเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ปี 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ลดลง และการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นในบางแหล่งท่องเที่ยว ทำให้มีการใช้จ่ายมากขึ้น สำหรับดัชนีใน หมวดยานยนต์ลดลงร้อยละ 21.0 ตามการลดลงของการจดทะเบียนรถยนต์ รถยนต์บรรทุกส่วน บุคคล และรถจักรยานยนต์

5. การลงทุนภาคเอกชนหดตัว โดยพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล ลดลงร้อยละ 17.1 ส่วนการจดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ จำนวนรายและเงินทุนจดทะเบียนลดลง ร้อยละ 12.9 และ 24.8 ตามลำดับ สำหรับโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน มีจำนวน 5 โครงการ เงินลงทุน จำนวน 209.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 400.0 และ 928.9 ตามลำดับ เป็นโครงการที่ลงทุนในเขตภาคใต้ตอนบน 4 โครงการ และภาคใต้ตอนล่าง 1 โครงการ ซึ่งเป็นกิจการ ผลิตถุงมือยาง ถุงยางอนามัยจากยางสังเคราะห์ น้ำมันปาล์มดิบ เนื้อปูบรรจุภาชนะผลึกและ สถานีบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานพาหนะ

6. การจ้างงาน ในเดือนนี้มีผู้ได้รับการบรรจุงานจำนวน 3,260 อัตรา เพิ่มขึ้นจาก เดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.7 ขณะที่ความต้องการจ้างงานลดลง โดยตำแหน่งงานว่างที่ ผู้ประกอบการใช้บริการผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคใต้ มีจำนวน 4,654 อัตรา ลดลง จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ .7 ส่วนผู้สมัครงาน มีจำนวน 6,273 คน เพิ่มขึ้นจากเดือน เดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.9 สำหรับแรงงานที่เข้าโครงการประกันสังคม ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ มมาตรา 33 มีจำนวนทั้งสิ้น 594,201 คน เพิ่มขึ้นจากสิ้นเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.8

7. ระดับราคา อัตราเงินเฟ้อของภาคใต้ในเดือนนี้ อยู่ที่ร้อยละ 0.8 ชะลอลงจาก ร้อยละ 1.2 ในเดือนก่อน เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอื่นๆที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลง ร้อยละ 5.6 ตามการลดลงของสินค้าในหมวดยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร และหมวด เคหสถาน เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังทรงตัวในระดับต่ำ ส่วนหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 ตามการเพิ่มขึ้นของสินค้าหมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง หมวด เนื้อสัตว์ เครื่องประกอบอาหาร และอาหารสำเร็จรูป สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของภาคใต้ อยู่ที่ ร้อยละ 2.9 ชะลอลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 3.3 ในเดือนก่อน

8. การค้าต่างประเทศ มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีจำนวนทั้งสิ้น 1,322.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.6 แยกเป็นมูลค่าการ ส่งออก 714.6 ล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.1 ตามการลดลงของการ ส่งออกยางพารา เป็นสำคัญ ขณะที่การส่งออกสัตว์น้ำแช่แข็ง ถุงมือยางและอาหารกระป๋อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.3 23.3 และ 17.7 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 607.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 51.6 เป็นผลจากการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้น โดยเป็นการนำเข้าแท่นผลิตก๊าซและแท่นเจาะที่ด่านศุลกากรสงขลา เป็นสำคัญ

9. ภาคการคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่างๆในภาคใต้ มี จำนวน 13,138.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 53.3 ตามการเบิกจ่ายเงิน งบประมาณเพิ่มขึ้นของทุกคลังจังหวัด โดยเฉพาะคลังจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และ สงขลา ที่มีการเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.1 54.8 และ 36.4 ตามลำดับ ส่วนภาษีอากรจัดเก็บได้ 2,271.7 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.9 ตามภาษีสรรพากร ที่จัดเก็บได้ จำนวน 1,852.7 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.6 เป็นการลดลงของภาษีธุรกิจ เฉพาะและภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนภาษีศุลกากร จัดเก็บได้ 77.9 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปี ก่อนร้อยละ 29.7 ทางด้านภาษีสรรพสามิต จัดเก็บได้จำนวน 341.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน เดียวกันปีก่อนร้อยละ 88.9 ตามการเพิ่มขึ้นของการจัดเก็บภาษีหมวดน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน และหมวดสุรา

10. การเงิน ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2552 เงินฝากคงค้าง ของสาขาธนาคาร พาณิชย์ในภาคใต้ มีประมาณ 427,300.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.2 ส่วนสินเชื่อมียอดคงค้างประมาณ 372,900.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.6 ชะลอตัวต่อเนื่อง เป็นผลมาจากการที่เศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัว

ข้อมูลเพิ่มเติม : นายพสุธา ระวังสุข

โทร.0-7423-6200 ต่อ 4345 e-mail : pasuthar@bot.or.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ