ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้พัฒนาและปรับปรุงระบบการบริหารจัดการธนบัตรให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อให้มีธนบัตรหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพียงพอ ประชาชนมีความมั่นใจในธนบัตรไทย และมีความพึงพอใจในคุณภาพของธนบัตรไทย โดยให้สถาบันการเงินเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ในระบบการบริหารจัดการธนบัตรและมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกรรมด้านธนบัตรร่วมกับ ธปท. มากขึ้น
ในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการธนบัตร สถาบันการเงินจะทำหน้าที่เป็นตัวแทน ในการกระจายธนบัตรสู่ประชาชน จ่ายธนบัตรใหม่และรับแลกธนบัตรชำรุดจากประชาชน รวมทั้ง มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการธนบัตรที่หมุนเวียนในระบบให้มีคุณภาพ โดยศูนย์เงินสดกลางของ ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้นับคัดธนบัตร เพื่อนำธนบัตรที่ยังมีสภาพดีออกใช้หมุนเวียนใหม่ และนำธนบัตรที่คุณภาพต่ำส่งให้ ธปท. ทำลาย
เพื่อสนับสนุนการดำเนินการด้านบริหารจัดการธนบัตร และสร้างแรงจูงใจให้สถาบันการเงิน มีการปรับปรุงและพัฒนางานด้านธนบัตรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ธปท. จึงได้จัดให้มีการประเมินคุณภาพการบริหารจัดการด้านธนบัตรของสถาบันการเงิน โดยมอบหมายให้สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิต ดำเนินการวิจัยด้วยการประเมินผลในสถานการณ์จริงและสำรวจความพึงพอใจของประชาชน ที่ใช้บริการด้านธนบัตร และความเห็นของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการธนบัตรทั่วประเทศ เพื่อ สรรหาสถาบันการเงินที่มีการปฏิบัติงานด้านการจัดการธนบัตรดีเด่นในด้านคุณภาพการตรวจนับคัด ธนบัตร การเบิกและการนำส่งธนบัตรกับ ธปท. การให้ความร่วมมือในการนำส่งธนบัตรชำรุดและ ธนบัตรปลอม โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่ ธปท. กำหนด รวมทั้งประชาชนผู้ใช้บริการ ด้านธนบัตรมีความพึงพอใจ
1 .ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำหรับกลุ่มสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่มีจำนวนสาขาตั้งแต่ 500 สาขาขึ้นไป 7 ธนาคาร
2. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สำหรับกลุ่มสถาบันการเงินขนาดกลางและเล็กที่มีจำนวนสาขาน้อยกว่า 500 สาขา 13 ธนาคาร