เศรษฐกิจและการเงินภาคเหนือเดือนกรกฎาคม 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 7, 2009 14:49 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือ มีสัญญาณฟื้นตัวในหลายเครื่องชี้ ด้านการเดือนกรกฎาคม 2552 ท่องเที่ยวเครื่องชี้สำคัญกลับเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2551 จากมาตรการส่งเสริมการขายของสายการบิน โรงแรม ประกอบกับเดือนนี้มีวันหยุดยาว การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนโดยเฉพาะการก่อสร้าง และการผลิตเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมทั้งที่ผลิตเพื่อการส่งออกและใช้ภายในประเทศ สำหรับการใช้จ่ายของภาครัฐเร่งตัวขึ้น ส่วนการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงขยายตัวแต่ชะลอลงจากเดือนก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปหดตัวเป็นเดือนที่ 4 เงินฝากเร่งตัวแต่เงินให้สินเชื่อหดตัว

รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้

1. ภาคเกษตร รายได้ของเกษตรกรหดตัวร้อยละ 20.6 จากการลดลงด้านราคา เดือนกรกฎาคม 2552 เป็นสำคัญ โดยดัชนีราคาพืชผลหลักลดลงร้อยละ 26.2 ตามราคาลำไยที่ลดลงร้อยละ 36.7 เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้นมาก ประกอบกับราคาข้าวเปลือกเจ้านาปรังและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ลดลงร้อยละ 16.4 และร้อยละ 34.8 ตามลำดับ โดยเป็นผลจากฐานราคาระยะเดียวกันปีก่อนอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ อย่างไรก็ดี ดัชนีผลผลิตพืชสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 จากผลผลิตลำไยและหอมแดงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 และร้อยละ 6.3 ตามลำดับ เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยและราคาปีก่อนอยู่ในเกณฑ์ดีจูงใจให้เกษตรกรบำรุงดูแลส่งผลทำให้ผลผลิตต่อไรเพิ่มขึ้น ส่วนข้าวนาปรังผลผลิตลดลงร้อยละ 5.3 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่เย็นจัดในช่วงต้นปี 2552

2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน เดือนกรกฎาคม 2552 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมภาคเหนือหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 20.3 เดือนก่อน อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์หดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.2 แต่หากเทียบกับเดือนก่อนขยายตัวร้อยละ 11.0 สินค้าทุกชนิดปรับตัวดีขึ้น ทั้งส่วนประกอบฮาร์ดดิสต์ไดร์ และทรานฟอร์มเมอร์สำหรับการผลิตไดโอดขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.9 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในการผลิตทีวี และจอโทรศัพท์เคลื่อนที่ การผลิตเครื่องดื่มลดลงจากการผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ที่หดตัวตามความต้องการบริโภคที่ชะลอลง การผลิตเซรามิกประเภทเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารหดตัวร้อยละ 25.1 ต่อเนื่องจากเดือนก่อน ด้านการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปหดตัวน้อยลงเหลือร้อยละ 7.1 เทียบกับที่หดตัวร้อยละ 33.1 เดือนก่อน ตามการส่งออกเสื้อกันหนาวประเภทไหมพรมที่เพิ่มขึ้น การผลิตวัสดุก่อสร้างขยายตัวในเกณฑ์สูงมากส่วนหนึ่งเป็นผลจากการส่งออกไปตลาดพม่าและลาว ด้านอุตสาหกรรมการผลิตอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 ชะลอตัวจากเดือนก่อน จากการผลิตผักผลไม้แปรรูป และผักสดแช่แข็งและอบแห้งที่ขยายตัวดีในตลาดญี่ปุ่น เป็นสำคัญ

3. ภาคบริการ เดือนกรกฎาคม 2552 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยเครื่องชี้ประเภทจำนวนผู้โดยสารผ่าน ท่าอากาศยานในภาคเหนือกลับเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.8 นับเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2551 อัตราการเข้าพักของโรงแรมในภาคเหนืออยู่ที่ร้อยละ 39.3 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 33.7 และราคาห้องพักโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 881.7 บาท หรือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.2 ทั้งนี้เป็นผลจากสายการบินต่าง ๆ ลดราคาเพื่อส่งเสริมการขาย การเพิ่มเที่ยวบินในบางจังหวัด เช่น จังหวัดเชียงราย วันหยุดยาวช่วงต้นเดือน การส่งเสริมการขายของจังหวัดเชียงใหม่ ตามโครงการเชียงใหม่แกรนด์เซลส์ รวมทั้งตลาดสัมมนาที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ดี ปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคาร ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.1 ตามการระมัดระวังการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว

4. ภาคการค้า เดือนกรกฎาคม 2552 อยู่ในเกณฑ์ดี โดยดัชนีภาคการค้าเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อย ละ 10.0 ประกอบด้วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่ลดลงร้อยละ 3.1 ตามยอดขายการค้าหมวดยานยนต์ยานยนต์ และอุปกรณ์ซ่อมบำรุงยานยนต์ที่เพิ่มขึ้นมาก สำหรับยอดขายเชื้อเพลิงยานยนต์ ยังลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ตามการระมัดระวังการใช้จ่ายของผู้บริโภคจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง ชะลอตัวจากเดือนก่อนเล็กน้อยการค้าหมวดค้าส่งที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.7 เหลือเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 ขยายตัวในเกือบทุกหมวด ยกเว้นยอดขายส่งวัสดุก่อสร้างที่ลดลงร้อยละ 0.2 แต่ปรับตัวดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า สำหรับ ที่สะท้อนความต้องการจับจ่ายใช้สอยของการค้าหมวดค้าปลีกผู้บริโภคเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.5 แต่อ่อนแรงลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยหมวดที่อ่อนตัวลงได้แก่ ยอดขายปลีกอาหารและเครื่องดื่ม ยอดขายปลีกสินค้าคงทน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ในครัวเรือน รวมทั้ง ยอดขายในห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ต สำหรับยอดขายปลีกวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนและขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน

5. การอุปโภคบริโภค เดือนกรกฎาคม 2552 อยู่ในเกณฑ์ขยายตัว แต่ชะลอตัวจากเดือนก่อน โดยเครื่องชี้ การใช้จ่ายภาคเอกชนที่สำคัญ ได้แก่ ปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.4 แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 6.3 ปริมาณการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์หดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.0 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากผู้ผลิตลดการผลิตในช่วงก่อนหน้าทำให้ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค สำหรับปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.6 เร่งตัวจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ 2.1 จากการเพิ่มกำลังการผลิตตอบสนองคำสั่งซื้อเดิมและก่อนการปรับขึ้นราคารถยนต์ รวมถึงผลของการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ ด้านปริมาณการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน เดือนมิถุนายน 2552 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.4

6. การลงทุนภาคเอกชน เดือนกรกฎาคม 2552 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยเครื่องชี้ที่สำคัญได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างขยายตัวในเกณฑ์สูงมาก ส่วนหนึ่งจากข่าวการปรับขึ้นราคาวัสดุก่อสร้าง และการส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้าน ด้านพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 130.8 ทั้งในประเภทเพื่อการพาณิชย์ เพื่อที่อยู่อาศัย ในจังหวัดหลักของภาคเหนือตอนบน ขณะที่ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนที่ดินยังหดตัวร้อยละ 17.1 ผลจากมาตรการลดอัตราการจัดเก็บค่าธรรมเนียมของรัฐ แต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ 21.1 สำหรับความสนใจลงทุนเครื่องจักรและอุปกรณ์ ซึ่งสะท้อนจากการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในภาคเหนือมีจำนวนทั้งสิ้น 848.5 ล้านบาท หรือขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนสูงถึงร้อยละ 568.1 ส่วนหนึ่งเนื่องจากใกล้สิ้นสุดระยะเวลาการให้การส่งเสริมเพื่อให้ได้สิทธิและประโยชน์ในปีแห่งการลงทุน โดยเป็นการลงทุนในหมวดบริการและสาธารณูปโภค และหมวดอิเล็คทรอนิกส์และเครื่องไฟฟ้า เป็นสำคัญ เงินลงทุน 480.0 ล้านบาท และ 244.4 ล้านบาท ตามลำดับ

7. การค้าต่างประเทศ เดือนกรกฎาคม 2552 การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือยังคงหดตัวจาก ระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.9 เหลือ 203.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 29.5 เดือนก่อน เป็นผลจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น โดยลดลงเหลือร้อยละ 24.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 30.2 เดือนก่อนในทุกประเภทอุตสาหกรรม ทั้งชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อัญมณีและเครื่องประดับ ส่วนการส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปขยายตัว ร้อยละ 3.6 จากการส่งออกผักแปรรูปที่เพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 56.9 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนจากการส่งออกใบยาสูบ ข้าวโพด และ ข้าวที่ลดลงมากเป็นสำคัญ ด้านการส่งออกผ่านด่านชายแดนขยายตัวร้อยละ 12.1 เป็น 87.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวในทุกตลาดทั้งพม่า ลาว และจีนตอนใต้ ในอัตราร้อยละ 12.2 ร้อยละ 21.2 และร้อยละ 6.2 ตามลำดับ

การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือหดตัวร้อยละ 33.6 เหลือ 101.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางลดลงร้อยละ 36.5 ตามการหดตัวของการนำเข้าเพชรดิบ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์และพลาสติก ด้านการนำเข้าสินค้าทุนลดลงร้อยละ 39.5 เช่นชิ้นส่วนเครื่องจักรไฟฟ้าและเครื่องจักรกล และอุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา อย่างไรก็ดีการนำเข้าวัตถุดิบ และสินค้าทุนเริ่มปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนการนำเข้าผ่านด่านชายแดนขยายตัวร้อยละ 5.7 เป็น 9.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงจากเดือนก่อนตามการนำเข้าจากพม่าและจีนตอนใต้ที่หดตัวลงร้อยละ 5.2 และร้อยละ 34.9 ด้านการนำเข้าจากลาวเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการนำเข้าชิ้นส่วนเครื่องจักรไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น

ดุลการค้า ในเดือนกรกฎาคม 2552 เกินดุล 102.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน และเดือนก่อนที่เกินดุล 89.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.

8. การเบิกจ่ายเงินงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือ เดือนกรกฎาคม 2552 มีการเบิกจ่าย ทั้งสิ้นจำนวน 13,454.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 เร่งตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 โดยรายจ่ายงบลงทุนมีจำนวน 3,982.7 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 43.0 ตามการเบิกจ่ายของหมวดที่ดิน/สิ่งปลูกสร้างซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 73.8 ของงบลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.4 และเงินอุดหนุนทั่วไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้นกว่า 11 เท่าตัว ทั้งนี้มีการเบิกจ่ายมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเชียงราย เพื่อสร้างสาธารณูปโภคของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านรายจ่ายประจำมีจำนวน 9,471.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ตามการเพิ่มขึ้นของงบรายจ่ายอื่น งบดำเนินงานในส่วนที่เป็นค่าใช้สอยประเภทค่าใช้จ่ายในเดินทางและประชุมสัมมนา และเงินอุดหนุนทั่วไปขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขยายตัวขยายตัวร้อยละ 34.6 ร้อยละ 14.9 และร้อยละ 8.7 ระยะเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ

9. ระดับราคา เดือนกรกฎาคม 2552 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 5.1 เทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ 4.8 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 สาเหตุจากฐานในการคำนวณในปีที่ผ่านมาสูงมาก เป็นสำคัญ แต่หากพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนนี้ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.1 สาเหตุสำคัญจากการลดลงของหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.4 ตามการลดลงของราคาเนื้อสัตว์สุกรมีชีวิต และข้าว ขณะที่หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ตามการสูงขึ้นของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ และ สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2

10. การจ้างงาน จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ณ เดือนมิถุนายน 2552 ภาคเหนือมีกำลังแรงงาน รวม 7.2 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 7.1 ล้านคน โดยการจ้างงานรวมขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.5 จากการจ้างงานภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 ตามความต้องการแรงงานในช่วงฤดูเพาะปลูก ประกอบกับการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เนื่องจากการขยายตัวของการจ้างงานในสาขาการผลิต การก่อสร้าง โรงแรม/ภัตตาคาร และการค้าส่ง/ปลีก ด้านผู้ว่างงานมีจำนวน 0.1 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 1.2 สูงกว่าร้อยละ 0.9 ระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับอัตราการทำงานต่ำกว่าระดับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.6 ระยะเดียวกันปีก่อนเป็นร้อยละ 1.7 ทางด้านผู้ประกันตนในระบประกันสังคม ตามมาตรา 33 เพียงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2552 มีจำนวน 594,768 คน หดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.6 ซึ่งหดตัวเป็นเดือนที่ 10 นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2551 ส่วนผู้ประกันตนตามมาตรา 39 มีจำนวน 88,703 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.6 และร้อยละ 32.9 ตามลำดับ

11. การเงิน ยอดคงค้างเงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2552 มียอดคง ค้างทั้งสิ้น 385,479 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.3 เร่งตัวจากที่ขยายตัวร้อยละ 6.8 เดือนก่อน ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากออมทรัพย์ของสถานศึกษา และเงินโอนพักชั่วคราวของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรม และธุรกิจค้าผลไม้ส่งออก อย่างไรก็ตาม มีการถอนเงินฝากกระแสรายวันบางส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อนำไปลงทุนตามโครงการต่าง ๆ และถอนเงินฝากประเภทจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาซึ่งลดลงทุกจังหวัด เพื่อนำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ด้านเงินให้สินเชื่อ มียอดคงค้าง 298,380 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยภาคเหนือตอนล่างหดตัวร้อยละ 3.8 เนื่องจากที่ผ่านมามีการชำระคืนหนี้ของธุรกิจค้าพืชไร่ และโรงสีข้าว อย่างไรก็ตามสินเชื่อในภาคเหนือตอนบนยังขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.9 ตามความต้องการใช้เงินของธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ธุรกิจเกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร กิจการขนส่ง/บริการ สหกรณ์ออมทรัพย์ครู และสินเชื่อส่วนบุคคล สำหรับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 77.4 ลดลงจากร้อยละ 84.9 ระยะเดียวกันของปีก่อน

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ

ข้อมูลเพิ่มเติม : คุณกุศล จันทร์แสงศรี

โทร 0 5393 1164 E-mail : KusolC@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ